วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วินัยมุขเล่ม ๒ นักธรรมโท หน้า ๔๒ถึงหน้า ๕๑ นิสสัย


นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 42

                                     กัณฑ์ที่  ๑๓

                                         นิสัย

           ในครั้งแรกตรัสรู้  ที่เรียกว่า  ปฐมโพธิกาล  ภิกษุยังไม่มาก

มาย  ก็ยังปกครองง่าย  เมื่อมีภิกษุมากขึ้น  การปกครองก็ยากขึ้น

ตามกัน  พระศาสดาจึงได้ทรงบัญญัติสิขาบทวางเป็นพุทธอาณา

และทรงตั้งขนบธรรมเนียมเป็นอภิสมาจาร  มีมากขึ้นโดยลำดับเวลา

คราวนี้ผู้มาใหม่  ไม่สามารถจะรู้ทั่วถึงและประพฤติให้ถูกระเบียบ

ด้วยลำพังใช้ความสังเกตทำตามกัน  จำจะศึกษาจึงจะรู้ได้  พระศาสดา

จึงทรงพระอนุญาตให้มีอุปัชฌายะเป็นผู้สั่งสอน  ภิกษุมีพรรษาหย่อน

  จัดเป็นนวกะผู้ใหม่ ต้องถือภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเป็นอุปัชฌายะ และ

อาศัยภิกษุรูปนั้นอยู่  รับโอวาทอนุศาสนของภิกษุนั้น.  ในครั้งแรก

ที่ทรงอนุญาตอุปัชฌายะ  ภิกษุผู้อุปสมบทอยู่แล้ว  แต่หย่อน ๕

พรรษา ก็จำถืออุปัชฌายะ, ในบาลีท่านจึงวางแบบไว้ว่า  ให้ทำ

ผ้าห่มเฉวียงบ่ากราบเท้าแล้ว  [ กล่าวตามอาการนั่งตั่งห้อยเท้า ].  นั่ง

กระหย่ง  ประณมมือกล่าวว่า   " อุปชฺฌาโย  เม  ภนฺเต  โหหิ "

ซึ่งแปลว่า   " ขอท่านจงเป็นอุปัชฌายะของข้าพเจ้า "    หน  เมื่อ

ภิกษุผู้ที่นวกะนั้นขออาศัย  รับว่า   " สาหุ "   ซึ่งแปลว่า   " ดีละ "

" ลหุ "   " เบาใจดอก "   " โอปายิกํ "   " ชอบแก่อุบาย "   " ปฏิรูปํ "

" สมควรอยู่ "   หรือว่า  " ปาสาทิเกน  สมฺปาเทหิ "   ให้ถึงพร้อม




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 43

ด้วยอาการอันน่าเลื่อมใสเถิด "   อย่างใดอย่างหนึ่ง  เป็นอันถือ 

อุปัชฌายะแล้ว.  ภิกษุผู้รับให้พึ่งพิง  ได้ชื่อว่าอุปัชฌายะ  แปลว่า

ผู้ฝึกสอนหรือผู้ดูแล  ภิกษุผู้พึ่งพิง  ได้ชื่อว่าสัทธิวิหาริก  แปลว่า

ผู้อยู่ด้วย  กิริยาที่พึ่งพิง  เรียกว่านิสัย.  ส่วนผู้มาขออุปสมบทใหม่

ทรงพระอนุญาตให้ถืออุปัชฌายะมาแต่แรก  ถือเอาอุปัชฌายะนั้นเอง

เป็นผู้นำเข้าหมู่และเป็นผู้รับรอง  ให้ออกชื่อในกรรมวาจาสวด

ประกาศด้วย  คำขอและคำรับก็เช่นเดียวกัน  แต่ในบัดนี้ว่าคำขอ

นิสัยนำและว่าคำรับเป็นธุระกันข้างท้าย  ดังมีแจ้งในอุปสมบทวิธี.

