วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วินัยมุขเล่ม ๒ นักธรรมโท หน้า ๑๖๘ ถึงหน้า ๑๗๙ หน้าสุดท้าย ปกิณณกะ


นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 168

                                      กัณฑ์ที่  ๒๒

                                       ปกิณณกะ

                                      มหาปเทส ๔

           พัสดุบางอย่าง  ย่อมมีเฉพาะในบางถิ่น  และพัสดุที่คนรู้จักทำ

ขึ้นได้  ย่อมมีหลากหลาย  ตามความเจริญแห่งศิลปะของมนุษย์

กิจการก็เหมือนกัน  ของคนในถิ่นหนึ่ง  อาจต่างจากของคนในถิ่น

อื่น  และอาจมีแปลก ๆ  โดยลำดับกาล  ตามความนิยมอันเปลี่ยน

แปลงไปอยู่  ยิ่งคนทั้งหลายอันอยู่ต่างถิ่นไปมาถึงกันเข้า  ความพบ

เห็นพัสดุและกิจการทั้งกลายก็มากเข้า  ภิกษุเกิดในภายหลังพุทธกาล

ย่อมจะได้พบเห็นพัสดุ  และกิจการต่าง ๆ นานา  จากที่กล่าวไว้ใน

พระคัมภีร์  พระศาสดาผู้มีพระญาณเห็นกาลไกล  ได้ประทานแบบ

ไว้  เพื่อเป็นหลักแห่งสันนิษฐานทั้งในทางธรรมทั้งในทางวินัย  ใน

ที่นี้จักกล่าวเฉพาะในทางวินัย  แบบนี้เรียกว่ามหาปเทส  แปลว่า  ข้อ

สำหรับอ้างใหญ่  จำแนกออกเป็น ๔ ข้อ  ดังต่อไปนี้ :-

           ๑.  สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร  แต่เข้ากันกับสิ่งเป็น

อกัปปิยะ  ขัดกันต่อสิ่งเป็นกัปปิยะ  สิ่งนั้นไม่ควร.

           ๒.  สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร  แต่เข้ากันกับสิ่งเป็นกัปปิยะ

ขัดกันต่อสิ่งเป็นอกัปปิยะ  สิ่งนั้นควร.

           ๓.  สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร  แต่เข้ากันกับสิ่งเป็น

อกัปปิยะ  ขัดกันต่อสิ่งเป็นกัปปิยะ  สิ่งนั้นไม่ควร.




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 169

           ๔.  สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร  แต่เข้ากันกับสิ่งเป็น

กัปปิยะ  ขัดกันต่อสิ่งเป็นอกัปปิยะ  สิ่งนั้นควร.

           จักแสดงตัวอย่างที่ลงสันนิษฐานกันไว้แล้วบางประการ.  ฝิ่น

เป็นของไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร  เพราะในครั้งพุทธกาลยังไม่รู้จัก

