วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

วัดพระธาตุเขี้ยวแก้ว เขตไชน่าทาวน์ สิงคโปร์




เสียดายห้องประดิษฐานพระธาตุห้ามถ่ายภาพจึงไม่มีภาพมาให้ชม



พิพิธภัณฑ์วัดพระเขี้ยวแก้ว ซึ่งตั้งอยู่ในย่านไชน่าทาวน์ เพิ่งได้รับการก่อตั้งในปี ค.ศ.2007 วัดแห่งนี้ได้รับการออกแบบตกแต่งภายในอย่างงดงามและจัดแสดงข้าวของต่าง ๆ เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของพุทธศาสนา ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวทางวัฒนธรรมย้อนหลังไปนานหลายร้อยปีได้อย่างครอบคลุม วัดนี้ได้ชื่อมาจากพระเขี้ยวซ้ายของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้มาจากที่ฝังพระศพในเมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย และนำมาจัดแสดงไว้ที่นี่

การออกแบบที่ประณีตบรรจง

วัดจีนในพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นในรูปแบบศิลปกรรมสมัยราชวงศ์ถังนี้ ได้รับการออกแบบและวางแนวคิดโดยพระอาจารย์ Shi Fa Zhao ท่านเจ้าอาวาสของวัด โดยความช่วยเหลือของที่ปรึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ วัดนี้สร้างขึ้นโดยใช้เงินทุนจำนวน 75 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และอิงตามสถาปัตยกรรมสมัยราชวงศ์ถังและพุทธมณฑล ซึ่งแสดงถึงจักรวาลตามคติพุทธ

พระธาตุศักดิ์สิทธิ์และสถูปใหญ่
พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมทางพุทธศาสนาบนชั้น 3 ของวัด จัดแสดงพระพุทธรูปและสิ่งล้ำค่าต่าง ๆ ทางพุทธศาสนา เช่น พระบรมสารีริกธาตุ พระชิวหา และที่ห้อง Sacred Light Hall บนชั้น 4 ยังเป็นที่ประดิษฐานสิ่งล้ำค่าที่สุดของทางวัด
พระบรมสารีริกธาตุ พระเขี้ยวแก้วประดิษฐานอยู่ในสถูปใหญ่ โดยมีน้ำหนัก 3,500 กิโลกรัม ทำจากทองแท้หนัก 320 กิโลกรัม โดยทองคำ 234 กิโลกรัมในจำนวนนี้ได้มาจากการบริจาคโดยผู้มีจิตศรัทธา อย่างไรก็ตาม คุณสามารถชมพระเขี้ยวแก้วได้จากพื้นที่ส่วนประชาชนทั่วไปเท่านั้น เฉพาะพระสงฆ์เท่านั้นที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าไปในหอพระธาตุได้
สถานที่ไฮไลท์อื่น ๆ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์สงฆ์ (Eminent Sangha Museum) ซึ่งเป็นโรงละครที่จัดการแสดง การเสวนา และภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเชิงวัฒนธรรม หากคุณต้องการจะนั่งสมาธิเงียบ ๆ ท่ามกลางความจอแจของย่านไชน่าทาวน์ สวนอันร่มรื่นของที่นี่ พร้อมด้วยเจดีย์และกงล้ออธิษฐาน ก็นับเป็นสถานที่ปลีกวิเวกที่สงบร่มรื่น

สำรวจค้นคว้าเกี่ยวกับพุทธศาสนา

ทั้งนี้ ตามความเชื่อของพุทธศาสนา พระโคตมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ และเป็นพระผู้มีปัญญาและความเมตตาสูงสุดเมื่อ 2560 ปีก่อน ปัจจุบันวัดพระเขี้ยวแก้วได้เผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าผ่านเวิร์กช็อป "Discovering Buddhism" ผู้เดินทางสามารถเรียนรู้แง่มุมต่าง ๆ ของพุทธศาสนาได้โดยเข้าร่วมเวิร์กช็อปในแบบอินเตอร์แอ็กทีฟนี้ได้ ซึ่งดำเนินการอบรมโดยพระสงฆ์ของวัด
หากต้องการลงทะเบียนเข้าร่วมเวิร์กช็อป โปรดโทรไปที่ +65 6854 7022 หรืออีเมลไปที่ buddhistculture@btrts.org.sg
เที่ยวชมภายในวัด

คุณสามารถเข้าชมวัดนี้และเข้าร่วมกับคณะเที่ยวชมวัดแบบมีมัคคุเทศก์ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกสัปดาห์ได้ฟรี มัคคุเทศก์อาสาของทางวัดจะพาเที่ยวชมและบรรยายข้อมูลที่น่าสนใจ การเที่ยวชมแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงเพื่อพาคุณเที่ยวชมตามชั้นต่าง ๆ และห้องโถงต่าง ๆ ของพิพิธภัณฑ์วัดพระเขี้ยวแก้ว& ห้องโถงที่จะเที่ยวชมยังรวมถึง Hundred Dragons Hall ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานขององค์พระพุทธรูปหนึ่งร้อยองค์ และ Universal Wisdom Hall ที่จัดแสดงภาพพระโพธิสัตว์อันงดงาม

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เตือนภัยแก๊งมิจฉาชีพสิบมงกุฎ หลอกคนเอาเงินแสนไปทำหวยแล้วหนีหายเข้ากลีบเมฆ