           ตรัสสั่งให้อุปัชฌายะและสัทธิวิหาริก ตั้งจิตสนิทสนมในกัน

และกัน  ให้อุปัชฌายะสำคัญสิทธิวิหาริกฉันบุตร  ให้สัทธิวิหาริก

นับถืออุปัชฌายะฉันบิดา  เมื่อเป็นเช่นนี้  ต่างจะมีเคารพเชื่อฟังถูก

กันอยู่  ย่อมจะถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัย.  ตรัส

สั่งให้อุปัชฌายะและสัทธิวิหาริก  ต่างเอื้อเฟื้อประพฤติชอบในกันและ

กัน  หน้าที่อันสัทธิวิหาริกจะพึงทำแก่อุปัชฌายะ  เรียกอุปัชฌายวัตร

หน้าที่อันอุปัชฌายะจะพึงทำแก่สัทธิวิหาริก  เรียกสัทธิวิหาริกวัตร

จักกล่าวถึงข้างหน้า.

           นิสัยอันมีในระหว่างสัทธิวิหาริกกับอุปัชฌายะนั้น  ยังอยู่ด้วย

กันเพียงใด  ก็ยังมีเพียงนั้น ถ้าแยกจากกันชั่ววันหนึ่ง  นิสัยระงับ

ขาดจากปกครอง  ในบาลีแสดงเหตุนิสัยระงับจากอุปัชฌายะไว้ ๕

ประการ  คือ  อุปัชฌายะหลีกไปเสีย ๑  สึกเสีย ๑  ตายเสีย ๑  ไป

เข้ารีตเดียรถีย์เสีย ๑  สั่งบังคับ ๑  องค์เหล่านี้ยกสั่งบักคับเสีย  ได้




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 44

ในฝ่ายสัทธิวิหาริกเหมือนกัน  สัทธิวิหาริกหลีกไปเสียเอง  สึกเสีย

เอง  ตายเสียเอง  ไปเข้ารีตเดียรถีย์เสียเอง  นิสัยก็ระงับเหมือน

กัน. ในองค์คือหลีกไปนั้น  ถ้าฝ่ายที่หลีกไปกลับมา  หรือฝ่ายที่

อยู่ตามไปอยู่ในที่แห่งเดียวกัน  นิสัยย่อมกลับมีอีก  กำหนดความ

มีด้วยสัทธิวิหาริกได้ร่วมกับอุปัชฌายะเข้า  ที่พระอรรถกถาจารย์

แม้ว่า  ได้เห็นอุปัชฌายะถนัดจนจำได้  หรือได้ฟังเสียงจำได้  แก้

อย่างนี้เผินมาก  ควรจะแก้ให้เป็นกิจลักษณะสักหน่อย  คำบาลีว่า

" อุปชฺฌาเยน  สโมธานคโต "   ที่ข้าพเจ้าแปลว่า  ร่วมกับอุปัชฌายะ

เข้านั้น  น่าจะหมายความว่า  ได้เข้าอยู่ในปกครองของอุปัชฌายะอีก

ไม่ควรถือเอาการพบปะตามถนนหนทางชั่วขณะ  ที่สุดจนอุปัชฌายะ

ไม่เห็น  เช่นนี้นิสัยไม่มีได้เลย  และเป็นเหตุลำบากอย่างไร  ของ

ผู้ให้ผู้ถือนิสัย  จักกล่าวในวาระแห่งนิสัยอาจารย์.  องค์คือสั่ง

บังคับนั้น  พระอรรถกถาจารย์แก้ว่า  ประณามคือไล่เสีย.  เมื่อ

อุปัชฌายะอดโทษ  ยอมรับให้เข้าอยู่ในความปกครองอีก นิสัยย่อม

ติดอย่างเดิม.  ข้าพเจ้าเห็นว่า  น่าจะหมายความถึงว่า อุปัชฌายะ

เห็นมีพรรษาพ้น ๕  แล้ว  มีความรู้พระธรรมวินัยพอรักษาตัวได้แล้ว

ปลดจากนิสัย  ให้อยู่เป็นนิสัยมุตตกะ  นี้ควรจะนับเข้าในองค์คือ

สั่งบังคับได้เหมือนกัน.

