วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

พุทธประวัติเล่ม ๑ นักธรรมตรี หน้า ๔๔-๕๖




นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 44
ตรัสรู้โดยสังเขปเพียงสักว่าชื่อ  แต่กล่าวประพฤติเหตุอันเป็นไปในวัน
ตรัสรู้โดยพิสดารดังนี้ :-
           ในเช้าวันนั้น  นางสุชาดาบุตรีกุฎุมพีนายใหญ่แห่งชาวบ้าน
เสนานคม  ณ ตำบลอุรุเวลาปรารถนาจะทำการบวงสรวงเทวดา
หุงข้าปายาสคือข้าวสุก  หุงด้วยน้ำนมโคล้วนเสร็จแล้ว  จัดลงในถาด
ทองนำไปที่โพธิพฤกษ์.  เห็นพระมหาบุรุษเสด็จนั่งอยู่  สำคัญว่า
เทวดาจึงน้อมข้าวปายาสเข้าไปถวาย.  ในเวลานั้นบาตรของพระองค์
เผอิญอันตรธานหายพระองค์จึงทรงรับข้าวปายาสนั้นทั้งถาดด้วย
พระหัตถ์  แล้วทอดพระเนตรแลดูนาง.  นางทราบพระอาการจึง
ทูลถวายทั้งถาดแล้วกลับไป.  พระมหาบุรุษทรงถือถาดข้าวปายาส
เสด็จไปสู่ท่าแห่งแม่น้ำเนรัญชราสรงแล้วเสวยข้าวปายาสหมดแล้ว
ทรงลอยถาดเสียในกระแสน้ำ.  พระองค์เสด็จประทับอยู่ในดงไม้สาละ
ใกล้ฝั่งแม่น้ำในกลางวันครั้นเวลาเย็น  เสด็จมาสู่ต้นพระมหาโพธิ
ทรงรับหญ้าของคนหาบหญ้า  ชื่อโสตถิยะ  ถวายในระหว่างทางทรง
ลาดหญ้าต่างบัลลังก์  ณ  ควงพระมหาโพธิด้านปราจีนทิศแล้ว เสด็จนง
ขัดสมาธิ  ผันพระพักตร์ทางบุรพทิศ  ผันพระปฤษฎางค์ทางลำต้น
พระมหาโพธิทรงอธิษฐานในพระหฤทัยว่า   " ยังไม่บรรลุพระสัมมา-
สัมโพธิญาณเพียงใด  จักไม่เสด็จลุกขึ้นเพียงนั้น  พระมังสะและพระ
โลหิตจะแห้งเหือดไป  เหลือแต่พระตจะ  พระนหารุ  และพระอัฐิ

๑.  สมด้วยธรรมเนียมบริจาคทานของพวกพราหมณ์ ดังแสดงในพระสูตร แต่งอาหา
แล้ว ถือไปแสวงหาปฏิคาหก พบเข้าบริจาค.  ว. ว.
๒-๓.  ทิศตะวันออก.   ๔.  หลัง.   ๕.  หนัง.   ๖.  เอ็น.   ๖.  กระดูก.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 45
ก็ตามที. " 
           ในสมัยนั้น  พระยามารเกรงว่า  พระมหาบุรุษจะพ้นจากอำนาจ
แห่งตน  จึงยกพลเสนามาผจญแสดงฤทธิ์มีประการต่าง ๆ  เพื่อ
จะยังพระมหาบุรุษให้ตกพระหฤทัยกลัวแล้วจะเสด็จหนีไป.  พระองค์
ทรงนึกถึงพระบารมี ๑๐  ทัศ  ที่ได้ทรงบำเพ็ญมา  ตั้งมหาปฐพีไว้ในที่
เป็นพยาน  เสี่ยงพระบารมี ๑๐  ทัศนั้นเข้าช่วยผจญ  ยังพระยามาร
กับเสนาให้ปราชัย  แต่ในเวลาพระอาทิตย์ยังไม่ทันอัสดงคตแล้วบรรลุ
บุพเพนิวาสานุสสติญาณในปฐมยามได้ทิพพจักขุญาณในมัชฌิมยาม,
ทรงใช้พระปัญญาพิจารณาปฏิจจสมุปบาท  ทั้งฝ่ายเกิดฝ่ายดับ  สาว
หน้าสาวกลับไปมาในปัจฉิมยามก็ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ
ในเวลาอรุณขึ้น.