เตือนภัยสำหรับใครที่ชอบเรื่องโชคลาภ หวยบัตรเบอร์ต่างๆ ระวังจะถูกแก๊งมิจฉาชีพหลอกเอาเงินแสน ไปทำหวยหลอกว่ามีพระศักดิ์สิทธิ์ทำหวยแม่น แล้วหายเข้ากลีบเมฆ
เรื่องย่อคือ วันที่26 กับ 28 พ.ย.2558 มีคนแอบอ้างว่าเป็นครูสอนที่โรงเรียนสระตะเคียน ต.โคกสูง อ.หนองกี่ บุรีรัมย์ มาขออนุญาติใช้กุฏิที่วัดป่าช้าหนองกราดเพื่อให้พ่อที่ป่วยผ่าตัดสมองมาพักฟื้นที่วัด แต่ผลปรากฏว่าเขากลับเล่นกลแอบอยู่ในกุฏินั้นเสียเองแล้วปลอมเป็นพระหลวงพ่อ แล้วมีนางนกต่อไปหลอกคนทาง อ.จักราช โคราชมาหลายรายให้เอาเงินแสนมาทำหวย แกล้งทำนายทายทักด้วยความแม่นยำเพราะสืบข้อมูลเหยื่อมาแล้ว จนเหยื่อหลงศรัทธาว่าศักดิ์สิทธิ์จริง จนพากันไปกู้เงินแสนมาให้เขาทำพิธิปลุกเสกทำหวยให้ และหลอกให้มารับเงินคืนในวันที่2 ธ.ค.2558 วันที่29 พ.ย.58 เหยื่อรายแรกสงสัยเพราะโทรติดต่อไม่ได้ จึงมาตามหาที่วัด มาถามหาหลวงพ่สมชาย ทางวัดจึงว่าที่นี่ไม่มีหลวงพ่อ เขายืนยันว่าพึ่งมาหาเมื่อวานที่กุฏิหลังนั้น ถามไปถามมาจึงรู้ว่าทั้งทางวัดและโยมจาก อ.จักราชถูกหลอกเสียแล้ว ก่อนหน้านี้ทางวัดนึกว่าเป็นญาติคนป่วยมาเยี่ยมคนป่วยแล้วก็ออกไป สรุปคนที่อ้างว่าเป็นครูหลอกเอาเงินคนไปได้ รายแรกแสนห้าหมื่นบาท รายที่สองสองคนคนละแสนเป็นสองแสนบาท และได้แจ้งความไว้แล้วที่สถานีตำรวจหนองกี่เมื่อ29 พ.ย.2558 มีคนร่วมขบวนการนี้เบื้องต้นนับได้เจ็ดคน แต่ยังไม่มีภาพคนร้าย ก็จะได้เล่ารายละเอียดไปทีละนิดในอันดับต่อไปก็แล้วกัน
     และขอเตือนภัยสำหรับวัดต่างๆ หากมีคนแปลกหน้าที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน มาขอพักที่วัดหรือขอใช้สถานที่ เพื่อความปลอดภัยควรถ่ายรูปไว้ และขอสำเนาบัตรประชาชน ป้องกันเกิดปัญหาในภายหลัง จะได้มีขอมูล เพราะเราได้ประสบมาแล้ว เพราะความไว้เนื้อเชื่อใจคนจนเกินไปจนเป็นเหตุ ตกเป็นเครื่องมือหากินของแก๊งมิจฉาชีพสิบแปดมงกุฏ ดังเรื่องจะเล่าต่อไปนี้ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อแก๊งมิจฉาชีบนักต้มตุ๋น
    เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2558 มีผู้ชายมาด้วยกันสองสามคน เข้ามาหาเจ้าอาวาส มาถวายน้ำแพ็กหนึ่งกับแล็กตาซอยหนึ่งแพ็ค ที่วัดป่าช้าหนองกราด หมู่5  ต.ท่าโพธิ์ชัย อ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์ หลังจากนั้นเขาก็พูดหลอกว่า จะมาขอพึ่งบุญบารมีอาจารย์ บอกว่าเขาเป็นคนอยู่ในหนองกี่นี่แหละ เป็นครูสอนอยู่ที่โรงเรียนสระตะเคียน ต.โคกสูง ไกล้ๆนี่แหละ(แต่หลังจากไปตรวจสอบดูภายหลังแล้วกลับไม่มีครูคนนี้อยู่จริง) แล้วก็บอกว่าพ่อของเขาประสบอุบัติเหตุที่เขาปักธงชัย จนได้ผ่าตัดสมอง มีอาการประสาทหลอนบ่อยๆ ไปรักษามาหลายที่แล้วแต่อาการก็ไม่ดีขึ้น หลายคนก็แนะนำว่าให้ลองไปหาวัดที่สงบๆ พาไปพักฟื้นฝึกปฏิบัติทางจิตใจ อาจจะช่วยให้ฟื้นฟูได้เร็วขึ้น ก็พอดีมาเห็นที่นี่สงบดีไม่มีคนพลุกพล่าน คิดว่าหากพ่อได้มาพักฟื้นที่นี่อาจช่วยให้อาการดีขึ้น เขาว่าอย่างนั้น แล้วก็พูดพรรณนาพระคุณของพ่อสารพัด พรรณนาความกตัญญูกตเวทีต่างๆนา จนเราคล้อยตามเห็นว่าเป็นคนดีนักหนาน่าอนุโมทนาส่งเสริม อนุเคราะห์ รู้สึกเห็นอกเห็นใจ พอพระถามว่าแล้วรู้จักที่นี่ได้อย่างไรคิดยังไงถึงมาที่นี่ เขาก็บอกว่าผมเคยมาที่นี่เมื่อช่วงมีงานบุญเมื่อหลายปีแล้ว และเคยได้ยินคุณแม่ที่เป็นคนสร้างวัดนี้พูดให้ฟังว่าเคยผ่าตัดสมองมาแล้ว ก็เลยคิดว่าท่านอาจชี้แนะได้ เมื่อพระได้ฟังดังนั้นด้วยความไม่แน่ใจอาจจะใช่ดังเขาว่า เพราะช่วงสร้างวัดใหม่ก็มีคนมามากหน้าหลายตาจนจำได้ได้ก็เป็นได้ ก็เลยหลงเชื่อว่าเขาคงพูดมาเป็นความสัจความจริง แล้วเขาก็ขออุญาติใช้ห้องที่ศาลาหลังใหม่หน้าวัดได้มั้ย ก็เลยบอกว่าไม่ได้หรอกที่นั่นเป็นห้องเก็บของ ก็เลยเดินถัดมาเป็นกุฏิศาลาโรงครัว เขาก็เลยบอกว่า ขอให้พ่อพักหลังนี้ได้มั้ย มีห้องน้ำมีห้องพักมิดชิดกำลังพอดี พระก็ว่า ไม่ได้หรอกโยม หลังนี้เป็นกุฏิเก่าของคุณแม่ที่สร้างวัดนี้ ท่านไม่ได้อยู่นานแล้วข้างในคงเต็มไปด้วยขี้หนู และต้องขออนุญาติเจ้าของก่อนนะถึงจะได้ เขาว่าไม่เป็นไรเดี๋ยวจะพาลูกหลานมาทำความสะอาดเอง แล้วเขาก็เข้าไปในหมู่บ้านไปหาคุณแม่ ไปพูดหลอกล่อจนคุณแม่อนุญาติ บอกว่าจะเอามาพักฟื้นที่วัดจะไม่ทำให้ทางวัดลำบากเดือดร้อนเลย จะให้ลูกหลานผลัดเวรกันมาดูแล เพราะลูกทุกคนทำราชการกันหมดว่างั้น พอวันที่ 25 พ.ย. 2558 คนที่อ้างว่าเป็นครูซึ่งใช้ชื่อปลอมว่า ครูพง นั้นก็พาลูกน้องมาทำความสะอาดกุฏิ วันที่ 26 พ.ย. 2558 ครูพงก็เข้ามาที่วัดในช่วงสาย พร้อมคนขับรถที่อ้างว่าเป็นหลานคนป่่วย และมีเพื่อนที่อ้างว่าเป็นตำรวจคนหนึ่งมาด้วย เข้ามาหาแล้วมาขอกุญแจกุฏิหลังดังกล่าวนั้น บอกว่าพ่อที่ป่วยผ่าตัดสมองนั้นกำลังตามารถคันหลัง จึงขอกุญแจเปิดที่พักไว้รอ เราก็ไม่คิดสงสัยอะไรก็เลยให้กุญแจไป ส่วนคนที่เป็นตำรวจก็มาทำเป็นปัดกวาดรอบๆศาลา แล้วก็ชวนพระคุยเรื่องนั้นเรื่องนี้เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ จะได้ไม่เห็นตอนที่ลูกหลานพาคนป่วยเข้ากุฎิหลังนั้น ซึ่งความจริงแล้วครูพงนั้นได้แอบเข้าหลบอยู่ในกุฏิปลอมเป็นหลวงพ่อคอยเหยื่อเป็นที่เรียบร้อย แล้วให้คนขับรถเล่นกลขับรถของครูพงออกไปขณะที่เหยื่อรายแรกมาถึงแล้ว โดยมีนางนกต่อ เป็นหญิงใส่ชุดขาวพามาซึ่งเหยื่อรายแรกมีคนสูงอายุมาด้วย ทำให้เราเข้าใจผิดนึกว่าลูกหลานพาคนป่วยเข้ามาพักเมื่อมองจากระยะไกล เมื่อรถครูพงวิ่งออกไปทำให้เราเข้าใจว่าครูพงออกไปสอนหนังสือแล้ว คิดว่ายังเหลือแต่แม่บ้านกับหลานๆเฝ้าคนคนป่วย ส่วนตำรวจที่ทำเป็มมาปัดกวาดรอบๆศาลาก็รีบพูดว่า อาจารย์ไม่ต้องเป็นห่วงนะครับ มีกิจอันใดก็ทำไปตามสบาย นิมนต์พักผ่อนตามสบาย ทางคนป่วยเดียวลูกหลานดูแลกันเองจะไม่ให้รบกวนครูบาอาจารย์ให้ลำบากเลยครับ ก็เลยทำให้เราชะล่าใจ ไม่นึกว่าเขาจะมีแผนชั่วร้ายหลอกคนมาต้มตุ๋นในวัดของเรา ส่วนเหยื่อที่ถูกหลอกมาก็ถูกต้อนเข้ากุฏิหลังนั้นทันที หลอกว่าท่านเจ้าอาวาสรออยู่หลังนั้น และให้ทุกคนปิดโทรศัพท์มือถือ บอกว่ามาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ห้ามเปืดโทรศัพท์ห้ามถ่ายรูป ทุกคนก็เชื่อกันหมด
พิมพ์ด้วยโทรศัพท์มันไม่ถนัด ขออภัยเดี๋ยววันหลังมาเล่าต่อ

วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วินัยมุขเล่ม ๒ นักธรรมโท หน้า ๑๖๘ ถึงหน้า ๑๗๙ หน้าสุดท้าย ปกิณณกะ


นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 168

                                      กัณฑ์ที่  ๒๒

                                       ปกิณณกะ

                                      มหาปเทส ๔

           พัสดุบางอย่าง  ย่อมมีเฉพาะในบางถิ่น  และพัสดุที่คนรู้จักทำ

ขึ้นได้  ย่อมมีหลากหลาย  ตามความเจริญแห่งศิลปะของมนุษย์

กิจการก็เหมือนกัน  ของคนในถิ่นหนึ่ง  อาจต่างจากของคนในถิ่น

อื่น  และอาจมีแปลก ๆ  โดยลำดับกาล  ตามความนิยมอันเปลี่ยน

แปลงไปอยู่  ยิ่งคนทั้งหลายอันอยู่ต่างถิ่นไปมาถึงกันเข้า  ความพบ

เห็นพัสดุและกิจการทั้งกลายก็มากเข้า  ภิกษุเกิดในภายหลังพุทธกาล

ย่อมจะได้พบเห็นพัสดุ  และกิจการต่าง ๆ นานา  จากที่กล่าวไว้ใน

พระคัมภีร์  พระศาสดาผู้มีพระญาณเห็นกาลไกล  ได้ประทานแบบ

ไว้  เพื่อเป็นหลักแห่งสันนิษฐานทั้งในทางธรรมทั้งในทางวินัย  ใน

ที่นี้จักกล่าวเฉพาะในทางวินัย  แบบนี้เรียกว่ามหาปเทส  แปลว่า  ข้อ

สำหรับอ้างใหญ่  จำแนกออกเป็น ๔ ข้อ  ดังต่อไปนี้ :-

           ๑.  สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร  แต่เข้ากันกับสิ่งเป็น

อกัปปิยะ  ขัดกันต่อสิ่งเป็นกัปปิยะ  สิ่งนั้นไม่ควร.

