วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วินัยมุขเล่ม ๒ นักธรรมโท หน้า ๑๔๒ ถึงหน้า๑๕๓ ภัณฑะต่างเจ้าของ


นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 142

                                      กัณฑ์ที่  ๒๐

                                ภัณฑะต่างเจ้าของ

                                      ของสงฆ์

           ภัณฑะที่เขาถวายเป็นสาธารณะแก่หมู่ภิกษุ  ไม่เฉพาะตัว  หรือ

ภัณฑะอันภิกษุรับก็ดี  ปกครองหวงห้ามไว้ก็ดี  ด้วยความเป็นของ

สาธารณะแก่หมู่ภิกษุ  จัดเป็นของสงฆ์  มี   ประเภท เรียกโดย

ชื่อว่า  ลหุภัณฑ์ ของเบา ๑  ครุภัณฑ์  ของหนัก ๑.  บิณฑบาต

เภสัช  กับบริขารที่จะใช้สำหรับตัว  คือ  บาตร  จีวร  ประคดเอว

เข็ม  มีดพับ  มีดโกน  จัดเป็นลหุภัณฑ์  เป็นของแจกกันได้  มีพระ

พุทธานุญาตไว้  ให้สงฆ์สมมติภิกษุบางรูปไว้ให้เป็นผู้มีหน้าที่แจกลหุ-

ภัณฑ์เหล่านี้แก่ภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุผู้มีหน้าที่แจกภัตตาหาร  ตลอด

ถึงรับนิมนต์ของทายกแล้วจ่ายให้ไป  เรียกภัตตุทเทสกะ   ภิกษุผู้มี

หน้าที่แจกจีวร  เรียกจีวรภาชกะ  ภิกษุผู้มีหน้าที่แจกเภสัชและ

บริขารเล็กน้อย  เรียกอัปปมัตตกวิสัชชกะ.  วิธีแจกนั้น  อาหาร

หรือจีวรมีมาก  พอแจกทั่วกัน ก็แจกทั่วกัน  มีน้อย  ไม่พอทำอย่าง

นั้น  แจกลงมาโดยลำดับพรรษา  หมดเพียงใดหยุดเพียงนั้น ได้มา

อีกจึงแจกต่อลำดับนั้นลงมา  แจกโดยนัยนี้จนตลอด  แล้ววนลงไป

ใหม่.  เภสัชแจกอย่างไร  ท่านไม่ได้กล่าวไว้  สันนิษฐานว่า  เภสัช

เป็นสัตตาหกาลิก  คงแจกอย่างอาหาร  เภสัชเป็นยาวชีวิก  คงเก็บไว้

มีภิกษุเจ็บไข้ลง  ต้องการยาชนิดใด  คงจ่ายยาชนิดนั้นให้.  บริขาร




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 143

เล็กน้อยก็เหมือนกัน  ภิกษุใดต้องการของชนิดใด  ภิกษุผู้แจกนั้นได้รับ

อนุญาตจากสงฆ์ด้วยสมมตินั้นแล้ว  อาจจ่ายของชนิดนั้นให้แก่ภิกษุ

รูปนั้น.

           ภัณฑะอันไม่ใช่ของสำหรับใช้สิ้นไป  เป็นของควรรักษาไว้ได้

นาน  เป็นเครื่องใช้ในเสนาสนะ  หรือเป็นตัวเสนาสนะเอง  ตลอด

ถึงกุฎีและที่ดิน  จัดเป็นครุภัณฑ์  เป็นของที่แจกจ่ายกันไม่ได้  ให้

เก็บรักษาไว้  เป็นของสาธารณะ  แม้แจกจ่ายกัน  ก็ไม่เป็นอันแจก

พึงเป็นของที่ต้องคืนหรือเอาสิ่งอื่นใช้แทน  และปรับภิกษุผู้แจกเป็น

อาบัติถุลลัจจัย.  ครุภัณฑ์นั้น  แสดงไว้ในบาลี   หมวด  สิริเป็น

ของ  ๒๕  สิ่ง  มีรายชื่อดังนี้ :-

           หมวดที่ ๑   พื้นดินและของปลูกสร้างเป็นอาราม  จำแนกโดย

ชื่อเป็นของ    คือ   " อาราโม "   ของปลูกสร้างในอาราม  ตลอดถึง

ต้นไม้ ๑   " อารามวตฺถุ "   ที่ดินพื้นอาราม ๑

           หมวดที่ ๒  พื้นดินและของปลูกสร้างเป็นวิหาร  จำแนกโดย

ชื่อเป็น   เหมือนกัน  คือ   " วิหาโร "   กุฎีที่อยู่ ๑   " วิหารวตฺถุ "

