วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ธรรมมีอุปการะมาก มี ๒ อย่าง

ธรรมมีอุปการะมาก มี ๒ อย่าง คือ
๑. สติ ความระลึกได้
๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว
ลักษณะของสติ
๑. ระลึกได้ ๒. ยึดและถือไว้
สติเกิดขึ้นได้อย่างไร
อาการที่จะทำให้สติเกิดขึ้นได้นั้นมี ๖ อย่าง
๑. ด้วยการเตือน
๒. ด้วยการสังเกต
๓. ด้วยการนับ
๔. ด้วยการจดจำ
๕. ด้วยการทำเครื่องหมาย
๖. ด้วยการภาวนา (ทำสิ่งที่ไม่มีให้มีขึ้น ไม่อยู่นิ่งเฉย)
สติมี ๒ ประเภท คือ
๑. ระลึกได้ในทางดี เรียกว่า สัมมาสติ
๒. ระลึกได้ในทางชั่ว เรียกว่า มิจฉาสติ
หน้าที่ของสติมี ๗ ประการ
๑. ทำหน้าที่เป็นอุปการธรรม
๒. ทำหน้าที่เป็นที่พึ่ง
๓. ทำหน้าที่เป็นกำลัง
๔. ทำหน้าที่เป็นอินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ในการรู้เห็น
๕. ทำหน้าที่เป็นผู้กำหนด
๖. ทำหน้าที่เป็นโพชฌงค์องค์แห่งความรู้
๗. ทำหน้าที่เป็นองค์มรรค
สติเปรียบเหมือนดวงไฟ
สัมปชัญญะเปรียบเหมือนแสงของดวงไฟ
สติ ระลึกได้ ในเรื่องที่คิด ในกิจที่ทำ ในคำที่พูด
สัมปชัญญะ รู้ตัวว่า กำลังคิด กำลังทำ กำลังพูด
สติ เป็นไปทั้ง ๓ กาล คือ อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต
สัมปชัญญะ เป็นเฉพาะปัจจุบัน
สัมปชัญญะมี ๔ คือ
๑. ความรู้ตัวในสิ่งที่เป็นประโยชน์
๒. ความรู้ตัวในสิ่งที่พอเหมาะ
๓. ความรู้ในสิ่งที่ควร
๔. ความรู้ว่าไม่ลุ่มหลงไม่งมงาย
สติสัมปชัญญะ ธรรมะทั้ง ๒ นี้ เป็นธรรมะสำหรับชีวิตประจำวัน
เป็นอุปการธรรม ทำให้คนเราทำงานตามหน้าที่ เป็นผู้ตื่น ไม่มัวเมา
ประมาท เป็นที่พึ่งได้ทั้งทางโลกและทางธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน
ทางปฏิบัติธรรมนั้น จะขาดสติสัมปชัญญะมิได้
สาเหตุที่ทำให้คนเราขาดสติ
๑. มัวเมาในวัยว่ายังเป็นเด็ก เป็นหนุ่มสาว ยังไม่แก่เป็นต้น
๒. เมาในความไม่มีโรค ไม่เจ็บไข้
๓. เมาในชีวิต คือ เมาในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น