           ประทานอำนาจไว้แก่อุปัชฌายะ  เพื่อจะประณามคือไล่สัทธิ-

วิหาริกผู้ประพฤติมิชอบ.  ในบาลีท่านแสดงองค์เป็นเครื่องกำหนด

ไว้   คือ  หาความรักใคร่ในอุปัชฌายะมิได้ ๑  หาความเลื่อมใส




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 45

มิได้ ๑  หาความละอายมิได้ ๑  หาความเคารพมิได้ ๑  หาความ

หวังดีต่อมิได้ ๑.  พึงรู้อธิบายดังนี้ :-

           สัทธิวิหาริก  ผู้มีใจสนิทสนมในอุปัชฌายะฉันบุตรกับบิดา  ชื่อ

ว่ามีความรักใคร่  มีใจห่างเหินฉันคนอื่น  ชื่อว่าหาความรักมิได้

สัทธิวิหาริกผู้นิยมในความประพฤติและคุณธรรมของอุปัชฌายะ ชื่อ

ว่ามีความเลื่อมใสในอุปัชฌายะ  เห็นเป็นเลวที่ไม่ควรถือเป็นแบบ

อย่าง  ชื่อว่าหาความเลื่อมในมิได้.  สัทธิวิหาริกจะประพฤตินอก

ธรรมวินัย กระดากอุปัชฌายะ  ชื่อว่ามีความละอายต่ออุปัชฌายะ

เป็นผู้หน้าด้าน  กล้าทำได้ต่อหน้าอุปัชฌายะ  ชื่อว่าหาความละอาย

มิได้.  สัทธิวิหาริกผู้หนักอยู่ในอุปัชฌายะ เห็นอุปัชฌายะเป็นสำคัญ

สั่งให้ทำอะไรก็ต้องทำ  ชื่อว่ามีความเคารพ  เห็นอุปัชฌายะเป็นผู้ไม่

สำคัญ ว่าอะไรก็ไม่เชื่อฟัง  ชื่อว่าหาความเคารพมิได้.  สัทธิวิหาริก

หวังให้อุปัชฌายะเป็นสุข  ปราศจากทุกข์  พลอดดีใจเสียใจด้วย

ตามเหตุ  ชื่อว่ามีความหวังดีต่ออุปัชฌายะเพิกเฉยไม่นำพา  เป็น

อย่างไรก็ช่าง  ชื่อว่าหาความหวังดีต่อมิได้. สัทธิวิหาริกจอประกอบ

ด้วยองค์อันเป็นคุณ  ก็เพราะอุปัชฌายะเป็นเดิมเพราะเหตุนั้น

อุปัชฌายะควรสงเคราะห์สัทธิวิหาริกด้วยลาภผล ด้วยสอนธรรม

ด้วยแสดงเมตตาจิตสนิทสนม  สัทธิวิหาริกจะได้รักใคร่  ควรตั้ง

ตนให้เป็นหลักในความประพฤติและคุณธรรม  สัทธิวิหาริกจะได้

เลื่อมใส  นิยมในปฏิบัติและจะกระดากไม่กล้าประพฤตินอกทาง  ควร

จะคารพในพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  ในอุปัชฌายะอาจารย์




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 46

หรือแม้ในพระเถระอันเป็นผู้ใหญ่เหนือตน สัทธิวิหาริกจะได้ถือเอา

เป็นทิฏฐานุคติ และทำตามอย่างบ้าง  ควรประพฤติไม่ให้เป็นเหตุ

กีดขวางของสัทธิวิหาริก  แสดงให้เธอรู้สึกว่า เธอได้ประโยชน์เพราะ

พึ่งพานักตน  เธอจะได้หวังดีต่อ.  เมื่ออุปัชฌายะทำดีเช่นนี้แล้ว

สัทธิวิหาริกยังประกอบด้วยองค์เป็นโทษ  อุปัชฌายะต้องประณาม

ถ้าทำอ่อนแอเพราะรัก  หรือเพราะเกรงใจ  หรือเพราะเหตุอย่างอื่น

เป็นเสียอยู่กับอุปัชฌายะ.  ประณามนั้น พึงทำอย่างนี้:  พึงพูดให้

รู้ว่าตนไล่เธอเสีย  ท่านวางอย่างไว้ในบาลีว่า   " เราประณามเธอ "