พื้นที่ปลูกกุฎี ๑  เหตุไฉนหมวดนี้จึงแยกจากหมวดที่ ๑  ข้าพเจ้า

ไม่เข้าใจ.

           หมวดที่ ๓  ของที่เป็นตัวเสนาสนะเอง  จำแนกโดยชื่อเป็น 

คือ   " มญฺโจ "   เตียง ๑   " ปีฐํ "   ตั่ง ๑   " ภิสี "   ฟูก ๑   " พิมฺโพหนํ "

หมอน ๑.

           หมวดที่ ๔  เครื่องโลหะ  ที่เป็นภาชนะและเครื่องมือ  จำแนก




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 144

โดยชื่อเป็น  ๙ คือ   " โลหกุมฺภี "   หม้อโลหะ ๑   " โลหภาณกํ "

อ่างโลหะ ๑   " โลหวารโก "   กระถางโลหะ ๑   " โลหกฏาหํ"   กะทะ

โลหะ ๑   " วาสี "   มีดใหญ่หรือพร้าโต้ ๑   " ผรสุ "   ขวาน ๑   " กุฐารี "

ผึ่งสำหรับถากไม้ ๑   " กุทฺทาโล "   จอบหรือเสียมสำหรับขุดดิน ๑

" นิขาทนํ "   สว่านสำหรับเจาะไม้ ๑.  โลหะนั้น  เป็นธาตุที่หลอม

ออกจากแร่  ทองแดง  ทองเหลือง  เหล็ก  ดีบุก  สงเคราะห์เข้า

ในโลหะทั้งนั้น.  หมวดนี้น่าจะแยกเป็น ๒  เป็นภาชนะหมวด ๑ เป็น

เครื่องมือหมวด ๑  แต่จะเกินจำนวน   ไป  พึงเข้าใจว่า  ท่านเพ่ง

เอาของที่เป็นชาติโลหะ.

           หมวดที่   เครื่องสัมภาระสำหรับทำเสนาสนะและเครื่องใช้

จำแนกโดยชื่อเป็น   คือ   " วลฺลี "   เถาวัลย์เช่นหวาย ๑   " เวฬุ "

ไม้ไผ่ ๑   " มุญฺชํ "   เป็นหญ้าชนิดหนึ่ง  แปลกันว่าหญ้ามุงกระต่าย ๑

" ปุพฺพชํ "   เป็นหญ้าชนิดหนึ่งเหมือนกัน  แปลว่าหญ้าปล้อง ๑

" ติณํ "   หญ้าสามัญ ๑   " มตฺติกา "   ดินเหนียว ๑   " ทารุภณฺฑํ "