ใช้กันทั่วไป  หรือเฉพาะในชมพูทวีป  แต่สุรารู้จักใช้กันแล้ว  เป็น

ของที่ทรงห้ามไว้  สุราก็ดี  ฝิ่นก็ดี  เป็นของทำกายประสาทให้มึน

เป็นของทำผู้เสพให้ติด  ต้องทวีจำนวนที่เสพขึ้นเสมอ  เป็นบ่อเกิด

แห่งโรค  เป็นเครื่องทอนกำลังแห่งร่างกาย  เป็นมูลแห่งความชั่ว

ร้ายต่าง ๆ  ดุจเดียวกัน  เพราะเหตุนั้น  ฝิ่นเป็นของเข้ากับสุรา  จึง

เป็นของไม่ควรภิกษุจะเสพเป็นอาจิณสุรานั้น  แม้เป็นของที่ทรง

ห้ามก็จริง  แต่แทรกในโภชนาหารเพื่อแก้คาวหรือให้มีรส  ที่มุ่ง

ประโยชน์อย่างอื่น  ทรงอนุญาตไว้ว่าควร  ฝิ่นที่แทรกยา  เช่นใน

โคลโรดิน  เป็นยาแก้ลงท้อง  ไม่ใช่เป็นของมุ่งหมายสำหรับเสพโดย

ฐานเป็นฝิ่น  เช่นนี้เข้ากันกับสุราที่เจือในของอื่นที่ทรงอนุญาตไว้นั้น

เป็นของควรเมื่อคราวเจ็บไข้ต้องการใช้เป็นยาทรงอนุญาตน้ำหวาน

ออกจากอ้อยที่เคี่ยวให้แข้นแล้วเรียกว่าผาณิตไว้  น้ำหวานที่ออกจาก

พืชอื่น  เป็นต้นว่าตาลหรือมะพร้าว  ไม่ได้กล่าวถึงในบาลี  จัดว่า

เป็นของที่ไม่ทรงอนุญาตไว้  แต่เป็นของมีรสหวานสำเร็จประโยชน์

เช่นเดียวกันกับรสหวานแห่งอ้อย  ชื่อว่าเป็นของเข้ากันกับรสหวาน

แห่งอ้อย  รสหวานอย่างอื่นก็ควรเหมือนกัน.  รสหวานแห่งอ้อยนั้นเอง

ทรงห้ามไม่ให้เก็บไว้ฉันเกิน   วัน  พ้นกำหนดนั้นแล้วเป็นของไม่ควร




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 170

รสหวานแห่งของอื่น  ก็เป็นของไม่ควรเหมือนกัน.

           มหาปเทสนี้  เป็นหลักสำคัญในพระวินัย  ภิกษุเข้าใจดีแล้วอาจ

ปฏิบัติตนพอเหมาะ  ในเมื่อได้พบพัสดุและกิจการต่าง ๆ  อยู่รอบข้าง.

                             พระพุทธานุญาตพิเศษ

           แห่งข้อที่ทรงบัญญัติห้ามไว้  ในบางข้อ  ได้ทรงอนุญาตยก

เว้นเป็นพิเศษไว้ก็มี  ในที่นี้  จักไม่ปรารภถึงข้อยกเว้นอันมีกำกับไว้

ในสิกขาบททั้งหลาย  จักกล่าวเฉพาะที่ทรงอนุญาตเป็นพิเศษแท้ ๆ

พึงเห็นดังต่อไปนี้ :-

           ๑.  ทรงอนุญาตเฉพาะอาพาธ  ยามหาวิกัฏ  ๔ มูตร  คูถ เถ้า

[ ไฟ ]  ดิน  ทรงอนุญาตแก่ภิกษุผู้ถูกงูกัด  แม้ไม่ได้รับประเคน  ฉัน

ก็ได้  ไม่เป็นอาบัติ.  น้ำข้าวใสที่เข้าใจว่าข้าวต้มไม่มีกาก และน้ำ

เนื้อต้มที่ไม่มีกากเหมือนกัน  เป็นของทรงอนุญาตแก่ภิกษุไข้  ที่เข้า

ใจว่าจำจะต้องได้อาหารในวิกาล.  น้ำข้าวต้มกับน้ำเนื้อต้มนี้ในบาลี

ไม่กำหนดชัดว่าทรงอนุญาตในวิกาล  แต่รู้ได้โดยนัย  เพราะว่าในกาล

ข้าวสุขและมังสะยังฉันได้  จะต้องทรงอนุญาตของ ๒  สิ่งนี้ไว้ทำอะไร

เพื่อจะให้ฉันได้ในวิกาล  จึงได้ทรงอนุญาตไว้.  ยังมีของที่ทรงอนุญาต

แก่ภิกษุไข้อยู่อีก  แต่ชื่อแปลไม่ออก หรืออาจแปลได้  แต่ท่านแก้

เป็นอย่างอื่นไปเสียแล้ว  จำงดไว้.

