วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

อนุพุทธประวัติ นักธรรม โท




                                         คำนำ
                                (เมื่อพิมพ์ครั้งที่ ๗)

        หนังสืออนุพุทธประวัติที่พิมพ์ครั้งนี้  คงเค้าความตามฉบับเดิม
เป็นแต่ชำระระเบียบอักษรให้ต้องกับนิยมในบัดนี้จนตลอด  เพื่ออนุโลม
ให้ยุกติ  เป็นระเบียบเดียวกันกับหนังสือแบบเรียนธรรมวินัยอย่างอื่น ๆ
ที่ใช้เป็นหลักสูตรแห่งการเรียน  ซึ่งพิมพ์ใหม่ในยุคนี้.
                  โดยพระกระแสรับสั่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
                                                        พระสาสนโสภณ

วัดเทพศิรินทราวาส
วันที่ ๑  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๔๖๙


                                               คำนำ 
        พระสาวกสงฆ์จัดว่าเป็นรัตนะประการหนึ่งในรัตนะ  ๓  อันเป็น
สรณะของพุทธศาสนิก  เพราะว่า  แม้พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และทรง
แสดงธรรม  แต่เมื่อขาดผู้รู้ธรรมและรับปฏิบัติ  ความตรัสรู้ของ
พระพุทธเจ้าก็ไม่สำเร็จประโยชน์.  และพระสาวกสงฆ์นั้น  ได้เป็นกำลัง
ใหญ่ของพระศาสนา   ในอันช่วยประกาศพระธรรมประดิษฐานพระ
ศาสนาขึ้นเพื่อประโยชนสุขแก่ชนเป็นอันมาก   ตลอดถึงชนผู้เกิดใน
ภายหลัง  นับว่าเป็นบุรพการีรองพระศาสดาลงมาของพุทธศาสนิก  ดุจ
บุรพการีรองท่านผู้เป็นต้นวงศ์แห่งสกุล.   น่าเสียดายนักว่า  ประวัติของ
พระสาวกไม่ค่อยมีนักในบาลี  ที่มีก็เพียงเป็นท่อนเป็นตอน   เพียงเข้า
มาอุปสมบท  นอกจากนั้นก็รู้ได้โดยกาลที่กล่าวถึงในที่นั้นบ้าง  ที่นี้
บ้าง  โดยธรรมเทศนาของท่านบ้าง.   เรื่องพระสาวกค่อยกล่าวถึงมาก
ในปูนอรรถกถา  แต่ก็เป็นเรื่องกระจัดกระจาย  ไม่เป็นหลักในทาง
ตำนาน.  มีอาจารย์บางท่านได้รวบรวมประวัติของพระสาวกบ้างก็มี
เช่นพระอรรถกถาจารย์ผู้รจนามโนรถปูรณี  อรรถกถาอังคุตตรนิกาย
พรรณนาความบาลีตอนเอตทัคคะ  คือตอนที่ทรงยอกย่องพระสาวกว่า
เป็นเยี่ยมในทางหนึ่ง ๆ  แต่ก็พรรณนาเพียงเข้ามาอุปสมบท  และได้
รับยอกย่องเป็นเอตทัคคะ  แต่น่าเสียใจว่า  ท่านมุ่งกล่าวบุรพกรรมของ
พระสาวกเหล่านั้นมากกว่ากล่าวประวัติในปัจจุบัน  เรื่องที่รจนานั้น
กลายเป็นนิยายไป   อ่านแล้วไม่นำให้เกิดความเลื่อมใสและนับถือ
อีกเรื่องหนึ่ง  อสีติมหาสาวกนิพพาน  อาจารย์ในปูนใดรจนาขึ้น
หาทราบไม่  ยังไม่พบปกรณ์เป็นที่มาอันรจนาในภาษามคธ  พบแต่ที่
รจนาในภาษาไทย  เรื่องทีเล่าถึงนั้น  ไม่ได้หมายจะให้เป็นตำนาน
เก็บเรื่องจากที่นั้นบ้าง  ที่นี้บ้าง  เอามาประจุในพระโอษฐ์ของพระ
สาวกนั้น ๆ  ให้ตรัสสอนใครต่อใครในสมัยจะนิพพาน  เพื่อสะกิดใจ
ผู้ฟังผู้อ่านให้เกิดสงสารและรันทด  มุ่งจะให้กถานั้นมีรสชาติในทางนั้น
หาหลักในทางคำนานมิได้.
        ข้าพเจ้าพอใจจะรวบรวมเรื่องพระสาวก   รจนาขึ้นไว้ให้เป็น
ตำนาน  ด้วยเห็นว่า  พระสาวกผู้เป็นอุปการแก่พระพุทธศาสนามีหลาย
พระองค์  จะได้เชิดชูพระคุณของท่าน  นำเพื่อร่วมศาสนาให้เกิด
ปสาทะและนับถือ   ความดีของพระสาวกปรากฏแล้ว   จักเชิดชูพระ
เกียรติคุณของพระศาสดายิ่งขึ้น.  เพราะที่มาบกพร่องอยู่ดังกล่าวแล้ว
เรื่องที่รจนาขึ้น  จึงไม่พ้นจากความบกพร่อง  แต่หมายใจอยู่ว่า
รจนาพอเป็นเค้าแล้ว  ภายหลังพบเรื่องที่ควรจะเก็บมารวบรวมไว้ได้
จักทำอย่างนั้น  ความสนใจมีอยู่  เรื่องที่รวบรวมขึ้นนี้  จักค่อยกว้าง
ออกตามวิสัย  ถ้าท่านผู้อื่นมีฉันทะร่วมกับข้าพเจ้า   บางทีท่านจักช่วย
บุรณะเรื่องให้สมบูรณ์ขึ้นอีก.   ข้าพเจ้าเห็นอำนาจประโยชน์อย่างนี้
จึงรจนาอนุพุทธประวัติเรื่องนี้ขึ้น.
        จำนวนพระสาวกนั้น  ในปูนบาลีไม่จำกัด  เป็นแต่กล่าวถึง
พระสาวกผู้ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะ  ๔๑  พระองค์  ควรจะถือเป็น
เกณฑ์กำหนดพระมหาสาวกได้อยู่.  ในปูนอรรถกถา  กำหนดจำนวน
พระมหาสาวก  ๘๐  พระองค์  แต่ยังไม่เคยพบปกรณ์ที่ระบุพระนาม
พบแต่พระนามที่จารึกติดไว้ที่รูปพระอสีติมหาสาวก   ได้มาแต่ไหนหา
ทราบไม่  แต่มีเกณฑ์อันพึงจะกำหนดอย่างนั้นอยู่   เช่นพระอัญญา-
โกณฑัญญะเป็นเอตทัคคะ   สงเคราะห์พระปัญจวัคคีย์อีก  ๔  พระองค์
เข้าด้วยพระอุรุเวลกัสสปะเป็นเอคทัคคะ  สงเคราะห์พระกัสสปะน้อง
ชายอีก  ๒  พระองค์เข้าด้วย.  พระโมฆราชเป็นเอตทัคคะ  สงเคราะห์
พระคณะเดียวกันอีก  ๑๕  พระองค์เข้าด้วย.  อีกเกณฑ์หนึ่งสงเคราะห์
สาวกผู้มีชื่อระบุไว้ในประถมโพธิกาล  แต่มิได้อยู่ในจำนวนเอตทัคคะ
คือพระยสะกับพระสหายอีก ๔  พระองค์.  โดย ๒  เกณฑ์นี้  ได้พระ
สาวกเอตทัคคะ  ๔๑  พระสาวกสหจรแห่งเอตทัคคะ  ๒๓  พระสาวกใน
ประถมโพธิกาล  ๑  สหจร  ๔  รวมเป็น  ๖๙  พระองค์  อีก  ๑๑  พระ
องค์  เป็นพระสาวกที่จัดเข้าโดยหาเกณฑ์มิได้  แต่มีนามระบุอยู่ใน
มัชฌิมโพธิกาลบ้าง  ในปัจฉิมโพธิกาลบ้าง  กรมพระสมมตอมรพันธุ์
ได้สอบพระนามพระอสีติมหาสาวกอันจารึกไว้   หรือกล่าวถึงในที่
นั้น ๆ  ได้พบว่าแผกกันก็มี  เช่นนี้เป็นอันสันนิษฐานได้ชัดว่า  จำนวน
๑๑  รูปหลังนั้นเอง  เป็นเหตุแห่งความแผกกัน  เพราะต่างอาจารย์
ต่างเลือกจัดเข้าเพื่อเต็มจำนวน  ๘๐  เลือกไม่ต้องกัน.  ในเรื่องนี้
ข้าพเจ้าจักถือเอาพระสาวกเป็นเอตทัคคะ  กับพระสาวกระบุชื่อไว้ใน
ประถมโพธิกาลรวม  ๔๒  พระองค์เป็นหลัก  เมื่อได้กล่าวถึงท่านโดย
เป็นเจ้าของประวัติแล้ว  พระสาวกสหจรของท่านอีก  ๒๗  พระองค์.
เป็นอันกล่าวถึงด้วย.  เช่นนี้จักเป็นหลักว่ากล่าวครบทั้ง ๘๐  พระองค์.
        การเรียงลำดับพระสาวกอยู่ข้างยากมาก.   ในบาลีเอตทัคคะไม่
ได้คิดจักลำดับเลย  จะจับหาหลักก็เป็นอันได้โดยยาก  หากจะได้บ้าง
ก็คงไม่ตลอด  เพราะความบกพร่องแห่งปกรณ์ทั้งหลายตั้งแต่บาลี
ลงมา  ไม่ได้กำหนดระยะกาลไว้ว่าเรื่องนั้นมีขึ้นเมื่อพรรษาที่เท่านั้น
แต่ตรัสรู้   กล่าวแต่เพียงว่า  สมัยนั้น  ที่ตรงกับคำว่า   คราวหนึ่ง  ข้าพเจ้า
จัดลำดับในที่นี้  พระสกวกที่ระบุชื่อในพระถมโพธิกาลตามลำดับแห่ง
อุปสมบทก่อน   ถัดจากนั้น  พระสาวกผู้เป็นอหิภิกขุ  โดยอนุมานว่าเป็น
ผู้ใหญ่กว่ากัน  รองจากนั้นลงมา  พระสกวกผู้มิใช่เอหิภิกขุที่เป็นผู้ใหญ่
ที่มีเรื่องระบุลำดับอยู่และที่มีชื่อเสียง  พ้นจากนั้นจักจัดตามเกณฑ์นคร
ที่ได้เสด็จก่อนหรือหลัง.
        ข้าพเจ้าหวังว่า  เรื่องนี้จักเป็นทางให้นักธรรมสนใจ  และสอด
ส่องถึงเรื่องพระสาวกสืบไป.
                                                กรม-วชิรญาณวโรรส
วัดบวรนิเวศวิหาร
วันที่ ๘  กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๔๖๒


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 1
                                        อนุพุทธประวัติ
                       ๑.  ประวัติแห่งพระอัญญาโกณฑัญญะ
        ดังได้สดับมา  พระอัญญาโกณฑัญญะนั้น  ได้เกิดในสกุล
พราหมณ์มหาศาล  ในบ้านพราหมณ์ชื่อโทณวัตถุ  ไม่ห่างจากกบิล-
วัตถุนคร  มีชื่อว่า  โกณฑัญญะ  เจริญวัยขึ้น  ได้เรียนจบไตรเพท
และรู้ลักษณะมนตร์  คือตำราทายลักษณะ  ในคราวที่สมเด็จพระบรม-
ศาสดาประสูติใหม่  พระเจ้าสุทโธทนะตรัสให้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน
มาเลี้ยงโภชนาหาร   ในการทำพิธีทำนายลักษณะตามราชประเพณี
แล้วเลือกพราหมณ์ ๘ คน  จากพวกนั้นเป็นผู้ตรวจและทำนายลักษณะ.
ครั้งนั้น  โกณฑัญญพราหมณ์ยังเป็นหนุ่ม  ได้รับเชิญไปในงานเลี้ยง
ด้วย  ทั้งได้รับเลือกเข้าในพวกพราหมณ์ ๘ คน  ผู้ตรวจและทำนายพระ
ลักษณะ  เป็นผู้อ่อนอายุกว่าเพื่อน.   พราหมณ์ ๘ คนนั้น  ตรวจลักษณะ
แล้ว ๗ คน  ทำนายคติแห่งพระมหาบุรุษเป็น ๒ ทางว่า  ถ้าทรงดำรง
ฆราวาส  จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ  ถ้าเสด็จออกผนวช  จักเป็นพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้า   ส่วนโกณฑัญญพราหมณ์เห็นแน่แก่ใจแล้ว  จึง
ทำนายเฉพาะทางเดียวว่า  จักเสด็จออกผนวช  แล้วได้ตรัสรู้เป็นพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแน่.  ตั้งแต่นั้นมา  ได้ตั้งใจว่า  เมื่อถึงคราวเป็น
อย่างนั้นขึ้นและตนยังมีชีวิตอยู่  จักออกบวชตามเสด็จ.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 2
        ครั้นเมื่อพระมหาบุรุษเสด็จออกผนวชแล้ว   กำลังทรงบำเพ็ญ
ทุกรกิริยาอยู่  โกณฑัญญพราหมณ์ทราบข่าวแล้ว  ชวนพราหมณ์
ผู้เป็นบุตรของพราหมณ์ผู้ตรวจทำนายลักษณะในครั้งนั้น  และทำ
กาลกิริยาแล้ว  ได้ ๔ คน คือ ภัททิยะ ๑  วัปปะ ๑  มหานามะ ๑
อัสสชิ ๑ เป็น ๕ คนด้วยกัน  ออกบวชเป็นบรรพชิตจำพวกภิกษุ
ติดตามพระมหาบุรุษไปอยู่ที่ใกล้  เฝ้าอุปัฏฐากอยู่ด้วยหวังว่า  ท่าน
ตรัสรู้แล้ว  จักทรงเทศนาโปรด.   ภิกษุ ๕ รูปสำรับนี้  เรียกว่า
ปัญจวัคคีย์  แปลว่าเนื่องในพวก ๕   เฝ้าอุปัฏฐากพระมหาบุรุษอยู่
ตลอดเวลาทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาคณนาว่า ๖ ปี.   ครั้นพระมหาบุรุษ
ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเต็มที่แล้ว  ทรงลงสันนิษฐานว่ามิใช่ทางพระ
โพธิญาณ  ทรงใคร่จะเปลี่ยนตั้งปธานในจิต  จึงทรงเลิกทุกรกิริยา
นั้นเสีย  กลับเสวยพระกระยาหารแค่นทวีขึ้น  เพื่อบำรุงพระกายให้
มีพระกำลังคืนมา  พวกปัญจวัคคีย์สำคัญว่าทรงท้อแท้ต่อการบำเพ็ญ
พรตอันเข้มงวด  หันมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเสียแล้ว  สิ้นเลื่อมใส
สิ้นหวังแล้ว  เกิดเบื่อหน่ายขึ้น  ร่วมใจกันละพระมหาบุรุษเสีย  ไป
อยู่ ณ อิสิปตนมฤคทายวัน  แขวงนครพาราณสี.
        พระคันถรจนาจารย์แก้ข้อความนี้ว่า   ธรรมดานิยมให้ภิกษุ
ปัญจวัคคีย์มาพบ  และอุปัฏฐากพระมหาบุรุษในเวลากำลังทรงบำเพ็ญ
ทุกรกิริยา  เพื่อจะได้เป็นผู้รู้เห็น   เมื่อถึงคราวทรงแสดงพระธรรม-
เทศนาคัดค้านอัตตกิลมถานุโยค  จะได้เป็นพยานว่า  พระองค์ได้เคย
ทรงทำมาแล้ว  หาสำเร็จประโยชน์จริงไม่   ครั้นถึงคราวต้องการด้วย


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 3
วิเวก  บันดาลให้สิ้นภักดี  พากันหลีกไปเสีย.
        ฝ่ายพระมหาบุรุษ  ทรงบำรุงพระกายมีพระกำลังขึ้นแล้ว  ทรง
ตั้งปธานในทางจิต  ทรงบรรลุฌาน ๔  วิชชา ๓  ตรัสรู้อริยสัจ ๔
ทรงวิมุตติจากสรรพกิเลสาสวะบริสุทธิ์ล่วงส่วน   ทรงเสวยวิมุตติสุข
พอควรแก่กาลแล้ว  อันกำลังพระมหากรุณาเตือนพระหฤทัย  ใคร่จะ
ทรงเผื่อแผ่สุขนั้นแก่ผู้อื่น  ทรงเลือกเวหาไนยผู้มีปัญญาสามารถพอจะ
รู้ธรรมอันสุขุมคัมภีรภาพเห็นปานนั้น   ในชั้นต้น  ทรงพระปรารภถึง
อาฬารดาบส  กาลามโคตร  และอุทกดาบส  รามบุตร   อันพระองค์
เคยไปสำนักอยู่เพื่อศึกษาลัทธิของท่าน   แต่เผอิญสิ้นชีวิตเสียก่อนแล้ว
ทั้ง ๒ องค์   ในลำดับนั้น  ทรงพระปรารภถึงภิกษุปัญจวัคคีย์ผู้เคย
อุปัฏฐากพระองค์มา  ทรงสันนิษฐานว่าจักทรงแสดงประถมเทศนาแก่
เธอ   ครั้นทรงพระพุทธดำริอย่างนี้แล้ว  เสด็จพระพุทธดำเนินจาก
บริเวณพระมหาโพธิ  ไปสู่อิสิปตนมฤคทายวัน.
        ฝ่ายพวกภิกษุปัญจวัคคีย์  ได้เห็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เสด็จมาแต่ไกล  เข้าใจว่าเสด็จตามมาด้วยปรารถนาจะหาผู้อุปัฏฐาก
เนื่องจากความเป็นผู้มักมากนั้น  นัดหมายกันว่า  จักไม่ลุกขึ้นรับ
จักไม่รับบาตรจีวร  จักไม่ไหว้  แต่จักตั้งอาสนะไว้  ถ้าพระองค์
ปรารถนา  จะได้ประทับ.   ครั้นพระองค์เสด็จเข้าไปใกล้  อันความ
เคารพที่เคยมา  บันดาลให้ลืมการนัดหมายกันไว้นั้นเสีย  พร้อมกัน
ลุกขึ้นต้อนรับและทำสามีจิกรรมดังเคยมา   แต่ยังทำกิริยากระด้าง
กระเดื่อง  พูดกับพระองค์ด้วยถ้อยคำตีเสมอ  พูดออกพระนาม  และ


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 4
ใช้คำว่า  อาวุโส.   พระองค์ตรัสบอกว่า  ได้ทรงบรรลุอมฤตธรรมแล้ว 
จักทรงแสดงให้ฟัง  ตั้งใจปฏิบัติตามแล้ว  ไม่ช้าก็บรรลุธรรมนั้น
บ้าง.   เธอทั้งหลายกล่าวค้านว่า  แม้ด้วยการประพฤติทุกรกิริยา
อย่างเข้มงวด  พระองค์ยังไม่อาจบรรลุอมฤตธรรม   ครั้นคลายความ
เพียรเสียแล้ว  กลับประพฤติเพื่อความมักมาก  ไฉนจะบรรลุธรรมนั้น
ได้เล่า.   สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเตือน  พวกภิกษุปัญจวัคคีย์
พูดคัดค้าน  โต้ตอบกันอย่างนั้นถึง ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง.   พระองค์ตรัสเตือน
ให้เธอทั้งหลายตามระลึกในหนหลังว่า  ท่านทั้งหลายจำได้หรือ  วาจา
เช่นนี้  เราได้เคยพูดแล้วในปางก่อนแต่กาลนี้ พวกภิกษุปัญจวัคคีย์
นึกขึ้นได้ว่า  พระวาจาเช่นนี้ไม่เคยได้ตรัสเลย  จึงมีความสำคัญใน
อันจะฟังพระองค์ทรงแสดงธรรม.   สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ได้
ตรัสพระธรรมเทศนาเป็นประถม  ประกาศพระสัมมาสัมโพธิญาณแก่
พวกปัญจวัคคีย์   ในเบื้องต้น  ทรงยกส่วนสุด ๒ อย่าง  คือ  กาม-
สุขัลลิกานุโยค  คือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยสุขในกามอันเป็น
ส่วนสุดข้างหย่อน ๑  อัตตกิลมถานุโยค  คือ การประกอบความ
เหน็ดเหนื่อยแก่ตนเปล่า  อันเป็นส่วนสุดข้างตึง ๑  ขึ้นแสดงว่า  อัน
บรรพชิตไม่พึงเสพ  ในลำดับนั้น  ทรงแสดงมัชฌิมาปฏิปทา  คือปฏิบัติ
เป็นสายกลาง  ไม่ข้องแวะด้วยส่วนสุดทั้ง ๒ นั้น  อันมีองค์ ๘ คือ
สัมมาทิฏฐิ  ความเห็นชอบ ๑  สัมมาสังกัปปะ  ความดำริชอบ ๑
สัมมาวาจา  เจรจาชอบ ๑  สัมมากัมมันตะ  ทำการงานชอบ ๑  สัมมา-
อาชีวะ  เลี้ยงชีวิตชอบ ๑  สัมมาวายามะ  เพียรชอบ ๑  สัมมาสติ


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 5
ระลึกชอบ ๑  สัมมาสมาธิ  ตั้งใจชอบ ๑.   ในลำดับนั้น  ทรงแสดง
อริยสัจ ๔ คือ  ทุกข์ ๑  สมุทัย  เหตุยังทุกข์ให้เกิด ๑  ทุกข-
นิโรธ  ความดับทุกข์ ๑  ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา  ปฏิบัติถึงความ
ดับทุกข์ ๑  ทุกข์  ทรงยกสภาวทุกข์และเจตสิกทุกข์ขึ้นแสดง  ทุกข-
สมุทัย  ทรงยกตัณหามีประเภท ๓ คือ  กามตัณหา  ภวตัณหา
วิภวตัณหา  ขึ้นแสดง  ทุกขนิโรธ  ทรงยกความดับสิ้นเชิงแห่ง
ตัณหานั้นขึ้นแสดง  ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา  ทรงยกอริยมรรคมี
องค์ ๘  คือ  มัชฌิมาปฏิปทานั้นขึ้นแสดง.   ในลำดับนั้น  ทรงแสดง
พระญาณของพระองค์อันเป็นไปในอริยสัจ ๔ นั้น  อย่างละ ๓ ๆ คือ
สัจจญาณ  ได้แก่รู้อริยสัจ ๔  นั้น ๑  กิจจญาณ  ได้แก่รู้กิจ  อันจะ
พึงทำเฉพาะอริยสัจนั้น ๆ ๑  กตญาณ  ได้แก่รู้ว่ากิจอย่างนั้น ๆ
ได้ทำเสร็จแล้ว ๑  พระญาณทัสสนะ  มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ ใน
อริยสัจ ๔ เหล่านี้  ยังไม่บริสุทธิ์เพียงใด  ยังทรงปฏิญญาพระองค์
ว่าตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณไม่ได้เพียงนั้น  ต่อบริสุทธิ์แล้ว
จึงทรงอาจปฏิญญาพระองค์อย่างนั้น   ในที่สุด  ทรงแสดงผลแห่ง
การตรัสรู้อริยสัจ ๔ นั้น  เกิดพระญาณเป็นเครื่องเห็นว่าวิมุตติ
คือความพ้นจากกิเลสอาสวะของพระองค์ไม่กลับกำเริบ  ความเกิดครั้งนี้
เป็นครั้งที่สุด  ต่อนี้ไม่มีความเกิดอีก.
        พระธรรมเทศนานี้  พระคันถรจนาจารย์เรียกว่า  พระธรรม-
จักกัปปวัตนสูตร  โดยอธิบายว่า  ประกาศศพระสัมมาสัมโพธิญาณ-

๑.  มหาวคฺค.  ๔/๑๗  มหาวาร.  ๑๙/๕๒๘.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 6
เทียบด้วยจักรรัตนะ  ประกาศความเป็นจักรพรรดิราช.
        เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  กำลังตรัสพระธรรมเทศนาอยู่
ธรรมจักษุคือดวงตาคือปัญญาอันเห็นธรรมปราศจากธุลีมลทิน  ได้เกิด
ขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะว่า  สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวล  มีความดับเป็นธรรมดา.   ท่านผู้ได้ธรรมจักษุ  พระ
อรรถกถาจารย์กล่าวว่าเป็นพระโสดาบัน  โดยนัยนี้  ธรรมจักษุได้แก่
พระโสดาปัตติมรรค.   ท่านโกณฑัญญะได้บรรลุโลกุตตรธรรมเป็น
ประถมสาวก  เป็นพยานความตรัสรู้ของพระศาสดา  เป็นอันว่า  ทรง
ยังความเป็นสัมมาสัมพุทธให้สำเร็จบริบูรณ์   ด้วยเทศนาโปรดให้
ผู้อื่นรู้ตามได้ด้วยอย่างหนึ่ง.   สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า
ท่านโกณฑัญญะได้เห็นธรรมแล้ว  ทรงเปล่งพระอุทานว่า   อญฺาสิ
วต  โภ  โกณฺฑญฺโ  อญฺาสิ  วต  โภ  โกณฺฑญฺโ  แปลว่า
โกณทัญญะได้รู้แล้วหนอ ๆ  เพราะอาศัยพระอุทานว่า  อญฺาสิ
ที่แปลว่า  ได้รู้แล้ว  คำว่า  อญฺาโกณฺฑญฺโ  จึงได้เป็นนามของ
ท่านตั้งแต่กาลนั้นมา.
        ท่านอัญญาโกณฑัญญะ  ได้เห็นธรรมแล้ว  ได้ความเชื่อใน
พระศาสดามั่นคงไม่คลอนแคลน  ได้ทูลขออุปสมบทในพระธรรม-
วินัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระองค์ทรงรับด้วยพระวาจา
ว่า  มาเถิดภิกษุ  ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว  จงประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.   พระวาจานั้นย่อมให้สำเร็จอุปสมบท
ของท่าน.   ด้วยว่าในครั้งนั้น  ยังมิได้ทรงพระอนุญาตวิธีอุปสมบท


