วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

หนังสือพุทธประวัติ เล่ม๓ นักธรรมตรี ๓๖ ถึงหน้าสุดท้าย




นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 36
            ตรัสสั่งให้แจ้งข่าวปรินิพพานแก่พวกมัลลกษัตริย์  
        สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า  ทรงแสดงซึ่งความที่แห่งเมือง
กุสินารา   เป็นราชธานีใหญ่ที่เสด็จอยู่แห่งพระเจ้ามหาสุทัศน์จักร-
พรรดิราช   แต่ในกาลปางก่อนให้พระอานนท์ทราบฉะนี้แล้ว  ดำรัสสั่ง
พระอานนท์ให้เข้าไปบอกมัลลกษัตริย์ให้ทราบว่า  พระตถาคตเจ้าจัก
ปรินิพพาน  ณ  ยามที่สุดแห่งราตรี  ณ  วันนี้  อย่าให้มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย
มีความเดือดร้อน  ณ  ภายหลังว่า  "พระตถาคตเจ้าได้ปรินิพพานแล้ว
ณ  คามเขตของเรา  เราทั้งหลายไม่ได้เห็นพระตถาคตเจ้าในกาลที่สุด"
ดังนี้.  พระอานนทเถรเจ้ารับสุคตาณัติแล้ว  ก็ถือบาตรจีวรเข้าไปยัง
เมืองกุสินารา  พอมัลลกษัตริย์ทั้งหลายมาประชุมอยู่  ณ  สัณฐาคาร-
ศาลาด้วยกิจอันหนึ่ง  พระผู้เป็นเจ้าจึงเข้าไปยังโรงที่ประชุมนั้นแล้ว
แจ้งความว่า  "ดูก่อนวาสิฏฐะ  อุดมโคตรทั้งหลาย  ความปรินิพพาน
แห่งพระตถาคตเจ้า  จักมี ณ  ยามที่สุดแห่งราตรีในวันนี้  ดูก่อนวาสิฏฐะ
ทั้งหลาย  ท่านทั้งหลายจงรีบออกไปเถิด ๆ  อย่างได้มีความเสียใจ
เมื่อภายหลังว่า  'ไม่ได้เฝ้าในกาลที่สุด'   ดังนี้เลย."   เมื่อมัลลกษัตริย์
กับโอรสและสุณิสาและปชาบดี  ได้ฟังคำนี้แห่งพระอานนท์ผู้มีอายุ
แล้ว  ก็ทรงพระกำสรดโสกาดูรเสวยทุกขโทมนัส  สยายผมยกแขน
ทั้ง  ๒  ขึ้นแล้ว  คร่ำครวญล้มกลิ้งเกลือกประหนึ่งมีเท้าอันขาด  ร่ำไร
รำพันถึงสมเด็จนพระโลกนาถว่า  "สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคจักปริ-
นิพพานเสียพลันนัก  พระสุคตเจ้าจักปรินิพพานเสียเร็วนัก  ดวงจักษุ


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 37
จักอันตรธานในโลกเสียฉับพลันนัก."   มัลลกษัตริย์ทั้งหลายก็รำพัน  
ร่ำรักสมเด็จพระทศพลเจ้า  ด้วยประการต่าง  ๆ   พร้อมทั้งโอรสและ
สุณิสาและปชาบดี  เสวยทุกขโทมนัสโสกาดูรอยู่ฉะนั้น  เสด็จไปถึง
สาลวันยังสำนักแห่งพระอานนท์.  พระผู้เป็นเจ้าคิดเห็นว่า  "ถ้าจะให้
มัลลกษัตริย์เรียงองค์เข้าไปถวายบังคมพระผู้มีพระภาคไซร้  ก็จักไม่
ได้ถวายบังคมครบทุกองค์  ราตรีก็จัดสว่างเสียก่อน  อย่ากระนั้นเลย
เราจะจักโดยปริวัฏฏ์แห่งสกุล ๆ  ให้ถวายอภิวาทบังคมพระผู้มีพระภาค
กราบทูลให้ทราบว่า  'มัลลกษัตริย์ชื่อนี้ ๆ   ทั้งบุตรทั้งภริยาทั้งบริษัท
ทั้งอำมาตย์  ถวายบังคมพระบาทแห่งพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า
แห่งตน ๆ"   ดังนี้เถิด  พระผู้เป็นเจ้าคิดแล้ว  ก็จัดโดยวงศ์สกุลให้ถวาย
บังคม  กราบทูลโดยนัยนั้น  ให้มัลลกษัตริย์ได้ถวายอภิวาทเสร็จใน
ปฐมยาม  ส่วนเบื้องต้นแห่งราตรี.
                                   โปรดสุภัททปริพาชก
        จะกล่าวอื่นด้วยปัจฉิมสักขิสาวกพุทธเวไนย.  สมัยนั้นปริพาชก
หนึ่งชื่อสุภัททะอาศัยอยู่  ณ  เมืองกุสินารา. สุภัททปริพาชกนั้นได้ยิน
ว่า  "พระสมณโคดมจักปรินิพพาน  ณ  ยามที่สุดแห่งราตรีวันนี้แล้ว."
สุภัททปริพาชกคิดเนื้อความตามที่ได้ยินมาแต่ปริพาชกที่เป็นอาจารย์
เก่า ๆ  กล่าวสืบ ๆ  มาว่า  "องค์พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งหลาย  ย่อมบังเกิดขึ้นในโลก  ณ  กาลบางคาบบางครั้ง"   ความ


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 38
ปรินิพพานแห่งพระสมณโคดม  จักมี  ณ  ยามที่สุดแห่งราตรีวันนี้แน่ 
ความสงสัยข้อนี้บังเกิดแล้วแก่เราก็มีอยู่   เราก็เป็นผู้เลื่อมใสอย่างนี้ว่า 
"พระสมณโดคมสามารถอยู่  เพื่อจะแสดงธรรมให้เราละความสงสัย
นั้นเสียได้   ควรที่จะรีบออกไปเฝ้าพระโคดมเจ้าผู้สมณะเสียโดยพลัน
ณ  ราตรีวันนี้"  ลำดับนั้น  สุภัททปริพาชกจึงไปยังสาลวัน  ถึงสำนัก
พระอานนท์แล้ว  เล่าความตามที่ตนดำรินั้นให้พระอานนท์ฟังแล้ว
วิงวอนจะขอเฝ้าพระผู้มีพระภาค.  พระอานนทเถรเจ้าจึงทัดทานว่า
"ดูก่อนสุภัททะผู้มีอายุ  อย่าเลย  ท่านอย่าได้เบียดเบียนพระตถาคตเจ้า
ให้ลำบาก  พระผู้มีพระภาคทรงลำบากพระกายอยู่แล้ว  สุภัทท-
ปริพาชกวิงวินพระอานนท์ถึง  ๒  ครั้ง  ๓  ครั้ง  พระอานนท์ก็
ทัดท่านไว้ฉะนั้น.  สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้ยินพระอานนท์
เจรจากับสุภัททปริพาชกแล้ว  ดำรัสเรียกพระอานนท์ว่า  "ดูก่อน
อานนท์  อย่าเลย  อานนท์  จงอย่าห้ามสุภัททะ ๆ  จงได้เห็นพระ
ตถาคตเถิด  สุภัททะจักถามปัญหาอันใดอันหนึ่งกะเรา  ก็จักเป็นคน
มุ่งความตรัสรู้ทั่วถึงแล้วและถามซึ่งปัญหาทั้งปวงนั้น  จัดไม่เพ่งความ
เบียดเบียนให้พระตถาคตลำบาก, อนึ่ง  เราอันสุภัททะได้ถามแล้วจัก
พยากรณ์เนื้อความอันใดแก่สุภัททะนั้น  สุภัททะจะรู้ทั่วถึงซึ่งเนื้อความ
นั้นฉับพลัน."   ลำดับนั้น  พระอานนทเถรเจ้าจึงเตือนสุภัททะว่า
"ดูก่อนสุภัททะ   ท่านจงไปยังที่เฝ้าเถิด   พระผู้มีพระภาคเจ้าทำโอกาส
ประทานช่องแก่ท่านให้เข้าเฝ้าแล้ว."   จึงสุภัททปริพาชกเข้าไปเฝ้า


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 39
ทำสัมโมทนียกถาปฏิสันถาร  นั่ง  ณ  ที่ควรแล้ว  ทูลถามถึงติตถกร- 
คณาจารย์ครูทั้ง  ๖  คน  คือ  ปูรณกัสสปะ  มักขลิโคศาล  อชิตเกสกัมพล
ปกุทธกัจจายนะ  สัญชยเวลัฏฐบุตร  นิครนถนาฏบุตร  ซึ่งครอบครอง
หมู่คณะ   ชนเป็นอันมาก  สมมติว่าเป็นคนดีคนประเสริฐนั้น   ว่า
"ได้ตรัสรู้ด้วยปัญญายิ่งตามปฏิญญาของตน ๆ  ครบทั้ง  ๖  ครูหรือ  หรือ
ไม่ได้ตรัสรู้ยิ่งทั้ง  ๖  หรือตรัสรู้ยิ่งแต่บางจำพวก ๆ  ไม่ตรัสรู้ยิ่งเป็น
ประการไร ?"   สมเด็จพระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า  "ดูก่อนสุภัททะ  อย่า
เลย  ข้อนั้นจงยกไว้  เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน  ท่านจงฟังธรรมนั้น  ทำ
ในใจให้สำเร็จประโยชน์เถิด   เราจักภาษิต  ณ  บัดนี้."  สุภัททะรับ
พุทธพจน์โดยเคารพแล้ว  สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคเจ้าตรัสเทศนาว่า
"ดูก่อนสุภัททะ  มรรคาคือข้อปฏิบัติมีองคือวัยวะ  ๘  อย่างเป็นอริยะไป
จากข้าศึก   เป็นมรรคาประเสริฐ  ไม่มีอยู่ในธรรมวินัยคำสั่งสอนอันใด
แล้วสมณะที่  ๑  ที่  ๒ ที่ ๓  ที่  ๔  ย่อมไม่มีในธรรมวินัยนั้น.  ดูก่อนสุภัททะ
ก็แลมรรคามีองค์อวัยวะ  ๘  อย่าง  เป็นอริยะไปจากข้าศึก  เป็นมรรคา
ประเสริฐ  มีอยู่ในธรรมวินัยคำสั่งสอนอันใดแล้ว  สมณะคือท่านผู้
ให้กิเลสบาปธรรมระงับได้จริง  ที่  ๑  ที่ ๒  ที่  ๓  ที่  ๔  ย่อมเกิดขึ้นใน
ธรรมวินัยนั้นดูก่อนสุภัททะ  มรรคมีองค์ ๘  ประการ  เป็นอริยะ
ไปจากข้าศึก  เป็นมรรคาอันประเสริฐ  มีอยู่ในธรรมวินัยนี้  สมณะ
ที่ ๑ ก็มีในธรรมวินัยนี้แห่งเดียว  สมณะที่ ๒  สมณะที่  ๓  สมณะ
ที่  ๔  ก็มีในธรรมวินัยนี้แห่งเดียว  (อธิบายว่าสมณะท่านผู้ให้กิเลสบาป


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 40
ธรรมสงบระงับได้จริง  ที่  ๑  คือโสดาบันนบุคคล  ที่  ๒  คือสกิทาคามิ-   
บุคคล  ที่  ๓  คืออนาคามิบุคคล  ที่  ๔  คือขีณาสวอรหันต์  ย่อมมี
จริงในธรรมวินัยนี้สมัยเดียวเท่านั้น)  ลัทธิแห่งผู้อื่นนอกจากพระสัมมา 
สัมพุทธเจ้าแล้ว  เปล่าไปจากสมณะผู้รู้ทั่วถึง  คือจะสั่งสอนไปด้วย
ประการไร ๆ  สมณะพิเศษ  ๔  เหล่าคงไม่มีขึ้นเลย  ในลักทธิอื่นจาก
สุคตธรรมวินัยดูก่อนสุภัททะ   ก็ถ้าหากภิกษุทั้งหลายเหล่านี้จะพึง
อยู่ดีอยู่ชอบแล้วไซร้   โลกก็จะไม่พึงศูนย์เปล่าจากพระอรหันต์ทั้ง
หลาย."    สมเด็จพระผู้มีพระภาค  ตรัสเทศนาแสดงธรรมวินัยนี้ว่า
เป็นนิยยานิกะ  เป็นที่เกิดแห่งสมณะพิเศษอริยบุคคล  ๔  จำพวกฉะนี้
แล้ว  จึงตรัสพุทธนิพันธคาถาว่า  "ดูก่อนสุภัททะ  เราได้  ๓๐  หย่อน  ๑
โดยวัย  ได้บรรพชาแสวงหาว่า  อะไรเป็นกุศล ๆ  ดังนี้อันใด  เราได้
บรรพชาแล้วแต่กาลใดมาจนบัดนี้  นับปีได้  ๕๐  ยิ่งด้วยปี  ๑  แม้สมณะ
ผู้เป็นไปในประเทศแห่งธรรมที่เป็นเครื่องนำออกไป  ไม่มี  ณ  ภายนอก
แต่ธรรมวินัยนี้  สมณะที่  ๑  ที่  ๒  ที่ ๓  ที่  ๔   ไม่มี  ณ  ภายนอกแต่
ธรรมวินัยนี้  ลัทธิสมัยเป็นเครื่องสั่งสอนแห่งผู้อื่น  ว่างเปล่าไปจาก
สมณะผู้รู้ทั่วถึงดูก่อนสุภัททะ  ถ้าภิกษุทั้งหลายเหล่านี้จะพึงอยู่ดี
อยู่ชอบแล้วไซร้  โลกก็จัดไม่พึงว่างเปล่าจากพระอรหันต์ทั้งหลาย."
เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาค  ตรัสธรรมเทศนาดังนี้แล้ว  สุภัททปริพาชก