           ๒.  ทรงอนุญาตเฉพาะบุคคล  เช่นทรงอนุญาตอาหารที่เรออวก

ถึงลำคอแล้วกลับเข้าไป  แก่ภิกษุผู้มักเรออวก  ไม่เป็นอาบัติเพราะ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 171

วิกาลโภชนสิกขาบท  ข้อนี้ควรเป็นตัวอย่างแห่งภิกษุผู้กลืนเลือดที่

ออกในปากให้ล่วงลำคอเข้าไปโดยไม่รู้ตัว.  ถือกันมาว่า  อาบัตินี้

เป็นอจิตตกะ คราวนี้ก็แสดงถุลลัจจัย  เพราะกินเลือดมนุษย์  ถ้า

ไม่รู้เรื่อง  น่าจะเห็นไปว่าดุร้ายเสียจริง ๆ  ถือไม่เข้าเรื่องเข้าราว  น่า

รำคาญอยู่.  ภิกษุเจ็บเป็นแผลในปาก  มีบุพโพโลหิต  สมควรจะได้

รับอนุญาตเป็นพิเศษแท้.

           ๓.  ทรงอนุญาตเฉพาะกาล  เช่นทรงอนุญาตให้เจียวมันเปลว

ทำเป็นน้ำมันได้เอง  แต่ต้องทำให้เสร็จตลอดถึงกรองในกาลเช้าชั่วเที่ยง.

ข้อนี้ในบุพพสิกขาวัณณนา  จัดไว้ในส่วนทรงอนุญาตเฉพาะมันเปลว.

เพ่งความว่า  เปลงมันแม้แห่งสัตว์มีเนื้อเป็นอกัปปิยะ  ก็ทรงอนุญาต

ก็ถูกโดยบรรยายอย่างหนึ่ง.

           ๔.  ทรงอนุญาตเฉพาะถิ่น  เช่นทรงอนุญาตให้อุปสมบทด้วยสงฆ์

มีองค์ ๕  ให้อาบน้ำได้เป็นนิตย์  ให้ใช้รองเท้า ๔  ชั้นของใหม่ได้

ในปัจจันตชนบท.

           ๕.  ทรงอนุญาตเฉพาะยา  เช่นทรงอนุญาตน้ำมันเจือน้ำเมา

ไม่มากจนสีกลิ่นรสปรากฏให้ดื่มกินได้  และทรงอนุญาตให้ใช้กระเทียม

เข้ายาได้  แต่ห้ามไม่ให้ฉันเป็นอาหาร  นี้ควรเป็นตัวอย่างแห่งของ

อย่างอื่นที่มุ่งจะใช้เป็นยา.  ถ้ารู้จักถือเอาความกว้างขวางจะสะดวก

ในการรักษาพยาบาลภิกษุไข้อีกมาก.