           ๒.  สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร  แต่เข้ากันกับสิ่งเป็นกัปปิยะ

ขัดกันต่อสิ่งเป็นอกัปปิยะ  สิ่งนั้นควร.

           ๓.  สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร  แต่เข้ากันกับสิ่งเป็น

อกัปปิยะ  ขัดกันต่อสิ่งเป็นกัปปิยะ  สิ่งนั้นไม่ควร.




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 169

           ๔.  สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร  แต่เข้ากันกับสิ่งเป็น

กัปปิยะ  ขัดกันต่อสิ่งเป็นอกัปปิยะ  สิ่งนั้นควร.

           จักแสดงตัวอย่างที่ลงสันนิษฐานกันไว้แล้วบางประการ.  ฝิ่น

เป็นของไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร  เพราะในครั้งพุทธกาลยังไม่รู้จัก

ใช้กันทั่วไป  หรือเฉพาะในชมพูทวีป  แต่สุรารู้จักใช้กันแล้ว  เป็น

ของที่ทรงห้ามไว้  สุราก็ดี  ฝิ่นก็ดี  เป็นของทำกายประสาทให้มึน

เป็นของทำผู้เสพให้ติด  ต้องทวีจำนวนที่เสพขึ้นเสมอ  เป็นบ่อเกิด

แห่งโรค  เป็นเครื่องทอนกำลังแห่งร่างกาย  เป็นมูลแห่งความชั่ว

ร้ายต่าง ๆ  ดุจเดียวกัน  เพราะเหตุนั้น  ฝิ่นเป็นของเข้ากับสุรา  จึง

เป็นของไม่ควรภิกษุจะเสพเป็นอาจิณสุรานั้น  แม้เป็นของที่ทรง

ห้ามก็จริง  แต่แทรกในโภชนาหารเพื่อแก้คาวหรือให้มีรส  ที่มุ่ง

ประโยชน์อย่างอื่น  ทรงอนุญาตไว้ว่าควร  ฝิ่นที่แทรกยา  เช่นใน

โคลโรดิน  เป็นยาแก้ลงท้อง  ไม่ใช่เป็นของมุ่งหมายสำหรับเสพโดย

ฐานเป็นฝิ่น  เช่นนี้เข้ากันกับสุราที่เจือในของอื่นที่ทรงอนุญาตไว้นั้น

เป็นของควรเมื่อคราวเจ็บไข้ต้องการใช้เป็นยาทรงอนุญาตน้ำหวาน

ออกจากอ้อยที่เคี่ยวให้แข้นแล้วเรียกว่าผาณิตไว้  น้ำหวานที่ออกจาก

พืชอื่น  เป็นต้นว่าตาลหรือมะพร้าว  ไม่ได้กล่าวถึงในบาลี  จัดว่า

เป็นของที่ไม่ทรงอนุญาตไว้  แต่เป็นของมีรสหวานสำเร็จประโยชน์

เช่นเดียวกันกับรสหวานแห่งอ้อย  ชื่อว่าเป็นของเข้ากันกับรสหวาน

แห่งอ้อย  รสหวานอย่างอื่นก็ควรเหมือนกัน.  รสหวานแห่งอ้อยนั้นเอง

ทรงห้ามไม่ให้เก็บไว้ฉันเกิน   วัน  พ้นกำหนดนั้นแล้วเป็นของไม่ควร




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 170

รสหวานแห่งของอื่น  ก็เป็นของไม่ควรเหมือนกัน.

           มหาปเทสนี้  เป็นหลักสำคัญในพระวินัย  ภิกษุเข้าใจดีแล้วอาจ

ปฏิบัติตนพอเหมาะ  ในเมื่อได้พบพัสดุและกิจการต่าง ๆ  อยู่รอบข้าง.

                             พระพุทธานุญาตพิเศษ

           แห่งข้อที่ทรงบัญญัติห้ามไว้  ในบางข้อ  ได้ทรงอนุญาตยก

เว้นเป็นพิเศษไว้ก็มี  ในที่นี้  จักไม่ปรารภถึงข้อยกเว้นอันมีกำกับไว้

ในสิกขาบททั้งหลาย  จักกล่าวเฉพาะที่ทรงอนุญาตเป็นพิเศษแท้ ๆ

พึงเห็นดังต่อไปนี้ :-

           ๑.  ทรงอนุญาตเฉพาะอาพาธ  ยามหาวิกัฏ  ๔ มูตร  คูถ เถ้า

[ ไฟ ]  ดิน  ทรงอนุญาตแก่ภิกษุผู้ถูกงูกัด  แม้ไม่ได้รับประเคน  ฉัน

ก็ได้  ไม่เป็นอาบัติ.  น้ำข้าวใสที่เข้าใจว่าข้าวต้มไม่มีกาก และน้ำ

เนื้อต้มที่ไม่มีกากเหมือนกัน  เป็นของทรงอนุญาตแก่ภิกษุไข้  ที่เข้า

ใจว่าจำจะต้องได้อาหารในวิกาล.  น้ำข้าวต้มกับน้ำเนื้อต้มนี้ในบาลี

ไม่กำหนดชัดว่าทรงอนุญาตในวิกาล  แต่รู้ได้โดยนัย  เพราะว่าในกาล

ข้าวสุขและมังสะยังฉันได้  จะต้องทรงอนุญาตของ ๒  สิ่งนี้ไว้ทำอะไร

เพื่อจะให้ฉันได้ในวิกาล  จึงได้ทรงอนุญาตไว้.  ยังมีของที่ทรงอนุญาต

แก่ภิกษุไข้อยู่อีก  แต่ชื่อแปลไม่ออก หรืออาจแปลได้  แต่ท่านแก้

เป็นอย่างอื่นไปเสียแล้ว  จำงดไว้.