๑.  คำปรารภถึงพระธรรมวินัยนี้  น่าจะเป็นของพระธรรมสังคาหกาจารย์  จุเข้าในพระ-
โอษฐ์ของพระศาสดา. ว. ว.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 41
สรรเสริญความเลื่อมใสและพระธรรมเทศนา   แสดงตนเป็นอุบาสก 
แล้วทูลขอบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยว่า  "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบท  ในสำนักแห่งพระผู้มีพระภาค."
พระโลกนาถจึงตรัสแสดงวิธีติตถิยปริวาสตามวินัยนิยมว่า  "ดูก่อน 
สุภัททะ  ผู้ใดเป็นอัญญเดียรถีย์อยู่ในก่อนมาปรารถนาบรรพชาอุปสมบท
ณ  ธรรมวินัยนี้   ผู้นั้นย่อมอยู่ปริวาส  ๔  เดือน ต่อล่วง  ๔  เดือนแล้ว
ภิกษุทั้งหลายมีจิตอันเดียรถีย์เก่านั้นให้ยินดีได้แล้ว  เธอจึงให้ผู้นั้น
บรรพชาอุปสมบท  เพื่อความเป็นภิกษุ  ก็แต่ว่าในกาลอยู่ติตถิยปริวาส
นั้น   เรารู้จักประมาณต่างแห่งบุคคลคือยกเว้นให้เป็นพิเศษเฉพาะ
บุคคล."   สุภัททปริพาชกกราบทูลตามความเลื่อมใสแห่งตนที่เป็นไป
กล้าหาญว่า  "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค  ถ้าติตถิยปริวาสมีกำหนด  ๔  เดือน
ฉะนั้นแล้ว  ข้าพระองค์จะอยู่ให้นานถึง ๔ ปี  ต่อล่วง ๔  ปี  ภิกษุ
ทั้งหลายจงให้ข้าพระองค์บรรพชาอุปสมบทเพื่อเป็นภิกษุเถิด."
        ลำดับนั้น  สมเด็จพระผู้มีพระภาค  ตรัสเรียกพระอานนท์ว่า
"ดูก่อนอานนท์  ถ้ากระนั้นท่านทั้งหลายจงให้สุภัททะบรรพชาอุปสมบท
เถิด."  พระอานนทเถรเจ้ารับพุทธาณัตติพจน์   เพื่อจะให้สุภัททะ
บรรพชาอุปสมบทโดยพุทธประสงค์.  จึงสุภัททปริพาชกสรรเสริญ
พระอานนท์ว่า  "ข้อซึ่งพระอานนท์  อันพระศาสดาได้ทรงอภิเษกด้วย
อันเตวาสิกาภิเษก  ในกจให้รับบรรพชาอุปสมบทข้าพเจ้านั้น  เป็น


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 42
ลาภมากขอพระอานนท์  พระอานนท์ได้ดีแล้ว."   สุภัททปริพาชก   
ได้แล้วซึ่งบรรพชาอุปสมบทในสำนักแห่งพระผู้มีพระภาค.
                                สุภัททะเป็นสักขิสาวก
        พระผู้เป็นเจ้าสุภัททะผู้มีอายุอุปสมบทแล้วไม่นาน  ท่านได้หลีก
ออกจากหมู่  สงัดอยู่แต่ผู้เดียว  เมื่อเป็นภิกษุไม่ประมาท  มีความ
เพียรให้กิเลสเร่าร้อน  มีตนส่งไปมุ่งต่ออภิสมัยเป็นเบื้องหน้าอยู่ ไม่
นานเลยก็ทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล  เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง.  พระผู้
เป็นเจ้าสุภัททะนั้น  ได้เป็นสักขิสาวก  คือสาวกทันเห็นองค์สุดแห่ง
พระผู้มีพระภาค.  และข้อซึ่งสุภัททะได้อุปสมบทแล้วสำเร็จพระอรหัต
เมื่อใดนั้น  ในพระบาลีแสดงแต่เพียงว่า ท่านอุปสมบทแล้วไม่นาน
ไม่ได้แสดงตรงเฉพาะว่า  สำเร็จพระอรหัตในราตรีนั้น  แต่คำว่า
ต่อสมัยอื่น  กาลอื่น  ครั้งอื่น  ก็มิได้แสดงไว้ในพระบาลี  กล่าวแต่
ว่าท่านอุปสมบทแล้วไม่นานเท่านั้น  คำเบื้องหลักซ้ำว่า   ท่านได้เป็น
สักขิสาวกองค์สุดแห่งพระผู้มีพระภาค  ดั่งนี้  ควรที่จะสันนิษฐานว่า
สำเร็จพระอรหัตในราตรีนั้น.  ในคัมภีร์สุมังคลวิลาสินี  อรรถกถา
ทีฆนิกาย  พรรณนาเนื้อความในมหาปรินิพพานสูตรที่นั้นว่า  "ดังได้
สดับมา  พระอานนทเถระ  นำซึ่งสุภัททปริพาชกนั้นไปที่ควรส่วน
หนึ่งแล้ว  เอาน้ำฉันแต่กระบอกน้ำชุบศีรษะให้ผมชุ่มแล้ว  กล่าวซึ่ง
กัมมัฏฐานมีประชุมแห่งอาการ  ๕  ที่ท่านกำหนดด้วยหนังเป็นอารมณ์
แล้ว  ปลงลงซึ่งผลและหนวดแล้ว  ให้นุ่งผ้าย้อมด้วยน้ำฝาดทั้งหลาย


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 43
แล้ว  ให้ซึ่งสรณะทั้งหลายให้สำเร็จสามเณรบรรพชาแล้ว  นำมา  
ยังสำนักแห่งพระผู้มีพระภาค.   สมเด็จพระผู้มีพระภาคให้สุภัททะนั้น
อุปสมบทแล้ว  ทรงบอกซึ่งกัมมัฏฐาน.   พระสุภัททภิกษุนั้น  ถือเอา
ซึ่งกัมมัฏฐานนั้นแล้ว  อธิษฐานซึ่งจงกรม  ณ  ส่วนข้างหนึ่งแห่งสวน
สาลวัน  ท่านสืบต่อพยายามมิได้หยุด  ชำระวิปัสสนาปัญญาให้บริสุทธ์
จากอุปกิเลสบรรลุถึงซึ่งพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว
มาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่."   พระธรรมสังคาหกเถรเจ้า
อาศัยเนื้อความดังกล่าวนั้น  จึงได้กล่าวว่า  "ท่านอุปสมบทแล้ว
ไม่นาน ฯลฯ  ดังนี้  ในพระบาลีมหาปรินิพพานสูตรนั้น.  พระ
อรรถกถาจริยเจ้าพรรณนาด้วยบรรพชาอุปสมบท  และความสำเร็จ
พระอรหัตแห่งพระผู้เป็นเจ้าสุภัททะนั้น  ด้วยประการฉะนี้.
                           ประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์
        ลำดับนั้น  สมเด็จพระผู้มีพระภาค  ตรัสเรียกพระอานนท์ให้เป็น
ผู้รับเทศนา  ประทานพุทธโอวาทแก่ภิกษุบริษัท  เพื่อจะให้มีความเคารพ
ต่อธรรมและวินัย  ตั้งไว้ในที่แห่งพระศาสดาว่า  "ดูก่อนอานนท์
ความดำริดังนี้  จะพึงมีบ้างแก่ท่านทั้งหลายว่า  'ปาพจน์คือศาสนธรรม
มีพระศาสดาล่วงแล้ว  พระศาสดาแห่งเราทั้งหลายไม่มี"  ดังนี้
ดูก่อนอานนท์  ท่านทั้งหลายไม่พึงเห็นอย่างนี้   ธรรมก็ดี  วินัยก็ดี
อันใด  อันเราได้แสดงแล้ว  ได้บัญญัติไว้แล้วแก่ท่านทั้งหลาย  ธรรม


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 44
และวินัยนั้น  จักเป็นศาสดาแห่งท่านทั้งหลาย  โดยกาลที่ล่วงไปแล้ว  
แห่งเรา."
                     [ตรัสให้ภิกษุเรียกกันด้วยคารวโวหาร]
        สมเด็จพระผู้มีพระภาค  ทรงสั่งสอนให้ภิกษุบริษัทเกิดความ
สำคัญ  ซึ่งธรรมและวินัยโดยเป็นศาสดาด้วยประการดังนี้แล้ว  เมื่อ
จะทรงแสดงซึ่งจารีตในอนาคต   ให้ภิกษุร้องเรียกซึ่งกันและกันโดย
โวหารอันสมควรแก่ภิกษุมีพรรษายุกาลมากและน้อย  จึงตรัสแก่
พระอานนท์ว่า  "ดูก่อนอานนท์  บัดนี้  ภิกษุทั้งหลาย  ย่อมร้องเรียก
ซึ่งกันและกัน  ด้วยวาทะถ้อยคำว่า  'อาวุโส ๆทั้งแก่ทั้งอ่อนเสมอ
กัน  ฉันใด  ด้วยล่วงไปแห่งเราแล้ว   ท่านทั้งหลายอย่าพึงเรียกกัน
และกัน  ฉันนั้นเลย,   ภิกษุผู้เถระแก่พรรษา   พึงเรียกภิกษุที่อ่อนกว่า
ตน  โดยชื่อโดยโคตร  หรือโดยคำว่าอาวุโสก็ตาม  ฝ่ายภิกษุใหม่
ที่อ่อนโดยพรรษา  จึงเรียกภิกษุเถระที่มีพรรษาแก่กว่าตนว่า  'ภนฺเต'
หรือว่า  'อายสฺมาผ่อนผันตามควรที่เป็นคารวโวหาร.
                                 [วิธีลงพรหมทัณฑ์]
        ดูก่อนอานนท์  ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสีย
บ้าง  เมื่อเราล่วงไปแล้ว  ก็จงถอนเถิด.  ดูก่อนอานนท์  เมื่อเราล่วง
ไปแล้ว  สงฆ์พึงทำพรหมทัณฑ์แก่ฉันนภิกษุเถิด."   พระอานนท์
ทูลถามว่า  ข้าแต่พระผู้มีพระภาค  พรหมทัณฑ์เป็นไฉนเล่า พระ-
องค์ตรัสว่า  "ดูก่อนอานนท์  ฉันนภิกษุจะพึงปรารถนาเจรจาคำใด


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 45
ก็พึงเจรจาคำนั้น  ฉันนภิกษุนั้น  อันภิกษุทั้งหลาย  ไม่พึงว่า  ไม่พึง
โอวาท  ไม่พึงสั่งสอนเลย  อันนี้ชื่อว่า  พรหมทัณฑ์." 
        ลำดับนั้น  สมเด็จพระผู้มีพระภาค  ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ถ้าหากความสงสัยหรือความเคลือบแคลงใน
พุทธ  ในธรรม  ในสงฆ์  ในมรรค  หรือในปฏิปทา  จะพึงมีบ้างแก่
ภิกษุรูปหนึ่งไซร้  ท่านทั้งหลายจงถามเถิด  ท่านทั้งหลายจงอย่าได้ 
เป็นคนมีความเดือดร้อน  ณ  ภายหลังว่า  พระศาสดาอยู่เฉพาะหน้า
แล้ว  เราทั้งหลายไม่สามารถเพื่อจะถาม  ณ  ที่เฉพาะพระพักตร์."  เมื่อ
พระองค์ตรัสปวารณาให้ทูลถามดังนั้นแล้ว   ภิกษุทั้งหลายก็นิ่งอยู่
เมื่อทรงปวารณาฉะนั้นถึง  ๓  ครั้ง  ภิกษุทั้งหลายก็นิ่งอยู่ทุกองค์ใน
พุทธบริวารมณฑลนั้น.  จึงพระอานนทเถรเจ้ากราบทูลว่า  "ข้าแต่
พระผู้มีพรภาค  ข้อนี้เป็นอัศจรรย์  ข้าพระองค์มาเลื่อมใสแล้วว่า
ภิกษุซึ่งจะมีความสงสัยเคลือบแคลงในพระรัตนตรัย  ในมรรค  และ
ในปฏิปทา  แม้แต่องค์หนึ่งไม่มีในภิกษุสงฆ์หมู่นี้แล้ว."   พระองค์
ตรัสว่า  "ดูก่อนอานนท์  ท่านมากล่าวบัดนี้  เพราะความเลื่อมใส
จริงแล้ว  ญาณแห่งพระตถาคตก็หยั่งรู้ในข้อนั้น  ตามเป็นจริงว่า
'ความสงสัยเคลือบแคลงในพุทธ   ในธรรม  ในสงฆ์  ในมรรค
หรือในปฏิปทา  ไม่มีแม้แก่ภิกษุรูปหนึ่งในภิกษุสงฆ์หมู่นี้เพราะว่า
ภิกษุทั้งหลาย  ๕๐๐  นี้  ภิกษุใดต่ำโดยคุณพิเศษ  เธอเป็นโสดาบัน
มีอันไม่ฉิบหายเป็นธรรมดา   นิยมได้แน่ว่า  มีอันจะตรัสรู้ซึ่งมรรคผล