" อย่าเข้ามา ณ ที่นี้ "   " จงขนบาตรจีวรของเธอออกไปเสีย "   หรือ

" เธอไม่ต้องอุปัฏฐากข้าดอก "   หรือแสดงอาการกายให้รู้อย่างนั้น

ก็ได้สัทธิวิหาริกผู้ถูกประณามแล้ว  ต้องทำดีแก้ตัวแล้วขอให้

อุปัชฌายะอดโทษ  ถ้าทอดธุระเสีย  เป็นโทษแก่สัทธิวิหาริก.  สัทธิ-

วิหาริกกลับทำดีแล้วและขอขมาโทษ  อุปัชฌายะไม่รับและไม่ระงับ

ประณาม  ก็มีโทษแก่อุปัชฌายะเหมือนกัน  เว้นแต่สัทธิวิหาริก

ยังไม่ได้แก้ตัวจากเหตุที่ให้ถูกประณาม  หรือเห็นว่ารับง่ายนักจักไม่

เข็ดหลาบ  ยังผูกใจว่าจักรับ  ไม่มีโทษ. อีกฝ่ายหนึ่ง  สัทธิวิหาริก

ประกอบด้วยองค์อันเป็นคุณ แต่อุปัชฌายะฉุนโกรธ  หรือเป็นผู้ไม่

จู้จักอะไร  ประณามผิดไป  ก็มีโทษแก่อุปัชฌายะเอง.

           ภิกษุผู้ไม่ได้อยู่ในปกครองของอุปัชฌายะ  ด้วยเหตุ   ประการ

อันกล่าวแล้ว  ต้องถือภิกษุอื่นเป็นอาจารย์  และอาศัยท่านแทน

อุปัชฌายะ. วิธีถืออาจารย์ก็เหมือนกับวิธีถืออุปัชฌายะ  ต่างแต่




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 47

คำขอว่า   " อาจริโย  เม  ภนฺเต  โหหิอายสฺมโต  นิสฺสาย  วจฺฉามิ "

  หน  ซึ่งแปลว่า   " ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ๆ  จักอยู่