           ๒.  ทรงอนุญาตเฉพาะบุคคล  เช่นทรงอนุญาตอาหารที่เรออวก

ถึงลำคอแล้วกลับเข้าไป  แก่ภิกษุผู้มักเรออวก  ไม่เป็นอาบัติเพราะ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 171

วิกาลโภชนสิกขาบท  ข้อนี้ควรเป็นตัวอย่างแห่งภิกษุผู้กลืนเลือดที่

ออกในปากให้ล่วงลำคอเข้าไปโดยไม่รู้ตัว.  ถือกันมาว่า  อาบัตินี้

เป็นอจิตตกะ คราวนี้ก็แสดงถุลลัจจัย  เพราะกินเลือดมนุษย์  ถ้า

ไม่รู้เรื่อง  น่าจะเห็นไปว่าดุร้ายเสียจริง ๆ  ถือไม่เข้าเรื่องเข้าราว  น่า

รำคาญอยู่.  ภิกษุเจ็บเป็นแผลในปาก  มีบุพโพโลหิต  สมควรจะได้

รับอนุญาตเป็นพิเศษแท้.

           ๓.  ทรงอนุญาตเฉพาะกาล  เช่นทรงอนุญาตให้เจียวมันเปลว

ทำเป็นน้ำมันได้เอง  แต่ต้องทำให้เสร็จตลอดถึงกรองในกาลเช้าชั่วเที่ยง.

ข้อนี้ในบุพพสิกขาวัณณนา  จัดไว้ในส่วนทรงอนุญาตเฉพาะมันเปลว.

เพ่งความว่า  เปลงมันแม้แห่งสัตว์มีเนื้อเป็นอกัปปิยะ  ก็ทรงอนุญาต

ก็ถูกโดยบรรยายอย่างหนึ่ง.

           ๔.  ทรงอนุญาตเฉพาะถิ่น  เช่นทรงอนุญาตให้อุปสมบทด้วยสงฆ์

มีองค์ ๕  ให้อาบน้ำได้เป็นนิตย์  ให้ใช้รองเท้า ๔  ชั้นของใหม่ได้

ในปัจจันตชนบท.

           ๕.  ทรงอนุญาตเฉพาะยา  เช่นทรงอนุญาตน้ำมันเจือน้ำเมา

ไม่มากจนสีกลิ่นรสปรากฏให้ดื่มกินได้  และทรงอนุญาตให้ใช้กระเทียม

เข้ายาได้  แต่ห้ามไม่ให้ฉันเป็นอาหาร  นี้ควรเป็นตัวอย่างแห่งของ

อย่างอื่นที่มุ่งจะใช้เป็นยา.  ถ้ารู้จักถือเอาความกว้างขวางจะสะดวก

ในการรักษาพยาบาลภิกษุไข้อีกมาก.

                                    ขออารักขา

           เป็นธรรมเนียมของภิกษุ ไม่เป็นโจทก์ฟ้องความคฤหัสถ์ใน




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 172

ศาล  นี้เนื่องมาแต่พระบัญญัติห้ามภิกษุณี  วางโทษถึงสังฆาทิเสส

ความไม่พอใจเป็นถ้อยเป็นความกับเขา  ก็ดีอยู่  สมควรแก่สมณะ

ผู้อยู่สงบ  แต่ความเข้าใจของพระอาจารย์ทั้งหลายในชั้นหลังแรงเกิน

ไป  จนถึงมีผู้หนึ่งมาข่มเหง  นำความไปบอกเจ้าหน้าที่ระบุชื่อผู้ทำ

เพื่อขอความป้องกันก็ไม่ได้  ท่านเรียกว่าขออารักขาเจาะชื่อ.  หาก

เจ้าหน้าที่ลงโทษปรับผู้ทำผิด ท่านปรับภิกษุผู้บอกเป็นภัณฑไทย

คือจำจะต้องใช้ทรัพย์ที่เขาเสียไป  ถ้าภิกษุนั้นฟ้องขอให้เขาปรับค่า

เสียหายด้วย  และเขาทำตาม  ท่านปรับภิกษุถึงปาราชิก แรงกว่า

ต้นบัญญัติแห่งภิกษุณีเสียอีก  ท่านยอมเพียงให้บอกไม่ระบุชื่อ  เรียก

ว่าขออารักขาไม่เจาะชื่อ  หากเจ้าหน้าที่ลงโทษปรับผู้ทำผิด  หรือ

แม้เอาของที่หายไปคืนมาให้ด้วย  ท่านไม่เอาโทษแก่ภิกษุ  ทั้ง

ให้รับของคืนได้ด้วยการขออารักขาไม่เจาะชื่อนั้น  ในเวลาที่บ้าน

เมืองพะนอภิกษุอยู่ก็สำเร็จประโยชน์ ในเวลาอื่นเช่นในบัดนี้  ย่อม

ไม่สำเร็จประโยชน์.  ท่านวินิจฉัยอย่างนั้น  เป็นอันตัดพวกภิกษุไม่ให้

ได้รับความป้องกันของบ้านเมืองเลย  มีอะไรก็ไม่เป็นสิทธิ์แก่ตน

ใครนึกจะข่มเหงหรือแย่งชิงเอาไปก็ทำได้ตามใจ  ดูไม่เป็นคำวินิจฉัย

ของผู้เคยการเคยงานเลย.

