วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วินัยมุขเล่ม ๒ นักธรรมโท หน้า๑๕๔ ถึง หน้า ๑๖๗ วินัยกรรม


นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 154

                                      กัณฑ์ที่  ๒๑

                                       วินัยกรรม

                                    วิธีแสดงอาบัติ

           อาบัติอันภิกษุแกล้งต้องแล้ว  ที่แก้ไขไม่ได้คือปาราชิก  ผู้ต้อง

พึงปฏิญญาแล้ว  ละเพศภิกษุเสีย  หรือสงฆ์พึงให้นาสนะเสียจากเพศ

ภิกษุ  ที่ยังแก้ไขได้  ต้องทำคืนด้วยประการในประการหนึ่ง.  วิธีทำ

คืนครุกาบัติ  คือสังฆาทิเสส  ยังจักไม่กล่าวถึงในเล่มนี้  เพราะไม่

สำเร็จด้วยเจ้าตัวเอง  จะต้องได้รับแนะนำของท่านผู้รู้  จักกล่าว

ในที่นี้เฉพาะวิธีแสดงลหุกาบัติ.

           ภิกษุผู้แกล้งต้องอาบัติ  และปกปิดไว้  และถึงอคติ  เพราะ

เหตุตนบ้าง  เพราะเหตุผู้อื่นบ้าง  ได้ชื่อว่าอลัชชี  แปลว่า  ผู้ไม่มี

อาย  เหตุดังนั้น  อาบัติที่ไม่จำจะต้อง  ก็อย่าต้อง  ที่ต้องแล้วก็ควร

ทำคืนเสีย.

           การแสดงลหุกาบัตินั้น  ก็คือเปิดเผยโทษของตนแก่ภิกษุอื่น

มีวิธีจะพึงทำกล่าวไว้ในบาลีอุโบสถขันธกะคัมภีร์มหาวรรคว่า  ภิกษุ

ผู้ต้องอาบัตินั้น  พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งแล้ว  ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า

นั่งกระหย่ง  ประณมมือกล่าวว่า   " อหํ  อาวุโส  อิตฺถนฺนามํ อาปตฺตึ

อาปนฺโน  ตํ  ปฏิเทเสมิ "   แปลว่า   " แน่ะเธอ  ฉันต้องอาบัติชื่อนี้

ฉันแสดงอาบัตินั้น. "   ภิกษุผู้รับพึงกล่าวว่า   " ปสฺสสิ "   แปลว่า   " เธอ

เห็นหรือ ? "   ภิกษุผู้แสดงพึงกล่าวว่า   " อาม  ปสฺสามิ "   แปลว่า




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 155

" เออ  ฉันเห็น. "   ภิกษุผู้รับพึงกล่าวว่า   " อายตึ  สํวเรยฺยาสิ "   แปล

ว่า   " เธอพึงสำรวมต่อไป "   เพียงเท่านี้  อาบัตินั้นได้ชื่อว่าแสดงแล้ว.

