วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วินัยมุขเล่ม ๒ นักธรรมโท หน้า ๙๐ ถึงหน้า ๑๐๗ อุโบสถ ปวารณา


นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 90

                                        กัณฑ์ที่  ๑๗

                                     อุโบสถ  ปวารณา

                                            อุโบสถ 

           นี้เป็นชื่อของการบำเพ็ญพรตอย่างหนึ่ง  เนื่องด้วยอดอาหาร

แปลว่า  การเข้าอยู่ ตรงกับการจำศีลของเรา  เป็นธรรมเนียมมีมา

ก่อนพุทธกาล  กำหนดให้สมาทานในวันพระจันทร์เพ็ญ  พระจันทร์ดับ

และพระจันทร์กึ่งดวง ที่ตรงกับขึ้น  ๑๕  ค่ำ  แรม  ๑๕  ค่ำ  หรือ  ๑๔  ค่ำ

และขึ้น   ค่ำ  แรม   ค่ำโดยลำดับ.  ครั้นถึงพุทธกาล พระศาสดา

ทรงพระอนุมัติธรรมเนียมนั้น  ตรัสให้ใช้วันเช่นนั้น  เป็นที่ประชุมกัน

กล่าวธรรมฟังธรรม  และเป็นที่สมาทานอุโบสถของคฤหัสถ์  แต่ใน

ฝ่ายภิกษุบริษัท  ทรงอนุญาตให้ทำอุโบสถเฉพาะในวันพระจันทร์เพ็ญ

พระจันทร์ดับ.  ๑๕  วัน  หรือ  ๑๔  วัน  ต่อครั้งหนึ่ง.

           ครั้งปฐมโพธิกาล  พระองค์ประทานพระบรมพุทโธวาทใน

ที่ชุมนุมสงฆ์ด้วยพระองค์เอง  ทรงยกคุณธรรมอันเป็นหัวใจพระ-

ศาสนาบางอย่างขึ้นแสดง  ดังมีแจ้งในโอวาทปาติโมกข์.  ในภายหลัง

ประทานพระพุทธานุญาตให้ภิกษุสงฆ์ทำอุโบสถตามลำพัง  ให้ภิกษุ

รูปหนึ่งสวดสิกขาบทหมวดหนึ่ง  ที่จัดไว้สำหรับเรียกว่าปาติโมกข์

ในที่ชุมนุมสงฆ์.  ในบาลีเล่าเหตุทรงเลิกแสดงโอวาทปาติโมกข์ว่า

เพราะมีภิกษุมีบริสุทธิ์ปนอยู่ในหมู่สงฆ์   ใคร่ครวญตามอนุรูปเหตุ

น่าจะเห็นว่า  เมื่อทรงมอบอำนาจให้สงฆ์เป็นใหญ่ในสังฆกรรม  และ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 91

โปรดให้สวดปาติโมกข์  ก็เพื่อจะให้ฟังจนชินจะได้จำได้  เพราะการ

เรียนการทรงธรรมวินัย  ใช้การฟังแล้วจำไว้เป็นทาง.  นอกจาก 

วันนี้  ทรงพระอนุญาตให้ทำอุโบสถเป็นพิเศษบ้างก็มี  ในคราวที่ภิกษุผู้

แตกกันปรองดองกันเข้าได้  เช่นภิกษุชาวกรุงโกสัมพี  นี้เรียกสามัคคี

อุโบสถ.  นอกจากวันกำหนดนี้  ห้ามไม่ให้ทำอุโบสถพร่ำเพรื่อ.  โดย

นัยนี้  วันอุโบสถจึงมี   คือ  วันที่ ๑๔  วันที่ ๑๕  และวันสามัคคี.

           ภิกษุชุมนุมกันตั้งแต่   รูปขึ้นไป  ตรัสให้สวดปาติโมกข์  มี

เพียง   รูป   รูป  เรียกว่าคณะ  ตรัสให้บอกความบริสุทธิ์ของตน

แก่กันและกัน. มีรูปเดียว  เรียกบุคคล  ให้อธิษฐานใจเอา.  โดยนัยนี้

ได้การก  คือผู้ทำก็เป็น ๓  คือ  สงฆ์  คณะ  บุคคล  และได้อาการ

อันจะพึงทำก็เป็น   คือ  สวดปาติโมกข์  บอกความบริสุทธิ์  และ

อธิษฐาน.

           ในอาวาสหนึ่ง ๆ  [ ที่มีสีมา ]  ให้มีโรงไว้แห่งหนึ่ง เป็นที่

สงฆ์ประชุมทำอุโบสถ กำหนดให้จุภิกษุได้ไม่น้อยกว่า  ๒๑  รูป  เมื่อ

ึถึงวันกำหนด  ให้ประชุมกันทำในที่นั้น  นี้เรียกว่าโรงอุโบสถ.  สถาน

ที่เราเรียกว่าอุโบสถหรือโบสถ์  อันเป็นหลักของวัดในบัดนี้นั้น  คือโรง

อุโบสถนี้เอง  ในอาวาสเดียว  ห้ามไม่ให้มีโรงอุโบสถมากกว่าหนึ่ง

ใช้แห่งหนึ่งอยู่ก่อน  ภายหลังใช้แห่งอื่น  ให้เลิกแห่งเดิมเสีย  และห้าม

ไม่ให้เที่ยวทำอุโบสถตามบริเวณนั้น ๆ  [ นี้หมายเอาอาวาสที่มีสีมา

ใหญ่  หมู่กุฎีอยู่ในสีมา ]  เว้นไว้แต่ภิกษุบางรูปเจ็บหนัก  ไม่อาจให้

ปาริสุทธิ  ดังจะกล่าวข้างหน้า  และไม่อาจหามไปเข้าที่ชุมนุมสงฆ์  ถ้า




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 92

จำจะต้องทำอุโบสถในที่อื่นด้วยเหตุเช่นนี้ ให้บอกนัดหมายให้รู้ทั่วกัน

           ถึงวันอุโบสถ  ให้ภิกษุผู้เถระไปโรงอุโบสถก่อน  สั่งภิกษุ

ทั้งหลายให้ช่วยกันกวาดที่นั้น  ถ้าค่ำให้ตามไฟ  ตั้งน้ำฉันน้ำใช้

ตั้งหรือปูอาสนะไว้  ให้เสร็จก่อนประชุมสงฆ์  หรือจะจัดวาระให้

ผลัดกันทำไว้แต่ต้นก็ได้.  กิจ   อย่างนี้เรียกบุพพกรณ์  แปลว่า

กรณียะอันจะพึงทำก่อน.