           ในอนาปัตติวารแห่งสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ต้นแห่งภิกษุณี  กล่าว

ข้อยกเว้นไว้ว่า  ถูกคนทั้งหลายฉุดไปก็ดี  ขออารักขาก็ดี  บอกไม่

เจาชื่อก็ดี  ไม่เป็นอาบัติ.  ในข้อว่าถูกคนทั้งหลายฉุดไปนั้น  อธิบาย

ว่า  ถูกคนอื่นฟ้อง  ต้องเรียกหรือถูกจับไปแก้คดี  เช่นนี้เป็นจำเลยว่า




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 173

ความเพื่อเปลื้องตนได้.  ในข้อว่าขออารักขานั้น  อธิบายว่า  ถูกตน

อื่นข่มเหงหรือเบียดเบียน  ขอความป้องกันของบ้านเมือง  แม้เจาะชื่อ

คนผู้ข่มเหงหรือผู้เบียดเบียนนั้นก็ได้  ไม่เป็นอาบัติ  ในข้อว่าบอก

ไม่เจาะชื่อนั้น  อธิบายว่า  ถูกทำร้าย  แต่ไม่รู้ว่าใครทำ  จะบอกให้

ถ้อยคำไว้แก่เจ้าหน้าที่ก็ได้  หรือของหาย แต่ไม่รู้ว่าใครลัก  จะบอก

ตราสินไว้แก่เขาก็ได้  ไม่เป็นอาบัติ.  พระอรรถกถาจารย์เข้าใจบาลี

  คำหลังเป็นอันเดียวกันว่า  ขออารักขา  คือบอกไม่เจาะชื่อ  คราวนี้

ก็แก้จนเหลิง  ถ้าท่านผู้เรียงบาลีหมายความเช่นนั้น  น่าจะกล่าวว่า

ขออารักขาไม่เจาะชื่อ.  ส่วนทรัพย์ที่ได้คืนมาเพราะขออารักขานั้น

ภิกษุยังถือกรรมสิทธิ์อยู่  จักเป็นอะไรมี  ภิกษุยักยอกของที่เขาฝากไว้

ในมือ  เจ้าของยังถือกรรมสิทธิ์อยู่เพียงใด  ท่านยังไม่จัดเป็นอวหาร

เพียงนั้น  นี้ก็เหมือนกัน  ภิกษุยังถือกรรมสิทธ์อยู่ก็รับคืนได้.

           ย่นใจความในคำที่กล่าวมาว่า  ปกติของภิกษุไม่พอใจเป็นถ้อย

เป็นความกับใคร ๆ  ไม่แส่หาสาเหตุเล็กน้อยเป็นเครื่องปลูกคดีขึ้น

พอจะอดได้นิ่งได้ก็อดก็นิ่ง  แต่เมื่อถึงคราวจำเป็น  คือถูกคนอื่นฟ้อง

ก็เป็นจำเลยว่าความเพื่อเปลื้องตนได้  เมื่อถูกคนอื่นข่มเหงเหลืออด

เหลือทน  ก็บอกขออารักขา  แม้เจาะชื่อก็ได้  หรือถูกทำร้าย  แต่

ไม่รู้ว่าใครทำ  จะบอกให้ถ้อยคำไว้กับเจ้าหน้าที่ก็ได้  หรือของหาย

แต่ไม่รู้ว่าใครลัก  จะบอกตราสินไว้แก่เขาก็ได้  ไม่มีโทษในเพราะเหตุ

เหล่านี้.




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 174

                                          วิบัติ

           ในบาลีจำแนกวิบัติของภิกษุไว้ ๔  ประการ  คือ  สีลวิบัติ ๑

อาจารวิบัติ ๑ ทิฏฐิวิบัติ ๑  อาชีววิบัติ ๑.  ความเสียแห่งศีล  เรียก

ว่าสีลวิบัติ  ท่านจัดเอาการต้องปาราชิก  หรือสังฆาทิเสส  อันเป็น

อาบัติหนัก.  ความเสียมารยาท  ชื่อว่าอาจารวิบัติ  ท่านจัดเอาการ

ต้องลหุกาบัติ  ตั้งแต่ถุลลัจจัยลงมาจนถึงทุพภาสิต.  ความเห็นผิด

ธรรมผิดวินัย  ชื่อทิฏฐิวิบัติ  ท่านจัดเอาอาบัติบางอย่างที่ซ้ำข้างต้น

ความเสียแห่งการเลี้ยงชีพ  ชื่ออาชีววิบัติ  ท่านจัดเอาอาบัติบางเหล่า

ที่ต้องเพราะเหตุอย่างนั้น.  ท่านจำแนกวิบัติ ๔  ไว้ดังนี้  เพื่อ

เป็นทางระวังของภิกษุ  จะได้รักษาศีล  มารยาท  ความเห็น  และความ

เลี้ยงชีพให้หมดจด  เป็นผู้ไม่เศร้าหมองในทางเหล่านี้.  แต่ยังไม่กิน

ความกว้างพอจะป้องกันความเสียหายของภิกษุ เหมือนบาลีสีลนิทเทส

อันแก้บทว่า  ภิกษุมีศีล.  ในบาลีนั้นกล่าวว่า  ภิกษุเป็นผู้มีศีลสำรวม

แล้ว  ด้วยสำรวมในปาติโมกข์อยู่  ถึงพร้อมแล้วด้วยมารยาทและ

ที่เที่ยว  เห็นน่ากลัวอยู่โดยปกติในโทษมีประมาณน้อย  สมาทานศึกษา

อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.

