วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมชั้นโท



                                              ความจริงแล้ว การเรียงความแก้กระทู้ธรรม ทั้งธรรมโท และเอก ไม่มีอะไรยุ่งยากซับซ้อน หากเราเคยผ่านธรรมตรีมาแล้ว ความแตกต่างมีเพียง กระทู้นักธรรมโทต้องเชื่อมสุภาษิตบาลีอย่างน้อย๒บท หนึ่งบทมีสี่บาท หนื่งบาทคือวรรคเดียว หนึ่งบทจึงมีสี่วรรค ดังนั้นผู้ที่เตรียมเข้าสอบนักธรรมโท ต้องท่องจำพุทธสุภาษิตอย่างน้อย ๓ บท ป้องกันตรงกับที่ออกข้อสอบหนึ่งบท ที่เหลืองสองบทไว้เซื่อมกระทู้  และท่องจำที่มาของสุภาษิต มาจากคัมภีร์ใด เล่มใดหน้าใด ให้แม่นยำอย่างน้อย ๓ บท ไม่ว่าสนามหลวงจะออกข้อสอบอะไรมาก็ตามไม่สำคัญ เพราะธรรมทั้งปวงของพระศาสดาสามรถเชื่อมถึงกันได้หมด ธรรมทั้งปวงเป็นหนึ่งเดียว เพียงใช้ปัญญาไตร่ตรองก็จะสามารถโยงหาพุทธสุภาษิตที่เราท่องจำมาได้แน่นอน
                              สำหรับนักธรรมเอก ก็ไม่ต่างอะไรมากมาย เพียงแค่ต้อง อธิบาย เชื่อมพุทธสุภาษิตให้ได้อย่างน้อย ๓ บท ดังนั้นเราก็ต้องท่องจำให้ได้ อย่างน้อย ๔ บท ทีเหลือก็ให้เราใช้สติปัญญาไตร่ตรองอธิบายให้โยงมาหากันให้ได้ก็เท่านั้เอง หลักการง่ายๆก็มีเพียงแค่นี้ ขอให้นักธรรมทุกท่านจงโชคดี
 คำชี้แจง
           ในการที่มีครูและนักเรียนโดยมาก  ต้องการให้มหามกุฏราช-
วิทยาลัย  พิมพ์หนังสือแบบประกอบการเรียนขึ้น  และในการที่ 
มหามกุฏราชวิทยาลัย  ให้พิมพ์วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมชั้นโทนี้นั้น
สมควรชี้แจงให้ทราบไว้ ดังนี้
           ๑.  หนังสือนี้  หลวงอรรถโยธินปรีชา ( กถิน  อรรถโยธิน
ป. ๖ )  ได้เรียบเรียงขึ้นมอบลิขสิทธิ์ให้มหามกุฏราชวิทยาลัย  ณ  เดือน
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๖  แต่ยังไม่ได้พิมพ์  จนผู้เรียบเรียงได้ถึงมรณะ
เมื่อ  พ.ศ. ๒๔๗๗  จึงได้พิมพ์ขึ้นในปีนี้.       
           ๒.  ผู้เรียบเรียงได้ให้ชื่อหนังสือไว้ก่อนว่า  " หนังสือเรียนรู้
และคู่คิด "  แต่ข้าพเจ้าได้เปลี่ยนว่า  " วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรม
ชั้นโท "  เพื่อให้ตรงกับเรื่อง  และได้แก้ไขถ้อยคำสำนวนในที่สมควร
และจำเป็น  พร้อมทั้งได้จัดการขอลิขสิทธิ์จากท่านเจ้าของวรรณกรรม
ที่นำมาเป็นตัวอย่างในหนังสือนี้  เพราะฉะนั้น  ข้าพเจ้าจึงมีส่วนในอายุ
ลิขสิทธิ์แห่งวรรณกรรมนี้ด้วย.
           ๓. จำนวนเลขภายในวงเล็บเหลี่ยม  เช่น  " ปญฺญา  เจนํ
ปสาสติ  [ ๒๕๖ ] "  เป็นต้น  หมายความว่า  เลขลำดับข้อในพุทธ-
ศาสนสุภาษิต เล่ม ๑  ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑๔  พ.ศ. ๒๔๗๗  ส่วนบันทึก
เชิงอรรถที่ลงไว้ว่า   " ดูคำแนะนำ ฯ  หน้า ๙๐ "  เป็นต้น  พึงทราบว่า
" คำแนะเรียงความแก้กระทู้ธรรมของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า  ฉบับ
พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๗๘  ของมหามกุฏราชวิทยาลัย. "
          ๔. ข้าพเจ้าขอแนะนำว่า  เมื่อครูได้ทราบวิธีเรียงความนี้แล้ว
ควรอธิบายสอนนักเรียนให้พิสดารต่อไปอีกชั้น ๑  ส่วนนักเรียนเมื่อได้
อ่านแล้ว  ควรหัดเรียนเชื่อมความให้ครูหรือผู้รู้ตรวจแก้ต่อไป.
           ๕.  หนังสือนี้ได้แสดงวิธีเรียงความเชื่อมสุภาษิตไว้ถูกต้อง  และ
ถี่ถ้วน  จึงเป็นที่เชื่อว่า  จักอำนวยประโยชน์แก่ครูและนักเรียนตาม
สมควร.
           ในที่สุดนี้  ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณท่านผู้ให้ลิขสิทธิ์วรรณกรรม
ซึ่งนำมาเป็นตัวอย่างในหนังสือนี้  และถ้าหนังสือนี้จักอำนวยกุศลสมบัติ
อย่างใดอย่างหนึ่งไซร้  ขอกุศลสมบัตินั้นจงสำเร็จเป็นหิตสุขแก่หลวง-
อรรถโยธินปรีชา  ตามคติวิสัยทุกประการ.
                                        พระมหาทองสืบ  จารุวณฺโณ
                                                              หัวหน้ากองตำรา
มหามกุฏราชวิทยาลัย
๓๐  พฤศจิกายน  ๒๔๗๘


                                                คำนำ
                                 ( พิมพ์ครั้งที่ ๕/๒๕๐๘  ) 
           ในการพิมพ์ครั้งนี้ได้ปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น  มีหลายแห่ง
ที่ต้องตัดออกแล้วแต่งใหม่ขึ้นแทน  บางแห่งก็ตัดออกเลย  บางแห่ง
ก็เพิ่มใหม่เข้ามา บางแห่งก็คงรูปเดิมไว้  พึงเห็นเช่น :-
           ก.   ความเบื้องต้น  ตัดสำนวนเก่าออก  แต่งใหม่ขึ้นแทนบ้าง
คงรูปเดิมไว้บ้าง  เพราะบางตอนขัดกันกับวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
บางตอนก็ยังเข้ากันได้.
           ข.  องค์ที่ ๑ ตัดสำนวนเก่าออกหมด  แต่งใหม่แทน  เพราะขัด
กับวิธีการปัจจุบันเกือบทั้งหมด  จึงตัดออก  แต่งใหม่โดยเลียนแบบเก่า
บ้างในที่ซึ่งพอจะเข้ากันไป.
           ค.  องค์ที่ ๒  คงรูปเดิมไว้  เปลี่ยนแต่คำพูดบางคำให้สอดคล้อง
กับแบบใหม่  และเพิ่มหลักสำคัญของการแต่งทำนองเทศน์ข้อ ( ๑ )
กับข้อ ( ๘ )  เข้ามา.
           ฆ.  องค์ที่ ๓  คงรูปเดิมไว้  เปลี่ยนและเสริมคำพูดบางคำ  และ
ตัดข้อความตอนปลายขององค์นี้ออกเสียครึ่งข้อ ๔  เพราะปัจจุบันนี้ไม่ได้
ใช้ตามแบบนั้นแล้วและได้เพิ่มอธิบายคำสั่งของสนามหลวงบางตอน
กับข้อที่นักเรียนจะต้องใส่ใจเป็นพิเศษเข้ามา.
           ง.  บทเรียนคงรูปเดิมไว้ทั้งหมด.
           จ.  คำสำหรับเชื่อม  เปลี่ยนแต่หัวข้อเรื่องให้เข้ากับแบบใหม่
นอกนั้นคงรูปเดิมไว้.
           กองตำรา ฯ  ขอแสดงความขอบใจพระมหาอุบล  นนฺทโก  ป.ธ. ๘
วัดบวรนิเวศวิหาร ผู้รับภาระอันนี้ไปจัดทำให้ตามความประสงค์ของ
แผนกตำรา  หวังว่า  หนังสือนี้คงอำนวยประโยชน์แก่บรรดาครูและ
นักเรียนธรรมสืบต่อไป.
                                        กองอำนวยการ
มหามกุฏราชวิทยาลัย
กรกฎาคม  ๒๕๐๘



แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 1
                          วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมชั้นโท

                                       ความเบื้องต้น 
           ตั้งแต่สนามหลวงแผนกธรรม  ได้ประกาศให้ใช้หนังสือพุทธ-
ศาสนสุภาษิต  เล่ม ๒  เป็นหลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโทแล้ว
เวลาออกข้อสอบไล่ท่านออกเพียงข้อเดียว  แต่มาในรูปคาถาคือครบ
ทั้ง  ๔ บาท  ( อันต่างจากสมัยก่อนซึ่งท่านออกไม่ครบคาถา  คือคัดเลือก
ออกมาเพียง ๒ บาท  ท่านเรียกว่า ๒ ข้อ )   มีคำสั่งบังคับไว้ว่า
                   " แต่งอธิบายเป็นทำนองเทศนาโวหาร  อ้างสุภาษิตอื่น
              มาประกอบไม่น้อยกว่า ๒ ข้อ  และบอกชื่อคัมภีร์ที่มาแห่ง
              สุภาษิตนั้นด้วย   ห้ามอ้างสุภาษิตซ้ำข้อกัน  แต่จะอ้างซ้ำคัมภีร์
              ได้ไม่ห้าม  สุภาษิตที่อ้างมานั้นต้องเรียงเชื่อมความให้สนิท
              ติดต่อสมเรื่องกับกระทู้ตั้ง
                   ชั้นนี้  กำหนดให้เขียนลงในกระดาษสอบ  ตั้งแต่ ๓ หน้า
              ( เว้นบรรทัด )  ขึ้นไป "
           ตามคำสั่งนี้ จะเห็นได้ว่าในการเรียงความแก้กระทู้ธรรม น.ธ.
โท  และ  ธ.ศ.  โท  นั้น  มีข้อสำคัญที่นักเรียนจะพึงกำหนดหมาย  ๓
ประการ  คือ :-
           ๑.  ต้องเรียงเชื่อมความให้สนิทติดต่อสมเรื่องกับกระทู้ตั้ง.
           ๒.  แต่งอธิบายเป็นทำนองเทศนาโวหาร.
           ๓.  อ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบไม่น้อยกว่า ๒ ข้อ   และบอกชื่อ


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 2
           คัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิตนั้นด้วย  ไม่อ้างสุภาษิตซ้ำข้อกัน  แต่
           อ้างซ้ำคัมภีร์ได้. 
           ทั้ง ๓ ประการนี้  เป็นองค์แห่งการเรียนความแก้กระทู้ธรรม
น. ธ. โท  และ  ธ. ศ. โท  ในการแต่งของนักเรียน  ถ้าไม่ครบองค์ ๓
คือขาดเสียแต่องค์ใดองค์หนึ่ง  หรือเพียงแต่บกพร่องเท่านั้น  เป็นอัน
ใช้ไม่ได้  เพราะฉะนั้น  นักเรียนจะต้องตระหนักในองค์ทั้ง ๓ นั้นให้
มาก  และองค์ที่ต้องตระหนักให้มากที่สุด  ก็คือองค์ที่ ๑   คือเชื่อม
ความ  เพราะเป็นองค์ที่สำคัญ  เป็นองค์ที่เป็นเครื่องแสดงความรู้และ
ความสามารถของนักเรียน  ในคราวสอบซ้อมและสอบไล่  ครูและ
คณะกรรมการย่อมเพ่งเล็งถึงองค์นี้ก่อนทีเดียว  และเพ่งเล็งมากที่สุด
ส่วนอีก ๒ องค์นอกนี้  ถึงจะสำคัญเหมือนกันก็จริง  แต่ยังเป็นรอง
องค์ที่ ๑  เพราะฉะนั้น ในการเรียน  นักเรียนต้องพยายามฝึกฝนองค์
ที่ ๑  ให้มากที่สุด  และให้ชำนิชำนาญที่สุด  ที่กล่าวมาแล้วนี้  ดูเป็น
ที่ไม่เอื้อเฟื้อต่อองค์ที่ ๒  และองค์ที่ ๓ เลย  อันที่แท้หาเป็นเช่นนั้นไม่
ความมุ่งหมายมีอยู่ว่า  ถ้าได้ฝึกฝนองค์ที่ ๑ มากที่สุด  และชำนิ
ชำนาญที่สุดแล้ว  ก็เป็นอันได้ฝึกฝนองค์ที่ ๒ และที่ ๓ ด้วยเหมือนกัน
เพราะองค์ทั้ง ๓  นั้นเกี่ยวเนื่องกันอยู่ในตัว  ซึ่งนักเรียนคงจะทราบได้
ในภายหลัง.
           แต่นี้  จักบรรยายองค์ทั้ง  ๓  นั้นให้พิสดารออกไปสักเล็กน้อย
เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ไว้  และเพื่อให้เป็นคู่คิดสำหรับการเรียงความ
แก้กระทู้ธรรม  หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มาก็น้อย.


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 3
                                                องค์ที่ ๑ 
              เรียงเชื่อมความให้สนิทติดต่อสมกับเรื่องกระทู้ตั้ง
           การที่จะเข้าใจในองค์ที่ ๑ นี้  นักเรียนพึงศึกษาให้เข้าใจ ภาพ
สังเขป  ของกระทู้สำเร็จรูปเสียก่อน  ดังต่อไปนี้
              กระทู้ตั้ง
                                        คำเริ่มต้น
                                        ประเด็นที่ ๑
๑  เบื้องต้นตีความหมาย        ประเด็นที่ ๒
                                       
                                        อธิบายประเด็นที่ ๑                     ๑  ที่เชื่อมสำคัญที่สุด
                                        อ้างสุภาษิตมาประกอบ
                                        อธิบายสุภาษิตที่อ้าง                     ๒  ที่เชื่อม
                                        น้อมเข้าหาประเด็นที่ ๑ อีก
                                        นำไปเชื่อมกับประเด็นที่ ๒             ๓       "
๒  ท่ามกลางขยายความ        อธิบายประเด็นที่ ๒
                                        อ้างสุภาษิตมาประกอบ             ๑  ที่เชื่อมสำคัญที่สุด
                                        อธิบายสุภาษิตที่อ้าง
                                        น้อมเข้าหาประเด็นที่ ๒ อีก             ๒  ที่เชื่อม
                                        นำไปเชื่อมกับประเด็นที่ ๓             ๓       "
                                        ( ถ้ามี )


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 4
                                        เก็บใจความที่สำคัญทุก ๆ  ประเด็นมาเรียงย่อติดต่อ
                                        เป็นเรื่องสั้นบรรจุความมาก.
๓  ที่สุดสรุปความ                สมาทปนะ  ชักชวนให้ปฏิบัติ. 
                                        ชักกระทู้ตั้งมารับสมอ้างเป็นการย้ำหัวตะปูให้แน่น.
                                          อธิบายภาพสังเขป
           เมื่อนักเรียนเขียนกระทู้ตั้งพร้อมทั้งคำแปลเรียบร้อยแล้ว  ควร
เขียนคำเริ่มต้นเป็นการปรายหน้าธรรมาสน์สักเล็กน้อยก่อน  ประมาณ
๒-๓  บรรทัดเป็นอย่างมาก.
           อันดับแรก  ก่อนที่จะเรียงความ  นักเรียนพึงทำความเข้าใจใน
เรื่องของกระทู้ตั้งที่ท่านให้มานั้นโดยรอบคอบ ซึ่งเรียกกันว่า  ตีความ
หมาย  ตีให้แตกว่าในกระทู้นั้นมีธรรม  มีบุคคล  มีเหตุ  มีผล  เกี่ยว
เนื่องกันอย่างไรบ้าง  แล้วคิดหาข้อธรรมที่จะนำมาแสดงพร้อมทั้งข้อ
อ้างหรือตัวอย่างสาธก  แล้วจึงวางเค้าโครงหรือหลักเกณฑ์แยกเป็น
ประเด็น ๆ อย่างน้อย ๒  ประเด็น อย่างมาก  ไม่มีจำกัดกี่ประเด็นก็ได้
การวางหลักเกณฑ์นี้ประดุจการวางแผนผังสร้างอาคารฉะนั้น.
           อันดับที่ ๒  นักเรียนพึงพิจารณาเค้าโครงหรือหลักเกณฑ์ที่ตน
วางไว้ว่าควรจะแต่งเติมเสริมต่ออย่างไร  ตอนนี้เรียกกันว่า  ขยายความ
แล้วก็แต่งขยายไปตามเค้าโครงนั้นเฉพาะประเด็นที่ ๑ ก่อน  การขยายนี้
ต้องขยายให้เด่นชัดยิ่ง ๆ ขึ้น   แต่ระวังอย่าให้พลความเหลือเฟือเป็น
น้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง  การจะขยายให้เด่นชัดนี้จำต้องมีหลักมุ่งไป
หาหลักคือสุภาษิต  เราจะเอาสุภาษิตบทใดมาอ้างก็ต้องพูดให้เนื้อความ


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 5
สนิทสนมกลมกลืนกับบทนั้น  แล้วอ้างคือวางสุภาษิตนั้นยืนยันไว้ 
แล้วอธิบายสุภาษิตที่อ้างนั้นให้เนื้อความชัดเจน  ไม่ใช่ยกมาวางไว้
เฉย ๆ  แล้วพ้นไป   และอธิบายน้อมเข้าหาประเด็นที่ ๑ อีก   เพื่อให้
เนื้อความสนิทกับเรื่องของกระทู้ตั้ง   เมื่อเชื่อมความในประเด็นนี้
เรียบร้อยแล้ว  พึงพลิกกลับไปดูเค้าโครงประเด็นที่ ๒  ว่าตนวางไว้
อย่างไร  แล้วก็พูดชักเนื้อความจากประเด็นที่ ๑  นำไปเชื่อมกับประเด็น
ที่ ๒  และอธิบายขยายความในประเด็นที่ ๒  ให้เด่นชัดยิ่ง ๆ  ขึ้น
อธิบายติดต่อกันไปโดยนัยนี้ทุก ๆ ประเด็น  ( โปรดสังเกตภาพให้ดี )
การอธิบายขยายความไปตามเค้าโครงหรือหลักเกณฑ์เช่นนี้  มีอุปมาดั่ง
นางช่างผู้ฉลาดสามารถสร้างอาคารได้ตามแผนผังฉะนั้น.
           อันดับที่ ๓  เมื่อนักเรียนมาแก้ขยายความให้กว้างออกไปชัดเจน
ดีทุก ๆ  ประเด็นแล้ว  ในที่สุดต้องวกกลับเข้าหาจุดเดิมอีก  ตอนนี้
เรียกว่า  สรุปความ  คือนักเรียนพึงพลิกกลับไปอ่านดูตั้งแต่ต้นจนตลอด
แล้วเก็บใจความที่สำคัญทุก ๆ ประเด็นมาเรียงโดยย่อ ๆ  ติดต่อเป็นเรื่อง
สั้น  แต่บรรจุความมากให้พอเหมาะพอสมกับกระทู้ตั้ง  แล้วยักย้าย
สำนวนชวนให้ผู้อ่านผู้ฟังหรือผู้ใคร่ในธรรมเกิดความเชื่อความเลื่อมใส
สนใจปฏิบัติ  แล้วยกเอากระทู้ตั้งมารับสมอ้างเป็นการย้ำหัวตะปูให้แน่น
กระชับเข้าอีกครั้งหนึ่ง  การสรุปความเช่นนี้ก็เพื่อจะให้รูปความแห่ง
กระทู้งดงามยิ่งขึ้น  เปรียบประดุจการสร้างอาคารเสร็จแล้ว  หากยัง
ไม่ได้ทาสีก็ยังดูไม่งาม  ต่อเมื่อได้ทาสีให้พอเหมาะพอควรก็จะชวนให้
น่าดูน่าชมยิ่งขึ้นฉะนั้น.