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 7
อย่างอื่น  ทรงพระอนุญาตแก่ผู้ใด  ด้วยพระวาจาเช่นนั้น  ผู้นั้นย่อม
เป็นภิกษุในพระธรรมวินัยนี้.   อุปสมบทอย่างนี้  เรียกว่า  เอหิภิกขุ-
อุปสัมปทา  ผู้ได้รับพระพุทธานุญาตเป็นภิกษุด้วยพระวาจาเช่นนี้
เรียกว่า  เอหิภิกขุ.   ทรงรับท่านอัญญาโกณฑัญญะเป็นภิกษุในพระ
พุทธศาสนาด้วยพระวาจาเช่นนั้นเป็นครั้งแรก.  จำเดิมแต่กาลนั้นมา
ทรงสั่งสอนท่านทั้ง ๔ ที่เหลือนั้น  ด้วยพระธรรมเทศนาเบ็ดเตล็ดตาม
สมควรแก่อัธยาศัย.   ท่านวัปปะและท่านภัททิยะได้ธรรมจักษุแล้ว
ทูลขออุปสมบท  พระศาสดาทรงรับเป็นภิกษุ  ด้วยพระวาจาเช่นเดียว
กัน.   ครั้งนั้น  พระสาวกทั้ง ๓ เที่ยวบิณฑบาต  นำอาหารมาเลี้ยงกัน
ทั้ง ๖ องค์.   ภายหลังท่านมหานามะและท่านอัสสชิได้ธรรมจักษุแล้ว
ทูลขออุปสมบท  ทรงรับโดยนัยนั้น.
        ครั้นภิกษุปัญจวัคคีย์ได้เห็นธรรม  และได้อุปสมบทเป็นสาวก
ทั่วกันแล้ว   สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสพระธรรมเทศนา  เป็นทาง
อบรมวิปัสสนา  เพื่อวิมุตติอันเป็นผลที่สุดแห่งพรหมจรรย์อีกวาระหนึ่ง
ทรงแสดงปัญจขันธ์  คือ  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ
ว่าเป็นอนัตตา  มิใช่ตน  หากปัญจขันธ์นี้จักเป็นอัตตาเป็นตนแล้วไซร้
ปัญจขันธ์นี้  ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ  และจะพึงได้ในปัญจขันธ์นี้ว่า
ขอจงเป็นอย่างนี้เถิด  อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย  เพราะเหตุปัญจขันธ์
เป็นอนัตตา  จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ  และย่อมไม่ได้ตามปรารถนาอย่าง
นั้น  ในลำดับนั้น  ตรัสถามนำให้ตริเห็นแล้ว  ปฏิญญาว่า  ปัญจขันธ์
นั้นไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  เป็นอนัตตา  โดยเนื่องเหตุกันมาเป็นลำดับ


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 8
แล้วทรงแนะนำให้ละความถือมั่นในปัญจขันธ์  ทั้งที่เป็นอดีต  อนาคต
ปัจจุบัน  ทั้งที่เป็นภายใน  ทั้งที่เป็นภายนอก  ทั้งที่หยาบ  ทั้งที่ละเอียด
ทั้งที่เลว  ทั้งที่ดี  ทั้งที่อยู่ห่าง  ทั้งที่อยู่ใกล้  ว่านั่นมิใช่ของเรา  นั่นมิใช่
เรา  นั่นมิใช่ตัวของเรา   ในที่สุดทรงแสดงอานิสงส์ว่า  อริยสาวก
ผู้ได้ฟังแล้ว  ย่อมเบื่อหน่ายในปัญจขันธ์  ย่อมปราศจากความกำหนัด
รักใคร่  จิตย่อมพ้นจากความถือมั่น  มีญาณรู้ว่าพ้นแล้ว  รู้ชัดว่า
ความเกิดสิ้นแล้ว  พรหมจรรย์ได้ประพฤติจบแล้ว  กิจที่ควรทำได้
ทำเสร็จแล้ว  ไม่ต้องทำกิจอย่างอื่นอีก  เพื่อบรรลุผลอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์.
        พระธรรมเทศนานี้  แสดงลักษณะเครื่องกำหนดปัญจขันธ์ว่าเป็น
อนัตตา  พระคันถรจนาจารย์จึงเรียกว่า  อนัตตลักขณสูตร.
        เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดา  ตรัสพระธรรมเทศนาอยู่  จิตของ
ภิกษุปัญจวัคคีย์  ผู้พิจารณาภูมิธรรมตามกระแสพระธรรมเทศนานั้น
พ้นแล้วจากอาสวะ  ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.   ท่านทั้ง ๕ ได้เป็นพระ
อรหันตขีณาสพ  ประพฤติจบพรหมจรรย์  ในพระธรรมวินัยนี้  เป็น
สังฆรัตนะจำพวกแรก  เป็นที่เต็มแห่งพระไตรรัตน์  ประกาศสัมมา
สัมพุทธภาพแห่งพระศาสดาให้ปรากฏ.   ครั้งนั้น  มีพระอรหันต์ทั้ง
สมเด็จพระสุคตด้วยเพียง ๖ พระองค์.
        ตามอรรถกถา  สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสพระธรรมจักกัปป-
วัตตนสูตร  ยังพระอัญญาโกณฑัญญะให้ตั้งในพระโสดาปัตติผล  เมื่อ

๑.  มหาวคฺค  ๔/๒๔.  ส.  ขนฺธ.  ๑๗/๘๒.    ๒.  สมนฺต.  ตติย.  ๑๙  ป.  สู.  ทุติย.  ๒๕๙.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 9
วันเพ็ญแห่งอาสาฬหมาส  ตรัสเทศนาอนัตตลักขณสูตร  ยังพระ
ปัญจวัคคีย์ครบทั้ง ๕ ให้ตั้งในพระอรหัตตผล   เมื่อดิถีที่ ๕ แห่งกาฬ-
ปักข์เป็นลำดับมา  (ที่ในครั้งนั้น  นับเป็นต้นแห่งสาวนมาส)  โดย
นัยนี้  ระยะกาลที่ทรงสั่งสอนท่านทั้ง ๔ ให้ตั้งในพระโสดาปัตติผล ๔
วันในระหว่างนั้น.
        เมื่อยสกุลบุตรกับสหายที่มีชื่อ ๔ คน  และสหายที่ไม่มีชื่อ ๕๐ คน
ได้มาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้  และได้บรรลุพระอรหัตแล้ว  มี
พระอรหันต์ ๖๑ พระองค์  พระศาสดาทรงประชุมพระสาวก  ตรัสให้
เกิดอุตสาหะในอันเที่ยวจาริกสั่งสอนมหาชน  ให้เห็นธรรมและตั้งอยู่
ในสัมมาปฏิบัติ  อันเป็นปัจจัยแห่งความสุขความสงบแล้ว  ทรงส่ง
ให้เที่ยวกระจายกันไปในทิศานุทิศ  ส่วนพระองค์ก็จักเสด็จไปสู่มคธรัฐ.
        ครั้งนั้น  ภิกษุปัญจวัคคีย์รับพระพุทธาณัติแล้ว  ต่างแยกกัน
เที่ยวจาริก  เพื่อสั่งสอนธรรมในต่างถิ่น  กลับมาเฝ้าพระศาสดาโดย
กาล.   คราวหนึ่ง  พระอัสสชิกลับจากจาริก  มาสู่กรุงราชคฤห์เพื่อเฝ้า
พระศาสดา.   พระสารีบุตร  ครั้งยังบวชเป็นปริพาชกได้พบ  เลื่อมใส
ในมรรยาทอันสงบของท่าน  ได้ขอให้ท่านแสดงธรรม  ท่านแสดง
หัวใจพระศาสนา คือ การกำหนดเหตุและผลทั้งข้างเกิดข้างดับ.   พระ
สารีบุตรได้ฟังธรรมจักษุแล้ว  จึงชวนพระโมคคัลลานะผู้สหายซึ่งบวช
เป็นปริพาชกอยู่ในสำนักเดียวกัน  มาสู่พระธรรมวินัยนี้.
        ในพวกภิกษุปัญจวัคคีย์นั้น  พระอัญญาโกณฑัญญะ  ได้รับ
ยกย่องของพระศาสดาในฐานเป็นเอตทัคคะ  คือ  เป็นยอดเยี่ยมแห่ง


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 10
ภิกษุทั้งหลายผู้รัตตัญญู  แปลว่า  ผู้รู้ราตรี  คือผู้เก่าแก่.   อันชนผู้
รัตตัญญู  คือ  ผู้เก่าแก่ในขณะนั้น ๆ  ย่อมได้พบเห็นและสันทัดมาใน
กิจการของคณะ  ย่อมอาจจัดอาจทำให้สำเร็จด้วยตนเองหรือบอกเล่า
แนะนำผู้อื่น  เป็นเจ้าแบบเจ้าแผนดุจผู้รักษาคลังพัสดุ  ย่อมเป็นที่
นับถือของผู้ใหม่ในคณะ  แม้ในพระธรรมวินัยนี้  ก็นิยมนับถือสาวก
ผู้รัตตัญญูดุจเดียวกัน  สมเด็จพระบรมศาสดาจึงทรงสรรเสริญพระเถระ
ในฐานนี้.
        พระเถระเห็นอุปนิสัยของปุณณมาณพผู้หลาน  ไปสู่พราหมณ-
คามอันชื่อว่าโฑณวัตถุถิ่นเดิมของท่านแล้ว  ยังปุณณมาณพให้บรรพชา
แล้วมาพักอยู่ในพุทธสำนัก  ท่านเองเป็นผู้เฒ่า  อยู่ในเสนาสนะ
ใกล้บ้านไม่สบาย  ได้ถวายบังคมลาพระศาสดาไปอยู่ป่า  ที่พระ
อรรถกถาจารย์กล่าวว่า  สระฉันทันต์อันเป็นผาสุกวิหาร  ได้นิพพาน
ณ ที่นั้น  ก่อนพุทธปรินิพพาน.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 11
                              ๒.  ประวัติแห่งพระยสะ  
        พระยสะนั้น  เป็นบุตรเศรษฐีในเมืองพาราณสี  เป็นผู้บริบูรณ์
มีเรือน ๓ หลังเป็นที่อยู่ใน ๓ ฤดู  ครั้งหนึ่ง เป็นฤดูฝน  ยสกุลบุตร
อยู่ในปราสาทเป็นที่อยู่ในฤดูฝน  บำเรอด้วยดนตรีล้วนแต่สตรี
ประโคม  ไม่มีบุรุษเจือปน.   ค่ำวันหนึ่ง  ยสกุลบุตรนอนหลับก่อน
หมู่ชนบริวารหลับต่อภายหลัง  แสงไฟตามสว่างอยู่  ยสกุลบุตรตื่น
ขึ้น  เห็นหมู่ชนบริวารนอนหลับ  มีอาการพิกลต่าง ๆ บางนางมีพิณ
ตกอยู่ที่รักแร้  บางนางมีตะโพนวางอยู่ข้างคอ  บางนางมีเปิงมางตก
อยู่ ณ อก  บางนางสยายผม  บางนางมีเขฬะไหล  บางนางบ่นละเมอ
ต่าง ๆ  ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยินดีเหมือนก่อน ๆ  หมู่ชนบริวารนั้น
ปรากฏแก่ยสกุลบุตร  ดุจซากศพที่ทิ้งอยู่ในป่าช้า.   ครั้นยสกุลบุตร
ได้เห็นแล้ว  เกิดความสลดใจคิดเบื่อหน่าย  ออกอุทาน  (วาจา
ที่เปล่งด้วยอำนาจความสลดใจ)  ว่า  ที่นี่วุ่นวายหนอ  ที่นี่ขัดข้อง
หนอ  ยสกุลบุตรรำคาญใจ  จึงสวมรองเท้าเดินออกจากประตูเรือนไป
แล้ว  ออกประตูเมืองตรงไปในทางที่จะไปป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  เวลา
นั้นจวนใกล้รุ่ง   พระศาสดาเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง  ทรงได้ยินเสียง
ยสกุลบุตรออกอุทานนั้น  เดินมายังที่ใกล้  จึงตรัสเรียกว่า  ที่นี่ไม่
วุ่นวาย  ที่นี่ไม่ขัดข้อง  ท่านมาที่นี่เถิด  นั่งลงเถิด  เราจักแสดงธรรม
แก่ท่าน  ยสกุลบุตรได้ยินอย่างนั้นแล้ว  คิดว่า  ได้ยินว่า  ที่นี่ไม่วุ่นวาย
ที่นี่ไม่ขัดข้อง  จึงถอดรองเท้าเสีย  เข้าไปใกล้ไหว้แล้ว  นั่ง ณ ที่


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 12
สมควรข้างหนึ่ง.   พระศาสดาตรัสเทศนาอนุปุพพีกถา  คือถ้อยคำที่
กล่าวโดยลำดับ  พรรณนาทานการให้ก่อนแล้ว  พรรณนาศีลความ
รักษากายวาจาเรียบร้อยเป็นลำดับแห่งทาน  พรรณนาสวรรค์  คือ
กามคุณที่บุคคลใคร่ซึ่งจะพึงได้พึงถึงด้วยกรรมอันดี   คือทานและศีล
เป็นลำดับแห่งศีล  พรรณนาโทษ  คือความเป็นของไม่ยั่งยืน  และ
ประกอบด้วยความคับแค้นแห่งกามอันได้ชื่อว่าสวรรค์นั้น  เป็นลำดับ
แห่งสวรรค์  พรรณนาอานิสงส์แห่งความออกไปจากกาม  เป็นลำดับ
แห่งโทษของกาม  ฟอกจิตยสกุลบุตรให้ห่างไกลจากความยินดีในกาม
ควรรับพระธรรมเทศนาให้เกิดธรรมจักษุ   เหมือนผ้าที่ปราศจาก
มลทินควรรับน้ำย้อมได้ฉะนั้น  แล้วจึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา
ที่พระองค์ยกขึ้นแสดงเอง  คืออริยสัจ ๔ อย่าง  คือทุกข์  เหตุให้
ทุกข์เกิด  เหตุให้ทุกข์ดับ  และข้อปฏิบัติเป็นทางให้ถึงความดับทุกข์
ยสกุลบุตรได้เห็นธรรมพิเศษ ณ ที่นั้นแล้ว  ภายหลังพิจารณาภูมิธรรม
ที่ตนได้เห็นแล้ว  จิตพ้นจากอาสวะ  ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.
        ฝ่ายมารดาของยสกุลบุตร  เวลาเช้าขึ้นไปบนเรือน  ไม่เห็นลูก
จึงบอกแก่เศรษฐีผู้สามีให้ทราบ   เศรษฐีให้คนไปตามหาใน ๔ ทิศ
ส่วนตนออกเที่ยวหาด้วย  เผอิญเดินไปในทางที่ไปป่าอิสิปตนมฤคทาย-
วัน  ได้เห็นรองเท้าของลูกตั้งอยู่ ณ ที่นั้นแล้ว  ตามเข้าไปถึงที่พระ
ศาสดาประทับอยู่กับยสกุลบุตร.   พระศาสดาตรัสเทศนาอนุปุพพีกถา
และอริยสัจ ๔ ให้เศรษฐีเห็นธรรมแล้ว   เศรษฐีทูลสรรเสริญพระ
ธรรมเทศนา  แล้วแสดงตนเป็นอุบาสก  ข้าพเจ้าถึงพระองค์กับพระ


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 13
ธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็นที่ระลึก   ขอพระองค์ทรงจำข้าพเจ้าว่า
เป็นอุบาสกผู้ถึงรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต  ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น
ไป  เศรษฐีนั้น  ได้เป็นอุบาสกอ้างพระพุทธเจ้า  พระธรรม  พระสงฆ์
ครบทั้ง ๓ เป็นสรณะก่อนกว่าชนทั้งปวงในโลก.
        ในตอนนี้  พระคันถรจนาจารย์กล่าวความว่า   ในขณะที่เศรษฐี
ผู้บิดายสกุลบุตรเข้าไปอยู่  ทรงบันดาลด้วยอิทธาภิสังขาร  คือฤทธิ์
ที่แต่งขึ้น  ไม่ให้บิดากับบุตรเห็นกัน  ต่อทรงแสดงธรรมเทศนา
จบ  ยสกุลบุตรพิจารณาภูมิธรรมอันตนได้เห็นแล้ว  บรรลุพระอรหัต
และเศรษฐีผู้บิดาได้บรรลุพระโสดาปัตติผลแล้ว  จึงทรงคลายอิทธา-
ภิสังขารนั้นให้บิดากับบุตรเห็นกัน.
        เศรษฐีผู้บิดายังไม่ทราบว่ายสกุลบุตรมีอาสวะสิ้นแล้ว  จึงบอก
ความว่า  พ่อยสะ  มารดาของเจ้า  เศร้าโศกพิไรรำพันนัก  เจ้าจง
ให้ชีวิตแก่มารดาของเจ้าเถิด.   ยสกุลบุตรแลดูพระศาสดา ๆ ตรัสแก่
เศรษฐีว่า  คฤหบดี  ท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน  แต่ก่อนยสะ
ได้เห็นธรรม  ด้วยปัญญาอันรู้เห็นเป็นของเสขบุคคลเหมือนกับท่าน
ภายหลัง  ยสะพิจารณาภูมิธรรมที่ตนได้เห็นแล้ว  จิตก็พ้นจากอาสวะ
มิได้ถือมั่นด้วยอุปาทาน  ควรหรือยสะจะกลับคืนไปบริโภคกามคุณ
เหมือนแต่ก่อน.   ไม่อย่างนั้นพระเจ้าข้า  เป็นลาภของพ่อยสะแล้ว
ความเป็นมนุษย์  พ่อยสะได้ดีแล้ว  ขอพระองค์กับพ่อยสะเป็นสมณะ
ตามเสด็จ  จงทรงรับบิณฑบาตของข้าพเจ้าในวันนี้เถิด.   พระศาสดา

๑.  ผู้ยังต้องศึกษา  เป็นชื่อของพระอริยเจ้าเบื้องต่ำ ๗ จำพวก.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 14
ทรงรับด้วยนิ่งอยู่.   เศรษฐีทราบว่าทรงรับแล้ว  ลุกจากที่นั่งแล้ว 
ถวายอภิวาทแล้ว  ทำประทักษิณแล้วหลีกไป.   เมื่อเศรษฐีไปแล้วไม่ช้า
ยสกุลบุตรทูลขออุปสมบท.   พระศาสดาทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วย
พระวาจาว่า  มาเถิดภิกษุ  ธรรมเรากล่าวดีแล้ว  ท่านจงประพฤติ
พรหมจรรย์เถิด  ในที่นี้ไม่ตรัสว่า  เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ  เพราะ
พระยสะได้ถึงที่สุดทุกข์แล้ว.  สมัยนั้น  มีพระอรหันต์ขึ้นในโลกเป็น ๗
ทั้งพระยสะ.
        ในเวลาเช้าวันนั้น  พระศาสดากับพระยสะตามเสด็จ ๆ ไปถึง
เรือนเศรษฐีนั้นแล้ว  ทรงนั่ง ณ อาสนะที่แต่งไว้ถวาย.   มารดาและ
ภริยาเก่าของยสะเข้าไปเฝ้า  พระองค์ทรงแสดงอนุปุพพีกถาและอริย-
สัจ ๔  ให้สตรีทั้ง ๒ นั้นเห็นธรรมแล้ว  สตรีทั้ง ๒ นั้นทูลสรรเสริญ
พระธรรมเทศนาแล้ว  แสดงตนเป็นอุบาสิกา  ถึงพระรัตนตรัย
เป็นสรณะโดยนัยหนหลัง  ต่างแต่เป็นผู้ชายเรียกอุบาสก  เป็น
ผู้หญิงเรียกว่า  อุบาสิกา  เท่านั้น  สตรีทั้ง ๒ นั้นได้เป็นอุบาสิกาขึ้น
ในโลกกว่าหญิงอื่น.   ครั้นถึงเวลา  มารดาบิดา  และภริยาเก่า
แห่งพระยสะ   ก็อังคาสพระศาสดาและพระยสะด้วยของเคี้ยวของฉัน
อันประณีตโดยเคารพด้วยมือของตน   ครั้นฉันเสร็จแล้ว  พระศาสดา
ตรัสพระธรรมเทศนาสั่งสอนชนทั้ง ๓ ให้เห็น  ให้สมาทาน  ให้อาจหาญ
ให้รื่นเริงแล้ว  เสด็จกลับไปป่าอิสิปตนมฤคทายวัน.
        ฝ่ายสหายของพระยสะ ๔ คน  ชื่อวิมละ ๑  สุพาหุ ๑  ปุณณชิ ๑

๑.  เดินเวียนข้างขวา.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 15
ควัมปติ ๑  เป็นบุตรแห่งเศรษฐีสืบ ๆ มาในเมืองพาราณสี  ได้ทราบ
ข่าวว่ายสกุลบุตรออกบวชแล้ว  จึงคิดว่า  ธรรมวินัยที่ยสกุลบุตรออก
บวชนั้นจักไม่เลวทรามแน่แล้ว  คงเป็นธรรมวินัยอันประเสริฐ   ครั้น
คิดอย่างนั้นแล้ว  พร้อมกันทั้ง ๔ คน  ไปหาพระยสะ ๆ ก็พาสหาย ๔
คนนั้นไปเฝ้าพระศาสดา  ทูลขอให้ทรงสั่งสอน  พระองค์ทรงสั่งสอน
ให้กุลบุตรทั้ง ๔ นั้นเห็นธรรมแล้ว  ประทานอุปสมบทอนุญาตให้เป็น
ภิกษุแล้ว  ทรงสั่งสอนให้บรรลุพระอรหัตตผล.  ครั้งนั้น  มีพระอรหันต์
ขึ้นในโลก ๑๑ พระองค์.
        ฝ่ายสหายของพระยสะอีก ๕๐ คน  เป็นชาวชนบท  ได้ทราบ
ข่าวนั้นแล้ว  คิดเหมือนหนหลัง  พากันมาบวชตามแล้ว  ได้สำเร็จพระ
อรหัตตผลด้วยกันสิ้นโดยนัยก่อน  บรรจบเป็นพระอรหันต์ ๖๑ องค์.
        พระยสะและพระสหายเหล่านี้  พระศาสดาทรงส่งไปประกาศพระ
พุทธศาสนา   ในคราวแรก  พร้อมด้วยพระปัญจวัคคีย์  ตั้งแต่นั้นมา
ไม่ปรากฏอีก  ไม่มีนามในจำพวกพระมหาสาวกอันพระศาสดาทรง
ยกย่องในที่เอตทัคคะ  ชะรอยจะนิพพานสาบศูนย์เสียในคราวไปประกาศ
พระศาสนานั่นเอง.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 16
                         ๓.  ประวัติแห่งพระอุรุเวลกัสสปะ
        พระอุรุเวลกัสสปะ  เกิดในสกุลพราหมณ์  กัสสปโคตร  ก่อน
แต่พระศาสดาอุบัติ  มีชาติภูมิอยู่ที่ไหน  พระคันถรจนาจารย์มิได้
พรรณนาไว้.  มีน้องชาย ๒ คนเจริญวัยขึ้นแล้ว  ทั้ง ๓ คนนั้นได้
เรียนจบไตรเพท.   พี่ใหญ่มีมาณพเป็นบริวาร ๕๐๐ น้องกลางมีบริวาร
๓๐๐ น้องน้อยมีบริวาร ๒๐๐ ทั้ง ๓ คนเห็นผลแห่งการเรียน  ที่ได้
ในปัจจุบันไม่เป็นสาระพอ  มุ่งผลในสัมปรายภพต่อไปอีก  ได้ออกบวช
เป็นชฎิล  คือนักบวชจำพวกเกล้าผมเซิง  พร้อมด้วยบริวาร  พี่ใหญ่
ตั้งอาศรมอยู่ที่ตำบลอุรุเวลา  จึงได้ชื่อฉายาว่า  อุรุเวลกัสสปะ  น้อง
กลางตั้งอาศรมอยู่ที่ลำน้ำอ้อมหรือคุ้งแห่งแม่คงคา จึงได้ชื่อฉายาว่า นที-
กัสสปะ น้องน้อยตั้งอาศรมอยู่ที่ตำบลคยาสีสะ จึงได้ชื่อฉายาว่า  คยา-
กัสสปะ.
        ครั้นเมื่อพระศาสดา  ทรงส่งสาวกให้กระจายกันไปประกาศพระ
ศาสนาในทิศานุทิศแล้ว  ทรงพิจารณาเห็นความบริบูรณ์แห่งอุปนิสัย
ของชนชาวมคธเป็นอันมาก  มีพระพุทธประสงค์จะทรงประดิษฐาน
พระพุทธศาสนาตั้งขึ้น ณ แคว้นนั้น  ทรงพระพุทธดำริพาท่านอุรุเวล-
กัสสปะผู้มีอายุมาก  เป็นที่นับถือของมหาชนมานาน  ไปปลูกศรัทธา
แห่งมหาชน  เสด็จพระพุทธดำเนินไปลำพังพระองค์เดียว  โดยหนทาง
ที่ไปสู่อุรุเวลานิคม เทศนาโปรดภัททวัคคิยกุมาร ๓๐ คน  ในระหว่าง


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 17
ทาง  และประทานอุปสมบทแล้ว  ส่งไปประกาศพระศาสนา  เสด็จ
ต่อไปถึงอุรุเวลานิคมแล้ว  ตรัสขอสำนักอาศัย   ท่านอุรุเวลกัสสปะ
มิเต็มใจรับ  แต่มิกล้าขัดโดยตรง  จึงบ่ายเบี่ยงว่า  ที่อันจะพึงให้อยู่
มีแต่โรงที่บูชาเพลิงที่มีนาคร้าย  อธิบายว่า  เป็นที่ประดิษฐานเทวรูป
มีนาคบัลลังก์  เช่นพระนาคปรกอันพวกชฎิลนับถือว่า  ศักดิ์สิทธิ์
ผู้ใดกล้ำกราย  อาจทำอันตรายแก่ผู้นั้น   พระศาสดาทรงขอเสด็จเข้า
อาศัยในที่นั้น   ครั้นไม่มีอันตราย  พวกชฎิลสำคัญเห็นเป็นพระอภินิหาร
นี้เป็นทางปลูกความยำเกรงเป็นเบื้องต้น   ต่อนั้นมาทรงแสดงอภินิหาร
อย่างอื่น ๆ  ถอนทิฏฐิมานะแห่งท่านอุรุเวลกัสสปะกับบริวารลงทุกที
จนได้ปรีชาหยั่งเห็นว่า  ลัทธิของตนนั้นหาแก่นสารมิได้  หลงถือตนว่า
เป็นผู้วิเศษฉันใด  หาเป็นฉันนั้นไม่  ได้ความสลดใจ  พร้อมกันลอย
บริขารแห่งชฎิลเสียในแม่น้ำแล้ว  ทูลขออุปสมบท  พระศาสดาประทาน
อุปสมบท  ทรงพระอนุญาตให้เป็นภิกษุทั้งมวล.
        ฝ่ายนทีกัสสปะน้องชายกลาง  ตั้งอาศรมอยู่ภายใต้  ได้เห็นบริขาร
ชฎิลลอยมาตามกระแสน้ำ  สำคัญว่า  เกิดอันตรายแก่พี่ชายตน  พร้อมทั้ง
บริวาร  รีบไปถึง  เห็นพระอุรุเวลกัสสปะ  ผู้พี่ชายถือเพศเป็นภิกษุ
แล้ว  ถามทราบความว่าพรหมจรรย์นี้ประเสริฐแล้ว  ลอยบริขารชฎิล
เสียในแม่น้ำ  พร้อมด้วยบริวารเข้าไปเฝ้าพระศาสดา  ทูลขออุปสมบท
พระองค์ก็ประทานอุปสมบทแก่เธอทั้งหลาย  โดยนัยหนหลัง.
        ฝ่ายคยากัสสปะน้องชายน้อย  ได้เห็นบริขารชฎิลลอยมาตาม
กระแสน้ำ  สำคัญว่า  เกิดอันตรายแก่พี่ชายทั้ง ๒ พร้อมกับบริวารรีบ