ถ้าสงสัยอยู่ในอาบัติบางอย่าง  ท่านให้บอกอย่างนี้ :-   " อหํ  อาวุโส

อิตฺถนฺนามาย  อาปตฺติยา  เวมติโก  ยทา  นิพฺเพมติโก  ภวิสฺสามิตทา

ตํ  อาปตฺตึ  ปฏิกฺกริสฺสามิ "   แปลว่า   " แน่ะเธอ  ฉันมีความสงสัย

ในอาบัติชื่อนี้  จักสิ้นสงสัยเมื่อใด  จักทำคืนอาบัตินั้นเมื่อนั้น. "   ไม่มี

คำสำหรับภิกษุผู้รับบอกจะกล่าวว่าอย่างไร.  ตามนัยนี้  อาบัตินั้น

แสดงในสำนักภิกษุรูปเดียว.  ภิกษุผู้รับนั้น  พึงเลือกเอาภิกษุผู้ร่วม

สังวาส  ท่านห้ามไม่ให้แสดงในสำนักภิกษุต่างสังวาส  และผู้ถูกห้าม

สังวาส  ส่วนในนิสสัคคิยกัณฑ์คัมภีร์มหาวิภังค์  กล่าวให้เสียสละ

สิ่งของเป็นนิสสัคคิยะแก่สงฆ์ก็ได้  แก่คณะก็ได้  แก่บุคคลก็ได้.  กล่าว

วิธีเสียสละแก่สงฆ์ว่า  ให้ภิกษุผู้ต้องนิสสัคคิยะนั้น  เข้าไปหาสงฆ์  ทำ

ผ้าห่มเฉวียงบ่า  นั่งกระหย่ง ประณมมือ  กล่าวคำเสียสละตามแบบ

ซึ่งท่านวางไว้  แล้วให้แสดงอาบัติ  ให้ภิกษุรูปหนึ่งผู้ฉลาดสามารถ

รับอาบัติ.  โดยนัยนี้  การเสียสละ  ทำแก่สงฆ์  ส่วนการแสดงอาบัติ

ทำในสำนักบุคคล  ที่ต้องทำนอกหัตถบาสสงฆ์.  แต่ได้พบแบบที่ท่าน

วางไว้ในอรรถกถา  เป็นคำสำหรับสมมติตนรับอาบัติว่า   " สุณาตุ

เม  ภนฺเต  สงฺโฆอยํ  อิตฺถนฺนาโม  ภิกฺขุ  อาปตฺตึ  สรติ  วิวรติ

อุตฺตานีกโรติ  เทเสติยทิ  สงฺฆสฺส  ปตฺตกลฺลํอหํ  อิตฺถนฺนามสฺส

ภิกฺขุโน  อาปตฺตึ  ปฏิคฺคณฺเหยฺยํ "   แปลว่า   " ท่านเจ้าข้า  ขอสงฆ์

จงฟังข้าพเจ้า  ภิกษุผู้มีชื่อนี้  ผู้นี้  ระลึก  เปิดเผย  ทำให้ตื้น  แสดง




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 156

อาบัติ  ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว  ข้าพเจ้าขอรับอาบัติ

ของภิกษุผู้มีชื่อนี้. "   เช่นนี้  อาบัตินั้นแสดงและรับในสำนักสงฆ์  ถือ

เอาความว่า  ทำในหัตถบาสสงฆ์  เมื่อมีวิธีทำง่ายกว่า  ใครเลยจะ

ปรารถนาทำโดยวิธีที่ยาก  แม้การเสียสละของเป็นนิสสัคคิยะก็เช่นกัน

คงหันลงเสียสละแก่บุคคล  การแสดงอาบัติในสงฆ์  จะพึงมีเฉพาะ

เมื่อเสียสละของเป็นนิสสัคคิยะ  ที่กำหนดให้ทำแก่สงฆ์กระมัง.

           คำแสดงอาบัตินั้น  ที่ใช้อยู่บัดนี้  ตามโคลงในอุโบสถขันธกะ

แต่เพิ่มบทอาลปนะเข้าบ้าง  เติมคำปฏิญญาเข้าบ้าง  ต่างว่า  ภิกษุต้อง

อาบัติปาจิตติยะตัวหนึ่ง  เธอแสดงในสำนักภิกษุผู้อ่อนกว่า พึงว่า

อย่างนี้ :-   " อหํ  อาวุโส  ปาจิตฺติยํ  อาปตฺตึ  อาปนฺโน  ตํ  ปฏิเทเสมิ. "

ผู้รับพึงว่า   " ปสฺสถ  ภนฺเต "   ผู้แสดงพึงว่า   " อาม  อาวุโส  ปสฺสามิ "

ผู้รับพึงว่า   " อายตึ  ภนฺเต  สํวเรยฺยาถ "   แปลโดยนัยดังกล่าวแล้ว

ผู้แสดงพึงว่า   " สาธุ  สุฏฺฐุ  อาวุโส  สํวริสฺสามิ "   แปลว่า   " ดีละ

เธอ  ฉันจะทำสำรวมด้วยดี. "

           อาบัติที่ต้องอย่างเดียวกัน   เช่น  อติเรกจีวรหลายผืนล่วง ๑๐

วัน  เป็นนิสสัคคิยปาจิตติยะเฉพาะผืน  เรียกว่า  อาบัติมีวัตถุเดียว

กัน  มีชื่อเดียว  ประมวลแสดงในคราวเดียวกันได้ ใช้บทว่า

" สมฺพหุลา  แปลว่า   " มากหลาย "   ว่าดังนี้ :-   " อหํ  อาวุโส

สมฺพหุลา  นิสฺสคฺคิยาโย  ปาจิตฺติยาโย  อาปตฺติโย  อาปนฺโน  ตา

ปฏิเทเสมิ. "   อาบัติเฉพาะ   ตัวใช้   " เทฺว "   แปลว่า   " ๒ "   แทน

" สมฺพหุลา. "   ตั้งแต่   ตัวขึ้นไปจึงใช้ว่า   " สมฺพหุลา. "




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 157

           อาบัติชื่อเดียวกัน  แต่ต่างเรื่อง  เช่นต้องทุกกฏ  เพราะไม่

สำรวมจักษุก็มี  เพราะไม่เป็นไข้  กั้นร่มเข้าบ้านก็มี  เพราะนั่งเบาะ

ภายในยัดนุ่นก็มี  เช่นนี้  เรียกว่ามีวัตถุต่างต้น  ประมวลแสดงด้วย

กันได้  ใช้บทว่า   " นานาวตฺถุกาโย "   แปลว่า   " มีวัตถุต่างกัน "

ว่าดังนี้ :-   " อหํ  อาวุโส  สมฺพหุลา  นานาวตฺถุกาโย  ทุกฺกฏาโย

อาปตฺติโย  อาปนฺโน  ตา  ปฏิเทเสมิ. "   ถ้าล่วง   เรื่อง  จำนวน

อาบัติก็ ๒  ใช้   " เทฺว  นานาวตฺถุกาโย. "   จำนวนอาบัติมากกว่า

ใช้   " สมฺพหุลา  นานาวตฺถุกาโย "   เหมือนกัน.  อาบัตทุพภาสิต

แม้วัตถุที่ยกขึ้นกล่าวล้อต่างกัน  ท่านว่ากำเนิดเป็นอย่างเดียวกัน  ไม่

มีต่างวัตถุ  ให้แสดงอย่างแบบอาบัติมาก  วัตถุเดียวกัน.

