วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วินัยมุขเล่ม ๒ นักธรรมโท หน้า ๑๐๗ ถึงหน้า ๑๑๓ ปวารณา


นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 107

สำเร็จ  ห้ามไม่ให้อยู่จำพรรษาในอาวาสเช่นนั้น  อธิบายข้อนี้ว่า

ถ้าอาจไปทำสังฆอุโบสถกับสงฆ์ในอาวาสอื่นได้  อยู่จำพรรษาในอาวาส

เช่นนั้นก็ควร.

           พระสาวกผู้ใหญ่ไปปางก่อน  ย่อมเคารพในสังฆอุโบสถ  เช่น

พระมหากัสสป  เดินทางมาเพื่อทำอุโบสถแต่ไกล  ต้องข้างลำน้ำ

ผ้าผ่อนเปียก.  พระมหากปิน  ดำริว่า  เสร็จกิจพระศาสนาแล้วคิดจะ

เลิก  ไม่ไปเข้าประชุมทำอุโบสถ พระศาสดาตรัสเตือนเพื่อรักษา

ธรรมเนียมและให้กายสามัคคี  ท่านก็ยอมรับปฏิบัติตาม.

                                       ปวารณา

           ในวันเพ็ญแห่งเดือนกัตติกาตัน  ที่เต็ม ๓  เดือนแต่วันจำพรรษา

มีพระพุทธานุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาส  ทำปวารณา

แทนอุโบสถ.

           กิจเบื้องต้นแห่งปวารณา  ก็เหมือนแห่งอุโบสถ  เป็นแต่ใน

ส่วนบุพพกิจ  ไม่นำปาริสุทธิ  นำปวารณาของภิกษุไข้มา.  คำมอบ

ให้ปวารณาว่า   " ปวารณํ  ทมฺมิปวารณํ  เม  หรมมตฺถาย

ปวาเรหิ. "   แปลว่า   " ฉันมอบปวารณาของฉัน  ขอเธอจงนำปวารณา

ของฉันไป  ขอเธอจงปวารณาแทนฉัน. "   นี้เป็นคำของผู้เจ็บที่แก่

กว่า  ถ้าอ่อนกว่า  ใช้คำว่า   " หรถ "   แทน   " หร "   ใช้คำว่า

" ปวาเรถ "   แทน   " ปวาเรหิ "   พึงถือเอาความแปลโดยสมควร

แก่โวหาร.  ภิกษุผู้รับมอบปวารณาไป  ทวงทีจะปวารณาแทนเธอ

ในลำดับของเธอ  คำปวารณาแทนนั้น จะควรกล่าวอย่างไร  จัก




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 108

แสดงข้างหน้า.

           วันปวารณานั้น โดยปกติเป็นวันที่  ๑๕  เรียกว่า   " ปณฺณรสี "

ถ้าสงฆ์ยังไม่ปวารณาในวันนั้น  เลื่อนวันปวารณาออกไปอีกปักษ์

หนึ่ง  ก็จะพึงเป็นวันที่  ๑๔  เรียกว่า   " จาตุทฺทสี "   หรือปรองดอง

กันเข้าได้ในวันนั้น  ก็จะพึงเป็นวันสามัคคี  จึงได้วันเป็น  ๓ ดุจอุโบสถ.

ในญัตติกล่าวเพียง   " อชฺช  ปวารณา "   เพ่งเอาวันปกติ.

           จำนวนภิกษุผู้ประชุม   รูปเป็นอย่างน้อย  จึงทำปวารณาเป็น

การสงฆ์ได้  เกินกว่านั้นใช้ได้.  มีจำนวนมากกว่าอุโบสถ ๑  รูปนั้น

เข้าใจว่า  เมื่อเป็นผู้ปวารณา ๑  รูป  อีก   รูปจะได้ครบองค์เป็น

สงฆ์๔ รูป  ๓ รูป  ๒ รูป  พึงทำปวารณาเป็นการคณะ.  รูปเดียว

พึงอธิษฐานเป็นการบุคคล.

           ทำปวารณาเป็นการสงฆ์  พึงตั้งญัตติประกาศแก่สงฆ์ก่อนแล้ว

จึงปวารณา.  ปวารณานั้น  คือบอกให้โอกาสแก่ภิกษุทั้งหลาย  เพื่อ

ปรารถนาตักเตือนว่ากล่าวตนได้.

           ธรรมเนียมวางไว้  ให้ปวารณารูปละ ๓ หน  โดยปกติ  ถ้า

มีเหตุขัดข้อง  จะทำอย่างนั้นไม่ตลอดด้วยประการใดประการหนึ่ง

จะปวารณารูปละ ๒  หนหรือ ๑  หน  หรือพรรษาเท่ากัน  ให้ว่าพร้อม

กันก็ได้.  จะปวารณาอย่างไร พึงประกาศแก่สงฆ์ให้รู้ด้วยญัตติก่อน.

