วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วินัยมุขเล่ม ๒ นักธรรมโท หน้า ๗๔ ถึง หน้า ๘๐ คารวะ


นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 74

                                      กัณฑ์ที่  ๑๕

                                         คารวะ

           พระรัตนตรัย  ย่อมเป็นสรณะอย่างสูงสุดของพุทธศาสนิก  ท่าน

จึงห้ามไว้ในบาลีไม่ให้เล่นปรารภพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์.

อธิบายความว่า  เล่นในที่นี้  หมายเอาทั้งทำเล่นทั้งพูดเล่น  เอาเรื่อง

พระพุทธเจ้าหรือเรื่องพระสงฆ์มาทำท่าเล่น  อย่างเล่นละครเพื่อความ

สนุก  ไม่ควร  จะเล่านิยายที่ผูกขึ้น  แม้เป็นเรื่องสาธก  จะออก

พระนามของพระพุทธเจ้าหรือของพระสงฆ์  ในท้องเรื่อง  เช่นเคยพูด

ถึงพระปัจเจกพุทธบ่อย ๆ  เป็นต้นว่า  ฝูงช้างเมื่อผ่านไปมาย่อมไหว้

พระปัจเจกพุทธ  แม้เช่นนี้  ก็ไม่ควร  หรือเรื่องพระพุทธเจ้า

เรื่องพระสงฆ์ที่ได้ความรับรองว่าเป็นจริง  จะเล่าด้วยโวหารตลกคะนอง

เพื่อสรวลเสเฮฮา  ก็ไม่ควร  เพราะโทษแห่งความไม่สำรวมในข้อนี้

เรื่องพระพุทธเจ้าบ้าง  เรื่องพระสาวกบ้าง  อันไม่น่าเชื่อจึงมีดื่น.

เรื่องที่ตั้งใจแสดงท่าหรือเล่าถึงด้วยความเคารพ  เพื่อจะนำให้เกิดความ

เลื่อมใน เช่นเรื่องสังคายนาพระธรรมวะนัย  ที่พวกเราทำอยู่เป็นตัวอย่าง

เห็นว่าไม่เป็นความผิดในข้อนี้.

           อนึ่ง  กิริยาแสดงความอ่อนน้อมแก่กัน  เป็นความดีงามของหมู่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระอนุญาตการกราบไหว้  การลุกรับ  การ

ทำอัญชลี  [ คือประณมมือไหว้ ]  การทำสามีจิกรรม  [ คือความอ่อน

น้อมอย่างอื่น  อันเป็นความดีความงาม ]  ให้ทำตามลำดับผู้แก่พรรษา

กว่ากัน  อาสนะและข้าวน้ำที่ดีกว่า  ก็ทรงพระอนุญาตให้ได้รับตาม




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 75

ลำดับผู้แก่พรรษาเหมือนกัน.

           เป็นธรรมเนียมของพวกภิกษุ ถือไม่ไหว้คนอื่นนอกจากพวก

ของตน  ในบาลีย่นเรียกว่าอนุปสัมบัน  ภิกษุณีก็นับเข้าในพวกนี้

ในพวกภิกษุด้วยกัน  ถือไม่ไหว้ภิกษุผู้อ่อนกว่า  ย่อมไหว้เฉพาะ

ภิกษุผู้แก่กว่า  ถึงอย่างนั้น  ถือไม่ไหว้ภิกษุต่างนิกายซึ่งเรียกว่า

นานาสังวาส  แปลว่าผู้มีธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วมต่างกัน  แม้แก่กว่า

แต่พูดไม่เป็นธรรม  ยอมไหว้แต่ภิกษุผู้พูดเป็นธรรม  แม้ภิกษุผู้แก่

กว่า  ร่วมนิกายเดียวกัน  ซึ่งเรียกว่า  สมานสังวาส  แปลว่ามีธรรม

เป็นเหตุอยู่ร่วมเสมอกัน  ก็ยังงดในบางเวลาดังนี้ :-

           ก.  ในเวลาประพฤติวุฏฐานวิธี  คืออยู่กรรม  เพื่อออกจาก

อาบัติสังฆาทิเสส.

           ข.  ในเวลาถูกสงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม  ที่ถูกห้ามสมโภคและ

สังวาส.

           ค.  ในเวลาเปลือยกาย.

