วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วินัยมุข เล่ม ๒ นักธรรมโท หน้าแรก ถึง หน้า๑๐ สิกขานอกพระปาฏิโมกข์ อภิสมาจาร


       คำนำ 

        วินัยมุข  เล่ม ๒  เป็นหลักสูตรนักธรรมชั้นโท  พิมพ์ครั้งนี้

ได้จัดวรรคตอนให้เรียบร้อยดียิ่งขึ้น  และแก้ไขอักษรให้ถูกต้องตาม

ความนิยมของชนหมู่มาก  ส่วนข้อความคงไว้ตามเดิม  มิได้แก้ไข

เปลี่ยนแปลงอย่างไร.

                                                        กองตำรา

มหามกุฏราชวิทยาลัย

๒๕  มิถุนายน  ๒๔๘๑




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 1

                                  วินัยมุข  เล่ม 

                          สิกขาบทนอกพระปาติโมกข์  

                                      อภิสมาจาร

           สิกขาบทแผนกนี้  มาในขันธกะเป็นพื้น  ไม่ได้บอกจำนวน

เหมือนสิกขาบทมาในพระปาติโมกข์  จัดเป็นพวก ๆ  ตากิจหรือ

วัตถุ  เรียกว่าขันธกะอันหนึ่ง ๆ  เช่นว่าด้วยทำอุโบสถ  จัดไว้พวก

หนึ่ง  เรียกว่าอุโบสถขันธกะ  ว่าด้วยจีวร  จัดไว้อีกพวกหนึ่ง  เรียก

จีวรขันธกะ  มาในที่อื่นก็มี  เช่นในนิทานต้นบัญญัติแห่งสิขาบท

มาในพระปาติโมกข์บ้าง  ในวินีตวัตถุเรื่องสำหรับเทียบเคียงตัดสิน

อาบัติในคัมภีร์วิภังค์บ้าง  มาในอรรถกถาที่เรียกวาบาลีมุตตกะบ้าง.

จะกล่าวไปตามแนวคัมภีร์ขันธกะ  ก็ไม่เหมาะ  เพราะประการทั้งหลาย

คือ  ข้อทั้งหลายที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ขันธกะ  อันพ้นจากมุขแห่งปฏิบัติ

จะไม่กล่าวถึงก็มี  ที่ยังสับสนหรือยังควรจะจัดเข้าพวกได้อีกก็มี  ข้อ

นอกคัมภีร์ขันธกะ  อันจะเก็บมารวบรวมก็มี ในที่นี้จึงจำเป็นจะจัด

หมวดใหม่  สุดแต่จะเหมาะได้อย่างไร  แต่จะทำตามวิธีนั้น  คือจัด

เป็นหมวดกันตามกิจหรือวัตถุ.

           และสิกขาบทแผนกนี้  มีรูปเป็น ๒  คือ  เป็นข้อห้าม ๑

เป็นข้ออนุญาต ๑.  และข้อห้ามนั้นปรับอาบัติโดยตรงมีเพียง   คือ

ถุลลัจจัย ๑  มีห่าง ๆ  และพ้นจากมุขแห่งปฏิบัติทุกกฏ ๑  มีเป็น




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 2

พื้นไป  ที่ไม่ได้ปรับอาบัติโดยตรง  เป็นแต่กล่าวว่า  อย่า ๆ  ไม่ ๆ

เป็นคำแนะคำสอนก็มี  เช่นนี้มีอยู่ในกถาทั้งหลายอันกล่าวเป็นเรื่อง ๆ

ไป  เมื่อไม่เอื้อเฟื้อในที่จะเว้น  พระอาจารย์ท่านปรับเป็นทุกกฏ 

ดุจในเสขิยะ.  ข้อที่อนุญาตนั้น  น่าจะเห็นว่าเป็นประทานประโยชน์

พิเศษ  เช่นทรงอนุญาตวัสสิกสาฎก  ไม่ได้บังคับว่า  ภิกษุทุกรูป  เมื่อ

ถึงฤดูฝนจะต้องมีผ้าอาบน้ำฝน  เป็นแต่ถ้าต้องการก็มีได้  ใช้จีวรได้

มากผืนออกไปกว่าไตรจีวร  แต่มีอนุญาตบางแห่ง  เป็นเหมือนข้อ

ห้าม  เช่นอนุญาตเพื่อปิดประตูก่อนแล้วจึงนอนในกลางวัน  นี้ไม่ใช่

ประโยชน์พิเศษเลย  กลับเป็นเครื่องผูกมัด  ควรจะว่า   " อันภิกษุ

ผู้จะพักในกลางวัน  พึงปิดประตูเสีย  ภิกษุใดไม่ปิด  ต้องทุกกฏ "