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 46
เบื้องบนเป็นที่ไป  ณ  เบื้องหน้า  เธอทั้ง  ๕๐๐  นี้ล้วนแต่อริยบุคคล  ไม่
เจือปนด้วยปุถุชนเลย."
                                       [ปัจฉิมโอวาท] 
        ลำดับนั้น  สมเด็จพระผู้มีพระภาค  ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย
ประทานปัจฉิมโอวาทว่า  "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  บัดนี้เราผู้พระตถาคต
เตือนท่านทั้งหลายให้รู้  สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมความฉิบหายไป
เป็นธรรมดา   ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ตนและ
ประโยชน์ผู้อื่น  ให้บริบูรณ์ด้วยไม่ประมาทเถิด"   อันนี้เป็นพระวาจาที่
สุดแห่งพระตถาคตเจ้า  สมเด็จพระผู้ทรงพระภาค  เสด็จประทม ณ  พระ-
แท่นที่ปรินิพพาน  พระองค์ได้รวบรวมซึ่งโอวาททั้งปวงที่ได้ประทาน
แล้วสิ้น  ๔๕  พรรษานั้นลงในความไม่ประมาทอันเดียวนั้นแล  ประทาน
แก่ภิกษุสงฆ์พุทธบริษัทในอวสานกาล  ด้วยประการฉะนี้.
                                            นิพพาน
        แต่นั้นพระองค์มิได้ตรัสอีกเลย  ทรงทำปรินิพพานบริกรรมด้วย
อนุบุพพวิหารสมาบัติทั้ง ๙  พระธรรมสังคาหกเถรเจ้าทั้งหลายแสดงไว้
ดังนี้ :-
                                   [อนุบุพพวิหารสมาบัติ]
        ลำดับนั้น  สมเด็จพระผู้ทรงพระภาค  ทรงเข้าปฐมฌาน  ออก
จากปฐมฌานแล้ว  เข้าทุติยฌาน  ตติยฌาน  จตุตถฌาน  ครบ


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 47
รูปาพจรสมบัติทั้ง ๔  ตามลำดับนี้  ออกจากฌานที่  ๔  แล้ว  เข้า 
อรูปสมาบัติทั้ง  ๔  คือ  อากาสานัญจายตนะ   วิญญาณัญจายตนะ
อากิญจัญญายตนะ  เนวสัญญานาสัญญายตนะ   ตามลำดับ  ออก
จากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว  ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ-
สมาบัติ  ดับจิตตสังขาร  คือสัญญาและเวทนา  พระองค์ทรงเข้า
อนุบุพพวิหารสมาบัติทั้ง  ๙  ด้วยประการฉะนี้.
        ครั้งนั้น  พระอานนท์ผู้มีอายุ  ถามพระผู้เป็นเจ้าอนุรุทธเถระว่า
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าอนุรุทธะ   สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพาน
แล้วหรือ ?"   "ดูก่อนอานนท์ผู้มีอายุ  สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า  ยัง
ไม่ปรินิพพานก่อน  พระองค์ทรงเข้าซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ."
        ลำดับนั้น  สมเด็จพระผู้มีพระภาค  เสด็จอยู่ในนิโรธสมาบัติ
ตามกาลที่พระองค์ทรงกำหนดแล้ว  เสด็จออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว
เข้าสู่เนวสัญญานาสัญญายตนะ   อากิญจัญญายตนะ  วิญญาณัญจา-
ยตนะ  อากสนัญจายตนะ  เป็นปฏิโลมถอยหลังฉะนี้แล้ว  เข้าสู่
รูปาพจรฌานทั้ง  ๔  เป็นปฏิโลมตามลำดับ  คือ  จตุตถฌาน ตติย-
ฌาน  ทุติยฌาน  ปฐมฌาน  ครั้งเสด็จออกจากปฐมฌานแล้ว  ก็
ทรงเข้าทุติยฌาน  ออกจากทุติฌานแล้ว  เข้าสู่ตติยฌาน  ออก
จากตติยฌานแล้ว  เข้าสู่จตุตถฌาน   เสด็จออกจากจตุตถฌาน
แล้ว  พระองค์ปรินิพพานแล้ว  ในลำดับแห่งความพิจารณาองค์แห่ง
จตุตถฌานนั้น  ณ  ปัจฉิมยามแห่งราตรีวิสาปุรณมี   มหามงคลสมัย



นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 48
ด้วยประการฉะนี้.  
        ครั้นเมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว  ก็บังเกิด
มหัศจรรย์  แผ่นดินไหวใหญ่สะเทื้อนสะท้าน  เกิดการโลมชาติชัน
สยดสยอง  กลองทิพย์ก็บันลือลั่นสนั่นสำเนียงในอากาศ  พร้อมกับ
ปรินิพพานแห่งสมเด็จพระบรมโลกนาถสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น  เป็น
มหาโกลาหลในปัจฉิมกาล  สำเร็จโดยธรรมดานิยมบันดาลให้เป็นไปใน
ปรินิพพานสมัย  ด้วยประการฉะนี้.
        แลเมื่อสมัยพร้อมกับปรินิพพานแห่งพระผู้มีพระภาคนั้น  ท้าว
สหัมบดีพรหม   ได้กล่าวคาถาแสดงความสังเวชและเลื่อมใสแห่งตน
มีความว่า  "บรรดาสัตว์ทั้งปวงถ้วนหน้า   ไม่มีเหลือในโลก  ล้วนจะ
ทอดทิ้งซึ่งร่างกายไว้ถมปฐพีในโลกไรเล่า  แต่องค์พระตถาคตซึ่ง
เป็นพระศาสดา  ทรงพระคุณอันใหญ่หลวงเช่นนี้  ไม่มีผู้ใดจะเปรียบ
ปาน   ทรงพระสยัมภูญาณตรัสรู้โดยลำพัง  พระองค์ถึงซึ่งกำลัง  คือ
ทศพลญาณแล้ว  ยังมิถาวรมั่นคงดำรงอยู่ได้  ยังมาดับขันธปรินิพพาน
เสียแล้ว  ควรจะสังเวชสลดนัก."
        ฝ่ายท้าวโกสิยเทวราช  ได้กล่าวพระคาถาความว่า  "สังขาร
ทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ  มีเกิดขึ้นและเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา  ย่อม
เกิดขึ้นและดับไป   ไม่ยั่งยืนถาวรมั่นคงอยู่ได้  ความที่สังขาร
นามรูปเบญจขันธ์เหล่านั้นระงับเสียมิได้เป็นไป   นำมาซึ่งความสุข
เหตุสังขารทุกข์  คือชาติชรามรณะมิได้มีมาครอบงำ."


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 49
        ฝ่ายพระอนุรุทธเถรเจ้าผู้มีอายุได้กล่าว  ๒  พระคาถา  มีความว่า
"พระพุทธเจ้า  มีจิตอันยั่งยืนคงที่ในโลกธรรมทั้ง  ๘  ท่านไม่หวั่นไหว
ลมอัสสาสะหายใจก่อน  และปัสสาสะหายใจกลับดับสิ้นไม่มีแล้ว  พระมุนี
โลกนาถมิได้หวั่นไหวสะทกสะท้านด้วยมรณธรรมอันใดอันหนึ่ง  ทรง
ปรารภทำซึ่งสันติความระงับ   คือนิพพานเป็นอารมณ์  ทำแล้วซึ่งกาละ
อันใด  อันพ้นวิสัยสามัญญสัตว์  พระองค์มีจิตมิได้สะทกสะท้านหดหู่
พรั่นพรึงต่อมรณธรรมเลย  ได้อดกลั้นซึ่งทุกขเวทนาด้วยสติสัมปชัญญะ
อันสุดดี  ความพ้นแห่งจิตด้วยอนุปาทิเสสนิพพานได้มีแล้ว  ประหนึ่ง
ประทีปอันไพโรจน์ชัชวาลดับไปฉะนั้น."
        ฝ่ายพระอานนท์ได้กล่าวพระคาถามีความว่า  "เมื่อพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า  ผู้ประกอบด้วยอาการอันประเสริฐทั้งปวง  ดับขันธ-
ปรินิพพานแล้ว   มหัศจรรย์อันให้สยดสยองสะดุ้งหวาดและให้โลมชาติ
ชูชัน  ได้เกิดมีแล้ว  ณ  ครั้งนั้น  ปรากฏแก่เทพดามนุษย์ทั้งหลาย."
ท่านทั้ง  ๔  องค์ได้กล่าวคาถาแสดงความสังเวชแห่งตน ๆ  ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
        ก็แลคาถาแสดงเรื่องปรินิพพาน  แห่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้น  ควรเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวชและไม่ประมาทของสาธุชนบัณฑิต-
ชาติผู้สดับโดยอ่อนน้อม   จะให้หยั่งรู้สภาพปกติแห่งสังขาร  โดยเป็น
อนิจจตาทิธรรม  มิได้มีความถาวรมั่งคงดำรงอยู่ได้  ล้วนเป็นของมี
ความพิโยคแปรผันเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา  เพราะว่าอันอุปาทินนก-


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 50
สังขาร   ร่างกายที่มีเวทนาสัญญาและเจตนาครองนี้   ย่อมตกอยู่ใน  
วิสัยแห่งชรามรณะถ่ายเดียว  มิได้มีผู้ใดล่วงพ้น  แม้แต่องค์พระ
ตถาคตทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้า  ซึ่งเป็นพระศาสดาผู้ประเสริฐในโลก
มิได้มีผู้ใดจะเปรียบปาน  ยังมาเสด็จดับขันธปรินิพพาน  มิถาวร
ดำรงอยู่ได้  ควรแล้วที่สาธุชนจะพึงมีความสังเวชและไม่ประมาท
แสวงหาอุบายที่พึ่งแก่ตนในทางกุศลสัมมาปฏิบัติ  อันจะสำเร็จเป็น
มรรคาแห่งสุคติสวรรค์และนิพพาน   ด้วยอำนาจแห่งอัปปมาทธรรม
โดยกาลเป็นนิรันดร.
                                            อปกาล
                          [ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ]
        ครั้นเมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาค   องค์อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว   ส่วนราตรียังเหลืออยู่ยังไม่สว่าง  พระ
อนุรุทธะกับพระอานนท์ก็แสดงธรรมมีกถาไปพลาง  ให้บริษัทชื่นจิต
ด้วยสังเวชและเลื่อมใส  ตามควรแก่กาล  ตามควรแก่บริษัท  ครั้น
สว่างแล้วพระอนุรุทธเถรเจ้าบัญชาพระอานนท์ให้ไปบอกมัลลกษัตริย์
เมืองกุสินาราให้ทราบข่าวปรินิพพาน.  ครั้งนั้น มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย
มาประชุมพ้อมกันอยู่  ณ  สัณฐาคารสถาน  ด้วยกรณียะเนื่องด้วยเรื่อง
ปรินิพพานนั้นอย่างเดียว  ทรงรำพึงการคอยปฏิบัติตามพระพุทธ-
ประสงค์และเถราธิบาย  เกลือกจะมา  ณ  ราตรีสมัย   จึงมาพร้อมอยู่