           ในประพฤติเหตุเหล่านี้  ข้อที่จะพึงปรารภถึง  มีแต่เรื่องผจญ
มาร.  สันนิษฐานเห็นว่า  เป็นเรื่องแสดงน้ำพระหฤทัยของพระมหาบุรุษ
โดยบุคคลาธิฏฐาน  คือกล่าวเปรียบด้วยตัวบุคคล.  กิเลสกามเปรียบ
ด้วยพระยามารกิเลสอันเป็นฝ่ายเดียวกัน  เปรียบด้วยเสนามาร.
กิเลสเหล่านั้น  เกิดขึ้นท่องเที่ยวอยู่ในจิตของพระมหาบุรุษ  ให้นึกถึง
ความเสวยสุขสมบัติในปางหลังและทวนกลับ  เปรียบด้วยพระยามาร
ยกพลเสนามาผจญ.  พระบารมี ๑๐  ทัศนั้น  คือ  ทาน ๑  ศีล ๑
เนกขัมมะ  คือความออกจากกามได้แก่บรรพชา ๑  ปัญญา ๑  วิริยะ ๑
ขันติ ๑  ความสัตย์ ๑  อธิฏฐาน  คือความมั่นคง ๑  เมตตา ๑  อุเบกขา

๑. มหาสัจจกสูตร  ม. มู. ๑๒/๔๖๐.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 46
คือความวางเฉยได้ ๑  พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญพระบารมีเหล่านี้มา
ทรงนึกถึงแล้ว  ทำพระหฤทัยให้หนักแน่น  เปรียบด้วยตั้งมหาปฐพี
ไว้ในที่เป็นพยานทรงเอาพระคุณสมบัติเห็นปานนั้น  มาหักพระหฤทัย
ห้ามความคิดกลับหลังเสียได้เป็นเด็ดขาด  เปรียบด้วยเสี่ยงพระบารมี
ผจญมารได้ชัยชนะ.  เรื่องนี้ได้ถอดใจความแสดงโดยธัมมาธิฏฐาน
กล่าวตามสภาพ  จะพึงมีเช่นนี้.
           พระผู้มีพระภาคเจ้า  ได้พระปัญญาตรัสรู้ธรรมพิเศษ  เป็นเหตุ
ถึงความบริสุทธิ์จากกิเลสาสวะ  จึงได้พระนามว่า  ' อรห และตรัสรู้
ชอบโดยลำพังพระองค์เอง  จึงได้พระนามว่า  ' สมฺมาสมฺพุทฺโธ ๒  บท
นี้เป็นพระนามใหญ่ของพระองค์  ได้โดยคุณนิมิตอย่างนี้แล.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 47
                                   ปฐมโพธิกาล  
                                     ปริเฉทที่ ๖
                          ปฐมเทศนา  และ  ปฐมสาวก
           พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมพิเศษแล้ว  เสด็จประทับอยู่
ณ  ภายใต้ร่มไม้พระมหาโพธินั้นเสวยวิมุตติสุข  ( คือ  สุขเกิดแต่ความ
พ้นจากกิเลสาสวะ )  สิ้นกาล ๗  วัน.  ครั้งนั้น  พระองค์ทรงพิจารณา
ปฏิจจสมุปบาทที่พระองค์ได้ทรงกำหนดรู้แล้วนั้น  ตามลำดับและ
ถอยกลับ  ทั้งข้างเกิดทั้งข้างดับ  ตลอดยาม ๓  แห่งราตรีแล้ว  เปล่ง
อุทาน  ( คือ พระวาจาที่ตรัสออกด้วยความเบิกบานพระหฤทัย )  ในยาม
ละครั้ง.
