วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

หนังสือพุทธประวัติ เล่ม ๓ นักธรรมตรี หน้า ๑- ๓๕






                                          คำชี้แจง
        หนังสือพุทธประวัติเล่ม  ๓  ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรม-
พระยาวชิรญาณวโรรส  ทรงดัดแปลงจากเทศนาปฐมสมโพธิ   ตอน
ปรินิพพาน  ของสมเด็จพระสังฆราช  (สา)   มาใช้เป็นหลักสูตรการ
ศึกษานักธรรมชั่วคราวนั้น  เป็นอันยังต้องใช้ตลอดมาจนถึงบัดนี้
เพราะพระองค์ท่านไม่มีโอกาสจะทรงรจนาพุทธประวัติเล่ม ภ  ขึ้นตาม
พระประสงค์ได้จนตลอดพระชนม์ชีพ.
        บัดนี้  ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒๑/๒๔๗๕  จวนหมดแล้ว  จึงได้พิมพ์
ขึ้นใหม่   แต่ในการพิมพ์ครั้งนี้  พระกรรมการกองตำราได้จัดระเบียบ
วรรคตอนและคำบันทึกเชิงหน้าเป็นต้น  เพิ่มเติมเพื่อให้ผู้ศึกษาเข้าใจ
ง่ายตามที่เห็นว่าควรทำขึ้น.
        คณะกรรมการกองตำรา  ขออุทิศน้ำพักน้ำแรงบูชาสมเด็จพระ
มหาสมณเจ้า ฯ  พระองค์นั้น   และมอบลิขสิทธิ์พึงบังเกิดมีแก่มหา-
มกุฏราชวิทยาลัยสืบต่อไป.
                                                        พระศรีวิสุทธิวงศ์
                                                        หัวหน้ากองตำรา


มหามกุฏราชวิทยาลัย
๑๘  กรกฎาคม  ๒๔๘๐

มีบริบูรณ์  ตามพระประสงค์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  ฯ  พระองค์
ผู้ทรงรจนาขึ้นไว้.
        ในการพิมพ์ครั้งนี้  คณะกรรมการแผนกตำราได้ตรวจชำระอักษร
จัดวรรคตอน  และบอกที่มา  กับชี้แจงความบางประการไว้ที่เชิงหน้า
นั้น ๆ.
        ขออุทิศกุศลจริยาทุกประการ  บูชาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ
พระองค์นั้น ผู้ประทานแสงสว่างคือวิทยาแก่ผู้ศึกษาและปฏิบัติธรรม
ทางพระพุทธศาสนาทั่วไป.
                                                แผนกตำรา
                                               

                                       คำนำ
                           (พิมพ์ครั้งที่ ๒/๒๔๕๗)  

        หนังสือพุทธประวัติของข้าพเจ้า  รจนาแล้วเพียงเล่ม ๑  ตอน
ปฐมโพธิกาล  ไม่ทันความต้องการใช้ในการเรียนพุทธประวัติ  จึง
ถือเอาหนังสือปฐมสมโพธิตอนนิพพาน  ที่สมเด็จพระสังฆราช (สา)
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม  ทรงรจนาไว้  มาดัดแปลงเป็น
พุทธประวัติวิภาคที่  ๓  ตอนปัจฉิมโพธิกาล  เปลี่ยนรูปเป็นหนังสือ
อ่า  และแก้ไขตัดทอนให้เป็นสำนวนฟังง่าย  แต่คงใจความเดิม  เพื่อ
จักได้ใช้เป็นหนังสือเรียนไปพลางกว่าฉบับใหม่จะแต่งเสร็จ  เพราะ
ตอนมัชฌิมโพธิกาลเป็นเรื่องไม่มีอนุสนธิ  เพียงวิภาคที่ ๒  กับที่ ๓
ก็พอเข้าเรื่องกันได้  เช่นได้เคยใช้พุทธานุพุทธประวัติที่แต่งค้าง กับ
นิพพานสูตรควบกันเป็นหลักสูตรแห่งการเรียนพุทธประวัติมานั้น  ได้
พิมพ์ขึ้นคราวแรก  เป็นการกุศลและของแจกของเจ้าภาพ  ในงาน
พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมขุนศิริธัชสังกาศ  ณ  พระเมรุท้อง
สนามหลวง  เมื่อพุทธศักราช  ๒๔๕๕  ต่อมาหนังสือนี้ไม่พอใช้  จึง
มอบการพิมพ์หนังสือนี้  ให้เป็นธุระของมหามกุฏราชวิทยาลัย  เพื่อจะ
ได้มีพอแก่ผู้ต้องการ   กว่าพุทธประวัติวิภาคนี้ของข้าพเจ้าจะรจนา
แล้ว  หนังสือฉบับนี้พิมพ์เป็นครั้งที่ ๒  คงตามฉบับที่ ๑.
                                                กรม - วชิรญาณวโรรส
วันที่ ๘  พฤศจิกายน  ๒๔๕๗
                                               
                                                 มหามกุฏราวิทยาลัย


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 1
                                            พุทธประวัติ    
                                          ปัจฉิมโพธิกาล*
                                              [อนุสนธิ]
        สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ-
ญาณแล้ว  ได้ให้พระธรรมจักรอันประเสริฐ  ซึ่งผู้อื่นจะให้เป็นไปเทียม
ไม่ได้เป็นไปแล้ว   ทรงประกอบอุปการกิจสั่งสอนเวไนยสัตว์มีพระ
เบญจวัคคีย์เป็นต้นให้ตรัสรู้จตุราริยสัจจ์   ทรงประดิษฐานบริษัท
ทั้ง  ๔  ภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  อุบาสิกา  ให้ดำรงอยู่ในพระสัทธรรม
โลกุตตราริยมรรคผลตามอุปนิสัยสามารถ  พระองค์ทรงประกาศ
พรหมจรรย์ให้สมบูรณ์แพร่หลาย  เป็นประโยชน์แก่ประชุมชน  คือ
เทพดามนุษย์เป็นอันมาก   เสด็จพระพุทธดำเนินสัญจรสั่งสอนเวไนย-
สัตว์ในคามนิคมชนบทราชธานีนั้น  ๆ  มีเมืองราชคฤห์  ในมคธรัฐ
เป็นต้น  ประดิษฐานพุทธสาวกมณฑลให้เป็นไป  นับกาลกำหนดแต่
อภิสัมโพธิสมัยล่วงได้  ๔๔  พรรษา  ครั้น  ณ  พรรษกาลที่  ๔๕  เสด็จ
จำพรรษาธิษฐาน  ณ  บ้านเวฬุวคาม  โดยพระพุทธอัธยาศัย.
                                    ทรงปลงอายุสังขาร
                                   [เสด็จบ้านเวฬุวคาม]
        ครั้งนั้น  พระองค์เสด็จจากอัมพปาลีซึ่งนางอัมพปาลีคณิกา
ถวายเป็นสังฆารามแล้ว  จาริกไปกับด้วยภิกษุสงฆ์พุทธบริวารเป็น

* มหาปรินิพพานสูตร  ที.  มหา.  ๑๐/๘๕.




นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 2
อันมาก  ถึงบ้านเวฬุวคามเป็นสถานในเขตเมืองไพศาลีนคร  ครั้น 
จวนใกล้วัสสูปนายิกาสมัย  ตามวินยานุญาตนิยมแล้ว  สมเด็จ
พระบรมโลกนาถ   ตรัสเรียกพระภิกษุสงฆ์ทรงอนุญาตให้จำพรรษา
ตามอัธยาศัยว่า  "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ท่านทั้งหลายจงจำพรรษา
ณ   จังหวัดเมืองไพศาลีตามมิตรตามสหายแห่งตน ๆ  เถิด  ก็แต่เราจะ
จำพรรษา  ณ  บ้านเวฬุวคามตำบลน้อยนี้แล้ว."   ทรงพระอนุญาตให้
ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาตามผาสุกแห่งตน ๆ  ฉะนั้นแล้ว  ส่วนพระองค์
ทรงจำพรรษาอยู่  ณ  บ้านเวฬุวคามนั้น.
        ครั้นภายในพรรษกาล  สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า  ทรงพระ
ประชวรขราพาธกล้า  เกิดทุกขเวทนาใกล้มรณชนม์พินาศ  ก็แต่พระ
องค์ดำรงพระสติสัมปชัญญะ  อันทุกขเวทนากล้านั้น  ไม่เบียดเบียน
ให้อาดูรเดือดร้อนระส่ำระสายได้   ทรงอดกลั้นซึ่งทุกขเวทนาด้วย
อธิวาสนขันติคุณ  ทรงเห็นว่ายังมิควรที่จะปรินิพพานก่อน  จึง
ประณามขันไล่บำบัดอาพาธพยาธิทุกข์นั้นเสียให้ระงับสงบไป  ด้วย
ความเพียรอิทธิบาทภาวนา.  ครั้งดำรงพระกายเป็นปกติระงับขราพาธ
นั้นแล้ว  วันหนึ่งเสด็จทรงนั่งเหนือพระพุทธอาสน์  ซึ่งปูลาด  ณ  ร่มเงา
แห่งพระวิหาร  พระอานนทเถระเข้าไปเฝ้าถวายอภิวาทนมัสการ  แล้ว
กราบทูลว่า "ข้าพระองค์ได้เห็นความผาสุกแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว  ความที่ทนทานอดกลั้นแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า   ข้าพระองค์

๑.  อาพาธหนัก.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 3
ได้เห็นแล้ว  แต่ก็อาศัยที่พระผู้มีพระภาคทรงพระประชวรนั้น  กาย 
ข้าพระองค์ประหนึ่งจะงอมระงมไป  แม้ทิศานุทิศก็มือมนไม่ปรากฏ
แก่ข้าพระองค์   แม้ธรรมทั้งหลายไม่สว่างแจ่มแจ้งแก่จิต  เพราะ
มาวิตกรำพึงถึงความไข้ที่ทรงพระประชวรนั้น  แต่มายินดีอยู่น้อย
หนึ่งว่า  พระผู้มีพระภาคยังไม่ปรารภภิกษุสงฆ์แล้ว  ตรัสพุทธพจน์
อันใดอันหนึ่งเพียงใดแล้ว   ก็ยังจักไม่ปรินิพพานก่อน  ข้าพระองค์
มีความยินดีเป็นข้อไว้ในอยู่น้อยหนึ่งฉะนี้."
        "ดูก่อนอานนท์  ภิกษุสงฆ์ยังมาหวังเฉพาะชื่ออะไรในเราเล่า
ธรรมเราได้แสดงแล้ว  ทำไม่ให้มีภายใน  ไม่ให้มีภายนอก  กำมือ
อาจารย์คือจะซ่อนความในธรรมทั้งหลาย  ไม่มีแก่พระตถาคตเจ้า ๆ
ซึ่งเป็นศาสดาของเทพดามนุษย์  มีจิตบริสุทธ์  พ้นจากตัณหานิสสัย
ทิฏฐินิสสัยด้วยประการทั้งปวงแล้ว  ซึ่งข้อลี้ลับจะต้องปกปิดซ่อนบัง
ไว้  แสดงไว้แก่สาวกบางเหล่า  มิได้ทั่วไปเป็นสรรพสาธารณ์  หรือ
จะพึงแสดงให้สาวกทราบได้ต่ออวสานกาลที่สุด  ไม่มีเลย."
        ดูก่อนอานนท์  ผู้ใดยังมีฉันทะอาลัยอยู่ว่า  จักรักษาภิกษุสงฆ์
หรือว่าภิกษุสงฆ์  มีตัวเราเป็นที่พำนัก  ผู้นั้นแลจะพึงปรารภภิกษุสงฆ์
และกล่าวคำอันใดอันหนึ่ง  ซึ่งแสดงห่วงสิเนหาอาลัย  อันจะรำพึง
เช่นนั้นไม่มีแก่พระตถาคตเลย   พระตถาคตจะปรารภภิกษุสงฆ์แล้ว
กล่าวคำอันหนึ่งนั้นแลคราวหนึ่ง.
        ดูก่อนอานนท์  บัดนี้เราแก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยเสียแล้ว



นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 4
ชนมายุกาลแห่งเราถึง  ๘๐  ปีเข้านี่แล้ว  กายแห่งพระตถาคตย่อม 
เป็นประหนึ่งเกวียนชำรุดที่ซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่   มิใช่สัมภาระเกวียน
ฉะนั้น.
        ดูก่อนอานนท์  สมัยใด  พระตถาคตเจ้าเข้าไปถึงซึ่งเจโตสมาธิ
ความตั้งเสมอแห่งจิตไม่มีนิมิต    เพราะไม่ทำในใจซึ่งนิมิตทั้งหลาย
ทั้งปวง  เพราะดับแห่งเวทนาบางเหล่าแล้วแลอยู่เมื่อใด  พระตถาคต
เข้าอนิมิตตเจโตสมาธิ   หยุดยั้งอยู่ด้วยอนิมิตตสมาธิแล้ว  กายแห่ง
พระตถาคต  ย่อมมีผาสุกสบายในสมัยนั้น.
        "ดูก่อนอานนท์  เพราะเหตุอนิมิตตสมาธิวิหาร  เป็นเหตุให้กาย
มีความผาสุกนั้น  ท่านทั้งหลายจงมีตนเป็นเกะเป็นที่พึ่ง  ใช่บุคคลมีสิ่ง
อื่นเป็นที่พึ่ง  คือมีธรรมเป็นเกาะเป็นที่พึ่งอยู่ทุกอิริยาบถเถิด."   ตรัส
ดังนี้แล้ว  ทรงแสดงซึ่งข้อว่ามีตนมีธรรมเป็นที่พึ่งนั้น  ด้วยสามารถ
ประกอบในสติปัฏฐานทั้ง  ๔  สั่งสอนภิกษุสงฆ์ในเอกายนมรรค  คือ
สติปัฏฐานภาวนาและปกิรณกเทศนา  ตามสมควรแก่อุปปัตตินั้น ๆ
เสด็จสำราญพระอิริยาบถ  บำเพ็ญพุทธกิจ  ณ  บ้านเวฬุวคาม จนกาล
ล่วงไปถึงเดือนที่ ๓  แห่งฤดูเหมันต์  ซึ่งพระอรรถกถาจารย์กำหนดว่า
มาฆบุรณมีสมัยเป็นวันปลงอายุสังขาร  ณ  ปาวาลเจติยสถาน  ดังนี้นั้น.
        ในพระบาลีก็มิได้มีนิยมกาลว่า  เป็นฤดู  เดือน  ปักษ์  ดิถี  อันใด
กล่าวได้แต่โดยเป็นสมัยติดต่อกันฉะนี้ว่า  ครั้งนั้น  เป็นเวลาเช้า
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาบาตรและจีวรแล้ว  เสด็จโจร


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 5
บิณฑบาต  ณ  เมืองเวสาลีแล้ว   ครั้นปัจฉาภัตกลับจากบิณฑบาต  
ดำรัสสั่งให้พระอานนท์ถือเอาผ้านิสีทนะสำหรับรองนั่ง  เสด็จไปยัง
ปาวาลเจดีย์   เพื่อสำราญอยู่  ณ  กลางวัน  พระอานนทเถรเจ้าลาดผ้า
นิสีทนะถวาย  ณ  ร่มพฤกษาแห่งหนึ่ง  พระองค์เสด็จนั่งลงแล้ว  พระ
อานนทเถรเจ้าเข้าไปถวายบังคม  นั่ง  ณ  ที่ควรข้างหนึ่ง.   สมเด็จพระ
ผู้มีพระภาคเจ้า  ประสงค์จะให้พระอานนท์กราบทูลอาราธนา  เพื่อจะ
ดำรงอยู่ชั่วอายุกัปหนึ่ง  หรือเกินกว่าอายุกัปนั้น  พระองค์จึงทำ
นิมิตอันชัด  แสดงอานุภาพแห่งอิทธิบาทภาวนาว่า  สามารถจะให้ท่าน
ผู้ได้เจริญดำรงอยู่อายุกัปหนึ่ง  หรือเกินกว่าอายุกัป  ได้ตรัสโอภาส
ปริยายนิมิตอันชัดดังนั้นถึง  ๓  หน  มารเข้าดลใจพระอานนท์เสีย  จึง
ไม่สามารถจะรู้ความแล้วได้สติอาราธนาฉะนั้น.  พระสุคตเจ้าจึงทรง
ขับพระอานนท์เสียจากที่นั้น  พระอานนท์ถวายบังคมทำประทักษิณ
แล้วไป  นั่ง  ณ  ร่มไม้แห่งหนึ่ง  ไม่ไกลนักแต่พระโลกนาถ.
        ครั้นพระอานนท์หลีกไปแล้วไม่ช้า  มารเข้าไปเฝ้าแล้ว  ยกเนื้อ
ความแต่ปางหลัง  ครั้งแรกได้ตรัสรูปอภิสัมโพธิญาณ  ประทับควงไม้
อชปาลนิโครธนั้น  ได้ตรัสว่า  "บริษัททั้ง  ๔   เหล่า  ภิกษุ  ภิกษุณี
อุบาสก  อุบาสิกา   ยังไม่ฉลาดอาจแสดงธรรมย่ำยีปรับปวาทโดย
สหธรรม   และพรหมจรรย์ยังไม่ประกาศแพร่หลายบริบูรณ์ด้วยดี
สำเร็จประโยชน์แก่ประชุมชนเป็นอันมาก   ทั้งเทพดามนุษย์เพียงใด
ยังจักไม่ปรินิพพานก่อนเพียงนั้น   ดังนี้. บัดนี้ ปริสสมบัติ  และ


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 6
พรหมจรรย์ก็สมบูรณ์ดังพุทธประสงค์ทุกประการแล้ว  ขอพระผู้มี 
พระภาคจงปรินิพพานเถิด  บัดนี้  เป็นกาลที่จะปรินิพพานแห่งพระผู้มี
พระภาคแล้ว."  เมื่อมารกล่าวดังนี้แล้ว  พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
"ดูก่อนมาผู้มีบาป  ท่านจงมีขวนขวายน้อยเถิด  ความปรินิพพาน
แห่งพระตถาคตจักมีไม่ช้า  โดยกาลที่ล่วงไปแล้วแห่ง  ๓  เดือนแต่นี้
พระตถาคตจักปรินิพพาน." 
        ครั้งนั้น  สมเด็จพระผู้มีพระภาคมีพระสติสัมปชัญญะ  ปลงอายุ-
สังขาร  ณ  ปาวาลเจดีย์  ก็เกิดอัศจรรย์แผ่นดินไหวใหญ่และขนชันสยด
สยองพิลึกน่าพึงกลัว  ทั้งกลองทิพย์ก็บันลือลั่นในอากาศ  ครั้งนั้น
พระอานนท์เกิดพิศวงเพราะอัศจรรย์เกิดมีนั้น  จึงออกจากร่มพฤกษา
เข้าไปสู่ที่เฝ้า  ถวายบังคมนั่ง  ณ  ที่ควรแล้ว  ทูลถามถึงเหตุซึ่งให้เกิด
อัศจรรย์  มีแผ่นดินไหวใหญ่เป็นต้นนั้น.  สมเด็จพระผู้มีพระภาค
ตรัสเหตุ  ๘  ประการ  ที่จะให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่  คือลมกำเริบ ๑
ท่านผู้มีฤทธิ์บันดาล  ๑   พระโพธิสัตว์จุติจากดุสิตลงสู่พระครรภ์ ๑
พระโพธิสัตว์ประสูติ  ๑   พระตถาคตเจ้าตรัสรู้พระอนุตตรสัมมา-
สัมโพธิญาณ ๑   พระตถาคตเจ้าให้พระอนุตตรธรรมจักรเป็นไป ๑
พระตถาคตเจ้าปลงอายุสังขาร ๑   พระตถาคตเจ้าปรินิพพานด้วย
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ  ๑   เหตุทั้ง  ๘  นี้เป็นปัจจัยจะให้แผ่นดินไหว
ใหญ่ละอย่าง ๆ  แล้ว  ทรงนำเนื้อความแต่ปางหลัง  ครั้งแรกได้ตรัส
อภิสัมโพธิ  เสด็จอยู่  ณ  ควงไม้อชปาลนิโครธ  ได้ตรัสไว้แก่มารฉันใด



นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 7
นั้น   มาตรัสแก่พระอานนท์แล้ว  แสดงว่าพระองค์ได้ปลงอายุสังขาร  
แล้ว  แผ่นดินไหวใหญ่เพราเหตุนั้น.
        พระอานนท์จึงกราบทูลว่า  "ขอพระผู้มีพระภาค   จงตั้งอยู่กัป
หนึ่งเถิด  เพื่อเกื้อกุลแก่ชนเป็นอันมาก  เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอัน
มาก  เพื่อจะอนุเคราะห์ซึ่งสัตว์โลก   เพื่อประโยชน์  เพื่อเกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่เทพดามนุษย์ทั้งหลาย"   พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า
"ดูก่อนอานนท์  อย่าเลย   ท่านอย่าได้วิงวอนพระตถาคต  บัดนี้
มิใช่กาลเพื่อจะวิงวอนพระตถาคตเสียแล้ว."  พระอานนท์ก็กราบทูล
วิงวอนถึง  ๒  ครั้ง  ๓  ครั้ง,   พระองค์จึงตรัสถามว่า  "ดูก่อนอานนท์
ท่านเชื่อซึ่งปัญญาตรัสรู้แห่งพระตถาคตหรือ ?"
        "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ข้าพระองค์เชื่อ."
        "ดูก่อนอานนท์  ถ้าท่านเชื่อฉะนั้นแล้ว  ไฉนมาบีบคั้นแค่นได้
พระตถาคตถึง  ๓  ครั้งเล่า ?"
        "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า  ข้าพระองค์ได้ฟัง   ได้รับมาเฉพาะ
พระพักตร์แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า  'อิทธิบาททั้ง  ๔  ประการ  ท่าน
ผู้ใดผู้หนึ่ง  ได้เจริญทำให้มาก  ชำนาญแคล่วคล่องแล้ว  ถ้าท่าน
ผู้นั้นจำนงใจจะดำรงอยู่นานด้วยรูปกายแล้ว  ก็จะพึงตั้งอยู่ได้กัป ๑
บ้าง  เหลือกว่ากัป  ๑  บ้าง.  อิทธิบาททั้ง  ๔  นั้น  พระตถาคตจ้า
ได้เจริญแคล่วคล่องชำนาญแล้ว  ถ้าพระตถาคตเจ้ามาปรารถนา
จะตั้งอยู่ด้วยสรีรประพันธ์นั้นไซร้   ก็จะดำรงอยู่สิ้นอายุกัป  ๑  หรือ