เช่นนี้ความจะชัด  แต่อย่างไรจึงเป็นอนุญาติไป  ข้าพเจ้าเข้าใจว่า

เป็นเพราะเรียงคำเผลอไป  เพราะมีเป็นบางแห่ง  พระคันถรจนา-

จารย์หมายเอาอนุญาตเช่นนี้กล่าวไว้ว่า   ไม่ทำตามต้องอาบัติทุกกฏ.

ส่วนอนุญาตมีปริกัปเห็นได้แท้  เช่นอนุญาตสัตตาหกาลิกในวิกาล  ต่อ

เมื่อมีปัจจัยจึงให้ฉันได้  เมื่อปัจจัยไม่มีและฉัน  เป็นอันถือประโยชน์

พิเศษเกินไป  ท่านปรับทุกกฏชอบอยู่.  ยังข้อที่สอนให้ทำว่าควร

อย่างนั้น ๆ  จะเรียกข้ออนุญาตโดยอ้อมก็ได้  เมื่อไม่ทำตามข้อ

เช่นนี้  จะปรับทุกกฏ  เพราะไม่เอื้อเฟื้อก็ชอบอยู่  พึงรู้จักข้ออนุญาต

อันให้ประโยชน์พิเศษ  หรือบังคับให้ทำ  ดังนี้.

           อาบัติที่ปรับแก่ภิกษุผู้ละเมิดในแผนกนี้  มีแต่ถุลลัจจัยกับ

ทุกกฏเท่านั้น  และถุลลัจจัยก็มีห่าง  ทั้งพ้นจากทางแห่งปฏิบัติด้วย




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 3

ข้าพเจ้าจักไม่ออกชื่ออาบัติ เว้นไว้แต่ที่เป็นถุลลัจจัย  จะบอกให้

แจ้ง  ผู้ศึกษาพึงเข้าใจเอาเอง  ตามหลักที่กล่าวแล้วในตอนหลัง

เรียงเช่นนี้เห็นว่าจะน่าอ่านน่าฟังกว่า.  พึงเข้าใจทุกกฏในที่นี้ว่า  เป็น

แต่ลำพังวิติกกมะ  คือความละเมิดธรรมเนียม  เป็นการเสียหายได้

เพียงไร  พึงรู้ดังนี้ :- 

           ถ้าล่วงแต่บางอย่างหรือบางครั้ง  ก็ไม่พอเป็นอะไร  แต่ถ้า

ล่วงมากอย่างหรือเป็นนิตย์ไป  ธรรมเนียมย่อมกลายไป  หรือเสื่อม

เสียไป  ภิกษุต่างเป็น ๒  พวก  คือเคร่งและไม่เคร่ง  ก็เพราะพวก

เคร่งยังรักษาธรรมเนียมแข็งแรง  พวกไม่เคร่งทอดธุระเสีย  ไม่

เอื้อเฟื้อในอันทำตาม.  รู้เช่นนี้แล้ว  พึงปฏิบัติโดยสายกลาง  ไม่ทำ

ตนให้ลำบากเพราะธรรมเนียมอันขัดขวางต่อกาลเทศะ  และไม่มัก

ง่ายจนถึงจะทำตนให้เป็นผู้เลวทรามปฏิบัติเพียงเท่านี้  ก็เรียกได้ว่า

งาม  ยังพอจะสืบอายุพระพุทธศาสนาได้อยู่.

           แต่นี้จักแสดงอภิสมาจาร  คือธรรมเนียมของภิกษุ  จัดเป็น

กัณฑ์ ๆ  ตามเรื่อง  ดังต่อไปนี้




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 4

                                        กัณฑ์ที่  ๑๑

                                        กายบริหาร

           ข้อ ๑  อย่าพึงไว้ผมยาว  จะไว้ได้เพียง   เดือน   หรือ   นิ้ว

           อธิบายว่า  เมื่อถึงกำหนด   เดือน  แม้ผมยังไม่ถึง  ๒ นิ้ว  ก็

พึงปลงเสีย  หรือยังไม่ทันถึง   เดือน  แต่ผมยาวถึง   นิ้วแล้ว  ก็

พึงปลงเสียเหมือนกัน.