           ยังมีกิจอันจะพึงทำก่อนสวดปาติโมกข์อีก   อย่าง  คือ :-

           ก.  นำปาริสุทธิของภิกษุผู้เจ็บมา.

           อธิบายว่า  ภิกษุเจ็บ  มีอยู่ในสีมาคือในเขตร่วมสังวาส

ไม่อาจไปสู่ที่ประชุมสงฆ์   โรงอุโบสถ  ภิกษุอื่นรูปหนึ่งพึงรับมอบ

ปาริสุทธิของเธอมาแจ้งแก่สงฆ์  นี้เรียกว่านำปาริสุทธิมา.  วิธีมอบ

ปาริสุทธินั้น  ภิกษุผู้เจ็บ น่าจะชำระตนให้บริสุทธิ์จากอาบัติก่อน

แล้วจึงบอกมอบ  แต่ในบาลีหาได้กล่าวถึงไม่ กล่าวแต่เพียงให้ทำผ้า

ห่าเฉวียงบ่านั้นกระหย่งประณมมือ  กล่าวกะภิกษุรูปนั้นว่า   " ปาริสุทฺธึ

ทมฺมิปาริสุทฺธึ  เม  หรปาริสุทฺธึ  เม  อาโรเจหิ. "   แปลว่า  ฉัน

มอบความบริสุทธิ์ของฉัน. "   นี้เป็นคำของผู้เจ็บที่แก่กว่าผู้รับ

เธอจงบอกความบริสุทธิ์ของฉัน. "   นี้เป็นคำของผู้เจ็บที่แก่กว่าผู้รับ

ถ้าอ่อนกว่า  ใช้คำว่า   " หรถ "   แทน   " หร "   ใช้คำว่า   " อาโรเจถ "

แทน   " อาโรเจหิ "   สำเร็จความแปลว่า   " ผมมอบความบริสุทธิ์

ของผม  ขอท่านจงนำความบริสุทธิ์ของผมไป  ขอท่านจงบอกความ

บริสุทธิ์ของผม. "   ฝ่ายภิกษุผู้รับปาริสุทธิของภิกษุไข้  พึงบอกในสงฆ์




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 93

จะพึงบอกด้วยคำอย่างไร  ในบาลีไม่ได้วางแบบไว้  ซ้ำกล่าวว่า  แม้

ไม่บอกก็เป็นอันนำมา.  แบบที่ท่านใช้นั้น  บอกควบกันกับบอกฉันทะ

ดังจะกล่าวข้างหน้า.  ข้าพเจ้าเข้าใจว่า  มอบปาริสุทธินี้  ก็คือขอ

ให้ช่วยบอกปาริสุทธิแทนตนนั้นเอง  ถ้ามตินี้ถูก  น่าจะบอกเมื่อสวด

ปาติโมกข์จบแล้ว  อย่างเดียวกับภิกษุผู้ไปบอกได้ด้วยตนเอง.  คำ

บอกน่าจะว่าอย่างนี้ ต่างว่าภิกษุผู้อาพาธชื่ออุตตระ และแก่กว่า

ภิกษุผู้นำปาริสุทธิมา  บอกว่า   " อายสฺมา  ภนฺเต  อุตฺตโร  คิลาโน ;

' ปริสุทฺโธติ  ปฏิชานิ,  " ปริสุทฺโธติ  ตํ  สงฺโฆ  ธาเรตุ "   แปลความว่า

" ท่านเจ้าข้า  ท่านอุตตระอาพาธ  ท่านปฏิญญาตนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์

ขอสงฆ์จงทราบท่านว่า  เป็นผู้บริสุทธิ์ "   ถ้าผู้นำแก่กว่า  พึงกล่าวว่า

" อุตฺตโร  ภิกฺขุ "   แทนคำว่า   " อายสฺมา อุตฺตโร "   ใช้คำเรียก

อุตตรภิกษุว่า   " เธอ "  แทนคำว่า   " ท่าน "   เมื่อนำปาริสุทธิมาแล้ว

ภิกษุไข้ก็เป็นอันได้ทำอุโบสถ.

           ข.  นำฉันทะของเธอมาด้วย.

           อธิบายว่า  ภิกษุผู้อยู่ในสีมาคือเขตชุมนุม  มีสิทธิในอันจะ

ได้เข้าประชุมด้วย  จะทำกิจสงฆ์เว้นเธอเสีย กิจนั้นไม่เป็นธรรม

ใช้ไม่ได้  เว้นแต่จะได้รับความยินยอมของเธอ  การให้อนุมัตินี้ เรียก

ว่าให้ฉันทะ.  ภิกษุทุกรูป  ผู้ได้รับนัดหมาย   ควรมีแก่ใจในการเข้า

ประชุมทำกิจสงฆ์  ถ้าไม่อาจด้วยประการใดประการหนึ่ง  เช่นอาพาธ

ก็พึงให้ฉันทะยินยอมให้สงฆ์ทำกิจนั้น.  และในสมัยก่อน คงไม่ได้

ประชุมกันบ่อย ๆ  เหมือนในบัดนี้  ถ้ามีกิจจะพึงทะ  เช่นสมมติภิกษุ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 94

ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์  คงเอาไว้ทำในวันอุโบสถ  เมื่อเป็นเช่นนี้

ท่านจึงแนะให้นำฉันทะของภิกษุไข้มาด้วยทีเดียว.  จะทำให้สมควร  ดู

เหมือนจะต้องบอกเรื่องที่สงฆ์จะทำนั้นด้วย.  บางที  ด้วยการให้ฉันทะ

นี้เอง  สงฆ์จึงทำอุโบสถได้  ถ้าเข้าใจว่า การมอบปาริสุทธิเป็นอัน

สั่งให้ปฏิญญาแทนตัว.