ของทำด้วยไม้ ๑   " มตฺติกาภณฺฑํ "   ของทำด้วยดินเผา ๑.  เครื่อง

สัมภาระนั้น  หมายเอาที่ใช้การได้  เช่นไม้ไผ่  เป็นเสาเป็นหลังคา

ฝาได้ หวายหรือเถาวัลย์อื่น  ใช้เป็นเครื่องผูกได้.  หญ้า ๓  ชนิด

นั้น  คงให้มุงหลังคาหรือกรุฝาแต่   ชนิดข้างต้น  ที่แปลว่าหญ้า

มุงกระต่าย  หรือหญ้าปล้องนั้น  ข้าพเจ้าไม่เห็นสม  เข้าใจว่าจะเป็น

หญ้าที่ใช้เป็นประโยชน์ได้  เช่นปรืออ้อแขมเป็นต้น.  ดินเหนียวนั้น

สำหรับใช้ฉาบฝาฉาบพื้นก็ได้.  ของเหล่านี้  มีผู้ถวายก็ดี  สงฆ์แสวงหา




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 145

มาเองก็ดี  เพื่อใช้ทำกุฎี  หรือเป็นของขึ้นอยู่กับที่  บำรุงไว้ใช้การเช่น

นั้น  จัดเป็นครุภัณฑ์  ไม่ได้หมายเอาเถาวัลย์และหญ้าอันขึ้นรกวัด

ที่สงฆ์ไม่ได้หวงห้ามเอาไว้.  ของเครื่องใช้นั้น ของทำด้วยไม้ เช่น

หีบ  ตู้  ชั้ว  เป็นตัวอย่าง.  ของทำด้วยดินเผานั้น  เช่น  ไห  โอ่ง

อ่าง  เป็นตัวอย่าง.  เครื่องถ้วย  เครื่องแก้ว  อันเป็นของมีขึ้นใน

ภายหลัง  สงเคราะห์เข้าในของทำด้วยดิน  หมวดนี้  น่าจะแยกเป็น ๒

เครื่องสัมภาระหมวด ๑  เครื่องใช้หมวด ๑.

           การจัดหมวดเช่นนี้  มาในบาลี  ถ้าจะจัดเอาตามความพอใจ

ของข้าพเจ้า ๆ จะจัดอย่างนี้ :-

           หมวดที่ ๑   ที่ดินของปลูกสร้างรวม ๒  หมวดข้างต้น  เป็น

  สิ่ง.

           หมวดที่ ๒   ของที่เป็นตัวเสนาสนะ   สิ่ง  มีเตียงเป็นต้น.

           หมวดที่ ๓   ภาชนะโลหะ   สิ่ง  กับเครื่องไม้เครื่องดิน  รวม

เป็น   สิ่ง.

           หมวดที่ ๔   เครื่องมือ   สิ่ง  มีมีดโต้เป็นต้น.

           หมวดที่ ๕  เครื่องสัมภาระ ๖ สิ่ง  มีเถาวัลย์เป็นต้น.

           ถ้าไม่ยอมให้เลื่อนลำดับ  หมวดที่   เป็นเครื่องโลหะ  รวม

ทั้งภาชนะโลหะและเครื่องมือเป็น ๙  สิ่งหมวดที่   เครื่องสัมภาระ

คงเดิม  หมวดที่   เครื่องไม่เครื่องดิน.

           การห้ามไม่ให้สละไม่ให้แจกครุภัณฑ์นั้น  หมายเอาสละให้แก่

บุคคล  และแจกแก่กันเอง  ทำให้ขาดตัว  จะจำหน่ายของที่เลวแลก




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 146

เปลี่ยนเอาของที่ดี  เช่นจะจำหน่ายเครื่องดินหลายสิ่ง  จัดหาเตียง

ตั่งแม้น้อยสิ่งไปอยู่.  อีกอย่างหนึ่ง  จะจึงหน่ายของไม่เป็นอุปการะ

เพื่อของเป็นอุปการะ  อันเป็นครุภัณฑ์ด้วยกันเห็นว่าได้  แต่จะ

จำหน่ายเพื่อของเป็นลหุภัณฑ์เอามาแจกกันไม่ได้  เว้นไว้แต่สมัย

ข้าวแพงอดอยาก  ท่านอนุญาตให้จำหน่ายของที่เลว ๆ  เพื่ออาหาร

ด้วยปรารถนาจะอยู่รักษาเสนาสนะที่ดี.  การจำหน่ายครุภัณฑ์เพื่อประ-

โยชน์สงฆ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวมานี้  เรียกว่าผาติกรรม  ทรงอนุญาต.

จะเอาที่ดินแลกเปลี่ยนกับที่ดินด้วยกัน พร้อมทั้งของปลูกสร้าง ณ  ที่ดิน

นั้น  ด้วยเห็นว่าได้ประโยชน์ฝ่ายสงฆ์  ท่านอนุญาตไว้ในอรรถกถา.