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 51
ณ   ที่ประชุมนั้น.    พระอานนทเถรเจ้าไปถึงสัณฐาคารศาลา  แสดงให้
มัลลกษัตริย์ทราบว่า  "สมเด็จพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว."   พอ
มัลลกษัตริย์และโอรสและสุณิสาและปชาบดี  ได้สดับคำพระอานนท์
แสดงว่า  "สมเด็จพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว"  ดังนี้  เสวย
ทุกขโทมนัสกำสรดโสกาดูร  โดยกำลังความเลื่อมใสในพระองค์  และ
ประสงค์จะให้ทรงสถิตอยู่สิ้นกาลนาน  พระองค์เป็นดวงจักษุมาอันตร-
ธานเสียในโลกฉับพลันนัก.  ครั้งนั้น  มัลลกษัตริย์ทั้งหลายดำรัสให้บุรุษ
ทั้งหลายไปประกาศทั่วพระนครกุสินารา  บรรดาสุคนธชาติของหอม
และมาลาระเบียบบุปผวิกัติและดนตรีมีเท่าไร  ให้มาประชุมพร้อมแล้ว
มัลลกษัตริย์ก็นำเอาสุคนธชาติและมาลัย  และสรรพดนตรีกับผ้า  ๕๐๐
พับ  เสด็จไปยังสาลวันที่เสด็จปรินิพพาน  ทำสักการบูชาพระสรีระ
แห่งพระผู้มีพระภาค  ด้วยฟ้อนรำขับร้องประโคมดนตรี  และมาลัย
สุคนธชาติเป็นอเนกประการโกลาหล  ดาดเพดานประดับด้วยพวง
ดอกไม้  ตกแต่งโรงงานอยู่  ก็ล่วงไปวันหนึ่ง  มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย
ดำริว่า  "วันนี้พลบค่ำเสียแล้ว  ต่อพรุ่งนี้เถิด  เราทั้งหลายจึงจักถวาย
พรเพลิงพระสรีระแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า"  แต่มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย
ทำพุทธบูชาในพระสรีระด้วยมโหฬารสักการโดยนัยนั้น  ล่วงไป  ๖  วัน
แล้ว  ครั้นถึงวันที่ครบ  ๗  มัลลกษัตริย์ทั้งหลายปรึกษากันว่า  "เราจะ
เชิญพระสรีระแห่งพระผู้มีพระภาคไปโดยทักษิณทิศแห่งพระนคร  ถวาย
พระเพลิง  ณ  ภายนอกพระนครเถิด.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 52
        ครั้งนั้น  มัลลปาโมกข์  ๘  องค์  ทรงกำลังมาก   สระสรงพระกาย
ให้บริสุทธ์ทรงผ้าใหม่  พร้อมกันเข้าเชิญพระสรีระ  ก็มิสามารถจะให้  
สะเทือนจากสถานได้  มัลลกษัตริย์  แปลกใจไต่ถามพระอนุรุทธเถรเจ้า
ท่านแสดงเหตุว่า  "เทพดาทั้งหลายคิดจะเชิญพระสรีระไปโดยอุดรทิศ
แห่งนคร  เข้ายังพระนครโดยอุดรทวาร  เชิญไปท่ามกลางพระนคร
ออกโดยทวารทิศบูรพา  เชิญพระสรีระไปประดิษฐานถวายพระเพลิง
ณ  มกุฏพันธนเจดีย์  ณ  ด้านตะวันออกแห่งพระนครกุสินารา  เทพดา
ประสงค์อย่างนี้  ฝ่ายท่านผู้มัลลกษัตริย์ดำริอย่างดื่นมิต้องกัน  เหตุ
ดังนั้น  จึงมิอาจเชิญพระสรีระให้เคลื่อนจากสถานได้"  มัลลกษัตริย์
ทั้งหลายผ่อนผันตามประสงค์เทพดาฉะนั้น  ตระเตรียมการจะเชิญ
พระสรีระไปอุตตราวัฏฏ์มิให้ขัดกับเทวาธิบาย.
        สมัยกาลครั้งนั้น  พวงดอกมณฑารพของทิพย์มี  ณ  เมืองสวรรค์
อันเทพดาหากบันดาลให้ตกลงทำพุทธบูชา  ดาดาษในกุสินารานคร
ทุกสถาน  โดยประมาณสูงท่วมชานุมณฑล.
        ลำดับนั้น  เทพดากับมัลลกษัตริย์ทั้งหลาย  พร้อมกันทำสักการ-
บูชาพระสรีระ  ด้วยฟ้อนรำขับร้องประโคมดนตรีและมาลาสุคนธชาติ
ทั้งของทิพย์และของมนุษย์เอิกเกริกเป็นมหาโกลาหลเชิญไปโดยอุดรทิศ
แห่งพระนคร  เข้า  ณ  ภายในโดยทวารด้านอุดรทิศ  เชิญไป  ณ  ท่าม
กลางพระนคร  ออกโดยทวารด้านบูรพา  ไปประดิษฐาน  ณ  มกุฏพันธน-
เจดีย์  ซึ่งเป็นมงคลสถานที่มัลลกษัตริย์ทรงเครื่องประดับ   ประดิษฐาน


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 53
พระสรีระพร้อมด้วยสักการบูชา  ตามที่สมมติว่าเป็นอย่างสูง  ณ  พระ  
นครนั้น  ในกาลนั้นเสร็จแล้ว  มัลลกษัตริย์ทั้งหลายประสงค์จะทราบ
การปฏิบัติ  ในพระสรีระให้ต้องตามพุทธาธิบาย  จึงตรัสถามพระอานนท์
ท่านก็แสดงพุทธานุมัติซึ่งให้ปฏิบัติดังในพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิราช
ตามนัยดังที่ได้สดับมา  ณ  ที่เฉพาะพระพักตร์นั้น  ถวายให้มัลลกษัตริย์
ทราบทุกประการ  มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย  ก็ทรงประพฤติตามพุทธาธิบาย
นั้น   ห่อพระสรีระด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลีแล้ว  ห่อด้วยผ้าใหม่แล้ว
ซับด้วยสำลี  โดยนัยนี้ตามกำหนดว่าถึง  ๕๐๐  ชั้น  เสร็จแล้วเชิญลง
ประดิษฐาน  ณ  รางเหล็กเต็มด้วยน้ำมัน  ปิดด้วยรางอื่นเป็นฝา  ทำ
จิตกาธารเชิงตะกอนด้วยสรรพไม้หอม   แล้วเชิญขึ้นประดิษฐาน  ณ
เชิงตะกอนไม่หอมนั้น เตรียมจะถวายพระเพลิง.
        ครั้งนั้น มัลลปาโมกข์  ๔  องค์  สรงน้ำดำเกล้าให้พระกาย
บริสุทธ์ทรงผ้าใหม่  นำเพลิงปกติเข้าไปยังเชิงตะกอนใน  ๔  ทิศ  ก็
ไม่สามารถจะจุดให้เพลิงติด  ณ  เชิงตะกอนได้  มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย
เฉลียวพระหฤทัยสงสัยว่า  จะเป็นอิทธานุภาพเทพดา  จึงตรัสถาม
พระอนุรุทธเถรเจ้า  ท่านแสดงว่า  "เทพดาทั้งหลาย  ประสงค์จะให้
รอพอพระมหากัสสปเถระ  ถวายบังคมพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย
เศียรเกล้าก่อน  จึงจะถวายพระเพลิงได้"  มัลลกษัตริย์ทั้งหลายทรง
ประพฤติตามเทวาธิบาย.
        ก็แลสมัยนั้น  พระมหากัสสปเถรเจ้า  ยังมาหาถึงมกุฏพันธน-


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 54
เจดีย์ไม่   ยังดำเนินทางไกลมาแต่ปาวานครโน้น   พร้อมด้วยภิกษุ  
บริวารประมาณ  ๕๐๐  องค์  แวะลงจากหนทางเข้านั่งพัก ณ  ร่มพฤกษา
ตำบล  ๑  ได้เห็นอาชีวกผู้ใดผู้หนึ่ง  ถือเอาดอกมณฑารพเดินมาแต่ไกล
หวังจะไปเมืองปาวา  พรเถรเจ้าถามถึงพระผู้มีพระภาคว่า  "ท่านยัง
ทราบพระศาสดาแห่งเราทั้งหลายบ้างแลหรือ ?"   อาชีวกบอกว่า "เรา
ทราบอยู่  พระสมณโคดมปรินิพพานได้  ๗  วัน  ณ  วันนี้แล้ว  ดอก
มณฑารพนี้เราเก็บมาแต่ที่ปรินิพพานแห่งพระสมณโคดมนั้น."
        ลำดับนั้น  พระภิกษุทั้งหลายใด  ที่มีราคะยังมิปราศจากสันดาน
บางจำพวกก็ยกหัตถ์ทั้ง ๒  ขึ้นปริเทวนาการ   เกลือกกลิ้งไปมารำพัน
ถึงพระผู้มีพระภาค  ส่วนท่านที่มีราคะอันปราศแล้ว  ก็มีสติสัมปชัญญะ
อดกลั้นโดยธรรมสังเวช.
        สมัยครั้งนั้น  มีวุฑฒบรรพชิตผู้บวชเมื่อปัจฉิมวัย  นามชื่อ
สุภัททะ   ได้ตามพระเถรเจ้ามา  นั่งอยู่ในบริษัทนั้นด้วย  จึงร้องห้าม
ภิกษุทั้งหลายว่า  "หยุดเท่านั้นเถิด  ท่านทั้งหลายอย่าเศร้าโศกร่ำไร
ถึงพระสมณะนั้นเลย   เราทั้งหลายได้พ้นเสียแล้วด้วยดีจากพระสมณะ
นั้น  ด้วยท่านสั่งสอนว่า  'สิ่งนี้ควร  สิ่งนี้ไม่ควรเราเกรงก็ต้องทำ
ตาม  เป็นความลำบากนัก  ก็บัดนี้เราจะทำสิ่งใด  หรือมิพอใจทำสิ่งใด
ก็ได้ตามความปรารถนา  จะต้องเกรงแต่บัญชาของผู้ใดเล่า ?"  นี่แล
แต่สมเด็จพระธรรมสามิสรดับขันธปรินิพพานไม่ทันช้า  เพียร  ๗ วัน
เท่านั้น   ยังมีอลัชชีบาปชนอาจหาญมาล่วงครหาต่อพระธรรมวินัยได้


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 55
ไม่เกรงขาม.   ฝ่ายพระมหากัสสปเถรเจ้า  ได้สดับแล้วจะยกเป็น 
อธิกรณ์ขึ้นทำนิคคหกรรมเล่า   ก็เห็นว่ายังมิควรก่อน  จึงมีเถรวาท
ห้ามภิกษุสงฆ์แต่โดยทางธรรม  แล้วพาพระภิกษุสงฆ์สัญจรหวังจะไป
ถวายบังคมพระบาทยุคลแห่งสมเด็จพระทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้า  พอ
มาถึงมาคลสถานมกุฏพันธนเจดีย์แล้ว   ดำเนินเข้าไปใกล้จิตกาธาร
ทำผ้าอุตตราสงค์บังสุกุลจีวรเฉียงบ่าข้างหนึ่ง   ยกอัญชลีกระพุ่มหัตถ์
ประณมนมัสการ  ทำประทักษิณเวียนขวาซึ่งจิตกาธาร  ๓  รอบแล้ว
เปิดเพียงเบื้องล่าง  ถวายบังคมพระบาทยุคลแห่งพระผู้มีพระภาคด้วย
เศียรเกล้าแห่งตน  แม้พระภิกษุ  ๕๐๐  องค์นั้น  ก็ทำอุตตราสงค์เฉียง
บ่าข้างหนึ่ง  ประณมกรทำประทักษิณจิตกาธาร  ๓  รอบแล้ว  ถวาย
บังคมพระบาทแห่งพระผู้มีพระภาค  ด้วยเศียรเกล้าแห่งตน ๆ.
        พอพระมหากัสสปเถรเจ้ากับพระภิกษุสงฆ์  ๕๐๐  ได้ถวายบังคม
แล้ว  จิตกาธารแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า  ก็รุ่งเรืองชัชวาลโพลงขึ้นโดย
ลำพังตน  แสดงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏ  พระอรรถกถาจารย์เจ้าแสดง
ว่า  "เพลิงทิพย์เกิดขึ้นด้วยเทวฤทธานุภาพ"  เมื่อพระสรีระแห่งพระผู้
ทรงพระภาคอันเพลิงไหม้อยู่นั้น  ส่วนในคือพระฉวีหนังผิวกายนอกและ
พระจัมมะหนังภายใน  และพระนหารูเอ็นเส้นน้อยใหญ่ทั้งปวง  และ
พระลสิกาไขข้อก็ดี  หมดไปด้วยกำลังเพลิง  จะมีเถ้าหรือเข่าปรากฏ
หามิได้   ประหนึ่งสัปปิและน้ำมันอันเพลิงผลาญ  ไม่มีเถ้าเขม่าปรากฏ
ฉะนั้น  แต่ส่วนเป็นพระสรีระ  คือพระอัฐิและพระเกสา  พระโลมา




นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 56
พระนขา  พระทันตา  ทั้งปวงเหลืออยู่สิ้น   เพลิงมิได้เผาผลาญ  กับ
ผ้าคู่หนึ่งเหลือเป็นปกติอยู่  เป็นเครื่องห่อพระสารีริกธาตุ  นอกนั้น 
เพลิงเผาให้พินาศสิ้น.
        ครั้นเมื่อพระสรีระแห่งพระผู้มีพระภาคเสร็จฌาปนกิจแล้ว  ท่อ
น้ำก็ไหลหลั่งจากนภากาศลงมาดับจิตกาธาร   ชโลทกวารีพุขึ้นจาก
พระยารับสาลพฤกษ์นั้น  ดับจิตกาธารแห่งพระผู้มีพระภาค  แม้มัลล-
กษัตริย์เจ้ากรุงกุสินารา  ก็นำมาซึ่งสรรพสุคนธวารีดับจิตกาธารแห่ง
พระผู้มีพระภาคนั้นเสร็จแล้ว  จึงเชิญพระสารีริกธาตุไปประดิษฐาน
ในสัญฐาคารศาลา  ณ  ภายในกุสินารานคร  กระทำสัตติบัญชรเรือน
ระเบียบหอก  รอบสัณฐาคารสถาน  ทหารถือธนูศรพิทักษ์เป็น
กำแพง  ณ  ภายใน  หวังพระหฤทัยจะเกียดกันมิให้กษัตริย์สามันตราช
ต่างพระนคร   ยกพยุหะแสนยากรมาชิงพระสารีริกธาตุได้  ทรงทำ
สักการบูชาด้วยฟ้อนรำดุริยสังคีตประโคมขับ  และบุปผามาลัยสุคนธ-
ชาติเป็นอเนกประการวิจิตร  เล่นสาธุกีฬนนักขัตตฤกษ์เอิกเกริกก้อง
โกลาหล   สิ้นกาล  ๗  วันเป็นกำหนด.
                                 แจกพระสารีริกธาตุ
        ครั้งนั้น  สมเด็จพระเจ้าอชาตศัตรุราช   ผู้ผ่านสมบัติเอกราช
ในราชคฤห์มหานคร  และกษัตริย์ลิจฉวีซึ่งดำรงอิสรภาพ  ณ  ไพศาลี
นคร  และกษัตริย์สากยะพระประยูรญาติกรุงกบิลพัสดุราชธานี  และ