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 18
มาถึง  เห็นพี่ชายทั้ง ๒ ถือเพศภิกษุแล้ว  ถามทราบความว่า  พรหม-
จรรย์นี้ประเสริฐแล้ว  ลอยบริขารของตนเสียในแม่น้ำ  พร้อมด้วย
บริวาร  เข้าไปเฝ้าพระศาสดา  ทูลขออุปสมบท  พระองค์ก็ประทาน
อุปสมบทให้เป็นภิกษุ  โดยนัยหนหลัง.
        พระศาสดา  เสด็จอยู่ในตำบลอุรุเวลา  ตามควรแก่ความต้องการ
แล้ว  พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ชฎิลเก่านั้น  เสด็จไปยังตำบลคยาสีสะใกล้
แม่น้ำคยา  ประทับอยู่ ณ ที่นั้น  ตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นมาพร้อมกันแล้ว
ทรงแสดงธรรมว่า  ภิกษุทั้งหลาย  สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน  อะไรเล่า
ชื่อว่าสิ่งทั้งปวง จักษุ  คือนัยน์ตา  รูป  วิญญาณอาศัยจักษุ  สัมผัส
คือความถูกต้องอาศัยจักษุ  เวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย  คือ
สุขบ้าง  ทุกข์บ้าง  ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์บ้าง  (หมวดหนึ่ง)  โสต  คือ  หู
เสียง  วิญญาณอาศัยโสต  สัมผัสอาศัยโสต  เวทนาที่เกิดเพราะโสต-
สัมผัสเป็นปัจจัย  สุขบ้าง  ทุกข์บ้าง  ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์บ้าง  (หมวด
หนึ่ง)   ฆานะ  คือ จมูก  กลิ่น  วิญญาณอาศัยฆานะ  สัมผัสอาศัย
ฆานะ  เวทนาที่เกิดจากฆานสัมผัสเป็นปัจจัย  เป็นสุขบ้าง  ทุกข์บ้าง
ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์บ้าง (หมวดหนึ่ง)  ชิวหา  คือลิ้น  รส  วิญญาณ
อาศัยชิวหา  สัมผัสอาศัยชิวหา  เวทนาที่เกิดเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
สุขบ้าง  ทุกข์บ้าง  ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์บ้าง  (หมวดหนึ่ง)  กาย
โผฏฐัพพะ  คือ  อารมณ์ที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย  วิญญาณอาศัยกาย  สัมผัส
อาศัยกาย  เวทนาที่เกิดเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย  สุขบ้าง  ทุกข์บ้าง
ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์บ้าง  (หมวดหนึ่ง)  มนะ  คือ  ใจ  ธรรม  วิญญาณ


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 19
อาศัยมนะ  สัมผัสอาศัยมนะ  เวทนาที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
สุขบ้าง  ทุกข์บ้าง  ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์บ้าง  (หมวดหนึ่ง)  ชื่อว่า  สิ่ง
ทั้งปวงเป็นของร้อน  ร้อนเพราะอะไร  อะไรมาเผาให้ร้อน  เรากล่าวว่า
ร้อนเพราะไฟ  คือราคะ  ความกำหนัด  โทสะ  ความโกรธ  โมหะ
ความหลง  ร้อนเพราะความเกิด  ความแก่  ความตาย  ความโศก
ร่ำไรรำพัน  เจ็บกาย  เสียใจ  คับใจ  ไฟกิเลส  ไฟทุกข์เหล่านี้มาเผา
ให้ร้อน   ภิกษุทั้งหลาย  อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้วเห็นอยู่อย่างนี้  ย่อม
เบื่อหน่ายในสิ่งทั้งปวงนั้น  ตั้งแต่ในจักษุ  จนถึงเวทนาที่เกิดเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัย   เมื่อเบื่อหน่าย  ย่อมปราศจากกำหนัดรักใคร่
เพราะปราศจากกำหนัดรักใคร่  จิตก็พ้นจากความถือมั่น  เมื่อจิตพ้นแล้ว
ก็เกิดญาณรู้ว่าพ้นแล้ว   ดังนี้   อริยสาวกนั้น  ทราบชัดว่าความเกิดสิ้น
แล้ว  พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว  กิจที่ต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว  กิจอื่นอีก
เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี  เมื่อพระศาสดา  ตรัสพระธรรมเทศนานี้อยู่
จิตของภิกษุเหล่านั้นพ้นจากอาสวะทั้งหลาย  ไม่ถือมั่นด้วยอุปทาน  กล่าว
คือ  ภิกษุเหล่านั้น  ได้บรรลุพระอรหัตเป็นพระขีณาสพ.
        พระธรรมเทศนานี้  ได้ชื่อว่าอาทิตตปริยายสูตร  ด้วยเหตุแสดง
สภาวธรรมอันเป็นของร้อน   พระศาสดาตรัสเพื่อเหมาะแก่บุรพจรรยา
ของพวกปุราณชฎิล  ผู้อบรมมาในการบูชาเพลิง.
        พระศาสดา  เสด็จอยู่ ณ ตำบลคยาสีสะ  ตามควรแก่พระพุทธ-
อัธยาศัยแล้ว  พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสาวก ๑๐๐๓ องค์นั้น  เสด็จจาริกไป

๑.  มหาวคฺค.  ๔/๒๖.   ส.  สฬ.  ๑๘/๒๓.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 20
โดยลำดับ   ถึงกรุงราชคฤห์  ประทับอยู่ ณ สวนตาลหนุ่มอันชื่อว่า
ลัฏฐิวัน   พระเจ้าพิมพิสารพระเจ้าแผ่นดินมคธ  ทรงทราบข่าวนั้นแล้ว
เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยราชบริวารเป็นอันมาก  ไปเฝ้าพระศาสดา
ถึงลัฏฐิวัน.  พระศาสดา  ทอดพระเนตรเห็นอาการของพวกราชบริวาร
เหล่านั้นต่าง ๆ กัน  ยังไม่อ่อนน้อมโดยเรียบร้อย   ซึ่งควรจะรับพระ
ธรรมเทศนาได้  มีพระพุทธประสงค์จะให้พระอุรุเวลกัสสปะ  ซึ่งเป็น
ที่นับถือของชนเหล่านั้น   ประกาศความไม่มีแก่นสารแห่งลัทธิเก่า
ให้เขาทราบ  จะได้สิ้นความเคลือบแคลง  แล้วตั้งใจฟังพระธรรมเทศนา
จึงตรัสถามพระอุรุเวลกัสสปะว่า  กัสสปะผู้อยู่ในอุรุเวลามานาน  ท่าน
เคยเป็นอาจารย์สั่งสอนหมู่ชฎิลผู้ผอมเพราะกำลังพรต   ท่านเห็นเหตุ
อะไรแล้ว  จึงละไฟที่ตนเคยบูชาแล้วตามลัทธิแต่ก่อน   เราถาม
เนื้อความนั้นกะท่าน  เหตุไฉนท่านจึงละการบูชาเพลิงของท่านเสีย.
พระอุรุเวลกัสสปะกราบทูลว่า  ยัญทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผล  คือ  รูป
เสียง  และรส  เป็นอารมณ์ที่สัตว์ปรารถนา  และสตรีทั้งหลาย  แสดงว่า
บุชายัญแล้วก็จะได้ผล  คืออารมณ์ที่ปรารถนามีรูปเป็นต้นเหล่านี้  ข้าพ-
เจ้าได้รู้ว่า  ผลคือกามนั้น  เป็นมลทินเครื่องเศร้าหมองตกอยู่ในกิเลส
ยัญทั้งหลายย่อมกล่าวสรรเสริญผลล้วนแต่มลทินอย่างเดียว   เหตุนั้น
ข้าพเจ้า  จึงมิได้ยินดีในการเซ่นบูชาเพลิงที่ได้เคยทำมาแล้วแต่ปางก่อน
พระศาสดา  ตรัสถามต่อไปอีกว่า  กัสสปะ  ก็ใจของท่านไม่ยินดีใน
อารมณ์เหล่านั้น  คือ รูป เสียง และรส  ซึ่งเป็นวัตถุกามแล้ว  ก็ทีนั้น
ใจของท่านยินดีแล้วในสิ่งใดเล่า  ในเทวโลกหรือในมนุษยโลก  ท่าน


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 21
จงบอกข้อนั้นแก่เรา  พระอุรุเวลกัสสปะกราบทูลว่า  ข้าพระเจ้าได้เห็น
ธรรมอันระงับแล้ว  ไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมองอันเป็นเหตุก่อให้เกิด
ทุกข์  ไม่มีกังวลเข้าพัวพัน  ไม่ติดอยู่ในกามภพ  อันจักไม่แปรปรวน
เป็นอย่างอื่น  ไม่ใช่ธรรมที่บุคคลอื่นจะพึงนำไป  คือ  ไม่เป็นวิสัยที่ผู้อื่น
จะมาให้ผู้อื่นรู้ได้  ต่อผู้ที่ทำให้แจ้งจึงรู้จำเพาะตัว  เหตุนั้น  ข้าพระเจ้า
มิได้ยินดีแล้ว  ในการเซ่น  และการบูชาเพลิงซึ่งเคยประพฤติมาแล้ว.
พระอุรุเวลกัสสปะกราบทูลอย่างนี้แล้ว  ลุกจากที่นั่ง  ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า
ข้างหนึ่ง  ซบศีรษะลงที่พระบาทพระศาสดา  ทูลประกาศว่า  พระองค์
เป็นพระศาสดาผู้สอนของข้าพระเจ้า  ข้าพระเจ้าเป็นสาวกผู้ฟังคำสอน
ของพระองค์  ดังนี้  ย้ำเป็น ๒ หน    เมื่อพระศาสดา  ตรัสถามให้
พระอุรุเวลกัสสปะกราบทูลประกาศความไม่มีแก่นสารแห่งลัทธิเก่า  ให้
ราชบริวารทราบแล้ว  น้อมจิตคอยฟังพระธรรมเทศนาของพระองค์
อย่างนี้แล้ว  ทรงแสดงอนุปุพพีกถา  และอริยสัจ ๔  พระเจ้าพิมพิสาร
และราชบริวารแบ่งเป็น ๑๒ ส่วน    ๑๑ ส่วน  ได้ดวงจักษุเห็นธรรม
ส่วนหนึ่งตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมน์.   ท้าวเธอแสดงความยินดีที่สมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาสู่แว่นแคว้น  ท้าวเธอได้เฝ้าเป็นทัสสนา-
นุตตริยะ  ได้ทรงแสดงธรรมแก่ท้าวเธอ  และท้าวเธอได้ทรงสดับเป็น
สวนานุตตริยะ  ได้ธรรมจักษุเห็นธรรมนั้น  เป็นลาภานุตตริยะ  ทรง
สรรเสริญพระธรรมเทศนา  แสดงพระองค์เป็นอุบาสกแล้ว  กราบทูล
เชิญเสด็จพระศาสดา  กับพระสงฆ์สาวกเพื่อเสวยที่พระราชนิเวศน์ในวัน
พรุ่งแล้ว  เสด็จกลับพระราชวัง   ในวันรุ่งขึ้น  พระศาสดาพร้อมด้วย


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 22
พระสงฆ์สาวกเป็นบริวาร  เสด็จไปยังราชนิเวศน์  ประทับ ณ อาสนะ
ที่แต่งไว้ถวายแล้ว   พระเจ้าพิมพิสารทรงอังคาสพระภิกษุสงฆ์  มีพระ
พุทธเจ้าเป็นประธาน  ให้อิ่มด้วยอาหารอันประณีตด้วยพระหัตถ์แห่ง
พระองค์เสร็จแล้ว  ทรงพระดำริถึงสถานควรเป็นที่เสด็จอยู่แห่งพระ
ศาสดา  ทรงเห็นว่าพระราชอุทยานเวฬุวันสวนไม้ไผ่  เป็นที่ไม่ห่าง
เป็นที่ไม่แค่นักแต่บ้าน  บริบูรณ์ด้วยทางเป็นที่ไปมา  ควรที่ผู้มีธุระ
จะพึงไปถึง  กลางวันไม่เกลื่อนกล่นด้วยหมู่คน  กลางคืนเงียบเสียง
อื้ออึงกึกก้อง  สมควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ที่ต้องการที่สงัด  ควรเป็น
ที่เร้นอยู่ตามวิสัยสมณะ  ควรเป็นที่เสด็จอยู่แห่งพระศาสดา   ครั้นทรง
พระราชดำริอย่างนี้แล้ว  ทรงจับพระเต้าทองเต็มด้วยน้ำหลั่งลงถวาย
พระราชอุทยานเวฬุวันนั้นแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน  พระ
ศาสดาทรงรับแล้ว  ทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้พระเจ้าพิมพิสาร
ทรงเห็น  ทรงสมาทาน  อาจหาญ  รื่นเริง  ในสัมมาปฏิบัติตามสมควร
แล้วเสด็จไปประทับอยู่ ณ เวฬุวันนั้น.
        ตั้งแต่นี้ไป  ข่าวแห่งพระสงฆ์ปุราณชฎิลพวกนี้  มิได้ปรากฏ
โดยเฉพาะอีก  มีเพียงว่า  ในคราวเมื่อพระศาสดาทรงแสดงโอวาท
ปาฏิโมกข์  ในมหาสันนิบาตแห่งพระสาวกสงฆ์ที่ว่ามีจำนวน ๑,๒๕๐
พระองค์  พระคันถรจนาจารย์  กล่าวสงเคราะห์พระสงฆ์ปุราณชฎิล
พวกนี้เข้าในจำนวนนั้นด้วย.  แต่พระปุราณชฎิลพวกนี้อยู่ในพุทธสำนัก
เช่นนี้  สันนิบาตนั้นดูไม่น่าอัศจรรย์  ไม่สมควรแก่คำว่า  ล้วนเป็น
พระอรหันต์  เอหิภิกขุ  ต่างรูป  ต่างมาเอง  ไม่ได้ตรัสเรียกมา  การ


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 23
ประชุมนั้น   จักเป็นประชุมพระสงฆ์ในพุทธสำนักเท่านั้นเอง  ฟังเอา
เป็นประมาณถนัดมิได้.
        ในคราวที่ทรงยกย่องพระสาวกในเอตทัคคฐาน  โดยคุณสมบัติ
นั้น ๆ ทรงยกย่องพระอุรุเวลกัสสปะว่า  เป็นยอดแห่งภิกษุผู้มีบริวาร
มาก.
        ความเป็นผู้มีบริวารมาก  เป็นผลแห่งความรู้จักเอาใจบริษัท
รู้จักสงเคราะห์ด้วยอามิสบ้าง  ด้วยธรรมบ้าง  ตามต้องการอย่างไร
ภิกาผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติอย่างนี้  ย่อมเป็นผู้อันบริษัทรักใคร่นับถือ
สามารถคุมบริษัทใหญ่ไว้อยู่  เป็นผู้อันจะพึงปรารถนาในสาวกมณฑล.
พระอุรุเวลกัสสปะ  ได้รับผลแห่งคุณสมบัติเป็นอย่างเยี่ยม   พระศาสดา
จึงได้ยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางนี้.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 24
                              ๔.  ประวัติแห่งพระสารีบุตร
        พระสารีบุตรนั้น  เป็นบุตรพราหมณ์นายบ้านผู้หนึ่ง  ชื่อวังคันตะ
และนางสารี  เกิดในตำบลบ้านชื่อนาลกะ  หรือ  นาลันทะ  ไม่ห่างแต่
กรุงราชคฤห์  ท่านชื่อ  อุปติสสะมาก่อน  อีกอย่างหนึ่ง  เขาเรียกชื่อ
ตามความที่เป็นบุตรของนางสารีว่า  สารีบุตร   เมื่อท่านมาอุปสมบท
ในพระธรรมวินัยนี้แล้ว  เขาเรียกท่านว่า  พระสารีบุตร  ชื่อเดียว.  การ
เรียกชื่อตามมารดานี้  เป็นธรรมเนียมใช้อยู่ในครั้งนั้นบ้างกระมัง ?
นอกจากพระสารีบุตรยังมีอีก  คือพระปุณณมันตานีบุตร  ที่หมายความ
ว่า  บุตรของนางมันตานี  ใช้สร้อยพระนามแห่งพระเจ้าอชาตศัตรูว่า
เวเทหีบุตร  หมายความว่า  พระโอรสแห่งพระนางเวเทหี   แต่ที่เรียก
ตามโคตรก็มี  เช่น  โมคคัลลานะ  กัสสปะ  กัจจานะ  เป็นอาทิ   แต่เขา
มักเรียกสั้นว่า  สารีบุตร  ที่แลความไปอีกอย่างหนึ่งว่า  บุตรคนเล่น
หมากรุก.   สารีอาจเป็นชื่อโคตรของท่าน  มารดาของท่านชื่อสารี
ตามสกุลก็ได้  แต่ไม่พบอรรถาธิบายเลย  ยังถือเอาเป็นประมาณมิได้.
        พระคันถรจนาจารย์พรรณนาว่า  อุปติสสมาณพนั้น  เป็นบุตร
แห่งสกุลผู้บริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติและบริวาร  ได้เป็นผู้เรียนรู้ศิลป-
ศาสตร์  ได้เป็นมิตรชอบพอกันกับโกลิตมาณพ  โมคคัลลานโคตร  ผู้
รุ่นราวคราวเดียวกัน  เป็นบุตรแห่งสกุลผู้มั่งคั่งเหมือนกันมาแต่ยังเยาว์.
สองสหายนั้น  ได้เคยไปเที่ยวดูการเล่นในกรุงราชคฤห์ด้วยกันเนือง ๆ


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 25
เมื่อดูอยู่นั้น  ย่อมร่าเริงในที่ควรร่าเริง  สลดใจในที่ควรสลดใจ  ให้
รางวัลในที่ควรให้.   วันหนึ่ง  สองสหายนั้น  ชวนกันไปดูการเล่น
เหมือนอย่างแต่ก่อน  แต่ไม่ร่าเริงเหมือนในวันก่อน ๆ.   โกลิตะถาม
อุปติสสะว่า  ดูท่านไม่สนุกเหมือนในวันอื่น  วันนี้ดูเศร้าใจ  ท่านเป็น
อย่างไรหรือ โกลิตะ  อะไรที่ควรดูในการเล่นนี้มีหรือ คนเหล่านี้
ทั้งหมดยังไม่ทันถึง ๑๐๐ ปี  ก็จักไม่มีเหลือ  จักล่วงไปหมด  ดูการเล่น
ไม่มีประโยชน์อะไร  ควรขวนขวายหาธรรมเครื่องพ้นดีกว่า  ข้านั่งคิด
อยู่อย่างนี้  ส่วนเจ้าเล่า  เป็นอย่างไร อุปติสสะ  ข้าก็คิดเหมือน
อย่างนั้น.  สองสหายนั้น  มีความเห็นร่วมกันอย่างนั้นแล้ว  พาบริวาร
ไปขอบวชอยู่ในสำนักสัญชัยปริพาชก  เรียนลัทธิของสัญชัยได้ทั้งหมด
แล้ว  อาจารย์ให้เป็นผู้ช่วยสั่งสอนหมู่ศิษย์ต่อไป  สองสหายนั้น  ยังไม่
พอใจในลัทธิของครูนั้น  จึงนัดหมายกันว่า  ใครได้โมกขธรรม  จงบอก
แก่กัน.
        ครั้นพระศาสดาได้ตรัสรู้แล้ว  ทรงแสดงธรรมสั่งสอนประชุมชน
ประกาศพระพุทธศาสนา  เสด็จมาถึงกรุงราชคฤห์  ประทับอยู่ ณ
เวฬุวัน.   วันหนึ่ง  พระอัสสชิ  ผู้นับเข้าในพระปัญจวัคคีย์  อันพระ
ศาสดาทรงส่งให้จาริกไปประกาศพุทธศาสนากลับมาเฝ้า  เข้าไปบิณฑ-
บาตในกรุงราชคฤห์  อุปติสสปริพาชก  เดินมาแต่สำนักของปริพาชก
ได้เห็นท่านมีอาการน่าเลื่อมใส  จะก้าวไปถอยกลับแลเหลียว  คู้แขน
เหยียดแขนเรียบร้อยทุกอิริยาบถ  ทอดจักษุแต่พอประมาณ  มีอาการแปลก
จากบรรพชิตในครั้งนั้น  อยากจะทราบว่าใครเป็นศาสดาของท่าน


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 26
แต่ยังไม่อาจถาม  ด้วยเห็นว่าเป็นกาลไม่ควร  ท่านยังเที่ยวไปบิณฑบาต
อยู่  จึงติดตามไปข้างหลัง ๆ   ครั้นเห็นท่านกลับจากบิณฑบาตแล้ว  จึง
เข้าไปใกล้  พูดปราศรัยแล้ว  ถามว่า   ผู้มีอายุ  อินทรีย์ของท่าน
หมดจดผ่องใส  ท่านบวชจำเพาะใคร ใครเป็นพระศาสดาผู้สอนของท่าน ?
ท่านชอบใจธรรมของใคร ?   ผู้มีอายุ  เราบวชจำเพาะพระมหาสมณะ
ผู้เป็นโอรสศากยราชออกจากศากยสกุล   ท่านนั้นแล  เป็นศาสดา
ของเรา  เราชอบใจธรรมของท่านนั้นแล.   พระศาสดาของท่านสั่งสอน
อย่างไร ?   ผู้มีอายุ  รูปเป็นผู้ใหม่  บวชยังไม่นาน  เพิ่งมายังพระธรรม
วินัยนี้  ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่านโดยกว้างขวาง  รูปจักกล่าวความ
แก่ท่านแต่โดยย่อพอรู้ความ.  ผู้มีอายุ  ช่างเถิด  ท่านจะกล่าวน้อยก็ตาม
มากก็ตาม  กล่าวแต่ความเถิด  รูปต้องการด้วยความ  ท่านจะกล่าวคำ
ให้มากเพื่อประโยชน์อะไร.  พระอัสสชิก็แสดงธรรมแก่อุปติสสปริพาชก
พอเป็นเลาความว่า  " พระศาสดาทรงแสดงความเกิดแห่งธรรมทั้งหลาย
เพราะเป็นไปแห่งเหตุ  และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น  เพราะดับแห่ง
เหตุ  พระศาสดาตรัสอย่างนี้."
        อุปติสสปริพาชกได้ฟัง  ก็ทราบว่า  ในพระพุทธศาสนาแสดงว่า
ธรรมทั้งปวง  เกิดเพราะเหตุ  และจะสงบระงับไป  เพราะเหตุดับก่อน
พระศาสดาทรงสั่งสอน  ให้ปฏิบัติเพื่อสงบระงับเหตุแห่งธรรม  เป็น
เครื่องก่อให้เกิดทุกข์  ได้ดวงตาเห็นธรรมว่า  สิ่งใดสิ่งหนึ่ง  มีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา  สิ่งนั้นทั้งหมด  ต้องมีความดับเป็นธรรมดา  แล้ว

๑.  มหาวคฺค.  ๔/๗๕.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 27
ถามพระเถระว่า  พระศาสดาของเราเสด็จอยู่ที่ไหน ผู้มีอายุ  เสด็จ
อยู่ที่เวฬุวัน.   ถ้าอย่างนั้น  พระผู้เป็นเจ้าไปก่อนเถิด  รูปจักกลับไป
บอกสหาย  จักพากันไปเฝ้าพระศาสดา.   ครั้นพระเถระไปแล้ว  ก็กลับ
มาสำนักของปริพาชก  บอกข่าวที่ได้ไปพบพระอัสสชิให้โกลิตปริพาชก
ทราบแล้ว  แสดงธรรมนั้นให้ฟัง.   โกลิตปริพาชกก็ได้ดวงตาเห็นธรรม
เหมือนอุปติสสะแล้ว  ชวนกันไปเฝ้าพระศาสดา  จึงไปลาสัญชัยผู้
อาจารย์เดิม  สัญชัยห้ามไว้  อ้อนวอนอยู่เป็นหลายครั้ง  ก็ไม่ฟัง
พาบริวารไปเวฬุวัน  เฝ้าพระศาสดา  ทูลขออุปสมบท  พระองค์ทรง
อนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยกันทั้งสิ้น.   ในภิกษุเหล่านั้นภิกษุผู้เป็นบริวาร
ได้สำเร็จพระอรหัตก่อนในไม่ช้า  ฝ่ายพระโมคคัลลานะอุปสมบทได้ ๗
วัน  จึงได้สำเร็จพระอรหัต  มีเรื่องดังจะเล่าในประวัติของท่าน.   ฝ่าย
พระสารีบุตร  ต่ออุปสมบทแล้วได้กึ่งเดือน  จึงได้สำเร็จพระอรหัต.
        มีเรื่องเล่าถึงความสำเร็จพระอรหัตแห่งพระสารีบุตรว่า  วันนั้น
พระศาสดาเสด็จอยู่ในถ้ำสุกรขาตา  เขาคิชฌกูฏ  แขวงกรุงราชคฤห์
ปริพาชกผู้หนึ่ง  ชื่อทีฆนขะ  อัคคิเวสสนโคตร  เข้าไปเฝ้าพระศาสดา
กล่าวปราศรัยแล้ว  ยืน ณ ที่ควรข้างหนึ่ง  ทูลแสดงทิฏฐิของตนว่า
พระโคตมะ  ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า  สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าไม่ชอบใจหมด.   พระศาสดาตรัสตอบว่า  อัคคิเวสสนะ  ถ้า
อย่างนั้น  ความเห็นอย่างนั้น  ก็ต้องไม่ควรแก่ท่าน  ท่านก็ต้องไม่ชอบ
ความเห็นอย่างนั้น  ตรัสตอบอย่างนี้แล้ว  ทรงแสดงสมณพราหมณ์