           อุทานในยามต้นว่า   " เมื่อใด  ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีเพียรเพ่งอยู่  เมื่อนั้น  ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น  ย่อม
สิ้นไป  เพราะมารู้แจ้งธรรมว่าเกิดแต่เหตุ. "
           อุทานในยามเป็นท่ามกลางว่า   " เมื่อใด  ธรรมทั้งหลายปรากฏ
แก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่, เมื่อนั้น  ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์
นั้น  ย่อมสิ้นไป  เพราะได้รู้ความสิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย  ( ว่าเป็นเหตุ
สิ้นแห่งผลทั้งหลายด้วย ). "

๑.  ขุ. อุ. ๒๕/๗๔-๖.  มหาวคฺค.  ปม. ๔/๒,,๔.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 48
           อุทานในยามที่สุดว่า   " เมื่อใด  ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีเพียรเพ่งอยู่, เมื่อนั้น  พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้
ดุจพระอาทิตย์อุทัยกำจัดมืด  ทำอากาศให้สว่างฉะนั้น. "
           ครั้นล่วง ๗  วันแล้ว  เสด็จออกจากภายใต้ร่มไม้พระมหาโพธิ
นั้น  ไปยังภายใต้ร่มไม้ไทร  ซึ่งเป็นที่พักแห่งคนเลี้ยงแพะ  อันได้ชื่อว่า
' อชปาลนิโครธ อันตั้งอยู่ในบุรพทิศแห่งพระมหาโพธิทรงนั่งเสวย
วิมุตติสุข ๗  วัน.  ครั้งนั้น  พราหมณ์ผู้หนึ่ง  มีชาติแห่งคนมักตวาดผู้
อื่นว่า  ' หึ หึ เป็นปรกติ  มายังที่นั้นทูลถามถึงพราหมณ์และธรรม
ซึ่งทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์ว่า   " บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไร และธรรมอะไรทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์ ? "   พระองค์
ตรัสตอบว่า   " พราหมณ์ผู้ใดมีบาปธรรมอันลอยเสียแล้ว  ไม่มีกิเลส
เป็นเครื่องขู่ผู้อื่นว่า  ' หึ หึ เป็นคำหยาบ  และไม่มีกิเลสอันย้อมจิต
ให้ติดแน่นดุจน้ำฝาด  มีตนสำรวมแล้ว  ถึงที่สุดจบเวทแล้ว  มี
พรหมจรรย์ได้อยู่เสร็จแล้วผู้นั้น  ไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้นในโลกแม้น้อย
หนึ่ง ควรกล่าวถ้อยคำว่า  ตนเป็นพราหมณ์โดยธรรม. "   พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า  ทรงแสดงสมณะและธรรมซึ่งทำบุคคลให้เป็นสมณะว่า
เป็นพราหมณ์  และธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์ในพระพุทธศาสนา
โดยโวหารพราหมณ์  ด้วยพระวาจานี้.
           อธิบายว่า  คนพวกหนึ่ง  ถือตัวว่าเป็นเหล่ากอสืบเนื่องมาแต่

๑.  ขุ. อุ. ๒๕/๗๗.  มหาวคฺค. ปม. ๔/๕.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 49
พรหม  จึงได้นามว่า  ' พราหมณ์ แปลว่าเป็นวงศ์พรหม  พราหมณ์
นั้น  ระวังชาติชอบตนไม่ให้ปนคละด้วยชาติอื่น  แม้จะหาสามีภรรยา
ก็หาแต่ในพวกคนเท่านั้น, เขาถือว่า  พวกเขาเป็นอุภโตสุชาติ  เกิดดี
แล้วทั้ง ๒  ฝ่าย  คือทั้งฝ่ายมารดาทั้งฝ่ายบิดาเป็นสังสุทธคหณี  มีครรภ์
เป็นที่ปฏิสนธิหมดจดดีแม้ชาติอื่นที่นับว่าต่ำกว่าชาติพราหมณ์ก็ย่อม
นับถือพราหมณ์แม้พวกกษัตริย์ผู้ถือตนว่ามีชาติสูง  ก็ย่อมนับถือ
พราหมณ์  เช่นเจ้านายทรงนับถือพระฉะนั้น.
