วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

พุทธประวัติ เล่ม ๑ นักธรรมตรี หน้า ๑-๔๓








                                       คำชี้แจง
                           พิมพ์ครั้งที่  ๒๓/๒๔๘๐

        สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ  ปรารถนาจะทรงรจนาพุทธประวัติ
ตั้งแต่เล่ม  ๑   ถึงเล่ม ๔  ตามที่ทรงแสดงไว้ในคำปรารภแต่มีโอกาส
ทรงรจนาได้เพียงเล่มนี้ฉบับเดียวเท่านั้น  จึงยังขาดอีกถึง ๓  เล่ม.
พุทธประวัติฉลับนี้มุ่งไปทางวิจารณ์เรื่อง  เพื่อนำผู้อื่นผู้เรียนให้
รู้จักใช้วิจารณญาณเพราะฉะนั้น  ในท้องเรื่องจึงมีทั้งบรรยายความ
และวิจารณ์คลุกเคล้ากันตลอดไป.
        ชั้นเดิมสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ  ทรงรจนาหนังสือนี้แจกใน
งานพระศพ  ไม่ได้ทรงรจนาเป็นหลังสูตร  จึงปรากฏเป็นรูปหนังสือ
สำหรับอ่านยิ่งกว่าสำหรับเรียนครั้นภายหลังได้จัดเข้าเป็นหลักสูตร
นักธรรมแล้ว  ก็ยังไม่ได้มีการแก้ไขตามข้อความในคำนำพิมพ์ครั้ง
ที่ ๒/๒๔๕๗  และครั้งที่ ๑๘/๒๔๗๐  นั้นแล้วแม้ครั้งนี้ก็คงเป็นไปโดย
นัยนั้น  หากแต่ได้แก้ไขระเบียบการย่อหน้าวรรคตอนและเครื่องหมาย
พร้อมด้วยอักขรวิธีซึ่งยุติในเวลานี้อย่างหนึ่ง  ทำบันทึกเชิงหน้าบอกที่
มาแห่งเรื่องและอธิบายความ หรือชี้แจงอรรถ  พยัญชนะ อีออย่างหนึ่ง
ส่วนบันทึกเดิมของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ    ได้ลงอักษร  ว. ว.
กำกับไว้เป็นเครื่องหมาย  เพื่อไม่ให้ปะปนกับบันทึกใหม่.
        อนึ่ง  การพิมพ์ครั้งนี้   ได้ช่วยกันจัดทำบานแผนก [Index]  ไว้
ในตอนท้ายเล่ม  เพื่อสะดวกแก่การค้นคว้าข้อความนั้น ๆ  ด้วยนับ
เป็นระเบียบใหม่ที่นำมาใช้ในหนังสือแบบเรียนนักธรรมนี้.
        ข้าพเจ้าพร้อมด้วยคณะกรรมการกองตำรา   ขออุทิศน้ำพัก
น้ำแรงที่ช่วยกันปรับปรุงหนังสือ   ตามวิธีที่ได้ชี้แจงแล้วแต่ต้นนั้น
บูชาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  และมอบ
ลิขสิทธิแก่มหามกุฏราชวิทยาลัยต่อไป.
                                พระศรีวิสุทธิวงศ์ (ทองสืบ  จารุวณฺโณ  ป. ๙)
                                                หัวหน้ากองตำรา
มหามกุฏราชวิทยาลัย
๒๐  พฤษภาคม  ๒๔๘๐


                                         คำนำ
                            (พิมพ์ครั้งที่ ๑๘/๒๔๗๐) 

        หนังสือพุทธประวัติที่พิมพ์ครั้งนี้  คงเค้าความตามฉบับเดิม
เป็นแต่ชำระระเบียบอักษรให้ต้องกับนิยมในบัดนี้  เพื่อนุโลมให้ยุติ
กับหนังสืออย่างอื่น ๆ ที่ใช้เป็นหลักสูตรการศึกษา  โดยพระกระแส
รับสั่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า.
                                                        พระสาสนโสภณ
วัดเทพศิรินทราวาส
วันที่  ๔  กรกฎาคม  ๒๔๗๐

๑.  สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  (าณวร  เจริญ ป. เอก)  กรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย


                                     คำนำ 
                         (พิมพ์ครั้งที่  ๒/๒๔๕๗) 