           การแสดงอาบัติ  ไม่มีชัดว่า  ผู้แสดงจะต้องบอกวัตถุแก่ผู้รับ

แต่เพราะมีห้ามไม่ให้แสดงและรับสภาคาบัติ  ได้ความว่า  ต้องบอก

วัตถุด้วย  เว้นไว้แต่แสดงในสำนักภิกษุผู้แสดงอาบัติแล้วใหม่  แม้

อย่างนั้น อาบัติที่เป็นขอเป็นงอ  ก็ควรจะบอกวัตถุด้วย  จะได้เป็น

ปฏิบัติอันสมควร.

           อาบัติวัตถุเดียวกัน  ภิกษุต้องเหมือนกัน  เรียกว่า  สภาคาบัติ

แปลว่า  อาบัติมีส่วนเสมอกัน  ห้ามไม่ให้แสดง  ห้ามไม่ให้รับ  ให้

แสดงในสำนักภิกษุอื่น  ถ้าสงฆ์ต้องสภาคาบัติทั้งนั้น  ท่านให้ส่งภิกษุ

รูปหนึ่งไปแสดงในที่อื่น  ภิกษุอันเหลือจึงแสดงในสำนักเธอ  หรือ

ขอแสดงกันต่อไป  ได้เช่นนี้เป็นการดี  ถ้าไม่ได้ ถึงวันอุโบสถ  ท่านให้

สวดประกาศความข้อนั้นในสงฆ์  ตามแบบอันแสดงไว้แล้วในกัณฑ์




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 158

ที่  ๑๗  เรื่องอุโบสถ  ครั้นสวดประกาศอย่างนั้นแล้ว  ทำอุโบสถได้.

หากจะมีภิกษุแสดงและรับสภาคาบัติด้วย  ท่านยอมว่าอาบัตินั้น

เป็นอันแสดงแล้ว  แต่ปรับทุกกฏเพราะแสดงแก่ผู้แสดง  และปรับ

ทุกกฏเพราะรับแก่ผู้รับ.

           อาบัตินั้น  ท่านให้แสดงโดยควรแก่ชื่อ  แก่วัตถุ  แก่จำนวน

แสดงผิดชื่อ  ใช้ไม่ได้  ผิดวัตถุและผิดจำนวน  ข้างมากแสดงเป็นน้อย

ใช้ไม่ได้  ข้างน้อยพลั้งเป็นมาก  เช่นอาบัติตัวเดียวหรือ ๒  ตัว  แสดงว่า

" สมฺพหุลา "   วัตถุเดียว  แสดงว่า   " นานาวตฺถุกาโย "  ใช้ได้.  อาบัติ

ต่างชื่อ  ไม่ให้ประมวลแสดงในคราวเดียวกัน.  อนึ่ง  ท่านให้แสดง

ทีละรูป ห้ามไม่ให้แสดงพร้อมกันหลายรูปในสำนักภิกษุผู้เดียว  ข้อนี้

เป็นไม่ได้อยู่เอง  เพราะอาบัติที่แสดงย่อมต่างกัน  และท่านห้ามไม่ให้

แสดงในสำนักภิกษุ  ๔-๕  รูปผู้อยู่นอกสีมา  นี้แปลว่า  จะทำเป็นการ

สงฆ์ไม่ได้.

           ในลำดับนี้  จักแสดงแบบใช้คำบาลีไว้สำหรับภิกษุผู้ไม่รู้บาลี.

           อาบัติตัวเดียว  ออกชื่อว่า   " ถุลฺลจฺจยํ  อาปตฺตึนิสฺสคฺคิยํ

ปาจิตฺติยํ  อาปตฺตึปาจิตฺติยํ  อาปตฺตึทุกฺกฏํ  อาปตฺตึหรือ

ทุพฺภาสิตํ  อาปตฺตึ "   ตามชื่อของอาบัติ.

           อาบัติหลายตัว  ออกชื่อว่า   " ถุลฺลจฺจยาโย  อาปตฺติโย,

นิสฺสคฺคิยาโย  ปาจิตฺติยาโย  อาปตฺติโยปาจิตฺติยาโย  อาปตฺติโย,

ทุกฺกฏาโย  อาปตฺติโยทุพฺภาสิตาโย  อาปตฺติโย "   ต่อ   " เทฺว "

หรือ   " สมฺพหุลา "   เฉพาะอาบัติมีวัตถุเดียว.  ต่อ   " นานาวตฺถุกาโย




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 159

เฉพาะอาบัติมีวัตถุต่างกัน.