           พราหมณ์นั้น  มีวิธีลอยบาป  คือตั้งพิธีอย่างหนึ่งเป็นการประจำ
ปี  ที่เรียกว่า  ' ศิวาราตรี ในพิธีนั้น  เขาลงอาบน้ำในแม่น้ำ  สระ
เกล้าชำระกายให้หมดจดแล้ว  ถือว่าได้ลอยบาปไปตามกระแสน้ำแล้ว
เป็นสิ้นบาปกันคราวหนึ่งถึงปีก็ทำใหม่.  เขามีเวท  คือตำหรับแสดง
คำสวนอ้อนวอนเทวดาและการบูชายัญกับทั้งมนต์สำหรับเซ่น  และกิจ
ที่จะต้องทำในศาสนาของเขา ๓  อย่าง  ชื่ออิรุพเพท ๑  ยชุพเพท
สามเพท ๑.  ถ้าเติมอถัพพนเพทเข้าด้วย  ก็เป็น ๔.  พราหมณ์ผู้กำลัง
เรียนเพททั้ง ๓  หรือทั้ง ๔  นั้น  ชื่อ  ' พรหมจารี ผู้ประพฤติพรหม-
จรรย์  ผู้เรียนจบแล้ว  ชื่อว่าถึงที่สุดเพทหรืออยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
คือเสร็จกิจเป็นเหตุอยู่ในสำนักครู.  พราหมณ์ก็คือคนชาตินั้น  ธรรมที่

๑.  ดู สุ. วิ. ปม. ๓๑๕.   ๒. ดูพระราชพิธีสิบสองเดือน.   ๓.  ฤคเวท ตำหรับแถลงพิธี
สวดมนต์เวลาทำพิธีกรรม.   ๔.  ยชุรเวท ตำหรับแถลงพิธีทำกิจบูชายัญ.   ๕.  สามเวท
ตำหรับแถลงพิธีสวดเป็นทำนองในเวลาทำพิธีต่าง ๆ.   ๖.  อถรรพนเวท ตำหรับแถลง
พิธีรักษาโรคและไล่ผีที่เข้าสิงในกายมนุษย์. ดูพิสดารในคำอธิบายและอภิธานสำหรับ
ประกอบเรื่องนารายณ์สิบปางของสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ หน้า ๑๕ พิมพ์ ครั้งที่ ๑/๒๔๖๖.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 50
ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์  ก็คือไตรเพท. 
           ส่วนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้โวหารนั้น  แต่เปลี่ยนแสดง
สมณะและธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นสมณะว่าเป็นพราหมณ์  และธรรม
ที่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์  ในพระพุทธศาสนา ด้วยพระวาจานั้น.
พรรณนาความว่า  บุคคลผู้ยังบาปให้สงบระงับจากสันดาน  ชื่อว่าเป็น
พราหมณ์  พราหมณ์นั้นละกิเลสที่ทำให้เป็นผู้ดุร้ายเย่อหยิ่งและย้อม
จิตให้ติดแน่นในกามารมณ์แล้ว  จึงชื่อว่ามีบาปอันลอยเสียแล้วได้
ศึกษาจบวิทยาอย่างยอก ๓  ประการในศาสนาเสร็จแล้ว  จึงชื่อว่าถึง
ที่สุดจบเวทแล้วมีกิจที่จำจะต้องทำในการละสิ่งอันควรละ  เจริญสิ่ง
อันควรเจริญ  ได้ทำเสร็จแล้ว  ไม่ต้องเพียรเพ่งกิจอื่นอีก  จึงชื่อว่า
มีพรหมจรรย์ได้อยู่เสร็จแล้ว.
           ครั้นล่วง ๗  วันแล้ว  เสด็จออกจากร่มไม้อชปาลนิโครธ  ไปยัง
ไม้จิกซึ่งได้นามว่า  ' มุจจลินท์ อันตั้งอยู่ในทิศอาคเนย์แห่งพระ
มหาโพธิทรงนั่งเสวยวิมุตติสุข ๗  วัน  ทรงเปล่งอุทาน  ณ  ที่นั้นว่า
" ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรมได้สดับแล้ว  ยินดีอยู่ในที่สงัด
รู้เห็นตามเป็นจริงอย่างไรความไม่เบียดเบียนคือความสำรวมในสัตว์
ทั้งหลาย  และความปราศจากกำหนัด คือความล่วงกามทั้งหลายเสียได้
ด้วยประการทั้งปวง  เป็นสุขในโลกความนำอัสมิมานะ  คือถือว่า
ตัวตนให้หมดได้  เป็นสุขอย่างยิ่ง. "
           พระคันถรจนาจารย์  แสดงประพฤติเหตุในสถานที่นี้ว่า  ฝนตก

๑.  ขุ. อุ. ๒๕/๘๖.  มหาวคฺค. ปม. ๔/๖.