                                    ขออารักขา

           เป็นธรรมเนียมของภิกษุ ไม่เป็นโจทก์ฟ้องความคฤหัสถ์ใน




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 172

ศาล  นี้เนื่องมาแต่พระบัญญัติห้ามภิกษุณี  วางโทษถึงสังฆาทิเสส

ความไม่พอใจเป็นถ้อยเป็นความกับเขา  ก็ดีอยู่  สมควรแก่สมณะ

ผู้อยู่สงบ  แต่ความเข้าใจของพระอาจารย์ทั้งหลายในชั้นหลังแรงเกิน

ไป  จนถึงมีผู้หนึ่งมาข่มเหง  นำความไปบอกเจ้าหน้าที่ระบุชื่อผู้ทำ

เพื่อขอความป้องกันก็ไม่ได้  ท่านเรียกว่าขออารักขาเจาะชื่อ.  หาก

เจ้าหน้าที่ลงโทษปรับผู้ทำผิด ท่านปรับภิกษุผู้บอกเป็นภัณฑไทย

คือจำจะต้องใช้ทรัพย์ที่เขาเสียไป  ถ้าภิกษุนั้นฟ้องขอให้เขาปรับค่า

เสียหายด้วย  และเขาทำตาม  ท่านปรับภิกษุถึงปาราชิก แรงกว่า

ต้นบัญญัติแห่งภิกษุณีเสียอีก  ท่านยอมเพียงให้บอกไม่ระบุชื่อ  เรียก

ว่าขออารักขาไม่เจาะชื่อ  หากเจ้าหน้าที่ลงโทษปรับผู้ทำผิด  หรือ

แม้เอาของที่หายไปคืนมาให้ด้วย  ท่านไม่เอาโทษแก่ภิกษุ  ทั้ง

ให้รับของคืนได้ด้วยการขออารักขาไม่เจาะชื่อนั้น  ในเวลาที่บ้าน

เมืองพะนอภิกษุอยู่ก็สำเร็จประโยชน์ ในเวลาอื่นเช่นในบัดนี้  ย่อม

ไม่สำเร็จประโยชน์.  ท่านวินิจฉัยอย่างนั้น  เป็นอันตัดพวกภิกษุไม่ให้

ได้รับความป้องกันของบ้านเมืองเลย  มีอะไรก็ไม่เป็นสิทธิ์แก่ตน

ใครนึกจะข่มเหงหรือแย่งชิงเอาไปก็ทำได้ตามใจ  ดูไม่เป็นคำวินิจฉัย

ของผู้เคยการเคยงานเลย.

           ในอนาปัตติวารแห่งสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ต้นแห่งภิกษุณี  กล่าว

ข้อยกเว้นไว้ว่า  ถูกคนทั้งหลายฉุดไปก็ดี  ขออารักขาก็ดี  บอกไม่

เจาชื่อก็ดี  ไม่เป็นอาบัติ.  ในข้อว่าถูกคนทั้งหลายฉุดไปนั้น  อธิบาย

ว่า  ถูกคนอื่นฟ้อง  ต้องเรียกหรือถูกจับไปแก้คดี  เช่นนี้เป็นจำเลยว่า




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 173

ความเพื่อเปลื้องตนได้.  ในข้อว่าขออารักขานั้น  อธิบายว่า  ถูกตน

อื่นข่มเหงหรือเบียดเบียน  ขอความป้องกันของบ้านเมือง  แม้เจาะชื่อ

คนผู้ข่มเหงหรือผู้เบียดเบียนนั้นก็ได้  ไม่เป็นอาบัติ  ในข้อว่าบอก

ไม่เจาะชื่อนั้น  อธิบายว่า  ถูกทำร้าย  แต่ไม่รู้ว่าใครทำ  จะบอกให้

ถ้อยคำไว้แก่เจ้าหน้าที่ก็ได้  หรือของหาย แต่ไม่รู้ว่าใครลัก  จะบอก

ตราสินไว้แก่เขาก็ได้  ไม่เป็นอาบัติ.  พระอรรถกถาจารย์เข้าใจบาลี

  คำหลังเป็นอันเดียวกันว่า  ขออารักขา  คือบอกไม่เจาะชื่อ  คราวนี้

ก็แก้จนเหลิง  ถ้าท่านผู้เรียงบาลีหมายความเช่นนั้น  น่าจะกล่าวว่า

ขออารักขาไม่เจาะชื่อ.  ส่วนทรัพย์ที่ได้คืนมาเพราะขออารักขานั้น

ภิกษุยังถือกรรมสิทธิ์อยู่  จักเป็นอะไรมี  ภิกษุยักยอกของที่เขาฝากไว้

ในมือ  เจ้าของยังถือกรรมสิทธิ์อยู่เพียงใด  ท่านยังไม่จัดเป็นอวหาร

เพียงนั้น  นี้ก็เหมือนกัน  ภิกษุยังถือกรรมสิทธ์อยู่ก็รับคืนได้.

