วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

หลักการเรียนธรรมะ

                              แบบประกอบนักธรรมตรี - อธิบายธรรมในนวโกวาท - หน้าที่ 2
หลักการเรียนธรรมะ
ธรรมชาติของคนเรา ชอบทำตามใจตน ถือตนเป็นใหญ่ ทำ
อะไรก็เพื่อตน ถ้ามีอำนาจก็ถืออำนาจเป็นใหญ่
ธรรมดาของคนเรา อยู่คนเดียวก็เปลี่ยวจิต ต้องมีคู่ ต้องมี
ครอบครัวอยู่เป็นหมู่ เป็นเหล่า เป็นคณะ รวมเป็นประเทศชาติ
เรื่องของคนเรา โดยมากไม่รู้จักเรื่องของตนเอง ชอบไปรู้เรื่อง
ของคนอื่น บางทีรู้เรื่องของคนอื่นดีกว่าเรื่องของตน เรื่องของตนเอง
ฝึกได้ยาก ฝึกช้างม้าวัวควายตลอดจนลิง ฝึกหัดให้เล่นละคนได้ แต่
ตนเองฝึกไม่ได้ ต้องบังคับกันอยู่เสมอ
การเรียนธรรมะ ก็เพื่อให้รู้จักความจริง รู้จักเรื่องของตน ซึ่ง
เป็นเรื่องธรรมดา ๆ
๑. เพื่อให้รู้ว่าคนอื่นเขาก็เหมือนเรา
๒. เพื่อให้รู้จักเห็นใจซึ่งกันและกัน อย่างที่ว่าเห็นอกเขา
อกเรา
๓. เพื่อให้รู้จักสิทธิหน้าที่ของตน
๔. เพื่อให้รู้จักเคารพสิทธิของกันและกัน
๕. เพื่อให้รู้จักความต้องการของสังคม
๖. เพื่อให้รู้จักปรับปรุงตัวเองเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อม
๗. เพื่อให้รู้จักส่งเสริมมนุษยธรรม
๘. เพื่อสวัสดิภาพของตนเองและผู้อื่น
๙. เพื่อให้รู้จักทางพ้นทุกข์
แบบประกอบนักธรรมตรี - อธิบายธรรมในนวโกวาท - หน้าที่ 3
คนกับธรรมะ
ก่อนจะเรียนธรรมะ ควรทำความเข้าใจในเรื่องของคน คนนั้น
ตามหลักชีววิทยากล่าวว่า เนื่องมาจากเซลล์ ความวิวัฒนาการของเชลล์
หลายล้านปีจึงกลายเป็นคน
พระพุทธศาสนาถือว่าคนเกิดมาจาก
๑. อวิชชา ความไม่รู้
๒. ตัณหา ความทะยานอยาก
๓. อุปาทาน ความยึดถือ
๔. กรรม คือการกระทำทางกาย วาจา ใจ
ธรรมะอยู่ที่ไหน ?
ธรรมะอยู่ที่ร่างกายของคนเรา ชีวิตของคนเราเติบโตขึ้นมาจาก
เด็ก เป็นหนุ่มเป็นสาว จากหนุ่มสาวเป็นผู้ใหญ่ จากผู้ใหญ่เป็นคนแก่
คนชราแล้วก็ตาย นี่เรียกว่าวิวัฒนาการของชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา ๆ
ของชีวิตหมุนเวียนกัน
ชีวิตของคนเรามีความต้องการ ๓ อย่าง คือ :-
๑. ความต้องการทางร่างกาย ได้แก่ปัจจัย ๔ เช่น อาหาร
เครื่องนุ่งห่ม
๒. ความต้องการทางสังคม
๓. ความต้องการทางจิตใจ
ธรรมะเท่านั้น ที่จะเป็นเหตุสนับสนุน ให้ความต้องการของคน
เป็นไปตามเหมาะ ตามควร ตามความเหมาะสม
แบบประกอบนักธรรมตรี - อธิบายธรรมในนวโกวาท - หน้าที่ 4
เราเรียนธรรมะทำไม ?
เราเรียนธรรมะเพื่อให้รู้จักตนเองเมื่อรู้จักตนเองแล้วย่อมสามารถ
๑. ในการป้องกันรักษา
๒. ในการแก้ไขปรับปรุง
๓. ในการปฏิบัติให้ถูกต้อง
๔. ในการพัฒนาจิตใจ
คำสอนของพระพุทธศาสนา
ท่านกล่าวว่ามีทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวมเรียกว่า
พระไตรปิฎก พระไตรปิฎกแบ่งออกเป็น ๓ คือ :-
๑. พระวินัย ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
๒. พระสูตร ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
๓. พระอภิธรรม ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
การศึกษาทางพระพุทธศาสนา
๑. ศึกษาเพื่อให้รู้จักประโยชน์ในปัจจุบัน
๒. ศึกษาเพื่อให้รู้จักประโยชน์ในอนาคต
๓. ศึกษาเพื่อให้รู้จักประโยชน์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
แบบประกอบนักธรรมตรี - อธิบายธรรมในนวโกวาท - หน้าที่ 5
ศาสนาในโลกมีมากมาย เฉพาะศาสนาใหญ่ ๆ มีผู้นับถือจำนวน
มาก ได้แก่
๑. ศาสนาพราหมณ์ มีอายุ ๓,๐๐๐ ปีเศษ
๒. ศาสนาพุทธ " ๒,๕. . . "
๓. ศาสนาคริสต์ " ๑,๙. . . "
๔. ศาสนาอิสลาม " ๑,๔. . . "
ศาสนาต่าง ๆ เหล่านี้ พิจารณาดูหลักธรรมะต่าง ๆ ของศาสนา
จะเห็นว่า
๑. นับถือธรรมชาติ
๒. นับถือผีสางและวิญญาณ
๓. สอนให้นับถือพระผู้เป็นเจ้า ทุกสิ่งทุกอย่างพระผู้เป็นเจ้า
เป็นผู้สร้าง
๔. ส่วนพระพุทธศาสนาสอนให้เชื่อเหตุผล
มูลเหตุที่ทำให้เกิดศาสนา
๑. เพราะความไม่รู้
๒. เพราะความกลัว
๓. เพราะความต้องการของสังคม
๔. เพราะความจำเป็นของครอบครัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น