๑.  ม.  ม.  ๑๓/๒๖๓.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 28
มีทิฏฐิ ๓ จำพวกว่า อัคคิเวสสนะ  สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง  มีทิฏฐิว่า
สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา  เราชอบใจหมด   พวกหนึ่งมีทิฏฐิว่า  สิ่งทั้งปวง
ไม่ควรแก่เรา  เราไม่ชอบใจหมด   พวกหนึ่งมีทิฏฐิว่า  บางสิ่งควรแก่
เรา  เราชอบใจ  บางสิ่งไม่ควรแก่เรา  เราไม่ชอบใจ  ทิฏฐิของ
สมณพราหมณ์พวกต้น  ใกล้ข้างหน้าความกำหนัดรักใคร่ยินดีในสิ่งนั้น ๆ
ทิฏฐิของสมณพราหมณ์พวกที่ ๒  ใกล้ข้างความเกลียดชังสิ่งนั้น ๆ
ทิฏฐิของสมณพราหมณ์พวกที่ ๓   ใกล้ข้างความกำหนัดรักใคร่ในของ
บางสิ่ง   ใกล้ข้างความเกลียดชังในของบางสิ่ง  ผู้รู้พิจารณาเห็นว่า  ถ้าเรา
จักถือมั่นทิฏฐินั้นอย่างหนึ่งอย่างใด  กล่าวว่า  สิ่งนี้แลจริง  สิ่งอื่นเปล่า
หาจริงไม่  ก็จะต้องถือผิดจากคน ๒ พวกที่มีทิฏฐิไม่เหมือนกับตน  ครั้น
ความถือผิดกันมีขึ้น  ความวิวาทเถียงกันก็มีขึ้น   ครั้นความวิวาทมีขึ้น
ความพิฆาตหมายมั่นก็มีขึ้น   ครั้นความพิฆาตมีขึ้น  ความเบียดเบียนก็มี
ขึ้น  ผู้รู้เห็นอย่างนี้แล้ว  ย่อมละทิฏฐินั้นเสียด้วย  ไม่ทำทิฏฐิอื่นให้เกิด
ขึ้นด้วย  ความละทิฏฐิ ๓ อย่างนี้  ย่อมมีด้วยอุบายอย่างนั้น.  ครั้นแสดง
โทษแห่งความถือมั่นด้วยทิฏฐิ ๓ อย่างนั้นแล้ว  ทรงแสดงอุบายเครื่อง
ไม่ถือมั่นต่อไปว่า  อัคคิเวสสนะ  กาย  คือ  รูป  ประชุมมหาภูตทั้ง ๔
(ดิน น้ำ ลม ไฟ)  มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด  เจริญขึ้นเพราะข้าวสุก
และขนมสดนี้  ต้องอบรมกันกลิ่นเหม็นและขัดสีมลทินเป็นนิตย์  มี
ความแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา  ควรพิจารณาเห็นโดยความ
เป็นของไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  อดทนได้ยาก  เป็นโรค  เป็นดังหัวฝี  เป็นดัง
ลูกศร  โดยความยากลำบากชำรุดทรุดโทรม  เป็นของว่างเปล่าไม่ใช่ตน


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 29
เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้  ย่อมละความพอใจรักใคร่กระวนกระวายในกาม
เสียได้  อนึ่ง  เวทนาเป็น ๓ อย่าง คือ  สุข  ทุกข์  อุเบกขา  คือ  ไม่ใช่
ทุกข์ไม่ใช่สุข   ในสมัยใดเสวยสุข  ในสมัยนั้น  ไม่ได้เสวยทุกข์  และ
อุเบกขา   ในสมัยใด  เสวยทุกข์  ในสมัยนั้น  ไม่ได้เสวยสุข  และ
อุเบกขา.   สุข ทุกข์ อุเบกขา ทั้ง ๓ อย่างนี้ ไม่เที่ยง ปัจจัยประชุม
แต่งขึ้น  อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้วมีความสิ้นไป  เสื่อมไป  คลายไป
ดับไปเป็นธรรมดา  อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว  เมื่อเห็นอย่างนี้ย่อมเบื่อหน่าย
ทั้งในสุข ทุกข์ อุเบกขา  เมื่อเบื่อหน่าย  ก็ปราศจากกำหนัด  เพราะ
ปราศจากกำหนัด  จิตก็พ้นจากความถือมั่น   เมื่อจิตพ้นแล้ว  ก็เกิด
ญาณรู้ว่าพ้นแล้ว  อริยสาวกนั้นรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว  พรหมจรรย์ได้อยู่
จบแล้ว  กิจที่จำจะต้องทำได้ทำสำเร็จแล้ว  กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้
มิได้มี   ภิกษุผู้พ้นแล้วอย่างนี้  ไม่วิวาทโต้เถียงกับผู้ใด  ด้วยทิฏฐิของ
ตน  โวหารใด  เขาพูดกันอยู่ในโลก  ก็พูดตามโวหารนั้น  แต่ไม่ถือ
มั่นด้วยทิฏฐิ.   สมัยนั้น  พระสารีบุตรนั่งถวายอยู่งานพัด  เบื้องพระ-
ปฤษฎางค์แห่งพระศาสดา  ได้ฟังธรรมเทศนาที่ตรัสแก่ทีฆนขปริพาชก
จึงดำริว่า   พระศาสดาตรัสสอนให้ละการถือมั่นธรรมเหล่านั้น  ด้วย
ปัญญาอันรู้ยิ่ง  เมื่อท่านพิจารณาอย่างนั้น  จิตก็พ้นจากอาสวะ  ไม่ถือ
มั่นด้วยอุปทาน.  ส่วนทีฆนขปริพาชกนั้น  เป็นแต่ได้ดวงตาเห็นธรรม
สิ้นความเคลือบแคลงสงสัยในพระพุทธศาสนา  ทูลสรรเสริญพระธรรม-
เทศนาและแสดงตนเป็นอุบาสก.
        พระอรรถกถาจารย์  แก้การที่พระสารีบุตรได้บรรลุพระอรหัตช้า


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 30
ไปกว่าเพื่อนว่า  เพราะมีปัญญามาก  ต้องใช้บริกรรมใหญ่  เปรียบด้วย
การเสด็จไปข้างไหน ๆ  แห่งพระราชา  ต้องตระเตรียมราชพาหนะและ
ราชบริวาร  จำเป็นจึงช้ากว่าการไปของคนสามัญ.
        พระสารีบุตรนั้น  แม้เป็นสาวกในปูนไม่แรกทีเดียว  แต่เป็นผู้มี
ปัญญาเฉลียวฉลาด  ได้เป็นกำลังใหญ่ของพระศาสดา  ในการสอน
พระศาสนา  พระองค์ทรงยกย่องว่า  เป็นเอตทัคคะในทางปัญญา  เป็น
ผู้สามารถจะแสดงพระธรรมจักร  และพระจตุราริยสัจ  ให้กว้างขวาง
พิสดารแม้นกับพระองค์ได้   ถ้ามีภิกษุมาทูลลาจะเที่ยวจาริกไปในทางไกล
มักตรัสให้ไปลาพระสารีบุตรก่อน  เพื่อท่านจะได้สั่งสอนเธอทั้งหลาย.
เช่นครั้งหนึ่ง  พระศาสดาเสด็จอยู่เมืองเทวทหะ   ภิกษุเป็นอันมากเข้าไป
เฝ้าพระศาสดา  ทูลลาจะไปปัจฉาภูมิชนบท  พระองค์ตรัสถามว่า  ท่าน
ทั้งหลายบอกสารีบุตรแล้วหรือ ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า  ยังไม่ได้บอก
จึงตรัสสั่งให้ไปลาพระสารีบุตร  แล้วทรงยกย่องว่า  พระสารีบุตรเป็น
ผู้มีปัญญา  อนุเคราะห์เพื่อนบรรพชิต.   ภิกษุเหล่านั้นก็ไปลาตามรับสั่ง.
ท่านถามว่า  ผู้มีอายุ  คนมีปัญญาผู้ถามปัญหากะภิกษุ  ผู้ไปต่างประเทศ
มีอยู่   เมื่อเขาลองถามว่า  ครูของท่านสั่งสอนอย่างไร ท่านทั้งหลาย
ได้เคยฟังเคยเรียนแล้วหรือ  จะพยากรณ์อย่างไร  จึงจะเป็นอันไม่กล่าว
ให้ผิดคำสอนของพระศาสดา  อันไม่เป็นการใส่ความ  และพยากรณ์
ตามสมควรแก่ทางธรรม  ไม่ให้เขาติเตียนได้.   ภิกษุเหล่านั้นขอให้ท่าน
สั่งสอน.   ท่านกล่าวว่า  ถ้าเขาถามอย่างนั้นท่านพึงพยากรณ์ว่า  ครูของ
เราสอนให้ละความกำหนัดรักใคร่เสีย   ถ้าเขาถามอีกว่า  ละความ


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 31
กำหนัดรักใคร่ในสิ่งอะไร พึงพยากรณ์ตอบว่า  ในรูป  เวทนา  สัญญา
สังขาร  วิญญาณ  ถ้าเขาถามอีกว่า  ครูของท่านเห็นโทษอะไร  และ
เห็นอานิสงส์อะไรจึงสั่งสอนอย่างนั้น พึงพยากรณ์ตอบว่า  เมื่อบุคคล
ยังมีความกำหนัดรักใคร่ในสิ่งเหล่านั้นแล้ว   ครั้นสิ่งเหล่านั้นแปรปรวน
เป็นอย่างอื่นไป  ก็เกิดทุกข์มีโศกและร่ำไรเป็นต้น  เมื่อละความกำหนัด
รักใคร่ในสิ่งเหล่านั้นได้แล้ว   ถ้าสิ่งเหล่านั้นวิบัติแปรปรวนไป  ทุกข์
เหล่านั้นก็ไม่เกิด   ครูของเราเห็นโทษและอานิสงส์อย่างนี้   อนึ่ง  ถ้า
บุคคลเข้าถึงอกุศลธรรม  จะได้อยู่เป็นสุข  ไม่ต้องคับแค้น  ไม่ต้อง
เดือดร้อน  และบุคคลผู้เข้าถึงกุศลธรรมจะต้องอยู่เป็นทุกข์  คับแค้น
เดือดร้อน  พระศาสดาคงไม่ทรงสั่งสอนให้ละอกุศลธรรม  เจริญกุศล-
ธรรม  เพราะเหตุบุคคลเข้าถึงอกุศลธรรมต้องอยู่เป็นทุกข์  คับแค้น
เดือดร้อน  บุคคลเข้าถึงกุศลธรรมอยู่เป็นสุข  ไม่คับแค้น  ไม่เดือดร้อน
พระศาสดาจึงทรงสั่งสอนให้ละอกุศลธรรม  เจริญกุศลธรรม  ภิกษุ
เหล่านั้นรับภาษิตของท่านแล้วลาไป.
        ตรัสยกย่องพระสารีบุตรเป็นคู่กับพระโมคคัลลานะก็มี  ดังตรัส
แก่ภิกษุทั้งหลายว่า  ภิกษุทั้งหลาย  ท่านทั้งหลายคบกับสารีบุตรและ
โมคคัลลานะเถิด  เธอเป็นผู้มีปัญญา  อนุเคราะห์สพรหมจารีเพื่อน
บรรพชิตทั้งหลาย  สารีบุตร  เปรียบเหมือนมารดาผู้ให้เกิด  โมคคัลลานะ
เปรียบเหมือนนางนมผู้เลี้ยงทารกที่เกิดแล้วนั้น  สารีบุตร  ย่อมแนะนำ
ให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล  โมคคัลลานะย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในคุณเบื้อง
บนที่สูงกว่านั้น.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 32
        เพราะทรงยกย่องไว้อย่างนี้กระมัง  จึงมีคำกล่าวยกย่องพระสารี-
บุตรและโมคคัลลานะคู่นี้ว่า  เป็นพระอัครสาวก  แปลว่า  พระสาวกเลิศ.
ถ้าหมายเอาคุณสมบัติในพระองค์ของท่าน  ก็ฟังได้  เช่นเดียวกับใน
พวกบุตรในสกุล  บุตรผู้ใดหลักแหลมและสามารถ  บุตรผู้นั้นย่อมเชิดชู
สกุล.   แต่พระอรรถกถาจารย์พรรณนาถึงความเป็นพระอัครสาวกนี้ว่า
พระศาสดา  ทรงตั้งอย่างตั้งสมณศักดิ์  พระสารีบุตรเป็นฝ่ายขวา  พระ-
โมคคัลลานะเป็นฝ่ายซ้าย  ในเวลาเข้าประชุมสงฆ์  นั่งทางพระปรัสขวา
ซ้าย.   น่าเห็นว่าเอาอย่างมาจากพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งข้าราชการ  เพราะ
ในสมัยที่รจนาอรรถกถานั้น  ยังมีพระราชาทรงราชย์อยู่ในลังกาทวีป.
ถ้าการตั้งแต่งมีมูลอยู่บ้างไซร้  น่าสันนิษฐานว่าทรงมอบภารธุระให้เป็น
คณาจารย์ใหญ่  แยกคณะออกไปสอนพระศาสนา  พระสารีบุตรเป็นหัว
คณะในฝ่ายทักษิณ  พระโมคคัลลานะเป็นหัวหน้าคณะในฝ่ายอุดร.   เช่นนี้
สมคำว่า  พระอัครสาวก ๒ พระองค์นั้น  เป็นผู้มีบริษัทบริวาร  และ
สมคำว่า  เป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวาคือทักษิณ  และพระอัครสาวกฝ่าย
ซ้ายคืออุดร  นอกจากนี้  ยังไม่พบร่องรอยที่กล่าวถึงเรื่องนี้เลย.
        มีคำเรียกยกย่องพระสารีบุตรอีกอย่างหนึ่งว่า  พระธรรมเสนาบดี
นี้เป็นคำเลียนมาจากคำเรียกแม่ทัพ   ดังจะกลับความให้ตรงกันข้าม
กองทัพอันทำยุทธ์ยกไปถึงไหน  ย่อมแผ่อนัตถะถึงนั่น.   กองพระสงฆ์
ผู้ประกาศพระศาสนา  ได้ชื่อว่า  ธรรมเสนา  กองทัพฝ่ายธรรมหรือ
ประกาศธรรม  จาริกไปถึงไหน  ย่อมแผ่หิตสุขถึงนั่น.  พระศาสดาเป็น
จอมธรรมเสนา  เรียกว่าพระธรรมราชา.   พระสารีบุตรเป็นกำลังใหญ่


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 33
ของพระศาสดา  ในภารธุระนี้  ได้สมญาว่า  พระธรรมเสนาบดี  นายทัพ
ฝ่ายธรรม.
        พระสารีบุตร  มีปฏิภาณในการแสดงพระธรรมเทศนาอย่างไร
พึงเห็นในเรื่องสาธกต่อไปนี้.   มีภิกษุรูปหนึ่ง  ชื่อยมกะ  มีความเห็น
เป็นทิฏฐิว่า  พระขีณาสพตายแล้วดับสูญ.   ภิกษุทั้งหลายค้านเธอว่า
เห็นอย่างนั้นผิด  เธอไม่เชื่อ  ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจเปลื้องเธอจากความ
เห็นนั้นได้  จึงเชิญพระสารีบุตรไปช่วยว่า.   ท่านถามเธอว่า  ยมกะ
ท่านสำคัญความนั้นอย่างไร ท่านสำคัญ  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร
วิญญาณ ๕ ขันธ์นี้ว่าพระขีณาสพ  หรือ ?
        ย.    ไม่ใช่อย่างนั้น.
        สา.   ท่านเห็นว่าพระขีณาสพในขันธ์ ๕ นั้นหรือ ?
        ย.    ไม่ใช่อย่างนั้น.
        สา.   ท่านเห็นว่าพระขีณาสพอื่นจากขันธ์ ๕ นั้นหรือ ?
        ย.    ไม่ใช่อย่างนั้น.
        สา.   ท่านเห็นพระขีณาสพว่าเป็นขันธ์ ๕ หรือ ?
        ย.    ไม่ใช่อย่างนั้น.
        สา.   ท่านเห็นพระขีณาสพไม่มีขันธ์ ๕ หรือ ?
        ย.    ไม่ใช่อย่างนั้น.
        สา.   ยมกะ  ท่านหาพระขีณาสพในขันธ์ ๕ นั้นไม่ได้โดยจริง
อย่างนี้  ควรหรือจะพูดยืนยันอย่างนั้นว่า  พระขีณาสพตายแล้วดับสูญ
ดังนี้.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 34
        ย.    แต่ก่อนข้าพเจ้าไม่รู้  จึงได้มีความเห็นผิดเช่นนั้น   บัดนี้
ข้าพเจ้าได้ฟังท่านว่า  จึงละความเห็นผิดนั้นได้  และได้บรรลุธรรม
พิเศษด้วย.
        สา.   ยมกะ  ถ้าเขาถามท่านว่า  พระขีณาสพตายแล้วเป็นอะไร ?
ท่านจะแก้อย่างไร ?
        ย.    ถ้าเขาถามข้าพเจ้าอย่างนี้  ข้าพเจ้าจะแก้ว่า  รูป  เวทนา
สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  ที่ไม่เที่ยงดับไปแล้ว.
        สา.   ดีละ ๆ ยมกะ  เราจะอุปมาให้ท่านฟัง  เพื่อจะให้ความข้อ
นั้นชัดขึ้น  เหมือนหนึ่งคฤหบดีเป็นคนมั่งมี  รักษาตัวแข็งแรง  ผู้ใด
ผู้หนึ่งคิดจะฆ่าคฤหบดีนั้น  จึงนึกว่า  เขาเป็นคนมั่งมี  และรักษาตัว
แข็งแรง  จะฆ่าโดยพลการเห็นจะไม่ได้ง่าย  จำจะต้องลอบฆ่าโดยอุบาย
ครั้นคิดอย่างนั้นแล้ว  จึงเข้าไปเป็นคนรับใช้ของคฤหบดีนั้น  หมั่นคอย
รับใช้  จนคุ้นเคยกันแล้ว   ครั้นเห็นคฤหบดีนั้นเผลอ  ก็ฆ่าเสียด้วย
ศัสตราที่คม.   ยมกะ  ท่านจะเห็นอย่างไร  คฤหบดีนั้น  เวลาผู้ฆ่านั้น
เขามาขออยู่รับใช้สอยก็ดี  เวลาให้ใช้สอยอยู่ก็ดี  เวลาฆ่าตัวก็ดี  ไม่รู้
ว่าผู้นี้เป็นคนฆ่าเรา  อย่างนี้  มิใช่หรือ ?
        ย.    อย่างนี้แล  ท่านผู้มีอายุ.
        สา.   ปุถุชนผู้ไม่ได้ฟังแล้วก็ฉันนั้น  เขาเห็นรูป  เวทนา  สัญญา
สังขาร  วิญญาณ  ว่าเป็นตนบ้าง  เห็นตนว่ามีรูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร
วิญญาณบ้าง  เห็นรูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  ในตนบ้าง
เห็นตนในรูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณบ้าง  ไม่รู้จักขันธ์ ๕


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 35
นั้น  อันไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  ไม่ใช่ตน  ปัจจัยตกแต่งดุจเป็นผู้ฆ่า  ตาม
เป็นจริงอย่างไร  ย่อมถือมั่นขันธ์ ๕ นั้นว่าตัวของเรา  ขันธ์ ๕ ที่เขา
ถือมั่นนั้น  ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์และทุกข์สิ้นกาลนาน
ส่วนอริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว  ไม่พิจารณาเห็นเช่นนั้นรู้ชัดตามเป็นจริงแล้ว
อย่างไร  ท่านไม่ถือมั่นในขันธ์ ๕ ว่าตัวของเรา  ขันธ์ ๕ที่ท่านไม่ถือ
มั่นนั้น  ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์และสุขสิ้นกาลนาน.   ธรรมบรรยาย
อื่นอีกของพระสารีบุตร  พระธรรมสังคาหกาจารย์  สังคีติไว้ในพระสุต-
ตันตปิฎก  ที่เป็นสูตรยาว ๆ ก็มี  เช่นสังคีติสูตร  แล  ทสุตตรสูตร
แสดงธรรมเป็นหมวด ๆ  ตั้งแต่ ๑ ขึ้นไปถึง ๑๐   ในทีฆนิกายที่เป็น
สูตรปานกลางก็มี  เช่น  สัมมาทิฏฐิสูตร  แสดงอาการแห่งสัมมาทิฏฐิ
ละอย่าง ๆ และอนังคณสูตร  แสดงกิเลสอันยวนใจ  ที่เรียกว่า  อังคณะ
และความต่างแห่งบุคคลผู้มีอังคณะ  และ  หาอังคณะมิได้ในมัชฌิมนิกาย
ธรรมบรรยายประเภทนี้  ยังมีอีกหลายสูตร.  ยังมีปกรณ์ที่ว่าเป็นภาษิต
ของพระสารีบุตรอยู่อีก คือ ปฏิสัมภิทามรรค  กล่าวถึงญาณต่างประเภท
ยกพระพุทธภาษิตเสีย  ภาษิตของพระสารีบุตรมีมากกว่าของพระสาวก
อื่น.
        พระสารีบุตรนั้น  ปรากฏโดยความเป็นผู้กตัญญู.   ท่านได้ฟัง
ธรรมอันพระอัสสชิแสดง  ได้ธรรมจักษุแล้ว  มาอุปสมบทในพระพุทธ-
ศาสนา  ดังกล่าวแล้วในหนหลัง  ตั้งแต่นั้นมา  ท่านนับถือพระอัสสชิ
เป็นอาจารย์.  มีเรื่องเล่าว่า  พระอัสสชิอยู่ทิศใด  เมื่อท่านจะนอน

๑. ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๒๒.    ๒. ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๘๘.    ๓. ม. มู. ๑๒/๘๕.
๔. ม. มู. ๑๒/๔๒.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 36
นมัสการไปทางทิศนั้นก่อน  และนอนหันศีรษะไปทางทิศนั้น.   ภิกษุ
ผู้ไม่รู้เรื่องย่อมสำคัญว่า  ท่านนอบน้อมทิศตามลัทธิของพวกมิจฉา-
ทิฏฐิ.   ความทราบถึงพระศาสดา  ตรัสแก้ว่า  ท่านมิได้นอบน้อม
ทิศท่านนมัสการการพระอัสสชิผู้เป็นอาจารย์  แล้วประทานพระพุทธา-
นุศาสนีว่า  พุทธมามกะ  รู้แจ้งธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธะแสดงแล้ว
จากท่านผู้ใด  ควรนมัสการท่านผู้นั้นโดยเคารพ  เหมือนพราหมณ์บูชา
ยัญอันเนื่องด้วยเพลิง.   อีกเรื่องหนึ่งว่า  มีพราหมณ์ผู้หนึ่ง  ชื่อราธะ
ปรารถนาจะอุปสมบท   แต่เพราะเป็นผู้ชราเกินไป  ภิกษุทั้งหลายไม่รับ
อุปสมบทให้.  ราธะเสียใจ  เพราะไม่ได้สมปรารถนา  มีร่างกายซูบซีด
ผิวพรรณไม่สดใส.  พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นผิดไปกว่าปกติ  ตรัส
ถามทราบความแล้ว  ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า  มีใครระลึกถึงอุปการะ
ของราธะได้บ้าง ?   พระสารีบุตรกราบทูลว่า  ท่านระลึกได้อยู่  ครั้งหนึ่ง
ท่านเข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์   ราธะได้ถวายภิกษาแก่ท่านทัพพี
หนึ่ง.   พระศาสดาทรงสรรเสริญว่า  ท่านเป็นผู้กตัญญูดีนัก  อุปการะ
เพียงเท่านี้ก็ยังจำได้  จึงตรัสให้ท่านรับบรรพชาอุปสมบทราธพราหมณ์.
        พระสารีบุตรนั้น  ปรินิพพานก่อนพระศาสดา  สันนิษฐานว่า
ในมัชฌิมโพธิกาล  คือปูนกลางแห่งตรัสรู้  เพราะในปัจฉิมโพธิกาล  คือ
ปูนหลังแห่งตรัสรู้  บาลีมิได้กล่าวถึงเลย.   แต่ในสาวกนิพพานปริวัตร
แห่งปฐมสมโพธิ ๓๐ ปริเฉท  กล่าวว่า  พระสารีบุตรอยู่มาถึงปัจฉิม-
โพธิกาล  พรรษาที่ ๔๕ ล่วงไปแล้ว   แต่ในมหาปรินิพพานสูตรมิได้
กล่าวถึงเลย.   ในปกรณ์ต้น  เล่าถึงเรื่องปรินิพพานแห่งพระสารีบุตรว่า


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 37
ท่านพิจารณาเห็นว่าอายุสังขารจวนสิ้นแล้ว  ปรารถนาจะไปโปรดมารดา
เป็นครั้งที่สุด แล้วปรินิพพานในห้องที่ท่านเกิด อธิบายว่า นางสารีมารดา
ท่าน  เป็นผู้ไม่ศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  โทมนัสเพราะท่าน
และน้อง ๆ  พากันออกบวชเสีย   ท่านพยายามชักจูงมาในพระพุทธ-
ศาสนาหลายครั้งแล้ว  ยังมิสำเร็จ  จึงดำริจะไปโปรดเป็นครั้งสุดท้าย
ท่านทูลลาพระศาสดาไปกับพระจุนทะผู้น้องกับบริวาร  ไปถึงบ้านเดิม
แล้ว  เกิดโรคปักขันทิกาพาธขึ้นในคืนนั้น  ในเวลากำลังอาพาธอยู่นั้น
ได้เทศนาโปรดมารดาสำเร็จ  นางได้บรรลุพระโสดาปัตติผล  พอเวลา
ปัจจุสมัย  สุดวันเพ็ญแห่งกัตติกมาส  พระเถรเจ้าปรินิพพาน.  รุ่งขึ้นพระ
จุนทะได้ทำฌาปนกิจสรีระพระเถรเจ้าเสร็จ  เก็บอัฐิธาตุนำไปถวาย
พระศาสดา  ในเวลาประทับอยู่ ณ พระเชตวัน  กรุงสาวัตถี  โปรดให้
ก่อพระเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุของพระเถรเจ้าไว้ ณ ที่นั้น.
        การที่จะกล่าวถึงพระสารีบุตรไปปรินิพพานที่บ้านเดิมนั้น  แผกจาก
อาการของพระสาวกในครั้งนั้น.  ถ้าเป็นเดินทางไป  เข้าพักอาศัยที่บ้าน
เกิดโรคปัจจุบันขึ้นแล้วปรินิพพาน  มีทางอยู่.   มีเรื่องเล่าถึงภิกษุเดิน
ทางเข้าอาศัยบ้านก็มี.   โดยที่สุด  พระศาสดาเอง  เสด็จพักในโรงช่าง
หม้อก็มี.  ถ้าท่านรู้ตัวและตั้งใจจะปรินิพพานที่นั่น  เพื่อโปรดมารดา
ดังกล่าวในปกรณ์  อย่างนี้เป็นเช่นภิกษุอาพาธ  ปรารถนาจะไปรักษาตัว
ที่บ้าน   ครั้นไปแล้ว  ถึงมรณะที่นั่น.  ยุกติเป็นอย่างไร  นักตำนาน
จงสันนิษฐานเอาเองเถิด.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 38
                           ๕.  ประวัติแห่งพระโมคคัลลานะ
        พระโมคคัลลานะนั้น  เป็นบุตรพราหมณ์นายบ้านผู้หนึ่ง  ผู้โมค-
คัลลานโคตรและนางโมคคัลลี  ชื่อนี้น่าจะเรียกตาสกุล  เกิดในตำบล
บ้านไม่ห่างแต่กรุงราชคฤห์  มีระยะทางพอไปมาถึงกันกับบ้านสกุลแห่ง
พระสารีบุตร  ท่านชื่อ โกลิตะมาก่อน  อีกอย่างหนึ่ง  เขาเรียกตาม
โคตรว่า  โมคคัลลานะ   เมื่อท่านมาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้แล้ว
เขาเรียกท่านว่า  โมคคัลลานะ  ชื่อเดียว.   จำเดิมแต่ยังเยาว์จนเจริญวัยแล้ว
ได้เป็นมิตรผู้ชอบพอกันกับพระสารีบุตร  มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน  มีสกุล
เสมอกัน  ได้ศึกษาศิลปศาสตร์ด้วยกันมา  ได้ออกบวชเป็นปริพาชกด้วย
กัน  ได้เข้าอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ด้วยกัน  ดังกล่าวแล้วในประวัติ
แห่งพระสารีบุตร.   ในอธิการนี้  จักกล่าวประวัติเฉพาะองค์พระโมค-
คัลลานะเป็นแผนกออกไป.
        จำเดิมแต่ท่านได้อุปสมบทแล้วในพระธรรมวินัยนี้ได้ ๗ วัน  ไป
ทำความเพียรอยู่ที่บ้านกัลลวาลมุตตคาม  แขวงมคธ  อ่อนใจนั่งโงกง่วง
อยู่   พระศาสดาเสด็จไปที่นั้น  ทรงแสดงอุบายสำหรับระงับความโงกง่วง
สั่งสอนท่านว่า  โมคคัลลานะ  เมื่อท่านมีสัญญาอย่างไร  ความง่วงนั้น
ย่อมครอบงำได้  ท่านควรทำในใจถึงสัญญานั้นให้มาก  ข้อนี้จักเป็นเหตุ
ให้ท่านละความง่วงนั้นได้ถ้ายังละไม่ได้  แต่นั้นควรตรึกตรองพิจารณา
ถึงธรรม  อันตนได้ฟังแล้วและได้เรียนแล้วอย่างไร  ด้วยน้ำใจของตน