อาศัยท่าน "   ภิกษุผู้รับให้พึ่งพิง  ได้ชื่อว่าอาจารย์  ซึ่งแปลว่า

ผู้ฝึกมารยาท  ภิกษุผู้อิงอาศัยได้ชื่อว่า  อันเตวาสิกหรืออันเตวาสี

ซึ่งแปลว่า  ผู้อยู่ในสำนัก.  อาจารย์นี้  ในบาลีหมายเอาภิกษุผู้ให้

นิสัยแทนอุปัชฌายะเท่านั้นแต่ในอรรถกถานับอาจารย์เป็น ๔  คือ

ท่านผู้ให้สรณคมน์เมื่อบรรพชา  ท่านผู้ลวดกรรมวาจาเมื่ออุปสมบท

ท่านผู้ให้นิสัย  และท่านผู้สอนธรรม  จะให้รู้ว่าเป็นอาจารย์ในฝ่าย

อะไร  ก็ออกชื่อกิจนั้นด้วยดังนี้ว่า  ปัพพชาจารย์  อาจารย์ในบรรพชา,

อุปสัมปทาจารย์  อาจารย์ในอุปสมบท, นิสสยาจารย์  อาจารย์ผู้ให้

นิสัยอุทเทสาจารย์  อาจารย์ผู้บอกธรรมจัดนิสสยาจารย์ไว้ใน

ลำดับเป็นที่ ๓.  อันเตวาสิกก็ได้ชื่อตามนัยนั้นว่า  ปัพพชันเตวาสิก

อันเตวาสิกในบรรพชาอุปสัมปทันเตวาสิก  อันเตวาสิกในอุปสมบท

นิสสยันเตวาสิก  อันเตวาสิกผู้ถือนิสัยธัมมันเตวาสิก  อันเตวาสิก

ผู้เรียนธรรม.  ความสนิทสนมและความเอื้อเฟื้ออันอาจารย์และ

อันเตวาสิกจะพึงแสดงแก่กันนั้น  ก็เช่นเดียวกับอุปัชฌายะและ

สัทธิวิหาริก  เพราะจะต้องนับถือกันจริง ๆ  ต่างฝ่ายต่างจะรอพอ

ให้รู้ว่าเป็นสภาคกันโดยความประพฤติแล้ว  จึงขอจึงให้นิสัย  ก็ควร

ทรงพระอนุญาต.  ความระงับแห่งนิสัยจากอาจารย์  ก็มีเพราะเหตุ



๑.  ข้าพเจ้าเห็นว่า แม้ภิกษุผู้ให้ผ้ากาสายะ ก็ควรเรียกอาจารย์เหมือนกัน  เพราะเมื่ออุปสมบท

ก็ต้องขอถือเป็นอุปัชฌายะอีก หรือถือรูปอื่นก็ได้.




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 48

อย่างเดียวกัน  เป็นแต่เพิ่มเข้าอีกองค์หนึ่ง  เป็นที่ ๖ ว่า  อันเตวาสิก

ร่วมเข้ากับอุปัชฌายะของเธอ.

           องค์ที่   นี้  พระอรรถกถาจารย์  แปลว่า  อันเตวาสิกนั้น  เห็น

อุปัชฌายะของเธอจำได้ว่าท่าน  หรือได้ยินเสียงแล้ว  จำได้ว่าเสียง

ของท่าน  เป็นนิสัยระงับ  เนื่องจากนี้มีธรรมเนียมว่าต้องขอนิสัย

ใหม่.   ธรรมเนียมนี้  ทำความลำบากให้แก่อาจารย์  และอันเตวาสิก

ทั้ง ๒ ข้างไม่น้อยเลย.  ข้าพเจ้าจักเล่าเรื่องของข้าพเจ้าพอเป็นเครื่อง

สาธก เมื่อครั้งข้าพเจ้ายังเป็นอาจารย์ให้นิสัยอยู่  ถึงคราวที่

อันเตวาสิกของข้าพเจ้า  ได้พบอุปัชฌายะของเธอเข้าพร้อมกันมาก

รูป  เช่นในเวลาอุปัชฌายะของเธอมาในการอุปสมบทผู้อื่น  พอ

อุปัชฌายะไปแล้ว  ต้องขอนิสัยใหม่ตั้งครึ่งวัด  กว่าจะเสร็จล่วง

เวลาเป็นอันมาก  ไม่ช้าก็ถึงวันอุปสมบทผู้อื่นอีก  นิสัยระงับและ

ต้องขอกันใหม่  ฝ่ายอันเตวาสิกเห็นอาจารย์ได้ความลำบาก  ก็นึก

เกรงใจไปเอง  ไม่จำเป็นก็มักหลบ  ไม่เข้าหน้าอุปัชฌายะ  อันเป็น

อาการไม่ดี.  อันที่จริงแม้ในเวลานิสัยระงับ  เธอก็อยู่ในปกครอง

ของข้าพเจ้านั่นเอง  ต้องของนิสัยใหม่พอเป็นพิธีเท่านั้น แต่ให้ผลคือ

ความลำบากไม่น้อยเลย  คิดดูเหมือนทำเล่น  อันเตวาสิกไม่เห็นเป็น

การจริงจัง  เสียผลในทางปกครอง  ถ้าเข้าใจว่า  คำว่า  ร่วมกับ

อุปัชฌายะ  หมายความว่า  ร่วมด้วยเข้าอยู่ในปกครองของท่าน

ไม่ใช่ร่วมด้วยพบท่านครู่เดียว  เช่นท่านมาให้อุปสมบท  ไม่ต้องกล่าว

ถึงพบท่านตามถนน  หากท่านมาค้างคืนที่วัด  เช่นนี้จักจัดการ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 49