           วิธีให้ฉันทะนั้น  ในบาลีวางแบบไว้ว่า  ภิกษุผู้ให้พึงทำอุตตรา-

สงค์เฉวียงบ่า  นั่งกระหย่งประณมมือ  กล่าวกะภิกษุรูปหนึ่งว่า

" ฉนฺทํ  ทมฺมิฉนฺทํ  เม หรฉนฺทํ  เม  อาโรเจหิ. "   แปลว่า   " ฉัน

ให้ฉันทะของฉัน  เธอจงนำฉันทะของฉันไป  เธอจงบอกฉันทะของ

ฉัน. "   น่าจะเห็นว่า  ท่านวางแบบไว้เพื่อกล่าวคำใดคำหนึ่งก็ได้  ถึง

มอบปาริสุทธิก็เหมือนกัน. นี้เป็นคำของผู้ให้แก่กว่า  ถ้าอ่อนกว่า

ใช้คำว่า   " หรถ "   แทน   " หร "   ใช้คำว่า   " อาโรเจถ "   แทน

" อาโรเจหิ "   และถือเอาความเข้าใจโดยสมควรแก่อรรถ  ดังกล่าว

แล้วในมอบปาริสุทธินั้น. คำบอกของภิกษุผู้นำฉันทะ  ไม่ได้วางแบบ

ไว้ในบาลี  ท่านผูกขึ้นใช้  ต่างว่าภิกษุผู้ให้ฉันทะชื่ออุตตระและแก่กว่า

บอกว่า   " อายสฺมา  ภนฺเต  อุตฺตโร  มยฺหํ  ฉนฺทํ  อทาสิตสฺส

ฉนฺโท มยา  อาหโฏสาธุ  ภนฺเต  สงฺโฆ  ธาเรตุ. "   แปลความ

ว่า   " ท่านเจ้าข้า  ท่านอุตตระ  ได้มอบฉันทะแก่ผม ๆ  นำฉันทะของ

ท่านมาแล้ว  ขอสงฆ์จงทราบ. "   ถ้าผู้ให้อ่อนกว่า  ใช้คำว่า   " อุตฺตโร

ภนฺเต  ภิกฺขุ "   แทน   " อายสฺมา  ภนฺเต  อุตฺตโร "   และแปลคำเรียก

อุตตรภิกษุว่า   " เธอ "   แทน   " ท่าน "   ภิกษุผู้ให้ชื่ออย่างใด  พึง




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 95

เปลี่ยนตามชื่ออย่างนั้น  ยกชื่ออุตตระออกเสีย.  บอกฉันทะควบกับ

ปาริสุทธินั้น  ดังนั้น :-   " อุตฺตโร  ภนฺเต  ภิกฺขุ  คิลาโน  มยฺหํ ฉนฺทญฺจ

ปาริสุทฺธิญฺจ  อทาสิตสฺส  ฉนฺโท   ปาริสุทฺธิ   มยา  อาหฏา,

สาธุ  ภนฺเต  สงฺโฆ  ธาเรตุ. "   แปลว่า   " ท่านเจ้าข้า  อุตตรภิกษุอาพาธ

ได้มอบฉันทะและปาริสุทธิแก่ผม  ผมนำฉันทะและปาริสุทธิของเธอมา

แล้ว  ขอสงฆ์จงทราบ. "   ได้รับฉันทะของภิกษุผู้ไม่มาเข้าประชุม

อย่างนี้แล้ว  สงฆ์ทำอุโบสถก็ได้  ทำสังฆกรรมอื่นด้วยก็ได้.  ท่านว่า

ปาริสุทธิสำหรับอุโบสถอย่างเดียว  ฉันทะสำหรับทั้ง ๒  อย่าง.

           ค.  บอกฤดู.

           ฤดูที่นับกันอยู่ในพุทธกาล  มี   คือ  เหมันตฤดู   หนาว ๑

คิมหฤดู ๆ  ร้อน ๑  วัสสานฤดู ๆ  ฝน ๑  มีการกำหนดเริ่มต้น  และมี

การวิภาคแจกออกไปเป็นเดือนเป็นปักษ์เป็นดิถี  กล่าวแล้วในมาตรา

เวลาในมาตรากัณฑ์.  การบอกฤดูนั้น  เข้าใจว่ามีประโยชน์นัดหมาย

ให้ภิกษุสงฆ์นับเวลาต้องกัน.  เหตุอันจะให้นับเวลาคลาดเคลื่อนกัน

ที่แลเห็นอยู่  คืออธิกมาส  อธิกวาร  ที่เติมเข้าในบางคราว  เพราะ

เหตุอันกล่าวแล้วในมาตราเวลาในมาตรากัณฑ์นั้น  ดูเป็นประโยชน์

จริง ๆ  ในครั้งนั้น  ในบัดนี้ก็ยังมีประกาศของบ้านเมืองให้ใช้  ต่าง

ว่าไม่มีประกาศเช่นนั้น  การนับเวลาโดยจันทรคติ  คงคลาดเคลื่อน

ด้วยอำนาจอธิกมาส  อธิกวารนี้เป็นแน่.  ในครั้งนั้น  พวกภิกษุคงได้

เคยนับเวลาคลาดเคลื่อนมาแล้ว  ในอุโบสถขันธกะจึงกล่าวถึงวัน

อุโบสถที่เจ้าอาวาสและอาคันตุกะนับแย้งกัน  ข้างหนึ่งเป็นวันที่  ๑๔




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 96

ข้างหนึ่งเป็นวันที่  ๑๕.  ตรัสให้บอกฤดู  มีประโยชน์นัดหมายให้นับ

ถูกต้องกันอย่างนี้.  บอกว่าอย่างไร  น่าจะนึกอยู่บ้าง.  ข้าพเจ้าเข้าใจ

ว่าคงบอกฤดู  เดือน  ปักษ์ ดิถี  อันเป็นปัจจุบัน  หรือแม้บอกกาล

ล่วง  กาลยัง  ในปีนั้นด้วย  พึงเห็นในวิธีบอกศักราช.  แต่บอกกัน

อยู่ในบัดนี้  เพียงชื่อฤดู  และในฤดูนั้น  มีอุโบสถ   หรือมีอุโบสถ 

ปวารณา ๑  หรือมีอุโบสถ  ๑๐.  อุโบสถอันมาถึงเข้านั้น  เป็นที่เท่า

นั้น   บ่วงไปแล้วเท่านั้น  ยังเท่านั้น, โดยนัยนี้  เมื่อได้ฟังแต่ต้นฤดูว่า

ในฤดูนั้นมีอุโบสถ  ๑๐  ก็รู้ได้ว่าในฤดูนั้นมีอธิกมาส.

           ฆ.  นับภิกษุ.

           การนับภิกษุนี้  มีประโยชน์จะให้รู้ว่า  ในอาวาสนั้น  หรือใน

จังหวัดนั้นมีภิกษุเท่าไร  กล่าวโดยความก็คือในระยะกึ่งเดือนสำรวจ

บัญชีภิกษุกันคราวหนึ่ง  เพื่อจะได้รู้ว่ามีจำนวนคงหรือขึ้นลงเท่าไร.