           เสนาสนะในวัดร้าง  ที่เป็นสังหาริมะ  เช่นเตียงตั่ง  ภิกษุจะ

ขนเอามา  ที่เป็นอสังหาริมะ  เช่นบานประตู  บานหน้าต่าง  จะรื้อเอา

มาใช้สอยหรือประกอบเข้าในวัดอื่น  ด้วยความเป็นของสงฆ์เหมือน

กัน  ท่านอนุญาต  ถ้าเอามาใช้เป็นส่วนบุคคล  และวัดร้างนั้นกลับ

ตั้งใหม่  ท่านกล่าวว่าควรให้คืน.

           ที่กัลปนา คือที่นาที่สวนและที่อย่างอื่นอีก  อันทายกผู้เจ้าของ

บริจาคไว้เพื่อเป็นค่าปัจจัยบำรุงสงฆ์  เช่นเรียกในบัดนี้ว่าที่ธรณีสงฆ์

ในบาลีแสดงครุภัณฑ์  ไม่ได้กล่าวถึง  แต่ในบาลีเภสัชชขันธกะ

กล่าวไว้แต่ไม่ชัดความดังนี้  พืชของบุคคลอันเพาะปลูกในพื้นที่

ของสงฆ์  เจ้าของพึงให้ส่วนแล้วบริโภค  นี้ก็ได้แก่ที่นาหรือที่สวน

มีคนเช่าถือ  เสียค่าเช่าให้แก่สงฆ์.  ที่กัลปนานี้ อนุโลมเข้าในบท

อารามวัตถุ  เป็นครุภัณฑ์.  ของอันเกิดขึ้นในที่นั้นหรือจะเรียกว่าค่าเช่า




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 147

ก็ตาม  ที่ทายกผู้ถวายไม่ได้กำหนดเฉพาะปัจจัย  ต้องการด้วยปัจจัย

อย่างใด  จะน้อมไปเพื่อปัจจัยอย่างนั้น  ควรอยู่  ที่ทายกผู้ถวาย

กำหนดเฉพาะเสนาสนปัจจัย  ต้องน้อมเข้าไปในเสนาสนะเท่านั้น.

ถ้าไวยาวัจกรสงฆ์ดูแลทำที่กัลปนานั้นเอง  ไม่ได้ให้มีผู้เช่าถือ  จ่าย

ผลประโยชน์อันเกิดในที่นั้น  ให้แก่ผู้ทำผู้รักษาตามส่วนได้อยู่.  ผู้ทำ

ผู้รักษามีกรรมสิทธิ์ในของอันเกิด   ที่นั้น เท่าส่วนอันตนจะพึงได้.

อีกฝ่ายหนึ่ง  ในบาลีเภสัชชขันธกะนั้นเองกล่าวว่า  พืชของสงฆ์เพาะ

ปลุกในที่ของบุคคล  พึงให้ส่วนแล้วบริโภค  น่าจะได้แก่การที่ไวยา-

วัจกรสงฆ์เช่านาหรือสวนของคนอื่นทำเป็นของสงฆ์ เช่นนี้ ท่านยอม

ให้จ่ายผลประโยชน์ของสงฆ์ให้เป็นค่าเช่าค่าถือแก่เจ้าของที่.  การเช่นนี้

ยังไม่เคยได้ยินว่ามีสักรายหนึ่ง  มีแต่บุคคลเช่าที่ของสงฆ์ทั้งนั้น.

                                        ของเจดีย์

           ของชนิดนี้  ได้แก่ของที่ทายกถวายเพื่อบูชาเจดีย์  เช่นของเขา

ถวายพระแก้วมรกต  และถวายพระพุทธชินราชเมืองพิษณุโลก.  ที่

มาแห่งของเจดีย์  มีบาลีวิภังค์แห่งสิกขาบทว่าด้วยการน้อมลาภสงฆ์

เป็นอย่างสูง  เชื่อว่าไม่มีในครั้งพุทธกาล  น่าจะเกิดมีขึ้นเมื่อภายหลัง

ลงมา  ในเวลามีเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ในพระพุทธศาสนาขึ้นแล้ว.  ของเจดีย์