           ย่นใจความในคำที่กล่าวมาว่า  ปกติของภิกษุไม่พอใจเป็นถ้อย

เป็นความกับใคร ๆ  ไม่แส่หาสาเหตุเล็กน้อยเป็นเครื่องปลูกคดีขึ้น

พอจะอดได้นิ่งได้ก็อดก็นิ่ง  แต่เมื่อถึงคราวจำเป็น  คือถูกคนอื่นฟ้อง

ก็เป็นจำเลยว่าความเพื่อเปลื้องตนได้  เมื่อถูกคนอื่นข่มเหงเหลืออด

เหลือทน  ก็บอกขออารักขา  แม้เจาะชื่อก็ได้  หรือถูกทำร้าย  แต่

ไม่รู้ว่าใครทำ  จะบอกให้ถ้อยคำไว้กับเจ้าหน้าที่ก็ได้  หรือของหาย

แต่ไม่รู้ว่าใครลัก  จะบอกตราสินไว้แก่เขาก็ได้  ไม่มีโทษในเพราะเหตุ

เหล่านี้.




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 174

                                          วิบัติ

           ในบาลีจำแนกวิบัติของภิกษุไว้ ๔  ประการ  คือ  สีลวิบัติ ๑

อาจารวิบัติ ๑ ทิฏฐิวิบัติ ๑  อาชีววิบัติ ๑.  ความเสียแห่งศีล  เรียก

ว่าสีลวิบัติ  ท่านจัดเอาการต้องปาราชิก  หรือสังฆาทิเสส  อันเป็น

อาบัติหนัก.  ความเสียมารยาท  ชื่อว่าอาจารวิบัติ  ท่านจัดเอาการ

ต้องลหุกาบัติ  ตั้งแต่ถุลลัจจัยลงมาจนถึงทุพภาสิต.  ความเห็นผิด

ธรรมผิดวินัย  ชื่อทิฏฐิวิบัติ  ท่านจัดเอาอาบัติบางอย่างที่ซ้ำข้างต้น

ความเสียแห่งการเลี้ยงชีพ  ชื่ออาชีววิบัติ  ท่านจัดเอาอาบัติบางเหล่า

ที่ต้องเพราะเหตุอย่างนั้น.  ท่านจำแนกวิบัติ ๔  ไว้ดังนี้  เพื่อ

เป็นทางระวังของภิกษุ  จะได้รักษาศีล  มารยาท  ความเห็น  และความ

เลี้ยงชีพให้หมดจด  เป็นผู้ไม่เศร้าหมองในทางเหล่านี้.  แต่ยังไม่กิน

ความกว้างพอจะป้องกันความเสียหายของภิกษุ เหมือนบาลีสีลนิทเทส

อันแก้บทว่า  ภิกษุมีศีล.  ในบาลีนั้นกล่าวว่า  ภิกษุเป็นผู้มีศีลสำรวม

แล้ว  ด้วยสำรวมในปาติโมกข์อยู่  ถึงพร้อมแล้วด้วยมารยาทและ

ที่เที่ยว  เห็นน่ากลัวอยู่โดยปกติในโทษมีประมาณน้อย  สมาทานศึกษา

อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.