๑. องฺ. สตฺตก. ๒๓/๘๗.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 39
ข้อนี้จักเป็นเหตุให้ท่านละความง่วงนั้นได้,   ถ้ายังละไม่ได้  ท่านควร
สาธยายธรรมอันตนได้ฟังและได้เรียนแล้วอย่างไร  โดยพิสดาร  ข้อนี้จัก
เป็นเหตุให้ท่านละความง่วงนั้นได้ถ้ายังละไม่ได้  แต่นั้นท่านควรยอน
ช่องหูทั้ง ๒ ข้าง  และลูบตัวด้วยฝ่ามือ  ข้อนี้จักเป็นเหตุให้ท่านละความ
ง่วงนั้นได้ถ้ายังละไม่ได้  แต่นั้นท่านควรลุกขึ้นยืน  แล้วลูบนัยน์ตา
ด้วยน้ำ  เหลียวดูทิศทั้งหลาย  แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์  ข้อนี้จักเป็นเหตุ
ให้ท่านละความง่วงนั้นได้ถ้ายังละไม่ได้  แต่นั้นท่านควรทำในใจถึง
อาโลกสัญญา  คือความสำคัญในแสงสว่าง  ตั้งความสำคัญว่ากลางวันไว้
ในจิต  ให้เหมือนกันทั้งกลางวันกลางคืน  มีใจเปิดเผยฉะนี้  ไม่มีอะไร
หุ้มห่อ  ทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิด  ข้อนี้จักเป็นเหตุให้ท่านละความง่วง
นั้นได้ถ้ายังละไม่ได้  แต่นั้นท่านควรอธิษฐานจงกรม  กำหนดหมาย
เดินกลับไปกลับมา  สำรวมอินทรีย์  มีจิตไม่คิดไปภายนอก  ข้อนี้
จักเป็นเหตุให้ท่านละความง่วงนั้นได้ถ้ายังละไม่ได้  แต่นั้นท่านควร
สำเร็จสีหไสยา คือ นอนตะแคงข้างเบื้องขวา  ซ้อนเท้าเหลื่อม  มี
สติสัมปชัญญะ  ทำความหมายในอันจะลุกขึ้นไว้ในใจ  พอท่านตื่นแล้ว
รีบลุกขึ้น  ด้วยความตั้งใจว่า  เราจะไม่ประกอบสุขในการนอน  เราจัก
ไม่ประกอบสุขในการเอนข้าง (เอนหลัง) เราจักไม่ประกอบสุขในการ
เคลิ้มหลับ  โมคคัลลานะ  ท่านควรสำเหนียกใจอย่างนี้แล.   อนึ่ง
โมคคัลลานะ  ท่านควรสำเหนียกใจอย่างนี้ว่า  เราจักไม่ชูงวง (คือถือ
ตัว) เข้าไปสู่สกุล  ดังนี้.   เพราะว่า  ถ้าภิกษุชูงวงเข้าไปสู่สกุล  ถ้า
กิจการในสกุลนั้นมีอยู่  อันเป็นเหตุที่มนุษย์เขาจักไม่นึกถึงภิกษุผู้มาแล้ว


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 40
ภิกษุก็คงคิดว่า  เดี๋ยวนี้ใครหนอยุยงให้เราแตกร้าวจากสกุลนี้  เดี๋ยวนี้ดู
มนุษย์พวกนี้มีอาการอิดหนาระอาใจในเรา  เพราะไม่ได้อะไร  เธอก็จัก
มีความเก้อ  ครั้นเก้อ  ก็จักเกิดความฟุ้งซ่าน   ครั้นคิดฟุ้งซ่านแล้ว
ก็จักเกิดความไม่สำรวม  ครั้นไม่สำรวมแล้ว  จิตก็จักห่างจากสมาธิ.  อนึ่ง
ท่านควรสำเหนียกใจอย่างนี้ว่า  เราจักไม่พูดคำอันเป็นเหตุเถียงกัน  ถือ
ผิดต่อกันดังนี้  เพราะว่า  เมื่อคำอันเป็นเหตุเถียงกัน  ถือผิดต่อกันมีขึ้น
ก็จำจักต้องหวังความพูดมาก  เมื่อความพูดมากมีขึ้น  ก็จักเกิดความคิดฟุ้ง
ซ่าน  ครั้นคิดฟุ้งซ่านแล้ว  ก็จักเกิดความไม่สำรวม  ครั้นไม่สำรวมแล้ว
จิตก็จักห่างจากสมาธิ.  อนึ่ง  โมคคัลลานะ  เราสรรเสริญความคลุกคลี
ด้วยประการทั้งปวงหามิได้  แต่มิใช่ไม่สรรเสริญความคลุกคลีด้วยประ-
การทั้งปวงเลย  คือ  เราไม่สรรเสริญความคลุกคลีด้วยหมู่ชนทั้ง  ทั้งคฤหัสถ์
ทั้งบรรพชิต  ก็แต่ว่า  เสนาสนะที่นอนที่นั่งอันใดเงียบเสียงอื้ออึง
ปราศจากลมแต่คนเดินเข้าออก  ควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ต้องการ
ที่สงัด  ควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่ตามสมณวิสัย  เราสรรเสริญความ
คลุกคลีเสนาสนะเห็นปานนั้น.   เมื่อพระศาสดาตรัสสอนอย่างนี้แล้ว
พระโมคคัลลานะกราบทูลถามว่า  โดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร  ภิกษุ
ชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมที่สิ้นตัณหา  มีความสำเร็จล่วงส่วน  เกษมจาก
โยคธรรมล่วงส่วน  เป็นพรหมจารีบุคคลล่วงส่วน  มีที่สุดล่วงส่วน
ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.   พระศาสดาตรัสตอบว่า
โมคคัลลานะ  ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่าบรรดาธรรมทั้งปวงไม่ควร
ยึดมั่น  ครั้นได้สดับดังนี้แล้ว  เธอทราบธรรมทั้งปวงชัดด้วยปัญญา


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 41
อันยิ่ง   ครั้นทราบธรรมทั้งปวงชัดด้วยปัญญาอันยิ่งดังนั้นแล้ว  ย่อม
กำหนดรู้ธรรมทั้งปวง   ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงดังนั้นแล้ว  เธอได้
เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง  เป็นสุขก็ดี  ทุกข์ก็ดี  มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี
เธอพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง   พิจารณาเห็นด้วยปัญญาเป็นเครื่องหน่าย
พิจารณาเห็นด้วยปัญญาเป็นเครื่องดับ   พิจารณาเห็นด้วยปัญญาเป็น
เครื่องสละคืน  ในเวทนาทั้งหลายนั้น   เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น  ย่อม
ไม่ยึดมั่นสิ่งอะไร ๆ ในโลก  เมื่อไม่ยึดมั่น  ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น  เมื่อ
ไม่สะดุ้งหวาดหวั่น  ย่อมดับกิเลสให้สงบจำเพาะตน  และทราบชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว  พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว  กิจที่ต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นที่ต้องทำอย่างนี้อีกมิได้มี โดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล  ภิกษุ
ชื่อว่า  น้อมไปแล้วในธรรมที่สิ้นตัณหา  มีความสำเร็จล่วงส่วน  เกษม
จากโยคธรรมล่วงส่วน  เป็นพรหมจารีบุคคลล่วงส่วน  มีที่สุดล่วงส่วน
ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย   พระโมคคัลลานะปฏิบัติ
ตามพระพุทธโอวาทที่พระศาสดาทรงสั่งสอน  ก็ได้สำเร็จพระอรหัตใน
วันนั้น.
        พระศาสดา  ทรงยกย่องพระโมคคัลลานะเป็นคู่กับพระสารีบุตร
ในอันอุปการะภิกษุผู้เข้ามาอุปสมบทใหม่ในพระธรรมวินัย ดังกล่าวแล้ว
ในหนหลัง.  อีกประการหนึ่ง  ทรงยกย่องพระโมคคัลลานะว่าเป็นเยี่ยม
แห่งภิกษุสาวกผู้มีฤทธิ์นี้.   ฤทธิ์นี้ หมายเอาคุณสมบัติเป็นเครื่องสำเร็จ
แห่งความปรารถนา  สำเร็จด้วยความอธิษฐาน  คือตั้งมั่นแห่งจิต  ผลที่
สำเร็จด้วยอำนาจฤทธิ์นั้น  ท่านแสดงล้วนแต่พ้นวิสัยของมนุษย์  ดังมี


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 42
แจ้งอยู่ในอิทธิวิธี  อันนับเป็นอภิญญาอย่างหนึ่ง  ด้วยหมายจะแสดง
บุคคลาธิฏฐาน  เปรียบธัมมาธิฏฐาน  หรือด้วยจะให้เชื่อว่าเป็นอย่างนั้น
จริง  ข้าพเจ้าจักไม่กล่าวถึงในอธิการนี้  เพราะไม่เกี่ยวข้องด้วยฤทธิ์อันมี
เฉพาะในองค์พระโมคคัลลานะ.  แต่ความเข้าใจฤทธิ์โดยอาการอย่างนั้น
เป็นเหตุให้พระคันถรจนาจารย์พรรณนาถึงความวิเศษแห่งพระโมค-
คัลลานะว่า  สามารถจาริกเที่ยวไปในสวรรค์  ถามเทวบุตรบ้าง  เทวธิดา
บ้าง  ถึงความได้สมบัติในที่นั้นด้วยกรรมอะไร  ได้รับบอกแล้วกลับลง
มาเล่าในมนุษยโลก.  อีกทางหนึ่งเที่ยวจาริกไปในเปตโลกหรือในนิรยา-
บาย  พบสัตว์ได้เสวยทุกข์มีประการต่าง ๆ  ถามถึงกรรมที่ได้ทำในหน
หลัง  ได้ความแล้ว  นำมาเล่าในมนุษยโลก.   อีกประการหนึ่ง  พระ
ศาสดาจะโปรดเวไนยนิกรแต่เป็นผู้ดุร้าย  จะต้องทรมานให้สิ้นพยศก่อน
ตรัสใช้พระโมคคัลลานะให้เป็นผู้ทรมาน.  ผู้อ่านผู้ฟังเชื่อตามท้องเรื่อง
จะพึงเห็นพระโมคคัลลานะ  เป็นสาวกสำคัญในพระพุทธศาสนาองค์
หนึ่ง.  ผู้ไม่เชื่อจะไม่พึงเห็นพระโมคคัลลานะเป็นสาวกสำคัญเลย.   ถ้า
จะแปลคำพรรณนานั้นว่าเป็นบุคคลาธิฏฐาน  เปรียบธัมมาธิษฐาน  จะ
พึงได้ความว่า  พระโมคคัลลานะ  สามารถจะชี้แจงสั่งสอนบริษัทให้เห็น
บาปบุญคุณโทษโดยประจักษ์ชัดแก่ใจ  ดุจว่าได้ไปเห็นมาต่อตาแล้วนำ
มาบอกเล่า  การทรมานเวไนยผู้มีทิฏฐิมานะให้ละพยศ  จัดว่าเป็น
อสาธารณคุณ  ไม่มีแก่พระสาวกทั่วไปก็ได้.  การที่พระศาสดาทรงยกย่อง
พระโมคคัลลานะว่า  เป็นเอตทัคคะในฝ่ายสาวกผู้มีฤทธิ์นั้น  ประมวล
เข้ากับการที่ทรงยกย่องพระสารีบุตรว่า  เป็นเอตทัคคะในฝ่ายภิกษุผู้มี


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 43
ปัญญาจะพึงให้ได้สันนิษฐานว่า  พระโมคคัลลานะ  เป็นกำลังใหญ่ของ
พระศาสดาในอันยังการที่ทรงพระพุทธดำริไว้ให้สำเร็จ  พระศาสดาได้
สาวกผู้มีปัญญา  เป็นผู้ช่วยดำริการ  และได้สาวกผู้สามารถยังภารธุระที่
ดำริแล้วนั้นให้สำเร็จ  จักสมพระมนัสสักปานไร.   แม้โดยนัยนี้  พระ
โมคคัลลานะ  จึงได้รับยกย่องว่าเป็นพระอัครสาวกคู่กับพระสารีบุตรเป็น
ฝ่ายซ้าย  โดยหมายความว่า  เป็นคณาจารย์สอนพระศาสนาในฝ่ายอุดร
ทิศดังกล่าวแล้ว  หรือโดยหมายความว่าเป็นที่ ๒ รองแต่พระสารีบุตร
ลงมา.
        พระธรรมเทศนาของพระโมคคัลลานะอยู่ข้างหายาก  ที่เป็นโอวาท
ให้แก่ภิกษุสงฆ์  มีแต่อนุมานสูตร  ว่าธรรมอันทำตนให้เป็นผู้ว่ายาก
หรือว่าง่าย  พระธรรมสังคาหกาจารย์  สังคีติไว้ในมัชฌิมนิกาย.
        พระโมคคัลลานะนั้น  เห็นจะเข้าใจในการนวกรรมด้วย  พระ
ศาสดาจึงได้โปรดให้เป็นนวกัมมาธิฏฐายี  คือ  ผู้ดูนวกรรมแห่งบุรพา-
ราม  ที่กรุงสาวัตถี  อันนางวิสาขาสร้าง.
        แม้พระโมคคัลลานะ  ก็ปรินิพพานก่อนพระศาสดา.  มีเรื่องเล่าว่า
ถูกผู้ร้ายฆ่า  ดังต่อไปนี้:   ในคราวที่พระเถรเจ้าอยู่ ณ ตำบลกาฬสิลา
แขวงมคธ  พวกเดียรถีย์ปรึกษากันว่า  พระโมคคัลลานะเป็นกำลังใหญ่
ของพระศาสดา  สามารถนำข่าวในสวรรค์และนรกมาแจ้งแก่มนุษย์
ชักนำให้เลื่อมใส  ถ้ากำจัดพระโมคคัลลานะเสียได้แล้ว  ลัทธิฝ่ายตนจัก
รุ่งเรืองขึ้น  จึงจ้างผู้ร้ายให้ลอบฆ่าพระโมคคัลลานะเสีย.   แต่ในคราว

๑.  ม.  มู.  ๑๒/๑๘๙.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 44
รจนาอรรถกถา  ชะรอยจะเห็นว่าพระสาวกเช่นพระโมคคัลลานะ  ถึง
มรณะเพราะถูกฆ่า  หาสมควรไม่  ในท้องเรื่องจึงแก้ว่าใน ๒ คราวแรก
พระโมคคัลลานะหนีไปเสีย  ผู้ร้ายทำอันตรายไม่ได้  ในคราวที่ ๓ ท่าน
พิจารณาเห็นกรรมตามทัน  จึงไม่หนี  ผู้ร้ายทุบตีจนแหลก  สำคัญว่า
ถึงมรณะแล้ว นำสรีระไปซ่อนไว้ในสุมทุมแห่งหนึ่งแล้วหนีไป.   ท่าน
ยังไม่ถึงมรณะ  เยียวยาอัตภาพด้วยกำลังฌานไปเฝ้าพระศาสดาทูลลา
แล้ว  จึงกลับมาปรินิพพาน ณ ที่เดิม  ในสาวกนิพพานปริวัตร  กล่าวว่า
พระโมคคัลลานะอยู่มาจนถึงพรรษาที่ ๔๕  แต่ตรัสรู้ล่วงแล้ว  ปรินิพ-
พานในวันดับแห่งกัตติกมาส  ภายหลังพระสารีบุตรปักษ์หนึ่ง  พระ
ศาสดาได้เสด็จไปทำฌาปนกิจแล้ว  รับสั่งให้เก็บอัฐิธาตุมาก่อพระเจดีย์
บรรจุไว้  ณ ที่ใกล้ซุ้มประตูแห่งเวฬุวนาราม.   ระยะทางเสด็จพุทธ-
จาริกแต่บ้านเวฬุคาม  อันกล่าวในปกรณ์นี้ไม่สมด้วยบาลีมหาปรินิพ-
พานสูตร  น่าเห็นว่าปรินิพพานก่อนแต่นั้นแล้ว  ถ้าพระเถรเจ้าอยู่มาถึง
ปัจฉิมโพธิกาล  บาลีมหาปรินิพพานสูตร  น่าจักได้กล่าวถึงท่านบ้าง.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 45
                       ๖.  ประวัติแห่งพระมหากัสสปะ
        พระมหากัสสปะนั้น  เป็นบุตรกปิลพราหมณ์  กัสสปโคตร  ใน
บ้านมหาติฏฐะ  จังหวัดมคธรัฐ  ชื่อปิปผลิ  เมื่ออายุ ๒๐ ปี  ได้ทำ
การอวาหมงคลกับนางภัททกาปิลานี  บุตรีพราหมณ์  โกสิยโคตร
ณ สาคลนคร  จังหวัดมคธรัฐเดียวกัน  ผู้มีอายุ ๑๖ ปี  ตามประเพณี
เมือง  หามีบุตรหรือธิดาด้วยกันไม่  สกุลของสามีภรรยาคู่นี้มั่งมีมาก
มีการงานที่ทำเป็นบ่อเกิดแห่งทรัพย์เป็นอันมาก  มีคนงานและพาหนะ
สำหรับใช้งานเป็นอันมาก   ครั้นบิดามารดาทำกาลกิริยาแล้ว  ปิปผลิ
มาณพได้ครองสมบัติและดูการงานนั้นต่อมา.   สามีภรรยาทั้งสองนั้น
เห็นว่าผู้อยู่ครองเรือน  ต้องคอยนั่งรับบาปเพราะการงานที่ผู้อื่นทำไม่ดี
มีใจเบื่อหน่าย  ชวนกันละสมบัติเสีย  ออกบวช.   ความแห่งอรรถกถา
ตอนนี้น่าเห็นว่า  ปิปผลิคฤหบดีกับนางภัททกาปิลานี  ละโภคสมบัติ
ออกบวชจำศีลนั้น  ได้ทำตามธรรมเนียมพราหมณ์  เลื่อนความประ-
พฤติสูงขึ้นไปอีกอันหนึ่ง  คือได้รับประโยชน์แห่งความเป็นคฤหัสถ์
ผู้อยู่ครองเรือนแล้ว  มุ่งแสวงหาบุญกุศลต่อไป  คนจำพวกนี้เรียกว่า
วนปรัสถะ  แปลว่า  ผู้อยู่ป่า  เทียบกับจรรยาของคนไทยเรา  คฤหัสถ์
ผู้ได้รับประโยชน์แห่งการครองเรือนแล้ว  เจริญด้วยบุตรหลาน  แต่ง
ให้มีครอบครัว  เสร็จกิจธุระในการปลูกฝังเขาแล้ว  ตนเองเข้าวัดจำศีล
ฟังเทศน์  มุ่งบุญกุศลต่อไป.  พระมหากัสสปะ  เมื่อมาอุปสมบทในพระ-
ธรรมวินัย  ก็ปรากฏว่าค่อนข้างชรา.   ส่วนในกัสสปสังยุต  กล่าวเป็น


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 46
คำเล่าของท่านเองแก่พระอานนท์ว่า  ท่านเห็นฆราวาสคับแคบ  เป็นทาง
มาแห่งกิเลสธุลี  จึงถือเพศเป็นบรรพชิต  ออกบวชอุทิศพระอรหันต์
ในโลก  หาได้กล่าวถึงภรรยาไม่.
        วันหนึ่ง  ท่านปิปผลิได้พบพระศาสดาประทับอยู่ที่ใต้ร่มไทร
เรียกว่าพหุปุตตกนิโครธ   ในระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาฬันทา
ต่อกัน  มีความเลื่อมใส  รับเอาพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระศาสดา
ของตน  พระองค์ทรงรับเป็นภิกษุในพระธรรมวินัยนี้  แล้วประทาน
โอวาท ๓ ข้อว่า :
        กัสสปะ  ท่านพึงศึกษาว่า  เราจักไปตั้งความละอายและความ
เกรงไว้ในภิกษุ  ทั้งที่เป็นผู้เฒ่า  ทั้งที่เป็นผู้ใหม่  ทั้งที่เป็นปานกลาง
เป็นอย่างแรงกล้า  ดังนี้ข้อหนึ่ง.
        เราจักฟังธรรมอันใดอันหนึ่ง  ซึ่งประกอบด้วยกุศล  เราจักเงี่ยหู
ลงฟังธรรมนั้น  พิจารณาเนื้อความ  ดังนี้ข้อหนึ่ง.
        เราจักไม่ละสติที่ไปในกาย  คือพิจารณาร่างกายเป็นอารมณ์ดังนี้
ข้อหนึ่ง.
        ครั้นพระศาสดาทรงสั่งสอนพระมหากัสสปะอย่างนี้แล้ว  เสด็จหลีก
ไป.  อาการทรงรับพระมหากัสสปะเข้าในพระธรรมวินัย  และโปรด
ให้รับพุทธโอวาท ๓ ข้อนี้   พระอรรถกถาจารย์แยกเป็นวิธีอุป-
สัมปทาอย่างหนึ่ง  ดุจประทานแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี  ด้วยให้รับ
ครุธรรม ๘ ประการ  แต่วิธีหลังแลเห็นชัด  เพราะเป็นครั้งแรก

๑.  ส.  นิ.  ๑๖/๒๒๙.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 47
ที่ประทานอุปสัมปทาแก่สตรีให้เป็นภิกษุณี  และไม่ได้ประทานเอหิ
ภิกขุนีอุปสัมปทาเลย   ส่วนวิธีต้น  เห็นไม่พ้นไปจากประทานเอหิภิกขุ
อุปสัมปทา.
        พระมหากัสสปะได้ฟังพุทธโอวาททรงสั่งสอนแล้ว  บำเพ็ญเพียร
ไม่ช้านัก  ในวันที่ ๘ แต่อุปสมบท  ได้สำเร็จพระอรหัต.
        ท่านได้รับยกย่องจากพระศาสดาโดยอาการเฉพาะพระองค์   คือ
ทรงรับผ้าสังฆาฏิของท่านไปทรง  ประทานผ้าสังฆาฏิของพระองค์ให้
แก่ท่าน  ตรัสว่ามีธรรมเครื่องอยู่เสมอด้วยพระองค์  และทรงสรรเสริญ
ว่าเป็นผู้ปฏิบัติมักน้อย  สันโดษ  ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้ถือเอาเป็น
ตัวอย่างว่า  ภิกษุทั้งหลาย  กัสสปะผู้นี้  เป็นผู้สันโดษ  ยินดีด้วยจีวร
บิณฑบาต  เสนาสนะ  เภสัช  ตามมีตามได้  ไม่มักมาก.   และกล่าว
สรรเสริญคุณของความสันโดษด้วยปัจจัย ๔ นั้น  เธอไม่ถึงความแสวง
หาไม่ควร   เหตุปัจจัย ๔ นั้น  แสวงหาไม่ได้  ก็ไม่สะดุ้งตกใจ
แสวงหาได้แล้ว  ก็ไม่เป็นคนกำหนัดในปัจจัย ๔ นั้นบริโภค   ท่าน
ทั้งหลายพึงศึกษาตามอย่างนั้น   ท่านทั้งหลายอันเราสั่งสอนแล้ว  พึง
ปฏิบัติเพื่อเป็นเช่นนั้นเถิด.   ภิกษุทั้งหลาย  กัสสปะเข้าไปใกล้สกุล
ชักกายและใจห่าง  ประพฤติตนเป็นคนใหม่  ไม่คุ้นเคยเป็นนิตย์  ไม่
คะนองกาย  วาจา  ใจ  ในสกุลเป็นนิตย์  จิตไม่ข้องอยู่ในสกุลเหล่านั้น
เพิกเฉย  ตั้งจิตเป็นกลางว่า  ผู้ใคร่ลาภ  ก็จงได้ลาภ  ผู้ใคร่บุญ  ก็
จงได้บุญ  ตนได้ลาภมีใจฉันใด  ผู้อื่นได้ก็มีใจฉันนั้น  ภิกษุใดแสดง
ธรรมแก่ผู้อื่น  ด้วยคิดว่า  ไฉนหนอ  เขาจะพึงตั้งใจฟังธรรมของเรา