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 57
ถูลีกษัตริย์ผู้อธิบดีในอัลลกัปปนคร   และโกลิยกษัตริย์ในรามคาม
และมหาพราหมณ์เจ้าเมืองเวฏฐทีปกนคร  และมัลลกษัตริย์ผู้ครอง
พระนครปาวา  กษัตริย์ทั้ง  ๖  พระนคร  กับมหาพราหมณ์  ๑  เป็น  ๗
ตำบลนี้  ได้ทราบกิตติศัพท์ว่า  สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคเสด็จดับ
ขันธปรินิพพาน  ณ  สาลวโนทยากรุงกุสินาราราชธานี  กษัตริย์ทั้ง  ๖
พระนคร   ก็ส่งทูตเชิญราชสาสน์มายังมัลลกษัตริย์ ณ  พระนครกุสินารา
ในราชสาสน์ว่า "สมเด็จพระโลกุตตมาจารย์ผู้ทรงพระภาค  พระองค์
ก็เป็นกษัตริย์สมมติวงศ์  เราทั้งหลายก็เป็นขัตติยราชอันอุดม  เรา
ทั้งหลาย  สมควรอยู่ที่จะได้ส่วยพระสารีริกธาตุแห่งพระผู้ทรงพระภาค
เจ้า   เราทั้งหลายจักได้ประดิษฐานพระสตูปกระทำมหกรรมการบูชาให้
มโหฬารไพศาล."  ฝ่ายมหาพราหมณ์เจ้าเมืองเวฏฐทีปกนคร  ก็ส่ง
พราหมณทูตเชิญพราหมณสาสน์มาเฝ้ามัลลกษัตริย์  ในพราหมณ-
สาสน์ว่า  "สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคก็เป็นกษัตริย์วิสุทธิวงศ์  ข้าพระ-
องค์ก็เป็นพราหมณ์ชาติสูงเป็นมหาศาล  ควรจะได้รับพระราชทาน
ส่วนพระสารีริกธาตุแห่พระโคดมศากโยรสบ้าง  จัดได้ประดิษฐาน
พระสตูป  และกระทำมหกรรมการบูชาตามกำลังทรัพย์และศรัทธา
ปสาทะเลื่อมใส"  ส่วนราชทูตพราหมณทูตมาแต่  ๗  พระนคร  ก็
พากันเข้ามาสู่ที่เฝ้ามัลลกษัตริย์   แสดงสาสน์ตามดำรัสและบัญชา
ถวายทุกประการแล้ว  ก็ตั้งอยู่แน่นหนาเป็นคณานิกรคับคั่งพร้อมด้วย


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 58
        ลำดับนั้น   มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย  จึงดำรัสแก่หมู่ทูตานุทูตทั้ง ๗
พระนครว่า  "สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคเจ้า  เสด็จดับขันธปรินิพพาน
ในคามเขตสถานอาณาปวัติแห่งเรา   เราทั้งหลายจักไม่ยอมให้
ซึ่งส่วนพระสารีริกธาตุแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า."   ปางเมื่อทูตานุทูต
นิกรมาทูลขอส่วนพระสารีริกธาตุอยู่ฉะนั้น  มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย
ผู้ครองพระนครกุสินารา  ก็ตรัสขัดขึ้งไม่โอนอ่อนว่า  "สมเด็จพระผู้ทรง
พระภาคเจ้า  เสด็จปรินิพพานในคามเขตแห่งเรา  เราทั้งหลายจักไม่
แบ่งส่วนพระสารีริกธาตุให้"   ดังนี้  เป็นสูรนาทโวหารคงอยู่อย่างเดียว
ฉะนั้น.
        ในที่นี้ให้ปราชญ์ผู้มีปรีชา  พึงสันนิษฐานโดยสารุปปยุตตินัย
ฉะนี้  พระนครกุสินารานั้น  ก็เป็นแต่อาณาเขตน้อย  มัลลกษัตริย์
ทรงทำนุบำรุงโดยสังฆคณานุสาสน์ตามสามัคคีธรรม  ไม่เป็นราชธานี
พิศาลที่เสด็จอยู่ของบรมกษัตริย์มูรธาภิษิตเอกราช  ดั่งพระนครราช-
คฤห์และพระนครสาวัตถีเป็นต้น  ถึงแม้พระเถระอานนท์พุทธอุปฏฐาก
ก็ได้กราบทูลทัดทาน  เชิญเสด็จพระผู้ทรงพระภาค  ให้เสด็จไป
ปรินิพพาน  ณ  พระนครใหญ่ ๆ  คือ เมืองจัมปาและเมืองราชคฤห์
เมืองสาวัตถี  เมืองสาเกต  เมืองโกสัมพี  เมืองพาราณสี  ซึ่ง
เป็นรัชชจังหวัดอาณาเขต  แห่งสมเด็จบรมกษัตริย์มูรธาภิษิตเอกราช
นั้น ๆ  กษัตริย์พราหมณ์คฤหบดี  ซึ่งเป็นมหาศาลที่เลื่อมใสแล้วใน
พระตถาคตเจ้า  มีอยู่มาก  ณ  มหานครเหล่านั้น  จักได้ทำการบูชาพระสรีระ



นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 59
แห่งพระตถาคตเจ้าให้เป็นมโหฬารสักการใหญ่   สมเด็จพระผู้มี
พระภาคผู้ทรงพระอนาวรณญาณ  ไม่เสด็จพุทธดำเนินย้ายสถานตามคำ 
พระอานนท์  ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน  ณ  สาลวโนทยานเมือง
กุสินารานั้นจงได้  อาศัยเมืองกุสินาราเป็นสาขนคร  มัลลกษัตริย์
ทรงครองครองด้วยสังฆคณานุสาสน์ฉะนี้นั้น  เมื่อทูตานุทูตเชิญราช-
สาสน์พราหมณสาสน์ขอส่วนพระสารีริกธาตุครั้งนั้น  ควรที่มัลลกษัตริย์
จะทรงประพฤติโดยพระราชอุบาย   ผ่อนผันแห่งส่วนพระสรีรธาตุ
ส่งไป  ๆ   ถนอมพระอัธยาศัยของสามันตราช  รักษาพระราชไมตรี
ไว้โดยราชธรรม  ป้องกันภัยพิบัติอันตรายให้เนินห่าง  อย่าให้มีแก่
รัชชสีมามณฑลสาขนครนั้นได้  จึงจะชอบตามรัฏฐานุบาลโนบายราช-
ธรรม  ก็แต่มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย  ซึ่งครองพระนครกุสินารานั้น
ตรัสแก่ทูตานุทูตนั้นทั้ง ๗  พระนคร  คงพระวาจาอยู่ว่า  "สมเด็จ
พระผู้ทรงพระภาคเจ้า  เสด็จดับขันธปรินิพพานในคามเขตสถานอาณา-
ปวัติแห่งเรา  เราจักไม่แบ่งส่วนพระสารีริกธาตุให้"  ดังนี้เป็นสูรนาท
โวหารฉะนั้น  จะพึงเป็นด้วยไม่ทรงสันนิษฐานสะดวกพระหฤทัย  ในที่
จะแบ่งสรรให้เสร็จสงบลงได้บ้าง   และความมั่นพระหฤทัยเชื่อต่อ
พระพุทธอิทธานุภาพบ้าง.
        แท้จริง  มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย  ทรงเห็นว่า  เมื่อทูตานุทูตเชิญ
ราชสาสน์พราหมณสาสน์เนือง ๆ  มาขอส่วนพระสารีริกธาตุหลาย
พระนครฉะนี้  เราจะแบ่งส่วนให้ไป ๆ  โดยเร็วทุกหมู่เหล่าแล้ว  การ


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 60
ขอส่วนพระสารีริกธาตุนั้น  ก็ยากที่จะหยั่งรู้ว่าจะเสร็จสงบแล้วลงแต่ 
เท่านี้  หรือจะมีทูตานุทูตมาแต่นครไรอีกเล่า.  อนึ่ง  เราจะรีบแบ่งส่วน
พระสารีริกธาตุถวายส่งไป  โดยราชสาสน์พราหมณสาสน์ทุกทูตานุทูต
เล่า  ก็ยากอยู่ที่จะผ่อนผันให้ต้องอัธยาศัยความประสงค์ของเจ้าพระนคร
ทั่วทุกองค์ได้  อันนี้เป็นความไม่สะดวกพระหฤทัยจะพึงเป็นเหตุภายใน
มีกำลังอยู่สถานหนึ่ง.
        อนึ่ง  มัลลกษัตริย์  ผู้ครองกุสินารานครทรงเห็นว่า  ทูตานุทูต-
นิกรซึ่งได้รับราชาณัติและบัญชา  เชิญราชสาสน์พราหมณสาสน์มา
ขอส่วนพระสรีรธาตุทั้งปวงนี้   ครั้นไม่เสร็จดั่งประสงค์ฉะนั้นแล้ว
ก็จะพึงรอรั้งดูกาลสมัยและช่องอันควรก่อน   จะรีบร้อนกลับไปโดย
เร็ว  หรือจะฮึกห้ามเหี้ยมหาญเข้าทำสงคราม  ก็จะยังไม่สามารถโดย
ลำพังตนถ่ายเดียวได้ทั้ง  ๒  สถาน   เมื่อเรารวมพระสารีริกธาตุรักษา
ไว้    ยังไม่เฉพาะแบ่งสรรให้เป็นส่วนส่งไปแก่เจ้าพระนครองค์ใด
ปฏิบัติอนุโลมตามพระพุทธานุมัติดยู่ฉะนี้นี่  ภัยพิบัติอันตรายอันใด
อันหนึ่ง  ก็จะยังไม่พึงมีมาแก่พระนคร  อันองค์พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า   ทรงพระอนาวรณญาณเห็นกาลนานส่วนอดีต
อนาคตปัจจุบัน  ทั้งพระมหากรุณาในพระสันดานก็ไพศาลพิเศษเป็น
ไปในหมู่สัตว์ไม่มีประมาณ  ลบล้นล่วงอัญญสัตววิสัย  พระองค์ทรง
ประพฤติด้วยไตรทวาร   ล้วนแต่ในกิจการที่ประกอบด้วยประโยชน์
ทรงอนุเคราะห์ซึ่งสัตวโลกเป็นอาจิณณจริยา   ชะรอยพระองค์จะ


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 61
ทรงเห็นอำนาจแห่งประโยชน์เกษมสุขสมบัติ  ประจักษ์ชัดด้วยพระ  
ญาณแล้วเป็นแม่นมั่น   จึงสู้ทรงพระอุตสาหระเสด็จพระพุทธดำเนิน
จากปาวานครโน้นมา   เสด็จดับขันธปรินิพพานในคามเขตของเรา
ประทานพระสารีริกธาตุไว้แก่เรา  อันจะทรงประกอบในอันใช่ที่ให้
เราได้ความทุกข์ภยันตราย   เพราะส่วนพระสารีริกธาตุทั้งหลายนั้น
ไม่มีเป็นมั่นคง  เรามาปฏิบัติอนุโมตามพระพุทธานุมัติอยู่ฉะนี้  เป็น
การดีกว่า   สามารถจะป้องกันศัตรูให้สงบไม่กล้ากำเริบทำสงคราม
สัมประหารได้.  มัลลกษัตริย์ทั้งหลายนั้น  ไม่ได้สันนิษฐานในที่
จะแบ่งปัน  และมาเชื่อมั่นในพระตถาคตเจ้า  เป็นความอุ่นพระ
หฤทัยมีกำลังอยู่ฉะนี้  จึงตรัสแก่ทูตานุทูตทั้ง  ๗  พระนคร  คงพระวาจา
ว่า  "สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคเจ้า  เสด็จปรินิพพานในคามเขต
แห่งเรา   เราทั้งหลายจักไม่แบ่งส่วนพระสารีริกธาตุให้"  ดังนี้  เป็น
สูรนาทขันขึงไม่โอนอ่อนหย่อนยอมที่จะแบ่งส่วนพระสารีริกธาตุ  ถวาย
แก่เจ้าพระนครพระองค์ใดเลย.   ฝ่ายทูตานุทูตนิกรหมู่ใหญ่ทั้ง  ๗
พระนครนั้น  ก็มิท้อถอย  จวนจะเกิดวิวาทเป็นสงครามสัมประหาร
ใหญ่.
        ครั้งนั้น  โทณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้ใหญ่   มีปัญญาสมารถฉลาด
ในที่จะผ่อนผัน  ให้ต้องตามคดีโลกคดีธรรม  มีถ้อยคำเป็นสุภาษิต
เป็นที่เชื่อฟังของประชุมชน   สามารถจะแสดงเหตุห้ามวิวาทโกลาหล
ให้สงบโดยสามัคคีธรรม   ครั้นได้ฟังสูรนาทฮึกห้ามแห่งมัลลกษัตริย์