           คำสำหรับผู้แก่กว่าว่า   " อาวุโสปสฺสสิสํวเรยฺยาสิ. "

           คำสำหรับผู้อ่อนกว่าว่า   " ภนฺเตปสฺสถสฺวเรยฺยาถ. "

           ข้าพเจ้าขอแสดงมติไว้ในที่นี้ว่า  แบบแสดงอาบัติที่ใช้กันอยู่นี้

เข้าใจว่า  ประกอบตามบาลีในอุโบสถขันธกะนั้น  แต่ชื่ออาบัติ

เหล่านั้นเป็นนามศัพท์  ใช้คงตามลิงค์  เช่นในปาติโมกข์ว่า  " นิสฺสคฺคิยํ

ปาจิตฺติยํ "   และ   " ปาจิตฺติยํ "   ในวิภังค์และขันธกะว่า   " อาปตฺติ

ถุลฺลจฺจยสฺสอาปตฺติ  ทุกฺกฏสฺส "  แปลว่า  ต้องถุลลัจจัย  ต้อง

ทุกกฏ  น่าจะประกอบคำแสดงว่า   " อหํ  อาวุโส  ปาจิตฺติยํ  อาปนฺโน

ตํ  ปฏิเทเสมิ "  หรือ   " อหํ  อาวุโส  สมฺพหุลานิ  นานาวตฺถุกานิ

ปาจิตฺติยานิ  อาปนฺโน  ตานิ  ปฏิเทเสนิ. "   ในบาลีอุโบสถขันธกะ

นั้นจะใช้คำเป็นกลาง  จึงวางแบบว่า   " อิตฺถนฺนามํ  อาปตฺตึ "   เมื่อ

ระบุชื่อ  ควรใช้ตามลิงค์ของชื่อ.

           อาบัติปาฏิเทสนียะ  มีคำแสดงในบาลีปาติโมกข์ไว้ชัดว่า

" คารยฺหํ  อาวุโส  ธมฺมํ  อาปชฺชึ  อสปฺปายํ  ปาฏิเทสนียํ  ตํ

ปฏิเทเสมิ "   แปลว่า   " แน่ะเธอ  ฉันต้องแล้วซึ่งธรรมน่าติเตียน ไม่

สบาย  ควรจะแสดงคืนเสีย  ฉันแสดงคืนซึ่งธรรมนั้น. "   ปาฏิเทสนียะ

นี้  ไม่ใช่ปากทางสำหรับจะต้อง  คำแสดงจึงไม่เป็นแบบที่ใช้กัน.

           ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้ว  ไม่ยอมรับว่าเป็นอาบัติ  เรียกโดยโวหาร

วินัยว่า  ไม่เห็นอาบัติ  หรือยอมรับว่าเป็นอาบัติ  แต่ไม่แสดง  เรียก

ว่า  ไม่ทำคืนอาบัติ  ใน   อย่างนี้  ทรงอนุญาตให้สงฆ์ลงโทษ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 160

ทำอุกเขปนียกรรม  ยกภิกษุนั้นเสียจากสังวาสและร่วมกินร่วมนอน

ภิกษุนั้นได้ชื่อว่า   " อุกฺขิตฺตโก "   แปลว่า  ผู้อันสงฆ์ยกเสียแล้ว

ภิกษุใดสมาคมด้วย   ต้องปาจิตติยะด้วยสิกขาบทที่   แห่งสัปปาณ-

วรรค  แห่งปาจิตติยกัณฑ์  ต่อเมื่อภิกษุนั้นยอมเห็นอาบัติ  หรือยอม

ทำคืนอาบัติแล้ว  สงฆ์จึงสวดประกาศระงับกรรมนั้น  ยอมให้เข้าหมู่

เป็นภิกษุปกติตามเดิม.

                                        อธิษฐาน

           บริขารบางอย่างที่ทรงอนุญาตให้มีสำหรับตัวภิกษุ และห้าม

ไม่ให้มีของเช่นนั้นเกินจำนวน  หรือเกินวันที่กำหนดไว้  บริขาร

เช่นนี้  ภิกษุจะเอาไว้ใช้สำหรับตัว  ต้องอธิษฐาน  แปลว่า  ตั้งเอาไว้.