มีวิภาคเป็นอย่างไร  ท่านหาได้กล่าวไว้ไม่  นอกจากให้ถือแยกเป็น

ส่วนเฉพาะของเจดีย์หนึ่ง ๆ  ดุจเดียวกับของสงฆ์หมู่หนึ่ง ๆ  และ

ห้ามมิให้น้อมลาภของเจดีย์หนึ่งไปเพื่อเจดีย์หนึ่ง ที่ปรับโทษ  ที่ปรับโทษเป็น

ทุกกฏ.  ดูเหมือนจะพอเทียบเคียงกันได้กับของสงฆ์  ที่จำแนกเป็น




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 148

ลหุภัณฑ์และครุภัณฑ์  ส่วนลหุภัณฑ์  เช่นน้ำมัน  ใช้ตามบูชา  ที่

เป็นอาหาร  ให้แก่ผู้รักษา  ก็ควร.  ที่เป็นครุภัณฑ์  ควรเก็บรักษาไว้

หรือพึงจำหน่ายเพื่อผาติกรรม ถือเอาของเป็นครุภัณฑ์ด้วยกัน  ที่

ถาวรกว่าหรือที่เป็นประโยชน์กว่า  หรือเพื่อปฏิสังขรณ์เจดีย์นั้นหรือ

ถาวรวัตถุเนื่องด้วยเจดีย์นั้น.  ผลประโยชน์อันเกิดขึ้นในที่กัลปนา

พึงรู้โดยนัยอันกล่าวแล้วในของสงฆ์.

                                       ของบุคคล

           ของชนิดนี้  ได้แก่ของที่ทายกถวายแก่ภิกษุเป็นส่วนตัว  หรือ

ภิกษุแสวงหาได้มา และถือเอาเป็นส่วนตัว  แม้ของที่สงฆ์แจกให้ตก

เป็นสิทธิแก่ภิกษุแล้ว  ชื่อว่าเป็นของบุคคลเหมือนกัน ภิกษุผู้เจ้าของ

มีสิทธิ์ในอันสละหรือแจกได้ตามชอบใจ  มีข้อที่จะพึงระวังแต่เพียง

ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกเสียเปล่า.  ภิกษุควรมีของเช่นไรเป็นส่วนของ

ตนได้  พึงรู้แจ้งในกัณฑ์ที่ ๑๒  ที่ว่าด้วยบริขารบริโภคนั้นเถิด.