วิธีนับ  ท่านให้เรียกชื่อบ้าง  ใส่คะแนนบ้าง.  ข้าพเจ้าเข้าใจว่า  ภิกษุ

ผู้อยู่ในอาวาสเดียวกันประชุม  ควรนับด้วยวิธีเรียกชื่อ  ถ้าภิกษุผู้

ประชุมอยู่ต่างอาวาส  แต่ในจังหวัดเดียวกัน  ควรนับด้วยวิธีใส่

คะแนน.  ในบัดนี้ใช้นับไม่จำกัด  ใช้วิธีอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้  สุดแต่

จะสะดวก  แต่การนับเรียกชื่อ  ใครขาดรู้ได้ง่าย  และการบอกก็บอกแต่

จำนวนภิกษุผู้เข้าประชุม  ไม่ได้จำแนกว่าเจ้าอาวาสเท่านั้น  อาคันตุกะ

เท่านั้น.

           ง.  สั่งสอนนางภิกษุณี.

           ข้อนี้ได้กล่าวแล้วในสิกขาบทที่   แห่งโอวาทวรรค  ปาจิตติย-




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 97

กัณฑ์.  ในบัดนี้  ภิกษุณีไม่มีแล้ว  กิจนี้ก็เป็นอันไม่ต้องทำ.

           กิจ   อย่างนี้  เรียกว่าบุพพกิจ  แปลว่า  ธุระอันจะพึงทำก่อน

[ แต่สวดปาติโมกข์ ].

           ภิกษุผู้จะทำอุโบสถ  ต้องชำระตนให้บริสุทธิ์จากอาบัติที่เป็น

เทสนาคามินี  คือแก้ได้ด้วยการแสดง  รู้ว่ามีอาบัติติดตัว  เข้าฟัง

ปาติโมกข์  ถูกปรับอาบัติทุกกฏ  ขณะเมื่อฟัง  นึกขึ้นมาได้ก็ต้อง

บอกแก่ภิกษุผู้นั่งใกล้ว่า  ข้าพเจ้ายังต้องอาบัติชื่อนั้น  ลุกจากที่นี้

แล้วจักแสดง.

           ภิกษุทั้งหลายละเมิดพระบัญญัติอย่างเดียวกัน ต้องอาบัติอย่าง

เดียวกัน  อาบัติของเธอทั้งหลายนั้น  ท่านเรียกว่าสภาคาบัติ  ท่าน

ห้ามไม่ให้แสดงต่อกัน  ห้ามไม่ให้รับของกัน  ขืนทำ  ท่านปรับเป็น

ทุกกฏทั้งผู้แสดงทั้งผู้รับ  แต่อาบัตินั้น  ท่านยอมให้เป็นอันแสดงแล้ว.

อาบัติต่างวัตถุ  แม้ชื่อเดียวกัน  เช่นปาจิตติยะเพราะนอนร่วมกับ

อนุปสัมบันเกินกำหนด  และปาจิตติยะเพราะสอนธรรมแก่อนุป-

สัมบันว่าพร้อมกันเข้า  ไม่จัดเป็นสภาคาบัติ  ต่างรูปต่างแสดงต่าง

รับของกันได้.  ถ้าสงฆ์คือภิกษุทั้งปวงต้องสภาคาบัติ  ท่านให้สวด

ประกาศในที่ประชุมแล้วฟังปาติโมกข์ได้  ข้อนี้จักไว้กล่าวข้างหน้า.

อาบัติที่เป็นวุฏฐานคามินี  จะพ้นได้ด้วยอยู่กรรม  คือสังฆาทิเสส.

ท่านให้บอกไว้แก่ภิกษุแม้รูปหนึ่งว่า  ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสมี

วัตถุอย่างนั้น ๆ  แล้วฟังปาติโมกข์ก็ได้.  วิธีนี้เป็นเครื่องกันไม่ให้

ภิกษุปิดอาบัติสังฆาทิเสสอันเป็นเหตุอยู่ปริวาสไว้เกิน  ๑๕  วัน  ดีอยู่




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 98

ภิกษุปฏิบัติตามแล้ว  วันอยู่ปริวาสอย่างมากก็เพียง  ๑๕  วันเท่านั้น.

           ในที่ประชุมพร้อมด้วยองค์   ดังต่อไปนี้  ท่านจึงให้ทำสังฆ-

อุโบสถ  คือสวดปาติโมกข์ :- 

           ๑.  วันนั้นเป็นที่ ๑๔  หรือที่ ๑๕  หรือวันสามัคคี  อย่างใด

อย่างหนึ่ง.  วันที่  ๑๔  หรือที่  ๑๕  นั้น  นับแต่อุโบสถหลัง  สมด้วยคำ

ในปาฏิโมกขัฏฐปนขันธกะ  คัมภีร์จุลวรรคว่าเพียง   " ตทหุโปสเถ

ปณฺณรเส "   ในวันอุโบสถที่  ๑๕  [ เล่ม ๒  หน้า  ๒๖๐ ]  โดยนัยนี้

ดูเหมือนว่าสงฆ์จะทำในวันใดวันหนึ่งก็ได้ สุดแต่ความพอใจ  แต่ใน

บาลีพระสูตรมีคำบ่งชัดว่า  ในวันนั้นตรงดิถีที่เท่านั้นของปักษ์  ด้วยคำ

นั้นว่า   " ตทหุโปสเถ  ปณฺณรเส  ปุณฺณาย  ปุณฺณมาย  รตฺติยา "

ในราตรีเต็มมีพระจันทร์เพ็ญ  ในวันอุโบสถที่  ๑๕  [ จูฬปุณณมสูตร

มัชฌิมนิกาย  อุปริปัณณาสกะ  เล่ม  ๑๔  หน้า ๑๐๙  ฉบับสยามรัฐ ]

และในอุโบสถขันธกะคัมภีร์มหาวรรค  กล่าวถึงวันอุโบสถของ

เจ้าอาวาสกับของอาคันตุกะแย้งกัน  เป็นที่  ๑๔  กับที่  ๑๕  บ้าง  เป็น

ที่ ๑๕  กับวันปาฏิบทบ้าง  ไม่กล่าวว่าที่ ๑๖โดยนัยนี้  ลงสันนิษฐาน

ว่า  วันที่  ๑๔  หรือที่ ๑๕  นับแต่วันอุโบสถหลังนั้น  ได้แก่ดิถีที่เท่านั้น

แห่งปักษ์ด้วย.  ถ้าเกิดนับวันอุโบสถแย้งกันขึ้นดังกล่าวแล้ว  ท่าน

ให้ข้างน้อยอนุวัตข้างมาก  ถ้าเท่านั้น  ท่านให้อาคันตุกะอนุวัตเจ้า

อาวาส  แต่ฝ่ายที่นับเป็นวันปาฏิบทแล้ว  จะอนุวัตไม่ได้  ให้ออกไป

เสียจากสีมา  หรือนั่งอยู่ด้วยเพียงเพื่อให้กายสามัคคี.  การนับวันนี้

ดูเหมือนต้องตกลงกันมาก่อนหน้าแล้ว  ตลอดจนยกชื่อขึ้นสวดใน




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 99

ปาติโมกข์.