บริขารที่ระบุชื่อให้อธิษฐานนั้น  คือ  สังฆาฏิ  อุตตราสงค์  อันตร-

วาสก  รวมเข้าเป็นไตรจีวร  อธิษฐานตามชื่ออย่างละผืน  บาตร

อธิษฐานได้ใบเดียว  ผ้าปูนั่ง  เรียกนิสีทนะ  อธิษฐานได้ผืนเดียว

ผ้าปู้นอนเรียกว่าปัจจัตถรณะ ผ้าเช็ดหน้า  ผ้าเช็ดปาก  เรียกมุขปุญฉนะ

ผ้าใช้เป็นบริขาร  เช่นผ้ากรองน้ำ  ถุงบาตร  ย่าม  ผ้าห่อของ  เรียก

ปริกขารโจละ  ไม่มีจำกัดจำนวน  ตามแต่จะพอ  เหล่านี้เป็นของ

ทรงอนุญาตให้อธิษฐานเอาไว้ใช้ได้เนืองนิตย์  ผ้าปิดฝีหรือปิดแผล

ทรงอนุญาตให้อธิษฐานไว้ใช้ในคราวอาพาธเป็นอย่างนั้นผืนหนึ่ง  ผ้า

อาบน้ำฝน  ทรงอนุญาตให้อธิษฐานไว้ใช้ในฤดูฝน ๔  เดือนผืนหนึ่ง

พ้นจากเขตแล้ว  ต้องเลิกเสียทั้ง ๒  อย่าง.  บริขารที่มีจำกัด

ประมาณ  [ ไม่ชัดแต่อันตรวาสก ]  อธิษฐานได้ผืนเดียว  ที่ไม่จำกัด




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 161

ประมาณ  อธิษฐานได้หลายผืน  นี้เป็นความสังเกตเห็นของข้าพเจ้า.

           คำอธิษฐานบริขารสิ่งเดียว  แสดงสังฆาฏิเป็นตัวอย่างว่า

" อิมํ  สงฺฆาฏึ  อธิฏฺฐามิ "   แปลว่า   " เราตั้งเอาไว้ซึ่งผ้าสังฆาฏิผืนนี้ "

หรือว่า   " เราตั้งเอาไว้ซึ่งผ้าผืนนี้เป็นสังฆาฏิ. "   อธิษฐานบริขารชื่อ

อื่นยกบทว่า   " สงฺฆาฏึ "   เสีย  เปลี่ยนตามชื่อดังนี้ :-

              อุตตฺราสงฺคํ          สำหรับ           อุตตราสงค์

              อนฺตรวาสกํ               "                อันตรวาสก

              นิสีทนํ                     "                ผ้านิสีทนะ

              กณฺฑุปฏิจฺฉาทึ         "                 ผ้าปิดฝี

              วสฺสิกสาฏิกํ              "                 ผ้าอาบน้ำฝน

              ปจฺจตฺถรณํ               "                 ผ้าปูนอน

              มุขปุญฺฉนโจลํ           "                 ผ้าเช็ดหน้าเช็ดปาก

              ปริกฺขารโจลํ             "                 ผ้าเป็นบริขาร

           คำอธิษฐานผ้าหลายผืนควบกัน  แสดงผ้าปูนอนเป็นตัวอย่างว่า

" อิมานิ  ปจฺจตฺถรณานิ  อธิฏฺฐามิ "   แปลว่า   " เราตั้งเอาไว้ซึ่งผ้า

ปูนอนเหล่านี้ "   หรือว่า   " เราตั้งเอาไว้ซึ่งผ้าเหล่านี้เป็นผ้าปูนอน. "

อธิษฐานผ้าชื่ออื่น  ยกบทว่า  " ปจฺจตฺถรณานิ "   เสีย  เปลี่ยนเป็น

" มุขปุญฺฉนโจลานิ "   สำหรับผ้าเช็ดหน้าเช็ดปาก,   " ปริกฺขารโจลานิ "

สำหรับผ้าเป็นบริขาร.

           อธิษฐานมี   คือ  อธิษฐานด้วยกาย ๑  อธิษฐานด้วยวาจา ๑.

อธิษฐานด้วยกายนั้น  เอามือจับหรือลูบบริขารที่จะอธิษฐานนั้นเข้า




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 162

ทำความผูกใจตามคำอธิษฐานข้างต้น.  อธิษฐานด้วยวาจานั้น  คือ

ลั่นคำอธิษฐานนั้น  ไม่ถูกของด้วยกายก็ได้  แจกออกไปเป็น ๒

อธิษฐานในหัตถบาส ๑   อธิษฐานนอกหัตถบาส ๑.  ของอยู่ภายใน

๒ ศอกคืบ  หรือศอก ๑  ในระหว่าง  พึงใช้อธิษฐานในหัตถบาส  ลั่น

วาจาตามแบบนั้น.  ของอยู่ห่าง  พึงใช้อธิษฐานนอกหัตถบาส  ลั่น

วาจาตามแบบนั้น.  แต่เปลี่ยนบทว่า   " อิมํ "   เป็น   " เอตํ "   เปลี่ยน

บท   " อิมานิ "   เป็น   " เอตานิ "   แปลว่า  นั่น.

           เมื่อจะอธิษฐาน  ถ้าบริขารที่กำหนดให้มีแต่สิ่งเดียว  ของ

เดิมมีอยู่  เป็นแต่ต้องการจะเปลี่ยนใหม่  ต้องเลิกของเดิมเสียก่อน.