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 48
ครั้นฟังแล้วจะพึงเลื่อมใสในธรรม   เลื่อมใสแล้วจะพึงทำอาการของ
ผู้เลื่อมใส  ธรรมเทศนาของภิกษุนั้นไม่บริสุทธิ์.   ส่วนภิกษุใด  แสดง
ธรรมแก่ผู้อื่นด้วยคิดว่า  ธรรมอันพระศาสดากล่าวดีแล้ว  ไฉนหนอ
เขาจะพึงฟังธรรมของเรา   ครั้นฟังแล้วจะพึงรู้ธรรมนั้น   ครั้นรู้แล้ว
จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น   ภิกษุนั้น  อาศัยความที่แห่งธรรม
เป็นธรรมอันดี  อาศัยกรุณาและเอ็นดูแสดงธรรมแก่ผู้อื่น  ธรรมเทศนา
ของภิกษุนั้นบริสุทธิ์แล้ว  กัสสปะก็เหมือนอย่างนั้น.   เราสอนท่าน
ทั้งหลาย  ยกกัสสปะขึ้นเป็นตัวอย่าง  ท่านทั้งหลายอันเราสอนแล้ว  จง
ปฏิบัติเพื่อเป็นอย่างนั้น.   ภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุผู้ใดผู้หนึ่ง  เข้าไปใกล้
สกุลด้วยคิดว่า  ขอเขาจงให้แก่เราผู้เดียวเถิด  อย่าให้ผู้อื่นเลย  จง
ให้แก่เรามาก  อย่าให้น้อย  จงให้แต่ของที่ดี  อย่าให้ของที่เลว  จงให้
โดยเร็ว  อย่าช้า  จงให้โดยเคารพ   เมื่อคิดอย่านั้น   ครั้นเขาไม่ให้
ก็ดี  ให้น้อย  ไม่ให้มากก็ดี  ให้ของที่เลว  ไม่ให้ของที่ดีก็ดี  ให้ช้า
ไม่ให้โดยเร็วก็ดี  ให้โดยไม่เคารพ  ไม่ให้โดยเคารพก็ดี   ภิกษุนั้นก็
ขัดใจ  ได้เสวยทุกขโทมนัส  มีข้อนั้นเป็นเหตุ   ภิกษุเช่นนี้  ไม่ควร
เพื่อจะเป็นผู้เข้าไปสู่สกุล.   ส่วนภิกษุใด  ไม่คิดอย่างนั้น  แม้เขาจะ
ไม่ให้ก็ดี  หรือให้โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี  เธอก็ไม่ขัดใจ
ไม่เสวยทุกขโทมนัส  มีข้อนั้นเป็นเหตุ   ภิกษุเช่นนี้  ควรจะเป็นผู้เข้า
ไปสู่สกุล  กัสสปะก็เป็นเหมือนอย่างนั้น.   เราสอนท่านทั้งหลาย  ยก
กัสสปะขึ้นเป็นตัวอย่าง  ท่านทั้งหลายอันเราสั่งสอนแล้ว  พึงปฏิบัติ
เพื่อเป็นอย่างนั้นเถิด.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 49
        พระมหากัสสปะนั้น  โดยปกติถือธุดงค์ ๓ อย่าง  คือ  ถือทรงผ้า
บังสุกุลจีวรเป็นวัตร  ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร  ถืออยู่ป่าเป็นวัตร
พระศาสดาทรงยกย่องว่า  เป็นเยี่ยมแห่งภิกษุผู้ทรงธุดงค์.   ครั้งหนึ่ง
ท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดาที่เวฬุวัน  พระศาสดาตรัสแก่ท่านว่า  กัสสปะ
เดี๋ยวนี้ท่านแก่แล้ว  ผ้าป่านบังสุกุลจีวรที่เขาไม่นุ่งห่มของท่านนี้หนัก
นัก  ท่านจงทรงจีวรที่คฤหบดีถวายเถิด  จงฉันโภชนะในที่นิมนต์เถิด
และจงอยู่ในที่ใกล้เราเถิด.  ท่านทูลว่า  ข้าพระเจ้าเคยอยู่ในป่า  เที่ยว
บิณฑบาต  ทรงผ้าบังสุกุลจีวร  ใช้แต่ผ้า ๓ ผืน  มีความปรารถนาน้อย
สันโดษ  ชอบเงียบสงัด  ไม่ชอบระคนด้วยหมู่  ปรารภความเพียรและ
พูดสรรเสริญคุณเช่นนั้นมานานแล้ว.   พระศาสดาตรัสถามว่า  กัสสปะ
ท่านเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงประพฤติตนเช่นนั้น  และสรรเสริญ
ความเป็นเช่นนั้น ?   ท่านทูลว่า  ข้าพระเจ้าเห็นอำนาจประโยชน์
๒ อย่าง  คือการอยู่เป็นสุขในบัดนี้ของตนด้วย  อนุเคราะห์ประชุมชน
ในภายหลังด้วย  ประชุมชนในภายหลังทราบว่า  สาวกของพระพุทธ-
เจ้า  ท่านประพฤติตนอย่างนั้น  จักถึงทิฏฐานุคติ  ปฏิบัติตามที่ตน
ได้เห็นได้ยิน  ความปฏิบัตินั้น  จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และสุขแก่เขา
สิ้นกาลนาน.  พระศาสดาประทานสาธุการว่า  ดีละ ดีละ กัสสปะ  ท่าน
ปฏิบัติเพื่อประโยชน์และสุขแก่ชนเป็นอันมาก  ท่านจงทรงผ้าบังสุกุล
จีวรของท่านเถิด  ท่านจงเที่ยวบิณฑบาตเถิด  ท่านจงอยู่ป่าเถิด.
        ด้วยความมักน้อยสันโดษ  และปฏิบัติเคร่งครัดอย่างนี้  พระมหา-
กัสสปะ  ย่อมเป็นที่นับถือของสกุลทั้งหลาย  มีคำกล่าวว่า  ในกรุง


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 50
ราชคฤห์  สกุลที่ไม่ใช่ญาติก็คงเป็นอุปัฏฐากของท่าน   แต่ท่านก็มิได้
พัวพันห่วงใยอยู่ในสกุลเหล่านั้น  ถึงคราวที่พระศาสดาจะเสด็จจาริกไป
โปรดสัตว์  ท่านก็เตรียมตัวตามเสด็จโดยฐานเป็นสาวก   แต่พระศาสดา
ตรัสให้อยู่เพื่อเจริญศรัทธาและปสาทะของชาวกรุงราชคฤห์ก็มี.
        พระมหากัสสปะนั้น  ดีในการปฏิบัติ  แต่หาพอใจในการสั่งสอน
ภิกษุสหธรรมิกไม่  ท่านระอาภิกษุปูนหลังว่าเป็นผู้ว่ายาก  ธรรมเทศนา
อันเป็นอนุศาสนีของท่านจึงไม่มี  คงมีแต่ธรรมภาษิตเนื่องมาจากสากัจฉา
กับเพื่อนสาวกบ้าง   กล่าวบริหารพระพุทธดำรัสบ้าง.   อย่างไรก็ดี
เรื่องที่เกี่ยวกับท่าน  พระธรรมสังคาหกาจารย์  รวมสังคีติไว้หมวดหนึ่ง
ในสังยุตตนิกาย  เรียกว่า  กัสสปสังยุต  เป็นการไว้เกียรติคุณแห่งพระ
เถรเจ้า.
        พระมหากัสสปะนั้น  อยู่มาถึงปูนหลังแต่นิพพานแห่งพระศาสดา
ในเวลาพระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่  ดูท่านไม่ออกหน้านัก  เป็น
แต่พระสาวกผู้ใหญ่รูปหนึ่งเท่านั้น.   มาปรากฏเป็นพระสาวกสำคัญ
เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว.  ในคราวที่พระศาสดาปรินิพพาน  ท่าน
ไปอยู่เสียที่นครปาวา  หาได้ตามเสด็จจาริกด้วยไม่.   ท่านระลึกถึงพระ
ศาสดา  เดินทางมาจากนครปาวากับบริวาร  พักอยู่ตามทาง  พบอาชีวก
ผู้หนึ่งเดินสวนทางมา   ท่านถามข่าวแห่งพระศาสดา  ได้รับบอกว่า
ปรินิพพานเสียแล้วได้ ๗ วัน  ในพวกภิกษุผู้บริวาร  จำพวกที่ยัง
ตัดอาลัยมิได้  ก็ร้องไห้รำพันถึง จำพวกที่ตัดอาลัยได้แล้ว  ก็ปลง
ธรรมสังเวช.  มีวุฒบรรพชิต  คือภิกษุบวชต่อแก่รูปหนึ่ง  ชื่อสุภัททะ


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 51
กล่าวห้ามภิกษุทั้งหลายว่า   อย่าเศร้าโศกร้องไห้เลย  พระศาสดา
ปรินิพพานเสียได้เป็นดี  พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่  ย่อมรับสั่งห้าม
ไม่ให้ทำการบางอย่าง  และให้ทำการบางอย่าง  ที่ไม่พอใจเรา   ตั้งแต่
นี้ต่อไป  เราพ้นแล้วจากผู้บังคับ  ปรารถนาจะทำการใด  ก็ทำได้  ไม่
ปรารถนาจะทำการใด  ไม่ทำก็ได้.   พระมหากัสสปะรำพึงว่า  เพียง
พระศาสดาปรินิพพานแล้วได้ ๗ วันเท่านั้น  ยังมีภิกษุผู้ไม่หนักในพระ
สัทธรรม  กล้ากล่าวจาบจ้วงได้ถึงเพียงนี้  กาลนานล่วงไปไกล  จักมี
สักเพียงไร  ท่านใส่ใจคำของสุภัททวุฒบรรพชิตไว้แล้ว  ให้โอวาทแก่
ภิกษุสงฆ์สมควรแก่เรื่องแล้ว  พาบริวารเดินต่อมา  ถึงกุสินารานคร
ตอนบ่ายวันถวายพระเพลิง  ท่านได้ถวายบังคมพระพุทธสรีระ.
        พระมหากัสสปะ  เป็นพระสังฆเถระอยู่ในเวลานั้น  พอถวายพระ
เพลิงพระพุทธสรีระแล้วได้ ๗ วัน  ท่านประชุมสงฆ์เล่าถึงการที่ท่าน
เดินทางมาจากปาวานครเพื่อจะเฝ้าพระศาสดา  ได้ทราบข่าวปรินิพพาน
ในกลางทาง  มีภิกษุบางพวกร้องไห้อาลัยถึง  สุภัททวุฒบรรพชิตกล่าว
ห้ามด้วยคำอย่างไร  และท่านรำพึงเห็นอย่างไร  ยกเรื่องนี้ขึ้นเป็นเหตุ
ชักชวนภิกษุสงฆ์เพื่อทำสังคายนาย  รวบรวมพระธรรมวินัย  ตั้งไว้เป็น
แบบฉบับ  เพื่อสมกับพระพุทธพจน์ที่ได้ประทานไว้เมื่อครั้งปรินิพพาน
ว่า  ธรรมก็ดี  วินัยก็ดี  อย่างใด  อันเราได้แสดงไว้แล้ว  ได้บัญญัติ
ไว้แล้ว  ธรรมวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของท่านทั้งหลาย   ในเมื่อเราล่วง
ไปแล้ว.   พระสงฆ์เห็นชอบตามคำแนะนำของพระมหากัสสปะ  มอบ
ธุระให้ท่านเป็นผู้เลือกภิกษุทั้งหลาย  ผู้สามารถจะทำการสังคายนายนั้น.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 52
ตามเรื่องว่า  ท่านกำหนดเลือกภิกษุทั้งหลายผู้ทำสังคายนามีจำนวน ๕๐๐
มีปัญหาอยู่ด้วยพระอานนท์ผู้ยังไม่บรรลุพระอริยผลอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์  แต่เป็นผู้ได้สดับตรับฟัง  ทรงจำแนกพระธรรมเทศนาของ
พระศาสดาไว้มาก  เว้นพระอานนท์เสียแล้ว  ยากที่จะทำสังคายนาได้
สะดวก  พระภิกษุสงฆ์ตกลงขอให้เลือกพระอานนท์เข้าด้วย  แต่
เมื่อถึงคราวทำสังคายนา  พระอานนท์ได้สำเร็จพระอรหัตแล้ว  เป็น
อันว่าภิกษุสงฆ์ผู้ทำสังคายนาครั้งนั้น  เป็นพระอรหัตทั้งมวล.  สังคายนา
ครั้งนั้น  ได้ทำที่ถ้ำสัตตบัณณคูหาแห่งเวภารบรรพต  กรุงราชคฤห์
พระมหากัสสปะเป็นประธานในการทำ  ได้พระอุบาลี  และพระอานนท์
เป็นกำลัง  ในอันวิสัชนาพระวินัยและพระธรรมโดยลำดับกัน  ได้พระ-
เจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก  ทำ ๗ เดือนสำเร็จ.   เพราะทำคราว
แรก  เรียกว่า  ประถมสังคีติ.
        การที่พระมหากัสสปะ  ชักชวนพระสงฆ์ทำสังคายนาครั้งแรกนี้
เป็นประโยชน์อย่างใหญ่แก่พระพุทธศาสนา  เป็นการฉลองพระคุณพระ
ศาสดาอย่างดี.   ข้อนี้พระสารีบุตรได้ปรารภไว้เมื่อนิครนถนาฏบุตรทำ
กาลกิริยา  สาวกแตกกระจัดกระจายกันด้วยอำนาจลัทธิ  จึงแสดง
สังคีติสูตรจัดระเบียบธรรมไว้เป็นหมวด ๆ   และได้รับพระพุทธานุมัติ
ของพระศาสดา.  พระสารีบุตรนิพพานเสียก่อน  พระมหากัสสปะมาทำ
ขึ้นในครั้งนี้.
        ปฏิปทาของพระมหากัสสปะในการทำสังคายนานี้  ควรเป็นเนตติ
แห่งภิกษุทั้งหลายผู้เกิดในภายหลัง   จะพึงคำนึงถึงพระคุณูปการของ


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 53
พระศาสดา  ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาขึ้นไว้  เพื่อประโยชน์สุข
แก่คนเป็นอันมาก  มิได้คิดย่อท้อต่อความลำบากยากเข็ญและภยันตราย
ต่าง ๆ   และจะพึงเอาอย่างพระมหากัสสปะฉลองพระคุณพระศาสดา
ด้วยการเอาภารธุระรักษาพระพุทธศาสนาให้ถาวร.   ภิกษุผู้ปฏิบัติมักน้อย
สันโดษ  เคร่งครัดด้วยความปรารถนาดีมาในเบื้องต้น  มักขาดสติใน
ท่ามกลาง  เห็นไปเสียว่า  การเอาภารธุระพระพุทธศาสนาเป็นไปเพื่อ
ความมักมาก  ความปฏิบัติจึงกลายเป็นคับแคบ  เป็นการเห็นแก่ตัวส่วน
เดียว  เอาเปรียบผู้อื่นให้เขาเลี้ยง  ไม่สำเร็จประโยชน์ดีงาม.  อันที่จริง
ความมักน้อยสันโดษ  และปฏิบัติเคร่งครัดนั้น  เป็นหลักสำหรับภิกษุ
ผู้ปฏิบัติกิจพระศาสนา  ภิกษุผู้ทรงคุณสมบัติเห็นปานนี้  ย่อมประกอบ
กิจพระศาสนาด้วยพระอัธยาศัยบริสุทธิ์  ไม่เพ่งโลกามิส  ผลแห่งการอัน
ภิกษุเห็นปานนี้ทำ  ย่อมสำเร็จเป็นอย่างดี  คุณธรรมอย่างนี้ของภิกษุ
เป็นสมบัติอันจะพึงปรารถนา.  พระมหากัสสปะ  เป็นพระสาวกที่พึงหวัง
ได้ตามปรารถนา.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 54
                     ๗.  ประวัติแห่งพระมหากัจจานะ
        พระมหากัจจานะนั้น  เป็นบุตรพราหมณ์ปุโรหิต  กัจจานโคตร
กัจจายนโคตรก็เรียก  ในกรุงอุชเชนี  ชื่อ กัญจนะ  เติบใหญ่ขึ้น  เรียน
จบไตรเพทแล้ว   เมื่อบิดาถึงแก่กรรมแล้ว  ได้เป็นปุโรหิตแทนที่  ใน
รัชสมัยแห่งพระเจ้าจัณฑปัชโชต.
        ในคราวพุทธุปบาทกาล  ท้าวเธอได้ทรงสดับว่า  พระศาสดาได้
ตรัสรู้แล้วทรงสั่งสอนประชุมชน  ธรรมที่ทรงแสดงนั้น  เป็นธรรม
อันแท้จริง  ให้สำเร็จประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติตาม  มีพระราชประสงค์จะ
ใคร่เชิญเสด็จพระศาสดาไปประกาศพระศาสนาที่กรุงอุชเชนี  จึงตรัสสั่ง
กัจจานปุโรหิตไปเชิญเสด็จ.  กัจจานปุโรหิตทูลลาจะบวชด้วย   ครั้นทรง
อนุญาตแล้ว  ออกจากกรุงอุชเชนีพร้อมด้วยบริวาร ๗ คน  มาถึงที่
ประทับพระศาสดาแล้ว  เข้าไปเฝ้า  ได้ฟังพระธรรมเทศนา  บรรลุ
พระอรหัตพร้อมทั้ง ๘ คนแล้ว  ทูลขออุปสมบท  พระศาสดาก็ทรง
อนุญาตให้เป็นภิกษุ  ด้วยพระพุทธพจน์โดยนัยหนหลัง.   ท่านทูลเชิญ
เสด็จไปกรุงอุชเชนี  ตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต.
พระศาสดารับสั่งว่า  ท่านไปเองเถิด  เมื่อท่านไปแล้ว  พระเจ้าแผ่นดิน
จักทรงเลื่อมใส.   ท่านถวายบังคมลา  พาภิกษุบริวาร ๗ องค์กลับไป
กรุงอุชเชนี  ประกาศพระพุทธศาสนาให้พระเจ้าจัณฑปัชโชตและชาว
พระนครเลื่อมใสแล้ว  กลับมาสำนักพระศาสดา.
        พระมหากัจจานะนั้น  เป็นผู้ฉลาดในการอธิบายความแห่งคำที่


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 55
ย่อให้พิสดาร  ได้สรรเสริญแต่พระศาสดาว่า  เป็นเยี่ยมกว่าสาวกอื่นใน
ทางนั้น.  วันหนึ่ง  พระศาสดาทรงแสดงธรรมว่า  ผู้มีปัญญา  ไม่ควร
ตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว  ไม่ควรมุ่งหมายสิ่งที่ยังไม่มาถึง  เพราะ
ว่าสิ่งที่ล่วงไปแล้ว  สิ่งนั้นก็ละเสียแล้ว  สิ่งใดยังไม่มาถึงแล้ว  สิ่งนั้น
กยังไม่ได้มาถึง   ผู้ใดเห็นแจ้งในธรรมที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้าในที่นั้น ๆ
ในกาลนั้น ๆ ไม่ง่อนแง่น  ไม่คลอนแคลน   ครั้นรู้ธรรมนั้นแล้ว
พึงให้ธรรมนั้นเจริญเนือง ๆ  ความเพียรควรทำเสียในวันนี้แล  ใครเล่า
จะพึงรู้ว่า  ความตายจะมีต่อพรุ่งนี้  เพราะว่าความผัดเพี้ยนต่อมฤตยุราช
ที่มีเสนาใหญ่  ไม่มีเลย  ผู้รู้ที่เป็นคนสงบระงับ  ย่อมกล่าวสรรเสริญ
ผู้มีความเพียร  ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน  อยู่ด้วยความไม่
ประมาทอย่างนี้ว่า  ผู้มีราตรีเดียวเจริญ.   ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว  เสด็จ
ลุกเข้าวิหารที่ประทับ.  ภิกษุทั้งหลายไม่ได้ช่องเพื่อจะกราบทูลถามความ
แห่งคำที่ตรัสโดยย่อให้เข้าใจกว้างขวาง  เห็นความสามารถของพระ-
กัจจานะ  จึงไปหา  อาราธนาให้ท่านอธิบาย.   ท่านอธิบายให้ฟังว่า  ท่าน
ผู้มีอายุ  เรารู้ความแห่งธรรมที่ทรงแสดงแล้วโดยย่อนั้น  ตามความ
พิสดารว่า  เมื่อบุคคลคิดว่า  ในกาลไกลล่วงแล้ว  ตากับรูป  หูกับเสียง
จมูกกับกลิ่น  ลิ้นกับรส  กายกับสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย  ใจกับ
อารมณ์ที่เกิดกับใจของเรา  มีแล้วอย่างนั้น   ความกำหนัดพอใจใน
สิ่งเหล่านั้นก็ผูกพันวิญญาณ   เพราะวิญญาณอันความกำหนัดพอใจ
ผูกพันแล้ว  ผู้นั้นก็เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ  ผู้ที่เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ
อย่างนี้  ชื่อว่าตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.   ไม่คิดอย่างนั้น  ความกำหนัด


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 56
พอใจในสิ่งนั้น ๆ ก็ไม่ผูกพันวิญญาณได้  ผู้นั้นก็ไม่เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้   ชื่อว่าไม่ตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.
บุคคลตั้งจิตไว้เพื่อหมายจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้แล้วว่า  ในกาลไกลข้างหน้า
นัยน์ตากับรูปเป็นต้นของเราจักเป็นอย่างนี้  เพราะความตั้งจิตอย่างนั้น
เป็นปัจจัย   ผู้นั้นก็เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ  ผู้ที่เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้
ชื่อว่ามุ่งหมายสิ่งที่ยังไม่มาถึง.   บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะหมายได้สิ่งที่ตน
ยังไม่ได้แล้วอย่างนั้น  ก็ไม่เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ  ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินสิ่ง
นั้น ๆ อย่างนี้  ชื่อว่าไม่มุ่งหมายสิ่งที่ตนยังไม่มาถึงแล้ว.  นัยน์ตากับรูป
อย่างละ ๒ ๆ อันใดเกิดขึ้นจำเพาะหน้า  ถ้าว่าความกำหนัดพอใจในสิ่ง
นั้น ๆ ผูกพันวิญญาณได้แล้ว  บุคคลนั้นก็เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ ผู้เพลิดเพลิน
สิ่งนั้น ๆ อย่างนี้   ชื่อว่าง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมที่เกิดขึ้นจำเพาะ
หน้า.  ถ้าความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ไม่ผูกพันวิญญาณได้   บุคคล
ก็ไม่เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ  ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้   ชื่อว่า
ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า.  ท่านผู้มีอายุ เรา
เข้าใจเนื้อความธรรมที่ทรงแสดงแล้วโดยย่อ  ตามความพิสดารอย่างนี้.
ถ้าท่านทั้งหลายประสงค์  ก็จงไปเข้าเฝ้าพระศาสดา  ทูลถามความนั้นเถิด
พระองค์ทรงแก้อย่างไร  จงจำไว้อย่างนั้นเถิด.   ภิกษุเหล่านั้น  ลาพระ
กัจจานะกลับมา  เข้าไปเฝ้าพระศาสดา  ทูลความนั้นให้ทรงทราบ.  พระ-
องค์ตรัสสรรเสริญพระกัจจานะว่า   ภิกษุทั้งหลาย  กัจจานะเป็นคน
มีปัญญา   ถ้าท่านถามความนั้นกะเรา   แม้เราก็คงแก้เหมือนกัจจานะ
แก้แล้วอย่างนั้น  ความของธรรมที่เราแสดงแล้วโดยย่อนั้น  อย่างนั้น


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 57
แล  ท่านทั้งปวงจำไว้เถิด.  พระกัจจานะเป็นผู้ฉลาดในการอธิบายคำที่ย่อ
ให้กว้างขวาง  พระศาสดาทรงสรรเสริญในทางนั้น  มีดังนี้เป็นตัวอย่าง.
        ยังมีธรรมภาษิตอื่นอีกของพระเถระ  อันพระธรรมสังคาหกาจารย์
ยกขึ้นสู่สังคีติ  คือ  มธุปิณฑิกสูตร  และอุทเทสวิภังคสูตร  ที่แจก
ธรรมอันพระศาสดาทรงแสดงแล้วโดยย่อเหมือนกัน   และมธุรสูตร
แสดงความไม่แตกต่างกันแห่งวรรณะ ๔ เหล่า  ในมัชฌิมนิกาย.
        การรู้ทั่วถึงธรรม  จำรู้จักถือเอาความแห่งภาษิตที่ย่อได้โดยกว้าง
ขวาง  เหมาะแก่ภูมิแห่งตนผู้ปฏิบัติและแห่งผู้อื่นอันตนสั่งสอน  และ
จำรู้จักย่อถือเอาความแห่งภาษิตที่พิสดาร   เพื่อทรงไว้เป็นหลักและสั่ง
สอนผู้อื่นให้รู้จักกำหนด.   ประการที่ต้น  สงเคราะห์ในอัตถาปฏิสัมภิทา
ปัญญาอันแตกฉานในอรรถคือเนื้อความ.   ประการที่หลัง   สงเคราะห์
ในธัมมปฏิสัมภิทา  ปัญญาอันแตกฉานในธรรมคือหัวข้อ.   การแสดง
แก่ผู้อื่นให้ประโยชน์สำเร็จใน ๒ ทางนั้น   สงเคราะห์ในนิรุตติปฏิ-
สัมภิทา  ปัญญาอันแตกฉานในนิรุตติ  คือภาษาเข้าใจพูด   และ
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา  ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ  คือความฉลาด
ไหวพริบ.   การรู้ทั่วถึงธรรมอันยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่ตนและผู้อื่น
สงเคราะห์ในปฏิสัมภิทา ๔ อย่างนี้.   พระสาวกผู้สามารถในทางนี้
ย่อมเป็นกำลังใหญ่ของพระศาสดา   ในการประกาศพระพุทธศาสนา.
พระกัจจานะเป็นเยี่ยมแห่งพระสาวกพวกนี้  จึงทรงยกย่องในที่เอตทัคคะ
เป็นพิเศษ.