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 6
           กระทู้ที่แต่งได้ตามภาพสังเขปดังกล่าว  ย่อมได้ชื่อว่ามีความงาม 
๓ อย่าง  คือ :-                อาทิกลฺยาณํ                        งามในเบื้องต้น
                                มชฺเฌกลฺยาณํ                        งามในท่ามกลาง
                                ปริโยสานกลฺยาณํ                งามในที่สุด.
           
 

                           ตัวอย่างโดยสังเขป

              อตฺตโน  จ  ปเรสญฺจ                       อตฺถาวโห  ว  ขนฺติโก

              สคฺคโมกฺขคมํ  มคฺคํ                        อารุฬฺโห  โหติ  ขนฺติโก

           ผู้มีขันติ  ย่อมนำประโยชน์มาทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น  ผู้มีขันติชื่อว่า

           เป็นผู้ขึ้นสู่ทางเป็นที่ไปสวรรค์และนิพพาน.

           บัดนี้จะได้อธิบายขยายเนื้อความแห่งกระทู้ธรรมภาษิตที่ลิขิตไว้

ณ เบื้องต้นพอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและปฏิบัติ  สำหรับผู้สนใจ

ในทางธรรมเป็นลำดับไป

           ในธรรมภาษิตนี้มีข้อความเป็น ๓  ประเด็น  คือ ๑. กล่าวถึง

บุคคลผู้มีขันติ  ๒. สรรเสริญผู้มีขันติว่าเป็นผู้นำประโยชน์คือความสุข

ความเจริญมาให้ทั้งแก่ตนและผู้อื่น  ๓. ผู้มีขันติมีโอกาสได้ไปสู่สวรรค์

ตลอดถึงพระนิพพาน.  ประเด็นแรกเป็นเหตุของ ๒ ประเด็นหลัง,

๒ ประเด็นหลังเป็นผลของประเด็นแรกดังจะแยกขยายอธิบายเนื้อ

ความเป็นข้อ ๆ  ต่อไปนี้ :-

           บรรดาประเด็นทั้ง ๓ นั้น   เฉพาะประเด็นที่ ๑  ท่านกล่าวถึง

บุคคลผู้มีขันติ  คือผู้ตั้งอยู่ในขันติธรรมนั่นเอง  ก็คำว่าขันติธรรม

แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 7

ธรรมคือขันตินั้นแปลว่าความอดทน  หมายถึงอดกลั้นต่อหนาวร้อนหิว

กระหายเป็นต้น  เรียกว่า  ทนตรากตรำ  เพราะคนเราเกิดมาจำต้องประกอบ

กรณียะกิจตรากแดดตรำฝนทนหิวกระหวายเป็นต้นเพื่อการครองชีพ ๑  ต่อ

คลองถ้อยคำที่ผู้อื่นกล่าวมาไม่ดี  เรียกว่า  ทนกระทบกระทั่ง  หรือ  ทน

เจ็บใจ  เพราะธรรมดามนุษย์ผู้อยู่รวมกันเป็นหมู่ ย่อมจะมีการกระทบ

กระทั่งกันบ้าง  อันเป็นเหตุนำมาซึ่งความเจ็บช้ำน้ำใจจำต้องอดทน 

ให้อภัยแก่กัน  เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ๑   และต่อทุกขเวทนา

ที่หยาบช้ากล้าแข็งอันเกิดในสรีระ  ซึ่งให้เกิดความไม่สำราญบานใจ

จนถึงขนาดปลิดชีวิตเสียได้  เรียกว่า  ทนลำบาก  เพราะธรรมดา

ร่างกายต้องวิโรธิปัจจัยมีแดดฝนเป็นต้น  ย่อมจะเกิดการเจ็บไข้ได้ทุกข์

ขึ้นบ้าง จึงจำต้องอดทน ไม่ทุรนทุรายต่อทุกขเวทนาจนเกินไป

เพื่อสะดวกแก่การพยาบาล ๑  ขันติทั้ง ๓ นี้มีอธิวาสนะความยังให้อยู่ทับ

เป็นลักษณะ  คือ  ไม่แสดงกายวิการเป็นต้นให้ปรากฏในเมื่อกระทบ

หนาวร้อนเป็นต้น  จึงเรียกว่าอธิวาสนขันติ  ความอดทนด้วยการยับยั้ง

และยังมีขันติที่สูงขึ้นไปกว่านี้อีก  เรียกว่า ตีติกขาขันติ  ขันติคือความ

ทนทานต่ออารมณ์ที่มายั่วต่าง ๆ  อันนี้จัดเป็นขันติชั้นสูง  เพราะหมาย

ถึงขันติทางจิตใจที่แข็งแกร่ง  ไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ที่มายั่วให้ชอบ

ก็ตามให้ชังก็ตามให้หลงก็ตาม  สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงมี

พระขันติอย่างนี้  ดังที่ทรงปรารภถึงพระองค์เองเปรียบเทียบให้พระ-

อานนท์ฟัง  แปลความว่า  เราทนทานคำล่วงเกินได้  เหมือนอย่างช้างศึก

ที่ทนทานลูกศรซึ่งตกจากแล่งมาต้องกายในสนามรบ  เพราะว่าคนส่วน

แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 8

มากเป็นผู้ทุศีลดังนี้.  ก็แล  ขันติซึ่งประการดังกล่าวมานี้แหละ  จัด

เป็นประธาน  เป็นตัวเหตุให้คุณธรรมอื่น ๆ  บังเกิดและเจริญขึ้นตาม ๆ

กัน  สมด้วยวจนประพันธ์อันมีมาในสวดมนต์ฉบับหลวงว่า  

              สีลสมาธิคุณานํ                  ขนฺติ  ปธานการณํ

              สพฺเพปิ  กุสลา  ธมฺมา        ขนฺตฺยา  เยา  วฑฺฒนฺติ  เต

           ขันติเป็นประธานเป็นเหตุแห่งคุณคือศีลและสมาธิ  กุศลธรรม

ทั้งปวงย่อมเจริญเพราะขันติธรรมเท่านั้น  ดังนี้.

           มีอธิบายว่า  คุณธรรมมีศีลและสมาธิเป็นต้นจะเกิดขึ้นดำรงอยู่

หรือเจริญสืบต่อไปได้  ก็เพราะอาศัยขันติเป็นตัวสำคัญ  หากขาดขันติ

เสียแล้ว  คุณธรรมดังกล่าวจะเกิดขึ้นมิได้  แม้ที่เกิดขึ้นแล้วก็ไม่อาจ

ที่จะดำรงอยู่ได้  ย่อมเสื่อมสลายไปในที่สุด  ต่อเมื่อบุคคลมาประกอบ

คือตั้งอยู่ในขันติธรรมดังกล่าวมา  ท่านจึงเรียกว่า ขนฺติโก  ผู้มีขันติ

กล่าวคือ  ผู้มีความอดกลั้นต่อความตรากตรำอันเกิดแต่การประกอบ

อาชีพต่อความเจ็บใจอันเกิดแต่คำเสียดแทงต่อทุกขเวทนาอันเกิด

แต่ความเจ็บไข้ได้ป่วย  และมีความทนทานต่ออารมณ์ที่มายั่วยุต่าง ๆ

ได้  นี้เป็นอธิบายในประเด็นที่ ๑  เมื่อมาทราบเนื้อความในประเด็น

ที่ ๑  เช่นนี้แล้ว พึงทราบความในประเด็นที่ ๑ ต่อไป.

           ในประเด็นที่ ๒  ซึ่งว่าย่อมนำประโยชน์มาทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น

นั้น  มีอธิบายว่า  บุคคลผู้มีขันติธรรมประจำใจดังกล่าวนั้น จะประกอบ

กิจการใด ๆ   ก็อดทนกระทำไปด้วยความเข้มแข็งไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค

และภยันตรายใด ๆ  ทั้งสิ้น   ถึงจะมีใครมาคิดร้ายหมายเวรทำให้เกิด

แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 9

ทุกข์จากด้วยประการต่าง ๆ  ก็ไม่คิดหาทางทำร้ายตอบแทน  แต่ยับยั้ง 

ไว้ด้วยขันติและเมตตา  พิจารณาโดยรอบคอบ  แสวงหาความดีความ

ชอบของเขา  ไม่คิดในทางชั่วร้ายหมายอาฆาต  อันจะก่อให้เกิดความ

วิวาทบาดหมาง  ซึ่งเป็นทางก่อเวรภัยแก่กันและกันไม่มีวันสิ้นสุด  เมื่อ

หยุดใจไว้ได้  เวรภัยทั้งหลายอันเป็นฝ่ายอนัตถะก็จะสงบระงับดับสูญไป

สมด้วยเทศนานัยวิธีซึ่งมีมาในสวดมนต์ฉบับหลวง  อีกบทหนึ่งว่า

              เกวลานํปิ  ปาปานํ                ขนฺติ  มูลํ  นิกนฺตติ

              ครหกลหาทีนํ                        มูลํ  ขนติ  ขนฺติโก

           ขันติย่อมตัดรากเง่าแห่งบาปทั้งสิ้น  ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดราก

แห่งความติเตียนและความวิวาทเป็นต้นได้  ดังนี้

           ธรรมภาษิตบทนี้ชี้ให้เห็นว่า  บาปคือความชั่วร้ายที่เป็นไปทาง

กาย  เรียกว่ากายทุจริตเป็นต้น  ย่อมจะเกิดขึ้นจากอกุศลมูลมีโลภะ

เป็นต้น  เมื่ออกุศลมูลเกิดขึ้นแล้วจำต้องใช้ขันติเป็นเครื่องตัดบั่นทอน

ให้สงบ  เมื่ออกุศลมูลสงบลงราบคาบ  บาปทั้งหลายกล่าวคือความ

ชั่วร้ายอันไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลทั้งแก่ตนและคนอื่นก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้

ดังนั้นผู้ที่มีขันติเป็นวิหารธรรมประจำใจ  จึงชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งความ

ตำหนิติเตียนเสียได้  เพราะตนเองก็ติเตียนตนเองว่าเป็นคนชั่วโดยศีล

เป็นต้นไม่ได้ บัณฑิตผู้รู้ใคร่ครวญทั้งหลายก็ติเตียนไม่ได้  และได้

ชื่อว่าขุดรากแห่งความทะเลาะวิวาทเสียได้  เพราะได้ใช้ขันติอดกลั้นทน

ทานต่อความชอบ  ความชัง  และความเข้าใจผิดกันแก่กันและกันเสียได้

เมื่อขุดรากแห่งความชั่วอันเป็นฝ่ายอนัตถะ  คือสิ่งไม่เป็นประโยชน์

แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 10

เสียได้แล้ว  รากแห่งความดีงามซึ่งเป็นอัตถะคือสิ่งเป็นประโยชน์กล่าว

คืออโลภะเป็นต้น  ย่อมเกิดขึ้นในจิต  เมื่อเกิดขึ้นแล้วเขาก็ย่อมทำพูด

คิดแต่ในทางดีที่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนและคนอื่น  ซึ่งเรียกว่ากายสุจริต

เป็นต้น  ก็ย่อมนำมาซึ่งผลคือความสุขความเจริญ  ทั้งแก่ตนและคนอื่น

ทั้งสองฝ่าย  นี้เป็นอธิบายในประเด็นที่ ๒  เมื่อทราบอธิบายในประเด็น

ที่ ๒ เช่นนี้แล้ว  พึงทราบอรรถาธิบายในประเด็นที่ ๒ ต่อไป. 

           ในประเด็นที่ ๓  ที่ว่า  ผู้มีขันติชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์

และนิพพานนั้น  อธิบายว่า  ผู้มีขันติไม่ใช่จะนำประโยชน์อย่างธรรมดา

สามัญในมนุษยโลกนี้  ที่เรียกว่า  มนุษย์สมบัติ  มาอย่างเดียวเท่านั้น

แต่ยังสามารถนำประโยชน์อย่างกลางซึ่งเรียกว่าสวรรค์สมบัติ  และ

ประโยชน์อย่างสูงซึ่งเรียกว่านิพพานสมบัติมาได้ด้วย  เพราะเขาได้ดำเนิน

ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน  กล่าวคือศีล สมาธิ  และปัญญา  โดย

ที่มาใช้ขันติระงับยับยั้งทนทานในอารมณ์ต่าง ๆ   ไม่เป็นไปในอำนาจ

แห่งอกุศลมูล  ทำกุศลมูลให้เกิดมีขึ้นในจิต  แล้วประพฤติสุจริตทาง

กายวาจาอันจัดเป็นศีล  ผู้มีขันติตั้งมั่นอยู่ในศีล  ย่อมได้รับอานิสงส์

คือเกียรติคุณอันงามในโลกนี้ชั้นหนึ่งแล้ว  ตายไปยังได้ความบันเทิงใจ

ในสวรรค์อีกชั้นหนึ่งเป็นแน่แท้  สมด้วยกระแสสาวกภาษิต  อันมีมา

ในขุททกนิกาย  เถรคาถาว่า

              อิเธว  กิตฺตึ  ลภติ                      เปจฺจ  สคฺเค  จ  สุมโน

              สพฺพตฺถ  สุมโน  ธีโร                สีเลสุ  สุสมาหิโต

           ผู้มีปรีชาตั้งมั่นในศีล  ย่อมได้ชื่อเสียงในโลกนี้  ละไปแล้วก็ย่อม

แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 11

ดีใจในสวรรค์  ชื่อว่าย่อมดีใจในที่ทั้งปวง  ดังนี้. 

           ก็ผู้มีปรีชาในภาษิตนี้  ได้แก่ผู้ฉลาดรู้จักใช้ขันติธรรม  ดำรง

อยู่ในศีลอันเป็นมรรคไปสู่สวรรค์  ก็ย่อมจะได้ความสุขจิตบันเทิงใจ

ในที่ทั้งปวง  คือทั้งมนุษยโลกและสวรรคโลก  ไม่ใช่แต่เท่านั้น  ผู้มี

ขันติทำให้บริบูรณ์ในศีลแล้ว  จิตใจย่อมสงบเป็นสมาธิไม่ฟุ้งซ่านด้วย

ปริยุฏฐานกิเลสอันเป็นเหตุมัวหมอง  แต่นั้นปัญญาชั้นสูงก็จะผุดขึ้น

หยั่งเห็นสภาวธรรมตามที่เป็นจริง  เขาก็จักเกิดความเบื่อหน่ายคลาย

ความพอใจในกองทุกข์ทั้งมวล  เมื่อคลายความพอใจเสียได้นั่นแหละ

เป็นทางแห่งโมกขะคือความหลุดพ้นจากทุกข์  ซึ่งท่านกล่าวว่านิพพาน

เพราะดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ได้โดยประการทั้งปวง  ผู้มีขันติชื่อว่าขึ้น

สู่ทางสวรรค์และนิพพานด้วยประการฉะนี้.

           รวมความตามที่แสดงมานี้ก็จะเห็นได้ว่า  บุคคลผู้มีขันติ  คือ

ผู้อดกลั้นต่อความตรากตรำ  ในเพราะกระทำการงานเพื่อเลี้ยงชีพก็ดี

ต่อความเจ็บใจอันเกิดแต่คำเสียดแทงก็ดี  ต่อทุกขเวทนาอันเกิดแต่

ความเจ็บไข้ได้ป่วยเพราะความแปรปรวนแห่งสังขารก็ดี  และทนทาน

ต่ออิฏฐารมณ์  หรืออนิฏฐารมณ์ที่มายั่วหรือยุให้ชอบหรือให้ชังหรือให้

หลงไหลเข้าใจผิดก็ดี ย่อมจะประกอบกรณียกิจอันเป็นเหตุนำประโยชน์

สุขสมบัติในทิฏฐธรรมกล่าวคือมนุษย์สมบัติมาให้แก่ตน  โดยยังตนให้

ตั้งอยู่ในกองแห่งโภคสมบัติและให้ตั้งมั่นอยู่ในศีล  ทั้งได้นำประโยชน์

มาให้ผู้อื่นโดยที่ตนรู้จักยับยั้งชั่งใจ  ไม่มุ่งร้ายหมายเวรก่อทุกข์สร้างโทษ

ให้บังเกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยการประหัตประหารบ้าง  หักล้างผลประโยชน์

แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 12
ของผู้อื่นด้วยการขโมยบ้างเป็นต้นผลอันยิ่งกว่านั้นคือความรื่นเริง

บันเทิงใจในสวรรค์อันล้วนแต่เป็นทิพย์  ที่เรียกกันว่าสวรรค์สมบัติ  

ตนก็จะต้องได้รับในเมื่อมีศีลสมาธิบริบูรณ์  และผลประโยชน์อย่างสูง

สุดคือพระนิพพานสมบัติ  ตนก็จะต้องเข้าถึงในเมื่อมีปัญญาเต็มรอบ

ครบถ้วน  เป็นอันว่าผู้มีขันติย่อมได้ประสบสุขสมบัติ ๓ อย่าง   อย่างใด

อย่างหนึ่ง  คือ  มนุษย์สมบัติ  สวรรค์สมบัติ  และนิพพานสมบัติ

โดยสมควรแก่กำลังแห่งการปฏิบัติของตน.

           เพราะฉะนั้น   ท่านสาธุชนผู้หวังความสุขความเจริญ  ควรอบรม

ขันติธรรมให้เกิดมีขึ้นในตน แต่นั้นก็จักได้รับผลกล่าวคือประโยชน์ ๓

ตามที่แสดงมา   แม้จะไม่ได้ครบทั้ง ๓  ได้เพียงแต่อย่างเดียวหรือสอง

อย่างก็ยังนับว่าเป็นการดี  เมื่อได้เช่นนี้ก็จะสมกันกับกระทู้ธรรมภาษิต

ที่ได้ลิขิตไว้เป็นนิกเขปบท ณ  เบื้องต้นนั้นว่า

              อตฺตโน  จ  ปเรสญฺจ                อตฺถาวโห  ว  ขนฺติโก

              สคฺคโมกฺขคมํ  มคฺคํ                  อารุฬฺโห  โหติ  ขนฺติโก

           แปลว่า  ผู้มีขันติย่อมนำประโยชน์มาทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น  ผู้มี

ขันติชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางเป็นที่ไปสวรรค์และนิพพานดังนี้  ซึ่งมีอรรถา-

ธิบายดังบรรยายมา  ด้วยประการฉะนี้.