ยกเลิกบริขารเดิมเสีย  เรียกว่า  ปัจจุทธรณ์  หรือถืออธิษฐาน

มีแบบวางไว้  แสดงสังฆาฏิเป็นตัวอย่างว่า   " อิมํ  สงฺฆาฏึ  ปจฺจุทฺธรามิ "

แปลว่า   " เรายกเลิกผ้าสังฆาฏิผืนนี้. "   ยกเลิกบริขารอื่น  พึงเปลี่ยนตาม

ชื่อ  ถ้าเป็นบริขารที่ใช้นุ่งห่ม  พึงย้อมให้ได้สี  และทำพินทุตาม

แบบอันกล่าวแล้วในสิกขาบทที่   แห่งสุราปานวรรคในปาจิตติยกัณฑ์

แล้วจึงอธิษฐาน.  คำพินทุว่า   " อิมํ  พินฺทุกปฺปํ  กโรมิ "   แปลว่า

" เราทำหมายด้วยจุดนี้. "

           ข้าพเจ้าได้รับบอกเล่ามาว่า  ภิกษุบางพวก  ใช้อธิษฐาน

อติเรกจีวรเป็นบริขารโจล  ไม่ใช้วิกัป  และได้รับวินิจฉัยของท่าน

พระจันทรโคจรคุณ  [ จนฺทรํสี  ยิ้ม ]  เจ้าวัดมกุฏกษัตริยาราม  พระ

อาจารย์ของข้าพเจ้าว่า  ผ้าที่จะใช้อธิษฐานเป็นบริขารโจลได้   ต้อง

ไม่ใช่ของใหญ่ถึงกับนุ่งห่มได้  ท่านวินิจฉัยดังนี้  ตรมตามแบบผ้า




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 163

เป็นบริขารแท้.  ข้อที่ภิกษุอธิษฐานอติเรกจีวรเป็นบริขารโจลนั้น

ข้าพเจ้าเห็นไม่ถูกตามแบบ  ผ้านุ่งห่มที่เรียกว่าบริขารได้  มีแต่ไตร-

จีวรกับผ้าปิดฝีผ้าอาบน้ำฝน  ส่วนผ้าบริขารโจลนั้น   เป็นของเช่น

ผ้ากรองน้ำ  ถุงบาตรและย่าม ถ้าใช้ได้  ความต่างแห่งผ้าไตรจีวร

กับผ้าบริขารโจล  ก็หามีไม่  สู้ใช้วิธีวิกัปไม่ได้.  มติของข้าพเจ้าว่า

ผ้าอันจะอธิษฐานเป็นผ้าปูนอนก็ดี  เป็นผ้าบริขารโจลก็ดี  ต้องเป็น

ของที่ไม่ใช้นุ่งห่ม  จึงอธิษฐานขึ้น  ตัวอย่าง  ต่างว่าภิกษุรูปหนึ่ง

ถอนผ้าอุตตราสงค์อันเก่าเสีย  อธิษฐานใหม่แล้ว  ไม่คิดจะใช้นุ่งห่ม

อีก  อธิษฐานผ้าเก่านั้นเป็นเป็นผ้าปูนอน  เช่นนี้เห็นอธิษฐานขึ้น  ถ้ายัง

จะใช้นุ่งห่ม  ควรวิกัปไว้ใช้ตามแบบ.  ผ้าบริขารโจลก็น่าจะเป็น

เช่นนั้น  แต่บริขารชนิดนี้  ไม่ใช่ของใหญ่  คำวินิจฉัยของพระ

อาจารย์ของข้าพเจ้า  จึงชอบแก่เหตุ.  ผ้าบริขารอย่างอื่นจากผ้านุ่ง

ห่ม  มีสีและดอกอันห้ามในผ้านุ่งห่ม  ก็ใช้ได้.  ข้อที่ให้อธิษฐานนั้น

ข้าพเจ้าเข้าใจว่า  เพ่งเอาผ้านุ่งห่มได้  หรือรุมาจากผ้านุ่งห่มอัน

เก่าแล้ว.

           บริขารอันภิกษุอธิษฐานโดยชื่ออันกล่าวแล้ว  ท่านกล่าวว่า

จะละอธิษฐานไปเพราะเหตุ ๙ ประการ  คือ ให้แก่ผู้อื่นเสีย ๑  ถูก

โจรแย่งชิงเอาไปเสีย ๑  มิตรถือเอาโดยวิสาสะ ๑  เจ้าของหันไป

เพื่อความเป็นคนเลว ๑  เจ้าของลาสิกขา ๑  เจ้าของทำกาลกิริยา ๑

เพศกลับ ๑  ถอนเสียจากอธิษฐาน ๑  เป็นช่องทะลุ ๑.