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 8
เกินกว่าอายุกัป  ๑  นั้นได้ดังนี้.   เพราะเหตุนั้น  ข้าพระองค์จึงได้
กราบทูลวิงวอนอาราธนาถึง  ๓  ครั้งเป็นกำหนดฉะนี้." 
        พระผู้มีพระภาคตรัสถามพระอานนท์อีกเล่าว่า  "ดูก่อนอานนท์
ท่านเชื่ออยู่หรือ   ซึ่งอานุภาพแห่งอิทธิบาทภาวนานั้น."
        "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ข้าพระองค์เชื่อ."
        "ดูก่อนอานนท์   เพราะเหตุนั้น  เมื่อพระตถาคตทำนิมิตโอภาส
อันชัด  และอานนท์ไม่สามารถจะรู้  ไม่ได้วิงวอนพระตถาคตในครั้ง
ก่อน  ๆ อันยังเป็นกาลอยู่นั้น  ก็เป็นความผิดของอานนท์ผู้เดียว  ถ้า
ในคราวนั้น  ๆ  หากอานนท์จักพึงวิงวอนพระตถาคตไซร้   พระตถาคต
จะพึงห้ามเสีย  ๒  คำ  ครั้นวาระที่  ๓  พระตถาคตก็จะพึงรับคำวิงวอน
อาราธนานั้น  เพราะเหตุนั้น  อานนท์ไม่วิงสอนเสียแต่ยังเป็นกาลอยู่
นั้น  เป็นความผิดของอานนท์ผู้เดียว
        ครั้นพระองค์ตรัสดังนี้แล้ว  และนิมิตโดภาสอันชัดเห็นปาน
นั้น  พระองค์ได้ทำแล้วแก่พระอานนท์ในกาลก่อนในสถานเท่าใด  สิ้น
วาระเท่าใด  พระองค์ก็ทรงประมวลสถานทั้งปวงนั้นนับได้  ๑๖  ตำบล
มาแสดงแก่พระอานนท์โดยพิสดาร.  และสถานทั้ง  ๑๖  ตำบลนั้น เมือง
ราชคฤห์  ๑๐  ตำบล  เมืองเวสาลี  ๖  ตำบล.  ๑๐  ตำบลเมืองราชคฤห์
นั้น  ภูเขาคิชฌกูฏเป็นที่  ๑   โคตมนิโครธเป็นที่  ๒  เหวที่ทิ้งโจรเป็นที่  ๓
ถ้ำสัตตบัณณคูหา  ข้างภูเขาเวภารบรรพตเป็นที่  ๔  กาฬศิลา  ข้าง
ภูเขาอิสิคิลิบรรพตเป็นคำรบ  ๕  เงื้อมชื่อว่าสัปปิโสณฑิกา  ณ  สีตวัน


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 9
เป็นคำรบ  ๖  ตโปทารามเป็นที่  ๗  เวฬุวันเป็นที่  ๘  ชีวกัมพวันเป็น
ที่  ๙  มัททกุจฉิมิคทายวันเป็นที่  ๑๐.  สถาน  ๑๐  ตำบลนี้อยู่เมือง 
ราชคฤห์  และสถาน  ๖  ตำบลเมืองเวสาลีนั้น  อุเทนเจดีย์เป็นที่  ๑
โคตมกเจดีย์เป็นที่  ๒  สัตตัมพเจดีย์เป็นที่  ๓  พหุปุตตเจดีย์เป็นที่  ๔ 
สารันทเจดีย์เป็นคำรบ  ๕  ปาวาลเจดีย์นี้เป็นคำรบ  ๖  รวมเป็น  ๑๖  สถาน
ด้วยประการฉะนั้น.  ในวาระทั้ง  ๑๖  ครั้งนั้น  เป็นกาลอยู่ที่จะวิงวอน
พระตถาคต  อานนท์ก็มิได้รู้  มิได้วิงวอนเล่า  ถ้าใน  ๑๖  วาระนั้น
อานนท์ได้วิงวอนแต่ในสถานใดสถานหนึ่งแล้วไซร้  พระตถาคตจะ
พึงห้ามเสีย  ๒  ครั้ง  ครั้งที่  ๓  ก็จะรับอาราธนา  เหตุใดใน  ๑๖  ตำบลนั้น
อานนท์ไม่สามารถจะรู้  ไม่ได้วิงวอน  เหตุนั้น  ข้อนั้นก็เป็นความผิด
ของอานนท์ผู้เดียว.
        "ดูก่อนอานนท์ เราได้บอกแล้วดั่งนี้แต่เดิมหาไม่หรือว่า  บรรดา
สัตว์สังขารเป็นที่รักเจริญใจทั้งปวงเทียว  ย่อมเป็นต่าง ๆ  พลัดพราก
เป็นอย่างอื่นไป   ไม่คงคนถาวรอยู่ได้ตามใจประสงค์  อันสิ่งที่เที่ยงซึ่ง
สัตว์ประสงค์อยู่นักนั้น  สัตว์ทั้งหลายจะพึงได้ในสังขารนี้แต่ไหนเล่า
สิ่งใดเกิดมาเป็นมาอันปัจจัยแต่งขึ้น  มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดา
อันจะร่ำร้องปรารถนาทะยานไปว่า  ขอสิ่งนั้นอย่าฉิบหายเลย  ดังนี้  นี่ไม่
เป็นฐานะที่จะให้ได้ดังใจประสงค์
        "ดูก่อนอานนท์  ก็สิ่งใดแล  พระตถาคตให้สละแล้ว  คายแล้ว

๑.  ในบาลี  เป็น  สารันททเจดีย์.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 10
ปล่อยเสียแล้ว  ละเสียแล้ว  วางเสียแล้ว  อันพระตถาคตจะคืนกลับ
มายังสิ่งนั้นเพราะเหตุแห่งชีวิต  ดังนี้  ไม่เป็นฐานะที่ตั้งจะมีได้." 
                         ประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์
                                 [เสด็จป่ามหาวัน]
        เมื่อพระผู้มีพระภาค   ตรัสแก่พระอานนท์ฉะนั้นแล้ว   จึงเสด็จ
พุทธดำเนินยังกูฏาคารศาลาป่ามหาวัน  ดำรัสสั่งให้พระอานนท์ให้หา
ภิกษุทั้งหลาย  บรรดาที่อาศัยเมืองเวสาลีอยู่มาประชุม ณ  อุปัฏฐาน-
ศาลาโรงฉันพร้อมแล้ว   พระองค์ก็เสด็จพุทธดำเนินไปประทับนั่ง 
ณ  พุทธอาสน์แล้ว  ตรัสประทานโอวาทสอนภิกษุสงฆ์ด้วยอภิญญา-
เทสิตธรรมว่า  "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เหตุใด  ท่านทั้งหลาย  มีความ
ปรารถนานักจะให้เราตั้งอยู่นาน  เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชน
เป็นอันมาก  เหตุดังนั้น  ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  เราได้เทศนาแสดงไว้
ด้วยปัญญาอันยิ่ง  แสดงไว้เพื่อจะตรัสรู้เฉพาะหน้า  ล่วงโลกิยญาณ
บรรลุโลกุตตรปัญญา  ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น  ท่านทั้งหลายพึงเรียน
ให้ดีให้สำเร็จประโยชน์  โดยเอื้อเฟื้อเคารพตามจริง  และพึงส้องเสพ
เจริญทำให้มากในสันดาน  อันนั้นก็จะพึงให้พรหมจรรย์ตั้งอยู่ได้นาน
ไม่เสื่อมสุญ  อันนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชน
เป็นอันมาก  เพื่อจะอนุเคราะห์ซึ่งสัตว์โลก   เพื่อประโยชน์  เพื่อเกื้อ
กูล  เพื่อความสุกแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย  ธรรมทั้งหลายที่เรา


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 11
แสดงด้วยปัญญายิ่งนั้นเหล่าใดเล่า  คือ  สติปัฏฐาน  ๔  สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท  ๔  อินทรีย์  ๕  พละ  ๕  โพชฌงค์  ๗  มรรคมีองค์อวัยวะ  ๘ 
ประการเหล่านี้  ชื่ออภิญญาเทสิตธรรม  ท่านทั้งหลายพึงเรียนให้ดี
และส้องเสพเจริญทำให้มากในสันดานเถิด.  พระตถาคตพุทธเจ้าจะพึง
ทรงอยู่เพื่อประโยชน์ใด  ประโยชน์นั้น  จักสำเร็จได้แก่ประชุมชน
เป็นอันมาก  ทั้งเทพดามนุษย์ทั้งหลาย."
        ลำดับนั้น  สมเด็จพระผู้มีพระภาค  ทรงสั่งสอนในสังเวคกถา
และอัปปมาทธรรม  ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า  "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้  เราเตือนท่านทั้งหลายให้รู้  สังขารคือธรรมที่ปัจจัยแต่งขึ้น
ทั้งหลาย  มีความเสื่อมเป็นธรรมดา   ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อมบริบูรณ์ด้วยไม่ประมาทเถิด.   ความที่แห่ง
พระตถาคตจะปรินิพพานจักมีไม่ช้า  โดยกาลที่ล่วง  ๓  เดือนแต่นี้ไป
พระตถาคตจักปรินิพพาน  ชนทั้งหลายเหล่าใด  ทั้งที่เป็นคนหนุ่ม  ทั้ง
ที่เป็นคนแก่  ทั้งที่เป็นพาล   ทั้งที่เป็นบัณฑิต  ทั้งคนมั่งคั่งและคนจน
ยากไร้  ชนทั้งปวงนั้น  ล้วนมีความตายเป็นที่ไปในเบื้องหน้า  ภาชนะ
ดินที่นายช่างหม้อกระทำแล้ว  ทั้งเล็กทั้งใหญ่ทั้งสุกและดิบก็ดี  บรรดา
ภาชนะกินทั้งปวงไม่ว่าขนาดไหน  ล้วนมีความแตกทำลายเป็นที่สุด
ฉันใด  ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็มีความแตกทำลายประลัยพินาศเป็น
ที่สุดฉันนั้น.  วัยแห่งเราแก่รอบแล้ว  ชีวิตแห่งเราน้อยแล้ว  เราจัก
ละเสียซึ่งท่านทั้งหลายไป  ที่พึ่งอันเราได้ทำแล้วแก่ตน.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 12
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาท  มีสติ
มีศีลเป็นอันดีเถิด  จงมีความดำริมั่นดี  จงตามรักษาซึ่งจิตตน 
บุคคลผู้ใด  จักเป็นผู้ไม่ประมาท  อยู่  ณ  ธรรมวินัยนี้  บุคคลผู้นั้นจักละ
เสียซึ่งชาติสงสาร  คือความท่องเที่ยวไปด้วยความเกิด  จักทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้.  สมเด็จพระสุคตบรมโลกนาถ  ประกอบสาวกในความ
สังเวชและความไม่ประมาท  ด้วยประการฉะนี้.
        ครั้งนั้น  เวลาเช้าเป็นภิกษาจารกาล  สมเด็จพระผู้มีพระภาค
ทรงนุ่งห่มแล้ว  ถือเอาบาตรและจีวรแล้ว  เสด็จเข้าไปยังเมืองเวสาลี
เพื่อบิณฑาหาร.  ครั้นปัจฉาภัตร  พระองค์กลับจากบิณฑบาตแล้ว
ทอดพระเนตรเมืองเวสาลีเป็นนาคาวโลก   เสด็จกลับเยื้องพระกายมา
ทั้งพระองค์  เป็นมหาปุริสอาการ  ตรัสเรียกพระอานนท์ว่า  "ดูก่อน
อานนท์  พระตถาคตเห็นเมืองไพสาลี  ครั้งนี้  จักเป็นปัจฉิมทัสสนะ
เห็นเป็นที่สุดเป็นคราวภายหลังแล้วดูก่อนอานนท์  เรามาไปพร้อมกัน
จะไปบ้านภัณฑุคาม."
                                  [เสด็จบ้านภัณฑุคาม]
        สมเด็จพระผู้มีพระภาค  พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์พุทธบริวารเป็น
อันมาก   เสด็จพุทธดำเนินบรรลุถึงบ้านภัณฑุคามแล้ว  เสด็จประทับ
อยู่  ณ  บ้านภัณฑุคามนั้น  ตรัสเทศนาแสดงศีล  สมาธิ ปัญญา  วิมุตติ
เป็นอริยธรรม  ๔  ประการว่า

๑.  มองอย่างช้างเหลียวหลัง.



นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 13
        "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เพราะอาศัยความไม่ตามตรัสรู้  ไม่แทง
ตลอดซึ่งธรรม  ๔  ประการ  คือ  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  วิมุตติ   ที่เป็นอริย-  
ธรรมนี้แลเป็นเหตุ  เราผู้พระศาสดาและท่านทั้งหลายผู้สาวก  จึงได้
ท่องเที่ยวด้วยภพกำเนิดคติ  สิ้นกาลนานนักอย่างนี้.  โมหะ ความ
หลง  ความมืด  ที่ปกปิดไม่ให้เกิดปัญญาตรัสรู้ธรรมทั้ง ๔  นี้  เป็น
เหตุนำให้เสวยสังสารทุกข์อันวิจิตรเป็นอเนกประการ.
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  บัดนี้  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  วิมุตติ  ซึ่ง
เป็นอริยธรรมนั้น  เราและท่านทั้งหลายได้ตามตรัสรู้แล้ว  ได้แทง
ตลอดแล้ว  ตัณหาอันเป็นเหตุจะให้เกิดในภพ  เราและท่านทั้งหลาย
ได้ตัดขึ้นเสียแล้ว  ตัณหาเป็นเครื่องนำไปในภพดั่งเชือกผูกอยู่ในเท้า
แห่งกาสิ้นแล้ว  ไม่สามารถจะทำภพอันใดอันหนึ่งได้  บัดนี้ความเกิดอีก
แห่งเราก็ดี  แห่งท่านทั้งหลายก็ดี  บ่มิได้มี."
        ก็แลเมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาค  เสด็จอยู่  ณ  บ้านภัณฑุคาม
นั้น  พระองค์ตรัสธรรมีกถาแสดงไตรสิกขา  คือ  ศีล  สมาธิ  ปัญญา
สั่งสอนภิกษุทั้งหลายมากกว่าธรรมีกถาอื่น  แล้วแสดงอานิสงส์ว่า
"ศีลเป็นที่ตั้งอันใหญ่แห่งคุณพิเศษเบื้องบน  ประหนึ่งแผ่นดินเป็นที่
อาศัยทำกิจการ  ที่จะพึงทำด้วยเรี่ยวแรงฉะนั้น  ศีลเมื่อบริบูรณ์ด้วยดี
อบรมสมาธิแล้ว  สมาธิก็มีผลมีอานิสงส์ใหญ่ยิ่ง  เมื่อสมาธิได้อบรม
ปัญญาเล่า  ปัญญาก็มีผลใหญ่หลวง  เมื่อปัญญาอบรมจิตแล้ว
จิตก็มีวิมุตติหลุดถอนพ้นพิเศษจากอาสวะทั้งหลายที่ดองสันดาน  คือ



นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 14
กามาสวะ  ภวาสวะ  อวิชชาสวะ  ให้สรรพอาสวะทั้งปวงปราศไป 
เป็นนิรินธนพินาศ.  สิกขาทั้ง  ๓  เป็นปฏิปทาทางแห่งวิมุตติ  ๆ เป็น 
แก่นแห่งพระธรรมวินัย  สาวกจะบรรลุวิมุตตินั้นได้  ก็ด้วยทำให้
บริบูรณ์ในไตรสิกขานั้น."
                                   [เสด็จโภคนคร]
        ครั้งนั้น  สมเด็จพระผู้มีพระภาค  เสด็จทำสัตตุปการกิจ  ประทับ
ณ  บ้านภัณฑุคาม ตามพุทธอัธยาศัยแล้ว  ก็เสด็จพุทธดำเนินไปยังบ้าน
หัตถีคาม และบ้านอัมพคามและชัมพุคาม  ล่วงไปตามลำดับ  เสด็จ
จากบ้านชัมพุคามไปยังโภคนคร   เสด็จประทับอยู่  ณ  อานันทเจดีย์ใน
เขตโภคนครนั้น  ตรัสเทศนามหาปเทส  ๔  ฝ่ายพระสูตร  สอนภิกษุ
บริษัท  เพื่อจะเป็นเครื่องกำหนดรู้ซึ่งภาษานั้น  ๆ ว่า  เป็นธรรม  เป็น
วินัย  เป็นสัตถุศาสนา  และมิใช่ธรรม  มิใช่วินัย  มิใช่สัตถุศาสนา.
        ความในสุตตันติกมหาปเทสทั้ง  ๔  นั้นว่า  "ถ้าจะมีภิกษุมาอ้าง
พระศาสดาก็ดี  อ้างสงฆ์  อ้างคณะ  อ้างบุคคลก็ดี  แล้วแสดงว่า  'นี้
เป็นธรรมเป็นวินัย  เป็นสัตถุศาสนาดั่งนี้  แก่ผู้ใด  เธอผู้ได้ฟัง  อย่า
พึงรีบยินดีรับภาษิตของผู้มาอ้างนั้น  และอย่าพึงห้ามภาษิตนั้นก่อน
ให้พึงเรียนบทพยัญชนะให้แน่นอนแล้ว  พึงสอบในสูตร  พึงเทียบได้
กันในวินัย.  ถ้าภาษิตนั้นไม่สอบในสูตร  ไม่เทียบได้กันในวินัยแล้วไซร้พึง
เข้าใจว่ามิใช่คำของพระผู้มีพระภาค  เธอผู้นี้รับมาผิด  จำมาเคลื่อน
คลาดแน่แล้ว.  ต่อเมื่อใดมาสอบในสูตรและเทียบในวินัยก็ได้กัน  ไม่


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 15
ผิดไม่เคลื่อนคลาด  เมื่อนั้น  พึงลงความสันนิษฐานว่า  นี้คำของพระผู้
มีพระภาคแน่แล้ว  เธอผู้นี้รับมาด้วยดีไม่วิปริต  อันนี้ความย่อใน
มหาปเทส  ที่อ้างใหญ่  ๔  อย่างฝ่ายพระสูตร.   และเมื่อสมเด็จพระผู้มีพระ
ภาคเสด็จอยู่  ณ  อานันทเจดีย์นั้น  ก็ได้ตรัสธรรมีกถาแสดงไตรสิกขา
โดยนัยหนหลังเป็นพาหุลลกถามากกว่าธรรมมีกถาอื่น  ตามสมควรแก่
เวไนยสัตว์และกาลสมัย. 
                         นายจุนทะ   ถวายปัจฉิมบิณฑบาต
                                        เสด็จปาวานคร
        เมื่อพระองค์เสด็จอยู่  ณ  โภคนคร  สำราญพุทธอัธยาศัย  กาล
เดือน  วัน  ก็ล่วงไป ๆ  ใกล้ถึงกำหนดซึ่งนิยมไว้เมื่อปลงอายุสังขารว่า
ล่วงแต่นี้ไป ๓  เดือนนั้น  สมเด็จพระโลกนาถ  พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
พุทธบริวารเป็นอันมาก  เสด็จพระพุทธดำเนินถึงเมืองปาวานคร  เสด็จ
ประทับอยู่  ณ  อันพวันป่าไม้มะม่วงแห่งนายจุนทะ  ผู้บุตรแห่งนายช่าง
ทอง.   ฝ่ายนายจุนทกัมมารบุตร   ได้ยินข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
มาถึงเมืองปาวาแล้ว  บัดนี้เสด็จอยู่ ณ  ป่าไม้มะม่วงแห่งเรา  จึงไปยัง
ที่เฝ้า  ถวายอภิวาทบังคมพระโลกนาถแล้วนั่ง ณ  ที่ควร  สมเด็จพระผู้มี-
พระภาคเจ้า  ตรัสธรรมมีกถาให้นายจุนทกัมมารบุตรเห็นในทางกรรม
และวิบาก  ให้ถือเอามั่นซึ่งกุศลจริยา  ให้กล้าหาญรื่นเริง  ในธรรม-
จริยาสัมมาปฏิบัติแล้ว   นายจุนทกัมมารบุตรกราบทูลเชิญเสด็จ   เพื่อ


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 16
จะรับภัตตาหาร  ณ  วันพรุ่งนี้ว่า  "ขอพระผู้มีพระภาคเจ้ากับภิกษุสงฆ์
จงทรงรับภัตตาหารของข้าพระองค์เพื่อเสวย ณ  วันพรุ่งนี้"   สมเด็จ 
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์  ด้วยทรงนิ่งอยู่ตามธรรมเนียมบรรพชิต
นายจุนทกัมมารบุตร  ทราบว่าทรงรับแล้ว  ลุกจากอาสน์ถวายอภิวาท
บังคมทำประทักษิณแล้วหลีกไป.
        แลวันที่นายจุนทกัมมารบุตร  เชิญเสด็จพระโลกนาถนั้น  เป็น
วันหน้าแห่งวันที่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน  วันรุ่งขึ้นที่นายจุนทะได้
ถวายภัตตาหาร   ปัจฉิมบิณฑบาตทานนั้น  เป็นวันพระองค์ดับขันธ-
ปรินิพพาน  ซึ่งพระอรรถกถาจริยเจ้านิยมไว้ว่า  เป็นมหามงคลสมัย
วิสาขปุรณมีดิถีเพ็ญพระจันทร์เสวยวิศาขนักษัตร  ให้บัณฑิตพึง
สันนิษฐานในอภิลักขิตสมัย  ด้วยประการฉะนั้น.
        ครั้งนั้น  นายจุนทกัมมารบุตร  โดยล่วงราตรีนั้นแล้ว  ให้ตก
แต่งขาทนียะของควรเคี้ยว  และโภชนียะของควรบริโภคอันประณีต
และมังสะสุกอ่อนเป็นอันมาก  ณ  เคหสถานของตนเสร็จแล้ว  จึงให้
บุรุษไปกราบทูลภัตตกาล  แต่สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคว่า  "บัดนี้เป็น
กาลควรที่เสด็จพุทธดำเนิน  ภัตตาหารเสร็จแล้ว."   ลำดับนั้น  เวลาเช้า
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า  ทรงบาตรจีวรตามสมณวัตร  พร้อมด้วย

๑.  คำบาลีว่า  "สูกรมทฺทว"  อรรถกถาแก้ว่า  มังสะสุกรอ่อนหรือวิธีปรุงอาหารหรือ
ชื่ออาหาร  ไม่แน่   แต่ชาวลังกาเรียกเห็ดว่า  "สุกรมตัว"  เพราะฉะนั้น  น่าจะเป็น
เห็ดชนิดหนึ่ง  เช่น  เห็ดหมูอ่อนในเมืองไทยกระมัง ?