                                                ข้อสังเกต
           เมื่อนักเรียนสังเกตดูตัวอย่างสังเขปที่เขียนมานี้  ก็จะเห็นได้ว่า
กระทู้ตั้งเป็นส่วนสำคัญ  คำพูดต่าง ๆ  เราจะต้องอยู่ในกรอบขอบเขต
ของกระทู้ตั้ง  โดยเฉพาะประโยคคือคาถา  คือเบื้องหน้ากระทู้ที่อ้างมา


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 13
ประกอบนั้นแหละเป็นประโยคเชื่อมความที่สำคัญที่สุด  และเมื่ออ้าง
กระทู้มาประกอบแล้ว  ก็อธิบายความให้ไปเชื่อมกับข้อความในกระทู้
ตั้งอีก  แล้วจึงจะผ่านไปเชื่อมกับข้อความในประเด็นที่ ๒-๓  เป็นลำดับ
ไปโดยนัยนี้ทุก ๆ  ประเด็น   และถ้าพลิกกลับไปดูภาพสังเขปก็จะเห็น
ได้ชัดว่า  ในประเด็นหนึ่ง ๆ  มีที่เชื่อมความถึง ๓ แห่ง ๆ  ที่ ๑  สำคัญ
ที่สุด จึงทำช่องไว้กว้าง. 
           ตามที่กล่าวมานี้ก็พอจะชี้ให้เห็นที่เชื่อมความ  และวิธีเชื่อมความ
ตามจุดมุ่งหมายขององค์ที่ ๑  ที่ว่า   " เรียงเชื่อมความให้สนิทติดต่อสม
กับเรื่องของกระทู้ตั้ง "  นักเรียนพึงศึกษาพิจารณาโดยถี่ถ้วนเถิด.


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 14
                                              องค์ที่ ๒
                     แต่งอธิบายเป็นทำนองเทศนาโวหาร

           ๑.  ในชั้นต้น  นักเรียนพึงทราบก่อนว่า  การแต่งหนังสือมี ๔
ทำนอง  คือ :-    
           ( ๑ )  ทำนองอธิบาย
           ( ๒ )  ทำนองบรรยาย
           ( ๓ )  ทำนองพรรณนา
           ( ๔ )  ทำนองเทศน์  ที่ท่านเรียกว่าเทศนาโวหาร
ใน ๔ ทำนองนี้  ทำนองเทศน์เป็นยอดของทำนองอื่น ๆ  และเป็นของ
ยากกว่าทำนองใด ๆ เหมือนกัน   เมื่อแต่งทำนองเทศน์ได้แล้ว  ก็เป็น
อันแต่งทำนองอื่น ๆ  ได้ด้วย   เราะเป็นยอดและเป็นของยากดังกล่าว
แล้ว  นอกจากนี้  ทำนองเทศน์เป็นทำนองโดยตรงของพระ  หรือ
กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า  ทำนองเทศน์เป็นทำนองที่เหมาะสำหรับน้อมนำ
พระพุทธศาสนามาสั่งสอนแก่พุทธมามกชน  น่าจะเป็นเพราะเหตุดัง
กล่าวมาแล้วนี้  ท่านจึงได้แต่งเป็นทำนองเทศน์.
           ๒.  การแต่งเป็นทำนองเทศน์นั้น  มีหลักสำคัญ ๆ  ดังจะกล่าว
ต่อไปนี้ :-
           ( ๑ )  ไม่ใช้ถ้อยคำกระทบตนและผู้อื่น.
           ( ๒ )  ไม่ใช้ถ้อยคำและสำนวนที่ห้วน ๆ สั้น ๆ.


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 15
           ( ๓ )  ไม่ใช่ถ้อยคำและสำนวนที่หยาบคาย.
           ( ๔ )  ไม่ใช่ถ้อยคำและสำนวนที่ตลกคะนอง.
           ( ๕ )  ไม่ใช้ถ้อยคำและสำนวนที่เป็นภาษาตลาด. 
           ( ๖ )  ต้องใช้ถ้อยคำและสำนวนที่ไพเราะสละสลวย.
           ( ๗ )  ต้องใช้ถ้อยคำและสำนวนที่พอเหมาะพอดี.
           ( ๘ )  ต้องใช้ธรรมให้สูงขึ้นไปโดยลำดับ.
           ( ๙ )  ต้องใช้ศัพท์บ้างในที่ ๆ  ควรใช้.
           สำหรับเรื่องนี้  มีหลักอยู่ว่า  ถ้าการใช้ศัพท์นั้นเห็นว่าจะกินใจ
ผู้ฟังมากกว่าใช้คำแปล จึงค่อยใช้  คือจงเทียบคุณค่าของคำดู คำใด
ดีกว่าและเหมาะกว่า พึงใช้คำนั้น  ถ้าไม่ดีกว่าไม่เหมาะกว่า  อย่าใช้
เลย ทำให้รุ่มร่ามรุงรังเปล่า ๆ  ตัวอย่างเช่น   " เนตติ "  กับ  " แบบ
อย่าง "  " ทิฏฐานุคติ "  ดับ  " ตัวอย่าง "  " อิฏฐารมณ์ "  กับ
" อารมณ์น่าปรารถนา "   " เบญจพิธกามคุณ "  กับ  " กามคุณ ๕ "
" สัทธาปสาทะ "  กับ  " ความเชื่อความเลื่อมใส "  ฯ ล ฯ  อนึ่ง  เนื่อง
ด้วยทำนองเทศน์  เป็นทำนองที่ไม่ควรใช้ถ้อยคำและสำนวนที่ห้วน ๆ
สั้น ๆ  สำหรับในที่ควรจริง ๆ  จะใช้ทั้งศัพท์ทั้งคำแปลบ้างก็ได้  เพื่อ
ขยายความให้ยาวออกไป  และก็เพื่อไพเราะและสละสลวยอีกส่วนหนึ่ง
ด้วย  แต่ต้องระวังให้จงดี.
           อนึ่ง  ถ้าสามารถจะแต่งให้รับสัมผัสกันก็ได้  แต่ถ้าไม่สามารถ
ก็ไม่เป็นไร  เพราะข้อนี้มิใช่เป็น  " กฎจำเป็น "  ถึงดังนั้นก็ไม่ควร
ละเลยเสียทีเดียว  ควรฝึกฝนตามแต่จะได้เพียงไร  เพราะสัมผัสเป็น


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 16
ส่วนหนึ่ง  ที่ทำให้ข้อความไพเราะ  เป็นเครื่องจูงใจผู้ฟัง  แต่ในเรื่องนี้
มีข้อสำคัญอยู่ว่า  ถ้อยคำที่จะส่งและรับสัมผัสกันนั้น  อย่าให้เก้อได้
เป็นอันขาด  คืออย่ารับกันพราวไป  ควรมุ่งความเป็นใหญ่  ในที่นี้
สมควรจะกล่าวสักเล็กน้อยว่า  การส่งและรับสัมผัสที่จะจัดว่าดีนั้น 
ต้องได้ทั้งสัมผัสทั้งความ  ถ้าได้แต่สัมผัส  แต่สัมผัสที่ได้นั่นแหละ
ทำให้ความเสียไป  เช่นนี้  เป็นอันใช้ไม่ได้ทีเดียว.
           ๓.  คำว่า  " แต่งอธิบายเป็นทำนองเทศนาโวหาร "  ตามคำสั่ง
นั้นเป็นการบังคับ  เป็นคำสำทับ  และเป็นคำสั่งอย่างเด็ดขาด  หมาย
ความว่า  ต้องแต่งเป็นทำนองเทศน์  ทั้งนี้  เป็นเครื่องแสดงว่าไม่ใช่
เพราะเหตุดังกล่าวแล้วในข้อ ๑  นั้นเท่านั้น  น่าจะมีเหตุอย่างอื่นอีก
เป็นต้นว่า  เพื่อป้องกันสำนวนโวหารอย่างใหม่ที่ใช้อันอยู่ในหนังสือ
อ่านเล่นโดยมาก  สำนวนโวหารอย่างนี้ไม่เหมาะไม่ควรสำหรับที่จะนำ
มาใช้ในการแก้กระทู้ธรรม  เพราะเหตุไร ?   เพราะกระทู้ธรรมเป็น
สัลเลขะ  คือเป็นเครื่องขัดเกลากิเลสทั้งนั้น  หรืออย่างน้อยก็มิใช่
เป็นอาสวัฏฐานียธรรม  คือธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ  เมื่อเป็นเช่นนี้
สำนวนโวหารที่จะใช้ในการแก้กระทู้ธรรม  ก็ต้องเป็นสัลเลขะด้วย  จึง
จะเหมาะกันควรกัน  ส่วนสำนวนโวหารที่ใช้กันอยู่หนังสืออ่านเล่น
นั้น  ไม่ใช่สัลเลขะ  และไม่ใช่เพราะเหตุไรนั้น  ผู้ที่คุ้นเคยกับหนังสือ
อ่านเล่น  ขอกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า  ในการแต่งเป็นทำนองเทศน์นั้น
มีลักษณะสำคัญอยู่อีกอย่างหนึ่ง  ซึ่งนักเรียนควรทราบไว้เป็นแท้


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 17
คือ  " แต่งอย่างเรียบ ๆ  ใช้ถ้อยคำและสำนวนเรื่อย ๆ  แต่ว่าทุกคำ
และทุกตอน  สามารถจะน้อมใจของผู้ฟังได้เป็นอย่างดี  เพราะมีทั้ง
หลักแหลม  ทั้งคมคายอยู่ในถ้อยคำเหล่านั้น "   นี้เป็นลักษณะของ
ทำนองเทศน์  ที่จะพึงยึดถือเอาเป็นหลักทั่วไป. 
                                              องค์ที่ ๒
               อ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบไม่น้อยกว่า ๒ ข้อ___ ___
           ๑.  นักเรียนทุกคนหรือแทบจะทุกคน  คงอยากจะทราบว่า  เพราะ
เหตุไร ในการเรียงความแก้กระทู้ธรรม  สนามหลวง  จึงมีความ
ประสงค์ยิ่งนัก  ให้อ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบ  ตามที่ทราบกันอยู่แล้ว
ก็คือ  เพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมข้อความที่ตนกล่าวนั้นให้เด่นขึ้น  ถ้า
นึกดูแต่เพียงเผิน ๆ  ก็เพื่อเหตุนี้เท่านั้น  แต่ถ้านึกให้ซึ้งลงไป จะเห็น
ได้ว่า  ท่านมุ่งผลที่ยิ่งกว่านั้น  คือมุ่งอบรมอัธยาศัยของนักเรียนให้ทำ
อะไรต้องมีหลัก  ไม่ใช่ทำส่ง ๆ นี้เป็นผลที่ท่านประสงค์ยิ่งกว่าอะไร
ทั้งสิ้น  ถ้านักเรียนมีอัธยาศัยอย่างนี้ในความประพฤติทั่วไป  ก็เป็น
อันหวังความสวัสดีได้โดยแน่แท้  เพราะการทำอะไรอาศัยหลักนั้น
กล่าวโดยเฉพาะ  สำหรับการแก้กระทู้ธรรม  นักเรียนย่อมทราบ
แล้วว่า  กระทู้ธรรมนั้น  เป็นธรรมในพระพุทธศาสนา  และเรื่อง
พระศาสนาเป็นเครื่องเด็ดขาดบาดตาย  จะพูดให้นอกลู่นอกทางไปไม่


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 18
ได้  ต้องจำกัดคำพูดของตนให้อยู่ในกรรมในวงเท่านั้น  นี้หมาย
ความว่า พูดตามที่ในพระพุทธศาสนาได้กล่าวได้อย่างไร  ไม่ใช่พูด
ขึ้นใหม่  โดยที่ในพระพุทธศาสนาไม่ได้กล่าวไว้เลย  เหมือนอย่างจะ
พูดว่า  " การฆ่าโจรใจร้ายที่ทำประทุษกรรมและโจรกรรม นำความ  
เดือดร้อนมาให้แก่ประชาชนนั้น  หาเป็นปาณาติบาตไม่  เพราะเป็น
บุคคลที่ไม่พึงปรารถนาโดยแท้จริง "   ดังนี้  ก็พูดได้  ถ้ามีสุภาษิต
ในพระพุทธศาสนารับสมอ้างว่าไม่เป็นปาณาติบาตจริง  แต่ถ้าไม่มี
หรือมี  แต่คนไม่สามารถจะนำมารับสมอ้างได้  เช่นนี้  พูดไม่ได้เป็น
อันขาด  เพราะเรื่องเช่นนั้น  เป็นเรื่องสำคัญ  เป็นเรื่องเด็ดขาดบาดตาย
ขืนพูดขึ้น  เป็นเกิดเรื่อง พึงทราบว่า  การพูดอย่างนั้น  เป็นการพูด
เพื่อทำลาย  มิใช่เป็นการพูดเพื่อก่อ  ซึ่งผู้พูดที่ดีไม่พูดเลย  และถ้า
ปล่อยให้พูดได้  ผลร้ายก็จะพึงบังเกิดขึ้นเป็นแน่แท้  ในที่สุดถึงกับ
ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมทรามทีเดียว  สนามหลวงมองเห็นภัยอัน
จะพึงมีแก่พระพุทธศาสนาอย่างนี้  จึงพยายามป้องกันด้วยการแก้กระทู้-
ธรรมที่ต้องอ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบนี้.
           ประมวลข้อที่กล่าวมา  คงได้ความสั้น ๆ ว่า   การพูดในทาง
พระศาสนา  จะพูดตามชอบใจหรือตามใจชอบไม่ได้  ต้องพูดเข้าไป
หาหลักหรือพูดจากหลักออกไป  นี้แลเรียกว่า  " มีหลัก "  เป็น
ลักษณะของความเคารพอย่างสูง  ซึ่งถ้านักเรียนคิดดูให้ดีแล้วก็จะ
เห็นความจริงข้อนี้โดยประจักษ์.
           ๒.  ปัญหามีอยู่ว่า การเรียงความแก้กระทู้ธรรมนั้น ในที่


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 19
เช่นไรจะต้องอ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบ  เพราะที่สำหรับอ้างมีอยู่  ถ้า
อ้างไม่สมก็หาสำเร็จประโยชน์ไม่  ยิ่งกว่านี้  กลับจะทำให้เคอะเขิน
ต่าง ๆ  สู้ไม่อ้างดีกว่า  ก็ในที่เช่นไรเล่า  ต้องอ้าง กล่าวเฉพาะ
ที่เป็นหลักสำคัญ  ในที่ ๒ สถาน  คือ :-   
           ( ๑ )  ในที่จำเป็น.
           ( ๒ )  ในที่สมควร.
           ในที่ ๒  สถานนี้แล  ต้องอ้าง  ถ้าไม่อ้างไม่ได้  โดยตรงกันข้าม
ถ้าไม่ใช่ในที่ ๒ สถานนั้น  ไปอ้างเข้า  ก็ไม่ได้เหมือนกันนี้เป็นข้อที่
นักเรียนควรใส่ใจและสนใจให้มากคำว่า " จำเป็น "  และ  " สมควร "
๒ คำนี้   ต่างกันอยู่  และต่างกันมิใช่น้อยทีเดียว:  จำเป็นต้องอ้าง
ถ้าไม่อ้าง  เป็นเสียสมควรต้องอ้าง  หากไม่อ้าง  เป็นไม่ดี.
โดยนัยนี้ คำว่า  " จำเป็น "  มีน้ำหนักมากกว่า  คำว่า  " สมควร "
ซึ่งนักเรียนจะต้องเพ่งเล็งให้มาก.  แต่นี้เป็นวาระที่จะแสดงว่า  ในที่
เช่นไร  เรียกว่า   ในที่จำเป็น และในที่เช่นไร  เรียกว่า ในที่สมควร
ในบทเรียนข้างท้าย  ได้ยกตัวอย่างพระธรรมเทศนามาแสดงให้เห็น
แล้วว่า  ในที่เช่นไร  เป็นที่จำเป็น และในที่เชนไร  เป็นที่สมควร
นักเรียนจงดูจากตัวอย่างนั้นเถิด และจงพลิกกลับไปดูภาพสังเขปพร้อม
ทั้งตัวอย่างสังเขปข้างต้นด้วย  ในที่นี้จักกล่าวอย่างที่เรียกว่าตีวงกว้าง
พอเป็นทางศึกษาของนักเรียนเท่านั้น.
           ( ๑ )  ในที่ที่เกี่ยวด้วยการติชมก็ดี การตักเตือนสั่งสอนก็ดี
เช่นนี้เรียกว่า " ในที่จำเป็น "  ซึ่งจะต้องชักสุภาษิตมาอ้างให้จงได้


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 20
เพราะเหตุไร เพราะผู้ฟังเทศน์  ไม่ใช่นับถือผู้เทศก์เป็นส่วนตัวโดย
แท้จริง  นับถือพระศาสนาต่างหาก  ถ้าไม่อ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบ
การติชม  และการตักเตือนสั่งสอนนั้น  จะกลายเป็นของผู้เทศก์ไป
หมด  ไม่ใช่เป็นของพระศาสนา  และถ้าลงได้กลาย  เทศนาของตน 
ก็หาศักดิ์สิทธิ์ไม่  เป็นอันไม่สำเร็จประโยชน์อะไร  จริงอยู่  ผู้เทศก์
ก็นำเรื่องจากพระศาสนานั่นเองไปเทศน์ มิใช่นำจากอื่น  แต่ข้อนี้
จะลืมไม่ได้ว่า  ผู้ฟังเทศน์มีหลายชนิด  ชนิดที่สามารถจะนึกอย่างนั้น
ได้ก็มี  ชนิดที่สามารถจะนึกอย่างนั้นได้แต่ไม่นึกก็มี  ชนิดที่ไม่
สามารถเลยทีเดียวก็มี  เมื่อมีทางเสียอยู่เช่นนี้  ในการติชมและ
ตักเตือนสั่งสอน  จึงต้องอ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบ  เพื่อแสดงว่า
การที่กล่าวอย่างนั้น ๆ  มิใช่ผู้เทศก์กล่าวเอง   มีคำกล่าวไว้ในพระ
ศาสนาอย่างนี้ ๆ.
        (๒)  ในที่ที่เกี่ยวด้วยเรื่องสลักสำคัญ  อันล่อแหลมต่อปรัปวาท
อาจให้โต้แย้งทุ่มเถียง  เช่นนี้ก็เรียกว่า  "ในที่จำเป็น"  เหมือนกัน
ซึ่งจะต้องอ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบให้จงได้  เพราะเหตุไร เพราะ
ผู้ฟังเทศน์มี  ๒  ประเภท  คือ  ประเภท  ๑  ฟังเพื่อจะเก็บเอาความรู้
อีกประเภท ๑  ฟังเพื่อจะเก็บเอาความบกพร่อง  ผู้ที่นับถือพระศาสนา
แต่จิตใจยังห่างเหินต่อพระศาสนา  ยังไม่เข้าถึงพระศาสนาโดยแท้จริง
ย่อมเป็นบุคคลประเภทหลังนี้  เทศนาสำหรับบุคคลประเภทนี้  จึงต้อง
ระวังให้จงหนัก  ข้อความที่สลักสำคัญอันจะแสดงออกไป  ควรให้อยู่
ในกรอบแห่งสุภาษิตทั้งนั้น  ยิ่งเป็นพระพุทธภาษิตด้วยก็ยิ่งดี  เพราะ