        หนังสือพุทธประวัติภาคที่ ๑  ตอนปฐมโพธิกาลฉบับนี้  ได้
รจนาขึ้น   และได้พิมพ์เป็นการพระราชกุศลในงานพระศพ  พระเจ้า
บรมวงศ์เธอ  กรรมหลวงวรเสฐสุดา  ณ  พระเมรุท้องสนามหลวง  เมื่อ
พุทธศักราช  ๒๔๕๕.  ตั้งแต่นั้นมา  สนามหลวงได้สอบความรู้พระ
ธรรมวินัยของภิกษุสามเณรขึ้น  ได้จัดพุทธประวัติเข้าในหลักสูตร
ด้วยอย่างหนึ่ง  จึงมีผู้ต้องการหนังสือนี้มากขึ้นหนังสือที่พิมพ์
ครั้งแรกไม่พอ  จึงมอบการพิมพ์หนังสือนี้ให้เป็นธุระของมหามกุฏ-
ราชวิทยาลัย  เพื่อจะได้มีพอแก่ผู้ต้องการเสมอไป.  หนังสือพิมพ์
ฉบับนี้พิมพ์เป็นครั้งที่ ๒  คงตามฉบับที่ ๑  ยังไม่ได้แก้.
                                                กรม-วชิรญาณวโรรส
วันที่ ๘ พฤศจิกายน  ๒๔๕๗


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 1
                                       พุทธประวัติ
                                         ปุริมกาล
                                         ปริเฉทที่ ๑ 
                            ชมพูทวีป  และ  ประชาชน                       
           ตั้งแต่ครั้งดึกดำบรรพ์มา  ชมพูทวีปคือแผ่นดินที่เรียกในทุกวัน
นี้ว่าอินเดีย  อันตั้งอยู่ในทิศพายัพแห่งประเทศสยามของเรานี้  ชน
ชาติอริยกะได้ตั้งมาแล้วชนจำพวกนี้ไม่ใช่เจ้าของถิ่นเดิมยกลง
มาจากแผ่นดินข้างเหนือ  ข้ามภูเขาหิมาลัยมา  รุกไล่พวกมิลักขะ
เจ้าของถิ่นเดิมให้ถอยเลื่อนลงมาข้างใต้ทุกที  แล้วเข้าตั้งถิ่นฐานใน
ชมพูทวีปนั้น.
           พวกอริยกะนั้นเป็นผู้เจริญด้วยความรู้และขนบธรรมเนียมและ
มีฤทธิ์มีอำนาจมากกว่าพวกมิลักขะเจ้าของถิ่นเดิม  จึงสามารถตั้งบ้าน
เมืองและปกครองได้ดีกว่า.
           ชมพูทวีปนั้น  แบ่งเป็น ๒  จังหวัด  ร่วมในเรียกว่ามัชฌิมชนบท
หรือมัธยมประเทศ  แปลว่าประเทศกลางภายนอกเรียกว่าปัจจันต-
ชนบท  แปลว่าประเทศปลายแดนอย่างหัวเมืองชั้นในและหัวเมือง
ชันนอกแห่งประเทศสยามของเรานี้.  มูลเหตุแบ่งจังหวัดเป็นมัชฌิม-


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 2
ชนบทและปัจจันตชนบทนั้น  สันนิษฐานว่า  แรกพวกอริยกะยกมา
ตั้งในชมพูทวีป คงจะเรียกชนบทที่ตนเข้าตั้งและเป็นกลางแห่งการ
ปกครองว่า  ' มัชฌิมชนบท, '  เรียกชนบทที่พวกมิลักขะตั้งอยู่นอกเขต
ของตนว่า  ' ปัจจันตชนบท. '
           อาณาเขตแห่งมัชฌิมชนบทนั้นคงไม่ยืนที่  น่าจะขยายออกตาม
ยุคที่ผู้ปกครองแผ่อำนาจออกไป  กว่าจะได้กำหนดเอาจังหวัดกลาง
แห่งชมพูทวีปจริง ๆถึงอย่างนั้น  ขอบเขตก็ยังน่าจะเขยิบเข้าออก
ได้อยู่.  ครั้งพุทธกาล  จังหวัดมัชฌิมชนบทกำหนดไว้ในบาลีจัมม-
ขันธกะในมหาวรรคแห่งพระวินัย  ดังนี้ :-
           ในทิศบูรพา  ภายในแต่มหาศาลนครเข้ามา.
           ในทิศอาคเนย์  ภายในแต่แม่น้ำสัลลวตีเข้ามา.
           ในทิศทักษิณ  ภายในแต่เสตกัณณิกนิคมเข้ามา.
           ในทิศปัศจิม  ภายในแต่ถูนคามเข้ามา.
           ในทิศอุดร  ภายในแต่ภูเขาอุสีรธชะเข้ามา.
           ที่ในกำหนดเท่านี้  เรียกว่า  มัชฌิมชนบท, '  ที่นอกออกไป
จากกำหนดที่ว่าแล้ว  เรียกว่า  ' ปัจจันตชนบท. แต่กำหนดที่รู้จัก
กันในครั้งหนึ่งครั้งกาลล่วงไปนาน  ชื่อบ้านเมืองเป็นต้นตลอดจน
ชื่อภูเขา  แม่น้ำ  ได้เปลี่ยนแปลงยักย้ายไป  จะนิยมเอาเป็นแน่ไม่ได้
ถึงอย่างนั้น  การจัดจังหวัดเป็นมัชฌิมชนบท  ก็ยังมีปรากฏในแผนที่