           ข้อที่ว่าหันไปเพื่อความเป็นคนเลวนั้น  ในนิทานต้นบัญญัติแห่ง




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 164

ปฐมปาราชิก  ดูเหมือนหมายความว่าสึก แต่ในที่นี้มีลาสิกขาแล้ว

จึงหมายความว่าขาดจากความเป็นภิกษุด้วยประการอื่น  คือต้องปาราชิก

หรือไปเข้ารีตเดียรถีย์ทั้งเป็นภิกษุ.  ข้อว่าเพศกลับนั้น  ท่านหมาย

เอาว่าบุรุษกลายเป็นสตรี  ดังมีเรื่องในวินีตวัตถุแห่งปฐมปาราชิก

ที่ในบัดนี้ไม่น่าจะมีใครเชื่อ  ถ้าจะวินิจฉัยให้ควรแก่เหตุ  ต้อง

แปลว่าแปลงเพศ  ได้แก่ภิกษุณีสิ้นความอาลัยในเพศภิกษุณี  ถือ

เพศคฤหัสถ์เสีย.  ถ้าภิกษุเป็นเช่นนั้นบ้าง  จะตัดสินว่าอย่างไร  ท่าน

ตัดสินว่ายังคงเป็นภิกษุอยู่นั่นเอง.  ฝ่ายข้าพเจ้าเห็นว่า  ถ้ายังมีอาลัย

ในเพศภิกษุ  ยังนับว่าเป็นอุปสัมบันได้  ถ้าสิ้นอาลัยแล้ว  ถือเพศ

คฤหัสถ์ไปอยู่บ้านเสียเฉย ๆ  ต่างว่าไม่ต้องปาราชิกด้วย ภายหลัง

หวนมาขอเข้าหมู่   จะยอมให้เข้าทีเดียวหรือ  ถ้าไม่ยอม  ก็เป็นได้

อย่างภิกษุณีเหมือนกัน.

           บัดนี้จะวกกล่าวการขาดอธิษฐานอีก.  ในเหตุ   ประการนั้น

เหตุที่ควรเป็นประมาณมีอยู่ ๕  คือให้แก่ผู้อื่น ๑  ถูกโจรชิงเอาไป

หรือลักเอาไป ๑  มิตรถือเอาด้วยวิสาสะ ๑  ถอนเสียจากอธิษฐาน ๑

เป็นช่องทะลุ ๑.

           เมื่อบริขารมีกำหนดให้อธิษฐานได้เฉพาะสิ่งเดียว เป็นไป

เพราะเหตุ   อย่างนั้น  อย่างใดอย่างหนึ่ง  อธิษฐานของใหม่ได้

ไม่เป็นซ้ำสอง.  ส่วนเป็นช่องทะลุนั้น  ท่านกล่าวเฉพาะในไตรจีวร

และบาตร.  ช่องทะลุในไตรจีวรนั้น  ท่านว่าเท่าหลังเล็บก้อย  ทะลุ

โหว่ทีเดียว  ไม่มีเส้นด้ายในระหว่าง  นับแต่ริมผ้าเข้าไป  ด้านยาว




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 165

คืบ ๑  ด้านกว้างแห่งผ้านุ่ง   นิ้ว  แห่งผ้าห่ม ๘ นิ้ว  ช่องทะลุในบาตร

นั้น ท่านว่าพอเม็ดข้าวฟ่างลอดได้.  ท่านกำหนดช่องและเอกเทศใน

ไตรจีวรนั้น  พอจะเข้าใจได้ว่า  เมื่อครองแล้ว  จะเห็นโหว่อยู่กระมัง.

ก็ถ้าภิกษุสำคัญว่ายังใช้ได้  ไม่ขาดอธิษฐาน และใช้นุ่งห่มอยู่  เมื่อ

ล่วง ๑๐ วัน  แต่ทะลุแล้วไป  จะปรับให้เป็นนิสสัคคิยะทีเดียวหรือ ?

ข้าพเจ้าเห็นว่า  ใจความแห่งการขาดอธิษฐานนั้น  เพ่งเอาอธิษฐาน

ของใหม่ได้  ไม่ได้เพ่งว่า  ของอยู่กับตัวให้กลายเป็นนิสสัคคิยะ  ถ้า

ผ้าทะลุแต่ยังพอนุ่งห่มได้  ยังคงเป็นผ้าอธิษฐานอยู่นั่นเอง  จะเปลี่ยน

ใหม่  ต้องถอนของเก่าก่อน  ผ้าที่ถูกไฟไหม้โหว่เป็นรอยโต  เกินกว่า

่จะเรียกว่าทะลุเป็นช่อง  นุ่งห่มเข้า  ปิดอวัยวะไม่สนิทสนม  จะเปลี่ยน

ใหม่  ไม่ต้องถอนของเก่าก็จะได้กระมัง  ตั้งแต่นุ่งห่มไม่ได้แล้ว  ก็

นับว่าขาดอธิษฐานด้วยบทนี้.  ส่วนบาตรนั้น  เป็นช่องพอเม็ดข้าว

ฟ่างลอดได้  ขอบาตรใหม่  ยังไม่ได้กระมัง  เห็นว่าทะลุจนถึงไม่ขัง

ข้าวไว้ได้  จึงจะเรียกว่าขาดอธิษฐาน  คือ  อธิษฐานของใหม่ได้ด้วย

ไม่ต้องถอนของเก่า.  เหตุอีก   อย่างนั้น  เจ้าของไม่ได้คงเป็นภิกษุ

อยู่แล้ว  ไม่ต้องกล่าวถึงก็ได้.