           บทว่า  ถึงพร้อมด้วยมารยาทและที่เที่ยวนั้น  ถ้าหมายความว่า

ไม่ต้องอาบัติอันเป็นส่วนอาจารวิบัติ  ก็จะซ้ำกับบทว่าสำรวมแล้วด้วย

สำรวมในปาติโมกข์ ถ้าหมายเอาถึงพร้อมด้วยอาจาระอันเป็นส่วน

อภิสมาจาริกา  อันไม่ได้มาในปาติโมกข์  ก็พอไปได้  แต่เข้ากับบท

ว่าโคจรคือที่เที่ยวไม่สนิท.  ข้าพเจ้าเข้าใจว่า  บทว่า  ถึงพร้อมด้วย

มารยาทและที่เที่ยวนั้น  หมายเอาความประพฤติและการเที่ยวที่ไม่จัด




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 175

ว่าเป็นอาบัติ  แต่ไม่สมควรแก่ผู้ตั้งอยู่ในสังวร  เป็นทางรังเกียจของผู้

ได้เห็นได้ยิน  ดังจะแสดงเป็นอุทาหรณ์  ต่างว่าภิกษุเพ่งรโหนิสัชชะ

ยืนในที่กำบังกับมาตุคาม  จะปรับเป็นปาจิตติยะเพราะรโหนิสัชชะก็ไม่

ได้  แต่จะว่าไม่เป็นการเสียหายอะไรก็ไม่ได้เหมือนกัน  เช่นนี้ข้าพเจ้า

เข้าใจว่าเป็น   " อาจารวิปนฺโน "   เสียมารยาท  เป็นกัณหปักข์คือตรง

ข้ามข้างไม่ดีของบทว่า   " อาจารสมฺปนฺโน "   ถึงพร้อมด้วยอาจาระใน

บาลีสีลนิทเทสนั้น.  อีกอย่างหนึ่ง  ภิกษุแม้ไม่หวังจะดื่มสุรา  เข้าไปหา

คนหนึ่งในโรงสุรา เช่นนี้ก็น่าเกลียดอยู่  ไม่สมควรแก่ผู้เว้นสุรา  เป็น

" โคจรวิปนฺโน "  เสียในที่เที่ยว  เป็นกัณหปักข์ของบทว่า   " โคจร-

สมฺปนฺโน "   ถึงพร้อมด้วยที่เที่ยว.  ภิกษุมีอัธยาศัยสะเพร่า  พิจารณา

ไม่รอบคอบ  แต่ไม่ถึงเป็นอลัชชี  แลเห็นสั้น  อะไรไม่เป็นอาบัติแล้ว

เห็นใช้ได้  จึงหาทางหลีกเลี่ยงเพื่อจะทำด้วยไม่ต้องอาบัติ  จนมีข้อ

ความแนะนำเขียนลงในปกรณ์ทั้งหลายว่า   ทำอย่างนั้นเป็นอาบัติ  ทำ

อย่างนี้ใช้ได้  ความประพฤติอันเสีย  แต่ปรับอาบัติไม่ได้  ข้าพเจ้าเห็น

ว่าควรจัดเข้าในอาจารวิบัติด้วย.  ความเห็นปรารภธรรมวินัย  อันแผก

จากของคนอื่น  เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์  ที่ถูกตัดสินว่าเป็นผิด  จัด

เป็นทิฏฐิวิบัติได้.  การเลี้ยงชีพในทางน่าติเตียน  แต่ไม่เป็นอาบัติเพราะ

เหตุนั้น  ดังแสดงไว้ในวินีตวัตถุแห่งทุติยปาราชิกสิกขาบทว่า  ภิกษุ

พูดมุสาว่าจะรับไปให้ท่านผู้นั้นผู้นี้  ถือเอาของที่เขาเชื่อแล้วและให้เพื่อ

ประโยชน์ตนเอง  ท่านไม่ปรับเป็นอวหาร  เพราะเจ้าของเขาให้เอง

ปรับปาจิตติยะเพราะมุสาวาทเท่านั้น  และเรื่องในปัจจุบันมีภิกษุบางรูป




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 176

ไม่ได้รับนิมนต์ เข้าไปในการนิมนต์ของเขา  ปนกับภิกษุผู้รับนิมนต์

เจ้าของรู้ว่าพระเกินจำนวน  หรือบางทีรู้ด้วยว่าภิกษุนั้นเป็นผู้เกินจำนวน

แต่ถวายทานแก่เธอด้วย  เช่นนี้  ข้าพเจ้าเห็นว่าจัดเข้าในอาชีววิบัติได้.

           ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก  เป็นลัชชีมีละอาย  ใคร่ศึกษาในทางปฏิบัติ

พึงรักษาตนให้บริสุทธิ์จากวิบัติ   มีประการอันกล่าวแล้วนั้น.

                                         อโคจร

           บุคคลก็ดี  สถานก็ดี  อันภิกษุไม่ควรไปสู่  เรียกอโคจร  ท่าน

แสดงไว้   ประเภท  คือ  หญิงแพศยา ๑  หญิงหม้าย ๑  สาวเทื้อ ๑

ภิกษุณี ๑  บัณเฑาะก์ ๑  ร้านสุรา ๑.