เพราะบาลีว่า  ทรงอนุญาตเครื่องโลหะทั้งปวง  ยกเครื่องประหาร,

ทรงอนุญาตเครื่องไม้ทั้งปวง  ยกอาสันทิ  บัลลังก์  บาตรไม้  เขียง-

เท้าไม้เครื่องดินทั้งปวง  เว้นเครื่องเช็ดเท้าอย่างหนึ่งที่ว่าทำเป็น

รูปฝักบัว  เข้าใจว่าทำเป็นตุ่ม  และกระเบื้องหม้อที่ห้ามไม่ให้ใช้แทน

บาตร  ของอื่นที่ไม่ระบุห้ามไว้แล้วหรือไม่อนุโลมแก่ของที่ห้าม ก็

อาจมีได้เป็นส่วนตนของภิกษุ.  ในฝ่ายของที่ห้ามไม่ให้มีเป็นส่วนตน

นั้น  แสดงไว้ชัดในบาลี  ก็คือเงินทองและเครื่องประหาร  หรือแม้

อกัปปิยบริขารด้วย.  เดิมดูเหมือนจะห้ามภัณทะที่ทำด้วยโลหะโดย




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 149

กำเนิด  หรือโลหะที่ผสมซึ่งเรียกว่าสำริด  แต่ในบาลีกล่าวว่า  อย่า

ให้สั่งสมของเช่นนั้น  แต่มีบาลีที่ลบล้างกัน  ดังกล่าวแล้วข้างต้นว่า

ทรงอนุญาตเครื่องโลหะทั้งปวงเว้นเครื่องประหาร  จะมีเครื่องโลหะ

อย่างอื่นก็ได้  หรืออีกนัยหนึ่ง  จะแปลความแห่งบาลีต้นว่า  ห้ามไม่

ให้สั่งสมเครื่องโลหะแล้วเครื่องสำริดนั้น  หมายความว่า  ห้ามไม่ให้

เก็บของเช่นนั้นไว้โดยฐานเป็นของที่ตนเล่น.  ส่วนในบาลีพระสูตรที่

แสดงศีลของภิกษุกล่าวว่า  ภิกษุเว้นจากการรับไร่นาและที่ดินอย่าง

อื่น  เว้นจากรับทาส  สัตว์พาหนะ  คือ  ช้าง  ม้า  โค  กระบือ 

ปศุสัตว์เป็นต้นว่า  แพะ  แกะ  ไก่  สุกร  ที่สุดจนข้าวเปลือก  พระ

คันถรจนาจารย์ถือเอาความข้อเหล่านี้แสดงไว้ในพระวินัยว่า  ของ

เหล่านี้ไม่ควรแก่ภิกษุรับ  เป็นอาบัติทุกกฏ  อาบัติทุกกฏชนิดนี้

เรียกว่าบาลมุตตกทุกกฏ  แปลว่าอาบัติทุกกกพ้นจากบาลี.  อนึ่ง

เพราะบาลีในพระสูตรนั้นเองกล่าวว่า  ภิกษุเว้นจากปาณาติบาต

เว้นจากประโคมเครื่องประโคม  เครื่องมือดักสัตว์บก  ดังสัตว์น้ำ

และเครื่องประโคมต่างชนิด  ที่ท่านจัดว่าเป็นอนามาส  เป็นของ

ไม่ควรแก่ภิกษุด้วยดุจกัน.

           ภัณฑะของภิกษุก็ดี ของสามเณรก็ดี  เจ้าของตายแล้ว  สงฆ์

เป็นเจ้าของ  คือตกเป็นของมรดกแก่สงฆ์.  ในของเหล่านั้น  บาตร

จีวร  ทรงอนุญาตเพื่อให้แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้  ของที่เป็นลหุภัณฑ์

อันเหลือให้แจกกัน สามเณรผู้พยาบาล  ก็พึงให้ได้รับส่วนแจกเสมอ

ภิกษุ  ของที่เป็นครุภัณฑ์ให้ตั้งไว้เป็นของสงฆ์.  โดยนัยนี้  ภิกษุ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 150

ผู้อาพาธหนัก  ปรารถนาจะให้ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเป็นผู้รับมรดกของ