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 62
ฉะนั้น  จึงดำริการณ์เห็นว่า  "ซึ่งมัลลกษัตริย์มาขัดขวางไว้   ไม่ยอม 
แบ่งส่วนพระสารีริกธาตุถวายแต่เจ้าพระนคร  ซึ่งส่งทูตมาขอนั้นไม่
ชอบ   เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิใช่ญาติสาโลหิตเผ่าพันธุ์แห่งเรา
ทั้งหลาย  เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิใช่ญาติสาโลหิตเผ่าพันธุ์แห่งเรา
ทั้งหลาย  เราทั้งหลายได้นับถือพระองค์  ก็ด้วยเป็นผู้สั่งสอนข้อปฏิบัติ
เป็นเหตุ   ถึงสามันตราชทั้งหลายที่มาขอส่วนพระสารีริกธาตุครั้งนี้เล่า
ก็อาศัยต่อข้อปฏิบัติ  จึงนับถือพระองค์เหมือนเราฉะนั้น  เมื่อมัลล-
กษัตริย์ไม่ยอมถวายส่วนพระสารีริกธาตุฉะนี้    ตัดทางไมตรีให้ขาด
ไม่ควรเลย.  อนึ่ง  พระผู้ทรงพระภาคไม่ได้ทรงแสดงธรรมสั่งสอนไว้
เพื่อให้เราพยายามสู้สงครามกันเลย   โอวาทานุศาสนีของพระองค์
เป็นไปโดยทางขันติอดกลั้นและสามัคคีธรรม  ไกลจากวิหิงสาและ
อาฆาต.  อนึ่ง  เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคยังดำรงพระชนม์อยู่  ชน
ทั้งหลายเป็นอันมาก   ก็ได้เห็นได้บูชาสักการะพระองค์ในที่ต่าง ๆ
ครั้งนี้พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว  พระสารีริกธาตุนี้แล
จะได้เป็นที่ไหว้ที่สักการบูชาฉลองพระองค์อยู่สิ้นกาลนาน  สำเร็จ
ประโยชน์สุกแก่ชนทั้งหลายเป็นอันมาก  และกาลครั้งนี้  ก็พร้อมด้วย
หมู่กษัตริย์และพราหมณ์ล้วนมหาศาลสุขุมาลชาติอันประเสริฐ   เมื่อ
เราจัดสรรแบ่งส่วนพระสารีริกธาตุให้เป็นส่วนเท่ากัน  ทั้งเจ้าพระนคร
และต่างพระนครไปในบัดนี้เสร็จแล้ว  แม้จะมีทูตานุทูตมาอีกใน
ภายหลัง  ก็จะได้อ้างว่า  "ส่วนพระสารีริกธาตุที่จะพึงแบ่งนั้น  ไม่มี
แล้ว  ได้พร้อมเพรียงกันแบ่งสรรเสียเสร็จแล้ว"  ก็จะไม่เสียทาง


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 63
พระราชไม่ตรีและมีภัยอันตรายแก่เรา  เพราะเหตุนั้น  สงครามใหญ่จะ
เกิดขึ้นครั้งนี้  เพราะเหตุส่วนพระสารีริกธาตุแห่งพระมหามุนีอุดมสุคต-
เจ้า  ซึ่งจงได้เชิญไปประดิษฐานพระสตูปบรรจุไว้เป็นที่ไหว้สักการ- 
บูชาเท่านั้น  และซึ่งจะประดิษฐานพระสตูปบรรจุพระสารีริกธาตุไว้
ก็เพื่อเป็นที่นมัสการกราบไว้   ให้เกิดความเลื่อมใสระลึกพุทธคุณ
เป็นอารมณ์   ทำตามพุทธโอวาทเป็นศาสนาปฏิบัติ  ประกอบบาปวิรัติ
เว้นจากบาปกรรมการอกุศลทุจริต   บำเพ็ญบุญกิริยาสร้างกุศลให้
พิเศษไพศาล เมื่อประสงค์คุณานิสงผลสุขประโยชน์  ดังนี้ และ
จะก่อให้เกิดอกุศลราศีด้วยอำนาจมานะอหังการ   เพราะเหตุปูชนีย-
วัตถุนั้นไม่ควรเลย  เราจะแสดงพระคุณคือขันติวาทและความพร้อม
เพรียงแห่งมหิสสรราชให้หมู่ใหญ่น้อยเห็น  โดยเหตุอันมั่นคงพ้นที่
ผู้ใดจะคัดค้าน  แล้วแบ่งสรรส่วนพระสารีริกธาตุให้ได้เท่ากันทั้ง  ๘
พระนครเถิด   ก็จะได้เป็นคุณอันล้ำเลศควรสรรเสริญโดยคดีโลกคดี-
ธรรมทั้ง  ๒  สถาน."
                         [สุนทรพจน์ของโทณพราหมณ์]
        ท่านโทณมหาพราหมณ์คิดแล้วจึงได้กล่าวว่า  "ขอคณานิกรเจ้า
ผู้เจริญ  จงฟังวาจาอันจำจะต้องทำตามโดยส่วนเดียวของข้าพระองค์
ครั้งนี้    สมเด็จพระพุทธเจ้าผู้เบิกบานแล้วด้วนสรรพคุณเป็นสรณะที่
พึ่งแห่งเราทั้งหลาย  พระองค์เป็นขันติวาท   กล่าวสรรเสริญขันติ
ความอดกลั้นทนทานต่อพาหิรทุกข์และกำลังกิเลส  อันจะมาปรารภ



นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 64
ส่วนพระสรีระแห่งพระองค์เป็นต้นเหตุแล้ว  จำทำสัมประหารต่อสู้
กันด้วยศัสตราวุธเป็นสงครามขึ้นไม่ดีไม่งามเลย.  ข้าแต่พระองค์ 
ผู้กษัตริย์เจ้าผู้เจริญ  บรรดาเราทั้งปวงทั้งเจ้าพระนครเดิมและต่าง
ราชธานี  จงพรักพร้อมสามัคคีชมชื่นเกษมสานต์แบ่งพระสารีริกธาตุ
ออกเป็น  ๘  ส่วน  ให้เสมอกันทุกพระนครเถิด  ขอพระสตูปบรรจุ
พระสารีริกธาตุจงแพร่หลายทั่วทุกทิศ  จักให้สำเร็จประโยชน์และสุข
แก่นิกรสัตว์สิ้นกาลนาน  ชนทั้งหลายผู้เลื่อมใส  แด่พระองค์ผู้มีพระ
ญาณจักษุนั้น  มีอยู่มากพ้นที่จะคณนา."  โทณพราหมณ์กล่าวแสดง
ขันติวาทและสามัคคีธรรม  ด้วยประการฉะนี้.
        ลำดับนั้น  กษัตริย์และพราหมณ์ทั้ง  ๘  พระนคร   ได้สดับ
มธุรภาษิต  ก็ทรงพระอนุมัติเห็นชอบในสามัคคีธรรม  พร้อมกัน
มอบธุระให้โทณพราหมณ์เป็นอธิบดีแบ่งส่วนพระบรมธาตุ.  ฝ่าย
โทณพราหมณ์รับราชบัญชาแล้ว  ถือเอาตุมพะทะนานทองตวงพระ
บรมธาตุได้  ๘  ส่วนเท่า ๆ  กัน  ถวายแก่กษัตริย์และพราหมณ์ ๗
พระนครเสร็จแล้ว  จึงทูลขอตุมพะอันได้ตวงพระบรมธาตุควรแก่
เจดียสถาน  กษัตริย์และพราหมณ์ทั้งหลาย  ก็อนุญาตพระราชทานให้.
        ครั้งนั้น  โมริยกษัตริย์เมืองปิปผลิวัน  ได้ทราบว่า  "พระผู้มี
พระภาคเสด็จดับขันธปรินิพพาน  ณ  กรุงกุสินารา"  จึงส่งราชทูตมาถึง
มัลลกษัตริย์  ขอส่วนพระบรมธาตุ.  ฝ่ายมัลลกษัตริย์ตรัสแก่ราชทูต

๑.  บาลีกล่าวแต่เพียงว่า  สงฺฆาน  คณาน  หมู่เหล่า  เท่านั้น.  ว.  ว.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 65
เมืองปิปผลิวันว่า  "ส่วนพระสรีระบัดนี้ไม่มี  เราได้แบ่งสรรเป็นส่วน  
เสียเสร็จแล้ว  ท่านทั้งหลายจงเชิญพระอังคารไปบรรจุในสตูปสถาน  ทำ
สักการบูชาเถิด."
                            ประเภทแห่งสัมมาสัมพุทธเจดีย์
        ลำดับนั้น  กษัตริย์ทั้ง ๖   พระนครกับมหาพราหมณ์  ๑  เป็น  ๗
ตำบล   เมื่อได้ส่วนพระบรมธาตุแล้ว  ต่างองค์ต่างก็เชิญไปด้วย
มโหฬารสักการะ  ยังอาณาเขตนครสถาน  สร้างพระสตูปบรรจุไว้
ทำมหกรรมการบูชาเอิกเกริกโกลาหล.   ฝ่ายมัลลกษัตริย์กรุงกุสินารา
ก็ทรงสร้างพระสตูปบรรจุพระบรมธาตุ  ทำมหกรรมด้วยมโหฬาร
สักการะสำราญพระหฤทัย.   รวมพระธาตุสตูปเป็น  ๘  สถาน  ด้วย
ประการฉะนี้.
        ฝ่ายโทณพราหมณ์ก็เชิญตุมพะนั้นไปก่อนพระสตูปบรรจุไว้  มีนาม
ว่าตุมพสตูปเสร็จแล้ว  ทำมหกรรมการฉลองด้วยสักการพิเศษไพศาล.
ฝ่ายกษัตริย์เมืองปิปผลิวัน   ก็เชิญพระอังคารไปสู่พระนครสร้างพระ
สตูปบรรจุไว้  ปรากฏนามว่าพระอังคารสตูปเสร็จแล้ว  ทำมหกรรม
การสมโภชด้วยอเนกสักการะ.  เมื่อต้นปฐมกาลมีพระสตูปเจดียสถาน
เป็น  ๑๐  ตำบลด้วยกัน  ด้วยประการฉะนี้.
        อนึ่ง  เมื่อปรินพพานสมัยนั้น  พระอานนทเถรเจ้าได้ทูลว่า

๑.  แย้งคำข้างต้นที่ว่าไม่มีพระอังคาร.  ว. ว. 