           เข้าใจว่า  ธรรมเนียมนี้มีขึ้นโดยลำดับกาล  ในครั้งแรก  พวก

ภิกษุคงไว้ผมยาวกว่านี้  จึงได้มีข้อห้ามไม่ให้หวีผมด้วยหวีหรือด้วย

แปรง  ห้ามไม่ให้เสยผมด้วยนิ้วมือโดยอาการว่าหวี  ห้ามไม่ให้แต่ง

ผมด้วยน้ำมัยเจือขี้ผึ้ง  หรือด้วยน้ำมันเจือน้ำ  ห้ามไม่ให้ตัดผมด้วย

ตะไกร  เว้นไว้แต่อาพาธ  และห้ามไม่ให้ถอนผมหงอก  กิจเหล่านี้

สำหรับคนผมยาวกว่า ๒  นิ้วทั้งนั้น.  และคงไม่มีกำหนดลงเป็นแน่

เป็นแต่เห็นว่ายาวก็ปลงกันเสียคราวหนึ่ง  แต่คงไม่ยาวเกินไปจนโกน

ด้วยมีดไม่สะดวก  ในพวกนิครนถ์เขาไว้ผมตั้งแต่   เดือนขึ้นไปหา

๔ เดือน.  ผม ๔  เดือนดูพอสมจะหวีและแต่ง  ที่ห้ามไว้.

           ข้อ ๑  อย่าพึงไว้หนวดไว้เครา.

           ในข้อนี้  ไม่มีกำหนดชัดเหมือนผม  แต่คงไม่ยาวจนถึงจะแต่งให้

มีสัณฐานต่าง ๆ  ได้  และโกนด้วยมีดไม่สะดวก.  แต่เดิมคงไว้ยาว

จึงมีข้อห้ามไม่ให้แต่งหนวด  และห้ามไม่ให้ตัดหนวดด้วยตะไกร.

           ข้อ ๑  อย่าพึงไว้เล็บยาว  พึงตัดเสียด้วยมีดเล็กพอเสมอเนื้อ,

และอย่าพึงขัดเล็บให้เกลี้ยงเกลา  แต่เล็บเปื้อน  จะขัดมลทิน  หรือ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 5

จะแคะมูลเล็บ  ได้อยู่  นี้เป็นกิจที่ควรทำ.

           ข้อ ๑   อย่าพึงไว้ขนจมูกยาว  พึงถอนเสียด้วยแหนบ.

           ขนจมูกนี้  แสดงในตำราสรีรศาสตร์ว่า  มีประโยชน์รับธุลีอัน

ตามอากาศที่สูดเข้าไปในเวลาหายใจไว้  ไม่ให้เข้าไปในปอด  แต่มี

ข้อห้ามอย่างนี้  คงเพ่งขนที่ยาวออกมานอกช่องจมูก.

           ข้อ ๑  อย่าพึงให้นำเสียซึ่งขนในที่แคบ  คือในร่มผ้าและที่รักแร้

เว้นไว้แต่อาพาธ.   ในเวลาเช่นนั้น  จะให้นำเสียเพื่อทายาหรือพวกยา

ได้อยู่  แต่ในที่อื่น  ที่แคบหมายเอาช่องทวารหนัก  ห้ามถอนขน

ของทวารหนักก็เป็นได้.

           ข้อ ๑  อย่าพึงผัดหน้า  อย่าพึงไล้หน้า  อย่างพึงทาหน้า  อย่า

พึงย้อมหน้า  อย่าพึงเจิมหน้า  อย่าพึงย้อมตัว  เว้นไว้แต่อาพาธ.