ตน  จึงต้องมอบให้เป็นสิทธิ์แก่ภิกษุรูปนั้นในเมื่อตนยังมีชีวิต.  นี้

แปลกจากธรรมเนียมทำพินัยกรรมในฝ่ายคฤหัสถ์  หนังสือพินัยกรรม

อันเจ้าทรัพย์ทำนั้น  แสดงความประสงค์ของเจ้าทรัพย์ว่า  เมื่อ

มรณะแล้ว  ให้ของที่ระบุชื่อไว้นั้นหรือทั้งมวล  ได้แก่คนชื่อนั้น

คนเดียวหรือหลายคน  เจ้าทรัพย์ยังไม่ตาย ของในพินัยกรรมยังเป็น

ของเจ้าทรัพย์  เขาอาจทำพินัยกรรมใหม่ล้างพินัยกรรมเก่า.  ใน

พระวินัย หากภิกษุจะทำพินัยกรรมเช่นนั้นแล้วมรณะลง  มรดก

ต้องตกเป็นของสงฆ์ ภิกษุผู้ถือพินัยกรรมจะรับเอาไม่ได้.  เพราะ

เหตุนั้น  ผู้อาพาธจึงต้องมอบให้เป็นสิทธิ์แก่ผู้รับ  แต่เมื่อให้เป็นสิทธิ์

เช่นนี้แล้ว  แม้หายเจ็บ  ของนั้นคงเป็นของผู้รับ  เจ้าของเดิมไม่มี

สิทธิ์ในอันจะยกให้ผู้อื่นอีก.  แต่ข้อนี้ก็ไม่ขัดอะไร ผู้รับคงบอก

คืนให้เองด้วยสามีจิปฏิบัติ.  พระบัญญัติในเรื่องมรดกของภิกษุผู้ถึง

มรณะอยู่ข้างจะตึงจัด  การปฏิบัติในของสงฆ์ก็ไม่ดีพอจะให้ภิกษุเอง

แลเห็นประโยชน์  การทำฌาปนกิจในภายหลัง  ก็เป็นภาระของผู้

จะทำ  เพราะเหตุเหล่านี้  มีภิกษุน้อยทีเดียวผู้ปลงใจให้มรดกแก่สงฆ์

มีแต่ยกให้แก่ผู้อื่นเป็นพื้น  หากจะตกเป็นของสงฆ์  ก็เป็นเพราะยังไม่

ทันได้มอบให้แก่ผู้อื่น  หรือได้มอบแล้ว  แต่ไม่ถูกระเบียบ  ไม่เป็น

อันมอบ.  การมอบให้ด้วยมีปริกัปว่า  ถ้าตายแล้ว  ให้ของเหล่านี้ตก

เป็นของผู้นั้น  หรือว่าผู้นั้นจงถือเอาของเหล่านี้เมื่อตายแล้ว เช่นนี้

ไม่จัดว่ามอบให้เป็นสิทธิ์ในเวลายังเป็นอยู่  ต่อมอบให้ด้วยโวหาร




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 151

เป็นปัจจุบันกาลไม่มีปริกัปว่า  ฉันให้บริขารทั้งปวงนี้แก่เธอ  หรือ

ระบุชื่อพัสดุด้วยก็ตาม  จึงเป็นอันให้เป็นสิทธิ์.  การให้กันเช่นนี้ใน

เวลาใกล้ตาย  เรียกว่าปลงบริขาร.  ข้าพเจ้าได้เคยพบเรื่องมา

ภิกษุผู้อาพาธ  บอกปลงบริขารแก่คนหนึ่ง  แต่ไม่ถูกระเบียบ  จำเป็น

ต้องตัดสินว่าไม่เป็นอันปลง  แต่ข้าพเจ้าผู้ตัดสินเอง  ต้องช่วยออก

ค่าปลงศพผู้มรณะด้วยความสงสาร.

           ในบัดนี้  กฎหมายแผ่นดิน  ยังอุดหนุนพระวินัยอยู่  คือ  ห้าม

ไม่ให้คฤหัสถ์ฟ้องเอามรดกภิกษุ  ไม่เช่นนั้น  ต่างว่ามีภิกษุทำพินัย-

กรรมยกมรดกให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง  แล้วมรณะลง  ตามพระวินัย

มรดกตกเป็นของสงฆ์  แต่ทางอาณาจักร  พินัยกรรมนั้นฟังได้  เมื่อ

ถึงศาล  ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมายแผ่นดิน  ถ้าเข้าใจพระบัญญัติ

หย่อนลงมาสักหน่อย  เพียงว่าเจ้าทรัพย์ทำพินัยกรรมเช่นนั้นก็ดี  ได้

บอกมอบแต่ไม่ถูกระเบียบก็ดี  ชื่อว่าได้แสดงความปรารถนาของตน

ในอันยกทรัพย์ให้แก่ผู้นั้น  ถือเอาเป็นฟังได้  เช่นนี้จะเข้ากันได้กับ

กฎหมายแผ่นดิน  และจะไม่ต้องประดักประเดิดในอันลงสันนิษฐานว่า

เป็นอันปลงหรือไม่เป็นอันปลง.  ถ้าสงฆ์รับมรดก  การทำฌาปนกิจ

เป็นภาระของสงฆ์ได้จะดี  และในกรณียะเช่นนี้  ให้จ่ายมรดกของเธอ

ออกทำได้ด้วย เหลือเท่าไรจึงเป็นของสงฆ์ยิ่งดี.

           ภัณฑะของภิกษุผู้หลีกไปอื่นก็ดี  ผู้สึกแล้วก็ดี  เจ้าของทอด

ทิ้งไว้ด้วยไม่ได้หวงห้าม  ตนเป็นของสงฆ์  เทียบตามของปลูกสร้าง

ซึ่งเรียกว่านวกรรม  ภิกษุทำเสร็จแล้ว หลีกไปอื่นก็ดี  สึกเสียก็ดี




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 152

ตกเป็นของสงฆ์.