           บทว่า  ถึงพร้อมด้วยมารยาทและที่เที่ยวนั้น  ถ้าหมายความว่า

ไม่ต้องอาบัติอันเป็นส่วนอาจารวิบัติ  ก็จะซ้ำกับบทว่าสำรวมแล้วด้วย

สำรวมในปาติโมกข์ ถ้าหมายเอาถึงพร้อมด้วยอาจาระอันเป็นส่วน

อภิสมาจาริกา  อันไม่ได้มาในปาติโมกข์  ก็พอไปได้  แต่เข้ากับบท

ว่าโคจรคือที่เที่ยวไม่สนิท.  ข้าพเจ้าเข้าใจว่า  บทว่า  ถึงพร้อมด้วย

มารยาทและที่เที่ยวนั้น  หมายเอาความประพฤติและการเที่ยวที่ไม่จัด




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 175

ว่าเป็นอาบัติ  แต่ไม่สมควรแก่ผู้ตั้งอยู่ในสังวร  เป็นทางรังเกียจของผู้

ได้เห็นได้ยิน  ดังจะแสดงเป็นอุทาหรณ์  ต่างว่าภิกษุเพ่งรโหนิสัชชะ

ยืนในที่กำบังกับมาตุคาม  จะปรับเป็นปาจิตติยะเพราะรโหนิสัชชะก็ไม่

ได้  แต่จะว่าไม่เป็นการเสียหายอะไรก็ไม่ได้เหมือนกัน  เช่นนี้ข้าพเจ้า

เข้าใจว่าเป็น   " อาจารวิปนฺโน "   เสียมารยาท  เป็นกัณหปักข์คือตรง

ข้ามข้างไม่ดีของบทว่า   " อาจารสมฺปนฺโน "   ถึงพร้อมด้วยอาจาระใน

บาลีสีลนิทเทสนั้น.  อีกอย่างหนึ่ง  ภิกษุแม้ไม่หวังจะดื่มสุรา  เข้าไปหา

คนหนึ่งในโรงสุรา เช่นนี้ก็น่าเกลียดอยู่  ไม่สมควรแก่ผู้เว้นสุรา  เป็น

" โคจรวิปนฺโน "  เสียในที่เที่ยว  เป็นกัณหปักข์ของบทว่า   " โคจร-

สมฺปนฺโน "   ถึงพร้อมด้วยที่เที่ยว.  ภิกษุมีอัธยาศัยสะเพร่า  พิจารณา

ไม่รอบคอบ  แต่ไม่ถึงเป็นอลัชชี  แลเห็นสั้น  อะไรไม่เป็นอาบัติแล้ว

เห็นใช้ได้  จึงหาทางหลีกเลี่ยงเพื่อจะทำด้วยไม่ต้องอาบัติ  จนมีข้อ

ความแนะนำเขียนลงในปกรณ์ทั้งหลายว่า   ทำอย่างนั้นเป็นอาบัติ  ทำ

อย่างนี้ใช้ได้  ความประพฤติอันเสีย  แต่ปรับอาบัติไม่ได้  ข้าพเจ้าเห็น

ว่าควรจัดเข้าในอาจารวิบัติด้วย.  ความเห็นปรารภธรรมวินัย  อันแผก

จากของคนอื่น  เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์  ที่ถูกตัดสินว่าเป็นผิด  จัด

เป็นทิฏฐิวิบัติได้.  การเลี้ยงชีพในทางน่าติเตียน  แต่ไม่เป็นอาบัติเพราะ

เหตุนั้น  ดังแสดงไว้ในวินีตวัตถุแห่งทุติยปาราชิกสิกขาบทว่า  ภิกษุ

พูดมุสาว่าจะรับไปให้ท่านผู้นั้นผู้นี้  ถือเอาของที่เขาเชื่อแล้วและให้เพื่อ

ประโยชน์ตนเอง  ท่านไม่ปรับเป็นอวหาร  เพราะเจ้าของเขาให้เอง

ปรับปาจิตติยะเพราะมุสาวาทเท่านั้น  และเรื่องในปัจจุบันมีภิกษุบางรูป




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 176

ไม่ได้รับนิมนต์ เข้าไปในการนิมนต์ของเขา  ปนกับภิกษุผู้รับนิมนต์

เจ้าของรู้ว่าพระเกินจำนวน  หรือบางทีรู้ด้วยว่าภิกษุนั้นเป็นผู้เกินจำนวน

แต่ถวายทานแก่เธอด้วย  เช่นนี้  ข้าพเจ้าเห็นว่าจัดเข้าในอาชีววิบัติได้.

           ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก  เป็นลัชชีมีละอาย  ใคร่ศึกษาในทางปฏิบัติ

พึงรักษาตนให้บริสุทธิ์จากวิบัติ   มีประการอันกล่าวแล้วนั้น.