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 66
"ในกาลก่อน   ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาอยู่ในทิศต่าง ๆ  สิ้นไตรมาส  
ตามวินัยนิยมแล้ว  ย่อมมาเฝ้าพระตถาคตเจ้าโดยอาจิณณวัตร  ข้า
พระองค์ทั้งหลาย  ได้เพื่อจะเห็นและเข้าไปใกล้ภิกษุทั้งหลายอันให้
เจริญจิต  ก็ด้วยล่วงไปแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว  ข้าพระองค์
ทั้งหลาย  จักไม่ได้เห็น  จักไม่ได้เข้าใกล้สากัจฉากับภิกษุทั้งหลายที่ให้
เจริญจิต  เหมือนเมื่อพระองค์ยังดำรงพระชนม์นั้นแล้ว."
                                  [สังเวชนียสถาน  ๔]
        เมื่อพระอานนท์กราบทูลฉะนี้แล้ว  พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรง
แสดงสังเวชนียสถาน  ๔  ตำบลว่า  เป็นที่ควรจะดูจะเห็น  ควรจะให้
เกิดสังเวชแห่งกุลบุตรผู้มีศรัทธา  คือ  สถานที่พระตถาคตเจ้าประสูติ
แล้วตำบล  ๑  สถานที่พระตถาคตเจ้าตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ-
ญาณตำบล  ๑  สถานที่พระตถาคตเจ้าให้พระอนุตตรธรรมจักรเป็นไป
ตำบล  ๑  สถานที่พระตถาคตเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วตำบล  ๑  สถาน
ทั้ง  ๔  ตำบลนี้  เป็นที่ควรจะเห็นจะดู  และควรจะให้เกิดสังเวชของ
กุลบุตรผู้มีศรัทธา  แล้วทรงแสดงอำนาจแห่งประโยชน์ว่า  "ภิกษุ
ภิกษุณี  อุบาสก  อุบาสิกา  ผู้มีศรัทธา  จักมายังสถาน  ๔  ตำบลนั้น
ด้วยความเชื่อว่า  'พระตถาคตเจ้าเกิดแล้ว  ณ  ที่นี้  ได้ตรัสรู้พระ
อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว  ณ  ที่นี้  ได้ให้พระอนุตตรธรรมจักร
เป็นไปแล้ว  ณ  ที่นี้  เสด็จปรินิพพานแล้ว  ณ  ที่นี้'   ชนทั้งหลายเหล่าใด
เหล่าหนึ่งเที่ยวไปยังเจดีย์จาริกอยู่       จักเป็นผู้มีจิตเลื่อมใสทำกาล-


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 67
กิริยาลง   ชนเหล่านั้นจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์"    สมเด็จพระผู้มี
พระภาคทรงแสดงสถาน  ๔  ตำบลนั้น  ว่าเป็นที่ควรเห็นควรให้เกิด 
สังเวชของกุลบุตรผู้มีศรัทธา  ด้วยประการฉะนี้.
        โดยปริยายนี้ได้เจดีย์เป็น  ๒ คือ  ธาตุเจดีย์  ๑  บริโภคเจดีย์  ๑
พระสารีริกธาตุทั้ง  ๘  ส่วน   ซึ่งโทณพราหมณ์ได้แบ่งปันแล้ว  เชิญ
ไปประดิษฐานพระสตูปบรรจุไว้เป็นที่นมัสการกราบไหว้ทำสักการบูชา
นั้น   เป็นธาตุเจดีย์.   ฝ่ายตุมพสตูป   อังคารสตูป  และสังเวชนียสถาน
ทั้ง  ๔  นั้น  เป็นบริโภคเจดีย์.  เมื่อจะอ้างปูชนียสถานตามพุทธานุมัติและ
ตุมพสตูป  อังคารสตูป  ซึ่งพุทธศาสนิกบริษัทได้ลงอย่างประดิษฐาน
แต่เบื้องต้นนั้น  ก็ได้สัมมาสัมพุทธเจดีย์เป็น  ๒  ด้วยประการฉะนี้.
        ก็แลด้วยพุทธภาษิต  ทรงแสดงสังเวชนียสถานทั้ง  ๔  และ
อ้างตุมพสตูป   อังคารสตูป  โดยเป็นบริโภคเจดีย์นี้  ให้เกิดความ
สันนิษฐานแก่วิญญูชนว่า  "บาตรและจีวรและบริขารพิเศษมีธมกรก
เป็นต้น  ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงพุทธบริโภคและเสนาสนะเตียง
ตั่งกุฎีวิหาร   ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงพุทธบริโภคด้วยสำเร็จอิริยาบถมีนั่ง
นอนเป็นต้น  ก็เป็นบริโภคเจดีย์สิ้น."
        ใน  ๒  เจดีย์ประเภทนี้  ยังมิได้กล่าวพระพุทธรูปปฏิมาสงเคราะห์
ในประเภทใด  เพราะมิได้มีมาในพุทธานุมัติ  เป็นแต่พุทธศาสนิกบริษัท
ซึ่งมีความเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น  ได้ทำในจิตคิดเห็น
อำนาจแห่งพระโยชน์ว่า    "เป็นเครื่องระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 68
แห่งสาธุชนบางเหล่า   โดยปริยายบ้างเป็นต้น  ฉะนี้  จึงได้สร้าง  
ประดิษฐานไว้เป็นปูชนียวัตถุ   เพื่อเป็นเครื่องเตือนจิตให้ระลึกถึง
สร้างเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  จึงนิยมนามว่า  'อุทเทสิกเจดีย์.'
        เมื่อจะแสวงหาอาคตสถานสาธกในคัมภีร์   ก็มีที่พรรณนาอยู่
บ้างบางสถาน  ที่วัตถุนิทานในคัมภีร์อรรถกถาว่า  "พระปุสสเทวเถระ
อยู่กาลันทวาลวิหาร  กวาดลานพระเจดีย์เป็นอาจิณณวัตร   วันหนึ่ง 
ได้เห็นรูปพระพุทธเจ้าซึ่งมารนฤมิต  ได้พุทธามณปีติแล้ว  เจริญ
วิปัสสนา   บรรลุพระอรหัตตผล.  พระพุทธรูปปฏิมาเป็นเครื่องระลึก
ถึงสมเด็จพระทศพลแห่งสาธุชนบางจำพวก  ด้วยประการฉะนี้.
        พุทธศาสนิกบัณฑิต  ได้อาศัยอำนาจแห่งประโยชน์  โดยเป็น
เครื่องระลึกให้เกิดพุทธารมณปีติฉะนี้เป็นต้นกระมัง  จึงได้สร้าง
พระพุทธรูปปฏิมาด้วยมหัคฆภัณฑ์อันถาวร  คือเงินทองและแก้วมณี
เป็นต้นบ้าง  ด้วยศิลาและโลหะและอิฐปูนและไม้แก่นเป็นต้นบ้าง
วิจิตรมากหลากหลายประการ   ตั้งไว้เป็นปูชนียวัตถุเพื่อเป็นเครื่อง
เตือนจิต.
        อนึ่ง  วิญญูชนบางจำพวกไม่สามารถจะสร้างพระพุทธรูปปฏิมา
ได้  หรือไม่มีฉันทรุจิอัธยาศัยในพระพุทธรูปปฏิมา  ประสงค์แต่จะ
สร้างพระสตูป   แสวงหาพระสารีริกธาตุไม่ได้  จึงบรรจุใบลานที่ได้
จารึกพุทธจนะปริยัตติธรรม มีปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น  เข้าไว้
ภายในต่างพระธาตุ  ประดิษฐานเป็นพระสตูปตั้งไว้เป็นปูชนียวัตถุบ้าง


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 69
เกิดเจดียสถานต่าง ๆ  ขึ้นในพุทธศาสนิกมณฑล  ฉะนี้. 
        เมื่อจะรวมเจดีย์ซึ่งแสดงไว้ในพระบาลีและคัมภีร์อรรถกถาและ
ฎีกาเข้ากล่าวโดยสงเคราะห์อันเดียวแล้ว  ก็ได้เจดีย์ประเภทเป็น  ๔
อย่าง  คือ  ธาตุเจดีย์  บริโภคเจดีย์  ธรรมเจดีย์  อุทเทสิกเจดีย์
ด้วยประการฉะนี้. 
        และปูชนียวัตถุเจดียสถานนั้น  ซึ่งพุทธศาสนิกบัณฑิตจะพึง
ประดิษฐานสร้างขึ้นใหม่  และเจดียสถานเก่าอันชำรุดไป  จะ
ปฏิสังขรณ์ให้เป็นปกติและไพโรจน์รุ่งเรืองขึ้นก็ดี   ก็เพียงเพื่อจะให้
สำเร็จประโยชน์แก่เทพดาและมนุษย์ที่ได้เห็น  ก็จะได้เกิดความสังเวช
และเลื่อมใสระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยเป็นอารมณ์  แล้วสั่งสมกุสลทาน
ศีลภาวนาให้บริบูรณ์ในสันดาน  เพื่อสุขพิเศษอันไพศาลในมนุษย์สุคติ
และโลกสวรรค์  ณ  เบื้องหน้า  และจะได้เพิ่มพูนบำเพ็ญบุญจริยา  ส่วน
วิวฏฏคามีกุศลทางนิพพานเป็นประโยชน์เท่านั้น.
        ก็แลปูชนียวัตถุเจดียสถาน   ซึ่งเนื่องด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
นี้   เป็นไปโดยประการต่าง ๆ    ยักเยื้องตามความประพฤติของผู้
เลื่อมใสในสถานนั้น  ๆ  โดยลำดับฉะนี้.  แต่เดิมพระพุทธเจ้าก็ทรง
พระอนุญาตให้บรรจุพระสารีริกธาตุ ทำสตูปประดิษฐาน  ณ  ที่ประชุม
แห่งถนนใหญ่ทั้ง  ๔  เป็นสถานกลาง  ซึ่งจะให้ชนเป็นอันมากได้เห็น
ได้บูชา  พระสตูปนั้นมีพระสารีริกธาตุบรรจุไว้  ณ  ภายใน  ประชุมชน
ผู้เห็นก็เชื่อให้จิตเลื่อมใสระลึกถึงพุทธคุณเป็นอารมณ์   กราบไหว้


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 70
และทำสักการบูชา  พระสตูปเป็นเครื่องเตือนให้ประชุมชนผู้เห็นระลึก    
ถึงพุทธคุณฉะนี้.  แม้ถึงสังเวชนียสถานทั้ง  ๔   ก็เป็นเครื่องเตือนจิต
แห่งผู้เห็นเหมือนฉะนั้น. 
        ครั้นกาลล่วงไปนาน  พระสารีริกธาตุก็หายาก  ผู้สร้างพระสตูป
ก็สร้างมาก   มีพระธาตุบรรจุบ้าง  ไม่มีพระธาตุบรรจุบ้าง  จารึกแต่
พระปริยัตติธรรม  ปฏิจจสมุปบาท   อริยสัจ  โพธิปักขิยธรรม และ
อื่น ๆ  ซึ่งเห็นว่าเป็นพระพุทธภาษิตแท้  ลงในแผ่นเงินแผ่นทองแผ่น
ศิลาและใบลานเป็นต้น  เข้าบรรจุไว้ภายในบ้าง  พระสตูปที่มิได้บรรจุ
พระธาตุจริง   เป็นแต่ผู้ประสงค์บุญกุศลโดยฉันทอาการบริกัปต่าง ๆ
สร้างขึ้นไว้บ้าง.   ผู้เห็นถ้าคิดว่ามีพระธาตุจริงแล้วกราบไว้ทำสักการ-
บูชาด้วยเลื่อมใส   ก็จะให้เกิดบุญได้  เพราะความเลื่อมใสแห่งจิต
ซึ่งเกิดขึ้นเป็นไปนั้น.  เมื่อผู้เห็นรู้แน่ว่า  ภายในสตูปมิได้บรรจุ
พระธาตุ  หรือมีบรรจุไว้อยู่  แต่จะเป็นพระธาตุจริงหรือมิใช่พระธาตุ
จริง  แคลงใจฉะนี้แล้ว  ก็ไม่เลื่อมใส.  อนึ่ง  ผู้ที่นำสิ่งของนั้น ๆ
มีกรวดบ้าง  ศิลาบ้าง  มาแสดงว่าพระธาตุ  ดั่งนี้   ก็มีมากในสถาน
บ้านเมืองนั้น ๆ   จนประชุมชนไม่ทราบว่าพระธาตุแท้นั้นอย่างไร
พระสตูปที่สร้าง ๆ ขึ้นไว้  ก็มีขึ้นมากหนาไป  ผู้เห็นก็จืดจิต ไม่
เลื่อมใส.
        พระสารีริกธาตุเป็นสังหาริมะ  นำไปได้  ณ  ที่นั้น ๆ  ตามปรารถนา
สังเวชนียสถานเป็นอสังหาริมะ  ตั้งอยู่กับที่นำไปจากที่นั้นไม่ได้  บาตร


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 71
จีวรบริขารภัณฑ์ซึ่งเป็นพุทธบริโภคว่า  ก็มีน้อยไม่แพร่หลาย  ผู้
เลื่อมใสจึงยังย้ายสร้างพระพุทธรูปปฏิมาขึ้นเป็นอุทเทสิกเจดีย์  เครื่อง 
เตือนจิตให้เลื่อมใสระลึกพระพุทธคุณเป็นอารมณ์   กราบไหว้และทำ
การสักการบูชา  ประชุมชนซึ่งเห็นอย่างแล้วสร้างพระพุทธรูปเล่า  ก็เพ่ง
แต่จะก่อสร้างสั่งสมบุญกุศลสร้างขึ้นเล็กบ้างใหญ่บ้าง  มีอาการและ
สัณฐานผันย้ายไปตามฝีมือนายช่างผู้ทำ   แพร่หลายเกลื่อนกล่นไปเป็น
อเนกนัก  ก็เป็นของจืดจิต  หาให้สำเร็จประโยชน์เป็นเครื่องเตือน
จิตผู้เห็นให้ระลึกพระพุทธเจ้าโดยเลื่อมใสสนิทไม่   นักปราชญ์ซึ่ง
ดำเนินโดยญาณโคจรวิสัย   จึงคิดสร้างพระพุทธรูปปฏิมาให้เท่าส่วน
พระสุคตบ้าง  คิดลดส่วนตามสุคตประมาณนั้นบ้าง   ให้งามดี  ด้วย
ประสงค์จะให้เป็นเครื่องเตือนจิตผู้เห็นให้เกิดความเลื่อมใส  กราบ
ไหว้ทำสักการบูชาโดยอาการอันสนิทฉะนี้บ้าง.  สัมมาสัมพุทธเจดีย์
เป็นไปโดยอาการต่าง ๆ   ตามกาลและสถานถิ่นที่อานิสงสบริกัปของ
ผู้เลื่อมใสนั้น ๆ  ด้วยประการฉะนี้.  วิสัชนาในเรื่องธาตุเจดียวงศกถา
แต่เพียงนี้.
                           ความเป็นมาแห่งพระธรรมวินัย
        บัดนี้  จิวิสัชนาในเรื่องธรรมวงศ์   ดำเนินความว่า  ครั้งนั้น
เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานไม่ช้า   มีนิยมตามโบราณา-
จริยเจ้ากำหนดไวว่า   วันโทณพราหมณ์แจกพระสารีริกธาตุ  มีภิกษุ