๑.  มหาวคฺค.  ทุติย. ๒/๕๓๕.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 3
อินเดียจนทุกวันนี้  ( พ.ศ. ๒๔๕๕ )  มัชฌิมชนบทนั้นเป็นที่นิยมนับถือ
ของคนในครั้งนั้น  เพราะเป็นท่ามกลาง  เป็นที่ตั้งแห่งนคร ใหญ่ ๆ
และเป็นที่ประชุมนักปราชญ์ผู้มีความรู้.
           ชมพูทวีปนั้น  ปันเป็นหลายอาณาจักรที่ปรากฏชื่อในครั้ง
พุทธกาล  ระบุไว้ในบาลีอุโบสถสูตรในติกนิบาตอังคุตร  เป็นมหา-
ชนบท ๑๖  แคว้น  คือ  อังคะ  มคธะ  กาสี  โกสละ  วัชชี  มัลละ
เจตี  วังสะ  กุระ  ปัญจาละ  มัจฉะ  สุรเสนะ  อัสสกะ  อวันตี  คันธาระ
กัมโพชะ.  ระบุไว้ในบาลีแห่งสูตรอื่น  ไม่ซ้ำชื่อข้างต้น  คือ  สักกะ
โกลิยะ  ภัคคะ  วิเทหะ  อังคุตตราปะ.  อาณาจักเหล่านี้  มีพระเจ้า
แผ่นดินดำรงยศ  เป็นมหาราชาบ้าง  เป็นแต่เพียงราชาบ้าง  มีอธิบดี
บ้าง  เป็นผู้ปกครองโดยทรงอำนาจสิทธิ์ขาดบ้าง  โดยสามัคคีธรรม
บ้างบางคราวตั้งเป็นอิสระตามลำพัง  บางคราวตกอยู่ในอำนาจอื่น
ตามยุคตามคราว.
           คนในชมพูทวีปนั้น  แบ่งเป็น  ๔  จำพวก  เรียกว่า  วรรณะ  คือ :-
           กษัตริย์  จำพวกเจ้า  มีธุระทางรักษาบ้านเมือง ๑.
           พราหมณ์  จำพวกเล่าเรียน  มีธุระทางฝึกสอนและทำพิธี ๑.
           แพศย์  จำพวกพลเรือน  มีธุระทางทำนาค้าขาย ๑.
           ศูทร  จำพวกคนงาน  มีธุระรับจ้างทำการทำของ ๑.