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 21
ไม่เพียงแต่จะป้องกันปรับปวาทเท่านั้น  ยังเป็นเครื่องน้อมใจอีกส่วนหนึ่ง
ด้วย  ข้อนี้  พึงเห็นตัวอย่างที่พระอัสสชิแสดงพระธรรมเทศนาแก่
พระสารีบุตรครั้งยังเป็นปริพาชกเป็นอุทาหรณ์ พระอัสสชิได้แสดงว่า
" ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระศาสดาทรงแสดงเหตุแห่งธรรมนั้น และ 
ความดับแห่งธรรมนั้น "  ในลำดับนี้  ได้แสดงว่า  " พระมหาสมณะ
มีปกติตรัสอย่างนี้ "  นี้เป็นแบบครูอันศิษย์ที่ดีควรจะถือเป็นเนตติ  คือ
แบบอย่าง.
           ( ๓ )  ในที่ที่ต้องการสนับสนุนคำที่ตนแสดงให้แจ่มแจ้งชัดเจน  มี
น้ำหนักหลักฐานยิ่งขึ้น  เช่นนี้เรียกว่า  " ในที่สมควร "  ซึ่งจะต้องอ้าง
สุภาษิตอื่นมาประกอบให้ได้  เพราะเหตุไร ? เพราะผู้ฟังเทศน์โดย
มาก  ต้องการความรู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น  เพื่อประโยชน์
แก่การปฏิบัติ  เมื่อเป็นเช่นนี้  ก็เป็นฐานะที่ผู้เทศก์จะพึงแสดงให้ผู้ฟัง
ได้รู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็นเหมือนกัน  ถึงผู้ฟังจะไม่ต้อง
การ  ก็เป็นหน้าที่โดยตรงของผู้เทศก์จะพึงแสดงอย่างนั้น การอ้าง
สุภาษิตอื่นมาประกอบ  เป็นทางที่จะทำให้เกิดความรู้ยิ่งเห็นจริงได้
ส่วนหนึ่ง  และเป็นส่วนสำคัญยิ่งกว่าส่วนอื่น ๆ.
           ( ๔ )  การอ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบนั้น  นับว่าเป็นภาระสำคัญ
ของนักเรียนมิใช่น้อย  เพราะนอกจากจะต้องรู้ว่า ในที่เช่นไรควร
อ้างสุภาษิตแล้ว  ยังจะต้องรู้อีกด้วยว่าควรอ้างสุภาษิตไหน  และ
บรรดาสุภาษิตที่ควรอ้างนั้น  สุภาษิตไหนควรอ้างมากกว่ากัน  เหมาะ
กว่ากัน  และดีกว่ากัน  ข้อนี้นักเรียนมักจะถูกตำหนิเป็นส่วนมากที่อ้าง


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 22
สุภาษิตไม่เหมาะ  แต่ก็ไม่ถึงกับอ้างผิดทีเดียว  เพียงแต่พอใช้ได้
เท่านั้น  แต่ถ้าอีกข้อหนึ่ง  ( เพราะความเกณฑ์ท่านให้อ้างสุภาษิตอื่น
มาประกอบไม่น้อยกว่า ๒ ข้อ )   ก็เพียงแต่พอใช้ได้เหมือนกัน  ก็อาจ
จะใช้ไม่ได้  นอกจากจะมีสำนวนโวหารเป็นต้นจะดีจริง ๆ  จึงพอคุ้ม
ได้บ้าง  เพราะเหตุนี้  นักเรียกจะต้องเอาใจใส่ให้มากในเวลาเรียน 
ความเอาใจใส่ของนักเรียนชั้นนี้  ( ชั้นมัชฌิมภูมิ )  ในเวลาเรียน  ก็คือ
พยายามหาความรู้ให้กว้างขวางสำหรับกระทู้นั้น ๆ  ( กระทู้ในหนังสือ
พุทธศาสนาสุภาษิตเล่ม ๒ )  เพราะบรรดากระทู้ทั้งมวลในหนังสือพุทธ-
ศาสนสุภาษิตเล่ม ๒  นั้น   ย่อมทราบกันอยู่แล้วว่า  ท่านคัดเลือก
เอาแต่สุภาษิตที่มีข้อธรรมง่าย ๆ  ไม่ยากยัก   เพื่อเป็นหลักสูตร
ของนักเรียนชั้นนี้ ส่วนความที่กว้างขวางออกไปอย่างไรนั้น  เป็น
หน้าที่ของนักเรียนที่จะต้องพยายามศึกษาด้วยตนเอง.


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 23
                    อธิบายคำสั่งของสนามหลวง ( บางตอน ) 
           ๑.  ในคำสั่งของสนามหลวงตอนหนึ่งว่า  " อ้างสุภาษิตอื่นมา
ประกอบไม่น้อยกว่า ๒ ข้อ "   นักเรียกพึงเข้าใจเถิดว่า   " เราต้อง
อ้างมาให้ครบ  ๒ ข้อ  ขาดไม่ได้  แต่เกินได้ไม่ห้าม "  เพราะฉะนั้น
ในกรณีที่เราแต่งกระทู้  ซึ่งแยกออกได้หลายประเด็น  เราจะอ้าง
สุภาษิตอื่นมาประกอบทุก ๆ  ประเด็นก็ได้  และถือว่าถูกตามหลักการ
แต่งจริง ๆ  ด้วย   หากนักเรียนพลิกกลับไปดูภาพสังเขปพร้อมทั้งตัวอย่าง
สังเขป  ก็จะเห็นได้ว่าควรอ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบทุก ๆ ประเด็น
และขอแนะนำเป็นพิเศษอีกว่า  ในกระทู้ที่มีหลายประเด็น  เราอ้าง
สุภาษิตอื่นมาประกอบให้ได้สัก ๒ ข้อใน ๒ ประเด็น  ส่วนในประเด็น
ที่เหลือ  จะอ้างเอานิทานมาสาธกแทนสุภาษิตก็ได้  หรือจะอ้าง
สุภาษิตอื่นมาประกอบสลับ  กับอ้างเอานิทานมาสาธกคนละประเด็นก็ได้
หรือในประเด็นเดียวกัน  เราจะอ้างทั้งนิทานทั้งสุภาษิตก็ได้.  แต่ข้อที่
ควรระวังคือ  นิทานที่อ้างมาสาธกนั้น ไม่ควรให้ยืดยาวนัก  และให้
เลือกเอานิทานที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า  พระโพธิสัตว์  พระสาวก  หรือ
บุคคลสำคัญ ๆ  ในทางโลก  ที่ล่วงลับไปแล้ว  ที่เหมาะ ๆ มาสาธก
และเพื่อความเหมาะสม  นักเรียนควรจะหาเวลาอ่านหนังสือธรรมบท
หรือมงคลทีปนีเสียบ้าง  เพราะหนังสือ ๒ อย่างนี้  มีนิทานที่ควรอ้าง
มาสาธกมากที่เดียว.     
           อนึ่ง  ในคำสั่งตอนนี้เองว่า  " สุภาษิตอื่น "  นักเรียนพึงเข้าใจ
เถิดว่า  " สุภาษิตอื่นจากสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นกระทู้ตั้ง "  และพึงเข้าใจ


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 24
ต่อไปอีกว่า  ท่านหมายเอาสุภาษิตในหนังสือพุทธศาสนสุภาษิตเล่ม ๒
โดยตรงและโดยอ้อมหมายเอาสุภาษิตในพระพุทธศาสนาทั่ว  ๆไป.
ฉะนั้น  นักเรียนควรอ้างเอาเฉพาะสุภาษิตในหนังสือพุทธศาสนสุภาษิต
เล่ม ๒ ดีกว่า  เพราะถ้าไปอ้างเอาจากที่อื่นมา  อาจจะถูกตำหนิว่า
ไม่สมภูมิสมชั้นบ้าง  เกินภูมิเกินชั้นบ้าง. 
           ๒.  การอ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบนั้น  จำต้องบอกชื่อคัมภีร์ที่
มาด้วย  เพราะท่านสั่งต่อไปว่า   " และบอกชื่อคัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิต
นั้นด้วย "  โดยมุ่งอบรมอัธยาศัยของนักเรียนให้ทำอะไรต้องมีหลัก
ไม่ใช่ทำส่ง ๆ ดังกล่าวมาบ้างแล้ว.   ฉะนั้น  นักเรียนไม่ควรสะเพร่า
มักง่าย  อ้างสุภาษิตมาประกอบโดยไม่บอกชื่อคัมภีร์ที่มา  ควรจะ
ฝึกฝนตนไม่ให้สะเพร่ามักง่าย  นักเรียนบางคนมักบ่นหนักใจในเรื่อง
บอกชื่อคัมภีร์  เห็นเป็นเรื่องเกินวิสัยที่จะจำมาบอกให้ถูกต้องได้  ความ
จริงถ้าเอาพุทธศาสนสุภาษิตเล่ม ๒  มาเปิดอ่าน  เลือกเฟ้นเอาแต่ข้อที่
เหมาะ ๆ  หมวดละ ๒ ข้อ  แล้วท่องให้จำพร้อมทั้งคัมภีร์ที่มา  ก็ไม่
ต้องเที่ยวบ่นอยู่เลย.
           ๓.  คำสั่งให้ตอนต่อมาว่า  " ห้ามอ้างสุภาษิตซ้ำข้อกัน  แต่จะ
อ้างซ้ำคัมภีร์ได้ไม่ห้าม "  หมายความว่าสุภาษิตข้อใด  นักเรียนอ้างมา
ประกอบในประเด็นหนึ่งแล้ว  ข้อนั้นอย่าอ้างมาประกอบในประเด็น
อื่นอีก  แต่คัมภีร์ที่มาของสุภาษิตซ้ำกันก็ได้  เช่นสุภาษิตที่อ้างมา
ประกอบในประเด็นที่ ๑  มาในสวดมนต์ฉบับหลวง  ที่อ้างมาประกอบ
ในประเด็นที่ ๒  ไม่ซ้ำข้อกันกับในประเด็นที่ ๑  คือคนละข้อกัน  แต่


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 25
มาในสวดมนต์ฉบับหลวงเหมือนกัน  โปรดพลิกกลับไปดูตัวอย่าง
สังเขปเถิด.
                           ข้อที่นักเรียนต้องใส่ใจเป็นพิเศษ   
           เฉพาะนักเรียนทุกคน  ย่อมมีความปรารถนาอย่างเดียวกันอย่าง
หนึ่ง  ข้อนั้นคือปรารถนาสอบไล่ได้  แต่ความปรารถนานั้นจะสำเร็จ
ได้ก็อาศัยเหตุหลายประการ  พูดตามหลักธรรมแล้ว  ก็ต้องอ้างเอา
อิทธิบาทธรรม ดังนั้นนักเรียนต้องนำเอาอิทธิบาทธรรมเข้ามาช่วย
ในทุก ๆ วิชาในชั้นของตน ๆ  ในที่นี้กล่าวเฉพาะวิชากระทู้ธรรม  นัก
เรียนต้องเรียนให้รู้  ให้เข้าใจตามนัยที่ชี้แจงมาแล้วตั้งแต่ต้นทุกแง่ทุกมุม
นอกจากนั้น  จำต้องใส่ใจเป็นพิเศษอีกอย่างหนึ่ง  ซึ่งเป็นข้อที่กรรมการ
ตรวจข้อสอบไล่  เพ่งเล็งพิจารณาให้คะแนนแก่นักเรียนที่ท่านเรียกว่า
" แนวการตรวจกระทู้ธรรม "  ดังที่ท่านแม่กองธรรมสนามหลวง
ประกาศไว้ว่า
                                  " แนวการตรวจกระทู้ธรรม
                         สำหรับกรรมการพิจารณาให้คะแนน "
           ๑.  แต่งได้ตามกำหนด [ ๓ หน้ากระดาษสอบ ( เว้นบรรทัด )
ขึ้นไป ].
           ๒.  อ้างกระทู้ได้ตามกฎและบอกที่มาได้ถูกต้อง.
           ๓.  เชื่อมความกระทู้ได้ดี.
           ๔.  อธิบายความสมกับกระทู้ที่ตั้งไว้.


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 26
           ๕.  ใช้สำนวนสุภาพเรียบร้อย.
           ๖.  ใช้ตัวสะกดการันต์ถูกส่วนมาก.
           ๗.  สะอาด  ไม่เปรอะเปื้อน.  
           ขอให้กรรมการของสนามหลวง  ได้ปฏิบัติให้ชอบด้วยระเบียบ
เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการสอบจงทุกประการ.
           เพราะฉะนั้น  นักเรียนผู้มุ่งเรียกร้องเอาคะแนนจากกรรมการ
จำต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามแนวการตรวจนี้ด้วยให้จงได้.


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 27
                                                  บทเรียน 

           ต่อไปนี้  เป็นบทเรียนที่ข้าพเจ้าเลือกคัดตัดตอนจากพระธรรม-
เทศนา  ของท่านผู้รอบรู้ในทางพระศาสนา  มาประมวลแสดงไว้  รวม
ทั้งสิ้น ๕ บท   และทุกบท  จักอำนวยความรู้แก่นักเรียนเป็นอย่างดี
ที่สุด  ถ้านักเรียนเรียนด้วยความตั้งใจ  จะได้รับประโยชน์อันงดงาม
ดังต่อไปนี้ :-
           ๑.  จะทราบได้ว่า  ทำนองเทศนา  ต้องแต่งอย่างนี้.
           ๒.  จะเข้าใจได้ดีว่า  พระธรรมเทศนา  มีลักษณะและเล่ห์เหลี่ยม
ลึกซึ้งเพียงไร.
           ๓.  จะได้เห็นถ้อยคำ  และสำนวนโวหารที่ท่านใช้ในทำนอง
เทศนา.
           ๔.  จะได้รู้การเชื่อมสุภาษิตอย่างสนิทที่สุด.
           ๕.  จะได้รู้จักที่สำหรับชักสุภาษิตมาอ้างเป็นอย่างดี.
           ๖.  จะได้หลักพร้อมทั้งวิธีของการแต่งทำนองเทศนา อันเป็น
ข้อประสงค์ของนักเรียน.
           ๗.  จะได้ประสบกลเม็ดต่าง ๆ  ซึ่งเป็นเรื่องของการแต่งทำนอง
เทศนา.
           รวมกล่าวว่า  บทเรียนทั้ง ๕  บทต่อไปนี้  จะกล่อมเกลาสติ
ปัญญาของนักเรียนให้รอบคอบเฉลียวฉลาด  มีความสามารถในเชิงแต่ง
เป็นอย่างยิ่ง.


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 28
                                                บทที่ ๑ 
           " อันนิกรผู้อยู่ร่วมกัน  ต่างคนต่างประพฤติธรรม  จึงจะมี
ความสุขความเจริญ ธรรมย่อมคุ้มครองหมู่ให้ตั้งอยู่สงบเกษมสถาพร
นักปราชญ์ผู้เป็นศาสดาในทางศาสนา  จึงสอนมหาชนให้ประพฤติธรรม
ท่านผู้ปกครองย่อมยกย่องธรรม  และย่อมกำจัดอธรรมเสีย  ผู้ใด
ประพฤติผิดธรรม ทำร้ายกันก็ดี  ทำโจรกรรมถือเอาทรัพย์แห่งกันก็ดี
ประพฤติผิดในกามก็ดี  เจรจามุสาหลอกลวงกันก็ดี  ย่อมลงอาชญา
แก่ผู้นั้น  เช่นเดียวกับหนามยอกเอาหนามบ่ง  การลงอาชญานั้นไม่ใช่
ธรรมแท้ก็จริง แต่ทำตามหลักแห่งนิติที่บัญญัติล่วงหน้าไว้เพื่อกำจัด
อธรรม นับว่ายุติธรรม  คือธรรมโดยบัญญัติ  เป็นรัฏฐาภิปาลโนบาย
ประการหนึ่ง  เป็นกรณียะของท่านผู้ปกครองจะพึงถือเป็นหลัก.  พระ
เจ้าจักรพรรดิราช  ย่อมทรงสักการะเคารพนับถือธรรมเป็นใหญ่  มี
ธรรมเป็นธงชัยนำพระราชจรรยา.  สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทั้ง
สามกาลก็ย่อมทรงเคารพในธรรม.
              " เย  จ  อตีตา  สมฺพุทฺธา                เย  จ  พุทฺธา  อนาคตา
              โย  เจตรหิ  สมฺพุทฺโธ                 พหุนฺนํโสกนาสโน
              สพฺเพ  สทฺธมฺมครุโน                วิหรึสุ  วิหาติ  จ
              อถาปิ  วิหริสฺสนฺติ                        เอสา  พุทฺธาน  ธมฺมตา. "

๑.  จากมงคลวิเสสกถา  ของสมเด็จพระมหาสมณะเจ้า ฯ


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 29
           สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งที่ล่วงแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง  ทั้ง
ในกาลบัดนี้  ผู้ยังโศกแห่งมหาชนให้หาย ทุกพระองค์ทรงเคารพใน
พระสัทธรรม  เสด็จอยู่มาแล้วก็มี  ยังเสด็จอยู่ก็มี  จักเสด็จอยู่ข้างหน้า
ก็มี  นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.  จริงอย่างนั้น  สมเด็จ 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย  พระองค์ทรงประพฤติธรรมเป็น
หลัก  ทรงตั้งพระพุทธบัญญัติไว้เป็นพุทธอาณาเพื่อรักษาธรรม  ทรง
วางโทษไว้สำหรับลงแก่ภิกษุผู้ละเมิดธรรม  ตั้งแต่ปรับอาบัติขึ้นไป
จนถึงนาสนะเสียจากคณะเป็นที่สุด ทรงอุดหนุนอำนาจสงฆ์ผู้รักษา
พุทธบัญญัติ  แม้ทรงพระมหากรุณาหาผู้เทียมถึงมิได้  ก็ไม่ทรงยกเว้น
ประทานแก่ผู้ประพฤติผิดธรรมควรนิคคหะ  พระกรุณาคุณแม้เป็น
ธรรมที่ควรแผ่ไป  ต่อแผ่ไปในฐานที่ควร  จึงจักสำเร็จประโยชน์แก่
ผู้ได้รับ. สรุปความว่า การปราบอธรรมอันเป็นไปในคณะ  เป็น
กรณียะประการหนึ่งของท่านผู้ปกครอง.
           อนึ่ง  มิตรต่อมิตร  ฝ่ายหนึ่งประพฤติผิดธรรม  สามัคคีจำต้องแตก
ตั้งอยู่โดยสัมพันธ์กันมิได้ เป็นกรณียะของพวกมิตร  ผู้เป็นธรรมวาที
จะช่วยกันนิคคหะมิตรผู้เป็นอธรรมวาที  ในเมื่อไม่รับคำตักเตือน. ใน
พระพุทธศาสนา  สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสให้ภิกษุทั้งหลายผู้เห็น
ภิกษุรูปเดียวหรือหลายรูปประพฤติละเมิดธรรม  ตักเตือนเธอ  เมื่อไม่
ฟังคำ  ให้สวดประกาศนิคคหะด้วยอาบัติสังฆาทิเสสบ้าง  ด้วยลงกรรม
อย่างอื่นบ้าง  ก็เพื่อปราบอธรรมรักษาความสม่ำเสมอกันในหมู่สงฆ์
กรรมที่ลงเป็นอย่างแรงนั้น เรียกอุกเขปนียกรรม   ยกเสียจากหมู่ไม่ให้


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 30
สมาคม  ไม่คบหา  ไม่ร่วมสมโภคด้วย ไม่ทำสามีจิกรรมตามลำดับผู้แก่
กล่าวโดยย่อ  ถอนสิทธิแห่งภิกษุภาพของเธอเสีย  กว่าจะรู้สำนึกตัว.
สีลสามญฺญตา  ความเป็นผู้เสมอกันด้วยศีล  และ ทิฏฐิสามญฺญตา
ความเป็นผู้เสมอกันด้วยความเห็น เป็นคุณสมบัติอันจะพึงปรารถนา
ในสงฆ์ เป็นไปเพื่อสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  เป็นไปเพื่อความ
ตั้งมั่นแห่งสงฆ์  เมื่อมีภิกษุประพฤติผิดธรรมของคณะ  จึงเป็นธุระ
ของสหธรรมิกด้วยกันพึงห้ามปราม  และจะพึงนิคคหะเสีย  ไม่อย่างนั้น
จะเกิดเป็นก๊กที่เรียกว่านิกายขึ้น  ทอนกำลังสงฆ์ลงไป  ในที่สุดไม่ตั้ง
อยู่ได้.  การปราบอธรรมอันเป็นไปในระหว่างมิตร  เป็นกิจของมิตร
ด้วยกันฉะนี้.
           สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า  มาทรงตัดพระราชไมตรี
และประกาศทำสงครามกับกรุงเยอรมนี  และกรุงออสเตรียกับฮังการี
ในนามของกรุงสยาม ทรงพร่าสันติภาพเสีย  ก็เพื่อจะทรงอุปถัมภ์
ธรรมในระหว่างมิตร  เมื่อคำนึงถึงธรรมภาษิตว่า
                            " องฺคํ  ธนํฺชีวิตญฺจาปิ  สพฺพํ
                               จเช  นโร  ธมฺมนุสฺสรนฺโต "
ที่แปลว่า  " เมื่อระลึกถึงธรรม  ถึงคราวเข้า  ทรัพย์  อวัยวะ  แม้ชีวิต
ก็ควรสละเสียทั้งนั้น "  เป็นอันห้ามรัฐประศาสนนัย  โดยประการอื่น.