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 72
สันนิบาตใหญ่  พระมหากัสสปะซึ่งเป็นเถระในสงฆ์  หวังจะให้เกิด 
สังเวช   แล้วอุตสาหะสังคายนะพระธรรมวินัย   จึงนำความติเตียน
พระธรรมวินัย  อันสุภัททวุฑฒบรรพชิตเจรจาแก่ภิกษุทั้งหลาย   นับแต่
พุทธปรินิพพานเพียง  ๗  วันนั้น  มาเล่า  แล้วชักชวนว่า  "กระนั้น
เราทั้งหลาย   จงสังคายนาธรรมและวินัยเถิด  มิฉะนั้น  วาทะที่มิใช่ 
ธรรมมิใช่วินัยจักรุ่งเรือง  พระธรรมวินัยจักลบเลือน  บาปชนจะลบ
ล้างพระธรรมวินัย    บุคคลผู้กล่าววาทะมิใช่ธรรมมิใช่วินัยจะมีกำลัง
กล้า  บุคคลผู้กล่าวธรรมและวินัยจะเสื่อมถอยน้อยกำลังฉะนี้."
        ก็และเมื่อวันปรินิพพาน   พระองค์ตรัสเรียกพระอานนท์ให้เป็น
ผู้รับเทศนา  ประทานพุทธโอวาทแก่ภิกษุบริษัท  เพื่อจะให้มีความ
เคารพต่อธรรมและวินัยตั้งไว้ในที่แห่งพระศาสดาว่า  "เมื่อเราผู้พระ
ตถาคตปรินิพพานล่วงไปแล้ว  ธรรมและวินัยเป็นศาสดาแห่งท่าน
ทั้งหลาย."
        อนึ่ง  เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ายังดำรงพระชนม์อยู่  ครั้ง
หนึ่ง   พระองค์เสด็จจาริก  ณ  มัลลชนบทถึงเมืองปาวา  มัลลกษัตริย์
เมืองปาวาเชิญเสด็จไปประทับ  ณ  อุพภตกสัณฐาคารสถาน  ซึ่งสร้างขึ้น
ใหม่   พระองค์เสด็จไปพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์  ทรงแสดงธรรมีกถา
แก่มัลลกษัตริย์เมืองปาวา  ล่วงราตรีเป็นอันมาก  แล้วส่งมัลลกษัตริย์
ให้กลับไป   พระองค์ทอดพระเนตรเห็นภิกษุปราศจากถีนมิทธะควร
สดับธรรมมีกถา   ตรัสเรียกพระสารีบุตรให้สอนภิกษุบริษัท พระองค์


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 73
สำเร็จสีหไสยา.  พระสารีบุตรนำเรื่องนิคัณฐนาฏบุตรทำกาละแล้ว
สาวกแตกทำลายวิวาทแก่กันและกัน   มาเล่าแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว
แสดงธรรมวินัยให้ภิกษุบริษัททราบ  โดยเป็นธรรมอันดี  ธรรมนี้อัน 
พระผู้มีพระภาคแห่งเราทั้งหลายกล่าวดีแล้ว  ให้รู้แจ้งประจักษ์ดีแล้ว
เป็นนิยยานิกะนำผู้ประพฤติตามออกไปได้จริง   เป็นไปเพื่อความระงับ
อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ประกาศให้รู้แจ้งประจักษ์  เหล่าพุทธสาวก
ทั้งสิ้นด้วยกันพึงสังคายนา   คือกล่าวเป็นแบบเดียวไม่พึงวิวาทกันใน
สวากขาตนิยยานิกธรรมนั้น  พรหมจรรย์นี้พึงตั้งอยู่นาน  ข้อนั้น
จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ความสุขแก่ชนมาก   เพื่อจะอนุเคราะห์
สัตวโลก   เพื่ออัตถหิตะและความสุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พระสารีบุตรเถรเจ้าเริ่มกถาฉะนี้แล้ว   แสดงธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสเทศนานั้นโดยหมวด   จำเดิมแต่ธรรมหนึ่ง ๆ  จนถึงธรรม  ๑๐
ประการ  ว่าให้ภิกษุเป็นต้นเหล่าพุทธบริษัทพึงสังคายนา  ไม่พึงวิวาท
กันในพุทธภาษิตธรรมเหล่านั้น  ๆ  เพื่อประโยชน์คุณให้พรหมจรรย์ตั้ง
อยู่นาน   เป็นสุขประโยชน์แก่ประชุมชนเทพดามนุษย์ทั้งหลาย.  ครั้น
จบสังคีติปริยาย  สมเด็จพระผู้มีพระภาคประทานสาธุการสรรเสริญว่า
"สารีบุตรได้ภาษิตสังคีติปริยายแก่ภิกษุทั้งหลาย  ดีแล้ว  ชอบแล้ว"
ความที่พระพุทธสาวกมาสังคายนากล่าวเป็นแบบเดียว  ไม่วิวาทใน
พุทธภาษิตธรรม   เป็นคุณดีงาม  พระศาสดาสรรเสริญทรงอนุมัติ  มี
นิทัสนะดังในสังคีติปริยายเป็นต้นฉะนี้.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 74
        พุทธภาษิตซึ่งแสดงว่า   เมื่อพระพุทธเจ้าผู้พระศาสดาล่วงแล้ว 
ธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงทรงบัญญัติแก่สาวกทั้งหลายนั้นแล
เป็นพระศาสดาแห่งสาวกทั้งหลาย  ในกาลเมื่อพระศาสดาล่วงแล้ว
นี้ก็ดี   พระพุทธานุมัติอนุโมทนาว่า   สังคีติเป็นกิจชอบ  ซึ่งจะนำให้
พรหมจรรย์ตั้งอยู่นานนี้ก็ดี   ก็จักได้แจ้งชัดแก่พระเถรเจ้าทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น  ท่านหวังจะให้พระธรรมวินัยสถิตที่พระศาสดา  และจะให้
ดำรงอยู่ได้นาน  ด้วยการสังคายนา  จึงได้พรักพร้อมกัน  ณ  กรุงราช-
คฤห์  ยกขึ้นยังสังคีติวาระแรก  กำหนดกาลแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน
ล่วงไปได้  ๓  เดือน   พระโบราณาจริยเจ้ากำหนดว่านานถึง  ๗  เดือนจึง
เสร็จ  จบปฐมสังคายนา.
        แต่นั้นมา   พุทธสาวกภิกษุบริษัทเป็นต้น  ผู้บริสุทธ์อัชฌาสัย
ธรรมทายาทจำทรงนำมาโดยกำลังมุขปาฐะ   ก็ให้ประโยชน์ความสุข
สำเร็จแก่ประชุมชนเป็นอันมาก  ปราศจากข้าศึกเสี้ยนหนามประดิษ-
ฐานในมัธยมชนบทตลอดกาลชั่วปริสยุคหนึ่ง.
        ครั้นถึงสมัยนับแต่ปรินิพพานมา  ๑๐๐  ปี  เหล่าภิกษุวัชชีบุตร
ชาวเมืองเวสาลี   มีโลลโทษฝ่ายอามิสทายาทกล้าในสันดาน  มา
แสดงวัตถุ  ๑๐  ประการ  ละเมิดจากพระธรรมวินัยขึ้น  ณ  เมืองเวสาลี
มีฝักฝ่ายสหธรรมิกและคฤหัสถ์เห็นว่าควรชอบตามไปด้วยมากยากที่จะ
คัดค้าน  องค์พระอรหันต์  ๗๐๐  มีพระยสเถระกากัณฑกบุตรเป็น

๑.  เป็นแต่ผู้ชักนำ   ไม่ใช่หัวหน้าในสงฆ์สันนิบาต   พระสัพพกามีเป็นใหญ่โดยพรรษา
พระเรวตะเป็นใหญ่โดยพาหุสัจจะ.  ว.  ว.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 75
ประธาน  ได้พรักพร้อมกัน  ณ  วาลิการามเมืองเวสาลี  ชำระวัตถุ  ๑๐  
เสี้ยนหนามพระธรรมวินัยนั้นเสียให้สูญโดยอาณาสงฆ์  ประดิษฐาน
ธรรมวงศ์ให้บริสุทธ์สืบมาในมัธยมชนบทสิ้นกาลนาน.
        ครั้งเมื่อรัชกาลพระเจ้าอโศกมหาราช  ผู้ผ่านสมบัติเอกราช
ณ   ปาฏลีบุตรนคร  นับแต่พุทธปรินิพพานมา  ๒๑๘  ปี  เกิดเสี้ยนหนาม
ขึ้นแก่พระธรรมวินัย  แต่เหล่าเดียรถีย์ซึ่งมาปลอมบรรพชาอุปสมบท
อยู่  ณ  ภิกษุบริษัทมณฑล   พระโมคคัลลีบุตรติสสเถรเจ้า  ได้พึ่ง
ราโชปถัมภ์ในพระเจ้าอโศกมหาราช  กำจัดเดียรถีย์เหล่านั้นออกเสีย
จากภิกษุมณฑลได้แล้ว  พรักพร้อมกับภิกษุพหุสูตทรงธรรมวินัยเป็น
อันมาก   ชำระวาทะซึ่งเป็นมลทินแห่งพระธรรมวินัยออกเสียได้แล้ว
ประดิษฐานธรรมวงศ์ให้ดำรงสืบมา.
        ครั้น  ณ  ปีที่ครบ  ๒๓๖  นับกาลตั้งแต่พระผู้มีพระภาคปรินิพพานมา
พระมหินทเถรเจ้า  ได้ทำพระธรรมวินัยสุคตศาสนาไปประดิษฐานใน
สีหลทวีป    พุทธบริษัทชาวสีหลได้จำทรงนำพระธรรมวินัยมาโดย

๑.   ปีเถลิงราชย์กว่าจะได้ทำสังคายนาราวอีก  ๑๖  ปี.  ว.  ว.  ๒.  ความตอนนี้ไม่ได้หมาย
ความว่าทำสังคายนาเมื่อ  พ.ศ.  ๒๑๗  (นับอดีตอย่างไทย)   หรือ  พ.ศ.  ๒๑๘  (นับ
ปัจจุบันอย่างลังกา)   การทำสังคายนาครั้งที่  ๓  นี้  ยังสันนิษฐานไม่ได้ว่าตรงกับ  พ.ศ.
เท่าไรแน่   เพราะแบบแผนกแตกต่างกันมาก.  ๓.  ในคราวเดียวกันนี้   พระโมคคัลลีบุตร
ได้ส่งพระเถระอื่น ๆ  ไปประกาศพระศาสนา   ณ  ประเทศอื่น  ๆ ด้วย  ทั่วดินแดนอันใกล้
เคียงกับมัธยมประเทศ  แต่ฝ่ายพระคัมภีร์ของเราได้สืบกันมาแต่แบบลังกา  ที่อ้างว่า
สายพระมหินทเถรเจ้า   อันกล่าวความเฉพาะเรื่องที่เนื่องต่อกันมาทางสายนี้  จึงรู้กัน
เพียงเรื่องราวของฝ่ายน.  ว. ว.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๓ - หน้าที่ 76
มุขปาฐะ  คงอยู่เหมือนอย่างเดิมได้นาน  ท่านกำหนดพุทธศาสนายุ- 
กาลว่า  ๔๕๐  ปี   พระอรหันต์เจ้าทั้งหลายเห็นความเสื่อมถอยปัญญา
ของกุลบุตร  ซึ่งจะทรงโดยลำพังปากอย่างเดิมนั้นไม่ได้  จึงได้ประชุม
ในอาโลกเลณสถาน  อันสถิตในมลัยชนบท  ณ  ลังกาทวีปแล้ว  ให้เขียน
พระปริยัติธรรมเป็นอักษร  จารึกลงไว้ในใบลาน   คล้ายกับการ
สังคายนาครั้งที่ครบ ๔
        ภายหลังนักปราชญ์ได้แต่คัมภีร์อรรถกถาฎีกากับทั้งศัพทศาสตร์
เป็นอุปการะแก่ผู้ศึกษาพระปริยัติธรรมนั้นเจริญขึ้น ๆ  ตามลำดับ จน
ประชุมชนในนานาสถาน  ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนาได้นำมาประดิษฐาน
ไว้  เป็นเจดีย์ที่เคารพเล่าเรียกศึกษา  และสร้างขึ้นให้แพร่หลาย  ณ
พุทธศาสนิกมณฑล  ด้วยประการฉะนี้.

๑.  สังคายนาครั้งที่  ๔-๕  นี้  ควรรับรองเพียงเป็นสังคายนาเฉพาะประเทศ  ไม่ควร
จัดเป็นสังคายนาทั่วไป.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น