๑.  ตามที่กำหนดนั้น ในทิศบูรพา ภายในแต่ประเทศเบงคอลเข้ามา, ในทิศทักษิณ
ภายในแต่ประเทศเดดกันเข้ามา, ในทิศปัศจิม ภายในแต่ประเทศบอมเบเข้ามา, ใน
ทิศอุดร ภายในแต่ประเทศเนปาลเข้ามา, ( จากพุทธานุพุทธประวัติ  หน้า ๖ ).
๒.  องฺ.  ติก. ๒๐/๒๗๓.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 4
           กษัตริย์และพราหมณ์  จัดเป็นชาติสูงแพศย์เป็นสามัญศูทร
เป็นต่ำ.  ในครั้งพุทธกาล  กษัตริย์เป็นสูงสุด  แต่พวกพราหมณ์เขาก็
ถือว่าพวกเขาสูงสุด.  พวกเหล่านั้น  ที่เป็นชั้นสูง  ย่อมมีมานะ
ถือตัวจัดเหตุชาติและโคตรของตน  พวกกษัตริย์และพวกพราหมณ์
ย่อมรังเกียจพวกชั้นต่ำลงมา  ไม่สมสู่เป็นสามีภรรยาด้วย  ไม่ร่วม
กินด้วยเพราะเหตุนั้น  พวกกษัตริย์ก็ดี  พวกพราหมณ์ก็ดี  จึงสมสู่
กันแต่ในจำพวกของตน.  พวกมีโคตรสูง  ย่อมรังเกียจพวกมีโคตรต่ำ
ดุจเดียวกัน  ไม่สมสู่ด้วยคนอื่นนอกจากสกุลของตน  เช่นพวกศากยะ
อันเป็นโคตมโคตร  ไม่ยอมสมสู่แม้ด้วยพวกกษัตริย์ด้วยกันแต่ต่างโคตร
ย่อมสมสู่ด้วยกันเอง.
           วรรณะ ๔  นี้เป็นจำพวกใหญ่  นอกจากนี้ยังมีอีก  แต่เป็นจำพวก
ที่เลวทั้งนั้นเกิดแต่วรรณะ ๔  เหล่านี้  สมสู่กับวรรณะอื่นจากพวก
ของตน  เช่นพวกพราหมณีได้กับศูทร  มีบุตรออกมา  จัดเป็นอีก
จำพวกหนึ่ง  เรียกว่า  ' จัณฑาล. จำพวกคนเกิดจากมารดาบิดา
ต่างวรรณะกันเช่นนี้  เขาถือเป็นเลว  เป็นที่ดูหมิ่นของคนมีชาติสกุล
เช่นกับคนที่เรียกกันว่าครึ่งชาติในบัดนี้.
           การศึกษาของคนทั้งหลาย  ย่อมเป็นไปตามประเภทของวรรณะ
           พวกกษัตริย์  ก็ศึกษาไปในยุทธวิธี.
           พวกพราหมณ์  ก็ศึกษาไปในศาสนาและในวิทยาต่าง ๆ.
           พวกแพศย์  ก็ศึกษาไปในศิลปะและกสิกรรม  พาณิชการ.
           พวกศูทร  ก็ศึกษาไปในการงานที่จะพึงทำด้วยแรง.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 5
           คนในยุคโน้น  สนใจในวิชาธรรมมาก  จึงเป็นคนเจ้าทิฏฐิ.
ความเห็นของเขา  อันปรารภความตาย  ความเกิดและสุขทุกข์เป็น
ต่าง ๆ กันย่นลงสั้นคงเป็น  ๒  อย่าง  คือ  ถือว่าตายแล้วเกิดก็มี,
ถือว่าตายแล้วศูนย์ก็มี.  ในพวกที่ถือว่าตายแล้วเกิดบางพวกเห็นว่า
เกิดเป็นอะไรก็เป็นอยู่อย่างนั้น  ไม่จุติแปรผันต่อไปบางพวกเห็นว่า
เกิดแล้วจุติแปรผันได้ต่อไป.  ในพวกที่ถือว่าตายแล้วศูนย์บางพวก
เห็นว่า  ศูนย์ด้วยประการทั้งปวงบางพวกเห็นว่า  ศูนย์บางสิ่ง.
บางพวกถือว่า  สัตว์จะได้สุขหรือทุกข์ก็ได้เอง  สุขทุกข์ไม่มีเหตุ
ปัจจัยบางพวกเห็นว่าสุขทุกข์มีเหตุปัจจัย.  ในชนพวกหลัง  บางพวก
เห็นว่า  สุขทุกข์มีมาเพราะเหตุภายนอกมีเทวดาเป็นต้นบางพวก
เห็นว่า  สุขทุกข์มีมาเพราะเหตุภายใน  คือ  กรรม.  ต่างก็ประพฤติ
กายวาจาใจตามความเห็นของตน  และชักนำคนอื่นให้ประพฤติ
อย่างนั้นตาม.
           พวกที่ถือว่าตายแล้วเกิด  เข้าใจว่าประพฤติอย่างไร  จะไปเกิด
ในสวรรค์และสุคติ  ก็ประพฤติอย่างนั้นพวกที่ถือว่าตายแล้วศูนย์
ก็ประพฤติมุ่งแต่เพียงเอาตัวรอดในปัจจุบัน  ไม่กลัวแต่ความเกิดใน
นรกและทุคติ.
           ฝ่ายพวกที่ถือว่า  จะได้สุขหรือทุกข์ก็ได้เอง  สุขทุกข์ไม่มีเหตุ
ปัจจัย  ก็ไม่ขวนขวาย  ได้แต่คอยเสี่ยงสุขเสี่ยงทุกข์อยู่ฝ่ายพวก
ที่ถือว่า  สุขทุกข์มีมาเพราะเหตุปัจจัย  แต่เป็นเหตุปัจจัยภายนอก  ก็
บวงสรวงเทวดาขอให้ช่วยบ้าง  ขวนขวายในทางอื่นบ้าง  พวกที่ถือ