           ๒.  จำนวนภิกษุผู้ประชุม   รูปเป็นอย่างน้อย  เกินกว่านั้นใช้ได้

เธอทั้งหลายเป็นปกตัตะ  คือเป็นภิกษุโดยปกติ  ไม่ต้องปาราชิก

หรือถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม  แต่ ๒  ประเภทนี้  หมายเอาเป็นที่ ๔

อยู่ในสงฆ์  คือมีรูปนั้นบรรจบเป็น ๔  จึงใช้ไม่ได้  เธอทั้งหลายเข้า

นั่งไม่ละหัตถบาสแห่งกันและกัน สำเร็จเป็นกิริยานั่งประชุม.

           ๓.  เธอทั้งหลายไม่ต้องสภาคาบัติ.  แต่ถ้ามีอย่างนั้น  ท่านให้

ภิกษุรูปหนึ่งสวดประกาศว่า   " สุณาตุ  เม  ภนฺเต  สงฺโฆอยํ

สพฺโพ  สงฺโฆ  สภาคํ  อาปตฺตึ  อาปนฺโนยทา  อญฺญํ  ภิกฺขุํ

สุทฺธํ  อนาปตฺติกํ  ปสฺสิสฺสติตทา  ตสฺส  สนฺติเก  ตํ  อาปตฺตึ

ปฏิกฺกริสฺสติ "   ดังนี้  แปลว่า   " ท่านเจ้าข้า  ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

สงฆ์ทั้งปวงนี้ต้องสภาคาบัติ  จักเห็นภิกษุอื่นผู้บริสุทธิ์  ไม่มีอาบัติ

เมื่อใด  จักทำคืนอาบัตินั้นในสำนักเธอเมื่อนั้น. "   เมื่อได้สวดประกาศ

อย่างนี้แล้ว  ทำอุโบสถก็ได้  ตามนัยนี้  ข้อนี้เป็นองค์แท้ทีเดียว

ก็หาไม่  ถ้าไม่นับเอาข้อนี้  แยกกิริยาที่นั่งประชุมเขาหัตถบาสมาเป็น

องค์ที่ ๓  จะแลเห็นว่าเป็นองค์ที่เว้นไม่ได้  และจะเชื่อมอนุสนธิสนิท

ทั้งกับองค์ที่ ๒  ทั้งกับองค์ที่  ๔.

           ๔.  บุคคลควรเว้นไม่มีในหัตถบาส  คือไม่ได้อยู่ที่ประชุม

บุคคลควรเว้นนั้น  ท่านแจกไว้ถึง  ๒๑  เฝือไป  ทั้งดูเหมือนจะไม่สิ้น

เชิงด้วย  พึงกำหนดง่าย ๆ  ดังนี้ :-

           ก.  คนไม่ใช่ภิกษุ หรือจะเรียกง่ายว่า  อนุปสัมบัน  ภิกษุณี




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 100

ก็นับเข้าในจำพวกนี้ด้วย.

           ข. เป็นภิกษุอยู่ก่อน  แต่ขาดจากความเป็นภิกษุด้วยประการใด

ประกานหนึ่ง  คือ  ต้องปาราชิกก็ดี  ไปเข้ารีตเดียรถีย์ทั้งเพทศภิกษุก็ดี

ลาสิกขาแล้วก็ดี.

           ค.  เป็นภิกษุ แต่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม.

           จำพวกหลังนี้  ไม่เป็นที่ ๔  ในสงฆ์ไม่เป็นอะไรอนุปสัมบัน

นั้น  ไม่ใช่ผู้มีสังวาสร่วมกัน  จึงเป็นบุคคลควรเว้น  เช่นเดียวกับคนผู้

ไม่ใช่สมาชิก  ไม่มีส่วนในการเข้าประชุมในสโมสรฉะนั้น  หากพลัด

เข้าไป  เช่นปลอมเพศที่เรียกว่าเถยยสังวาส  ไม่ใช่ที่ ๔  ในสงฆ์  ก็

เป็นใช้ได้  ไม่ต้องกล่าวถึงคนไม่รู้ธรรมเนียมกล้ำกรายเข้าไป.  ส่วน

ผู้เป็นภิกษุอยู่ก่อน  แต่ขาดจากความเป็นภิกษุแล้ว  เช่นเดียวกับ

สมาชิกผู้ถูกไล่เสียแล้ว  หรือผู้ลาออกแล้ว  ไม่มีส่วนแห่งการประชุม

อีก.  ส่วนภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมนั้น  เช่นสมาชิกผู้ถูกห้าม

จากการประชุมชั่วคราว.

           ในคราวประชุมทำอุโบสถนี้  ภิกษุทั้งหลายถือเอาโอกาส

สนทนากันถึงพระวินัยในสงฆ์ด้วย แต่ไม่ใช่พระพุทธานุญาตโดยตรง

เนื่องด้วยการทำอุโบสถ.  มีเป็นธรรมเนียมว่า  จะสนทนากันถึง

พระวินัยในท่ามกลางสงฆ์  ทั้งผู้ถามทั้งผู้วิสัชนา  ต้องได้รับสมมติ

ก่อน  ประกาศสมมติตนเองก็ได้  ภิกษุอื่นประกาศสมมติให้ก็ได้

เพียงด้วยญัตติกรรมก็พอ.  คำประกาศสมมติตนเองเป็นผู้ถามว่า

อย่างนี้ :-   " สุณาตุ  เม  ภนฺเต  สงฺโฆยทิ  สงฺฆสฺส  ปตฺตกลฺล,




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 101

อหํ  อิตฺถนฺนามํ  วินยํ  ปุจฺเฉยฺยํ "   แปลว่า   " พระสงฆ์เจ้าข้า  ขอจง

ฟังข้าพเจ้าถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วข้าพเจ้าขอถาม

พระวินัยต่อผู้มีชื่อนี้. "   ชื่ออย่างไรกล่าวออกในที่ว่า   " อิตฺถนฺนามํ "