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 17
ภิกษุสงฆ์พุทธบริษัทเป็นอันมาก  เสด็จจากอัมพวันถึงเคหสถานแห่ง  
นายจุนทกัมมารบุตร  เสด็จนั่ง  ณ  พุทธอาสน์แล้ว  พระองค์ผู้ทรง
พระอนาวรณญาณ  ตรัสเรียกนายจุนทกัมมารบุตรว่า  "ดูก่อนจุนทะ
มังสะสุกรอ่อนอันใด   ท่านได้ตกแต่งไว้เป็นไทยธรรมบิณฑบาตทาน
ท่านจงอังคาสซึ่งเราด้วยมังสะสุกรอ่อนนั้น  เบื้องว่าขาทนียะโภชนียะ
สิ่งอื่นอันใด   อันได้ตกแต่งไว้เป็นวัตถุแห่งบิณฑบาตทาน  ท่านจง
อังคาสภิกษุสงฆ์ด้วยขัชชะโภชชาหารสิ่งนั้นเถิด."   นายจุนทะรับพุทธ-
พจน์บัญชาแล้ว   ก็ถวายมังสะสุกรอ่อนในพระผู้มีพระภาคพระองค์
เดียว  อังคาสภิกษุสงฆ์ด้วยขัชชะโภชชาหารอื่น ๆ  โดยนัยนั้น.  ครั้น
เสร็จภัตกิจแล้ว  พระโลกนาถตรัสเรียกนายจุนทะให้นำเอามังสะ
สุกรอ่อนที่เหลืออยู่นั้นไปฝังเสียในบ่อ   เพราะเหตุผู้อื่นนอกจากพระ
ตถาคตเจ้าแล้วไม่ควรที่จะบริโภคแล้วให้ย่อยไปได้  แล้วพระองค์ทรง
แสดงธรรมีกถาให้นายจุนทกัมมารบุตรชื่นชมในกุศลบุญจริยา  แล้ว
เสด็จพุทธดำเนินไปกับภิกษุสงฆ์พุทธบริวาร.
                                     ทรงพระประชวร
                                   [เสด็จเมืองกุสินารา]
        เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า  ทรงบริโภคภัตตาหารของนายจุนทะ
แล้ว  ก็เกิดอาพาธกล้า  ทรงพระประชวรลงพระโลหิต  เกิดเวทนากล้า
นักใกล้แต่มรณทุกข์  พระองค์มีพระสติสัมปชัญญะไม่ทรงทุรนทุราย


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 18
ทรงอดกลั้นซึ่งทุกขเวทนานั้นด้วยอธิวาสนขันตี.  ครั้งนั้น  ดำรัสเรียก
พระอานนท์ว่า  "ดูก่อนอานนท์  เรามาไปพร้อมกัน  จักไปเมือง
กุสินารา."   พระอานนท์รับพุทธาณัตติพจน์แล้ว  บอกแก่ภิกษุสงฆ์ให้
ทราบทั่วกันเสร็จแล้ว  สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จโดยมรรควิถี
ที่สัญจรไปยังกุสินรานคร.  มากลางมรรคาทรงลำบากพระกายนัก
เสด็จแวะลงจากหนทาง  เข้าประทับร่มพฤกษาตำบลหนึ่ง   ดำรัสสั่ง
พระอานนท์ว่า  "ดูก่อนอานนท์  เร็วเถิด  ท่านจงปูลาดผ้าสังฆาฏิพับ
ให้เป็น  ๔  ชั้นแก่เรา  เราเหน็ดเหนื่อยนัก  จักนั่งพักระงับความลำบาก
กาย."   พระอานนท์ปูผ้าสังฆาฏิถวาย  พระองค์เสด็จนั่งแล้วตรัสเรียก
พระอานนท์ว่า  "ดูก่อนอานนท์  ท่านจงนำน้ำฉันมาให้เรา  เราจักดื่ม
ระงับความระหายให้สงบ."  พระอานนท์กราบทูลว่า "ข้าแต่พระผู้มี-
พระภาค   เกวียนประมาณ  ๕๐๐  เล่ม  เพิ่งข้ามแม่น้ำผ่านไป  น้ำ
ณ  แม่น้ำนี้มีน้อย   ถูกล้อเกวียนบดแล้วขุ่นนัก  ไม่ควรเป็นน้ำฉัน
แม่น้ำกกุธานที  มีน้ำใสน้ำจืดน้ำเย็น  มีท่าอันงามควรรื่นรมย์  อยู่ไม่
ไกลนัก  เชิญเสด็จพระผู้มีพระภาคดำเนินไป  ณ  แม่น้ำกกุธานทีนั้นเถิด
จักได้เสวยและสรงชำระพระกายให้เย็นเป็นสุขสำราญ."  พระโลกนาถ
ก็ตรัสสั่งฉะนั้นถึง  ๓  ครั้ง  พระอานนท์กราบทูลทัดทาน  ๒  ครั้ง  ครั้น
วาระที่  ๓  พระเถรเจ้ามิได้กราบทูลทัดทานประการใด   ด้วยพระเถรเจ้า
มีสติระลึกรู้ว่า  "อันพระตถาคตพุทธเจ้าทั้งหลาย  จะดำรงคงพระ
วาจาด้วยใช่เหตุเป็นไม่มี"   รับสุคตาณัตติพจน์แล้ว  ถือเอาบาตร


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 19
เข้าไปยังแม่น้ำนั้น.  ครั้งนั้น  อำนาจพุทธฤทธานุภาพมาบันดาลให้
ปรากฏน่าพิศวงนัก  เมื่อพระอานนทเถรเจ้าถือบาตรเข้าไปใกล้  หวัง
จะตักอุทกวารีมาถวาย  แม่น้ำนั้นที่ขุ่นด้วยล้อเกวียนอยู่แต่เดิม  ก็ใส
สะอาดไม่ขุ่นมัวเป็นมหัศจรรย์.  พระอานนทเถรเจ้าได้เห็นฉะนั้นแล้ว
ดำริว่า  "ความที่พระตถาคตเจ้ามีฤทธิ์และอานุภาพใหญ่หลวงเป็น
อัศจรรย์  ไม่เคยมีมาขึ้นได้  แม่น้ำนี้ขุ่นนัก  เมื่อเราเข้าไปใกล้
เพื่อจะตัก   น้ำก็ใสไม่ขุ่นมัว"   พระเถรเจ้าตักน้ำฉันด้วยบาตรแล้ว
บันเทิงจิตเข้าไปเฝ้าพระโลกนาถกราบทูลของอัศจรรย์นั้นแล้ว  นำน้ำ
ฉันเข้าไปถวาย  พระองค์เสวยตามพุทธประสงค์แล้ว  เสด็จประทับ  ณ
ร่มพฤกษานั้น.
        ณ  สมัยนั้น  บุตรแห่งมัลลกษัตริยราชหนึ่งชื่อปุกกุสะ เป็น
สาวกของอาฬารดาบส  กาลามโคตร   ออกจากเมืองกุสินาราจะไปยัง
ปาวานคร  เดินมาถึงประเทศนั้น  ได้เห็นสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จนั่ง  ณ  ร่มพฤกษา  จึงเข้าไปเฝ้าถวายอภิวาทบังคมแล้ว  นั่ง  ณ  ที่
ควร  ได้ฟังสันติวิหารธรรมของพระองค์  เกิดเลื่อมใส  น้อมคู่ผ้า
สิงคิวรรณเข้าไปถวายสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า  กราบทูลว่า  "ข้าแต่
พระผู้มีพระภาค  ผ้าเนื้อเกลี้ยงสีดั่งทองสิงคีของข้าพระองค์คู่นี้เป็นคู่
ผ้าพิเศษ  อันข้าพระองค์จะพึงนุ่งห่มเป็นครั้งเป็นคราวเป็นของประณีต
สงวนไว้  ขอสมเด็จพระผู้มีพระภาค  จงอาศัยความอนุเคราะห์
ทรงรับคู่ผ้าสิงคิวรรณนี้ของข้าพระองค์เถิด."  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 20
ว่า  "ถ้าอย่างนั้น  ท่านจงให้เราปกกายด้วยผ้าสิงคิวรรณผืนหนึ่ง  จง  
ให้อานนท์ปกกายด้วยผ้าสิงคิวรรณผืนหนึ่งเถิด."   ปุกกุสมัลลบุตรก็
ถวายเป็นพุทธบริโภคแต่ผืนหนึ่ง  ผืนหนึ่งถวายพระองค์ตามพุทธ-
ประสงค์ฉะนั้นแล้ว.  สมเด็จพระผู้มีพระภาค  ทรงแสงธรรมมีกถาให้
ปุกกุสมัลลบุตรรื่นเริงในกุศลธรรมจริยาตามสมควร  ปุกกุสมัลลบุตร
ถวายอภิวาทบังคมทำประทักษิณ  แล้วหลีกไป.
                   [ผิวกายพระตถาคตผ่องใสยิ่งใน  ๒  กาล]
         เมื่อปุกกุสมัลลบุตรหลีกไปไม่ช้า  พระเถรเจ้าอานนท์น้อมคู่ผ้า
สิงคิวรรณนั้นเข้าไปถึงพระกายแห่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า  พระ
องค์ทรงนุ่งผืนหนึ่งทรงห่มผืนหนึ่ง.  คู่ผ้าสิงควรรณนั้นปรากฏประหนึ่ง
ถ่านปราศจากเปลว  พอพระอานนท์น้อมเข้าไปถึงพระกายแล้ว  พรรณ
แห่งผิวพระกายแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า  ก็บริสุทธ์ผุดผ่อง  พระอานนท-
เถรเจ้ากราบทูลสรรเสริญว่า  "พรรณแห่งพระฉวีแห่งพระตถาคตเจ้า
บริสุทธิ์นัก  เป็นอัศจรรย์."   พระองค์ตรัสว่า  "ดูก่อนอานนท์  พรรณ
แห่งผิวแห่งพระตถาคตบริสุทธ์ผ่องใส   จริงดังอานนท์สรรเสริญ  กาย
แห่งพระตถาคตย่อมบริสุทธ์  พรรณผิวผุดผ่องยิ่งนักใน  ๒  กาล  คือ
ในเวลาราตรีที่จะตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ  และในเวลา
ราตรีที่จะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ  ใน  ๒  กาลนี้  กาย
แห่งพระตถาคตบริสุทธ์ยิ่งนัก  พรรณแห่งผิวผ่องใสโดยพิเศษ  ดูก่อน
อานนท์  ในยามที่สุดแห่งราตรี  ณ  วันนี้แล  ความปรินิพพานแห่งพระ


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 21
ตถาคต  จักมี  ณ  ระหว่างแห่งไม้รังทั้งคู่  ณ  สาลวันแห่งมัลลกษัตริย์
ทั้งหลาย   เป็นที่แวะเวียนไป  ณ  เมืองกุสินาราดูก่อนอานนท์   เรามา  
พร้อมกันไปยังแม่น้ำกกุธานที."    พระอานนท์รับพุทธาณัติแล้วบอก
ภิกษุสงฆ์ให้ทราบ.
        ลำดับนั้น  สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า  พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์พุทธ-
บริวารเป็นอันมาก  เสด็จพุทธดำเนินไปถึงแม่น้ำกกุธานที  เสด็จ
ลงสรงเสวยสำราญพระพุทธอัธยาศัย  เสด็จขึ้นจากแม่น้ำกกุธานทีแล้ว
เสด็จไปประทับอันพวัน  ตรัสเรียกพระจุนทกเถระให้ปูลาดผ้าสังฆาฏิ
ให้เป็น  ๔  ชั้นถวาย  พระองค์สำเร็จสีหไสยา  โดยข้างเบื้องขวา  ตั้ง
พระบาทให้เหลื่อมกัน  มีสติสัมปชัญญะ  ทำในพระหฤทัยซึ่งอุกฐาน-
สัญญา  ความสำคัญในที่จะลุกขึ้น.  พระจุนทกเถรเจ้านั่งเฝ้าอยู่  ณ  ที่
เฉพาะพระพักตร์  ณ  ที่เสด็จสำเร็จสีหไสยานั้น.
                      [บิณฑบาตทาน  ๒  คราวมีผลเสมอกัน]
        ลำดับนั้น  สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า  ผู้ถึงแล้วซึ่งพิเศษใน
ฐานาฐานญาณ  ตรัสเรียกพระอานนท์ว่า  "ดูก่อนอานนท์  ข้อนี้
จะพึงมีบ้าง  ใคร ๆ  ผู้หนึ่งจะทำวิปฏิสาร   ความเดือดร้อน   ให้เกิดขึ้น
แก่นายจุนทกัมมารบุตรว่า  'ดูก่อนนายจุนทะ  ไม่เป็นลาภของท่าน
ท่านได้ไม่ดีแล้ว  พระตถาคตเจ้าได้บริโภคซึ่งบิณฑบาตของท่านเป็น