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 6
ว่า  สุขทุกข์มีมาเพราะเหตุภายในคือกรรม  เห็นว่ากรรมใดเป็นเหตุ
แห่งทุกข์  ก็เว้นกรรมนั้นเสียไม่ทำ  เห็นว่ากรรมใดเป็นเหตุแห่งสุข
ก็ทำกรรมนั้น.
           การสั่งสอนธรรมแก่คนทั้งหลาย  ดูเหมือนจะถือว่าเป็นธุระ
อันประเสริฐของคนที่มีกรุณาเป็นวิหารธรรมมีพวกมุนียอมสละสมบัติ
ในฆราวาสประพฤติพรตเป็นบรรพชิต  น้อมชีวิตของตนในการสั่งสอน
คนทั้งหลาย  เป็นคณาจารย์ตั้งสำนักแยกย้ายกันตามลัทธิมีบริวาร
ผู้ทำตามโอวาท  มุ่งผลอันเป็นที่สุดแห่งลัทธินั้น.  เกียรติยศของศาสดา
เจ้าลัทธิผู้มีชื่อเสียงดังในสมัยนั้น  ได้รับยกย่องเสมอเกียรติยศของ
พระเจ้าแผ่นดิน  หรือบางทีจะยิ่งเสียกว่า.  วาสนาอันจะทำให้เป็นผู้
เช่นนั้น  เป็นสมบัติอย่างสูงสุดในฝ่ายหนึ่ง  พึงเห็นในคำทำนาย
มหาบุรุษลักษณะว่า  ท่านผู้ประกอบด้วยลักษณะอย่างนั้น ๆ  ถ้าอยู่
ครองฆราวาส  จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิถ้าออกบวชจักได้ตรัส
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.  เกียรติยศอันนี้  พวกคณาจารย์เจ้าลัทธิ
กระหยิ่มนักเพื่อจะได้ต่างประมูลกันว่าลัทธิของตนนั่นแลถูก  อาจ
นำมนุษย์ให้ถึงผลอย่างสูงสุดได้ลัทธิของคณาจารย์อื่นผิด  ไม่มี
แก่นสารทิฏฐิของคนทั้งหลายมีต่าง ๆ กัน  เป็นเหตุมีคณาจารย์
สั่งสอนลัทธิต่าง ๆ กันฉะนี้.
           ส่วนคนที่เป็นพื้นเมือง  สงเคราะห์ในวรรณะ  ๔  เหล่า  ได้ถือ
ตามลัทธิของพราหมณ์ประพฤติตามคำสอนในไตรเพทและเพทางค์
อันเป็นต้นคัมภีร์ถือว่าโลกธาตุทั้งปวงมีเทวดาสร้างมีเทวดาประจำ