           ผัดหน้านั้น  คือใช้แป้งผงลูบให้ผิวมีนวล.  ไล้หน้านั้น  พึงเห็น

เช่นใช้ฝุ่นละลายน้ำทา แห้งแล้วลูบให้เสมอ  ทำให้ผิวหน้าขาว  เรา

เรียกว่าผัดหน้าเหมือนกัน ตามปกติไม่ได้ใช้ เขาผัดอย่างนี้แต่หน้า

ของเด็กโกนจุกและหน้าของละคร  แต่ในบาลีท่านเรียกแยกกัน   ช่าง

สมนี่กระไร  ไล้หน้าแท้ ๆ.  ทาหน้านั้น  เช่นทาแป้ง.  ย้อมหน้านั้น

เช่นทาขมิ้น.  เจิมหน้านั้น   เช่นเจิมด้วยกระแจะที่ผู้ใหญ่ทำให้ผู้น้อย

ในคราวมงคล  แต่ในบาลีว่า  เจิมด้วยมโนศิลา  คือน้ำยาหรือสีที่

ใช้เขียนรูปภาพ  ข้อนี้แปลกอยู่  เคยได้ยินแต่พวกฮินดู  เจิมหน้า

ด้วยมูลโค.  การเขียนหน้า  ป้ายหน้าด้วยสีนั้น  ดูเก่ากว่าครั้งพุทธ-

กาล  เขาใช้เพื่อจะทำหน้าให้ขึงขัง  หรือน่ากลัวขึ้นกว่าปกติ  พวก




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 6

จีนคงเคยได้ใช้มาแล้ว  พวกงิ้วเล่นเรื่องโบราณจึงเขียนหน้า.  ย้อม

ตัวนั้น  พึงเห็นเช่นทาขมิ้น.  ข้อเหล่านี้  ห้ามเฉพาะเพื่อทำให้สวย

อาพาธเช่นเป็นโรคที่ผิว  จะทายาเป็นต้นว่าไพลได้อยู่  ในบาลีกล่าว

ไว้เฉพาะหน้า แม้ตัวก็เหมือนกัน.

           ข้อ ๑  อย่าพึงแต่งเครื่องประดับต่าง ๆ  เป็นต้นว่า  ตุ้มหู

สายสร้อย  สร้อยคอ  สร้อยเอง  เข็มขัด  บานพับ  [ สำหรับรัดแขน ]

กำไลมือ  และแหวน.

           ข้อ ๑  อย่าพึงส่องดูเงาหน้าในกระจงหรือในวัตถุอื่น อาพาธ

เป็นแผลที่หน้า จะส่องดูแผลเพื่อตรวจหรือเพื่อทายา  ปิดยา  ได้อยู่.

           ครั้งยังไม่มีกระจกเงา เขาทำแผ่นทองเหลืองกลมขัดชัดเงาจน

ส่องเห็น  เรียกว่าแว่น  ใช้ส่องดูเงาหน้า  ในแว่นนี้บ้าง  ในน้ำบ้าง

ในบาลีจึงกล่าวห้ามไม่ให้ส่องดูเงาหน้าในของเช่นนั้น.  การส่องเงา

หน้านี้เนื่องในการแต่งตัวนั้นเอง  ห้ามแต่งตัวแล้ว  จึงห้ามส่องเงา

หน้าด้วย  ทรงอนุญาตให้ส่องได้เมื่ออาพาธ  ชื่อว่าทรงอนุญาตให้

ส่องเพื่อทำธุระได้  เพราะเหตุนั้น  จะส่องกระจกโกนหนวดโกนผม

ที่ตนทำเองเพื่อสะดวก  เห็นไม่มีโทษ  แต่ไม่ส่องก็ทำได้เหมือนกัน.

           ข้อ ๑  อย่าพึงเปลือยกายในที่ไม่บังควร  ในเวลาไม่บังควร

ถ้าเปลือยเป็นวัตรเอาอย่างเดียรถีย์  ต้องถุลลัจจัย  ถ้าเปลือยทำกิจ

แก่กัน  คือ  ไหว้  รับไหว้  ทำบริกรรม  ให้ของ  รับของ  และ

เปลือยในเวลาฉัน  ในเวลาดื่ม  ต้องทุกกฏ.  แต่ในเรือนไฟและในน้ำ

ทรงอนุญาตให้เปลือยกายได้  จะทำบริกรรม  คือ  นวดฟั้นหรือประคบ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 7

ให้กันในเรือนไฟ  และจะทำบริกรรม  คือ  ถูตัวให้กันในน้ำก็ได้ไม่ต้อง

อาบัติตามนัยข้างต้น  ปิดกายด้วยผ้าแล้ว  พ้นจากความเปลือย.

           เรือนไฟนั้น  เป็นที่อบกายให้ร้อนเหงื่อตก  อย่างเข้ากระโจม

ที่ใช้อยู่ในประเทศนี้ในกาลก่อน ทรงอนุญาติเป็นพิเศษ  ไม่ต้อง

ปาจิตติยะ  เพราะผิงไฟ  และไม่ต้องทุกกฏ  เพราะเปลือยกายทำ

บริกรรมแก่กัน.