๑.  สาละ  ไม่มีใบใหญ่หนา  ดอกเป็นช่อคล้ายดอกสารภี  แต่โตกว่านั้น.  เดิมท่านแปล
กันว่าไม้รัง  แต่ความจริงไม้สาละไม่ใช่ไม้รังและไม่มีในเมืองไทย  จึงเรียกทับศัพท์.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 22
ครั้งที่สุดแล้ว  เสด็จปรินิพพาน'    ดังนี้  ดูก่อนอานนท์  ความวิปฏิสาร
เดือดร้อนของนายจุนทกัมมารบุตรนั้น   ท่านทั้งหลายพึงระงับเสียให้ 
สงบด้วยปลอบให้เบาใจดังนี้ว่า  'ดูก่อนนายจุนทะ  เป็นลาภมากของ
ท่าน  ท่านได้ดีแล้ว  พระตถาคตเจ้าได้บริโภคซึ่งบิณฑบาตของท่าน
เป็นครั้งที่สุด  แล้วปรินิพพานดูก่อนนายจุนทะ  ข้อนี้เราได้ฟังมา
ได้รับมาแล้ว  ณ  ที่เฉพาะพระพักตร์แห่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคว่า
'บิณฑบาต  ๒  อย่างนี้  มีผลเสมอ ๆ  กัน  มีวิบากเสมอ ๆ  กัน  มีผล
ใหญ่  มีอานิสงส์ใหญ่กว่าบิณฑบาตทั้งหลายอื่น  พระตถาคตเจ้า
บริโภคบิณฑบาตอันใดแล้ว  ตรัสรู้ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ  อันนี้
บิณฑบาต  ๑  พระตถาคตเจ้าบริโภคซึ่งบิณฑบาตอันใดแล้ว  ปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ  อันนี้บิณฑบาต  ๑  บิณฑบาตทั้ง  ๒  นี้
มีผลมีวิบากเท่ากัน  มีผลใหญ่  มีอานิสงส์ใหญ่กว่าบิณฑบาตทั้งหลาย
อื่น.  กรรมที่ให้อายุและวรรณะ  สุข  ยศ  สวรรค์และความเป็นอธิบดี
เป็นไป  อันนายจุนทะได้สั่งสมก่อสร้างแล้วดูก่อนอานนท์ ความ
วิปฏิสารเดือดร้อนของนายจุนทกัมมารบุตร  ท่านทั้งหลายพึงระงับเสีย
ให้สงบด้วยตถาคตภาษิต"  ดังนี้เถิด.
                                  ประทมอนุฏฐานไสยา
        ครั้งนั้น  สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า  พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็น
อันมาก  เสด็จพุทธดำเนินไป  ข้ามแม่น้ำหิรัญญวดี  ถึงเมืองกุสินารา


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 23
แล้ว  บรรลุถึงสาลวันอันเป็นที่แวะพักแล้ว  ตรัสสั่งพระอานนท์ว่า  "ดู
ก่อนอานนท์  ท่านจงแต่งตั้งปูลาดซึ่งเตียงให้มีเบื้องศีรษะ  ณ  ทิศอุดร
ณ  ระหว่างแห่งไม้รังทั้งคู่  เราเป็นผู้เหน็ดเหนื่อยนัก  จักนอนระงับความ
ลำบาก."   พระอานนทเถรเจ้ารับพุทธาณัติโดยเคารพแล้ว  ก็แต่ง
ตั้งปุลาดซึ่งเตียงพระแท่นปรินิพพานไสยา  ณ  ระหว่างแห่งสาลพฤกษ์
ทั้งคู่  ผันที่สูงเบื้องพระเศียร   ณ  ทิศอุดร.  สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงสำเร็จซึ่งสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวา  ตั้งพระบาทเลื่อมด้วยพระ
บาท  มีสติสัมปชัญญะ  แต่มิได้มีอุฏฐานสัญญามนสิการ  เพราะเหตุ
เป็นไสยาอวสาน  เรียกว่าอนุฏฐานไสยา.
                                  ทรงปรารภสักการบูชา
                      [ทรงประกอบพุทธบริษัทในสัมมาปฏิบัติ]
        สมัยนี้  ต้นรังทั้งคู่ก็เผล็ดดอกในอันมิใช่ฤดูกาล  เบิกบานโดยรอบ
พฤกษมณฑล  ตั้งแต่มูลรากเบื้องต้นตลอดยอด  ก็ดาดาษด้วย
ดอกเป็นอันเดียว  ล้วนเบิกบาน  ควรเป็นอัศจรรย์  และดอกสาลพฤกษ์
ทั้งหลายนั้น  หล่นลงยังพระสรีระ  เพื่อจะบูชาพระตถาคตเจ้า.  ทั้งดอก
มณฑารพเป็นของทิพย์มีในเมืองสวรรค์  และจุรณ์แห่งจันทน์
สุคนธชาติของทิพย์  ก็ตกลงจากอากาศ  ยังสรีระแห่งพระตถาคตเจ้า
ทั้งดนตรีทิพย์เทพเจ้าก็บันลือประโคมในอากาศ  ทั้งสังคีตเสียงขับ
ของทิพย์ก็เป็นไปในอากาศ  เป็นมหานฤนาทโกลาหล  เพื่อจะบูชา


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 24
สมเด็จพระตถาคตทศพลในอวสานกาล.  ลำดับนั้น  สมเด็จพระผู้มีพระ
ภาคผู้วิเศษในทิพยจักษุ  ทิพยโสตญาณ  ตรัสเรียกพระอานนท์  ทรง 
แสดงทิพยบูชาสักการะพิเศษแก่พระอานนท์แล้ว  จะทรงแสดงซึ่งความ
ที่รพระตถาคตเจ้าไม่เป็นอันบริษัทสักการบูชา  ด้วยอามิสแม้มากเพียง
เท่านั้น  ตรัสแก่พระอานนท์ว่า  "ดูก่อนอานนท์  พระตถาคตเจ้าไม่เป็น
ผันบริษัทสักการะนบนอบนับถือบูชาคำนับ  ด้วยสักการะพิเศษเพียง
เท่านี้ดูก่อนอานนท์   ภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  อุบาสิกาก็ดี  ผู้ใดแล
มาเป็นผู้ปฏิบัติซึ่งธรรมสมควรแก่ธรรม  ปฏิบัติชอบยิ่ง  ประพฤติธรรม
สมควรไซร้  ผู้นั้นมาสักการะเคารพนอบนบนับถือซึ่งพระตถาคตเจ้า
ด้วยบูชาอย่างยิ่ง.  ดูก่อนอานนท์  เพราะเหตุนั้น  ในการที่สักการบูชา
พระตถาคตเจ้านี้   ท่านทั้งหลายผู้สาวกพึงสำเหนียกตนว่า  'เราทั้ง
หลายจักเป็นผู้ปฏิบัติสมควรแก่ธรรม  ปฏิบัติชอบยิ่ง  ปฏิบัติสมควร
ดังนี้  ดูก่อนอานนท์  ท่านทั้งหลาย  พึงศึกษาสำเหนียกอย่างนี้เถิด
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ผู้เป็นธรรมิศราธิบดี  ทรงประกอบสาวก
พุทธบริษัทในธรรมานุธรรมปฏิบัติ  ซึ่งพระองค์ประสงค์และสามารถ
จะให้ศาสนาสถาพรดำรงอยู่ได้  ด้วยประการฉะนี้.
                         ทรงแสดงความเป็นไปแห่งเทวดา
        สมัยนั้น  พระผู้เป็นเจ้า  อุปวาณะ ผู้มีอายุ  ยืนถวายอยู่งานพัด
อยู่  ณ  ที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค  พระองค์มาขับพระผู้เป็นเจ้า


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 25
อุปวาณะ  ผู้มีอายุนั้นเสียว่า  "ดูก่อนภิกษุ  ท่านจงหลีกไป  ท่าน  
อย่าได้ยืน  ณ  เบื้องหน้าแห่งเรา."  ครั้งนั้น  พระอานนท์เกิดปริวิตกว่า
"พระอุปวาณะผู้มีอายุองค์นี้  เป็นผู้อุปัฏฐากอยู่ใกล้เคียงสมเด็จพระ
ผู้ทรงพระภาคเจ้ามานานแล้ว  ครั้น  ณ  กาลที่สุด  พระผู้มีพระภาคเจ้า
มาทรงอปสาทะรุกรานให้หลีกไป  ไม่ให้ยืน  ณ  ที่เฉพาะพระพักตร์เล่า
เหตุปัจจัยไฉนหนอ ?   พระอานนท์คิดแล้วจึงกราบทูลถาม.  สมเด็จ
พระผู้มีพระภาคเจ้า  ทรงแสดงเหตุว่า  ดูก่อนอานนท์  เทพดาทั้งหลาย
ในหมื่นโลกธาตุมาประชุมแล้วโดยมาก   เพื่อจะเห็นพระตถาคตเจ้า,
ดูก่อนอานนท์  เมืองกุสินารา  สาลวันแห่งมัลลกษัตริย์ทั้งหลายเพียง
เท่าใด  โดยรอบ  ๑๒ โยชน์เป็นกำหนด  ในที่เพียงเท่านั้น  ประเทศนั้น
สักเท่าที่จดลงแห่งปลายขนทราย  อันเทพดาทั้งหลายผู้มีศักดาใหญ่
ไม่ถูกต้องมิได้มี  ย่อมยัดเยียดเบียดเสียดกันแน่นด้วยเทพดาทั้งหลาย
ผู้มีศักดาใหญ่ทั่วมณฑลสถาน  รอบสาลวโนทยาน  ๑๒  โยชน์ดูก่อน
อานนท์  เทพดาทั้งหลายยกโทษอยู่ว่า  'เราทั้งหลายได้มาแล้วแต่ที่
ไกล  หวังจะเห็นพระตถาคตเจ้า  พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งหลาย  ย่อมบังเกิดขึ้นในโลก  ณ  กาลบางครั้งบางคาบ  ความ
ปรินิพพานแห่งพระตถาคตเจ้า  จักมี  ณ  ยามที่สุดแห่งราตรีวันนี้แน่
ก็แต่ภิกษุศักดาใหญ่องค์นี้มายืนกั้นอยู่  ณ  เบื้องหน้า  แห่งพระผู้มีพระ
ภาค  เราทั้งหลายไม่ได้เพื่อจะเห็นพระตถาคตเจ้า  ในกาลเป็นที่สุด
ภายหลัง  ณ  บัดนี้  เทพดาทั้งหลายมายกโทษอยู่อย่างนี้  เราจึงขับ


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 26
อุปวาณภิกษุเสียจากที่เบื้องหน้า"  ด้วยประการฉะนี้.  
        พระอานนทเถรเจ้ากราบทูลถามประวัติแห่งเทพดาว่า  "ข้าแต่
พระผู้มีพระภาค  ก็เทพดาทั้งหลายเป็นอย่างไร   ทำในจิตไฉนเล่า ?"
มีอยู่  เหล่าเทพดาทั้งหลายมีความสำคัญวิปลาสในอากาศว่าเป็นปฐพี
บางเหล่าชาวภูมิสถานสำคัญในแผ่นดินว่าแผ่นดิน  ดังนี้   ต่างองค์ก็
สยายผมยกแขนทั้ง  ๒  กลิ้งเกลือกไปมา  ประหนึ่งมีเท้าอันขาด  คร่ำ
ครวญถึงพระตถาคตฉะนี้ว่า  "พระผู้มีพระภาคจักปรินิพพานเร็วนัก
พระสุคตจักปรินิพพานเสียเร็วนัก  ดวงจักษุอันตรธานหายเสียในโลก
เร็วนัก"  ฝ่ายเทพดาทั้งหลายเหล่าใด  มีราคะอันปราศแล้ว คือ
เป็นอนาคามีและอรหันต์  เทพดาเหล่านั้นมีสติสัมปชัญญะอดกลั้นโดย
ธรรมสังเวชว่า  'สังขารธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง  สิ่งที่เที่ยงซึ่งสัตว์
ประสงค์นักนั้น  สัตว์ทั้งหลายจะพึงได้ในสังขารนี้แต่ไหนเล่า ? '  สมเด็จ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงประวัติแห่งเทพเจ้าซึ่งมาประชุม ณ  ครั้งนั้น
แก่พระอานนท์  ด้วยประการฉะนี้.
                         ทรงแสดงสังเวชนียสถาน  ๔  ตำบล
        ครั้งนั้น  พระอานนทเถรเจ้ากราบทูลว่า  "ในกาลก่อน  ภิกษุ
ทั้งหลายที่จำพรรษาอยู่ในทิศต่าง ๆ  สิ่งไตยมาสตามวินัยนิยมแล้ว