เช่นชื่ออุตตระ  แก่กว่า  กล่าวว่า   " อายสฺมนฺตํ  อุตฺตรํ "   อ่อนกว่า

กล่าวว่า   " อุตฺตรํ  ภิกฺขุํ "   ถ้าเป็นสังฆเถระ  กล่าวว่า   " อาวุโส

แทน   " ภนฺเต. "   คำประกาศสมมติตนเองเป็นผู้วิสัชนาว่าอย่างนี้ :-

" สุณาตุ  เม  ภนฺเต  สงฺโฆ ยทิ  สงฺฆสฺส  ปตฺตกลฺลํ อหํ      

 ิอิตฺถนฺนาเมน  วินยํ  ปุฏฺโฐ  วิสชฺเชยฺยํ "   แปลว่า   " พระสงฆ์เจ้าข้า

ขอจงฟังข้าพเจ้าถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วข้าพเจ้า

อันผู้มีชื่อนี้  ถามถึงวินัยแล้ว  ขอวิสัชนา "  ถ้าผู้ถามชื่อเรวตะ

แก่กว่า   กล่าวว่า   " อายสฺมตา  เรวเตน "   อ่อนกว่า  กล่าวว่า

" เรวเตน  ภิกฺขุนา "   แทน   " อิตฺถนฺนาเมน. "   ภิกษุอื่นประกาศ

สมมติให้เป็นผู้ถาม  ประกอบชื่อแทนว่าอย่างนี้ :-   " สุณาตุ  เม

ภนฺเต  สงฺโฆยทิ สงฺฆสฺส  ปตฺตกลฺลํอายสฺมา  เรวโต  อายสฺมนฺตํ

อุตฺตรํ  วินยํ  ปุจฺเฉยฺย "   แปลว่า  พระสงฆ์เจ้าข้า ฯ ล ฯ  ขอ

ท่านเรวตะถามวินัยต่อท่านอุตตระ. "   ให้เป็นผู้วิสัชนาว่าอย่างนี้ :-

" สุณาตุ  เม  ภนฺเต  สงฺโฆยทิ  สงฺฆสฺส  ปตฺตกลฺล, อายสฺมา

อุตฺตโร  อายสฺมตา  เรวเตน  วินยํ  ปุฏฺโฐ  วิสชฺเชยฺย "    แปลว่า

" พระสงฆ์เจ้าข้า  ฯ ล ฯ  ขอท่านอุตตระอันท่านเรวตะถามถึงวินัย

แล้ววิสัชนา. "   ธรรมเนียมนี้คงไม่เป็นไปได้เท่าไรนัก  ตกมาถึง

ภิกษุสงฆ์ไม่ใช่เจ้าของภาษาบาลี  ทำไม่ถนัดหรือทำไม่ได้อยู่เอง  จึง




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 102

เกิดตั้งเป็นแบบถามและวิสัชนากันด้วยบุพพกรณ์  บุพพกิจ  และ

องค์แห่งความพร้อมพรั่งของสงฆ์  แห่งอุโบสถกรรมเท่านั้น  ยืน

ที่ไม่ยักย้าย  กลายเป็นพิธีไป. ในธรรมยุตติกนิกายเลิกมานานแล้ว

เป็นแต่สวดเรื่องนั้นนำ  พอได้บอกฤดู  บอกจำนวนภิกษุ  บอกวัน

อุโบสถเท่านั้น. 

           การสวดปาติโมกข์  ตรัสให้เป็นหน้าที่ของพระเถระผู้ใหญ่  แต่

ถ้าไม่สามารถด้วยประการใดประการหนึ่ง  จะเชิญให้ภิกษุอื่นผู้

สามารถสวดก็ได้  เป็นอันว่ารูปใดรูปหนึ่งสวดก็ภิกษุผู้สวดนั้น

ควรเลือกเอาผู้ฉลาด  จำปาติโมกข์ได้  เข้าใจว่าพากย์และอักษรถูก

จังหวะและชัดเจน  และอาจสวดได้  ไม่ใช่ผู้มีเสียงแหบเสียงเครือ

หรือเจ็บเป็นหวัด.  ภิกษุผู้สวด  ควรตั้งใจสวดให้ชัดให้ดัง  พอบริษัท

ได้ยินถนัดทั่วกัน  แกล้งทำอ้อมแอ้มอุบอิบเสีย  ท่านปรับเป็นทุกกฏ.

           ในคำสวด  มีที่เปลี่ยนวันแห่งหนึ่ง ถ้าวันที่  ๑๕  สวดว่า   " อชฺชุ-

โปสโถ  ปณฺณรโส "   แปลว่า   " อุโบสถวันนี้ที่  ๑๕ "   ถ้าวันที่ ๑๔

สวดว่า   " อชฺชุโปสโถ  จาตุทฺทโส "   แปลว่า   " อุโบสถวันนี้ที่  ๑๔ "

ถ้าเป็นวันปรองดอง  สวดว่า   " อชฺชุโปสโถ  สามคฺคี "   แปลว่า

" อุโบสถวันนี้  เป็นวันสามัคคี. "

           ในปาติโมกข์  ท่านจัดหมวดไว้  เรียกว่าอุทเทส  โดยย่อมี ๕

นิทานุทเทส ๑  ปาราชิกุทเทส ๑  สังฆาทิเสสุทเทส ๑  อนิยตุทเทส ๑

วิตถารุทเทส ๑.  อุทเทสหลังสงคราะห์นิสสัคคิยุทเทส ๑  ปาจิตติ-

ยุทเทส ๑  ปาฏิเทสนียุทเทส ๑   เสขิยุทเทส ๑  สมถุทเทส ๑  โดย




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 103

พิสดาร  จึงเป็นอุทเทส ๙.  นี้สำหรับจะได้รู้จักตัดตอนสวดปาติโมกข์

เมื่อถึงคราวที่จำเป็น.  โดยปกติท่านให้สวดจนจบ  เว้นแต่ไม่มีภิกษุ

จำได้จนจบ  เช่นนี้  ให้สวดเท่าอุทเทสที่จำได้.  อีกอย่างหนึ่ง  เกิด

เหตุฉุกเฉินที่ท่านเรียกว่าอันตรายขึ้น  ท่านให้สวดย่อได้.  วิธีสวด

ตัดตอนนั้น  ใน ๔ อุทเทสข้างต้น  จะยกเลิกไม่สวดตั้งแต่อุทเทสใด

ไป  ให้ย่อตั้งแต่อุทเทสนั้นด้วยสุตบท.