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 7
ธาตุต่างอย่าง  เช่น  ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม  มีเทวดาต่างองค์เป็นเจ้าของ,
กราบไหว้เซ่นสรวงเทวดานั้น ๆ  อ้อนวอนขอให้ประสิทธิ์ผลที่ตน
ปรารถนาทำพิธีเพื่อสวัสดิมงคลด้วยบูชายัญ.  คือติดเพลิงขึ้นแล้ว
เซ่นสรวง  มีวิธีประพฤติวัตรเป็นการบุญ  เรียกว่า  ' ตบะ คืออย่าง  
กิเลสด้วยทรมานร่างกายให้ได้ความลำบาก  เช่นถือการยืน  การเดิน
เป็นวัตร  ไม่นั่งไม่นอนและการถือกินผลไม้เลี้ยงชีวิต  ไม่กินข้าว
และอื่น ๆ  อีก.  ถ้าสิ้นชีวิตด้วยการประพฤติตบะนั้น  ก็ได้ไปสวรรค์.
เมื่อปรารถนาผลอย่างใดอย่างหนึ่ง  และบำเพ็ญตละนั้นเดชแห่ง
ตบะอาจบันดาลให้ร้อนถึงเทพเจ้า ๆ  ได้เห็นกำลังความเพียรไม่ท้อถอย
อย่างนั้นแล้ว  ย่อมประสิทธิ์พรให้สมปรารถนา.  ลัทธิแห่งพราหมณ์
มีนัยดั่งแสดงมาพอเป็นเค้ามูลฉะนี้.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 8
                                            ปริเฉทที่ ๒
                               สักกชนบท  และ  ศากยวงศ์
           ในลำดับนี้  จักพรรณนาชาติภูมิและพระวงศ์ของพระศาสดาของ
เราทั้งหลายไว้ด้วย.
           สักกชนบทนั้น  ตั้งอยู่ในชมพูทวีปตอนเหนือ  จังหวัดประเทศ
หิมพานต์ ได้ชื่อตามภูมิประเทศ  เพราะตั้งขึ้นในดงไม้สักกะมาเดิม
มีตำนานเล่าไว้  ดังนี้ :-
           พระเจ้าโอกกากราช  ดำรงราชสมบัติในพระนครตำบลหนึ่ง
มีพระราชบุตร ๔  พระองค์  พระราชบุตรี ๕  พระองค์ประสูติจาก
พระครรภ์พระมเหสีที่เป็นราชภคินีของพระองค์. ครั้นพระมเหสี
นั้นทิวงคตแล้ว  พระเจ้าโอกกากราชได้พระมเหสีอื่นอีก, พระมเหสี
ใหม่นั้น  ประสูติพระราชบุตรพระองค์หนึ่งพระเจ้าโอกกากราช
ทรงพระปราโมทย์  พลั้งพระราชทานพระพรให้พระนางเจ้าเลือกสิ่ง
ที่ต้องประสงค์  พระนางเจ้าจึงทูลขอราชสมบัติให้แก่พระโอรสของ
พระองค์พระเจ้าโอกกากราชตรัสห้ามเสียพระนางเจ้าก็ไม่ฟัง
ขืนกราบทูลอ้อนวอนอยู่เนือง ๆเพราะได้ลั่นพระวาจาแล้ว  จะ
ไม่พระราชทานก็เสียสัตย์  พระเจ้าโอกกากราชจึงตรัสสั่งพระราช-
บุตร ๔  พระองค์  ให้พาพระภคินี ๕  พระองค์  ไปสร้างพระนคร
อยู่ใหม่.
           พระราชบุตร  ๔  พระองค์นั้นกราบถวายบังคมลา  พาพระภคินี

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 9
๕  พระองค์  ยกจตุรงคินีเสนาออกจากนคร  ไปสร้างพระนาครในดง
ไม้สักกะประเทศหิมพานต์  ในที่อยู่แห่งกบิลดาบสจึงขนานนาม
พระนครที่สร้างใหม่  ให้ต้องกับที่อยู่ของดาบสว่า  ' กบิลพัสดุ์ แล้ว
สมสู่เป็นคู่กันเอง  เว้นแต่พระเชฏฐภคินี  สืบศากยวงศ์ลงมา.  ฝ่าย
พระเชฏฐภคินี  ภายหลังมีพระหฤทัยปฏิพัทธ์กับพรเจ้ากรุงเทวทหะ
ได้สมสู่ด้วยกันแล้ว  ตั้งโกลิยวงศ์สืบมา.
           ได้ความตามตำนานนี้ว่า  สักกชนบทแบ่งเป็นหลายพระนคร
ที่ปรากฏชัดในตำนาน ๓  นคร  คือ  นครเดิมของพระเจ้าโอกกาก-
ราช ๑  นครกบิลพัสดุ์ ๑  นครเทวทหะ ๑  แต่น่าจะเห็นว่าศากย-
กุมารเหล่านั้น  ไม่ได้สร้างนครกบิลพัสดุ์ตำบลเดียว  คงสร้างอีก ๓
นคร  ต่างคู่ต่างอยู่ครองนครแห่งหนึ่งแต่ในตำนานเล่าแคบไป
โดยนัยนี้  น่าจะมีถึง ๖  พระนคร  แต่ไม่ปรากฏชื่อ.  ( บางทีจะเป็น
รามคามอีกสักแห่งหนึ่ง  แต่ในมหาปรินิพพานสูตร  เรียกว่าพวก
โกลิยะ ).
           นครเหล่านี้  มีวิธีปกครองอย่างไร  ไม่ได้กล่าวชัดแต่สันนิษ-
ฐานตามประเพณี  ชนบทเช่นนี้ปกครองโดยสามัคคีธรรมเหมือนธรรม-
เนียมในแว่นแคว้นวัชชีและแว่นแคว้นมัลละ  ในแว่นแคว้นวัชชี
มีเจ้าวงศ์หนึ่งเรียกว่า  ' ลิจฉวี ในแว่นแคว้นมัลละ  มีเจ้าวงศ์หนึ่ง
เรียกว่า  ' มัลละ เป็นผู้ปกครองแต่ในแว่นแคว้นมัลละมี ๒  นคร
คือ  กุสินารา ๑  ปาวา ๑.  ในวงศ์เจ้าทั้งสองนั้น  ไม่ได้เรียกผู้ใด