๑.  บาลีเดิมก็เป็นเช่นนี้  น่าจะเห็นว่าคำพลาด  ควรจะเป็น  "วาอากาศ"  จะได้กลับกัน
กับความข้างต้น  ว. ว.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 27
ย่อมมาเฝ้าพระตถาคตเจ้าโดยอาจิณณวัตร  ข้าพระองค์ทั้งหลายได้
เพื่อจะเห็นและเข้าไปใกล้ซึ่งภิกษุทั้งหลายอันให้เจริญจิต.     ก็ด้วย 
ล่วงไปแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว   ข้าพระองค์ทั้งหลายจักไม่ได้เห็น
จักไม่ได้เข้านั่งใกล้สากัจฉากับภิกษุทั้งหลายที่ให้เจริญจิต  เหมือน
เมื่อพระองค์ยังดำรงพระชนม์อยู่นั้นแล้ว."   เมื่อพระอานนท์กราบทูล
ดังนี้แล้ว  พระโลกนาถทรงแสดงสถาน  ๔  ตำบล  ว่าเป็นที่ควรจะดู
ควรจะเห็น  ควรให้เกิดสังเวชแห่งกุลบุตรผู้มีศรัทธา  คือสถานที่พระ
ตถาคตเจ้าบังเกิดแล้ว  คือประสูติจากพระครรภ์ตำบล  ๑    สถานที่
พระตถาคตเจ้าตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณตำบล ๑ สถานที่
พระตถาคตเจ้าให้พระอนุตตรธรรมจักรเป็นไปตำบล  ๑  สถานที่พระ
ตถาคตเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุตำบล  ๑
สถานทั้ง  ๔  ตำบลนี้  เป็นที่ควรจะเห็น  ควรจะดู   และควรให้เกิดความ
สังเวชของกุลบุตรผู้มีศรัทธาภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  อุบาสิกา  ผู้มี
ศรัทธาจักมายังสถาน  ๔  ตำบลนั้น  ด้วยมีความเชื่อว่า  'พระตถาคตเจ้า
บังเกิดแล้ว  ณ  ที่นี้  พระองค์ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว
ณ  ที่นี้  พระองค์ได้ให้พระอนุตตรธรรมจักรเป็นไปแล้ว  ณ  ที่นี้  พระ
องค์เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุแล้ว  ณ  ที่นี้ดูก่อน
อานนท์   ชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งเที่ยวไปยังเจติยจาริกอยู่  จัก
เป็นคนเลื่อมใสทำกาลกิริยาลง   ชนเหล่านั้นจะเข้าถึงซึ่งสุคติโลก
สวรรค์.   สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า  ทรงแสดงสถาน  ๔  ตำบลว่า


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 28
เป็นที่ควรเห็นควรดูควรให้เกิดสังเวชของกุลบุตรผู้มีศรัทธา  ด้วย  
ประการฉะนี้.
              อาการอันภิกษุทั้งหลายจะพึงปฏิบัติในสตรีภาพ
        ลำดับนั้น  พระอานนทเถรเจ้า   ทูลถามด้วยอันจะพึงปฏิบัติใน
สตรีภาพทั้งหลายว่า  "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า  ข้าพระองค์ทั้งหลาย
จะปฏิบัติในมาตุคามเป็นไฉน ?"   "ดูก่อนอานนท์  ความไม่เห็นไม่ดู
เป็นความปฏิบัติในมาตุคาม  คือว่าอย่าเห็นอย่าดูเสียเลย  เป็นความ
ดี."   "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค  เมื่อความเห็นความดูความประสพมีขึ้น
ข้าพระองค์จะพึงปฏิบัติไฉนเล่า  ?"   "ดูก่อนอานนท์  ถ้าเห็นแล้ว  ความ
ไม่เจรจา  เป็นปฏิบัติสมควร."   "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค  เมื่อเจรจาเล่า
ข้าพระองค์จะพึงปฏิบัติไฉน ?"    "ดูก่อนอานนท์  ถ้าประโยชน์ที่จะ
ต้องเจรจา  ด้วยสามารถธรรมีกถาเป็นต้นมีแล้ว   สติความระลึกอัน
ท่านทั้งหลายพึงตั้งไว้ใกล้  ท่านทั้งหลายพึงตั้งสติไว้  อย่าให้แปรปรวน
ด้วยราคะดำฤษณา   และอาการกายวาจาที่ละเมิดจากของสมณะได้."
ทรงสั่งสอนในการที่ภิกษุจะพึงปฏิบัติในสตรีภาพ  ด้วยประการฉะนี้.
                            วิธีปฏิบัติในพระพุทธสรีระ
        ลำดับนั้น   พระอานนทเถรเจ้า  ทูลถามถึงการที่จะพึงปฏิบัติ
ในพระสรีระแห่งพระโลกุตตมาจารย์เจ้าว่า  "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค

๑.  นี้เป็นศัพท์ไทย   แผลงจากคฤษณาในภาษาสันสกฤต  ได้แก่ตัณหา.  ว. ว.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 29
ข้าพระองค์ทั้งหลายจะพึงปฏิบัติในพระสรีระแห่งพระตถาคตเจ้าเป็น  
ไฉน ?"   "ดูก่อนอานนท์  ท่านทั้งหลายเหล่าภิกษุสหธรรมมิกบริษัท  จง
อย่าขวนขวายเพื่อจะบูชาสรีระแห่งพระตถาคตเจ้าเลย  ดูก่อนอานนท์
เราตักเตือนท่านทั้งหลาย  ๆ จงสืบต่ออนุโยคพยายามในประโยชน์ของ
ตนเถิด  จงเป็นผู้ไม่ประมาทในประโยชน์ของตน  เป็นบุคคลมีความ
เพียรเผากิเลสและบาปธรรม  เป็นบุคคลมุ่งต่อที่สุดแห่งพรหมจรรย์อยู่
ทุกอิริยาบถเถิด.  ดูก่อนอานนท์   กษัตริย์พราหมณ์คฤหบดีทั้งหลาย
ผู้บัณฑิตซึ่งได้เลื่อมใสในพระตถาคตเจ้ามีอยู่มาก  บัณฑิตคฤหัสถชน
มีกษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้น   จักทำซึ่งสักกาบูชาพระสรีระแห่งพระ
ตถาคตเจ้า."
        เมื่อพระองค์ตรัสว่า  "การบูชาพระสรีระแห่งพระตถาคตเจ้าเป็น
กิจของคฤหัสถ์มีกษัตริย์เป็นตัน"  ดังนี้แล้ว   ครั้นถึงกาลสมัยเมื่อ
พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว  กษัตริย์  พราหมณ์  คฤหบดี  ผู้
บัณฑิต  จะทำสักกาบูชาพระสรีระให้ต้องตามพุทธาธิบาย  ก็จะพึง
ไต่ถามพระอานนท์อัครพหุสุตพุทธอุปัฏฐาก  เมื่อเป็นดังนั้นแล้วจะอ้าง
เสียว่า  "พระองค์ห้ามว่า  'ไม่ใช่ธุระของสหธรรมิกบรรพชิตเราจึง
ไม่ทูลถาม"  ดังนี้หาสมควรแก่บัณฑิตผู้อยู่ในอำนาจแห่งเหตุไม่  ควร
จะทูลถามไว้เป็นแบบอย่าง  เมื่อกราบทูลถามแล้ว  หากไม่ทรงแสดง
ไซร้  ก็จะได้อ้างตามเหตุเดิมว่าได้ทูลถามแล้ว  พระองค์ไม่ทรงปริยาย
ดังนี้  จึงจะชอบ  จะไม่เกิดครหาแต่ผู้ใดได้เมื่อทูลถามแล้ว  จะทรง
แสดงฉันใด   ก็ควรจำไว้ฉันนั้น  เมื่อบัณฑิตมีกษัตริย์เป็นต้นมา


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 30
ไต่ถาม  จะได้แสดงตามพุทธาธิบาย.  เหตุการณ์ดังนั้น  พระอานนท-
เถระผู้มีคติธิติอันเลิศจึงกราบทูลถามว่า  "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า 
ก็บัณฑิตมีกษัตริย์เป็นต้นเมื่อจะบูชานั้น  จะพึงปฏิบัติในพระสรีระแห่ง
พระตถาคตเจ้าอย่างไรเล่า ?"  "ดูก่อนอานนท์  ชนทั้งหลายย่อมปฏิบัติ
ในสรีระแห่งจักรพรรดิราชเจ้าฉันใด   ผู้จะบูชาพึงปฏิบัติในสรีระแห่ง
พระตถาคตเจ้าฉันนั้นเถิด."   "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า  ชนทั้งหลาย
ปฏิบัติในสรีระของจักรพรรดิราชอย่างไรเล่า ?"   "ดูก่อนอานนท์  ชน
ทั้งหลาย  พันซึ่งสรีระของจักรพรรดิราชด้วยผ้าใหม่  แล้วซับด้วยสำลี
แล้วห่อด้วยผ้าใหม่  โดยอุบายนี้  ห่อด้วยผ้า  ๕๐๐  คู่  แล้วเชิญพระสรีระ
ลงประดิษฐาน  ณ  รางเหล็กอันเต็มด้วยน้ำมัน  แล้วปิดครอบด้วยราง
เหล็กอื่นเป็นฝา  แล้วทำจิตกาธารล้วนแต่ด้วยไม้หอม  แล้วทำฌาปนกิจ
ถวายพระเพลิงพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิราชแล้ว  เชิญพระอัฐิธาตุ
บรรจุทำสตูปไว้  ณ  ที่ประชุมแห่งถนนใหญ่ทั้ง  ๔.  ชนทั้งหลายย่อม
ปฏิบัติในสรีระแห่งพระตถาคตเจ้า  พึงปฏิบัติในพระตถาคตเจ้า  ฉันนั้น
เถิด   พึงทำสตูปแห่งพระตถาคตเจ้าลงไว้  ณ  ที่เป็นที่ปรุชุมแห่งถนน
ใหญ่ทั้ง ๔  เพื่อเป็นที่ไหว้และสักการบูชาแห่งมนุษยนิกร  อันสัญจร
มาแต่  ๔  ทิศ  ให้ได้เกิดความเลื่อมใสแห่งจิตสั่งสมอนุสสตานุตตริย-
กุศลและบูชามัยบุญราศี  ชนทั้งหลายเหล่าใด  จักยกขึ้นซึ่งระเบียบ
ดอกไม้หรือของหอมสุคนธชาติหรือจุรณ์ก็ดี  ณ  สตูปนั้น  หรือจักอภิวาท