วิธีตั้งญัตตินั้น  พึงรู้อย่างนี้ :-

           ๑.  ถ้าจะปวารณา   หน พึงตั้งญัตติว่า   " สุณาตุ  เม  ภนฺเต

สงฺโฆ, อชฺช  ปวารณา  ปณฺณรสียทิ  สงฺฆสฺส  ปตฺตกลฺลํ. สงฺโฆ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 109

เตวาจิกํ  ปวาเรยฺย. "   แปลว่า   " ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

ปวารณาวันนี้ที่ ๑๕  ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว  สงฆ์พึง

ปวารณา   หน. "   นี้เรียกว่า   " เตวาจิกา  ญตฺติ. "   เมื่อตั้งญัตติ

อย่างนี้แล้ว ต้องปวารณารูปละ ๓  หน  จะลดไม่ควร.

           ๒. ถ้าจะปวารณา   หน  พึงตั้งญัตติเหมือนอย่างนั้น  แต่ลง

ท้ายว่า   " สงฺโฆ  เทฺววาจิกํ  ปวาเรยฺย "   แปลว่า   " สงฆ์พึงปวารณา ๒

หน. "   นี้เรียกว่า   " เทฺววาจิกา  ญตฺติ. "   เช่นนี้ จะปวารณาเท่านั้น

หรือมากกว่าได้  แต่จะลดไม่ควร.

           ๓.  ถ้าจะปวารณาหนเดียว พึงตั้งญัตติลงท้ายว่า   " สงฺโฆ

เอกวาจิกํ ปวาเรยฺย "   แปลว่า   " สงฆ์พึงปวารณาหนเดียว. "   นี้

เรียกว่า   " เอกวาจิกา  ญตฺติ. "   เช่นนี้ปวารณาหนเดียวหรือมากกว่า

ได้ทั้งนั้น  แต่ผู้พรรษาเท่ากัน  ปวารณาพร้อมกันได้ควร.

           ๔.  ถ้าจะจัดภิกษุมีพรรษาเท่ากัน ให้ปวารณาพร้อมกัน  พึง

ตั้งญัตติลงท้ายว่า   " สงฺโฆ  สมานวสฺสิกํ  ปวาเรยฺย "   แปลว่า   " สงฆ์

พึงปวารณามีพรรษาเท่ากัน "   นี้เรียกว่า   " สมานวสฺสิกา  ญตฺติ. "

เช่นนั้น  ภิกษุมีพรรษาเท่ากัน  ปวารณาพร้อมกัน   หน   หน  หนเดียว

ได้ทั้งนั้น.

           วิธีตั้งญัตติ   แบบข้างต้นนี้  ระบุประการ.

           ๕.  ถ้าจะไม่ระบุประการพึงตั้งครอบทั่วไป ลงท้ายเพียงว่า   " สงฺโฆ

ปวาเรยฺย "   แปลว่า   " สงฆ์พึงปวารณา "   นี้เรียกว่า   " สพฺพสงฺคาหิกา

ญตฺติ. "   เช่นนี้  จะปวารณากี่หนก็ได้  แต่ท่านห้ามไม่ให้ผู้มีพรรษา




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 110

เท่ากัน  ปวารณาพร้อมกัน   แต่ข้าพเจ้าเห็นว่า  ควรจะได้.

           อันตราย  ๑๐  อย่าง โดยที่สุดทายกมาทำบุญ  หรือมีธรรมสวนะ

อยู่จนสว่าง  ท่านให้ถือเป็นเหตุขัดข้องได้.

           ครั้งตั้งญัตติแล้ว  ภิกษุผู้เถระ  พึงทำผ้าห่มเฉวียงบ่า  นั่งกระหย่ง

ประณมมือ  กล่าวปวารณาต่อสงฆ์ว่า   " สงฺฆํ  อาวุโส  ปวาเรมิ

ทิฏฺเฐน  วา  สุเตน  วา  ปริสงฺกาย  วาวทนฺตุ  มํ  อายสฺมนฺโต

อนุกมฺปํ  อุปาทายปสฺสนฺโต  ปฏิกฺกริสฺสามิทุนิยมฺปิ  อาวุโส  ฯ เป ฯ

ตติยมฺปิ  อาวุโส  สงฺฆํ  ปวาเรมิ  ฯ เป ฯ  ปฏิกฺกริสฺสามิ. "   แปลว่า

" เธอ  ฉันปวารณาต่อสงฆ์  ด้วยได้เห็นก็ดี  ด้วยได้ฟังก็ดี  ด้วยสงสัย

ก็ดี  ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณา  ว่ากล่าวฉัน  ฉันเห็นอยู่

จักทำคืนเสีย.  ฉันปวารณาต่อสงฆ์ครั้งที่ ๒  ฯ ล ฯ   ครั้งที่ ๓  ฯ ล ฯ

จักทำคืนเสีย. "   ภิกษุนอกนี้พึงปวารณาตามลำดับแก่ทีละรูป  เว้น

ไว้แต่คราวให้ผู้มีพรรษาเท่ากันปวารณาพร้อมกัน.  โดยนัยนั้นเปลี่ยน

ใช้คำว่า   " ภนฺเต "   แทน   " อาวุโส "   เท่านั้น.