๑.  ที.  มหา. ๑๐/๑๗๔.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 10
ผู้หนึ่งว่าเป็นราชา  ไม่เรียกอย่างพระเจ้าพิมพิสาร  พระเจ้าแผ่นดิน
มคธ  และพระเจ้าปเสนทิ  พระเจ้าแผ่นดินโกศลท่านทั้งสองนี้
เขาเรียกว่า  ' ราชา ส่วนเจ้าในวงศ์ทั้งสองนั้น  เขาเรียกว่า  ' ลิจฉวี '
และ  ' มัลละ เสมอกันทั้งนั้น  เมื่อมีกิจเกิดขึ้น  มีการสงคราม
เป็นต้นเจ้าเหล่านั้นก็ประชุมกันปรึกษา  แล้วช่วยกันจัดตามควร.
พวกศากยะในบาลีพระวินัยก็ดี  ในบาลีมัชฌิมนิกายก็ดี  ในบาลี
อังคุตตรนิกายก็ดี  เรียกว่า  ' สักกะ เสมอกันทั้งนั้น.  พระเจ้า
สุทโธทนะพุทธบิดา  ก็เรียกว่า  ' สุทโธทนสักกะ เหมือนกันเว้น
ไว้แต่พระภัททิยะ  โอรสนางกาฬิโคธาผู้อยู่ในชั้นเดียวกันกับพระ
อนุรุทธะในบาลีวินัย  เรียกว่า  ' สักยราชา แต่ในบาลีมหาปทาน-
สูตรทีฆนิกายมหาวรรค  เรียกพระสุทโธทนะว่า  ' ราชา ในยุค
อรรถกถา  เข้าใจว่าเป็นราชาทีเดียว.
           ถ้าเพ่งคำว่าเรียก  ' สักกะ เสมอกัน, ความสันนิษฐานก็จะ
พึงมีว่า  สักกชนบทอันอยู่ในปกครองโดยสามัคคีธรรม  หามีพระ
ราชาไม่.  ถ้าอนุมัติว่า  ศากยะบางองค์ทรงยศเป็นพระราชาก็มี  ความ
สันนิษฐานก็จะพึงมีว่า  นั่นเป็นยศสืบกันมาตามสกุล  เช่นผู้ครองนคร
แห่งพระเจ้าโอกกากราช ก็น่าจะดำรงยศเป็นพระราชาหรือเป็นยศ
สำหรับผู้ปกครองนครทีเดียว.  ความปกครองก็คงเป็นไปโดยสามัคคี-
ธรรมนั้นเอง.
           พึงเทียบด้วยธรรมเนียมในแว่นแคว้นเยอรมนี  ตั้งแต่ได้รวมกัน

๑.  จุลลวคฺค. ทุติย. ๗/๑๕๗.   ๒.  ที. มหา. ๑๐/๘.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 11
เป็นราชาธิราชแล้วธรรมเนียมในแว่นแคว้นเยอรมนีนั้น  แบ่งอาณา-
เขตเป็นส่วน ๆ  มีเจ้าเป็นผู้ปกครองทุกส่วน  ตั้งเป็นสกุลหนึ่ง ๆ  สืบ
กันมามียศเรียกเจ้าผู้ปกครองต่างกันตามมีอำนาจหรืออาณาเขตมาก
หรือน้อยบางครั้งไม่อยู่ในปกครองอันเดียวกันแต่ภายหลังรวมกัน
เข้าได้  ยกพระเจ้ากรุงปรุซเซียขึ้นเป็นราชาธิราชอยู่ในปกครองโดย
สามัคคีธรรม.
           สักกชนบทนั้น  คงไม่ใหญ่โตเท่าไรนัก  ในบาลีอุโบสถสูตรจึง
มิได้ระบุไว้มาถึงสมัยแห่งพระศาสดาได้ตั้งเป็นอิสระตามลำพัง
หรือตั้งอยู่ใต้อำนาจของโกศลชนบท  เป็นข้อที่จะพึงพิจารณาอยู่.  ใน
บรรพชาสูตรแห่งสุตตนิบาต  เล่าเรื่องพระศาสดาเสด็จออกบรรพชา
เสด็จมาถึงกรุงราชคฤห์พระเจ้าพิมพิสารตรัสถามพระองค์ตรัส
ตอบว่า   " พระองค์เสด็จออกทรงผนวชจากสกุลของพวกที่เรียกว่า
' ศากยะ โดยชาติชื่อว่า  ' อาทิตย์ โดยโคตรชาวชนบทอันตั้ง
อยู่ตรงข้ามภูเขาหิมพานต์  สมบูรณ์ด้วยความเพียรหาทรัพย์เป็นถิ่นแห่ง
โกศลชนบท "   ดังนี้.
           พระเจ้าโอกกากราช  มีพระราชบุตร-บุตรี  สมสู่กันเอง  มีเชื้อ
สายสืบสกุลลงมา  เป็นพวกศากยะแต่บางแห่งก็แบ่งเรียกสกุลพระ
เชฏฐภคินีว่า  ' พวกโกลิยะ พวกศากยะนั้น  น่าจะได้ชื่อตามชนบท