๒.  สมนฺต. ตติย. ๑๐.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 51
พรำ  เจือด้วยหนาวตลอด ๗  วัน  พระยานาคชื่อ  ' มุจจลินท์ เข้า
มาวงด้วยขนด ๗  รอบ  และแผ่พังพานปกพระผู้มีพระภาคเจ้า  เพื่อ
จะป้องกันฝนและลมมิให้ถูกพระกายครั้นฝนหายแล้ว  คลายขนด
ออก  จำแลงเพศเป็นมาณพ  มายืนเฝ้า  ณ  ที่เฉพาะพระพักตร์พระ-
องค์ได้ทรงเปล่งอุทานมีความดังกล่าวแล้ว.
           เรื่องนี้ เห็นว่าพรรณนาเทียบด้วยปางเทวรูปนาคปรก.  อันปาง
นาคปรกนั้น  ไม่เฉพาะมีแต่พระพุทธรูป  เทวรูปก็มี  และเข้าใจว่า
มีมาก่อนพระพุทธรูปด้วย.  พวกที่เรียกว่านาคนั้น  น่าจะได้แก่พวกที่
นับถือเทวรูปนาคปรกนี้เองยังไม่เคยพบตำนาน  เป็นแต่ได้เห็นรูป
ที่ทำได้.  เทวรูปชนิดนี้มีเทวสถานเมืองลพบุรีเป็นอันมาก  ทำด้วย
ศิลา  องค์ใหญ่ ๆ  แต่ปั้นพอกแปลงเป็นพระพุทธรูปและปิดทองที่ยัง
ไม่ได้แปลงหรือที่รอยปั้นหลุดออกแล้ว  แลเห็นเป็นเทวรูปตามเดิม,
ไม่พบตำนานแห่งเทวรูปนาคปรก  จะถอดความให้ชัดกว่านี้ไม่ถนัด.
           ครั้นล่วง ๗  วันแล้ว  เสด็จออกจากร่มไม้มุจจลินท์ไปยังไม้เกต
ซึ่งได้นามว่า  ' ราชายตนะ อันตั้งอยู่ในทิศทักษิณแห่งพระมหาโพธิ
ทรงนั่งเสวยวิมุตติสุข ๗  วัน.  สมัยนั้น  พาณิช ๒  คน  ชื่อตปุสสะ ๑
ภัลลิกะ ๑  เดินทางจากอุกกลชนบทถึงที่นั้นได้เห็นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าประทับอยู่  ณ  ภายใต้ต้นไม้ราชายตนะ  จึงนำข้าวสุตตุผง  ข้าว
สัตตุก้อน  ซึ่งเป็นเสบียงสำหรับเดินทางเข้าไปถวายแล้วยืน  ณ  ที่ควร
ข้างหนึ่ง.  พระองค์ทรงรับแล้ว  เสวยเสร็จแล้วพาณิช ๒  คนนั้น
กราบทูลแสดงตนเป็นอุบาสก  อ้างพระองค์กับพระธรรมเป็นสรณะเป็น


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 52
ปฐมอุบาสกในพุทธกาลแล้วหลีกไป.
           พระคันถรจนาจารย์กล่าวแระพฤติเหตุในสถานที่นี้  ขยายให้
เขื่องออกไปว่า  สองพาณิชมาพบพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  เพราะเทวดา
บอกและในเวลานั้นบาตรทรงหามีไม่  เพราะหายเสียแต่คราวทรง
รับข้าวปายาสของนางสุชาดาแล้ว  ทรงดำริว่า  พระตถาคตเจ้าท่าน
ไม่รับบิณฑบาตด้วยพระหัตถ์  จักทำไฉนหนอ ท้าวจาตุมหาราช ๔
องค์ทรงทราบพระพุทธดำริแล้ว  ต่างนำบาตรศิลาองค์ละใบเข้าไป
ถวายทรงรับและอธิษฐานเข้าเป็นใบเดียวกันแล้ว  ทรงรับข้าว
สัตตุ ๒  ชนิดของ ๒  พาณิชด้วยบาตรนั้น.