           ในคราวที่มีนำปวารณาของภิกษุอื่นมา  ผู้นำน่าจะปวารณา

แทนเธอ  เมื่อถึงลำดับของเธอ  เช่นตัวอย่างดังนี้ :-   " อายสฺมา  ภนฺเต

อุตฺตโร  คิลาโน  สงฺฆํ  ปวาเรติ  ทิฏฺเฐน  วา  สุเตน  วา  ปริสงฺกาย

วา, วทนฺตุ  ตํ  อายสฺมนฺโต  อนุกมฺปํ  อุปาทายปสฺสนฺโต  ปฏิกฺ-

กริสฺสติทุติยมฺปิ  ภนฺเต  ฯ เป ฯ  ตติยมฺปิ  ภนฺเต  อายสฺมา  อุตฺตโร

ิคิลาโน  สงฺฆํ  ปวาเรติ  ฯ เป ฯ  ปฏิกฺกริสฺสติ "   แปลว่า   " ท่าน

เจ้าข้า  ท่านอุตตระอาพาธ  ปวารณาต่อสงฆ์  ด้วยได้เห็นก็ดี  ด้วย




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 111

ได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี  ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าว

ท่าน  ท่านเห็นอยู่ จักคืนคำเสีย, ท่านอุตตระอาพาธ  ปวารณาต่อ

สงฆ์ครั้งที่ ๒  ฯ ล ฯ  ครั้งที่   ฯ ล ฯ  จักทำคืนเสีย. "   ถ้าผู้นำแก่

กว่ากล่าวว่า   " อุตฺตโร  ภนฺเต  ภิกฺขุ "   แทน   " อายสฺมา  ภนฺเต

อุตฺตโร "   ถ้าชื่ออื่น  ก็พึงเปลี่ยนไปตามชื่อ  และพึงถือเอาความเข้าใจ

โดยสมควรแก่รูปความ.

           ธรรมเนียมเดิม นั่งกระหย่งอยู่กว่าจะปวารณาเสร็จทั้งนั้น

ครั้นพระเถระแก่ทนไม่ไหวเป็นลมล้มลง  จึงทรงอนุญาตให้นั่งลงได้

เมื่อตนปวารณาแล้วกิริยาที่ให้นั่งกระหย่งกว่าตนจะปวารณาแล้วนี้

เผยความว่า  ครั้งก่อนสงฆ์หมู่หนึ่ง  ผู้ทำปวารณาไม่มากนัก  จึงพอ

ทำได้  ในวัดมีพระมาก พระผู้อยู่ข้างปลายทนไม่ไหวแน่.  ข้าพเจ้า

ได้ทราบว่า  แบ่งไปปวารณาที่อื่นตามลำพังบ้าง  แบ่งไปสมทบกับ

สงฆ์ที่วัดอื่นบ้าง.  ประการต้นไม่งาม  ดูเหมือนสงฆ์แตกกันเป็น ๒

พวก  ประการหลังไม่สมแก่เหตุ.  การปวารณาขอให้ว่ากล่าวตักเตือน

กันนั้น  สำหรับภิกษุหมู่เดียวกัน  รู้จักตัวกันอยู่.  ข้าพเจ้าเห็นว่า

ถือเอาการนั่งกระหย่งไม่ไหวเป็นเหตุขัดข้อง  ปวารณาเพียงรูปละหน

หรือแม้จัดภิกษุผู้มีพรรษาเท่ากัน  ให้ปวารณาพร้อมกัน  ดีกว่าทำ 

ประการข้างต้น.  เมื่อจะทำอย่างนั้น  ควรประกาศเหตุขัดข้องให้สงฆ์

ทราบก่อนแล้ว  ตั้งญัตติบอกให้ปวารณาโดยประการอันจะทำ.