                                           วิกัป

           จีวรเช่นไร  เรียกว่าอติเรกจีวร และอติเรกจีวรนั้น  มีประมาณ

เพียงไร  ท่านกำหนดให้วิกัป  ได้กล่าวแล้วในสิกขาบทที่ต้น  แห่ง

จีวรวรรคในนิสสัคคิยกัณฑ์บ้าง  ในกัณฑ์ที่ ๑๒  บริขารบริโภคตอน

จีวรบ้าง วิกัปนั้นได้แก่อะไร  และทำกันอย่างไร  ได้กล่าวแล้ว




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 166

ในวิกัปปสิกขาบทที่ ๙  แห่งสุราปรนวรรคในปาจิตติยกัณฑ์.  บาตร

เช่นไรเรียกอติเรกบาตร  มีกี่ชนิด  มีประมาณอย่างไร  ได้กล่าว

แล้วในสิกขาบทที่ ๑  แห่งปัตตวรรคในนิสสัคคิยกัณฑ์บ้าง  ในกัณฑ์

ที่  ๑๒  บริขารบริโภคตอนบาตรบ้าง.  ในที่นี้  จะประมวลคำวิกัปจีวร

และบาตรมาไว้ในหมวดเดียวกัน.

           คำวิกัปต่อหน้า  ในหัตถบาส  จีวรผืนเดียวว่า   " อิมํ  จีวรํ

ตุยฺหํ  วิกปฺเปม "   แปลว่า   " ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่ท่าน. "   จีวร

หลายผืนว่า   " อิมานิ  จีวรานิ "   แทน   " อิมํ  จีวรํ. "   บาตรใบเดียวว่า

" อิมํ  ปตฺตํ  ตุยฺหํ  วิกปฺเปมิ "   บาตรหลายใบว่า   " อิเม  ปตฺเต "

แทน   " อิมํ ปตฺตํ. "   นอกหัตถบาสว่า   " เอตํ "  แทน   " อิมํ "   ว่า

" เอตานิ "  แทน   " อิมานิ "    ว่า   " เอเต "    แทน   " อิเม. "   ถ้าวิกัป

แก่ภิกษุผู้แก่กว่า  ใช้บทว่า   " อายสฺมโต "   แทน   " ตุยฺหํ "   ก็ควร.

           คำวิกัปลับหลัง  ในหัตถบาส  จีวรผืนเดียวว่า   " อิมํ  จีวรํ

อิตฺถนฺนามสฺส  วิกปฺเปมิ "   แปลว่า   " ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่

สหธรรมิกชื่อนี้. "   ถ้าวิกัปแก่ภิกษุ  ต่างว่าชื่ออุตตระ  พึงออกชื่อว่า

" อุตฺตรสฺส  ภิกฺขุโน "   หรือ   " อายสฺมโต  อุตฺตรสฺส "   แทน

" อิตฺถนฺนามสฺส "   โดยสมควรแก่ผู้รับอ่อนกว่าหรือแก่กว่า.  วิกัปจีวร

หลายผืน  วิกัปบาตรใบเดียว  หลายใบ  ในหัตถบาส  นอกหัตถบาส

พึงเทียบตามแบบวิกัปต่อหน้า.

           จีวรที่วิกัปไว้  จะบริโภคต้องขอให้ผู้รับถอนก่อน  ไม่ทำอย่าง

นั้นและบริโภค  ต้องอาบัติปาจิตติยะด้วยวิกัปปสิกขาบทนั้น  คำถอน




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 167

ในหัตถบาส  จีวรว่า   " อิมํ  จีวรํ  มยฺหํ  สนฺตกํ  ปริภุญฺช  วา

วิสชฺเชหิ  วา  ยถาปจฺจยํ  วา  กโรหิ "   ผู้ถอนอ่อนกว่าว่า   " อิมํ

จีวรํ  มยฺหํ  สนฺตกํ  ปริภุญฺชถ  วา  วิสชฺเชถ  วา  ยถาปจฺจยํ  วา

กโรถ "   ความเดียวกัน  เป็นแต่ใช้แสดงเคารพ  แปลว่า   " จีวร

ผืนนี้ของข้าพเจ้า  ท่านจงใช้สอยก็ตาม  จงสละก็ตาม  จงทำตาม

ปัจจัยก็ตาม. "  คำที่จะพึงใช้เปลี่ยนแปลงไป  ตามชื่อของก็ดี  ตาม

จำนวนของก็ดี  ตามฐานที่ของตั้งอยู่ก็ดี  พึงเทียบเคียงกับคำวิกัป

ในการวิกัปจีวรนี้  มติของพระอาจารย์ทั้งหลายต่างกันอย่างไร  กล่าว

ไว้แล้วในวิกัปปสิกขาบทนั้น.

           บาตรที่วิกัปไว้แล้ว  ไม่มีกำหนดให้ถอนก่อนจึงบริโภค  พึง

ใช้เป็นของวิกัปเถิด.  แต่เมื่อจะอธิษฐาน  พึงให้ถอนก่อน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น