           คำย่อนั้น  ท่านวางแบบไว้ดังนี้ :-  ต่างว่าสวดปาราชิกุทเทสจบ

แล้ว  จะย่อตั้งแต่สังฆาทิเสส  พึงสวดว่า   " สุตา  โข  อายสฺมนฺเตหิ

เตรส  สงฺฆาทิเสสา  ธมฺมาสุตร  โข  อายสฺมนฺเตหิ  เทฺว  อนิยตา

ธมฺมา  ฯ เป ฯ "   แล้วลงท้ายว่า   " เอตฺตกํ  ตสฺส  ภควโต  ฯ เป ฯ

สิกฺขิตพฺพํ "   แบบนี้เทียบคำท้ายอุทเทสว่า   " อุทฺทิฏฺฐา  โข  อายสฺมนฺโต

เตรส  สงฺฆาทิเสสา  ธมฺมา "   และมีศัพท์ว่า   " โข "   ทุกแห่ง  น่า

จะประกอบว่า   " สุตา  โข  อายสฺมนฺเตหิ  เตรส  สงฺฆาทิเสสา  ธมฺมา,

ตตฺถายสฺมนฺเต  ปุจฺฉามิ  ฯ เป ฯ  เอวเมตํ  ธารยามิ. "   ตอนอนิยตุทเทส

เป็นต้น  ก็ประกอบเช่นกัน  ถ้าจะสวดเป็นตอนเดียวกัน  น่าจะตัด

ศัพท์ว่า   " โข "   และบทว่า   " อายสฺมนฺเตหิ "   ข้างหลัง ๆ เสีย

คงไว้แต่ข้างต้นด้งนี้ :-   " สุตา  โข  อายสฺมนฺเตหิ  เตรส  สงฺฆาทิเสสา

ธมฺมาสุตา  เทฺว  อนิยตา  ธมฺมาฯ เป ฯ  ตตฺถายสฺมนฺเต

ปุจฺฉามิ  ฯ เป ฯ  เอวเมตํ  ธารยามิ "   เช่นนี้  คำต่อท้ายจะต้องว่า

" อุทฺทิฏฺฐํ  โข  อายสฺมนฺโต  นิทานํอุทฺทิฏฺฐา  จตฺตาโร  ปาราชิกา

ธมฺมาสุตา  เตรส  สงฺฆาทิเสสา  ธมฺมาฯ เป ฯ "   ก่อนแล้วจึง




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 104

ต่อคำว่า   " เอตฺตกํ  ฯ เป ฯ  สิกฺขิตพฺพํ "   จึงถูกระเบียบ.  แต่แบบ

เช่นนี้  จะใช้ได้เฉพาะในเวลาไม่มีผู้สามารถสวดจบ  จะใช้เมื่อเกิด

เหตุฉุกเฉินขึ้นหาได้ไม่.

           มติของข้าพเจ้าว่า  สวดปาราชิกุทเทสจบแล้ว  สวดคำท้าย

ทีเดียวกัน   " อุทฺทิฏฺฐํ  โข  อายสฺมนฺโต  นิทานํอุทฺทิฏฺฐา  จตฺตาโร

ปาราชิกา  ธมฺมาสุตา  เตรส  สงฺฆาทิเสสา  ธมฺมาฯ เป ฯ

สุตา  สตฺตาธิกรณสมถา  ธมฺมาเอตฺตกํ  ฯ เป ฯ  สิกฺขิตพฺพํ "

เช่นนี้  เข้าระเบียบไม่ลักลั่น และอาจใช้ได้ในเวลาฉุกเฉิน.  เมื่อกำลัง

สวดอุทเทสใดค้างอยู่  เหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น  เลิกอุทเทสนั้นกลางคันได้

เว้นแต่นิทานุทเทส  ต้องสวดจนจบ  และพึงย่นอุทเทสนั้นด้วยสุตบท.

           เหตุฉุกเฉินที่เรียกว่าอันตราย  เป็นเหตุสวดปาติโมกข์ย่อได้นั้น

ท่านแสดงไว้  ๑๐  อย่าง  คือ :-

           ๑.  พระราชาเสด็จมา  เลิกสวดปาติโมกข์เพื่อจะรับเสด็จได้.

           ๒.  โจรมาปล้น  เลิกสวดปาติโมกข์เพื่อหนีภัยได้.

           ๓.  ไฟไหม้ เลิกสวดปาติโมกข์เพื่อดับไฟหรือเพื่อป้องกันไฟได้.

           ๔.  น้ำหลากมา  เลิกสวดปาติโมกข์เพื่อหนีน้ำได้.  สวดกลาง

แจ้งฝนตก  ก็เหมือนกัน.

           ๕.  คนมามาก  เลิกสวดปาติโมกข์เพื่อจะรู้เหตุ  หรือเพื่อจะ

ได้ทำปฏิสันถารได้อยู่.

           ๖.  ผีเข้าภิกษุ  เลิกสวดปาติโมกข์เพื่อขับผี  ได้อยู่.

           ๗.  สัตว์ร้ายมีเสือเป็นต้น  เข้ามาในอาราม  เลิกสวดปาติโมกข์




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 105

เพื่อไล่สัตว์ได้อยู่.

           ๘.  งูร้ายเลื้อยเข้ามาในที่ชุมนุม  ก็เหมือนกัน.

           ๙.  ภิกษุอาพาธโรคร้ายขึ้นในที่ชุมนุม  อันเป็นอันตรายแก่

ชีวิต  เลิกสวดปาติโมกข์เพื่อช่วยแก่ไขก็ได้.  มีอันเป็นตายในที่นั้น

ก็เหมือนกัน.

           ๑๐.  มีอันตรายแก่พรหมจรรย์  เช่นมีใครมาเพื่อจับภิกษุรูปใด

รูปหนึ่ง  เลิกสวดปาติโมกข์  เพราะความอลหม่านก็ได้.

           กำลังสวดปาติโมกข์ค้างอยู่  มีภิกษุพวกอื่นมาถึงเข้า  ถ้ามาก

กว่าภิกษุผู้ชุมนุมอยู่  ท่านให้สวดตั้งต้นใหม่  ถ้าเท่ากันหรือน้อยกว่า

ส่วนที่สวดไปแล้ว  ก็ให้เป็นอันสวดแล้ว  ให้เธอผู้มาใหม่ฟังส่วนยัง

เหลือต่อไปถ้ารู้อยู่ในเบื้องต้นว่า  ยังจักมีภิกษุมาอีก  แต่นึกเสียว่า

ช่างเป็นไร  แล้วสวด  ท่านปรับอาบัติถุลลัจจัย  ถ้าทำด้วยสะเพร่า นึก

ว่ามาเมื่อสวดถึงไหน  ก็จงฟังตั้งแต่นั้น  เช่นนี้ท่านปรับทุกกฏ  แต่

วิธีปฏิบัติก็เหมือนนัยหนหลัง.  ถ้าสวดจบแล้ว  จึงมีภิกษุอื่นมา  แม้

มากกว่า  ไม่ต้องกลับสวดอีก  เธอผู้มาใหม่พึงบอกปาริสุทธิในสำนัก

ภิกษุผู้สวดผู้ฟังปาติโมกข์แล้ว.