           เรื่องนี้  พรรณนาเทียบด้วยวัตถุอะไร  สันนิษฐานไม่ถนัด,
บางทีจะเพ่งอรรถว่าเป็นทักขิไณย  ควรรับสักการะอันทายกจะพึงนำมา
ถวายแต่ ๔  ทิศกระมัง เพราะท้าวจาตุมหาราชเป็นเจ้าแห่งทิศองค์
ละทิศและเมื่อกล่าวในตอนรับบิณฑบาตทาน  ถวายบาตรเป็น
เหมาะกว่าอย่างอื่น  ทั้งจะได้แทนบาตรเดิมที่หายเสียด้วย.
           ความในปริเฉทนี้  เรียงตามโครงเรื่องแห่งบาลีมหาวรรคพระ
วินัย.  ฝ่ายพระอรรถกถาจารย์  แทรกความในระหว่างเสด็จอยู่ที่พระ
มหาโพธิและที่อชปาลนิโคระว่า  เสด็จจากพระมหาโพธิไปทางทิศ
อีสาน  เสด็จยืนจ้องดูพระมหาโพธิด้วยมิได้กระพริบพระเนตรตลอด
๗  วันสถานที่นั้นเรียกว่า  ' อนิมิสเจดีย์, '  เสด็จกลับจากที่นั้น

๑.  สมนฺต. ตติย. ๑๒.   ๒.  ทิศบูรพา  ท้าวธตรัฏฐ์, ทิศทักษิณ ท้าววิรุฬหก, ทิศปัจจิม
ท้าววิรูปักข์, ทิศอุดร ท้าวกุเวร.   ๓.  มหาวคฺค. ปม. ๔/๔-๗.   ๔.  สมนฺต. ตติย. ๘.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 53
มาหยุดในระหว่างกลางแห่งพระมหาโพธิและอนิมิสเจดีย์  ทรงนิรมิต
ที่จงกรมขึ้นแล้ว  เสด็จจงกรม  ณ  ที่นั้นถ้วน ๗  วันสถานที่นั้น
เรียกว่า  ' รัตนจงกรมเจดีย์, '  ในสัปดาหะที่ ๔  เทวดานิรมิตเรือน
แก้วขึ้นในทิศปัจจิมหรือในทิศพายัพแห่งพระมหาโพธิ  เสด็จนั่งขัด
บัลลังก์  ทรงพิจารณาพระอภิธรรมปิฎกสิ้น ๗  วันสถานที่นี้เรียกว่า
' รัตนฆรเจดีย์ ต่อนี้จึงเสด็จไม้อชปาลนิโครธตามนัยนี้  เพิ่มสถาน
ในจังหวัดพระมหาโพธิ  อันเรียกว่า  ' โพธิมัณฑะ อีก ๓  สถาน,
เพิ่มกาลเข้าอีก ๓  สัปดาหะรวมเป็น ๗  สถาน ๗  สัปดาหะ.  การเพิ่ม
สถานและกาลเข้าดั่งนี้  น่าจะเก็บเอามาจากหนังสืออื่น  อันกล่าว
แปลกออกไปจากมหาวรรค.
           สมัยที่ว่าเก็จประทับอยู่  ณ  สถานนั้น ๆ  ตำบลละสัปดาหะหนึ่ง
นั้น  น่าใคร่ครวญอยู่บ้าง.  การนับสัปดาหะนั้น  คือ  นับขวบวาระ ๗
อย่างที่พวกอังกฤษนับว่า  วิกไทยเราเอาอย่างมาใช้เรียกว่า  อาทิตย์.
ครั้งบาลีการนับสัปดาหะมีแจ้งแล้ว  แต่การนับวาระหาปรากฏไม่.
ตรงกันข้ามกับการนับของพวกเรา ๆ  รู้จักนับวาระมานานแล้ว  เรียก
ชื่อวาระตามชื่อ  พระอาทิตย์  พระจันทร์  และดาวเคราะห์อื่น  แต่ไม่
รู้จักนับสัปดาหะ  พึ่งเอาอย่างฝรั่งมาใช้เมื่อภายหลัง.  วาระและ
สัปดาหะเป็นคู่กัน  มีต้องมีด้วยกันสันนิษฐานเห็นว่า  ครั้งบาลี
ชะรอยจะไม่ได้ใช้เรียกชื่อวาระตามพระเคราะห์ทั้ง ๗.  ชะรอยจะเรียก
นับสังขยาว่า  วาระที่ ๑  ที่ ๒  ไปจนถึงที่ ๗  เหมือนพวกจีนนับ  เป็น

๑.  week.   ๒.  อังคารพุทธพฤหัสบดี, ศุกร์, เสาร์.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 54
แต่ของเขามีสุญวาระหน ๑  จึงมีในลำดับเพียง ๖.  บางทีในเรื่องเดิมจะ
กล่าวว่า  ที่ ๑  แห่งสัปดาหะ  เสด็จประทับอยู่ที่นั่นที่ ๒  แห่ง
สัปดาหะ  เสด็จประทับอยู่ที่นี่ภายหลังเข้าใจปนกันไปเป็นสัปดาหะ
ที่ ๑  สัปดาหะที่ ๒.