           ฆ.  ในเวลาเข้าบ้านหรือเดินอยู่ตามทาง.

           ง.  ในเวลาอยู่ในที่มือที่แลไม่เห็นกัน.

           จ.  ในเวลาที่ท่านไม่รู้  คือนอนหลับหรือขลุกขลุ่ยอยู่ด้วยธุระ

อย่างหนึ่ง  หรือส่งใจไปอื่น  แม้ไหว้  ท่านก็คงไม่ใส่ใจ.

           ฉ.  ในเวลาขบฉันอาหาร.

           ช.  ในเวลาถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ.

           ไหว้ใน   เวลาข้างต้นโดยลำดับลงมา  คือ  ข้อ  ก.  ข.  ค.  ท่าน




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 76

ปรับอาบัติทุกกฏ ไหว้ในเวลาอีก  ๕ ท่านว่าเพียงไม่ดีไม่งาม.

           พวกภิกษุถือไม่ไหว้ผู้อื่นเนื่องมาจากมูลอะไร  เป็นข้อที่น่ารู้

ข้าพเจ้าสันนิษฐานว่า  เนื่องมาจากถือชาติก่อน  ที่พวกพราหมณ์เป็น

เจ้าของ  พวกคนที่เลิกถือชาติ  ก็คงแปรมาถือธรรมของพวกตนว่าดี

กว่าของพวกอื่น  แล้วกลายเป็นถือพวก  ผลคือความถือตัวก็คงเป็น

เช่นเดียวกัน  ในพระสูตรแสดงว่า  พราหมณ์บ้าง  ปริพาชกบ้าง  มา

เฝ้าพระศาสดาบ้าง มาหาพระสาวกบ้าง  ทำแต่ปราศรัย หาไหว้ไม่

คนจำพวกนี้  ถือไม่ไหว้พวกอื่นจากพวกของตน  พวกภิกษุก็คงถือ

ตามธรรมเนียมนั้นเหมือนกัน  จะถือไปอย่างอื่น  ก็จะเป็นยอมตัวว่า

เลวกว่าพวกเหล่านั้น  เป็นไปไม่ได้อยู่เอง  เพราะเหตุนี้กระมัง  จึงมี

ห้ามไม่ให้ไหว้คนต่างพวก.

           การลุกยืนขึ้นรับ ก็เป็นกิจที่ผู้น้อยจะพึงทำแก่ผู้ใหญ่  แต่ไม่

ได้กล่าวไว้ละเอียดเหมือนการไหว้  คงได้ความแต่ว่านั่งอยู่ในสำนัก

ผู้ใหญ่  ไม่ลุกรับผู้น้อยกว่าท่าน  การไหว้ก็น่าจะเป็นเช่นเดียวกัน  แต่

หาได้กล่าวห้ามไว้ไม่.  ตามธรรมเนียม  ในบัดนี้งดเวลานั่งเข้าแถว

ในบ้าน  เข้าประชุมสงฆ์ในอาราม  ไม่ลุกรับท่านผู้ใดผู้หนึ่ง.

           การประณมมือ  มักทำคู่กับนั่งกระหย่ง  ทำได้แม้แก่ภิกษุผู้อ่อน

กว่า  เช่นเมื่อขอขมาโทษ  หรือทำวินัยกรรม.  ยืนทำก็มี  ใช้ทำเฉพาะ

แก่ท่านผู้ใหญ่.

           การทำสามีจิกรรมก็เหมือนกัน  ทำได้แก่ภิกษุผู้อ่อนกว่า  ในกาล

บางคราว  เช่นในเวลาสัทธิวิหาริกอาพาธ  เป็นหน้าที่ของอุปัชฌายะ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 77

จะพึงอุปัฏฐากสัทธิวิหาริก.

           ใน   อย่างนี้  ไม่มีปรับอาบัติเหมือนในการไหว้.