๑.  ม.  มู.  ๑๓/๒๒๐.    ๒.  ม.  อุป.  ๑๔/๔๑๑.   ๓.  ม.  มู.  ๑๓/๔๒๙.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 58
        ครั้งหนึ่ง  พระมหากัจจานะ  อยู่ ณ เขาโกรก  คือมีทางขึ้นด้าน 
หนึ่ง  อีกด้านหนึ่งเป็นโกรก  อีกนัยหนึ่งว่าอยู่ ณ ภูเขาชื่อปวัตตะแขวง
เมืองกุรรฆระ   ในอวันติชนบท  อุบาสกคนหนึ่งชื่อ  โสณกุฏิกัณณะ
ผู้อุปัฏฐากของท่านปรารภจะบวช   ท่านได้ชี้แจงแก่โสณอุบาสกถึง
การประพฤติพรหมจรรย์ลำบากอย่างไร  แนะนำให้บำเพ็ญศาสนปฏิบัติ
ในฆราวาส   แต่โสณอุบาสกยังปรารถนาเพื่อจะบวช  ได้อ้อนวอนขอ
ให้ท่านสงเคราะห์เนือง ๆ มา  ในที่สุดท่านรับบรรพชาให้  ในครั้งนั้น
พระศาสดาประทานพุทธานุญาต  ให้พระสงฆ์เป็นเจ้าหน้าที่รับอุปสมบท
คนผู้ขอเข้าคณะแล้ว  สงฆ์มีจำนวนภิกษุ ๑๐ รูป ที่เรียกว่า ทสวรรค จึง
ให้อุปสมบทได้.  ในอวันติทักขิณาชนบทมีภิกษุน้อย กว่าพระมหากัจจานะ
จะชุมนุมภิกษุเข้าเป็นสงฆ์ทสวรรคอุปสมบทโสณสามเณรได้  ต่อล่วง
สามปีแล้ว.  ด้วยเหตุนี้  เมื่อพระโสณะลาเพื่อจะไปเฝ้าพระศาสดา
ผู้เสด็จประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถีในเวลานั้น  ท่านสั่งให้ไปถวายบังคม
พระบาทแห่งพระศาสดาด้วยเศียรเกล้าตามคำของท่าน  และให้กราบทูล
ถึงการปฏิบัติพระวินัยบางอย่าง  อันไม่สะดวกแก่ภิกษุผู้อยู่ในชนบทนั้น
มีการอุปสมบทนั้นดังกล่าวแล้วเป็นอาทิ  เพื่อได้รับพระพุทธดำริแห่ง
พระศาสดา.   พระองค์ได้ทรงทราบจากพระโสณะแล้วได้ทรงอนุญาต
ผ่อนปรน  ในข้ออุปสมบทไม่สะดวกนั้น  ประทานพระพุทธานุญาตว่า
ในปัจจันตชนบท  คือแคว้นนอกจากมณฑลกลางเหมือนอย่างอวันติ-
ชนบท  ให้สงฆ์มีจำนวน ๕ รูป  ทั้งพระวินัยธร  นี้จักกล่าวขยายความ
ในประวัติแห่งพระโสณกุฏิกัณณะข้างหน้า.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 59
        พระมหากัจจานะ  เป็นผู้มีรูปงาม  มีผิวเหลือง  ผิดจากเข้าใจ
กันว่าอ้วนล่ำ  อุทรพลุ้ย.   เนื่องด้วยรูปสมบัติของท่าน  มีเรื่องเล่าใน
อรรถกถาธรรมบทว่า  เศรษฐีเมืองโสเรยยะ  เห็นท่านแล้ว  นึก
ด้วยความลำพองว่า  ถ้าได้ภรรยามีรูปอย่างท่านจะดีนักหนา  ด้วย
อำนาจบาปนั้น  เพศแห่งเศรษฐีบุตรนั้นกลับเป็นสตรี  ได้ความอาย
เป็นอย่างยิ่ง  ต่อได้ขมาท่านแล้ว  เพศจึงกลับเป็นบุรุษตามเดิม.
        พระมหากัจจานะนั้น  ตามความในมธุรสูตร  อยู่มาภายหลัง
แห่งพุทธปรินิพพาน.  ในสูตรนั้นเล่าว่า  ครั้งที่ท่านอยู่ที่คุนธาวัน  แขวง
มธุรราชธานี   พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตรเสด็จไปหา  ตรัสว่า  พวก
พราหมณ์ถือว่าพวกเขาเป็นผู้ประเสริฐบริสุทธิ์  เกิดจากพรหม  ท่าน
เข้าใจว่าอย่างไร ?   พระมหากัจจานะทูลตอบว่า  นั่นเป็นแต่คำบันลือ
ของเขา   ท่านชักอุทาหรณ์มาแสดงเป็นข้อ ๆ ที่วรรณะ ๔ เหล่าไม่
ต่างอะไรกันดังนี้ :-
        ๑.  ในวรรณะ ๔ เหล่านี้  วรรณะเหล่าใดเป็นผู้มั่งมี  วรรณะ
เดียวกันและวรรณะอื่น  ย่อมเข้าเป็นเสวกของวรรณะนั้น.
        ๒.  วรรณะใด  ประพฤติอกุศลกรรมบถ  เบื้องหน้าแต่มรณะ
วรรณะนั้น  ย่อมเข้าสู่อบายเสมอกันหมด  ไม่มีพิเศษ.
        ๓.  วรรณะใด  ประพฤติอกุศลกรรมบถ  เบื้องหน้าแต่มรณะ
วรรณะนั้น  ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เหมือนกันหมด.
        ๔.  วรรณะใด  ทำโจรกรรม  ทำปรทาริกกรรม  วรรณะนั้น
ต้องรับราชอาญาเหมือนกันหมด  ไม่มียกเว้น.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 60
        ๕.  วรรณะใด  ออกบวช  ตั้งอยู่ในศีลในธรรม  วรรณะนั้น
ย่อมได้รับความนับถือ  และได้รับบำรุง  และได้รับคุ้มครองรักษา
เสมอกันหมด.
        พระเจ้ามธุรราช  ตรัสสรรเสริญธรรมภาษิตของพระเถรเจ้าแล้ว
แสดงพระองค์เป็นอุบาสก  ถึงพระเถรเจ้ากับพระธรรมพระสงฆ์เป็น
สรณะ.   ท่านทูลห้ามว่า  อย่าถึงท่านเป็นสรณะเลย  จงถึงพระผู้มี
พระภาคเจ้าผู้เป็นสรณะของท่านเป็นสรณะเถิด.   พระเจ้ามธุรราชตรัส
ถามว่า  เดี๋ยวนี้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  เสด็จอยู่ ณ ที่ไหน ?   ท่านทูล
ว่า  พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานเสียแล้ว.   พระเจ้ามธุรราชตรัสว่า
ถ้าพระองค์ทรงได้สดับว่า  พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ที่ใด  แม้ไกล
เท่าไกล   พระองค์คงจักเสด็จไปเฝ้าให้จงได้   พระผู้มีพระภาคเจ้า
ปรินิพพานเสียแล้ว  พระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า  แม้ปรินิพพาน
แล้วนั้น  กับพระธรรม พระสงฆ์  เป็นสรณะ.   ความแห่งมธุรสูตรนี้
กล่าวไว้ชัดเจนว่า  พระมหากัจจานะ  อยู่มาจนภายหลังแห่งพุทธ-
ปรินิพพาน  แต่บาลีมหาปรินิพพานสูตรก็ดี  บาลีปัญจสติกขันธกะก็ดี
ไม่ได้กล่าวถึงพระมหากัจจานะเลย  ซ้ำกล่าวชัดด้วยว่า  พระอนุรุทธะ
เป็นพระเถระผู้ใหญ่รองพระมหากัสสปะลงมาในเวลานั้น.   ยุกติเป็น
อย่างไร  สุดแล้วแต่จะสันนิษฐาน.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 61
                             ๘.  ประวัติแห่งพระโมฆราช
        พระโมฆราชนั้น  เกิดในสกุลพราหมณ์ ณ กรุงสาวัตถี  ก่อน
พระศาสดา  มีอายุควรแก่การเล่าเรียนแล้ว  ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์
เรียนศิลปะ   ในสำนักพราหมณ์พาวรี  ปุโรหิตแห่งพระเจ้าปเสนทิโกศล-
ราช  ครั้นพราหมณ์พาวรี  เบื่อหน่ายในฆราวาส  ทูลลาพระเจ้าโกศล
ออกจากตำแหน่งปุโรหิต  ออกบวชเป็นชฎิล  ตั้งอาศรมอยู่ที่ฝั่ง
โคธาวารี  ในที่พรมแดนแห่งเมืองอัสสกะและเมืองอาฬกะ  โมฆราช
พร้อมกับมาณพอื่นผู้เป็นศิษย์  ได้ติดตามออกบวช  และอยู่ในสำนัก
อาจารย์.
        ครั้นถึงพุทธุปบาทกาล  พาวรีได้ทราบข่าวว่า  พระสมณโคดม
พระโอรสของศากยราช  เสด็จออกบรรพชา  ปฏิญญาพระองค์ว่าเป็น
ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ  แสดงธรรมสั่งสอนประชุมชน  มีคนเชื่อและเลื่อม
ใส  ยอมตนเป็นสาวก  ปฏิบัติตามคำสั่งสอนเป็นอันมาก  พาวรีคิด
หลากใจ  ใคร่จะสืบสวนให้ได้ความแน่  จึงเรียกมาณพผู้เป็นศิษย์ ๑๖ คน
มีอชิตมาณพเป็นหัวหน้า  ผูกปัญหาให้คนละอย่าง ๆ  ให้ไปทูลถาม
ลองดู.  มาณพทั้ง ๑๖ คนลาอาจารย์แล้ว  พามาณพที่เป็นบริวารไป
เฝ้าพระศาสดาที่ปาสาณเจดีย์  แว่นแคว้นมคธ  ทูลขอโอกาสถามปัญหา
คนละอย่าง ๆ.
        ครั้นพระศาสดา  ทรงอนุญาตแล้ว  อชิตมาณพทูลถามปัญหา
เป็นทีแรก ๔ ข้อดังนี้ว่า  โลกคือหมู่สัตว์  อันอะไรปิดบังไว้  จึงหลง


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 62
อยู่ในที่มืด เพราะอะไรเป็นเหตุ  จึงไม่มีปัญญาเห็นปรากฏ พระ-
องค์ตรัสว่า  อะไรเป็นเครื่องฉาบไล้สัตวโลกนั้นให้ติดอยู่ และตรัสว่า
อะไรเป็นภัยใหญ่ของสัตวโลกนั้น ?
        พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า  โลกคือสัตว์หมู่สัตว์  อันอวิชชาคือ
ความไม่รู้แจ้ง  ปิดบังไว้แล้ว  จึงหลงดุจอยู่ในที่มืด   เพราะความอยาก
มีประการต่าง ๆ  และความประมาทเลินเล่อ  จึงไม่มีปัญญาเห็นปรากฏ
เรากล่าวว่า  ความอยากเป็นเครื่องฉาบไล้สัตวโลกให้ติดอยู่  และกล่าวว่า
ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของสัตวโลกนั้น.
        อ.  ขอพระองค์จงตรัสบอกว่า  อะไรเป็นเครื่องห้าม  เป็นเครื่อง
กันความอยาก  อันเป็นดุจกระแสน้ำ  หลั่งไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง
ความอยากนั้น  จะละได้  เพราะธรรมอะไร ?
        พ.  เรากล่าวว่า  สติเป็นเครื่องห้าม  เป็นเครื่องกันความอยาก
นั้น  และความอยากนั้น  จะละได้  เพราะปัญญา.
        อ.  ปัญญา  สติ  กับนามรูปนั้น  จะดับไป ณ ที่ไหน พระเจ้าข้า
ทูลถามแล้ว  ขอพระองค์ตรัสบอกความข้อนี้แก่ข้าพระเจ้า.
        พ.  เราจะแก้ปัญหาที่ท่านถามถึงที่ดับนามรูปสิ้นเชิง  ไม่มีเหลือ
แก่ท่าน  เพราะวิญญาณดับไปก่อน  นามรูปจึงดับไป ณ ที่นั้นเอง.
        อ.  ชนผู้มีธรรมได้พิจารณาเห็นแล้ว  และชนผู้ยังต้องศึกษา
อยู่ ๒ พวกนี้มีอยู่ในโลกเป็นอันมาก   ข้าพระเจ้าขอทูลถามถึงความ
ประพฤติของชน ๒ พวกนั้น  พระองค์มีปัญญาแก่กล้า  ขอจงตรัสบอก
แก่ข้าพระเจ้า.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 63
        พ.  ภิกษุผู้มีธรรมได้พิจารณาเห็นแล้ว  และชนผู้นั้นยังต้องศึกษา
อยู่  ต้องเป็นคนไม่กำหนัดในกามทั้งหลาย  มีใจไม่ขุ่นมัว  ฉลาดใน
ธรรมทั้งปวง  มีสติอยู่ทุกอิริยาบถ.
        ครั้นพระศาสดาทรงแก้ปัญหา  ที่อชิตมาณพทูลถามอย่างนี้แล้ว
โมฆราชมาณพปรารภจะทูลถามปัญหา.   ได้ยินว่าโมฆราชมาณพนั้น
ถือตัวว่าเป็นคนมีปัญญากว่ามาณพทั้ง ๑๕ คน  คิดจะทูลถามก่อน  แต่
เห็นว่าอชิตมาณพเป็นผู้ใหญ่กว่า  จึงยอมให้ทูลถามก่อน   ครั้นอชิต-
มาณพทูลถามแล้ว  จึงปรารภจะทูลถามเป็นที่ ๒.   พระศาสดาทอด
พระเนตรเห็นอาการอย่างนั้นแล้ว  จึงตรัสห้ามว่า  โมฆราชท่านรอให้
มาณพอื่นถามก่อนเถิด.  โมฆราชมาณพก็หยุดนิ่งอยู่.
        ลำดับนั้น  ติสสเมตตเตยยมาณพทูลถามปัญหาเป็นที่ ๒ ว่า  ใคร
ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ  คือเต็มความประสงค์ในโลกนี้  ความอยากซึ่งเป็น
เหตุทะเยอทะยานดิ้นรนของใครไม่มี  ใครรู้ส่วนข้างปลายทั้ง ๒  (คือ
อดีต กับ อนาคต)  ด้วยปัญญาแล้ว  ไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง
(คือปัจจุบัน)  พระองค์ตรัสว่า  ใครเป็นมหาบุรุษ  ใครล่วงความอยาก
อันผูกใจสัตว์ในโลกนี้  ดุจด้ายเป็นเครื่องเย็บผ้าให้ติดกันไปได้ ?
        พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า  ภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์  สำรวม
ในกามทั้งหลาย  ปราศจากความอยากแล้ว  มีสติระลึกอยู่ทุกเมื่อ
พิจารณาเห็นโดยชอบแล้ว  ดับเครื่องร้อนกระวนกระวายเสียได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ  คือเต็มความประสงค์ในโลกนี้  ความอยากซึ่ง
เป็นเหตุทะเยอทะยานดิ้นรนของภิกษุนั้นแลไม่มี  ภิกษุนั้นแล  รู้ส่วน


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 64
ข้างปลายทั้ง ๒ ด้วยปัญญาแล้ว  ไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง   เรากล่าว
ว่า  ภิกษุนั้นแล  เป็นมหาบุรุษ  ภิกษุนั้นแล  ล่วงความอยากอันผูก
ใจสัตว์ไว้ในโลกนี้  ดุจด้ายเป็นเครื่องเย็บผ้าให้ติดกันไปได้.
        ครั้นพระศาสดาทรงแก้ปัญหา  ที่ติสสเมตตเตยยมาณพทูลถามอย่าง
นี้แล้ว  ปุณณกมาณพทูลถามปัญหาเป็นปัญหาที่ ๓ ว่า   บัดนี้มีปัญหามาถึง
พระองค์ผู้หาความหวาดหวั่นมิได้  รู้เหตุที่เป็นรากเง่าของสิ่งทั้งปวง
ข้าพระเจ้าขอทูลถาม  หมู่มนุษย์ในโลกนี้  คือ  ฤษี  กษัตริย์  พราหมณ์
เป็นอันมาก  อาศัยอะไร  จึงบูชายัญบวงสรวงเทวดา  ขอพระองค์จง
ตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้าพระเจ้า.
        พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า  หมู่มนุษย์เหล่านั้น  อยากได้ของที่
ตนปรารถนา  อาศัยของที่มีชราทรุดโทรม  จึงบูชายัญบวงสรวงเทวดา.
        ป.  หมู่มนุษย์เหล่านั้น  ถ้าไม่ประมาทในยัญของตน  จะข้ามพ้น
ชาติชราได้บ้างหรือไม่ ?
        พ.  หมู่มนุษย์เหล่านั้น  มุ่งลาภที่ตนหวัง  จึงพูดสรรเสริญการ
บูชายัญ  รำพันถึงสิ่งที่ตนใคร่ดังนั้น  ก็เพราะอาศัยลาภ  เรากล่าวว่า
ผู้บูชายัญเหล่านั้น  ยังเป็นคนกำหนัดยินดีในภพ  ไม่ข้ามพ้นชาติชรา
ไปได้.
        ป.  ถ้าผู้บูชายัญเหล่านั้น  ข้ามพ้นชาติชราเพราะยัญของตนไม่ได้
เมื่อเป็นเช่นนั้น  ใครเล่าในเทวโลกหรือมนุษยโลก  ข้ามพ้นชาติชรา
นั้นได้แล้ว ?
        พ.  ความอยากซึ่งเป็นเหตุทะเยอทะยาน  ดิ้นรนในโลกไหน ๆ


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 65
ของผู้ใดไม่มี  เพราะได้พิจารณาเห็นธรรมที่ยิ่งและหย่อนในโลก  เรา
กล่าวว่า  ผู้นั้นสงบระงับแล้ว  ไม่มีทุจริตความประพฤติชั่วอันจะทำ
ให้มัวหมองดุจควันไฟอันจับเป็นเขมา  ไม่มีกิเลสอันจะกระทบจิต  หา
ความอยากทะเยอทะยานมิได้  ข้ามพ้นชาติชราไปได้แล้ว.
        ครั้นพระศาสดาทรงแก้ปัญหา  ที่ปุณณกมาณพทูลถามอย่างนี้
แล้ว  เมตตคูมาณพ  ทูลถามปัญหาเป็นที่ ๔ ว่า  ข้าพระเจ้าขอทูลถาม
ขอพระองค์จงตรัสบอกข้อความที่จะทูลถามนั้นแก่ข้าพระเจ้า  ข้าพระ-
เจ้าทราบว่าพระองค์ถึงที่สุดจบไตรเพท  มีจิตอันได้อบรมดีแล้ว  ทุกข์
ในโลกหลายประการ  ไม่ใช่แต่อย่างเดียวนี้  มีมาแล้วแต่อะไร ?
        พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า   ท่านถามเราถึงเหตุเป็นแดนเกิด
แห่งทุกข์  เราจะบอกแก่ท่านตามรู้เห็น  ทุกข์ในโลกนี้  มีอุปธิคือกรรม
และกิเลสเป็นเหตุ  ล้วนเกิดมาก่อนแต่อุปธิ  ผู้ใดเป็นคนเขลา  ไม่รู้แล้ว
กระทำอุปธินั้นให้เกิดขึ้น  ผู้นั้นย่อมถึงทุกข์เนือง ๆ  เหตุนั้น  เมื่อรู้
เห็นว่าอุปธิเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์  อย่ากระทำให้เกิดมี.
        ม.  ข้าพระเจ้าทูลถามข้อใด  ก็ทรงแก้ข้อนั้นประทานแก่
ข้าพระเจ้าแล้ว  ข้าพระเจ้าขอทูลถามข้ออื่นอีก  ขอเชิญพระองค์ทรงแก้
อย่างไรผู้มีปัญญาจึงข้ามพ้นห้วงทะเลใหญ่  คือชาติชราและโศกพิไร
รำพันเสียได้ ?   ขอพระองค์จงทรงแก้ข้อนั้นประทานแก่ข้าพระเจ้า
เพราะว่าพระธรรมนั้น  พระองค์ทราบแล้ว.
        พ.  เราจักแสดงธรรมที่จะพึงเห็นแจ้งด้วยตนเอง   ในอัตภาพนี้
ไม่ต้องพิศวงตามคำของผู้อื่นว่า  คืออย่างนี้ ๆ  ที่บุคคลได้ทราบแล้ว


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 66
จักเป็นผู้มีสติข้ามความอยากอันให้ติดอยู่ในโลกเสียได้แก่ท่าน.
        ม.  ข้าพระเจ้ายินดีธรรมที่สูงสุดนั้นเป็นอย่างยิ่ง.
        พ.  ท่านรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง  ในส่วนเบื้องบน  (คืออนาคต)
ในส่วนเบื้องต่ำ  (คืออดีต)  ในส่วนท่ามกลาง  (คือปัจจุบัน)  จง
บรรเทาความเพลิดเพลิน  ความยึดมั่น  ในส่วนเหล่านั้นเสีย  วิญญาณ
ของท่านจักไม่ตั้งอยู่ในภพ   ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้  มีสติ
ไม่เลินเล่อ  ได้ทราบแล้ว  ละความถือมั่นว่าของเราเสียได้แล้ว  จัก
ละทุกข์  คือชาติชราและโศกพิไรรำพันในโลกนี้ได้.
        ม.  ข้าพระเจ้าชอบใจพระวาจาของพระองค์อย่างยิ่ง  ธรรม
อันไม่มีอุปธิ  พระองค์ทรงแสดงชอบแล้ว  พระองค์คงจะละทุกข์ได้แน่
แล้ว  เพราะว่าพระองค์ได้ทรงทราบธรรมนี้แล้ว   แม้ท่านผู้รู้ที่พระองค์
ทรงสั่งสอนอยู่เป็นนิตย์ไม่หยุดหย่อน  คงละทุกข์นั้นได้ด้วยเป็นแน่
เหตุนั้น   ข้าพระเจ้าจึงได้มาถวายบังคมพระองค์  ด้วยตั้งใจจะให้ทรง
สั่งสอนข้าพระเจ้าเป็นนิตย์ไม่หยุดหย่อนเหมือนอย่างนั้นบ้าง.
        พ.  ท่านรู้ว่าผู้ใดเป็นพราหมณ์  ถึงที่สุดจบไตรเพท  ไม่มีกิเลส
เครื่องกังวล  ไม่ติดข้องอยู่ในกามภพ  ผู้นั้นแล  ข้ามล่วงเหตุแห่งทุกข์
ดุจห้วงทะเลอันใหญ่นี้ได้แน่แล้ว   ครั้นข้ามถึงฝั่งแล้ว  เป็นคนไม่มี
กิเลสอันตรึงจิต  สิ้นความสงสัย  ผู้นั้นครั้นรู้แล้ว  ถึงที่สุดจบไตรเพท
ในศาสนานี้   ละธรรมที่เป็นเหตุติดข้องอยู่ในภพน้อยภพใหญ่เสียได้
แล้ว  เป็นคนมีความอยากสิ้นแล้ว  ไม่มีกิเลสอันจะกระทบจิต  หาความ
อยากทะเยอทะยานมิได้  เรากล่าวว่า  ผู้นั้นแลข้ามพ้นชาติชราได้แล้ว.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 67
        ครั้นพระศาสดาทรงแก้ปัญหา  ที่เมตตคูมาณพทูลถามฉะนี้แล้ว
โธตกมาณพทูลถามปัญหาเป็นคำรบ ๕ ว่า  ข้าพระเจ้าทูลถามพระ-
องค์  ขอจงตรัสบอกแก่ข้าพระเจ้า ๆ  อยากฟังพระวาจาของพระองค์
ข้าพระเจ้าได้ฟังพระสุรเสียงของพระองค์แล้ว   จะศึกษาข้อปฏิบัติอัน
เป็นเครื่องดับกิเลสของตน.
        พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า  ถ้าอย่างนั้น  ท่านจงเป็นคนมีปัญญา
มีสติ  ทำความเพียรในศาสนานี้เถิด.
        ธ.  ข้าพระเจ้าได้เห็นพระองค์ผู้เป็นพราหมณ์  หากังวลมิได้
เที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก  เหตุนั้น  ข้าพระเจ้าขอถวายบังคม
พระองค์  ขอพระองค์ทรงเปลื้องข้าพระเจ้าเสียจากความสงสัยเถิด.
        พ.  เราเปลื้องใคร ๆ ในโลก  ผู้ยังมีความสงสัยอยู่ไม่ได้  เมื่อ
ท่านรู้ธรรมอันประเสริฐ  ก็จักข้ามห้วงทะเลใหญ่คือกิเลสอันนี้เสีย
ได้เอง.
        ธ.  ขอพระองค์  จงทรงพระกรุณาแสดงธรรมอันสงัดจากกิเลสที่
ข้าพระเจ้าควรจะรู้  สั่งสอนข้าพระเจ้าให้เป็นคนโปร่งไม่ขัดข้อง  ดุจ
อากาศ  สงบระงับกิเลสเสียได้  ไม่อาศัยสิ่งหนึ่งสิ่งใดเที่ยวอยู่ในโลกนี้.
        พ.  เราจะบอกอุบายเครื่องสงบระงับกิเลส  ซึ่งจะเห็นเอง  ไม่
ต้องเชื่อตามตื่นข่าว  ที่บุคคลได้ทราบแล้ว  จักมีสติ  ข้ามความอยาก
ที่ตรึงใจในโลกเสียได้แก่ท่าน.
        ธ.  ข้าพระเจ้าชอบใจอุบายเครื่องสงบระงับกิเลสอันสูงสุดนั้นเป็น
อย่างยิ่ง. 


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 68
        พ.  ถ้าท่านรู้ว่า  ความทะยานอยากเบื้องบนเบื้องต่ำท่ามกลาง
เป็นเหตุให้ติดข้องอยู่ในโลก  ท่านอย่าทำความทะยานอยากเพื่อจะเกิด
ในภพน้อยภพใหญ่.
        ครั้นพระศาสดาทรงแก้ปัญหา  ที่โธตกมาณพทูลถามอย่างนี้แล้ว
อุปสีวมาณพทูลถามปัญหาเป็นคำรบ ๖ ว่า   ลำพังข้าพระเจ้าผู้เดียว
ไม่ได้อาศัยอะไรแล้ว  ไม่อาจข้ามห้วงทะเลใหญ่คือกิเลสได้  ขอพระองค์
ตรัสบอกอารมณ์ที่หน่วงเหนี่ยว  อันข้าพระเจ้าควรอาศัยข้ามห้วงนี้
แก่ข้าพระเจ้าเถิด.
        พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า  ท่านจงเป็นผู้มีสติเพ่งอากิญจัญญา-
ยตนฌาน  อาศัยอารมณ์ว่าไม่มี ๆ ดังนี้  ข้ามห้วงเสียเถิด   ท่านจงละ
กามทั้งหลายเสีย  เป็นคนเว้นจากความสงสัย  เห็นธรรมที่สิ้นไปแห่ง
ความทะยานอยาก  ให้ปรากฏชัดทั้งกลางคืนกลางวันเถิด.
        อุ.  ผู้ใด  ปราศจากกำหนัดในกามทั้งหลายทั้งปวงแล้ว
ล่วงฌานอื่นได้แล้ว  อาศัยอากิญจัญญายตนฌาน  (คือความเพ่งใจว่า
"ไม่มีอะไร" เป็นอารมณ์)  น้อมใจแล้วในอากิญจัญญายตนฌานอัน
เป็นธรรมที่เปลื้องสัญญาอย่างประเสริฐสุด  ผู้นั้น  จะต้องอยู่ในอากิญ-
จัญญายตนฌานนั้น  ไม่มีเสื่อมบ้างหรือ ?
        พ.  ผู้นั้น  จะตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้นไม่มีเสื่อม  สิ้น
ปีเป็นอันมาก   เขาจะเป็นผู้ยั่งยืนอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น  หรือ
จะดับขันธปรินิพพาน  วิญญาณของผู้เช่นนั้น  จะเป็นฉันใด ?