           เพราะกำหนดวันเสด็จอยู่  ณ  โพธิมัณฑะมาก  ทั้งเข้าใจว่า  เสด็จ
นั่งอยู่กับที่ไม่ได้เสวยพระอาหารพระอรรถกถาจารย์จึงพรรณนาว่า
ข้าวปายาสที่นางสุชาดาถวายนั้น  ปันเป็นคำได้ ๔๙ คำ  พอไปได้,
วันละคำ.  ถ้าเข้าใจว่า  การเสวยพระอาหารไม่มีเหตุ  ก็ไม่ได้กล่าวถึง
เล่นในเวลาเลิกทุกรกิริยา  วันจะนานเท่าไรก็ได้.
           ในสมัยเสด็จอยู่ที่ไม้อชปาลนิโครธนั้น  พระอรรถกถาจารย์หาได้
กล่าวถึงพราหมณ์เข้าไปเฝ้าไม่กล่าวถึงธิดามาร ๓  คน  คือ  นาง
ตัณหา  นางอรดี  นางราคา  อาสาพระยามารผู้บิดา  และเข้าไป
ประโลมพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยอาการจ่าง ๆ  แต่พระองค์มิได้ใยดี,
ความข้อนี้  แต่งขยายเป็นบุคคลาธิษฐานจากคาถา  ตรัสตอบแก่
พราหมณ์  แสดงพราหมณ์คือสมณะ  และธรรมทำให้เป็นพราหมณ์
คือสมณะนั้นเอง  และชื่อธิดามาร  ก็บ่งอยู่แล้ว.
           แสดงความสืบอนุสนธิต่อไปว่า  ครั้นล่วง  ๗  วันแล้ว  พระผู้มี
พระภาคเจ้า  เสด็จออกจากร่มไม้ราชายตนะ  กลับไปประทับ  ณ  ร่มไม้
อชปาลนิโครธอีกทรงพิจารณาถึงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วว่า
เป็นคุณอันลึก  ยากที่บุคคลผู้ยินดีในกามคุณจะตรัสรู้ตามได้  ท้อ

๑.  สมนฺต. ตติย. ๑๓.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 55
พระหฤทัยเพื่อจะตรัสสั่งสอนแต่อาศัยพระกรุณาในหมู่สัตว์  จึงทรง 
พิจารณาอีกเล่า  ว่าจะมีผู้รู้ทั่วถึงธรรมนั้นบ้างหรือไม่ ก็ทรงทราบ
ด้วยพระปัญญาว่า  บุคคลผู้มีกิเลสน้อยเบาบางก็มีผู้มีกิเลสหนาก็มี,
ผู้มีอินทรีย์คือศรัทธา  วิริยะ  สติ  สมาธิ   ปัญญา  กล้าก็มีผู้มี
อินทรีย์อ่อนก็มีผู้มีอาการอันดีก็มีผู้มีอาการอันชั่วก็มีเป็นผู้จะ
พึงสอนให้รู้ได้โดยง่ายก็มีเป็นผู้จะพึงสอนให้รู้ได้โดยยากก็มี, เป็นผู้
สามารถจะรู้ได้ก็มีเป็นผู้ไม่สามารถจะรู้ได้ก็มี.  มีอธิบายเป็นคำ
เปรียบว่า  ในกออุบลคือบัวขาว  ในกอปทุมคือบัวหลวง  หรือใน
กอบุณฑริกคือบัวขาวดอกบัวที่เกิดแล้วในน้ำ  เจริญแล้วในน้ำ  น้ำ
เลี้ยงอุปถัมภ์ไว้บางเหล่ายังจมในน้ำ  บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ  บาง
เหล่าตั้งขึ้นพ้นน้ำ.  ในดอกบัว ๓  อย่างนั้น  ดอกบัวที่ตั้งขึ้นพ้นน้ำแล้ว
นั้น  คอยสัมผัสรัศมีพระอาทิตย์อยู่  จักบาน  ณ  วันนี้ดอกบัวที่ตั้ง