                                         อโคจร

           บุคคลก็ดี  สถานก็ดี  อันภิกษุไม่ควรไปสู่  เรียกอโคจร  ท่าน

แสดงไว้   ประเภท  คือ  หญิงแพศยา ๑  หญิงหม้าย ๑  สาวเทื้อ ๑

ภิกษุณี ๑  บัณเฑาะก์ ๑  ร้านสุรา ๑.

           หญิงแพศยานั้น  หมายเอาหญิงหากินในทางกามทุกชนิดทั่วไป

แสดงอาการเปิดเผยก็ดี  แสดงอาการซ่อนเร้นก็ดี  อยู่เป็นโสดตาม

ลำพังตนก็ดี  อยู่ในหมู่ก็ดี  นับเข้าในชื่อหญิงแพศยาทั้งนั้นภิกษุ

คบหาชอบพอสนิทสนมกับหญิงแพศยา  ไปมาหาสู่กันเนือง ๆ ย่อมจะ

เป็นที่รังเกียจของสหธรรมิกด้วยกัน  ทั้งอันหญิงแพศยาย่อมจะจูงไปสู่

อำนาจ  ดังมีเรื่องเล่าถึงพระเถระรูปหนึ่งชื่อสุนทรสมุทร  เป็นบุตร

ของสกุลผู้มั่งคั่ง  แต่มีศรัทธาออกบวช  ทั้งยินดีในพรหมจรรย์ด้วย

มารดาบิดาหาอุบายจะให้ลาพรหมจรรย์ไม่สำเร็จ  หญิงแพศยาคนหนึ่ง

รับอาสา  ตามไปตั้งสำนักอยู่ในเมืองที่พระเถระอยู่  ในเวลาแรกคอย

ถวายบิณฑบาตในเวลาพระเถระออกเที่ยวภิกษาจาร  พอคุ้นกันเข้า

โดยฐานได้เคยรับบาตรใส่บาตรอยู่เนือง ๆ  คราวนี้นิมนต์ให้ฉันที่

เรือน  แต่แรกก็ให้ฉันในที่เปิดเผย  ต่อมาหญิงนั้นหาอุบายให้เด็กมาเล่น




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 177

บ้าง  ทำรกบ้าง  พออ้างเป็นเหตุ  นิมนต์พระเถระให้เข้าฉันในห้องเรือน

แสดงอาการสนิทสนมเข้าทุกที ยั่วยวนพระเถระในทางกาม  จนท่าน

รู้สึกตัวจึงได้หลีกไปเสีย  ท่านเป็นผู้มีสติและมั่นอยู่ในธรรมของภิกษุ

จึงเอาตัวรอด.  แต่มิใช่ว่าท่านสาปหญิงประเภทนี้เสียทีเดียว  จะรับ

นิมนต์ไปเป็นกิจลักษณะได้อยู่  มีพวกภิกษุรับนิมนต์แล้วในทำภัตกิจ

ที่เรือนของนางสิริมาเป็นตัวอย่าง  แต่ควรตั้งสติระวังมิให้เสียสังวร.

           หญิงหม้ายนั้น  หมายเอาทั้งหญิงมีสามีตาย  ทั้งหญิงมีสามีร้าง

คือหย่าจากกัน.  หญิงเทื้อนั้น  หมายเอาหญิงโสดหาสามีมิได้  อยู่

ลำพังตน.  ภิกษุคบหาสนิทสนมกับหญิง   ประเภทนี้  ไปมาหาสู่ไม่

เป็นกิจลักษณะหรือผิดเวลา  ย่อมจะเป็นที่รังเกียจของสหธรรมิกด้วย

กัน  ทั้งล่อแหลมต่ออันตรายแห่งพรหมจรรย์ด้วย  แต่มิใช่ว่าเป็นคน

ไม่ควรคบเสียเลย  จะรู้จักกัน  หรือไปมาหาสู่กัน  โดยเป็นกิจลักษณะ

ได้อยู่  แม้จะรับบำรุงของเขาก็ได้ แต่พึงประพฤติพอดีพองาม.  ดัง

ภิกษุรูปหนึ่ง  ผู้ไปสำนักอยู่   บ้านมาติกคามแคว้นโกศล  ได้รู้จักกัน

กับมารดาของนายบ้านนั้น  และได้รับบำรุงของเขา  ได้ความสะดวก

บำเพ็ญสมณธรรมสำเร็จ  คบกันพอดีพองาม  เช่นนี้ไม่มีโทษ.