           หมายเหตุ :-  บทเรียนบทนี้  หรือพระธรรทเทศนากัณฑ์นี้จะให้


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 31
ความรู้แก่นักเรียนดังต่อไปนี้ :-
           ๑.  ถ้อยคำทุก ๆ คำ  หนักแน่นยิ่งนัก  และบรรจุความไว้โดย
บริบูรณ์  คือจะตัดออกเสียก็ไม่ได้  จะเพิ่มเข้าไปก็ไม่ดี  นี้คือความ
ไพเราะสละสลวยแห่งถ้อยคำ.  
           ๒.  สำนวนโวหารทุก ๆ วรรค  ทุก ๆ ตอน  กินความลึกซึ้ง
และกว้างขวาง  ยิ่งนึกก็ยิ่งคิด  ยิ่งพิจารณาก็ยิ่งเห็น.
           ๓.  เป็นเทศนาที่แสดงคดีโลกและคดีธรรม  กลมกลืนกันที่สุด
ไม่มีสะดุดแม้แต่เล็กน้อย.
           ๔.  เรื่องในพระพุทธศาสนาที่นำมาแสดงก็ดี สุภาษิตที่ชักมา
อ้างก็ดี ช่างเหมาะกับเหตุการณ์อย่างยิ่ง.
                                               บทที่ ๒
           " อันพระราชาอาณาจักรจะวัฒนะหรือหายนะ  แม้เพราะเหตุ
หลายอย่างประกอบกัน  แต่เหตุที่เป็นสำคัญก็คือ  พระเจ้าแผ่นดินผู้
ปกครอง  ถ้าพระเจ้าแผ่นดินของประเทศใดดี  ประเทศนั้นย่อมมี
ความเจริญตามคราวที่จะเป็นได้  ถ้าพระเจ้าแผ่นดินใดไม่ดี  ก็มีแต่จะ
ช่วยซ้ำทำบ้านเมืองให้เสื่อมลงไปกว่าโอกาส  สมด้วยพจนประพันธ์อัน
สมเด็จพระโลกนาถเจ้าตรัสบัณฑูรไว้ว่า

๑.  จากมงคลวิเสสกถา  ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 32
              " คุนฺนญฺเจ   ตรมานานํ                ชิมฺหํ  คจฺฉติ  ปุงฺคโว
              สพฺพา  ตา  ชิมฺหํ  คจฺฉนฺติ                  เนตฺเต  ชิมฺหํ  คเต  สติ
" เมื่อฝูงโคกำลังข้ามน้ำอยู่  ถ้าโคผู้นำฝูงไปคดเคี้ยว  โคทั้งปวงนั้น
ก็ไปคดเคียวตามกัน  ถ้าโคผู้นำฝูงไปตรง  โคทั้งปวงนั้นก็ย่อมไปตรง
ตามกัน. 
              เอวเมว  มนุสฺเสสุ                        โย  โหติ เสฏฺฐสมฺมโต
              โส  เจ  อธมฺมํ  จรติ                        ปเคว อิตรา  ปชา
ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน  ถ้าท่านผู้ทำได้รับสมมติให้เป็นใหญ่  ประพฤติ
ไม่เป็นธรรมหรือเป็นธรรม  น่าที่ประชาชนนอกนี้จักเป็นเช่นนั้นบ้าง.
              สพฺพํ    รฏฺฐํ  ทุกฺขํ  เสติ                ราชา  เจ  โหตฺยธมฺมิโก
ผิว่า  พระราชไม่ตั้งอยู่ในธรรม  แว่นแคว้นทั้งปวงย่อมตกทุกข์ยาก.
              สพฺพํ  รฏฺฐํ  สุขํ  เสติ                ราชา  เจ  โหติ  ธมฺมิโก "
ถ้าพระราชาตั้งอยู่ในธรรม  รัฐจังหวัดทั้งปวง  ย่อมอยู่เย็นเป็นสุข "
ฉะนี้.
           รับพระราชทานถวายวิสัชนาอรรถาธิบายแห่งพระพุทธภาษิตข้อ
นี้  โดยสรุปว่า  ท่านผู้ได้รับสมติให้เป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์ที่ตั้งอยู่เป็น
ปึกแผ่นในแดนดินตำบลหนึ่ง ๆ  ซึ่งเรียกว่าประเทศ  เพื่อประโยชน์
จะได้เป็นผู้ปกครอง  คือป้องกันและทำนุบำรุงหมู่นั้น  ชื่อว่าพระราชา.
และพระราชานั้น  ต่างกันโดยคุณสมบัติ  เป็นจักรพรรดิราชมีอำนาจ
ครอบทั่วไปในชาติอื่นก็มี  เป็นมุทธาภิสิตราช  ได้รับอภิเษกเป็น
เอกอัครในจังหวัดทั่วรัฐประเทศก็มี  เป็นแต่ราชัน  ได้ปกครองอาณา-


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 33
เขตเพียงโดยเอกเทศก็มี  โดยบรรยายนี้  ตรงกับราชาธิราช  มหาราช
และราชา  โดยลำดับกัน. 
                                         " ราชา  มุขํ  มนุสฺสานํ "
" พระราชาเป็นประมุขของประชาชน "  ที่ประชาชนจะพึงนิยมเป็น
แบบอย่าง  ถ้าทรงประพฤติในทางที่ผิด  บาปชนได้อย่างก็จะกำเริบ
ประพฤติทุจริตด้วยไม่ต้องเกรงขาม ถ้าทรงประพฤติแต่ในทางที่ชอบ
พาลชนย่อมไม่กล้าลุกลามแรงร้าย  ฝ่ายชนผู้ภักดีได้อย่าง  ก็น่าที่จะ
นิยมตามบ้าง  เพราะเหตุที่ตั้งอยู่ในทางธรรม  พระราชานั้นเป็น
อันได้นิคคหะบำราบคนพาล  และปัคคหะยกย่องคนสุภาพ. อนึ่ง
พระราชานั้นเป็นเหตุสำคัญแห่งทุกข์สุขอันจะเกิดแก่ประชาราษฎร์  ถ้า
ทรงประพฤติไม่เป็นธรรม  ก็สามารถจะนำทุกข์ภัยมาถึงพระองค์และ
ผู้อื่น  ถ้ายั่งยืนอยู่ในราชธรรม  สุขสำราญก็จะเกิดมีทั่วกัน.  อีกประการ-
หนึ่ง  พระราชานั้นเป็นยอดอยู่ในหมู่ หาผู้ปกครองมิได้  ถ้าจะไม่ทรง
ถือธรรมเป็นใหญ่  ก็ไม่มีอะไรเป็นที่พำนัก.  เหตุดังนั้น  โบราณก-
บัณฑิต  จึงได้ภาษิตราชธรรมไว้เป็นหลักแห่งพระราชจริยา  เป็นต้น
ว่าทศพิธราชธรรม  จักรพรรดิวัตต์และสังคหวิธี ที่พระราชาได้ทรง
บำเพ็ญเป็นราชประเพณี  ปกครองพระราชอาณาจักร  ให้มั่งคั่งสมบูรณ์
ปราศจากยุคเข็ญ  เป็นที่ร่มเย็นของพสกนิกร มีพระเกียรติยศเดชานุ-
ภาพขจรไปในทิศานุทิศ  เป็นที่เกรงขามของปัจจามิตร  ไม่กล้ามาบีฑา
สมแก่สุภาษิตว่า
                                " ราชา  รฏฺฐสฺส  ปญฺญา  ณํ "


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 34
" พระราชา  เป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น "  คือแผ่นดินจะมี
สง่าก็เพราะมีพระราชาที่ดี.  สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงรัฐ
ประศาสนนัย  คืออุบายเป็นเครื่องปกครองรัฐมณฑล  ย่นเข้าในพระ
คาถาประพันธ์ในหนหลัง มีอรรถาธิบายดังรับพระราชทานถวาย
วิสัชนามา ด้วยประการฉะนี้. 

           หมายเหตุ :-  บทเรียนบทนี้  หรือพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้จะ
ให้ความรู้แก่นักเรียน  ดังต่อไปนี้ :-
           ๑.  การกล่าวถึงพระเจ้าแผ่นดิน  ในลักษณะการใด ๆ  ก็ตาม
ต้องระวังให้มาก  ต้องประหยัดให้จงหนัก  คำใด ๆ  ที่กล่าวออกไป
คำนั้น ๆ  จะต้องอยู่ในกรอบทั้งสิ้น  ก็คำว่า กรอบในที่นี้  ประสงค์เอา
พระพุทธศาสนาที่ได้แก่สุภาษิต เป็นต้น.
           ๒.  พระบรมนามาภิไธยของสมเด็จพระพุทธเจ้า  มีเป็นอันมาก
พอที่จะเลือกนำมาใช้ได้ดีที่สุด  เพราะฉะนั้น  ควรเลือกพระนามที่รับ
สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคหน้า  ดังที่ปรากฏในพระธรรมเทศนานั้น
คือ  " ก็มีแต่จะช่วยซ้ำทำบ้านเมืองให้เสื่อมลงไปกว่าโอกาส  สมด้วย
พจนประพันธ์อันสมเด็จพระโลกนาถเจ้าตรัสบัณฑูรไว้ว่า "  ดังนี้  ย่อม
เป็นที่นิยมของผู้แต่งเทศนาทั่วไป  เพราะถือว่าทำให้ไพเราะขึ้น
ส่วนหนึ่ง.
          ๓.  อย่าใช้คำพูดให้ตายตัวให้ขาดลงไป  ในที่ ๆ  ใช้ไม่ได้  คือเมื่อ
ใช้แล้วอาจผิดก็ได้  หรืออาจถูกก็ได้  เมื่อมีทั้งทางถูกทั้งทางผิดอยู่เช่นนี้


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 35
จึงควรระวังให้จงดี  ข้อนี้  จะพึงเห็นได้จากพระธรรมเทศนานั้นที่ว่า
" ถ้าทรงประพฤติแต่ในทางที่ชอบ  พาลชนย่อมไม่กล้าลุกลามแรงร้าย 
ฝ่ายชนผู้ภักดีได้อย่าง  ก็น่าที่จะนิยมตามบ้าง  เพราะเหตุที่ตั้งอยู่ใน
ทางธรรม "  ดังนี้  ตามที่ขีดสัญญประกาศไว้นั้น จะเห็นได้ว่าเป็น
คำที่ไม่ตามตัวไม่ขาดตัว  เพราะมีคำว่า  " แรงร้าย "  " น่าที่ "  และ
" บ้าง "  เข้าประกอบอยู่  ถ้าไม่มีคำเหล่านี้ประกอบ  จะได้ความไปอีก
อย่างหนึ่ง  และความที่ได้นั้น  ก็จะตายตัวขาดตัวลงไป  ซึ่งผู้แต่ง
เทศนาที่รอบคอยระวังอย่างกวดขันทีเดียว.


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 36
                                          บทที่ ๓ 
           " ทุก ๆ คน  ย่อมมีความรู้ที่เป็นต้นเดิมประจำอยู่ด้วยกัน  แต่ว่า
รู้น้อยบ้าง  รู้มากบ้าง  รู้ผิดบ้าง   รู้ถูกบ้าง  ต่าง ๆ กัน  เพราะฉะนั้น
จึงทำผิดบ้าง  ถูกบ้าง  ให้สำเร็จผลเป็นชั่วบ้าง  เป็นดีบ้าง  น้อยบ้าง  มาก
บ้าง  ไม่เหมือนกัน  ความที่เป็นเช่นนี้นั้น ก็เป็นไปตามความรู้นั้นเอง
ใครจะทำอะไร  ให้นอกเหนือจากความรู้ไป  หาได้ไม่  เหตุนี้  ผู้มุ่ง
จะทำกิจที่ตนประสงค์ในทางใดทางหนึ่ง  เมื่อยังไม่ได้ความรู้ในกิจที่จะ
ทำนั้น  จึงต้องยอมเสียเวลาของชีวิต  ยอมเสียกำลังกายกำลังความคิด
และกำลังทรัพย์ ไปเล่าเรียนศึกษาในถิ่นต่าง ๆ  ที่เห็นว่าจะได้ความรู้
เพื่อทำกิจที่ประสงค์ให้สำเร็จความมุ่งหมาย  แต่ความรู้เพียงแต่เพื่อทำ
กิจการงานที่ประสงค์ให้สำเร็จเท่านั้น  จะจัดว่าเป็นดีหรือเป็นชั่วยังหา
ได้ไม่  เพราะถ้าผู้ทำนำความรู้ไปใช้ในทางดี  ก็ให้สำเร็จผลเป็น
ประโยชน์สุขแก่ตนและคนอื่น  ถ้านำไปใช้ในทางชั่วทางผิด  ก็ให้
สำเร็จผลเป็นโทษทุกข์แก่ตนและคนอื่น  เห็นปรากฏอยู่  ผู้จะนำความ
รู้ไปใช้ในทางดีทางชอบ  อันจะให้สำเร็จผลเป็นประโยชน์สุขแก่ตน
และคนอื่นได้ถูกต้อง  ก็ต้องเป็นผู้รู้ธรรม  พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ซึ่ง
เป็นพระบรมศาสดาของผู้นับถือพระพุทธศาสนา  ก็เพราะทรงรู้ธรรม
ทรงบรรลุธรรมที่ไม่ตาย  และปฏิบัติเป็นธรรมคือถูกต้อง  ความรู้
เป็นเหตุให้ถึงความเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ  ท่านเรียกว่าโพธิ  ซึ่งแปล

๑.  จากธรรมเทศนาของสมเด็จพระวิชิรญาณวงศ์.


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 37
ว่า  รู้บ้าง  ตื่นบ้าง  รวมความเข้าด้วยกัน  ควรแปลว่า  ความรู้เป็น
เหตุตื่นคือไม่หลงใหล  หมายความว่า  พระองค์ทรงรู้สิ่งใดตั้งต้นแต่รู้
กาย  และรู้โลก  รู้สิ่งที่มีในโลก  รู้ความเป็นไปของโลกตามเป็นจริง 
ไม่หลงไปในอารมณ์นั้น ๆ คือไม่หลงยินดีในส่วนที่น่ายินดี  ไม่หลง
ยินร้ายในส่วนที่น่ายินร้าย  ไม่หลงงมงายในส่วนที่น่าหลงงมงาย  ทรง
เห็นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็แปรปรวนไป  ในที่สุดก็สลายไป
ได้ชื่อว่าไม่เที่ยง  เพราะแปรไปเป็นทุกข์  เพราะต้องทน  เป็นอนัตตา
เพราะไม่ใช่ตน  บังคับ  ( ส่วนผล )  ไม่ได้  จึงเป็นพุทโธ  ผู้ตื่นเพราะ
ไม่หลง  เป็นโลกุตระเหนือโลก  จึงเป็นผู้ไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตายตลอดถึง
ไม่เกิด ด้วยประการฉะนี้.
           เมื่อพระองค์ทรงแสดงตำสั่งสอนแก่ผู้อื่นด้วยพระกรุณา  ก็ทรงชี้
ความจริงซึ่งเป็นธรรมคือถูกต้อง  และเป็นประโยชน์  และทรงผ่อนผัน
เพื่อให้เหมาะแก่ภูมิชั้นของผู้ฟัง  คำสั่งสอนของพระองค์ซึ่งเรียกว่า
ศาสนธรรมจึงมีมาก.  โดยปริยายหนึ่ง  ทรงแสดงเหตุ คือกรรมที่
บุคคลทำทางกาย ๑  ทางวาจา ( คือพูด ) ๑  ทางใจ  ( คือคิด ) ๑
ว่าเป็นเหตุให้ผลแก่ผู้ทำ  ส่วนผู้ทำจะพอใจหรือไม่ก็ตาม  จะรู้หรือ
ไม่รู้ก็ตาม  ก็คงให้ผลอยู่นั่นเอง  และให้ผลไม่เสมอกัน  คือส่วนชั่ว
ที่เรียกว่าอธรรมหรือบาปให้ผลชั่ว  ส่วนที่ดี  เรียกว่าธรรมหรือบุญ
ให้ผลดี  ดังพระพุทธภาษิตว่า
              " น  หิ  ธมฺโม  อธมฺโม  จ                อุโภ  สมวิปากิโน
              อธมฺโม นิรยํ  เนติ                        ธมฺโม ปาเปติ  สุคตึ "