อยู่เสมอน้ำนั้น  จักบาน  ณ  วันพรุ่งนี้ดอกบัวที่ยังไม่ขึ้นจากน้ำ  ยัง
ตั้งอยู่ภายในน้ำ  จักบาน  ณ  วันต่อ ๆ  ไปดอกบัวที่จะบานมีต่างชนิด
ฉันใด  เวไนยสัตว์ก็มีต่างพวกฉันนั้นผู้มีกิเลสน้อยเบาบาง  มี
อินทรีย์กล้า  มีอาการอันดี  เป็นผู้ที่จะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่าย  ก็อาจ
จะรู้ธรรมพิเศษนั้นได้ฉับพลันผู้มีคุณสมบัติเช่นนั้น  เป็นประมาณ
กลาง  ได้รับอบรมในปฏิปทาเป็นบุพพภาค  จนมีอุปนิสัยแก่กล้า
ก็สามารถจะบรรลุธรรมพิเศษนั้นดุจเดียวกันผู้มีคุณสมบัติเช่นนั้น
ยังอ่อน  หรือหาอุปนิสัยมิได้เลย  ก็ยังควรได้รับแนะนำในธรรม
เบื้องต่ำไปก่อน  เพื่อบำรุงอุปนิสัยเมื่อเป็นเช่นนี้  พระธรรม-


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 56
เทศนาคงไม่ไร้ผล  จักยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่คนทุกเหล่าเว้นแต่
จำพวกที่ไม่ใช่เวไนย  คือไม่รับแนะนำ  ที่เปรียบด้วยดอกบัวอันเป็น
ภักษาแห่งปลาและเต่าฉิบหายเสีย.  ครั้นทรงพิจารณาด้วยพระญาณ
หยั่งทราบเวไนยสัตว์  ผู้จะได้รับประโยชน์จากพระธรรมเทศนาดั่งนั้น
แล้วได้ทรงอธิษฐานพระหฤทัยในที่จะแสดงธรรมสั่งสอนมหาชน
และตั้งพุทธปณิธานจะใคร่ดำรงพระชนม์อยู่  กว่าจะได้ประกาศพระ
ศาสนาแพร่หลาย  ประดิษฐานให้ถาวร  สำเร็จประโยชน์แก่ชนนิกร
ทุกเหล่า.
           ในอธิการนี้  พระคันถรจนาจารย์แสดงความว่า  ในกาลเป็น
ลำดับแห่งพระหฤทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า  น้อมไปเพื่อทรงขวน
ขวายน้อยเสียดั่งนั้นท้าวสหัมบดีพรหม  ทราบพระพุทธอัธยาศัย
แล้ว  ลงมาจากพรหมโลก  กราบทูลอาราธนาเพื่อทรงแสดงธรรม
อัางว่า  สัตว์ผู้มีกิเลสเบาบางอาจรู้ได้ก็มีอยู่.  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
พิจารณาสอบด้วยพระญาณ  ก็ได้เห็นสัตว์มีประการต่าง ๆ  เปรียบ
ดุจดอกบัวต่างชนิด  อันจะบานในวันเป็นลำดับดังนั้นแล้ว  ก็ทรงรับ
อาราธนาของท้าวสหัมบดีพรหม  เพื่อจะทรงแสดงธรรมโปรดสัตว์.
           สันนิษฐานเห็นว่า  เรื่องนี้กล่าวขยายพระพุทธดำริปรารภการ
แสดงพระธรรมเทศนาเป็นบุคคลาธิษฐาน.  พรหมนั้นมีเมตตากรุณา
เป็นวิหารธรรมกล่าวถึงท้าวสหัมบดีพรหม  ก็คือกล่าวถึงพระกรุณา

๑.  ปาสราสิสูตร. ม. มู. ๑๒/๓๒๔. สมนฺต. ตติย. ๑๔.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น