ปกครองเนื่องด้วยอุปัชฌายะก็ชอบอยู่  เมื่อท่านไปแล้ว  นิสัย

อาจารย์กลับติดอีก  กิจด้วยจะต้องขอใหม่ไม่มี  ตลอดเวลาอยู่ใน

ปกครองของท่าน  ต่อเมื่อออกจากปกครองของท่านด้วยองค์ 

ข้างต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง  นิสัยจึงระงับ  เช่นอันเตวาสิกลาอาจารย์

ไปอยู่วัดอื่น  ถือภิกษุอื่นเป็นอาจารย์ในวัดนั้น  ภายหลังกลับมาวัด

เดิมอีก  เช่นนี้ของนิสัยใหม่ก็ชอบแก่เหตุ.  ถ้าเข้าใจอย่างว่ามานี้

จะเปลื้องความลำบากของอาจารย์และอันเตวาสิกลงได้  จะทำให้

อันเตวาสิกพอใจจะเข้าหน้าอุปัชฌายะของตน  ทั้งจะเป็นผลอันดีแก่

การปกครอง.

           ภิกษุมีพรรษาหย่อน ๕  เป็นนวกะอยู่  แม้เป็นผู้มีความรู้ทรง

ธรรมทรงวินัย จะไม่ถือนิสัยอยู่ในปกครองของอุปัชฌายะหรือของ

อาจารย์ไม่ชอบ  ทรงห้ามไว้  ไม่ต้องกล่าวถึงภิกษุผู้ยังไม่รู้อะไร

เว้นไว้แต่ภิกษุผู้ยังไม่ตั้งลงเป็นหลักแหล่ง  ที่แสดงไว้ในบาลีว่า  ภิกษุ

เดินทาง  ภิกษุผู้ไข้  ภิกษุผู้พยาบาลผู้ได้รับขอของคนไข้เพื่อให้อยู่ ภิกษุ

ผู้เข้าป่า  เพื่อเจริญสมณธรรมชั่วคราว.  ในที่ใด  หาท่านผู้ให้นิสัยมิได้

และมีเหตุขัดข้องที่จะไปอยู่ในที่อื่นไม่ได้  จะอยู่ในที่นั้นด้วยผูกใจว่า

เมื่อใดมีท่านผู้ให้นิสัยได้มาอยู่ จักถือนิสัยในท่าน  ก็ใช้ได้.

           ภิกษุผู้มีพรรษาได้  ๕ แล้ว  แต่ยังหย่อน ๑๐  ได้ชื่อว่ามัชฌิมะ

แปลว่าผู้ปานกลาง  มีองคสมบัติพอรักษาตนผู้อยู่ตามลำพังได้  ทรง

พระอนุญาตให้พ้นจากนิสัยอยู่ตามลำพังได้  เรียกว่า  นิสสัยมุตตกะ

ฝ่ายภิกษุผู้มีความรู้ไม่พอจะรักษาตน  แม้พ้น   พรรษาแล้ว  ก็ต้อง




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 50

ถือนิสัย.  องคสมบัติที่กำหนดไว้ในบาลีอย่างอุกฤษฏ์  เป็นคุณ

ของพระอรหันต์  แต่ผ่อนลงมาเป็นหมวด ๆ  จนถึงเป็นคุณของภิกษุ

กัลยาณปุถุชน  จักย่นกล่าวเฉพาะองค์อันสมแก่ภิกษุในบัดนี้.

           ๑.  เป็นผู้มีศรัทธา  มีหิริ  มีโอตตัปปะ  มีวิริยะ  มีสติ.

           ๒.  เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล  อาจาระ   ความเห็นชอบ  เคยได้ยิน

ได้ฟังมาก  มีปัญญา.

           ๓.  รู้จักอาบัติ  มิใช่อาบัติ  อาบัติเบา  อาบัติหนัก  จำปาติโมกข์

ได้แม่นยำ.

           ทั้งมีพรรษาได้   หรือยิ่งกว่า.

           องค์เหล่านี้  แม้บกพร่องบางอย่างก็ได้  ที่ขาดไม่ได้คือ

กำหนดพรรษา.