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 38
แปลว่า  "  ธรรมและอธรรมทั้ง ๒  อย่างมีผลไม่เสมอกัน  อธรรมย่อม
นำไปสู่ที่ไม่มีความเจริญ  ธรรมย่อมให้ถึงที่ไปที่ดีคือมีสุข "  ดังนี้.
ธรรมในที่นี้หมายถึงความดีความชอบ  ที่เป็นความจริงและเป็น
ประโยชน์  อันตรงกันข้ามกับอธรรม. 
           คนที่เกิดมา ย่อมเป็นต่าง ๆ กัน  คือเกิดในสกุลที่นิยมว่าดีบ้าง
เลวบ้าง  มีรูปพรรณดีบ้าง  เลวบ้าง  ฉลาดบ้าง  โง่บ้าง  มีสุขมีทุกข์
น้อยบ้าง  มากบ้าง  เป็นต้น ท่านแสดงว่าเป็นเพราะเหตุ  คือธรรมและ
อธรรม  ได้แก่กรรมที่ได้ทำไว้ในปางก่อนต่าง ๆ กัน  ถ้าธรรมคือกรรม
ที่ดีเป็นบุญกุศล  เป็นเหตุ  ก็ให้ผลดี  ถ้าอธรรมคือกรรมที่ชั่วเป็นบาป
อกุศล  เป็นเหตุ  ก็ให้ผลชั่ว  คนเป็นต่าง ๆ กัน  เพราะเหตุคือธรรม
และอธรรม  หรือกรรมที่ดีและกรรมที่ชั่ว  ดังนี้.
           ส่วนที่ล่วงไปแล้วจะเป็นอย่างไรก็ตาม  ก็เป็นอันล่วงไปแล้วจะ
แก้ไม่ได้  เหตุในบัดนี้นี่แหละเป็นสำคัญ  เพราะจักต้องทำและจักให้ผล
ต่อไป  ทั้งในปัจจุบัน  ทั้งในภายหน้า  ถ้าไม่เชื่อก็พึงพิจารณาดูใน
ปัจจุบันเป็นเครื่องเทียบเคียง.  ถ้าบุคคลมีความอยากได้อย่างแรงกล้า
จนไม่นึกถึงผิดถูก  เพ่งแต่จะให้ได้ถ่ายเดียว  ( อภิชฌา )  ก็ตาม  มุ่ง
ปองร้ายผู้อื่น  ( พยาบาท )  ก็ตาม  เห็นผิดจากคลองธรรมคือทางที่ผิด
( มิจฉาทิฏฐิ )  ก็ตาม  และประกอบด้วยโลภะ  โทสะ  โมหะ  ซึ่งเป็น
มูล  ย่อมมีใจกระวนกระวายเดือดร้อนมัวหมองมืดมนเป็นผลชั่ว  เป็น
ทุกข์ทางใจที่ได้รับปรากฏแก่ตนเองในบัดนั้น  แต่ไม่พิจารณาดูจึงไม่รู้
ครั้นเมื่อทำกรรมชั่วลงทางกาย  ทางวาจา  เช่นลักเขาก็ตาม  ฆ่าหรือ


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 39
ประหารเขาก็ตาม  หลอกลวงหรือด่าว่าเขาก็ตาม  ถึงจะไม่มีใครทันถาม
ก็ย่อมได้รับผล  คือเป็นคนชั่วปรากฏ  เพราะเหตุนั้น ๆ.  นี้เป็นผลที่ได้
รับในภายใน  คือที่ตนเองหนีไม่พ้น  และยังจะได้รับชั่ว  เพราะถูก 
ลงโทษตามกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง คนที่มีใจกระวนกระวายเดือดร้อนมัว
หมองนั้น จะอยู่บนปราสาทหรือในสถานใด  ๆ  ก็ไม่มีสุข  และถ้าละ
โลกนี้ในเวลาที่มีจิตเป็นเช่นนั้น  ก็น่าจะไปสู่ที่ไปที่ชั่ว  ( ทุคติ )  ตาม
บทพระบาลีว่า
                        " จิตฺเต  สงฺกิลิฏฺเฐ  ทุคฺคติ  ปาฏิกงฺขา "
" เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว  ทุคติเป็นอันต้องหวัง " ถ้าบุคคลมีจิต
ปราศจากความอยากได้อันแรงกล้า ( อนภิชฌา )  ปราศจากมุ่งร้าย
ผู้อื่น  ( อพยาบาท )  เห็นชอบถูกต้องตามคลองธรรมคือทางที่ถูก
( สัมมาทิฏฐิ )  และประกอบด้วยอโลภะ อโทสะ  อโมหะ  ซึ่งเป็นมูล
ย่อมมีใจสงบแช่มชื่นผ่องใส  เป็นผลดี  เป็นสุขทางใจที่ได้รับปรากฏ
แก่ตนเองในบัดนั้น  เมื่อพิจารณาดูอาจรู้  ครั้นเมื่อทำกรรมดีลงทาง
กายทางวาจา  เช่นช่วยอุดหนุนเผื่อแผ่เจือจานแก่ผู้อื่นที่สมควรก็ตาม
ช่วยชีวิตผู้อื่นก็ตาม  พูดถ้อยคำที่จริงและเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นก็ตาม
ถึงจะไม่มีใครยกย่อง  ก็ได้รับผลดี  คือเป็นคนดี  เพราะเหตุนั้น ๆ
นี้เป็นผลดีที่ได้รับในภายใน  คือ  ที่ตนเองหนีไม่พ้น  และยังจะได้รับ
ผลดี  เพราะเขายกย่องสรรเสริญ  อาจได้ลาภยศอีกส่วนหนึ่ง  คนที่มี
ใจสงบแช่มชื่นผ่องใสเพราะความดีนั้น  จะอยู่ที่บ้านป่าหรือสถานใด ๆ
ก็มีสุข  และถ้าละโลกนี้ไปในเวลาที่มีจิตเป็นเช่นนั้น ก็น่าจะไปสู่ที่ ๆ ดี


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 40
( สุคติ )  ตามบทพระบาลีว่า
                        " จิตฺเต  อสงฺกิลิฏฺเฐ  สุคติ  ปาฏิกงฺขา "
" เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว  สุคติเป็นหวังได้ "  ดังนี้. 
           เหตุอันใดที่ทำไปแล้ว  จะแก้ให้เป็นไม่ได้ทำไม่ได้  ถึงผลที่เกิด
เพราะเหตุนั้น  ก็แก้ไม่ได้  ในเมื่อไม่แก้เหตุ  เหมือนดังจับไฟเข้าแล้ว
จะแก้ให้เป็นไม่จับไม่ได้  และผลที่เกิดจากจับไฟคือร้อน  ก็แก้ให้ไม่
ร้อนไม่ได้ จะแก้ได้ก็ด้วยทำเหตุใหม่ เหมือนดังปล่อยไฟเสียแล้ว
หาของที่ดับพิษไฟมาทา  ผลคือความหายร้อนก็ย่อมปรากฏ  หรือดื่ม
ยาพิษเข้าไปแล้ว จะแก้ให้เป็นไม่ดื่มไม่ได้  และผลที่เกิดแต่ดื่มยาพิษ
ก็คงเป็นไปตามเหตุ  ถ้าจะแก้ก็ต้องแก้เหตุ  เช่นทำให้อาเจียนออกมา
เสีย  หรือหาของที่ทำลายฤทธิ์ยาพิษนั้นดื่มตามเข้าไป  ผลที่เกิดแต่
ดื่มยาพิษก็ย่อมระงับไปเอง  เหตุอย่าง ๑  ย่อมแก้เหตุอย่าง ๑  ซึ่งตรง
กันข้ามตามกำลัง  ผลก็ย่อมปรากฏเป็นไปตามเหตุนั้นเอง  ข้อนี้
ฉันใด  อธรรมหรือกรรมชั่วอันเป็นเหตุชั่วที่ได้ทำไปแล้ว  จะแก้
ให้เป็นไม่ทำไม่ได้ ผลชั่วก็ย่อมเกิดขึ้นตามเหตุ  ถ้าจะแก้ก็ต้อง
ประกอบธรรมหรือกรรมดี อันเป็นเหตุที่ดีขึ้น  ผลดีจึงปรากฏตามเหตุ
ก็ฉันนั้น  เพราะฉะนั้น  จึงมีสุภาษิตที่ท่านอ้างว่า  พระสัมมาสัมพุทธะ
ได้ตรัสไว้ว่า
                " ยสฺส  ปาปํ  กตํ  กมฺมํ                กุสเลน  ปิถียติ "
แปลว่า   " กรรมชั่วอันผู้ใดทำแล้ว  อันผู้นั้นย่อมปิดกั้น  ( หรือละ )
เสีย คือ  ไม่ทำให้เกิดขึ้นอีก  ด้วยกรรมอันเป็นกุศล "  ดังนี้


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 41
           เหตุนี้  ผู้หวังความเป็นคนดีตามคลองธรรมและประโยชน์สุข
จึงสมควรศึกษาให้รู้จักธรรมและอธรรม หรือกรรมที่ดีคือบุญและกรรม
ที่ชั่วคือบาป  และพยายามละอธรรมหรือกรรมที่ชั่ว  ทำธรรมหรือ 
กรรมที่ดีให้เจริญยิ่งขึ้น  เพื่อประโยชน์ตนในปัจจุบัน  เพื่อประโยชน์แก่
หมู่  เพื่อประโยชน์อย่างสูง  ตามสามารถโดยลำดับ  ไม่ควรประมาทว่า
ยังเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่  ยังไม่ควรศึกษาให้รู้และปฏิบัติดี  เพราะถึงยัง
เป็นหนุ่มเป็นสาว  ก็เป็นคนดีหรือเป็นคนชั่วได้เท่ากับเป็นผู้ใหญ่  ทั้ง
อาจตายได้ในเวลาที่ยังเป็นเด็กหรือเป็นหนุ่มเป็นสาว  เพราะชีวิตไม่มี
กำหนดหมาย.
           พระโพธิสัตว์เจ้าได้ทรงพยายามทำเหตุที่ดีละเหตุที่ชั่วมาโดยลำดับ
ในชาติเป็นที่สุด  จึงได้ประสบผลดี  คือ  เกิดในสกุลสูง  มีรูปงาม
ฉลาด  ศึกษารู้ศิลปศาสตร์เป็นเยี่ยม  มีทรัพย์ที่มีชีวิตและไม่ชีวิตมาก
มีโรคภัยไข้เจ็บน้อย  ในที่สุดเมื่อได้ทรงบำเพ็ญเหตุที่ดีเต็มที่  กำจัดเหตุ
ที่ชั่วให้สิ้นไป  จึงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ผู้รู้ผู้ตื่น  เพราะไม่หลงด้วย
พระองค์เองโดยชอบ  พ้นจากเกิดแก่เจ็บตาย  ด้วยประการฉะนี้.
           หมายเหตุ :-  บทเรียนบทนี้  หรือพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้
จะให้ความรู้แก่นักเรียน  ดังต่อไปนี้
           ๑.  ถ้อยคำและสำนวนโวหารชัดเจนและแจ่มแจ้งยิ่งนัก  อัน
ผู้ฟังหรือผู้อ่านจะพึงรู้ยิ่งเห็นจริงได้เป็นอย่างดี  เพราะไม่มีข้อกำกวม
หรือคลุมเครืออย่างใดอย่างหนึ่งเลย  ทุก ๆ ข้อที่แสดง  ฟังง่ายเข้าใจ


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 42
ง่าย  แต่ทว่าไม่ดาดหรือสามัญที่จะทำให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านรู้สึกเบื่อรู้สึก
หน่าย  นี่เป็นคุณสมบัติอย่างสูงที่นักเรียนควรมุ่งหมายและฝึกฝนให้เกิดมี
ขึ้นในตน. 
           ๒ .  พระธรรมเทศนากัณฑ์นี้เป็นกัณฑ์ใหญ่  แต่สุภาษิตที่ท่าน
ชักมาอ้างมีเพียง ๔ แห่งเท่านั้น  ถ้าพิจารณาดู  จะเห็นได้ว่ามีอีกหลาย
แห่งที่ควรจะชักสุภาษิตมาอ้างอีกได้  แต่ท่านหาชักมาไม่  นี่แสดงว่า
ท่านถนอมนัก  ท่านชักมาเฉพาะในที่จำเป็นเท่านั้น  และจำเป็นอย่างไร
พิจารณาดูก็จะเห็นได้  เช่นตอนที่กล่าวถึงทุคติและสุคติและการแก้
กรรมชั่ว  เหล่านี้ล้วนแต่เป็นเรื่องจำเป็นทั้งสิ้น  เพราะยากที่จะเห็น
หรือเห็นไม่ได้เลย  ปรีชาญาณของสามัญชนไม่สามารถจะหยั่งได้  เมื่อ
ได้ชักสุภาษิตมาอ้าง  เป็นอันตัดปัญหาใด ๆ ทั้งสิ้น.


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 43
                                               บทที่ ๔
           " สมเด็จพระมหาสมณเจ้านั้น ทรงบริบูรณ์ด้วยพระสมบัติ  ๓ คือ
พระชาติสมบัติ  พระวัยสมบัติ  และพระคุณสมบัติ  อันสำคัญ  ทรง 
บากบั่นข้ามล่วงอุปสรรคอันผ่านมาปรากฏในหน้าที่  ทรงรักษาพระคุณ
ความดีไว้ไม่ให้เสื่อมสูญ มีแต่ทรงเพิ่มพูนให้ทวียิ่งขึ้น พื้นพระหฤทัย
ดำรงมั่นอยู่ในพระธรรม  ไม่ป่วนปั่นไปตามอารมณ์และผัสสะ  ซึ่งเป็น
อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์  ที่มายวนยั่วให้ทรงเมามัวยินดีตาม  หรือ
คุกคามให้ทรงสะดุ้งหวาดหวั่นพรั่นพรึงรำคาญ  มีพระปรีชาญาณว่องไว
หลักแหลมดั่งเพชร  ทรงวินิจฉัยเด็ดขาดได้รวดเร็วฉับพลัน  ในเหตุ-
การณ์ที่ควรและไม่ควรนั้น ๆ  มีพระสติตั้งมั่นทั้งในสมบัติทั้งในวิบัติ
ทรงดำเนินพระปฏิบัติในทางวิทยาศาสตร์ ทรงสามารถในสกสมัยและ
ปรสมัย  มีพระเกียรติฟุ้งขจรไปในไกวัลสยามรัฐตลอดถึงไพรัชประเทศ
เป็นมุนีศรีเศวตกุญชรในสยามเมทนีดล  เป็นมุ่งขวัญเกียรติมงคลอัน
ุอุดมของพระบรมราชจักรีวงศ์  ตลอดถึงสยามรัฐและพระพุทธศาสนา
เพราะพระสัปปุริสคุณสัมปทา ที่มีในพระองค์ประกาศขจรไป  เพิ่มพูน
พระนามาภิไธยและพระเกียรติ  ให้ปรากฏในวิทูรประเทศนั้น ๆ  ต้อง
ด้วยพระพุทธพจนประพันธ์ว่า
              " ทูเร สนฺโต  ปกาเสนฺติ                หิมวนฺโต ว  ปพฺพโต "
" สัตบุรุษ  ย่อมปรากฏในที่ไกล  เหมือนเขาหิมพานต์. "  พระองค์มีพระ

๑.  จากธรรมเทศนาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ณาณวร  เจริญ )  วัดเทพศิรินทร์.


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 44
อนาคตังสญาณ  อาจทรงหยั่งเห็นเหตุการณ์ข้างหน้า  อันจะเกิดหายนะ
และวัฒนะแก่พระศาสนาและบริษัท  ทรงบริบูรณ์ด้วยพระคุณสมบัติ
สัปปุริสธรรม ๗ ประการ  มีธัมมัญญูเป็นต้น มีปุคลัญญูเป็นปริ- 
โยสาน.  ทรงเชี่ยวชาญในทางพระปริยัติธรรมเป็นเอกอัครยอดยิ่งแห่ง
ปริยัติบัณฑิตาจารย์ เพราะทรงแตกฉานในปฏิสัมภิทาทั้ง ๔.  มีพระปรีชา
ญาณรอบคอบสุขุมคัมภีรภาพอุกฤษฏ์  ทรงแสดงธรรมพิจิตรแก่ผู้สดับ
ดูดดื่มซึมซาบแทรกเข้าไปในใจ  เปลี่ยนอัธยาศัยที่ต่ำทรามให้ประณีต
ดีขึ้น  เหมาะแก่กาลเทศะและบริษัทในสมาคมนั้น ๆ  เป็นทิฏฐานุคติ
แห่งธรรมกถึกทั้งมวล สมควรได้รับพระเกียรติเป็นเอกอุแห่งธรรมกถึก
ทั้งหมด.  และทรงดำรงพระอิสริยยศอย่างสูงสุดในพระบรมวงศานุวงศ์
และในบรรพชิตมณฑลทั่วสกลสยามราชอาณาจักร.  ทรงบริบูรณ์ด้วย
บัณฑิตลักษณะ  คือ  ทรงนำพาพระธุระอันมาถึงในหน้าที่  ไม่ทรงนำพา
พระธุระอันยังไม่มาถึงซึ่งมิใช่วิสัย  ต้องตามเทศนานัยแสดงลักษณะแห่ง
บัณฑิตซึ่งเป็นพระพุทธภาษิตในทุกังคุตตรนิกายว่า
                                " อาคตํ  ภารํ วหติ "
                        " บัณฑิตย่อมนำพาธุระที่มาถึงอย่าง ๑ "
                                " อนคตํ  ภารํ  น วหติ "
                        " ย่อมไม่นำพาธุระที่ยังไม่มาถึง ๑ "  ดังนี้.
           อนึ่ง  ทรงบริบูรณ์ด้วยพระปรหิตปฏิปทา  ทรงแบ่งเบารับพระ
ราชภาระอันสำคัญ แห่งสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าในทาง
พระพุทธศาสนาทั้งหมด  ทรงปรากฏว่ามีพระอุตสาหวิริยภาพอันยิ่ง