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 31
กราบไหว้พระสตูปนั้น  เป็นนิปัจจการ   หรือจักให้จิตเลื่อมใสในพระ 
พุทธคุณ  เพราะเห็นพระสตูปนั้นเป็นที่ตั้งก็ดี  อันนั้นจักเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์  เพื่อความสุข  แก่ชนเหล่านั้น  สิ้นกาลนาน.
                                    ถูปารหบุคคล  ๔
        สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า  ตรัสวิธีปฏิบัติในพระสรีระแห่งพระ
ตถาคตพุทธเจ้าและจักรพรรดิราช  แสดงว่า  ๒  อัจฉริยมนุษย์บุรุษรัตน์
เป็นถูปารหบุคคล  ควรแก่ประดิษฐานสตูป  ดังนี้แล้ว  จึงทรงแสดง
ถูปารหบุคคลทั้ง  ๔  โดยพิสดาร  คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ-
เจ้า  ๑  พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า  ๑  พระสาวกอรหันต์ ๑  พระเจ้าจักร-
พรรดิราช ๑  สี่บุคคลพิเศษนี้  เป็นถูปารหะ   ควรซึ่งสตูปบรรจุ
อัฐิธาตุไว้ให้เป็นที่ไหว้ที่สักการบูชาด้วยเลื่อมใส  ก็สามารถจะเป็น
ชนกปัจจัยนำให้สัตว์เกิดในสุคติโลกสวรรค์  ตามกำลังความเลื่อมใส
แห่งจิต  ซึ่งเป็นไปในสตูปแห่งถูปารหบุคคลทั้ง  ๔  นั้น  สมเด็จพระ
ผู้มีพระภาคเจ้า  ทรงแสดงถูปารหบุคคลทั้ง  ๔  แก่พระอานนทเถรเจ้า
ด้วยประการฉะนี้.
                          ประทานโอวาทแก่พระอานนท์
        ครั้งนั้น  พระอานนท์ผู้มีอายุ  เข้าไปยังวิหาร  เหนี่ยวซึ่งกปิสีสะ

๑.  กปิสีสะ  ไม้ทำเป็นรูปศีรษะลิง   บางมติว่า  กปิลสีสะ  ไม้ทำเป็นศีรษะโค  ซึ่ง
ติดไว้ข้างบานประตูหน้าต่าง  ถือกันว่าเป็นมงคลแก่สถานที่.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 32
คือทัพสัมภาระ  มีสัณฐานคล้ายกับศีรษะพานร   คำบุราณปลงความ  
ว่า  'สลักเพ็ชร'   ยืนร้องไห้อยู่ว่า  เราก็ยังเป็นเสขบุคคล  มีกิจจำจะ
ต้องทำยังไม่สำเร็จ  พระศาสดาพระองค์ใดเป็นผู้อนุเคราะห์ซึ่งเรา  พระ
ศาสดาพระองค์นั้นแห่งเราก็จักปรินิพพานเสียแล้ว."  ครั้งนั้น  สมเด็จ
พระผู้มีพระภาค   ตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลาย  ถามถึงพระอานนท์.  ภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลว่า  "เข้าไปยังวิหารเหนี่ยวสลักเพ็ชรยืนร้องให้อยู่"
จึงดำรัสสั่งให้หาพระอานนท์มายังที่เฝ้า  แล้วจึงตรัสว่า  "ดูก่อน
อานนท์  อย่าเลย   ท่านอย่างเศร้าโศก  อย่าร่ำไร  เราได้บอกแล้วอย่าง
นี้แต่เดิมหาไม่หรือว่า  'ความเป็นต่าง  ๆ ความมีเว้น  ความเป็นอย่าง
อื่นจากสัตว์สังขารที่รักที่เจริญใจทั้งปวงนั้นแล  มิได้ว่างเว้นดูก่อน
อานนท์   สิ่งที่เที่ยงแท้ถาวรซึ่งสัตว์ประสงค์นักนั้น  สัตว์ทั้งหลายจะพึง
ได้ในสังขารนี้แต่ไหน  สิ่งใดเป็นของเกิดของมีขึ้น  อันปัจจัยแต่งขึ้น
มีความฉิบหายเป็นธรรมดา  อันบุคคลผู้ใดจะปรารถนาว่า  'ขอสิ่งนั้น
อย่าฉิบหายเลย'   ดั่งนี้  ฐานะที่ตั้งนั้นไม่มี.  ดูก่อนอานนท์  ท่านได้
อุปัฏฐากพระตถาคต  ด้วยกามกรรม  วจีกรรม  มโนกรรมที่มีเมตตา
ไม่เป็น  ๒  ไม่มีประมาณ  มาสิ่งกาลนานแล้ว  ท่านเป็นบุคคลมีบุญ
ได้ทำแล้ว  ท่านจงประกอบตามซึ่งความเพียรเถิด  ท่านจักเป็นผู้ไม่มี
อาสวะฉับพลัน  คือจักได้เป็นพระอรหันต์โดยเร็ว."  สมเด็จพระผู้มี
พระภาคเจ้า  ผู้ถึงซึ่งวิเศษในพระอตีตานาคตังสญาณได้ตรัสพยากรณ์
พระอานนท์  ด้วยประการฉะนี้.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 33
                             ตรัสสรรเสริญพระอานนท์  
        ลำดับนั้น  สมเด็จพระผู้มีพระภาค  ตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลาย
ทรงแสดงซึ่งความที่แห่งพระอานนท์เป็นพุทธอุปัฏฐากอย่างยิ่งว่า  "ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย  แม้องค์พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายใด
ที่มีแล้วในอดีต   ภิกษุผู้อุปัฏฐากของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งหลายนั้นเป็นอย่างยิ่ง   ประหนึ่งอานนท์ผู้เป็นอุปัฏฐากแห่งเรา
ณ  กาลบัดนี้  แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายใด  จักมีใน
อนาคตเบื้องหน้า  ภิกษุผู้อุปัฏฐากของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นก็เป็น
อย่างยิ่ง  ประหนึ่งอานนท์เป็นอุปัฏฐากแห่งเรา  ณ  กาลบักนี้ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย  อานนท์เป็นบัณฑิต  ดำเนินด้วยปัญญา  ย่อมรู้ว่า 'นี้
เป็นกาลเพื่อบริษัทจะเฝ้าพระตถาคต  นี้เป็นกาลแห่งภิกษุ  นี้เป็นกาล
แห่งภิกษุณี  นี้เป็นกาลแห่งอุบาสก  นี้เป็นกาลแห่งอุบาสิกา  นี้เป็น
กาลของพระราชมหากษัตริย์  นี้เป็นกาลของราชมหาอำมาตย์  นี้เป็น
กาลของเดียรถีย์  นี้เป็นกาลของสาวกเดียรถีย์'   อานนท์ย่อมรู้ซึ่งกาล
ที่บริษัททั้ง  ๔  และพระราชาและชมหาอำมาตย์แลเดียรถีย์และสาวก
เดียรถีย์  จะเฝ้าพระตถาคตที่ถ้วนทุกประการฉะนี้."   แต่นั้น  พระองค์
ทรงแสดงข้ออัศจรรย์  ๔  ประการในพระอานนท์โดยพิสดาร  "เมื่อใด
ภิกษุบริษัท  ภิกษุณีบริษัท  อุบาสกบริษัท  อุบาสิกาบริษัท  เข้าไป
ใกล้เพื่อจะเห็นพระอานนท์  บริษัทนั้นแม้แต่ได้เห็นเธอแล้ว  ก็มีจิต
ยินดี  ถ้าอานนท์แสดงธรรมเล่า  บริษัทนั้นก็มีจิตชื่นชมด้วยภาษิต


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 34
ของอานนท์  ไม่อิ่มไม่เบื่อด้วยธรรมกถาที่อานนท์แสดงนั้นเลย  ครั้น  
อานนท์นิ่งหยุดธรรมกถา  บริษัททั้ง  ๔  ซึ่งได้สดับนั้น  ก็มีจิตยินดี
และไม่อิ่มไม่เบื่อ  ประหนึ่งพระเจ้าจักรพรรดิราช  อันให้เกิดความ
ชื่นชมและไม่อิ่มด้วยภาษิตแก่  กษัตริย์  พราหมณ์  คฤหบดี  สมณ-
บริษัท  ฉะนั้น.
                              ตรัสเรื่องเมืองกุสินารา
        เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า  ตรัสสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า
อานนท์ด้วยประการฉะนี้แล้ว  พระอานนท์ผู้มีอายุ  จึงกราบทูล
อาราธนาจะเชิญเสด็จไปปรินิพพาน  ณ  พระมหานครอื่นว่า "ข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า  อย่าเสด็จปรินิพพาน ณ  เมืองเล็ก  เมืองดอน  กิ่ง
เมื่อที่นี้เลย  พระนครใหญ่ ๆ  ทั้งหลายอื่นมีอยู่หลายตำบล  คือ
เมืองจำปา  เมืองราชคฤห์  เมืองสาวัตถี  เมืองสาเกต  เมืองโกสัมพี
เมืองพาราณสี  ล้วนเป็นพระนครใหญ่  ขอสมเด็จพระผู้มีพระภาค  จง
เสด็จปรินิพพาน  ณ  มหานครเหล่านั้นเถิด  กษัตริย์  พราหมณ์  คฤหบดี
ซึ่งเป็นมหาศาล  ที่เลื่อมใสในพระตถาคตเจ้ามีอยู่มาก  ณ  มหานคร
เหล่านั้น  จักได้ทำซึ่งสักการบูชาพระสรีระแห่งพระตถาคตเจ้า  เป็น
มโหฬารสักการใหญ่ควรแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ซึ่งเป็นอนาคาริก-
ปุริสรัตน์อัจฉริยมนุษย์ในโลก"   สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้าม
พระอานนท์ว่า  "ดูก่อนอานนท์  ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า  'เมือง
กุสินารานี้เป็นเมืองเล็กเมืองดอนเป็นกิ่งนครดังนี้เลย  แต่ปางก่อน


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 35
มีพระเจ้ามหาสุทัศน์จักรพรรดิราช  ผู้เป็นอิสสราธิบดีในปฐพีมณฑล
มีมหาสมุทรทั้ง  ๔  เป็นที่สุดรอบขอบขัณฑรัชชสีมา  พระองค์ชำนะ 
พิเศษซึ่งปัจจามิตรโดยธรรม  ไม่ต้องใช้ทัณฑ์และศัสตรา  พระองค์
ถึงแล้ว  ซึ่งความที่แห่งชนบทตั้งมั่น  อันไพรีมิได้รันทำประทุษร้าย
ให้กำเริบได้  พระองค์พร้อมแล้วด้วยรัตนะของให้เกิดยินดี   คือแก้ว  ๗
ประการ  เมืองกุสินารานี้เป็นราชธานีชื่อกุสาวดี  เป็นที่เสด็จอยู่แห่ง
พระเจ้ามหาสุทัศน์จักรพรรดิราช  เป็นพระนครอันไพศาล  โดยยาว
ด้านบูรพาและปัจฉิมทิศ ๑๒  โยชน์  โดยกว้างด้านอุดรและทักษิณ-
ทิศ ๗ โยชน์  มีกำหนดยาวกว้างโดยประมาณฉะนี้  เมืองกุสาวดี
เป็นราชธานีสมบูรณ์มั่งคั่ง  มีชนมาก  มีมนุษย์นิกรเกลื่อนกล่นคั่ง
มีภิกษุหารแสวงได้ง่ายโดยสะดวกดี  เป็นรมณียสถานที่บันเทิงจิต
ดังอาลกมันทาราชธานีทิพยนคร  ของเทพเจ้า  เหล่าจาตุมหาราชิกนิกาย
ฉะนั้น  กุสาวดีราชธานีนั้น  กึกก้องนฤนาททั้งกลางวันและกลางคืน
ไม่สงบด้วยสำเนียงทั้ง ๑๐  คือ  เสียงคชสาร เสียงอัสสพาชี  เสียงรถ
เสียเภรี   เสียงตะโพน  เสียงพิณ  เสียงขับร้อง  เสียงกังสดาล  เสียง
สังข์  ทั้งสำเนียงประชุมชนเรียกกันบริโภคอาหารเป็นเสียงคำรบ  ๑๐
กุสาวดีราชธานีย่อมกึงก้องสนั่นด้วยเสียงทั้ง  ๑๐  นี้  มิได้สงบเงียบ
ทั้งกลางวันและกลางคืน."

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น