           ภิกษุณี  เป็นพรหมจารินี  จัดว่าเป็นหญิงโสด  แม้เป็นสห-

ธรรมิกด้วยกัน  ก็ยังสมควรจะคบกันแต่พอดีพองาม  พระศาสดา

ได้ทรงบัญญัติสิกขาบทเนื่องด้วยการคบภิกษุณีไว้หลายมาตรา  ก็เพื่อ

จะได้ตั้งอยู่ในประมาณ.




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 178

           บัณเฑาะก์นั้น  หมายเอาบุรุษที่เขาตอนเสียแล้ว  ได้ยินว่า  ใน

ราชสำนักแห่งประเทศจีนและแห่งประเทศตุรกี ในกาลก่อนแต่นี้  ได้

ใช้พวกบัณเฑาะก์ชนิดนี้  เป็นคนเข้าข้างในออกข้างนอกได้  ในเรื่อง

จีนเรียกว่าขันที.  พวกบัณเฑาะก์นี้เป็นสวาทในหมู่บุรุษ จึงเป็นที่

รังเกียจของพวกภิกษุ  พังเห็นในสิกขาบทสังฆาทิเสสเนื่องด้วยหญิง

คงจัดบัณเฑาะก์เป็นวัตถุแห่งถุลลัจจัย  ในลำดับรองหญิงลงมา  ภิกษุ

ผู้คบหาสนิทสนมกับบัณเฑาะก์ ย่อมเป็นที่รังเกียจของสหธรรมิกด้วยกัน

ในทางเล่นสวาท.

           ร้านสุรานั้น  คือที่ขายสุรา  แม้โรงที่กลั่นสุราก็นับเข้าในชื่อนี้.

ภิกษุเข้าไปในร้านสุรา  เขาคงเข้าใจว่ามีความต้องการดื่ม  อันการ

ดื่มสุราย่อมเป็นอุปกิเลสคือมลทินของสมณะ  ย่อมจะเป็นที่รังเกียจ

ของผู้ได้เห็นหรือได้ยิน.  ร้ายฝิ่นโรงฝิ่นอันเป็นของเกิดขึ้นในภายหลัง

สงเคราะห์เข้าในสถานนี้   เป็นอโคจรของภิกษุเหมือนกัน.

           ภิกษุผู้ไปสู่บุคคลก็ดี  สถานก็ดี  ดังกล่าวแล้ว  ด้วยอาการไม่ดี

ไม่งาม  เป็นที่น่ารังเกียจ ได้ชื่อว่า   " โคจรวิปนฺโน "   แปลว่ามีโคจร

วิบัติ.  ภิกษุผู้เว้นอโคจร   นี้  จะไปหาใครหรือจะไปที่ไหน เลือก

บุคคล  เลือกสถานอันสมควร  ไปเป็นกิจลักษณะในเวลาอันควร

ไม่ไปพร่ำเพรื่อ  กลับในเวลา  ประพฤติตนไม่ให้เป็นที่รังเกียจของสห-

ธรรมิก  เพราะการไปเที่ยว  ได้ชื่อว่า   " โคจรสมฺปนฺโน "   แปลว่าผู้

ถึงพร้อมด้วยโคจร  เป็นหลักคู่กับมารยาทในสิลนิทเทส  รวมเรียก

ว่า   " อาจารโคจรสมฺปนฺโน "   ผู้ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร  เป็น




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 179

คู่กับคุณบทว่า   " สีลสมฺปนฺโน "   ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.  ภิกษุผู้ถึงพร้อม

ด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร  ย่อมประดับพระศาสนาให้

รุ่งเรืองแล.