           ในอาวาสมีภิกษุหย่อน ๔  รูป  ท่านไม่ให้สวดปาติโมกข์  มี 

รูป  ท่านให้ทำปาริสุทธิอุโบสถ  ดังนี้ :  ประชุมกันในโรงอุโบสถแล้ว

รูปหนึ่งสวดประกาศด้วยญัตติว่า   " สุณนฺตุ  เม  ภนฺเต  อายสฺมนฺตา

อชฺชุโปสโถ  ปณฺณรโส, ยทายสฺมนฺตานํ  ปตฺตกลฺลํมยํ  อญฺญมญฺญํ

ปาริสุทฺธิอุโปสถํ  กเรยฺยาม, "   แปลว่า  " ท่านทั้งหลายเจ้าข้า  อุโบสถ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 106

วันนี้ที่  ๑๕ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว  เรา

ทั้งหลายพึงทำปาริสุทธิอุโบสถด้วยกัน. "   ถ้าท่านผู้สวดแก่กว่าเพื่อน

พึงกล่าวว่า   " อาวุโส "   แทน   " ภนฺเต "   ถ้าวันที่  ๑๔  พึงกล่าวว่า

" จาตุทฺทโส "   แทน   " ปณฺณรโส "   ในลำดับนั้น ภิกษุผู้เถระ  พึง

ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า  นั่งกระหย่ง  ยกมือประณมบอกความบริสุทธิ์ของ

ตนว่า   " ปริสุทฺโธ  อหํ  อาวุโสปริสุทฺโธติ  มํ  ธาเรถ "    หน

แปลว่า   " ฉันบริสุทธิ์แล้วเธอ  ขอเธอทั้งหลายจำฉันว่าผู้บริสุทธิ์

แล้ว. "   ภิกษุนอกนี้  ก็พึงทำอย่างนั้นตามลำดับพรรษา  พึงบอกว่า

" ปริสุทฺโธ อหํ  ภนฺเตปริสุทฺโธติ  มํ  ธาเรถ "   แปลว่า   " ผม

บริสุทธิ์แล้วขอรับ  ขอท่านทั้งหลายจงจำผมว่าผู้บริสุทธิ์แล้ว. "   ถ้ามี ๒

รูปไม่ต้องตั้งญัตติ  เป็นแต่บอกปาริสุทธิแก่กัน  ผู้แก่บอกว่า

" ปริสุทฺโธ  อหํ  อาวุโสปริสุทฺโธติ  มํ  ธาเรหิ "   ผู้อ่อนบอกว่า

" ปริสุทฺโธ  อหํ  ภนฺเตปริสุทฺโธติ  มํ  ธาเรถ "   รูปละ   จบ.

ถ้าอยู่รูปเดียว  ท่านให้รอภิกษุอื่นจนสิ้นเวลา  เห็นว่าไม่มาแล้ว  ให้

อธิษฐานว่า   " อชฺช  เม  อุโปสโถ "   แปลว่า   " วันนี้อุโบสถของเรา. "

           ตามความนิยม  ภิกษุจะเลือกทำอุโบสถที่ง่ายดายกว่าที่ยาก

ไม่ควร  เพราะฉะนั้น  จึงมีห้ามไว้ว่า  เมื่อถึงวันอุโบสถ  อย่าหลีก

ไปข้างไหนเสีย.  อธิบายว่า  ถ้าในอาวาส  อาจสวดปาติโมกข์ได้

อย่าไปในที่จะได้ได้ฟังปาติโมกข์.  ในอาวาสไม่มีภิกษุสวดปาติโมกข์

ได้  ให้ภิกษุผู้เถระ    ส่งภิกษุหนุ่มไปเรียนมาจากอื่นโดยพิสดารหรือ

โดยย่อ  สุดแล้วแต่จะจำได้.  ถ้าจัดการเรียนปาติโมกข์มาจากอื่นไม่




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 107

สำเร็จ  ห้ามไม่ให้อยู่จำพรรษาในอาวาสเช่นนั้น  อธิบายข้อนี้ว่า

ถ้าอาจไปทำสังฆอุโบสถกับสงฆ์ในอาวาสอื่นได้  อยู่จำพรรษาในอาวาส

เช่นนั้นก็ควร.

           พระสาวกผู้ใหญ่ไปปางก่อน  ย่อมเคารพในสังฆอุโบสถ  เช่น

พระมหากัสสป  เดินทางมาเพื่อทำอุโบสถแต่ไกล  ต้องข้างลำน้ำ

ผ้าผ่อนเปียก.  พระมหากปิน  ดำริว่า  เสร็จกิจพระศาสนาแล้วคิดจะ

เลิก  ไม่ไปเข้าประชุมทำอุโบสถ พระศาสดาตรัสเตือนเพื่อรักษา

ธรรมเนียมและให้กายสามัคคี  ท่านก็ยอมรับปฏิบัติตาม.

                                       ปวารณา

           ในวันเพ็ญแห่งเดือนกัตติกาตัน  ที่เต็ม ๓  เดือนแต่วันจำพรรษา

มีพระพุทธานุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาส  ทำปวารณา

แทนอุโบสถ.

           กิจเบื้องต้นแห่งปวารณา  ก็เหมือนแห่งอุโบสถ  เป็นแต่ใน

ส่วนบุพพกิจ  ไม่นำปาริสุทธิ  นำปวารณาของภิกษุไข้มา.  คำมอบ

ให้ปวารณาว่า   " ปวารณํ  ทมฺมิปวารณํ  เม  หรมมตฺถาย

ปวาเรหิ. "   แปลว่า   " ฉันมอบปวารณาของฉัน  ขอเธอจงนำปวารณา

ของฉันไป  ขอเธอจงปวารณาแทนฉัน. "   นี้เป็นคำของผู้เจ็บที่แก่

กว่า  ถ้าอ่อนกว่า  ใช้คำว่า   " หรถ "   แทน   " หร "   ใช้คำว่า

" ปวาเรถ "   แทน   " ปวาเรหิ "   พึงถือเอาความแปลโดยสมควร

แก่โวหาร.  ภิกษุผู้รับมอบปวารณาไป  ทวงทีจะปวารณาแทนเธอ

ในลำดับของเธอ  คำปวารณาแทนนั้น จะควรกล่าวอย่างไร  จัก





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น