           ภิกษุผู้มัชฌิมะ  ประกอบด้วยองคสมบัติเหล่านี้ เป็นแต่อยู่ได้

ตามลำพัง  ยังห้ามไม่ให้ปกครองบริษัท.

           ภิกษุผู้มีพรรษาครบ  ๑๐  แล้ว ได้ชื่อว่าเถระ  แปลว่า  ผู้หลัก

ผู้ใหญ่มีองคสมบัติอาจปกครองผู้อื่นได้  ทรงพระอนุญาตให้เป็น

อุปัชฌายะให้อุปสมบท  เป็นอาจารย์ให้นิสัย  มีสามเณรไว้อุปัฏฐาก

ที่แปลว่าให้บรรพชาเป็นสามเณรได้  เรียกปริสุปัฏฐาปกะ  แปลว่า

ผู้ให้บริษัทอุปัฏฐากหรือผู้ใช้บริษัท  ถือเอาความว่า   ผู้ปกครองบริษัท

ฝ่ายภิกษุผู้ขาดองคสมบัติ  แม้มีพรรษาครบกำหนดแล้ว  ก็ไม่ทรง

พระอนุญาต.  องคสมบัติที่กำหนดไว้ในบาลี  ที่เพิ่มจากองค์ของ

ภิกษุมัชฌิยะ  ผู้นิสสัยมุตตกะดังนี้ :-




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 51

           ๔.  อาจจะพยาบาลเอง  หรือสั่งผู่อื่นให้พยาบาลสัทธิวิหาริก

อันเตวาสิกผู้อาพาธ  อาจจะระงับเองหรือหาผู้อื่นให้ช่วยระงับความ

กระสัน  คือไม่ยินดีในพรหมจรรย์ของสัทธิวิหาริกอันเตวาสิก  อาจจะ

บรรเทาเองหรือหาผู้อื่นให้ช่วยบรรเทาความเบื่อหน่าย  อันเกิดขึ้นแก่

สัทธิวิหาริกอันเตวาสิกโดยทางธรรม  รู้จักอาบัติ   รู้จักวิธีออกจากอาบัติ.

           ๕.  อาจจะฝึกปรือสัทธิวิหาริกอันเตวาสิก  ในสิกขา  เป็นส่วน

อภิสมาจารคือมารยาท อาจจะแนะนำสัทธิวิหาริกอันเตวาสิกในสิกขา

เป็นส่วนเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์  คือพระบัญญัติอันเป็นหลักแห่งการ

ประพฤติพรหมจรรย์  อาจจะแนะนำในธรรมในวินัยอันยิ่งขึ้นไป  อาย

จะเปลื้องทิฏฐิผิด อันเกิดขึ้นแก่สัทธิวิหาริกอันเตวาสิกโดยทางธรรม.

           ทั้งมีพรรษาได้  ๑๐  หรือยิ่งกว่า.

           องค์เหล่านี้  แม้บกพร่องบางอย่างก็ยังได้ ที่ขาดไม่ได้คือ

กำหนดพรรษา.

           หลักเหล่านี้  ดูมิใช่สำหรับไว้ให้ภิกษุตัดสินตนเอง  สำหรับ

อุปัชฌายะอาจารย์หรือพระเถระผู้เป็นใหญ่เหนือตน  กำหนดรู้ว่าภิกษุ

ผู้นิสิตของตน  สมควรจะได้รับปลดนิสัยให้อยู่ได้ตามลำพังหรือยัง,

และภิกษุผู้นิสสัยมุตตกะนั้น  สมควรจะเป็นปริสุปัฏฐาปกะปกครอง

หมู่หรือยังเมื่อเห็นสมควรก็จะได้ปลดจากนิสัยและสั่งให้สงเคราะห์

บริษัท ดังพระศาสดาได้ทรงทำมา  เมื่อครั้งทรงส่งพวกสาวกไป

ประกาศพระศาสนา  และเมื่อครั้งทรงอนุญาตให้พวกสาวกรับให้

อุปสมบทได้เอง  ด้วยให้ถึงไตรสรณคมน์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น