           ภัณฑะของบุคคล  คือที่เป็นส่วนตัวของภิกษุ  ทรงอนุญาตให้

ถือวิสาสะกันได้  แต่การถือวิสาสะนั้น  ต้องถูกลักษณะ  จึงจะ

เป็นอันถือเอาด้วยดี.  ลักษณะถือวิสาสะมาในบาลี  มีองค์   คือ

เป็นผู้เคยได้เห็นกันมา ๑  เป็นผู้เคยคบกันมา ๑  ได้พูดกันไว้ ๑  ยังมี

ชีวิตอยู่ ๑  รู้ว่าของนั้นเราถือเอาแล้วเขาจักพอใจ ๑  ในอรรถกถา

แยกองค์ที่ ๑  องค์ ๒  และองค์ที่ ๓  ออก  เอาแต่อย่างหนึ่งคงเป็น ๓.

ข้อนี้ถูก.  เพื่อนคบสนิทมากกว่าเพื่อนเห็น  เมื่อถือวิสาสะของเพื่อน

เห็นได้แล้ว  ถือวิสาสะของเพื่อคบก็ได้.  อนึ่ง  ถ้าสัทธิวิหาริกอยู่

ในสำนักอุปัชฌายะ  แต่ท่านไม่ได้สั่งอนุญาตไว้  จะถือวิสาสะใน

ท่าน  เอาเทียนสักเล่มหนึ่ง  หรือไม้ขีดไฟสักกลักหนึ่ง  จะได้หรือ

ไม่ได้  ถ้าได้  การถือวิสาสะรายนี้ไม่ต้องเกี่ยวกับองค์คือได้พูดกัน

ไว้.  อีกอย่างหนึ่ง  ภิกษุเข้าไปพักอยู่ในสวนของเขาผู้มิใช่เพื่อนเห็น

เจ้าของสวนปวารณาว่า  จะฉันผลไม้อย่างใดอย่างหนึ่งก็นิมนต์  ภิกษุ

จะถือวิสาสะในเจ้าของสวนได้หรือไม่  ถ้าได้ การถือวิสาสะรายนี้

ไม่ต้องเกี่ยวกับองค์ ๒ ข้างต้น  เป็นอันแลเห็นชัดว่าแยก ๓ องค์ข้าง

ตันเอาแต่อย่างหนึ่งนั้น ชอบแก่เหตุ.  เหตุนั้น  ลักษณะถือวิสาสะพึง

เข้าใจอย่างนี้ :  เป็นผู้เคยเห็นกันมาหรือเป็นผู้เคยคบกันมา  หรือได้

พูดกันไว้  อย่างใดอย่างหนึ่ง  นับเป็นองค์ ๑  รู้ว่าถือเอาแล้วเขาจัก

พอใจเป็นองค์ ๑  เขายังเป็นอยู่เป็นองค์ ๑  แม้เป็นบุคคลต้องลักษณะ

แล้ว  แต่ภัณฑะของเขาที่ต้องการนั้น  เป็นของที่เขารัก  หรือมีราคม




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 153

ถือเอาแล้ว  เขาจักโทมนัสหรือเสียดาย  จักเกิดขัดใจกันขึ้น  เช่นนี้

ไม่ควรถือเอา.  และจะถือวิสาสะ  ต้องถือเอาในเวลาเจ้าของยังมี

ชีวิตอยู่  ของภิกษุผู้ถึงมรณะแล้ว  ตกเป็นของสงฆ์  ถือวิสาสะไม่

ขึ้น  แม้ของคฤหัสถ์ผู้ตายแล้ว  ก็ตกเป็นมรดกแก่ผู้อื่นไป  ถือเอาโดย

วิสาสะไม่ได้เหมือนกัน.  การถือเอาโดยวิสาสะ  ท่านไม่จัดเป็น

อวหารในอทินนาทานสิกขาบท  ดังมีแจ้งในอนาปัตติวาร  แต่ถ้าถือ

เอาโดยอาการไม่ถูกลักษณะแล้ว  ชอบแต่จะคืนให้เจ้าของ.  ภิกษุผู้จะ

ถือวิสาสะเอาภัณฑะแห่งคนอื่น  พึงปฏิบัติให้ถูกต้องตามลักษณะนี้.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น