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 45
ใหญ่  ในอันที่จะทรงจัดกิจการบริหารป้องกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
ให้เจริญรุ่งเรืองทันสมัย  อุบัติเหตุใด ๆ  ซึ่งจะทำให้เกิดอนัตถะไม่เป็น
ผลอันดี  ที่ยังไม่เกิดมีก็ทรงจัดการระวัง  เมื่อพลาดพลั้งเกิดขึ้นมาแล้ว
ก็ทรงเขม้นขะมักเพื่อจักทรงระงับให้ราบคาบ  ข้อเสียหายที่หยาบและ 
ละเอียดอันมีอยู่ ก็ตั้งพระหฤทัยตรวจตราดู  เพื่อจะเลิกถอนผ่อนปรน
ให้หมดสิ้นไป  การใด ๆ  เป็นทางแห่งความเจริญ  แม้จะสำเร็จยาก
เท่ายากสักปานไร  ก็ไม่ทรงทอดพระอาลัย ทิ้งพระธุระ  เมื่อเป็นกาละ
ที่ทรงจัดขึ้น  ส่วนที่ได้ทรงจัดไว้แล้วก็มีพระประสงค์จะรักษาให้ยืนยง
คงที่  ทรงสอดส่องตรวจตราพระกรณียะอยู่เป็นนิตย์  ในกิจพระศาสนา
ทั้งฝ่ายปริยัติทั้งฝ่ายบริหาร  เช่นทรงจัดการวางวิธีระเบียบการศึกษาและ
การสอบไล่  ทรงแต่งตำราทั้งธรรมทั้งวินัยบรรจุวิชาให้เจริญมาก  ทรง
ขยายการเรียนธรรมวินัยซึ่งเป็นบุพพภาค  ให้แผ่ออกไปในจังหวัดหัว
เมือง  อันยังไม่เคยมีมาแต่เก่าก่อน  ทรงแนะนำพร่ำสอนปลูกอัธยาศัย
คฤหัสถ์และบรรพชิต  ให้มีจิตนิยมในเรื่องบริหาร  ปฏิสังขรณ์ถาวร-
วัตถุในสังฆิกาวาสที่ชำรุดทรุดโทรมเสื่อมทราม  ให้งดงามเรียบร้อยดี
ทรงบำเพ็ญความสามัคคีให้มีในพระสงฆ์และคฤหัสถ์  ให้สนิทสนมกลม
เกลียวมั่นคง.  ทรงพระอุตสาหะเสด็จตรวจตราการคณะ  โปรดประทาน
พระธรรมเทศนาแก่พุทธบริษัท  ทั้งในกรุงและจังหวัดหัวเมือง  ให้เป็น
ประโยชน์รุ่งเรือง  ประเทืองสุขแก่ประชานิกรเป็นอันมาก  ชื่อว่าโดย
เสด็จสมเด็จพระผู้มีพระภาค  ในส่วนโลกัตถจริยา  คือทรงประพฤติ
ประโยชน์แก่โลก  และในส่วนสัตตูปการสัมปทา  คือทรงถึงพร้อม


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 46
ด้วยอุปการะแก่เวไนยสัตว์และทรงบริบูรณ์ด้วยพระคุณสมบัติ  คือจตุพิธ
พรหมวิหารและสังคหวัตถุ ๔  ทรงบำเพ็ญให้เป็นไปด้วยดีในพระประยูร
ญาติ  และบรรพชิตคฤหัสถ์ตามสมควรแก่บริษัทฐานกาละและบุคคล
นั้น ๆ  ทรงสมบูรณ์ด้วยมิตรธรรมญาติธรรม  อันพระกุศลนั้น ๆ  หาก  
อุปถัมภ์ให้ได้ทรงรับผลานิสงส์  มีพระเกียรติยศอันสูงสุดในพระบรม
วงศานุวงศ์เป็นมนุษยนาคอาชาไนยอติชาติในวงศ์สกุล  หนุนพระเชฏฐ-
ภาดาให้เพิ่มพูนพระอิสริยยศอันสูงศักดิ์  เป็นที่พึ่งพำนักของพระประยูร-
ญาติและบรรพชิตคฤหัสถ์  เสด็จอุปบัติมายังประโยชน์และสุขให้สำเร็จ
แก่ประชุมชนทั่วไปทุกชั้น  ทั้งพระราชวงศ์เสวกามาตย์ราษฎรตลอดถึง
รัฐมณฑล  สมด้วยพระพุทธนิพนธ์ว่า
              " ทุลฺลโก  ปุริสาชญฺโญ                น  โส  สพฺพตฺถ  ชายติ
              ยตฺถ  โส  ชายตี  ธีโร                         ตํ  กุลํ สุขเมธติ. "
" บุรุษอาชาไนย  คือท่านผู้องอาจ  หาได้ยาก  ย่อมไม่เกิดในที่ทั่วไป
ท่านผู้มีปัญญาเป็นอาชาไนยนั้น  เกิดในสกุลใด  สกุลนั้นย่อมได้
ความสุข "  ดังนี้.
           พระอัตตหิตสมบัติและพระปรหิตปฏิบัติ  เช่นมีนิทัสสนนัยดังรับ
พระราชทานถวายวิสัชนามาโดยสังขิตตกถา  เป็นพระคุณสัมปทามี
บริบูรณ์  ซึ่งได้ทรงทำประโยชน์เกื้อกูลอันยิ่งใหญ่ไพศาลแก่บริษัท
บริวารพระราชอาณาจักรและพระพุทธศาสนา  นับว่ามีพระชนม์มาเต็ม
ไปด้วยประโยชน์  ไม่เป็นหมันมิได้ป่วยการ  ทรงถือเอาแก่นสาร
และคุณอันประเสริฐแห่งร่างกายที่ไม่มีแก่นสาร  ต้องตามพระพุทธ-


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 47
บรรหารที่ตรัสไว้ในปัญจกังคุตตรนิกายว่า
              " สาราทายี  จ  โหติ                วราทายิ  จ  กายสฺส "
           " ผู้มีคุณความดี  ชื่อว่าถือเอาสาระ  และคุณอันประเสริฐแก่กาย "
ดังนี้.     
           สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า  ผู้มีพระคุณนานัปการ ดังรับพระราช-
ทานถวายวิสัชนามา  แม้สิ้นพระชนม์ล่วงลับไป  แต่พระคุณสมุทัย
ยังเหลือปรากฏอยู่ในใจแห่งมหาชนแทนพระองค์สืบไปสิ้นกาลนาน  ส่วน
พระเบญจสกนธ์ก็เป็นไปตามคติของสังขาร  มีอาการเสื่อมสิ้นดับไปเป็น
ธรรมดา  เหตุดังนั้น  พุทธมามกชนผู้มีปรีชาพึงบำเพ็ญความไม่ประมาท
ตามกระแสพระปัจฉิมโอวาทของสมเด็จพระผู้มีพระภาค  อรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า  ผู้เป็นพระบรมศาสดาจารย์  เมื่อจวนจะเสด็จดับ
ขันธปรินิพพาน  ได้ทรงกำชับตรัสสอนไว้ว่า
              " หนฺททานิ  ภิกฺขเว  อามนฺตยามิ  โว  อยธมฺมา  สงฺขารา
อปฺปมาเทน  สมฺปาเทถ "
" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า  สังขารทั้งหลาย
มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึง
พร้อมเถิด "  ดังนี้  ความไม่เผอเรอเลินเล่อ  ชื่อว่าอัปปมาท  โดยอรรถ
คือการไม่อยู่ปราศจากสติ  ซึ่งเป็นเหตุอำนวยสุขเป็นผล  อันวิญญูชน
สรรเสริญในบุญกิริยาทุกสิ่งสรรพ์  ดังพระชินสุภาษิตพจนประพันธ์ว่า
              " อปฺปมาทํ  ปสํสนฺติ                ปุญฺญกิริยาสุ  ปณฺฑิตา "
" บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญความไม่ประมาทในการทำบุญทั้งมวล "        


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 48
อัปปมาทนั้น  สาธุชนควรบำเพ็ญให้เป็นไปในส่วนตนและผู้อื่น ทั้งใน
คดีโลกทั้งในคดีธรรม  พ้นจากการพลั้งพลาด  ได้บรรลุประโยชน์ตาม
ความปรารถนา  ในกิจการและปฏิปทานั้น ๆ  มีข้อนี้เป็นอานิสงส์ผล
สมเด็จพระนราสภทศพล  จึงได้ตรัสเตือนพุทธบริษัทโดยเจาะจงว่า 
                                " อปฺปมาทรตา  โหถ "
" ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท "  เมื่อนรชาติมีสติ
ไม่มัวเมา จึงคอยเฝ้ารักษาจิตบำเพ็ญประโยชน์กิจให้สำเร็จทั้งแก่ตน
และคนอื่น  และได้บรรลุประโยชน์ ๓  คือทิฏฐธัมมิกประโยชน์
สัมปรายิกประโยชน์  และปรมัตถประโยชน์  ตามสมควรแก่ข้อปฏิปทา.
อัปปมาทนั้น  ย่อมมีมาจากการพิจารณาเห็นความเสื่อมเป็นเบื้องต้น
บุคคลคิดถึงความเสื่อมทรามหรืออันตราย  อันจักมีมากล้ำกรายเกิดขึ้น
แก่ตน  บริวารชน  และทรัพย์สมบัติ  จึงได้ไม่ประมาท มีสติคิดกำจัด
ป้องกันบริหาร  ฝ่ายสาธุชนผู้คิดถึงความเสื่อมสิ้นของสังขารด้วยกำลัง
ชรา พยาธิ  มัจจุราช  จึงไม่ประมาท  มัวเมา  มีสติเฝ้ารักษาจิต  เพียง
ละเลิกอกุศลทุจริตในกาย  วาจา  ใจ  อบรมกุศลสุจริตให้เกิดมีในสันดาน
เพราะเหตุนั้น พระบรมศาสดาจารย์จึงตรัสความเสื่อมไว้ในเบื้องต้นว่า
                                " วยธมฺมา  สงฺขารา "
" สังขารทั้งหลาย  มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา "  ดังนี้  แล้วตรัสความ
ไม่ประมาทไว้ในเบื้องหลังว่า
                                 " อปฺปมาเทน  สมฺปาเทถ "
" ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม "  ดังนี้.


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 49
           หมายเหตุ :-  บทเรียนบทนี้  หรือพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้  จะ
ให้ความรู้แก่นักเรียนดังต่อไปนี้ 
           ๑. หลักสำคัญ ๆ  ในการแต่งเป็นทำนองเทศน์ตามที่ได้พรรณนา
ไว้ในตอนต้นนั้น  มีอยู่ในพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้โดยบริบูรณ์  ถ้า
นักเรียนเรียนด้วยความตั้งใจ จักพบหลักสำคัญ ๆ  เหล่านั้นเป็นแน่แท้
และจักเป็นประโยชน์ในการแต่งของนักเรียนยิ่งนัก.
           ๒.  ในตอนต้นแห่งพระธรรมเทศนา  แสดงพระมหาสมณคุณ
ด้วยถ้อยคำและสำนวนโวหารอันไพเราะสละสลวย  เป็นที่น่าจับใจเป็น
อย่างยิ่ง.  ในตอนปลาย แสดงธรรมีกถาด้วยถ้อยคำและสำนวน
โวหารอันหลักแหลมลึกซึ้ง  เป็นที่น่าดูดดื่มเป็นที่สุด.
           ๓.  การแต่งเป็นทำนองเทศน์  ตามหลักมีอยู่ว่า  ต้องใช้ศัพท์บ้าง
ในที่ ๆ ควรใช้  และถ้ารับสัมผัสกันก็อย่าให้เลอะ  ความรู้สึกว่ายากนั้น
เพราะจะต้องระมัดระวังให้เป็นไปพอดี แต่ถ้านักเรียนเรียนบทนี้
แล้ว  ถือเอาเป็นเนตติคือแบบอย่าง  ความยากในเรื่องทั้งสองนั้น  จัก
ลดลงมากทีเดียว  ความหนักใจของนักเรียนก็จักเบาบางลงไม่น้อย.


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 50
                                              บทที่ ๕
                        " สทฺธีธ  วิตฺตํ  ปุริสสฺส  เสฏฺฐํ
                        ธมฺโม  สุจิณฺโณ  สุขมาวหาติ 
                        สจฺจ  หเว  สาธุตรํ  รสานํ
                        ปญฺญาชีวี  ชีวิตมาหุ  เสฏฺฐนฺติ. "
           ศรัทธาเป็นคุณธรรมสำคัญ  บุคคลทำให้เกิดขึ้นในจิตเป็นชั้นต้น
แล้ว อาจให้เกิดผลความดีอื่น ๆ  ต่อไปโดยลำดับ  ดุจพืชสำหรับ
หว่านเพาะให้เกิดผลฉะนั้น  ธรรมชาติที่ชื่อว่าศรัทธานี้  ประสงค์ความ
เชื่อที่ประกอบด้วยปรีชาเป็นญาณสัมปยุต  นิยมนับถือความบริสุทธิ์เป็น
ที่ตั้ง  เชื่อต่อสิ่งที่ควรเชื่อ  แจกออกโดยประเภทเป็น ๔ ประการ  ความ
เชื่อต่อเหตุคือการทำดีทำชั่ว  เรียกว่า  " กมฺมสทฺธา "  อย่าง ๑ ความเชื่อ
ต่อผลอันเกิดแต่เหตุนั้น  เรียกว่า  " วิปากสทฺธา "  อย่าง ๑  ความเชื่อ
ว่าบรรดาสัตว์ไม่เลือกว่าชาติไหนภาษาไหน  ล้วนมีกรรมสิ่งที่ตนทำเป็น
ของตน  คือ  ทำดีได้รับผลดี ทำชั่วได้รับผลชั่ว  เรียกว่า  " กมฺมสฺส-
กตาสทฺธา "  อย่าง ๑  ความเชื่อต่อความตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้า  เรียก
ว่า  " ตถาคตโพธิสทฺธา "  อย่าง ๑.  ศรัทธามีประเภทดังพรรณนามานี้
เป็นคุณสมบัติอันเป็นเค้ามูลให้ประพฤติความดี มีแก่ผู้ใดแล้ว  ก็พาผู้
นั้นให้มั่นจิตคิดบากบั่นในที่จะทำกิจที่ตนคิดเห็นว่าเป็นการชอบ  ไม่ท้อ
ถอยหรือหวาดหวั่นแต่ภยันตราย มุ่งหลายแต่ความชอบธรรมเป็นใหญ่


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 51
ไม่นิยมในลาภอันจะเกิดมีด้วยประการอื่น  พากเพียรทำกิจนั้นจน
สำเร็จผลอันประเสริฐ เกิดความปลื้มใจ  เหตุดังนี้  สมเด็จพระมหา-
มุนีบรมสุคต จึงตรัสเทศนายกศรัทธาขึ้นเป็นอริยทรัพย์  โดยพุทธ-
ภาษิตว่า 
                        " สทฺธีธ  วิตฺตํ  ปุริสสฺส  เสฏฺฐํ "
" ศรัทธา  เป็นทรัพย์อันประเสริฐของคนในโลกนี้ "  ดังนี้.  และศรัทธา
นี้เป็นเพื่อนสองกันความเปลี่ยวใจ  ชักพาให้ประพฤติธรรมเป็นสุจริต
มิให้ประพฤติผิดจากธรรมอันชอบ  คุณความดีที่คุ้มครองรักษาผู้ปฏิบัติ
ไว้มิให้ตกไปในที่ชั่ว  ชื่อว่าธรรมอันชอบ  คุณธรรมความดีที่เป็นไป
เพื่อสุขประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติ  นักปราชญ์ยกย่องสรรเสริญไม่คัดค้าน
บุคคลควรปฏิบัติให้มีขึ้นในตนโดยส่วนเดียว  เพราะความดียิ่งมีมาก
ขึ้นเพียงใด  ก็ยิ่งเพิ่มพูนคุณสมบัติให้ไพบูลย์เพียงนั้น  อันคุณธรรม
ความดีย่อมมีมากเป็นอเนกนัย  จะยกขึ้นถวายวิสัชนาในที่นี้โดยนิทัสสน-
นัย  ได้แก่คารวะความเคารพต่อบุคคลควรเคารพ  คุณข้อนี้ก็เป็นธรรม
ที่นักปราชญ์ยกย่องสรรเสริญว่า เป็นข้อปฏิบัติควรทำให้มีขึ้นในตน อาจ
คุ้มครองผู้ปฏิบัติไว้มิให้ตกไปในที่ชั่ว  ธรรมดาผู้ที่จะประพฤติตนให้ตั้ง
อยู่ในคุณธรรมทั้งปวง  เพื่อหวังความสุขความเจริญแก่ตน  เช่นจะปฏิบัติ
ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าก็ดี  หรือจะศึกษาศิลปวิทยาที่หาโทษมิได้
ก็ดี ที่สุดแต่จะเจรจาปราศรัยกับประชุมชนก็ดี  ต้องอาศัยความเคารพ
อ่อนน้อมเป็นเบื้องต้นช่วยอุปถัมภ์ด้วย  จึงจะทำความปฏิบัติและความ
ศึกษาเป็นต้นนั้น ให้บรรลุสุขุมประโยชน์ตามกาลตามสมัย การนำมานะ


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 52
ความถือตนออกเสียแล้ว  มาอภิวาทกราบไหว้ต้อนรับบูชาท่านที่ควร
อภิวาทกราบไหว้ต้อนรับบูชา  คือพระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้า
หรืออาจารย์ และอุปัชฌาย์  บิดามารดาหรือญาติของตนที่เป็นผู้ใหญ่กว่า
มีพี่ชายพี่หญิงเป็นต้น  ชื่อว่าความเคารพต่อบุคคลควรเคารพ  ผู้ที่ 
ประกอบด้วยความเคารพดังนี้  ย่อมได้บรรลุสุขความเจริญไม่เสื่อมถอย
เหตุดังนั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในจูฬกัมมวิภังคสูตร มีใจ
ความว่า  " สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้  เป็นคนไม่กระด้างไม่มีมานะ
ไหว้บุคคลที่ควรไหว้  ต้อนรับบุคคลที่ควรต้อนรับ  ให้ที่นั่งแก่บุคคลที่
ควรให้  หลีกทางให้แก่บุคคลที่ควรหลีก  ให้สักการะเคารพนับถือบูชา
บุคคลที่ควรสักการะเคารพนับถือบูชา  สตรีหรือบุรุษนั้นครั้นทำลายขันธ์
สิ้นชีพแล้ว  ย่อมเข้าถึงโลกซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความสุขสำราญ  คือสุคติ
ภพโลกสวรรค์  ด้วยอำนาจกรรมคือความเคารพที่ตนสมาทานสั่งสมให้
บริบูรณ์นั้น  ถ้าไม่เข้าถึงโลกเช่นนั้น  มายังมนุษยโลกนี้  ย่อมเกิดในสกุล
สูงมีสกุลกษัตริย์และอำมาตย์เป็นต้น. "  ข้อปฏิบัติคือความเป็นคนไม่
กระด้าง  เคารพต่อบุคคลควรเคารพนี้  เป็นไปเพื่อให้ผู้ประพฤติเกิดใน
สกุลสูงด้วยประการฉะนี้  ผู้ประพฤติธรรมคือคารวะด้วยอาการคือมีความ
นับถือจริง ๆ  ดังฉัตรแก้วกั้นภยันตราย  ประพฤติโดยเต็มฉันทอัธยาศัย
เป็นนิจนิรันดร์  ย่อมจะได้ประสบสุขสุขอิฏฐวิบุลผล  ถึงยังไม่เป็นโอกาส
ก็ยังอาจได้ความชื่นบานที่เกิดแต่ความรู้สึกว่าได้ทำการอันปราศจากโทษ
เมื่อเป็นโอกาสก็ยังได้บรรลุประโยชน์สุขอย่างอื่น ๆ  อีกเป็นอานิสังสผล
ต้องตามสุภาษิตพุทธนิพนธ์ว่า


