วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ความหมายของคำว่าธรรมะ

                 แบบประกอบนักธรรมตรี - อธิบายธรรมในนวโกวาท - หน้าที่ 7
ความหมายของคำว่าธรรมะ
หมายถึงสิ่งทุกสิ่ง ตั้งแต่สิ่งที่เห็นและไม่เห็น ใจนึกถึงรูปธรรม
objective นามธรรม subjective หมายถึงหน้าที่ ๆ ตนต้อง
ปฏิบัติตามกฎธรรมชาติ หมายถึงสิ่งหรือสภาพที่ทรงตัวเองไว้ เคยเป็น
อยู่อย่างไรก็คงเป็นอยู่อย่างนั้น การทรงตัวเองไว้ได้นี่แหละเรียกว่า
ธรรมะ ถ้าเป็นอย่างดีก็ทรงความดีไว้ตลอดไป ถ้าเป็นอย่างชั่วก็ทรง
ความชั่วไว้ตลอดไป ถ้าไม่ดีไม่ชั่วเป็นกลาง ๆ ก็ทรงความเป็นกลาง ๆ
อยู่อย่างนั้น
ลักษณะทั่วไปของธรรมะมีอยู่ ๓ อย่างคือ อย่างดีเรียกว่า กุศล-
ธรรม อย่างชั่วเรียกว่า อกุศลธรรม อย่างกลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่วเรียกว่า
อัพยากฤตธรรม ประเภทของธรรมะมี ๓ ประการ คือ
๑. ธรรมที่ต้องศึกษาเล่าเรียน เรียกว่า ปริยัติธรรม
๒. ศึกษาแล้วปฏิบัติตาม เรียกว่า ปฏิบัติธรรม
๓. ได้ผลจากการปฏิบัตินั้น เรียกว่า ปฏิเวธรรม
ธรรมะโดยทั่วไปมี ๓ คือ
๑. จริยธรรม เป็นข้อปฏิบัติทั่ว ๆ ไป
๒. สัจจธรรม ความจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้
๓. ปรมัตถธรรม ธรรมชั้นสูง
หน้าที่ของธรรมะมี ๓ ประการ คือ
๑. ธรรมะที่เป็นส่วนเหตุ เช่น สติปัฏฐาน ๔ ตัณหา ความ
อยากเป็นต้น
แบบประกอบนักธรรมตรี - อธิบายธรรมในนวโกวาท - หน้าที่ 8
๒. ธรรมะที่เป็นอุปการะ เช่น สติความระลึกได้ สัมปชัญญะ
ความรู้ตัว
๓. ธรรมะที่เป็นส่วนผล เช่น ทุกข์ ความเดือดร้อนทางกาย
ใจ ญาณ ความรู้เป็นต้น
รัตนะมี ๓
๑. พุทธรัตนะ หมายถึงผู้สั่งสอนให้รู้ทางพ้นทุกข์
๒. ธรรมรัตนะ หมายถึงคำสอนที่มีเหตุผล ทำให้ผู้ปฏิบัติ
พ้นทุกข์
๓. สังฆรัตนะ หมายถึงผู้ปฏิบัติตามคำสอนด้วย สุปฏิปนฺโน
อุชุปฏฺปนฺโน ญายปฏิปนฺโน และ สามีจิปฏิปนฺโน
พระสงฆ์มี ๒ อย่าง คือ
๑. อริยสงฆ์ หมายถึงผู้ปฏิบัติได้ธรรมชั้นสูง มีโสดาปัตติ-
มรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล
อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล
๒. สมมุติสงฆ์ หมายถึงสงฆ์ที่ยังต้องศึกษาเล่าเรียน ยังมี
กิเลส เป็นปุถุชน
คุณของพระพุทธเจ้ามี ๙ ประการ
๑. อรหํ เป็นผู้ไกลจากกิเลส
๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธ เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง
๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา ๓
จรณะ ๑๕
แบบประกอบนักธรรมตรี - อธิบายธรรมในนวโกวาท - หน้าที่ 9
๔. สุคโต เป็นผู้ไปดี
๕. โลกวิทู เป็นผู้รู้โลก
๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นผู้ฝึกผู้ควรฝึก ไม่มีใคร
ยิ่งกว่า
๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นครูสอนเทวดาและมนุษย์
๘. พุทฺโธ เป็นผู้ตื่น
๙. ภควา เป็นผู้มีพระกรุณาแจกแจงแสดงธรรม
ย่อเหลือ ๓ คือ พระมหากรุณาธิคุณ พระวิสุทธิคุณ
พระปัญญาคุณ
คุณของพระธรรมมี ๖ ประการ
๑. สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระพุทธเจ้า
ตรัสสอนดีแล้ว
๒. สนฺทิฏฺฐิโก เป็นสิ่งที่พึงได้ด้วยตนเอง
๓. อกาลิโก ไม่จำกัดกาลเวลา
๔. เอหิปสฺสิโก เป็นธรรมที่เชิญมาดูด้วย
๕. โอปนยิโก เป็นสิ่งที่ควรน้อมตนเข้าไปหา
๖. ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ เป็นสิ่งที่วิญญูชนพึงรู้ได้
เฉพาะตน
ย่อเหลือ ๑ คือ รักษาผู้ประพฤติมิให้ตกไปในทางชั่ว
คุณของพระสงฆ์มี ๙ ประการ
๑. สุปฏิปนฺโน พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ฯ
ปฏิบัติดีแล้ว
แบบประกอบนักธรรมตรี - อธิบายธรรมในนวโกวาท - หน้าที่ 10
๒. อุชุปฏิปนฺโน พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ฯ
ปฏิบัติตรง
๓. ญายปฏิปนฺโน " "
ปฏิบัติด้วยความรู้
๔. สามีจิปฏิปนฺโน " "
ปฏิบัติโดยชอบ เป็นส่วนเหตุ
๕. อาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรนับถือ
๖. ปาหุเนยฺโย " ต้อนรับ
๗. ทกฺขิเณยฺโย " แก่การทักษิณา (ให้)
๘. อญฺชลิกรณีโย " อัญชลี
๙. อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส เป็นเนื้อนาบุญของโลก
ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า เป็นส่วนผล
ย่อเหลือ ๑ คือ ผู้ปฏิบัติดีแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตามด้วย
ทั้ง ๓ รัตนะนี้ ย่อเหลือ ๓ คือ อิ. สฺวา. สุ.
อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ อย่าง
๑. ทรงสั่งสอน เพื่อให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้
ควรเห็น
๒. ทรงสั่งสอน มีเหตุผลที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้
(โลภะ โทสะ โมหะ)
๓. ทรงสั่งสอน เป็นอัศจรรย์ คือ ผู้ปฏิบัติตามย่อมได้
ประโยชน์โดยสมควรแก่การปฏิบัติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น