           อนึ่ง  ครั้งพระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่  ภิกษุทั้งหลายต่างพูด

เรียกกันว่า   " อาวุโส "   ที่แปลตามพยัญชนะว่า   " ผู้มีอายุ "   ตรง

ความของเราว่า   " คุณ "  ตั้งตัวเป็นผู้เสมอกัน  เว้นไว้แต่เป็นผู้ใหญ่

ผู้น้อยกว่ากันไกลไม่ไล่เลี่ย  เช่นเป็นอุปัชฌายะกับสัทธิวิหาริก  เช่นนี้

ผู้น้อยพูดเรียกท่านผู้ใหญ่ว่า   " ภนฺเต "   แปลกันมาว่า   " ท่านผู้เจริญ "

ตรงความของเราว่า   " ท่าน "   ผู้ใหญ่พูดเรียกผู้น้อยว่า   " อาวุโส "

ตรงคำของเราว่า   " เธอ. "   ก่อนหน้าปรินิพพาน  ตรัสสั่งภิกษุทั้งหลาย

ให้เรียกกันตามแก่อ่อน  ให้ผู้อ่อนเรียกผู้แก่ว่า   " ภนฺเต "   ให้ผู้แก่

เรียกผู้อ่อนว่า  " อาวุโส "   จึงใช้เป็นธรรมเนียมสืบมาจนกาลนี้.  ข้อนี้  

มาในมหาปรินิพพานสูตร  ในพระวินัยหาได้กล่าวถึงไม่  จึงไม่มีข้อ

ปรับอาบัติแก่ผู้ทำผิดแบบ.

           อีกอย่างหนึ่ง  พวกภิกษุให้ออกชื่อกัน  นำคำว่า   " อายสฺมา "

ข้าหน้าชื่อ  เช่น   " อายสฺมา  อุปาลิ "   เป็นตัวอย่าง.  ศัพท์นี้แปล

ตามพยัญชนะว่า   " ผู้มีอายุ "   ตรงความหมายของเราว่า   " ท่าน "   ยังใช้

เรียกภิกษุผู้แก่กว่าและผู้ไล่เลี่ยกัน จนทุกวันนี้.

           วจนะแห่งกิริยาในทางไวยากรณ์  ผู้อ่อนพูดแก่ผู้แก่ใช้พหุวจนะ

เหมือนพูดแก่มากคน  ผู้แก่พูดกับผู้อ่อน  ใช้เอกวจนะ  เป็นพูดแก่คน

เดียว.  คำเหล่านี้  ใช้ในวินัยกรรมนั้น ๆ  มีแสดงอาบัติเป็นต้น  ที่ให้

พูดภาษามคธ. 




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 78

           อนึ่ง   ข้อที่ทรงอนุญาตอาสนะดีกว่าตามลำดับผู้แก่นั้น ภิกษุ

ผู้น้อยแสดงธรรม  จะนั่งสูงกว่าพระเถระ  และพระเถระจะนั่งต่ำ

กว่า  หรือต่างนั่งเสมอกัน  ด้วยเคารพในธรรมควรอยู่  และผู้น้อยเมื่อ

จะแสดงธรรมต้องอาปุจฉาให้ได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่ก่อน  จึงแสดง

ได้  ไม่เช่นนั้นเป็นข้ามผู้ใหญ่  เพราะหน้าที่แสดงธรรม  เป็นของผู้ใหญ่

ต่อผู้ใหญ่ไม่สามารถด้วยประการไร  จึงถึงผู้น้อย.

           ข้อ ๑  อยู่ในกุฎีเดียวกับภิกษุผู้แก่กว่า  จะสอนธรรม  จะอธิบาย

ความ  จะสาธยาย  จะแสดงธรรม จะจุดจะดับไฟ  จะเปิดจะปิด

หน้าต่าง  ต้องบอกขออนุญาตของท่านก่อนจึงทำได้  ห้ามไม่ให้ทำตาม

อำเภอใจ.  ถ้าท่านอนุญาตไว้ให้ทำได้เสมอไป  ไม่ต้องบอกทุกขณะ

ก็ได้.