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 53
                                                บทที่ ๕  
                                " ธมฺโม  สุจิณฺโณ  สุขมาวหาติ "
           " ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว  นำสุขมาให้ "  และธรรมที่บุคคลประ-
พฤติดีแล้ว  ย่อมดัดใจผู้ประพฤติให้ตั้งอยู่ในความสัตย์เที่ยงธรรมไม่เอน
เอียง.  ความประพฤติอะไรด้วยน้ำใจจริง  ชื่อว่าความสัตย์  มีนิทัสสน-
อุทาหรณ์ที่จะพึงแสดง  คือความประพฤติเที่ยงธรรมในหน้าที่  ความ
ซื่อตรงต่อมิตร  และความสวามิภักดิ์ในเจ้าของตน และความกตัญญู
ในท่านผู้มีอุปการคุณ  ความสัตย์นี้เป็นรสให้เกิดความชื่นบาน  เป็นที่
จับใจของชนทั้งปวง  ล่วงเสียซึ่งสรรพรสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณ
ก็ดี ด้วยทวารอื่นก็ดี  เพราะทำบุคคลให้สามัคคีพร้อมเพรียงเป็นน้ำ
หนึ่งใจเดียวกัน  ช่วยประกอบกิจนั้นให้สำเร็จเป็นประโยชน์แก่ตนและ
ผู้อื่นทั้งสองฝ่าย  สมตามเทศนานัยพุทธภาษิตว่า
                                " สจฺจํ  หเว  สาธุตรํ  รสานํ "
" ความสัตย์นั่นแล  ดีกว่ารสทั้งหลาย "  ดังนี้  และความสัตย์นี้ย่อมชักนำ
ให้บุคคลใช้ความตริตรอง  ในที่จะประกอบกิจให้หลีกจากสรรพโทษที่
เป็นอสัตย์อธรรม  เป็นทางได้ปัญญา.  ปรีชาญาณที่รู้จักหลีกเลี่ยงเหตุ
แห่งความเสื่อม  และประกอบเหตุแห่งความเจริญ  ชื่อว่าปัญญา
ปัญญานี้  เป็นที่นิยมนับถือของหมู่บัณฑิต  มีสุภาษิตสรรเสริญไว้ว่า
เป็นดวงแก้วของนรชน  สำหรับส่องทางค้นสุขุมอรรถที่ลี้ลับไม่ประ-
จักษ์แจ้ง  ไม่มีแสงอื่นจะเสมอเหมือน  เป็นผู้นำให้ดำเนินในกิจที่ชอบ
เป็นส่วนสุจริต  บุคลผู้ดำรงชีวิตด้วยปัญญานั้น  ย่อมประกอบสรรพ
กิจการที่ปราศจากโทษ  เพื่อหิตานุหิตประโยชน์แก่ตนและผู้อื่นทั้งสอง


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 54
ฝ่าย  ไม่ประพฤติมักง่ายเห็นประโยชน์ตนส่วนเดียว  โดยบรรยายนี้
สมเด็จพระนราสภธรรมิสสราธิบดี จึงตรัสเทศนาโดยพุทธภาษิตว่า 
                                " ปญฺญาชีวี  ชีวิตมาหุ  เสฏฺฐํ "
" ปราชญ์กล่าวผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่าเป็นอยู่ประเสริฐสุด "  ดังนี้.  พระ
ธรรมเทศนาที่ถวายวิสัชนามานี้  สังเขปลงในคุณสมบัติ  ๔ ประการ
คือศรัทธา  ธรรม  ความสัตย์  ปัญญา.  คุณสมบัติทั้ง ๔ นี้  ต่าง
เป็นปัจจัยอุดหนุนกันต่อ ๆ ไปโดยลำดับ  ศรัทธาให้บุคคลรับธรรมไว้
เป็นข้อประพฤติ  ธรรมยึดให้คงอยู่ในความสัตย์  และความสัตย์เป็น
ปัจจัยให้ได้ปัญญา  ส่วนปัญญาก็ชักพาให้บุคคลเข้าใจตามที่เป็นจริง  เกิด
ศรัทธาเชื่อถือในความบริสุทธิ์  ประมวลกันเข้าเป็นธรรมสมาคมอัน
อุดมเอก  เมื่อนรชนผู้เนื่องในหมู่  ตั้งแต่คนสามัญขึ้นไปถึงพระมหา-
กษัตริย์เจ้าผู้ได้มุรธาภิเษกแล้วก็ดี มาตั้งอยู่ในธรรมสมาคมนี้มั่นคง
แล้ว ความงามความดีก็จะเกิดมีแก่นรชนผู้นั้นเป็นนิจกาล.
           หมายเหตุ :-  บทเรียนบทนี้  หรือพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้  จะให้
ความรู้แก่นักเรียน  ดังต่อไปนี้
           ๑.  สำนวนโวหารและถ้อยคำในพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้  นิ่ม
นวลและละเมียดละไมยิ่งนัก  ข้อความที่แสดง  ล้วนดำเนินตามหลัก
ทุก ๆ ข้อ   ส่ออัธยาศัยอันดีงามคือความสงบเสงี่ยมและอ่อนโยนไม่ผาด
โผน  อันหมิ่นเหม่ต่อความผิดพลาด  นี้เป็นมารยาทอย่างสำคัญของ


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 55
นักเทศก์  รวมทั้งผู้แก้กระทู้ธรรมด้วยประการหนึ่ง  ซึ่งนักเรียนทุกคน
ควรอบรมให้มีในตนให้จงได้.  
           ๒.  นอกจากนั้น  พระธรรมเทศนากัณฑ์นี้  ยังให้ตัวอย่างใน
ความสัมพันธ์แห่งกระทู้ธรรมนั้น ๆ  อีกส่วนหนึ่งด้วย  กล่าวคือ  เมื่อ
ได้อธิบายกระทู้หนึ่งมาโดยลำดับแล้ว  ในที่สุดจะดำเนินการอธิบายให้
เข้าหากระทู้อีกกระทู้หนึ่ง  เพื่อให้ข้อความกินกันกลืนกันอย่างไรนั้น
พระธรรมเทศนากัณฑ์นี้จะสอนให้ทราบได้เป็นอย่างดี  ขอนักเรียนจง
เขียนโดยใช้ความสังเกตให้ถี่ถ้วน  ก็จะทราบได้ตามประสงค์.


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 56
                      คำสำหรับเชื่อมสุภาษิตที่อ้างมาประกอบ 

           ๑.  สมด้วยพจนประพันธ์สมเด็จพระโลกนาถเจ้าตรัสบัณฑูรไว้
ตามที่มาใน---ว่า
                                        --------------
           ๒.  สมกับความในพระพุทธนิพนธคาถา   ที่พระศาสดาได้ตรัสไว้
อันมาใน---ว่า
                                        --------------
           ๓.  สมด้วยพระพุทธนิพนธบรรหาร  มีอาคตสถานที่มาใน---ว่า
                                        --------------
           ๔.  สมด้วยกระแสพระพุทธภาษิตใน---ว่า
                                        --------------
           ๕.  สมจริงดังพระพุทธภาษิตใน---ว่า
                                        --------------
           ๖.  สมแก่สุภาษิตใน---ว่า
                                        --------------
           ๗.  แม้นด้วยความแห่งพระคาถาประพันธ์พุทธภาษิตใน---ว่า
                                        --------------
           ๘.  แม้พระพุทธภาษิตใน---ก็ได้แสดงความนี้ไว้ว่า
                                        --------------


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 57
           ๙.  มีเทศนานัยวิธีดังที่มาใน---ว่า 
                                        -------------
         ๑๐.  ต้องกับสุภาษิตใน---ว่า
                                        -------------
         ๑๑.  ดังแสดงไว้ใน---ว่า
                                        -------------
         ๑๒.  ดังมีแจ้งใน---ว่า
                                        -------------
         ๑๓.  ข้อนี้  เข้าในพระพุทธพจนประพันธ์  อันมาใน---ว่า
                                        -------------
         ๑๔.  ข้อนี้  พึงทราบด้วยเทศนาที่ตรัสไว้  อันมาใน---ว่า
                                        -------------
         ๑๕.  เนื้อความที่บรรยายมานี้  ได้ในธรรมภาษิต  ซึ่งปรากฏ
อยู่ใน---ว่า
                                        --------------
         ๑๖.  ข้อนี้  พึงเห็นสมตามพระบรมพุทโธวาทที่สมเด็จพระโลก-
นาถ  ทรงภาษิตไว้ อันมาใน---ว่า
                                        ---------------
         ๑๗.  เป็นความจริงอย่างนี้  สมเด็จพระมหามุนีสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก็ตรัสไว้  อันมาใน---ว่า
                                        ---------------


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 58
         ๑๘.  จริงอย่างนั้น  พระพุทธพจนประพันธ์รับสมอ้างมีอยู่  ดัง
กระทู้ที่มาใน---ว่า  
                                        --------------
         ๑๙.  ตามคำที่กล่าวนี้  มีพระพุทธภาษิตเป็นหลักฐาน  อันมีมา
ใน---ว่า
                                        ---------------
         ๒๐.  มีองค์พยานแสดงไว้  ด้วยพระพุทธภาษิตข้อหนึ่ง  ซึ่ง
มีมาใน---ว่า
                                        ---------------
         ๒๑.  เพราะปริยายอย่างนี้  จึงได้มีพระพุทธภาษิตแจ้งอยู่ใน---ว่า
                                        ---------------
         ๒๒.  ซึ่งควรสรรเสริญตามพุทธนิพนธคาถา  อันมาใน---ว่า
( สำหรับธรรมภาษิตที่อ้างมาประกอบนั้น  เป็นคำกล่าวสรรเสริญ เช่น
" ทุลฺลโภ  ปุริสาชญฺโญ "  บุรุษอาชาไนย  [ คือผู้พิเศษสามารถเข้าใจ
อะไรได้ฉับพลัน ]  หาได้ยาก )
                                        ---------------
         ๒๓.  เหตุดังนั้น  สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ จึงประทานพระ-
บรมพุทธโอวาทเนื่องด้วย---ไว้  มีที่มาใน---ว่า  ( สำหรับธรรมภาษิต
ทีอ้างมาประกอบนั้น  เนื่องด้วยการรักษาตัวเป็นต้น )
                                        ----------------
         ๒๔.  อาศัยเหตุฉะนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสเตือนสติไว้
                                               
                


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 59
มีที่มาใน---ว่า  ( สำหรับธรรมภาษิตที่อ้างมาประกอบนั้น  เป็นคำเตือน
โดยตรง ) 
                                        ----------------
         ๒๕.  เหตุดังนี้  สมเด็จพระสุคตทศพล  จึงตรัสพระคาถาประทาน
เป็นพระบรมพุทธโอวาทไว้  ใน---ว่า
                                        -----------------
           หมายเหตุ :-   บรรดาคำสำหรับเชื่อมสุภาษิตที่ชักมาอ้าง  รวม
ทั้งสิ้น ๒๕ คำนั้น   ข้าพเจ้าได้เลือกสรรนำมาแสดงไว้  เพื่อให้ความ
สะดวกแก่นักเรียน  หวังว่านักเรียนคงจะได้รับความสะดวกไม่มากก็น้อย
แต่นักเรียนจะต้องรู้จักใช้  ในที่เช่นไร  ควรใช้คำไหน  ต้องเลือกฟั้น
ให้จงดี  ให้เหมาะกับที่นั้น ๆ  เพราะคำทั้ง ๒๕ คำนั้น  มิใช่เป็น
ไวพจน์ คือใช้แทนกันได้ทั้งหมดก็หาไม่  มีอยู่หลายคำทีเดียวที่ใช้แทน
กันไม่ได้  เช่นคำว่า  " เหตุดังนี้--- "  กับคำว่า " สมด้วย--- "
๒ คำนี้  ใช้แทนกันไม่ได้ แม้คำอื่นที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า  " เหตุ "  หรือ
" เพราะ "  และที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า  " สม "  หรือ  " ข้อนี้ "  ก็ดุจเดียว
กัน  ถ้าจะแบ่งคำทั้ง ๒๕ คำนั้นออกเป็น ๒ ประเภท  ตามที่มีอยู่โดย
มากแล้ว  ประเภท ๑  ได้แก่  " ประเภทเหตุ "  อีกประเภท ๑  ได้แก่
" ประเภทสม "  คำทั้ง ๒  ประเภทนี้  ใช้แทนกันไม่ได้  ต่างประเภท
ต่างก็ใช้ได้แต่เฉพาะในที่ของตน ๆ  แต่พึงทราบว่าคำที่อยู่ในประเภท
เดียวกัน  ย่อมใช้แทนกันได้เสมอไป  นอกจากจะไม่เหมาะไม่ไพเราะ
ไม่สละสลวยเท่านั้น.


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 60
           มีคำถามสอดเข้ามาว่า  ในที่เช่นไร  ควรใช้คำประเภทเหตุ
และในที่เช่นไร  ควรใช้คำประเภทสม
           เพื่อให้นักเรียนได้รู้จริงเห็นจริงลงไปว่า  ในที่เช่นนี้ต้องใช้คำ
ประเภทเหตุ  และในเช่นนี้ต้องใช้คำประเภทสม  จะได้นำตัวอย่าง
ที่ท่านผู้รู้ได้ใช้อย่างไร  มาแสดงให้เห็น  ดังต่อไปนี้ :-
                        ในที่ที่ต้องใช้คำ                ประเภทเหตุ
           " อันความดีที่บุคคลได้ประพฤติมา  จำจะต้องรักษาไว้เป็นคู่ชีวิต
หาไม่ความผิดก็จะหักล้างเสียไม่เป็นผล  เหตุดังนั้น  สมเด็จพระสุคต-
ทศพล  ผู้ดำเนินแล้วดีในวิธีประพฤติพระองค์  จึงทรงภาษิตพระคาถา
ประทานเป็นพระบรมพุทโธวาทไว้ว่า
                " อุฏฺฐาเนนปฺปมาเทน                สญฺญเมน  ทเมน จ
                ทีปํ  กยิราถ  เมธาวี                ยํ  โอโฆนาภิกีรติ "
ความว่า  " ให้ผู้มีปัญญาทำถิ่นฐานหรือความดีความงามให้เป็นที่เกาะ
ที่พำนักของตน  อย่าให้ห้วงชลธีท่วมทำอันตรายได้  ด้วยความหมั่น
ไม่อยู่เฉย  ด้วยความเอาใจใส่ไม่ประมาทเลินเล่อ  ด้วยความตรวจ
ตราระวังระไว  และด้วยความปราบปรามใจให้อยู่ในอำนาจ  และ
บำราศความเสียหาย "  ฉะนี้.
                                ในที่ที่ใช้คำ        ประเภทสม
           " คนบางเหล่าเห็นว่า  พระพุทธศาสนาสอนในทางปัญญา  อ้าง
ธรรมจักรเทศนาเป็นต้นมาสาธก  และมุ่งไปในทางนั้น  ถึงคัดค้าน
ทานศีลและปฏิบัติอย่างอื่นว่า  ไม่ใช่พระพุทธศาสนาก็มี จริง พระ-


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 61
พุทธศาสนาสอนในทางปัญญา ความได้ปัญญาเป็นแก่นแห่งพระพุทธ-
ศาสนา  สมด้วยคำว่า 
                                " ปญฺญุตฺตรํ        พฺรหฺมจริยํ "
แปลว่า  " พระศาสนามีปัญญาเป็นอย่างสูง "  แต่สอนในทางอื่นอัน
เป็นพื้นแห่งปัญญาด้วย.
           ตามตัวอย่างที่แสดงมานี้  ถ้านักเรียนสังเกตดุให้ดี ก็จะทราบ
ได้ว่า  ในที่เช่นไร  ควรใช้คำประเภทเหตุ  และในที่เช่นไร  ควรใช้
คำประเภทสม  แต่ในเรื่องนี้จะเอาแน่ไปทีเดียวไม่ได้ เพราะย่อมยัก
ย้ายไปตามรูปความที่จะพึงดัดแปลงให้เป็นไปอย่างไร  ถ้ากล่าวตามทาง
สังเกตจากที่ท่านใช้  ตามอุทาหรณ์ที่ยกมาแสดงนั้นก็ดี  ตามที่อื่น ๆ  ก็ดี
โดยมากมักเป็นดังนี้  คือถ้าสุภาษิตที่ชักมาอ้างนั้น  เป็นคำตักเตือนแนะ
นำสั่งสอนโดยตรง  คำสำหรับเชื่อมมักใช้คำประเภทเหตุ หากเป็น
คำแสดงตามธรรมดาปรารภเรื่องต่าง ๆ  หรือแสดงเป็นกลาง ๆ ไม่
เชิงเป็นคำตักเตือนแนะนำสั่งสอน  คำสำหรับเชื่อมมักใช้คำประเภทสม
แต่ข้อที่กล่าวนี้  จะนิยมลงเป็นแน่ทีเดียวหาได้ไม่ ขอนักเรียนจงฟังไว้
เป็นความรู้ส่วนหนึ่งเท่านั้น.
           อนึ่ง  ในคำทั้ง ๒๕ คำนั้น กล่าวถึงพระพุทธภาษิตทั้งนั้น  ถ้า
นักเรียนจะใช้คำเหล่านั้น และสุภาษิตที่จะชักมาอ้าง  มิใช้เป็นพระพุทธ-
ภาษิต  ก็จงเปลี่ยนแปลงไปตามควร  นอกจากนี้  ยังมีข้อที่ควรทราบ
อีกอย่างหนึ่ง  คือในการเลือกใช้คำทั้ง  ๒๕ คำนั้น   ควรเลือกคำที่ได้
สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคต้น จึงจะไพเราะดี  ตัวอย่างเช่น  " การ


แบบประกอบนักธรรมโท - วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมโท - หน้าที่ 62
ปฏิบัติทางพระศาสนา  คือประพฤติธรรมตามที่พระตถาคตเจ้าทรง
ประกาศไว้  แม้ให้วิบากคือความพ้นทุกข์เป็นที่สุด  วิบุลผลส่วนหนึ่ง
แล้ว  ก็ยังทำผู้ปฏิบัติให้ได้สุขในระหว่างความประพฤตินั้นเสมอไป
มีองค์พยานแสดงไว้ด้วยพระพุทธภาษิตข้อหนึ่งว่า 
                                " ธมฺจารี สุขํ เสติ "
" ผู้ประพฤติธรรม อยู่เป็นสุข "  ดังนี้  บัณฑิตชาติจึงนิยมยินดีใน
พระธรรมนั้นเป็นนิตยกาล  สมดังพระพุทธนิพนธบรรหารที่ตรัสไว้ว่า
              " ธมฺมปีติ  สุขํ  เสติ                        วิปฺปสนฺเนน  เจตสา
              อริยปฺปเวทิเต  ธมฺเม                สทา รมติ  ปณฺฑิโต "
" บัณฑิตผู้ประกอบด้วยธัมมปีติ  ย่อมมีใจอันผ่องใส  อยู่สบาย  นอน
เป็นสุข รื่นรมย์ในธรรมที่พระอริยเจ้าประกาศแล้วทุกเมื่อ "  ดังนี้.
           อีกตัวอย่างหนึ่ง  เช่น  " อาการของจิตและวิธีรักษาจิตนั้น  พึง
เห็นตามวจนประพันธพุทธภาษิต  อันสมเด็จพระธรรมสามิสสรบรม-
ศาสดาตรัสเทศนาว่า--- "  ดังนี้.
           ตัวอย่างนี้  มุ่งให้พระนามของพระพุทธเจ้าได้สัมผัสกับคำสุดท้าย
ของวรรคต้น  พระนามของพระพุทธเจ้ามีเป็นอันมาก  พอที่จะเลือกหา
ให้สัมผัสกันได้โดยไม่ยาก  ควรที่นักเรียนจะเอาใจใส่ในเรื่องนี้บ้าง
ตามสมควร.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น