           หญิงแพศยานั้น  หมายเอาหญิงหากินในทางกามทุกชนิดทั่วไป

แสดงอาการเปิดเผยก็ดี  แสดงอาการซ่อนเร้นก็ดี  อยู่เป็นโสดตาม

ลำพังตนก็ดี  อยู่ในหมู่ก็ดี  นับเข้าในชื่อหญิงแพศยาทั้งนั้นภิกษุ

คบหาชอบพอสนิทสนมกับหญิงแพศยา  ไปมาหาสู่กันเนือง ๆ ย่อมจะ

เป็นที่รังเกียจของสหธรรมิกด้วยกัน  ทั้งอันหญิงแพศยาย่อมจะจูงไปสู่

อำนาจ  ดังมีเรื่องเล่าถึงพระเถระรูปหนึ่งชื่อสุนทรสมุทร  เป็นบุตร

ของสกุลผู้มั่งคั่ง  แต่มีศรัทธาออกบวช  ทั้งยินดีในพรหมจรรย์ด้วย

มารดาบิดาหาอุบายจะให้ลาพรหมจรรย์ไม่สำเร็จ  หญิงแพศยาคนหนึ่ง

รับอาสา  ตามไปตั้งสำนักอยู่ในเมืองที่พระเถระอยู่  ในเวลาแรกคอย

ถวายบิณฑบาตในเวลาพระเถระออกเที่ยวภิกษาจาร  พอคุ้นกันเข้า

โดยฐานได้เคยรับบาตรใส่บาตรอยู่เนือง ๆ  คราวนี้นิมนต์ให้ฉันที่

เรือน  แต่แรกก็ให้ฉันในที่เปิดเผย  ต่อมาหญิงนั้นหาอุบายให้เด็กมาเล่น




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 177

บ้าง  ทำรกบ้าง  พออ้างเป็นเหตุ  นิมนต์พระเถระให้เข้าฉันในห้องเรือน

แสดงอาการสนิทสนมเข้าทุกที ยั่วยวนพระเถระในทางกาม  จนท่าน

รู้สึกตัวจึงได้หลีกไปเสีย  ท่านเป็นผู้มีสติและมั่นอยู่ในธรรมของภิกษุ

จึงเอาตัวรอด.  แต่มิใช่ว่าท่านสาปหญิงประเภทนี้เสียทีเดียว  จะรับ

นิมนต์ไปเป็นกิจลักษณะได้อยู่  มีพวกภิกษุรับนิมนต์แล้วในทำภัตกิจ

ที่เรือนของนางสิริมาเป็นตัวอย่าง  แต่ควรตั้งสติระวังมิให้เสียสังวร.

           หญิงหม้ายนั้น  หมายเอาทั้งหญิงมีสามีตาย  ทั้งหญิงมีสามีร้าง

คือหย่าจากกัน.  หญิงเทื้อนั้น  หมายเอาหญิงโสดหาสามีมิได้  อยู่

ลำพังตน.  ภิกษุคบหาสนิทสนมกับหญิง   ประเภทนี้  ไปมาหาสู่ไม่

เป็นกิจลักษณะหรือผิดเวลา  ย่อมจะเป็นที่รังเกียจของสหธรรมิกด้วย

กัน  ทั้งล่อแหลมต่ออันตรายแห่งพรหมจรรย์ด้วย  แต่มิใช่ว่าเป็นคน

ไม่ควรคบเสียเลย  จะรู้จักกัน  หรือไปมาหาสู่กัน  โดยเป็นกิจลักษณะ

ได้อยู่  แม้จะรับบำรุงของเขาก็ได้ แต่พึงประพฤติพอดีพองาม.  ดัง

ภิกษุรูปหนึ่ง  ผู้ไปสำนักอยู่   บ้านมาติกคามแคว้นโกศล  ได้รู้จักกัน

กับมารดาของนายบ้านนั้น  และได้รับบำรุงของเขา  ได้ความสะดวก

บำเพ็ญสมณธรรมสำเร็จ  คบกันพอดีพองาม  เช่นนี้ไม่มีโทษ.

           ภิกษุณี  เป็นพรหมจารินี  จัดว่าเป็นหญิงโสด  แม้เป็นสห-

ธรรมิกด้วยกัน  ก็ยังสมควรจะคบกันแต่พอดีพองาม  พระศาสดา

ได้ทรงบัญญัติสิกขาบทเนื่องด้วยการคบภิกษุณีไว้หลายมาตรา  ก็เพื่อ

จะได้ตั้งอยู่ในประมาณ.




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 178

           บัณเฑาะก์นั้น  หมายเอาบุรุษที่เขาตอนเสียแล้ว  ได้ยินว่า  ใน

ราชสำนักแห่งประเทศจีนและแห่งประเทศตุรกี ในกาลก่อนแต่นี้  ได้

ใช้พวกบัณเฑาะก์ชนิดนี้  เป็นคนเข้าข้างในออกข้างนอกได้  ในเรื่อง

จีนเรียกว่าขันที.  พวกบัณเฑาะก์นี้เป็นสวาทในหมู่บุรุษ จึงเป็นที่

รังเกียจของพวกภิกษุ  พังเห็นในสิกขาบทสังฆาทิเสสเนื่องด้วยหญิง

คงจัดบัณเฑาะก์เป็นวัตถุแห่งถุลลัจจัย  ในลำดับรองหญิงลงมา  ภิกษุ

ผู้คบหาสนิทสนมกับบัณเฑาะก์ ย่อมเป็นที่รังเกียจของสหธรรมิกด้วยกัน

ในทางเล่นสวาท.

           ร้านสุรานั้น  คือที่ขายสุรา  แม้โรงที่กลั่นสุราก็นับเข้าในชื่อนี้.

ภิกษุเข้าไปในร้านสุรา  เขาคงเข้าใจว่ามีความต้องการดื่ม  อันการ

ดื่มสุราย่อมเป็นอุปกิเลสคือมลทินของสมณะ  ย่อมจะเป็นที่รังเกียจ

ของผู้ได้เห็นหรือได้ยิน.  ร้ายฝิ่นโรงฝิ่นอันเป็นของเกิดขึ้นในภายหลัง

สงเคราะห์เข้าในสถานนี้   เป็นอโคจรของภิกษุเหมือนกัน.

           ภิกษุผู้ไปสู่บุคคลก็ดี  สถานก็ดี  ดังกล่าวแล้ว  ด้วยอาการไม่ดี

ไม่งาม  เป็นที่น่ารังเกียจ ได้ชื่อว่า   " โคจรวิปนฺโน "   แปลว่ามีโคจร

วิบัติ.  ภิกษุผู้เว้นอโคจร   นี้  จะไปหาใครหรือจะไปที่ไหน เลือก

บุคคล  เลือกสถานอันสมควร  ไปเป็นกิจลักษณะในเวลาอันควร

ไม่ไปพร่ำเพรื่อ  กลับในเวลา  ประพฤติตนไม่ให้เป็นที่รังเกียจของสห-

ธรรมิก  เพราะการไปเที่ยว  ได้ชื่อว่า   " โคจรสมฺปนฺโน "   แปลว่าผู้

ถึงพร้อมด้วยโคจร  เป็นหลักคู่กับมารยาทในสิลนิทเทส  รวมเรียก

ว่า   " อาจารโคจรสมฺปนฺโน "   ผู้ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร  เป็น




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 179

คู่กับคุณบทว่า   " สีลสมฺปนฺโน "   ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.  ภิกษุผู้ถึงพร้อม

ด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร  ย่อมประดับพระศาสนาให้

รุ่งเรืองแล.