           ถ้าในชุมนุมนั้น  มีภิกษุผู้ไม่อาจปวารณาได้เพราะพรรษาขาด

หรือแม้อุปสมบทภายหลังแต่วันเข้าพรรษา  และมีจำนวนไม่มากกว่า




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 112

ภิกษุผู้อาจปวารณา  แม้มีจำนวนถึง   รูป  ท่านให้บอกปาริสุทธิ

เมื่อภิกษุนอกนี้ปวารณาเสร็จแล้ว  ถ้ามีจำนวนมากกว่า  ท่านให้

สวดปาติโมกข์  เมื่อจบแล้วจึงให้ภิกษุนอกนี้ปวารณาในสำนักเธอ

ทั้งหลาย  ห้ามไม่ให้ตั้งญัตติทำเป็นการสงฆ์การคณะทั้ง ๒  อย่าง

ในวันเดียวกัน.

           ดิถีที่ปวารณานั้น  จะเลื่อนกระชั้นใน   เดือนแต่วันเข้าพรรษา

เข้ามาหาได้ไม่  จะเลื่อนออกไปอีกปักษ์หนึ่งหรืออีกเดือนหนึ่งได้อยู่

ถ้าจะเลื่อน  ต้องประกาศให้สงฆ์รู้เหตุแล้วทำอุโบสถในวันนั้น เมื่อ

ถึงวันกำหนดจึงทำปวารณา.  เหตุเป็นเครื่องยกขึ้นอ้างในการเลื่อน

ปวารณานั้น  กล่าวไว้ในบาลี  มีภิกษุจะเข้ามาสมทบปวารณาด้วย

ด้วยหมายจะคัดค้านผู้นั้นผู้นี้  ทำให้เกิดอธิกรณ์ขึ้นอย่างหนึ่งอยู่ด้วย

กันเป็นผาสุก ปวารณาแล้วต่างจะจากกันจาริกไปเสียอย่างหนึ่ง.  ใน

บัดนี้  ไม่มีสงฆ์หมู่ไหนจะเลื่อน  จึงแสดงแต่โดยสังเขปพอรู้เค้า.

           ในอาวาสมีภิกษุหย่อน   รูป  ท่านห้ามไม่ให้ทำสังฆปวารณา

ถ้ามี   รูปหรือ   รูป  พึงประชุมกันแล้ว  รูปหนึ่งประกาศด้วยญัตติ

ว่า   " สุณนฺตุ  เม  อายสฺมนฺโตอชฺช  ปวารณา  ปณฺณรสี,

ยทายสฺานฺตานํ  ปตฺตกลฺลํมยํ  อญฺญมญฺญํ  ปวาเรยฺยาม "   แปลว่า

" ท่านเจ้าข้า  ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า  ปวารณาวันนี้ที่  ๑๕  ถ้า

ความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้วเราทั้งหลายพึงปวารณา

กันเถิด. "   ถ้า   รูปว่า   " อายสฺมฺตา "   แทน   " อายสฺมนฺโต. "

แล้วพึงกล่าวปวารณาตามลำดับเพราะน้อยปรู  เป็นอันเข้าใจชัดว่า




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 113

ต้องว่า   หนเต็มที่.   คำปวารณาว่า   " อหํ  อาวุโส  อายสฺมนฺเต

ปวาเรมิ  ฯ เป ฯ  ปฏิกฺกริสฺสามิ.  ทุติยมฺปิ  อาวุโส  ฯ เป ฯ  ตติยมฺปิ

อาวุโส  อายสฺมนฺเต   ปวาเรมิ  ฯ เป ฯ  ปฏิกฺกริสฺสามิ "   นี้

นำหรับรูปแก่  รูปอ่อนว่า   " ภนฺเต "   แทน   " อาวุโส. "   ถ้ามีแต่   รูป

ไม่ต้องตั้งญัตติ  ปวารณากันทีเดียว.  คำปวารณาว่า   " อหํ  อาวุโส

อายสฺมนฺตํ  ปวาเรมิ  ฯ เป ฯ  วทตุ  มํ  อายสฺมา  อนุกมฺปํ  อุปาทาย,

ปสฺสนฺโต  ปฏิกฺกริสฺสามิ. "   นี้เรียกว่า  คณปวารณา.  อยู่รูปเดียว

ท่านให้ตระเตรียมที่ทางและคอยภิกษุอื่นจนสิ้นเวลา  เห็นไม่มาแล้ว

ให้อธิษฐานว่า   " อชฺช  เม  ปวารณา "   แปลว่า   " ปวารณาของเรา

วันนี้ "   นี้เรียกว่า  บุคคลปวารณา.

           โดยนัยอันกล่าวแล้ว  วันปวารณามี   คือ จาตุททสี  ปัณณรสี

สามัคคีการก  คือผู้ทำก็มี   คือ  สงฆ์  คณะ  บุคคลอาการที่ทำ

ก็มี   คือ  ปวารณาต่อที่ชุมนุม ๑  ปวารณากันเอง ๑  อธิษฐานใจ ๑

ทำนองเดียวกับอุโบสถ.

           อธิบายนอกจากนี้  พึงรู้โดยนัยอันกล่าวแล้วในอุโบสถ.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น