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 69
        พ.  เปลวไฟอันกำลังลมเป่าแล้วดับไป  ไม่ถึงความนับว่าได้ไป
แล้วข้างทิศไหน  ฉันใด  ท่านผู้รู้พ้นไปแล้วจากกองนามรูปย่อมดับไปไม่มี
เชื้อเหลือ  (คือดับพร้อมทั้งกิเลสทั้งขันธ์)  ไม่ถึงความนับว่าไปเกิด
เป็นอะไร  ฉันนั้น.
        อุ.  ท่านผู้นั้น  ดับไปแล้ว   หรือว่าเป็นแต่ไม่มีตัว  หรือจะเป็น
ผู้ตั้งอยู่ยั่งยืน  หาอันตรายมิได้  ขอพระองค์ทรงพยากรณ์ความข้อนั้น
แก่ข้าพระเจ้า  เพราะว่า  ธรรมนั้นพระองค์ได้ทรงทราบแล้ว.
        พ.  ประมาณแห่งเบญจขันธ์ของผู้ที่ดับ  ปรินิพพานแล้ว  มิได้มี
กิเลสซึ่งเป็นเหตุกล่าวผู้นั้นว่าไปเกิดเป็นอะไร  ของผู้นั้น  ก็มิได้มี
เมื่อธรรมทั้งหลาย  (มีขันธ์เป็นต้น)  อันผู้นั้นขจัดได้หมดแล้ว  ก็
ตัดทางแห่งถ้อยคำที่พูดถึงนั้นว่าจะเป็นอะไรเสียทั้งหมด.
        ครั้นพระศาสดาทรงแก้ปัญหา  ที่อุปสีวมาณพทูลถามอย่างนี้แล้ว
นันทมาณพทูลถามปัญหาเป็นที่ ๗ ว่า  ชนทั้งหลายกล่าวว่า  มุนีมีอยู่
ในโลกดังนี้  ข้อนี้เป็นอย่างไร  เขาเรียกคนถึงพร้อมด้วยญาณ  หรือถึง
พร้อมด้วยการเลี้ยงชีวิต  ว่าเป็นมุนี.
        พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า  ผู้ฉลาดในโลกนี้ ไม่กล่าวคนว่า
เป็นมุนี  ด้วยความเห็น  ด้วยความสดับ  หรือด้วยความรู้  เรากล่าว
ว่า  คนใด  ทำตนให้ปราศจากกองกิเลส  เป็นคนหากิเลสมิได้  ไม่มี
ความหวังทะยานอยากเที่ยวอยู่  คนผู้นั้นแล  ชื่อว่า  มุนี.
        น.  สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง  กล่าวความบริสุทธิ์  ด้วย
ความเห็น  ด้วยความฟัง  ด้วยศีลและพรต  และด้วยวิธีเป็นอันมาก


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 70
สมณพราหมณ์เหล่านั้น  ประพฤติในวิธีเหล่านั้น  ตามที่ตนเห็นว่าเป็น
เครื่องบริสุทธิ์  ข้ามพ้นชาติชราได้แล้วบ้างหรือหาไม่  ข้าพระเจ้าทูลถาม
ขอพระองค์ตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้าพระเจ้าเถิด.
        พ.  สมณพราหมณ์เหล่านั้น  แม้ถึงประพฤติอย่างนั้น  เรากล่าว
ว่าพ้นชาติชราไม่ได้แล้ว.
        น.  ถ้าพระองค์ตรัสว่า  สมณพราหมณ์เหล่านั้นข้ามห้วงไม่ได้
แล้ว  เมื่อเป็นเช่นนั้น  ใครเล่าในเทวโลกหรือมนุษยโลก  ข้ามพ้น
ชาติชราได้แล้ว.
        พ.  เราไม่กล่าวว่า  สมณพราหมณ์อันชาติชราครอบงำแล้วหมด
ทุกคน  แต่เรากล่าวว่า  สมณพราหมณ์เหล่าใดในโลกนี้  ละอารมณ์ที่
ตนได้เห็นได้ฟังได้รู้  และศีลพรตกับวิธีเป็นอันมากเสียทั้งหมด  กำหนด
รู้ตัณหาว่าเป็นโทษควรละแล้ว  เป็นผู้หาอาสวะมิได้  สมณพราหมณ์
เหล่านั้นแล  ข้ามห้วงได้แล้ว.
        น.  ข้าพระเจ้าชอบใจพระวาจาของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง  พระ-
องค์ทรงแสดงธรรมอันไม่มีอุปธิ  (กิเลส)  ชอบแล้ว  แม้ข้าพระเจ้า
ก็เรียกสมณพราหมณ์เหล่านั้นว่า  ผู้ข้ามห้วงได้แล้ว  เหมือนพระองค์
ตรัส.
        ครั้นพระศาสดาทรงแก้ปัญหา  ที่นันทมาณพทูลถามอย่างนี้แล้ว
เหมกมาณพทูลถามปัญหาเป็นที่ ๘ ว่า   ในปางก่อนแต่ศาสนาของ
พระองค์  อาจารย์ทั้งหลายได้ยืนยันว่า  อย่างนั้นได้เคยมีมาแล้วอย่างนี้
จักมีต่อไปข้างหน้า  คำนั้นล้วนเป็นแต่ว่าอย่างนี้แล ๆ  สำหรับแต่จะ


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 71
ทำความตรึกฟุ้งให้มากขึ้น  ข้าพระเจ้าไม่พอใจในคำนั้นเลย  ขอ
พระองค์ตรัสบอกธรรมเป็นเหตุถอนตัณหา  ที่ข้าพระเจ้าทราบแล้ว  จะ
พึงเป็นคนมีสติ  ข้ามล่วงตัณหาอันให้ติดอยู่ในโลก  แก่ข้าพระเจ้าเถิด.
        พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า  ชนเหล่าใด  ได้รู้ว่าพระนิพพานเป็น
ที่บรรเทาความกำหนัดพอใจในอารมณ์ที่รัก   ซึ่งได้เห็นแล้ว  ได้ฟัง
แล้ว  ได้ดมแล้ว  ได้ชิมแล้ว  ได้ถูกแล้ว  และได้รู้แล้วด้วยใจ  และ
เป็นธรรมไม่เปลี่ยนแปลง   ดังนั้นแล้ว  เป็นคนมีสติ  มีธรรมอันเห็น
แล้ว  ดับกิเลสได้แล้ว  ชนผู้สงบระงับกิเลสได้แล้วนั้น  ข้ามล่วงตัณหา
อันให้ติดอยู่ในโลกได้แล้ว.
        ครั้นพระศาสดาทรงแก้ปัญหา  ที่เหมกมาณพทูลถามอย่างนี้แล้ว
โมฆราชมาณพ  ปรารภจะทูลถามปัญหาอีก  พระศาสดาตรัสห้ามให้รอ
ก่อนเหมือนหนหลัง   โตเทยยมาณพจึงทูลถามปัญหาเป็นที่ ๙ ว่า  กาม
ทั้งหลายไม่ตั้งอยู่ในผู้ใด  ตัณหาของผู้ใดไม่มี  และผู้ใดข้ามล่วงความ
สงสัยเสียได้  ความพ้นของผู้นั้นเป็นเช่นไร ?
        พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า  ความพ้นของผู้นั้น  ที่จะเป็นอย่าง
อื่นอีกมิได้มี  (อธิบายว่า  ผู้นั้นพ้นจากกาม  จากตัณหา  จากความ
สงสัยแล้ว  กามก็ดี  ตัณหาก็ดี  ความสงสัยก็ดี  จะกลับเกิดขึ้น  ผู้นั้น
จักต้องเพียรพยายามเพื่อจะทำตนให้พ้นไปอีก  หามีไม่  ความพ้นของผู้
นั้นเป็นอันคงที่  ไม่แปรผันเป็นอย่างอื่น).
        ต.  ผู้นั้นเป็นคนมีความหวังทะเยอทะยานหรือไม่  เป็นคนมี
ปัญญาแท้  หรือเป็นแต่ก่อตัณหาและทิฏฐิให้เกิดขึ้นด้วยปัญญา  ช้า-


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 72
พระเจ้าจะรู้จักท่านมุนีนั้นได้ด้วยอย่างไร ขอพระองค์ตรัสบอกแก่
ข้าพระเจ้าเถิด.
        พ.  ผู้นั้นเป็นคนไม่มีความหวังทะเยอทะยาน  จะเป็นคนมีความ
หวังทะเยอทะยานก็หาไม่  เป็นคนมีปัญญาแท้  จะเป็นแต่คนก่อตัณหา
และทิฏฐิให้เกิดด้วยปัญญาก็หาไม่  ท่านจงรู้จักมุนีว่า  คนไม่มีกังวล  ไม่
ติดอยู่ในกามภพ  อย่างนี้เถิด.
        ครั้นพระศาสดาทรงแก้ปัญหา  ที่โตเทยยมาณพทูลถามอย่างนี้แล้ว
กัปปมาณพทูลถามปัญหาเป็นที่ ๑๐ ว่า  ขอพระองค์ตรัสบอกธรรมอัน
เป็นที่พึ่งพำนักของชนอันชราและมรณะมาถึงรอบข้าง  ดุจเกาะอันเป็น
ที่พำนักอาศัยของชนผู้ตั้งอยู่ในท่ามกลางสาคร เมื่อคลื่นเกิดที่น่ากลัวใหญ๋
แก่ข้าพระเจ้า  อย่าให้เกิดทุกข์นี้มีได้อีก.
        พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า  เรากล่าวว่านิพพานอันไม่มีกิเลส
เครื่องกังวล  ไม่มีตัณหาเครื่องถือมั่น  เป็นที่สิ้นแห่งชราและมรณะนี้
แลเป็นดุจเกาะ  หาใช่ธรรมอื่นไม่  ชนเหล่าใดรู้นิพพานนั้นแล้ว  เป็น
คนมีสติ  มีธรรมอันเห็นแล้ว  ดับกิเลสได้แล้ว  ชนเหล่านั้นไม่ต้องตก
อยู่ในอำนาจของมาร  ไม่ต้องเดินไปในทางของมารเลย.
        ครั้นพระศาสดาทรงแก้ปัญหา  ที่กัปปมาณพทูลถามอย่างนี้แล้ว
ชตุกัณณีมาณพทูลถามปัญหาเป็นที่ ๑๑ ว่า  ข้าพระเจ้าได้ทราบว่าพระ-
องค์มิใช่ผู้ใคร่กาม  ข้ามล่วงห้วงกิเลสเสียได้แล้ว  จึงมาเฝ้าเพื่อจะทูล
ถามพระองค์ผู้หากิเลสมิได้   ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปัญญาดุจ
ดวงตาเกิดพร้อมตรัสรู้  ขอจงแสดงธรรมอันระงับแก่ข้าพระเจ้าโดย


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 73
ถ่องแท้  เหตุว่าพระองค์ทรงผจญกิเลสกามให้แห้งหายได้  ดุจพระ-
อาทิตย์อันส่องแผ่นดินให้แห้งด้วยรัศมี  ขอพระองค์ผู้มีพระปัญญากว้าง
ใหญ่ราวกับแผ่นดิน  ตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องละชาติชราในอัตภาพนี้ที่
ข้าพระเจ้าควรจะทราบ  แก่ข้าพระเจ้าผู้มีปัญญาน้อยเถิด.
        พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า  ท่านจงนำความกำหนัดในกามเสีย
ให้สิ้น  เห็นความออกไปจากกามโดยเป็นความเกษมเถิด  กิเลสเครื่อง
กังวล  ที่ท่านยึดไว้ด้วยตัณหาและทิฏฐิ  ซึ่งควรจะสละเสีย  อย่าเสียด
แทงใจของท่านได้  กังวลใดได้มีแล้วในปางก่อน  ท่านจงให้กังวลนั้น
เหือดแห้งเสีย  กังวลภายหลังอย่าได้มีแก่ท่าน  ถ้าท่านจักไม่ถือเอา
กังวลในท่ามกลาง  ท่านจักเป็นคนสงบระงับกังวลได้เที่ยวอยู่  อาสวะ
(กิเลส)  ซึ่งเป็นเหตุถึงอำนาจมัจจุราช  ของชนผู้ปราศจากความ
กำหนัดในนามรูปโดยอาการทั้งปวงมิได้มี.
        ครั้นพระศาสดาทรงแก้ปัญหา  ที่ชตุกัณณีมาณพทูลถามอย่างนี้
แล้ว  ภัทราวุธมาณพทูลถามปัญหาเป็นที่ ๑๒ ว่า  ข้าพระเจ้าทูลขอ
อาราธนาพระองค์แล้ว  ผู้ทรงละอาลัย  ตัดตัณหาเสียได้  ไม่หวั่นไหว
(เพราะโลกธรรม)  ละความเพลิดเพลินเสียได้  ข้ามห้วงกิเลสพ้นไปได้
แล้ว  ละธรรมเป็นเครื่องให้ดำริ  (ไปต่าง ๆ)  คือตัณหาและทิฏฐิได้แล้ว
มีพระปรีชาญาณอันดี  ชนที่อยู่ชนบทต่าง ๆ  อยากจะฟังพระวาจาของ
พระองค์  มาพร้อมกันแล้วจากชนบทนั้น ๆ  ได้ฟังพระวาจาของพระองค์
แล้ว  จักกลับไปจากที่นี่  ขอพระองค์ทรงแก้ปัญหาเพื่อชนเหล่านั้น
เพราะว่าธรรมนั้นพระองค์ได้ทรงทราบแล้ว.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 74
        พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า  หมู่ชนนั้น  ควรจะนำตัณหาที่เป็น
เหตุถือมั่น  ในส่วนเบื้องบนเบื้องต่ำเบื้องขวาง  คือท่ามกลางทั้งหมด
ให้สิ้นเชิง  เพราะเขาถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลก  มารย่อมติดตามเขาได้
โดยสิ่งนั้น ๆ  เหตุนั้น  ภิกษุเมื่อรู้อยู่  เห็นหมู่สัตว์ผู้ติดอยู่ในวัฏฏะ
เป็นด้าวแห่งมารนี้ว่า  ติดอยู่เพราะความถือมั่นดังนี้  พึงเป็นคนมีสติ
ไม่ถือมั่นกังวลในโลกทั้งปวง.
        ครั้นพระศาสดาทรงแก้ปัญหา  ที่ภัทราวุธมาณพทูลถามอย่างนี้
แล้ว  อุทยมาณพทูลถามปัญหาเป็นที่ ๑๓ ว่า   ข้าพระเจ้ามีความ
ประสงค์จะทูลถามปัญหา  จึงมาเฝ้าพระองค์ผู้ทรงนั่งบำเพ็ญฌาน  มี
พระสันดานปราศจากกิเลสธุลี  หาอาสวะมิได้  ได้ทรงทำกิจที่จำจะ
ต้องทำเสร็จแล้ว  บรรลุถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง  ขอพระองค์จงทรง
แสดงธรรมเป็นเครื่องพ้น  (จากกิเลส)  ที่ควรรู้ทั่วถึง  เป็นเครื่อง
ทำลายอวิชชาความเขลาไม่รู้แจ้งเสีย.
        พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า  เรากล่าวธรรมเป็นเครื่องละความ
พอใจในกามและโทมนัสเสียทั้ง ๒ อย่าง  เป็นเครื่องบรรเทาความง่วง
เป็นเครื่องห้ามความรำคาญ  มีอุเบกขากับสติเป็นธรรมบริสุทธิ์  มี
ความตรึกประกอบด้วยธรรมเป็นเบื้องหน้า  ว่าธรรมเป็นเครื่องพ้น
(จากกิเลส)  ที่ควรรู้ทั่วถึง  เป็นเครื่องทำลายอวิชชาความเขลาไม่
รู้แจ้งเสีย.
        อุ.  โลกมีอะไรผูกพันไว้  อะไรเป็นเครื่องสัญจรของโลกนั้น
ท่านกล่าวกันว่า  นิพพาน ๆ ดังนี้  เพราะละอะไรได้ ?


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 75
        พ.  โลกมีความเพลิดเพลินผูกพันไว้  ความตรึกเป็นเครื่องสัญจร
ของโลกนั้น  ท่านกล่าวกันว่า  นิพพาน ๆ ดังนี้  เพราะละตัณหาเสียได้.
        อุ.  เมื่อบุคคลมีสติระลึกอย่างไรอยู่วิญญาณจึงจะดับ  ข้าพระเจ้า
ทั้งหลายมาเฝ้าแล้ว  เพื่อจะทูลถามพระองค์  ขอให้ได้ฟังพระวาจาของ
พระองค์เถิด.
        พ.  เมื่อบุคคลไม่เพลิดเพลินเวทนาทั้งภายในภายนอก  มีสติ
ระลึกอย่างนี้  วิญญาณจึงจะดับ.
        ครั้นพระศาสดาทรงแก้ปัญหา  ที่อุทยมาณพทูลถามอย่างนี้แล้ว
โปสาลมาณพทูลถามปัญหาเป็นที่ ๑๔ ว่า  ข้าพระเจ้ามีความประสงค์
จะทูลถามปัญหา  จึงได้มาเฝ้าพระองค์  ผู้ทรงสำแดงพระปรีชาญาณใน
กาลเป็นอดีต  ไม่ทรงหวั่นไหว  (เหตุสุขทุกข์)  มีความสงสัยอันตัด
เสียได้แล้ว  บรรลุถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง  ข้าพระเจ้าขอทูลถามถึงญาณ
ของบุคคลผู้มีความกำหนัดหมายในรูปแจ้งชัด  (คือได้บรรลุรูปฌาน
แล้ว)  ละรูปารมณ์ทั้งหมดได้แล้ว  (คือล่วงรูปฌานขึ้นไปแล้ว)  เห็น
อยู่ทั้งภายในภายนอกว่า  ไม่มีอะไรสักน้อยหนึ่ง  (คือได้บรรลุอรูปฌาน
ที่เรียกว่าอากิญจัญญายตนะ)  บุคคลเช่นนั้น  จะควรแนะนำสั่งสอน
ให้ทำอย่างไรต่อไป ?
        พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า  พระตถาคตเจ้าทรงทราบภูมิที่เป็นที่
ตั้งแห่งวิญญาณทั้งหมด  จึงทรงทราบบุคคลผู้เช่นนี้แม้ยังตั้งอยู่ในโลก
ว่า  มีอัธยาศัยน้อมไปในอากิญจัญญายตนภพ  มีอากิญจัญญายตนภพ

๑. พิมพ์ครั้ง พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้แก้ให้ตรงตามบาลี ๒๕/๕๔๗.


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 76
เป็นที่ไปในเบื้องหน้า บุคคลเช่นนั้น  รู้ว่ากรรมอันเป็นเหตุให้เกิดใน
อากิญจัญญายตนภพ  มีความเพลิดเพลินยินดีเป็นเครื่องประกอบดังนี้
แล้ว  ลำดับนั้น  ย่อมพิจารณาเห็นสหชาตธรรมในอากิญจัญญายตน-
ฌานนั้น  (คือธรรมที่เกิดพร้อมกันกับฌานนั้น)  แจ้งชัดโดยลักษณะ ๓
(คือไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  ไม่ใช่ตัว)  ข้อนี้เป็นญาณอันถ่องแท้ของ
พราหมณ์เช่นนั้น  ผู้มีพรหมจรรย์ได้ประพฤติจบแล้ว.
        ครั้นพระศาสดา  ทรงแก้ปัญหา  ที่โปสาลมาณพทูลถามอย่างนี้
แล้ว  โมฆราชมาณพกราบทูลว่า  ข้าพระเจ้าได้ทูลถามปัญหาถึง ๒
ครั้งแล้ว  พระองค์ไม่ทรงแก้ประทานแก่ข้าพระเจ้า ๆ ได้ยินว่า  ถ้า
ทูลถามถึง ๓ ครั้งแล้ว  พระองค์ทรงแก้  ครั้นว่าอย่างนี้แล้ว  ทูลถาม
ปัญหาเป็นคำรบ ๑๕ ว่า  โลกนี้ก็ดี  โลกอื่นก็ดี  พรหมโลกกับทั้ง
เทวโลกก็ดี  ย่อมไม่ทราบความเห็นของพระองค์  เหตุฉะนี้  จึงมี
ปัญหามาถึงพระองค์ผู้ทรงพระปรีชา  เห็นล่วงสามัญชนทั้งปวงอย่างนี้
ข้าพระเจ้าจักพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราช  (ความตาย)  จึง
จักไม่แลเห็น  คือว่าจักไม่ตามทัน.
        พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า  ท่านจงเป็นคนมีสติ  พิจารณาเห็น
โลกโดยความเป็นของว่างเปล่า  ถอนความตามเห็นว่าตัวของเราเสีย
ทุกเมื่อเถิด  ท่านจักข้ามล่วงมัจจุราชเสียได้ด้วยอุบายอย่างนี้  ท่าน
พิจารณาเห็นโลกอย่างนี้แล  มัจจุราชจึงไม่แลเห็น.
        ครั้นพระศาสดา  ทรงแก้ปัญหา  ที่โมฆราชมาณพทูลถามอย่างนี้
แล้ว  ปิงคิยมาณพทูลถามปัญหาเป็นคำรบ ๑๖ ว่า  ข้าพระเจ้าเป็นคน


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 77
แก่แล้ว  ไม่มีกำลัง  มีผิวพรรณสิ้นไปแล้ว  ดวงตาของข้าพระเจ้าก็
เห็นไม่กระจ่าง  หูก็ฟังไม่สะดวก  ขอข้าพระเจ้าอย่าเป็นคนหลงฉิบหาย
เสียในระหว่างเลย  ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมที่ข้าพระเจ้าควรรู้
เป็นเครื่องละชาติชราในอัตภาพนี้เสีย.
        พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า  ท่านเห็นว่า  ชนทั้งหลายผู้ประมาท
แล้ว  ย่อมเดือดร้อนเพราะรูปเป็นเหตุ  เพราะฉะนั้น  ท่านจงเป็นคน
ไม่ประมาท  ละความพอใจในรูปเสีย  จะได้ไม่เกิดอีก.
        ปิ.  ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ เป็น ๑๐ ทั้งทิศเบื้องบนเบื้องต่ำ
ที่พระองค์ไม่ได้เห็นแล้ว  ไม่ได้ฟังแล้ว  ไม่ได้ทราบแล้ว  ไม่ได้รู้แล้ว
แม้น้อยหนึ่ง  มิได้มีในโลก  ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมที่ข้าพระเจ้า
ควรรู้  เป็นเครื่องละชาติชราในอัตภาพนี้เสีย.
        พ.  เมื่อท่านเห็นหมู่มนุษย์  อันตัณหาครอบงำแล้ว  มีความ
เดือดร้อนเกิดแล้ว  อันชราถึงรอบข้างแล้ว  เหตุนั้น  ท่านจงเป็นคน
ไม่ประมาทละตัณหาเสีย  จะได้ไม่เกิดอีก.
        ในกาลเป็นที่สุดแห่งปัญหา  ที่พระศาสดาทรงพยากรณ์แก่ตน ๆ
มาณพ ๑๕ คน  เว้นปิงคิยมาณพ  ส่งใจไปตามธรรมเทศนา
ก็มีจิตพ้นจากอาสวะ  ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน  ส่วนปิงคิยะ  เป็นแต่
ได้ญาณเห็นในธรรม.   ได้ยินว่า  ปิงคิยมาณพนั้น  คิดถึงพราหมณ์
พาวรีผู้เป็นอาจารย์  ในระหว่างที่นั่งฟังพระธรรมเทศนาว่า  ลุงของ
เราหาได้ฟังพระธรรมเทศนาที่ไพเราะอย่างนี้ไม่  อาศัยโทษที่ฟุ้งซ่าน
เพราะความที่รักอาจารย์นั้น  จึงไม่อาจทำจิตให้สิ้นอาสวะ.  มาณพ


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 78
๑๖ คนกับทั้งบริวารนั้นทูลขออุปสมบท  พระศาสดาก็ทรงอนุญาตให้เป็น
ภิกษุด้วยพระวาจาว่า  ท่านทั้งหลายเป็นภิกษุมาเถิด  ธรรมอันเรากล่าว
ดีแล้ว  ท่านทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์เถิด  ดังนี้.   ฝ่ายพระปิงคิยะ
ทูลลาพระศาสดา  กลับไปแจ้งข่าวแก่พราหมณ์พาวรีผู้อาจารย์แล้ว
แสดงพระธรรมเทศนาแก้ปัญหา ๑๖ ข้อนั้นให้ฟัง  ภายหลังได้สดับ
โอวาทที่พระศาสดาตรัสสั่งสอน  จึงทำจิตให้พ้นจากอาสวะได้  ส่วน
พราหมณ์พาวรีอาจารย์  บรรลุธรรมาภิสมัยแต่เพียงชั้นเสขภูมิ.
        ในภิกษุพวกนี้  พระโมฆราชได้รับยกย่องแห่งพระศาสดาว่าเป็น
เอตทัคคะแห่งสาวกผู้ทรงครองจีวรเศร้าหมอง.   ด้วยเหตุอย่างไร การใช้
จีวรเก่าคร่ำครึจึงยกว่าเป็นดี  จนถึงพระสาวกผู้ใช้จีวรเช่นนี้ได้รับ
สรรเสริญ.  พระอรรถกถาจารย์พรรณนาถึงบุคคล ๔ จำพวก  อันจะ
พึงให้เลื่อมใสได้ด้วยอาการต่างกัน   จำพวกหนึ่งถือประมาณในรูป
คือพอใจในการดูการเห็น  เรียกว่า  รูปัปปมาณิกา.  คนจำพวกนี้
ได้เห็นการแสดงท่าทางต่าง ๆ  อันเนื่องด้วยการทำพิธี  อย่างมีแห่พระ
พุทธรูป  ทำสักการบูชาพระปฏิมาและพระเจดีย์  โดยนัยนี้  การแสดง
เรื่องสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เสด็จลงจากดาวดึงส์ก็ดี  การแสดง
ท่าทางพระสงฆ์ทำสังคายนาก็ดี  ที่ทำกันอยู่ในเทศกาลหรือในงานบุญ
เป็นอุบายชักจูงคนพวกนี้ให้เลื่อมใส.   อีกจำพวกหนึ่ง  เป็นผู้ถือ
ประมาณในเสียง  คือชอบฟังเสียง  เรียกโฆสัปปมาณิกา  คนจำพวก
นี้  ได้ฟังพระธรรมกถึกผู้มีเสียงไพเราะเทศนา  ย่อมได้ศรัทธาเลื่อมใส
โดยง่าย.  การสวดโดยทำนอง  เช่นว่าสรภัญญะก็ดี  การเทศนา


นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 79
โดยทำนอง  เช่นเทศนามหาชาติก็ดี  การทำบูชาทักษิณาและอุปสมบท
เป็นต้น  มีปี่พาทย์ประโคม  ก็เพื่อชักจูงคนพวกนี้ให้เลื่อมใส.   อีก
จำพวกหนึ่ง  เป็นผู้ถือประมาณในของเศร้าหมอง  ชอบคนประพฤติ
ปอน  การครองผ้าเก่าคร่ำคร่า  เป็นอาการประพฤติปอนของภิกษุ
อย่างหนึ่ง.   ภิกษุผู้ประพฤติปอน  ย่อมเป็นที่เลื่อมใสของคนจำพวก
นี้.   โดยนัยนี้  ภิกษุผู้ประพฤติแผกจากภิกษุอื่นในทางแผลง ๆ  เกิด
แต่อัธยาศัยก็ดี  จงใจทำก็ดี  โดยที่สุดเป็นเพราะจริตวิกาล  คนทั้งหลาย
ย่อมแตกตื่นกันนับถือ.  อีกพวกหนึ่ง  เป็นผู้ถือประมาณในธรรม
ชอบใจเฉพาะข้อปฏิบัติ  เรียกว่า  ธัมมัปปมาณิกา.   ชนจำพวกนี้
ได้เห็นภิกษุตั้งอยู่ในสังวร  รักษามรรยาทเรียบร้อย  และได้ฟังธรรม
อันพระธรรมกถึกแสดงมุ่งกล่าวเฉพาะข้อปฏิบัติ  จึงเลื่อมใส  เช่นพระ
สารีบุตรได้เห็นพระอัสสชิ  และได้ฟังธรรมของท่านแล้วได้ความเลื่อม
ใส  และได้ธรรมจักษุ.   การเทศนาให้เหมาะแก่อุบัติเหตุ  ถูก
กาละเทศะสมแกภูมิและจรรยาของผู้ฟัง  เป็นอุบายชักจูงคนจำพวกนี้ให้
เลื่อมใส.  ชะรอยพระโมฆราชผู้ทรงจีวรเก่าคร่ำคร่า  จักได้นำมหาชน
ผู้ยังไม่เลื่อมใส  ให้เลื่อมใสพระพุทธศาสนา  ยังชนผู้เลื่อมใสแล้ว
ให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น  พระศาสดาจึงได้ทรงยกย่องดังกล่าวแล้ว.
        นอกจากเรื่องที่กล่าวมา  พระโมฆราชไม่ได้ปรากฏอีกต่อไป
ในพระสูตรที่ออกชื่อถึงพระมหาเถระหลาย ๆ รูป  ก็ไม่กล่าวถึงพระ
โมฆราชเลย.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น