           ธรรมเนียมอาบน้ำของภิกษุครั้งก่อน  เมื่อยังไม่ได้ใช้อติเรกจีวร

ฟุ่มเฟือย  เปลือยกายอาบน้ำ  ไปถึงท่าน้ำแล้ว  เลือกที่สงัดหรือรอ

เวลาสงัด  เปลื้องผ้าห่มออกผึ่งไว้  แก้ประคดเอววางไว้บนนั้น  ไปที่

ใกล้น้ำ  แล้วนั่งยอง  เปลื้องผ้านุ่งออก  มีที่พอจะผึ่งได้  ก็ขึงผึ่งไว้

ที่ผึ่งไม่มี  ก็จีบวางไว้แล้วค่อยลงไปในน้ำ  ราวมิดสะดือ  หันหน้ามา

ทางฝั่ง  ระวังผ้านุ่งผ้าห่มของตน  ค่อยดำลงแล้วผุดขึ้น  อาบโดย

เรียบร้อย  ครั้นเสร็จแล้วขึ้นจากน้ำนั่งยอง  จับผ้านุ่งเข้าวงกาย

แล้วลุกขึ้นยืน  นุ่งเรียบร้อยแล้ว  คาดประคดเอง  ห่มจีวรแล้ว

จึงไป.

           ภายหลังทรงอนุญาตที่อาบน้ำขึ้นในอาราม มีกำแพงก่อด้วยอิฐ

หรือด้วยศิลาหรือมีฝาไม้บัง  ดาดพื้นเพื่อกันลื่น  ด้วยของ ๓  อย่างนั้น

อย่างใดอย่างหนึ่ง  และทำท่อสำหรับไขน้ำอาบออกไป.

           และมีข้อห้ามภิกษุผู้อาบน้ำ  ไม่ให้สีกายในที่ไม่บังควร  เช่น

ต้นไม้  เสา  ฝาเรือน  และแผ่นกระดาน  ไม่ให้สีกายด้วยของไม่

บังควร  เช่นไม้ทำเป็นรูปมือ  หรือจักเป็นฟันมังกรและเกลียวเชือก




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 8

ที่คม  เอาหลังต่อหลังสีกันก็ห้าม.  เกลียวผ้าและฝ่ามือ  เป็นของ

ที่ใช้ได้.

           ข้อ ๑  อย่าพึงนุ่งผ้าอย่างคฤหัสถ์  อย่าพึงห่มผ้าอย่างคฤหัสถ์.

           ด้วยข้อนี้  เป็นห้ามเครื่องนุ่งห่มของคฤหัสถ์  เช่น  กางเกง

เสื้อ   ผ้าโพก  หมวก  ผ้านุ่งผ้าห่มสีต่าง ๆ  ชนิดต่าง ๆ และอาการ

นุ่งห่มต่าง ๆ  ที่ไม่ใช่ของภิกษุ.  แต่ในวิภังค์แห่งสิกขาบทว่าด้วยขอ

จีวร  [ ที่   แห่งจีวรวรรคนิสสัคคิยกัณฑ์ ]  กล่าวว่า  ถ้าถูกโจรชิง

จีวรไปหมด  พอจะปิดกายด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งได้พลาง  เป็น

ต้นว่าผ้าต่างชนิดที่ไม่ได้ใช้เป็นผ้าห่ม  โดยทีสุดใบไม้ก็ให้ปิด  ยัง

จะทำได้  ห้ามมิให้เปลือยกายมา  ถ้าทำเช่นนั้นต้องทุกกฏ.

           ข้อ ๑  ถ่ายอุจจาระแล้ว  เมื่อน้ำมีอยู่  จะไม่ชำระไม่ได้  เว้น

ไว้แต่หาน้ำไม่ได้  หรือน้ำมี  แต่ไม่มีภาชนะที่จะตัก  เช่นนี้  เช็ดเสีย

ด้วยไม้หรือด้วยของอื่นเพียงเท่านั้นก็ได้.

           ข้อ ๑  อย่าพึงให้ทำสัตถกรรมในที่แคบ  หรือในที่ใกล้ที่แคบ

เพียง   นิ้ว  อย่าพึงให้ทำวัตถิกรรม.  ให้ทำ  ต้องถุลลัจจัย.