           ข้อ ๑  อุปัชฌายะก็ดี  อาจารย์ก็ดี  แม้ภิกษุอื่นผู้เป็นอุปัชฌายมัตต์

ผู้เป็นอาจริยมัตต์ก็ดี  เดินไม่ได้สวมรองเท้า  ห้ามไม่ให้เดินสวมรองเท้า

ภิกษุผู้พอเป็นอุปัชฌายะหรืออาจารย์ให้นิสัยได้  กล่าวคือ  มีพรรษาแก่

กว่าพ้น  ๑๐ ขึ้นไป  ได้ชื่อว่า  อุปัชฌายมัตต์  อาจริยมัตต์  แหลว่า

ปูนอุปัชฌายะ  ปูนอาจารย์  แต่พระอรรถกถาจารย์  แก้ว่า  ภิกษุ

แก่กว่าเพียง   พรรษา  ได้ชื่อว่าอาจริยมัตต์  เพราะอาจให้นิสัยแก่

ภิกษุหนุ่มได้  เมื่อคราวเธอ ๔  พรรษา.  ข้าพเจ้าเข้าใจว่า  ภิกษุ

จะรับเป็นอาจารย์ให้นิสัยแก่ภิกษุใด  ควรจะมีพรรษาแก่กว่าภิกษุนั้น

พ้น ๑๐  เช่นจะให้นิสัยแก่ภิกษุ   พรรษา  ตนควรจะมีพรรษา

๑๔  แล้ว  ดังจะกล่าวเด็กอายุ  ๑๒  ขวบว่า  พอเป็นบิดาของเด็ก




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 79

เกิดใหม่ได้  เป็นอย่างไรบ้าง.  จริงอยู่  เด็ก  ๑๒  ขวบนั้นอีก   ปี

อายุได้  ๑๖  ขวบ อาจมีบุตรในปีนั้นก็ได้  ฝ่ายเด็กเกิดใหม่อายุได้ ๔

ขวบ  ก็ยังต้องการคนเลี้ยง  และคน  ๑๖  ขวบอาจเลี้ยงก็ได้  แต่จะ

เรียกว่าเป็นคนคราวบิดาได้ละหรือ  ข้าพเจ้าเห็นเป็นไม่ได้เลย  เป็น

ได้เพียงพี่เลี้ยงน้องเท่านั้น  อันจะนับว่าพอเป็นบิดาเขาได้  ก็ต้อง

เทียบเมื่อเขาเกิด  ฉันใด อันจะนับว่าพอเป็นอาจารย์เขาได้ ก็ควร

เทียบเมื่อเขาบวช  ฉันนั้น.

           อนึ่ง  เป็นธรรมเนียมของภิกษุผู้จะเข้าไปในเจดียสถาน  อันเป็น

ที่ระลึกถึงพระศาสดา  จะแสดงอาการเคารพไม่กั้นร่มไม่สวมรองเท้า

ไม่ห่มคลุมเข้าไป  ไม่แสดงการดูหมิ่นต่าง ๆ เช่นพูดเสียงดัง  และนั่ง

เหยียดเท้าเป็นต้น  ไม่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ  และไม่ถ่มเขฬะในลาน

พระเจดีย์ต่อหน้าพระปฏิมา  นี้นับว่าเคารพในพระศาสดา.

           อนึ่ง  เป็นธรรมเนียมของภิกษุผู้จะทำวินัยกรรมต่อกัน  เช่นบอก

ปาริสุทธิ  ปวารณา  แสดงอาบัติ  จะทำผ้าห่มเฉวียงบ่า  นั่งกระหย่ง

ประณมมือทำ และเมื่อฟังวินัยกถา  หรือธรรมเทศนา  นิ่งฟังไม่พูดจา

กันเสีย  และระวังเพื่อจะไม่ไอกลบเสียงผู้แสดง  ไม่มีเหตุจำเป็น  ไม่ลุก

ไปเสียในเวลาที่ท่านกำลังแสดงค้างอยู่  รอจนจบจึงลุก  ถ้าเป็นกถาที่

ยาว  เช่นเทศนายันรุ่ง  รอชั่วจบกัณฑ์หนึ่ง ๆ.  อักษรจารึกพระธรรม

ไม่เดินข้ามหรือย่ำเหยียบ.  นี้นับว่าเคารพในพระธรรม.

           อนึ่ง  เป็นธรรมเนียมของภิกษุผู้จะเข้าประชุมสงฆ์  จะห่มผ้า

เฉวียงบ่า  เว้นไว้แต่ในละแวกบ้าน  และแสดงอาการสำรวมเรียบร้อย




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 80

ไม่ว่าผู้ใหญ่ผู้น้อย.  นี้นับว่าเคารพในสงฆ์.

           คารวะ   ประการนี้  มีในบาลีแต่การห่มผ้าเฉวียงบ่านั่งกระหย่ง

ประณมมือทำวินัยกรรม  นอกนั้นเป็นธรรมเนียมบัญญัติขึ้นภายหลัง

แต่เป็นวัตรอันดี ควรประพฤติตาม  จึงกล่าวไว้ในกัณฑ์นี้ด้วย. 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น