           ที่แคบนั้น  หมายเอาทวารหนัก  ห้ามสัตถกรรมในที่แคบนั้น

คือ  ห้ามการผ่าตัดทวารหนักด้วยศัสตรา  ในที่ใกล้ทวารหนักเพียง ๒

นิ้วก็ห้าม.  ห้ามวัตถิกรรมนั้น  พระอรรถกถาจารย์แก้ว่า  ห้าม

ผูกรัดที่ทวารหนัก.  อธิบายตามมติของท่านว่า  ให้ผ่าหรือตัดหัว

ริดสีดวงงอก  เป็นให้ทำสัตถกรรมในที่แคบ  ให้ผูกรัดหัวริดสีดวงงอก

นั้น  เพื่อให้แห้งแล้วหลุดเอง  เป็นให้ทำวัตถิกรรม  ห้ามทั้ง ๒  อย่าง




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 9

แต่จะหยอดน้ำด่างให้กัดหรือจะผูกไว้ด้วยด้าย  [ เพื่อมิให้หดเข้าไป

เสีย ]  ได้อยู่หากหัวนั้นหลุด  ก็เป็นอันหลุดด้วยดี  ใช้ยารมหรือ

ยาทาแม้สอดชุดอันทายาเหน็บเข้าในทวารหนัก  หรือใช้หลอดสอด

เข้าไปหยอดน้ำด่างหรือน้ำมันก็ได้  โดยนัยนี้  จะเจาะกล่อนเอาน้ำ

ออก  จะผ่าเอาเม็ดนิ่วออก  เป็นอันห้ามทั้งนั้น.  แต่ศัพท์ว่าวัตถิใน

ที่อื่น  เป็นชื่อแห่งกระเพาะเบา  ข้าพเจ้าเข้าใจว่า  ห้ามวัตถิกรรมนั้น

ได้แก่ห้ามสวนทวารเบา  การนี้พวกหมอรู้จักทำกันมาแล้ว  ครั้งยัง

ไม่มีเครื่องมือที่ดีกว่า  ได้ยินว่าเขาใช้ใบไม้อันเป็นหลอดเช่นใบหอม

เช่นเดียวกับใช้ลำไม้หรือต้นหญ้าอันเป็นหลอด  สวนทางทวารหนัก

ครั้งพุทธกาล ความรู้ในการผ่าตัดบาดแผลของแพทย์มีแล้ว  แต่คง

ยังไม่ชำนาญ  ทำในที่สำคัญเช่นนั้น  คนเจ็บคงเป็นอันตรายมากกว่า

หาย จึงได้ห้ามและปรับอาบัติแรงด้วย.  แต่ในบัดนี้  มีแพทย์ผู้

ชำนาญในทางนี้มาก  ข้อนี้กลับขัดขวางแก่ความรอดจากอันตรายของ

คนไข้เสียอีก.  เคร่งในที่เช่นนี้  เกินพอดี.

           ข้อ ๑  เป็นธรรมเนียมของภิกษุ  ต้องใช้ไม้ชำระฟัน.  ของเดิม

ไม่ใช่ไม้สีฟัน  เช่นในประเทศของเรา  เป็นไม้ชนิดหนึ่ง  เนื้อ

อ่อนอย่างไม้โสนหรือรากลำภู ฟันกัดแหลก  ทำเป็นอันยาวขนาด

พลูจีบของเรา  ใช้กัดเหมือนกัดพลูนั้นเอง  เคี้ยวจนแหลกแล้วคาย

อย่างเดียวกับเคี้ยวหมากคายหมาก  ไม้ชนิดนั้นเป็นเครื่องชำระฟัน

ได้ดี.  ในบาลีพรรณนาประโยชน์แห่งการเคี้ยวไม้ชำระฟันว่า  ฟันดู

ได้ไม่สกปรก  ปากไม่เหม็น  เส้นประสาทรับรสหมดจดดี  เสมหะไม่




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 10

หุ้มอาหาร  ฉันอาหารมีรส.  ไม้ชำระฟันนั้น  ห้ามไม่ให้ใช้ของยาว

หรือสั้นเกินไป  มีกำหนดให้ใช้ยาว ๔  นิ้วขึ้นไปหา  ๘ นิ้ว.  อาการที่

ใช้ ๆ  เคี้ยวพร่ำเพรื่อไม่เฉพาะเวลาฉันอาหารแล้ว  อย่างเคี้ยวหมาก

เคี้ยวเมี่ยง  จึงมีห้ามไม่ให้เคี้ยวไม้ชำระฟันในวัจจกุฎี.

           อนึ่ง  น้ำที่จะใช้ดื่ม  ให้กรองก่อน  จึงทรงอนุญาตผ้ากรองไว้

สำหรับ  ไม่ใช่เพียงจะป้องกันตัวสัตว์  ยังต้องการของที่สะอาดด้วย.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น