๑.  ดูความพิสดารในหนังสือเฟรเดริกมหาราชของพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์.
๒.  ขุ. สุ. ๒๕/๔๐๕.   ๓.  ขุ. สุ. ๒๕/๔๐๗

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 12
แต่ในอรรถกถาว่าได้ชื่อดังนั้น  เพราะความสามารถตั้งบ้านเมืองและตั้ง
วงศ์ตามลำพังพระเจ้าโอกกากราชพระราชบิดาออกพระโอษฐ์ชมว่า
เป็นผู้อาจ.  พวกนี้มีโคตรเรียกว่า  ' โคตมะ, '  แต่คำของพระมหาบุรุษ
ในบรรพชาสูตรว่าเป็น  ' อาทิตยโคตร คงเพ่งความว่าเป็นเชื้อสาย
เนื่องมาจากพระอาทิตย์  ที่พวกกษัตริย์ชอบอ้างนัก  จนทุกวันนี้;
สองชื่อนี้คงเป็นอันเดียวกัน. 
           ศากยะผู้ครองนคร  หากจะไม่ได้มียศเป็นราชาตามธรรมเนียม
ของชนบทอันปกครองโดยสามัคคีธรรมก็ดี  ตามธรรมเนียมของสกุล
อันมียศไม่ถึงนั้นก็ดี  หรือเพราะเป็นเมืองออกของโกศลรัฐก็ดี  จะเรียก
ในภาษาไทยว่า  ' พระเจ้า เห็นไม่ขัดเพราะคำนี้ใช้เรียกเจ้า
ประเทศราชก็ได้  และถ้าแยกยศราชาเป็นมหาราชาและราชาแล้วจุ
เรียกว่า  ' ราชา ก็ได้เช่นพวกลิจฉวี  ในอรรถกถาบางแห่งเรียกว่า
' ราชา ก็มี  แต่ใช้พหูพจน์  ที่หมายความว่ามียศเสมอกัน  ไม่มีใคร
เป็นใหญ่กว่าใครจะใช้โวหารอย่างอื่นขัดเชิง  เพราะในพวกไทยเรา
ท่านผู้ครองมียศเป็นราชาสืบกาลนานมาแล้วเพราะเหตุนั้น ใน
หนังสือนี้  จักเรียกศากยะผู้ครองนครว่า  ' ราชาหรือพระเจ้า แต่อย่า
พึงเข้าใจว่าเป็นมหาราชาหรือราชาธิราช.
           สกุลของพระศาสดาครองนครกบิลพัสดุ์  สืบเชื้อสายลงมาโดย
ลำดับ  จนถึงพระเจ้าชยเสนะ ๆ  นั้น  มีพระราชบุตรบุตรีที่ปรากฏ

๑.  สุ. วิ. ปม. ๓๒๕.   ๒.  ขุ. สุ. ๒๕/๔๐๓.   ๓.  เป็นสาขากษัตริยสุริยวงศ์.
๔.  สุ. วิ.  ตติย. ๒.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 13
พระนาม ๒  พระองค์พระราชบุตรมีพระนามว่า  ' สีหหนุ พระ
องค์หนึ่ง  พระราชบุตรีมีพระนามว่า  ' ยโสธรา พระองค์หนึ่ง.  ครั้น
พระเจ้าชยเสนะทิวงคตแล้ว  สีหหนุกุมารได้ทรงราชย์สืบพระวงศ์
พระเจ้าสีหหนุนั้น  มีพระมเหสีทรงพระนามว่า า  ' กัญจนา เป็น
กนิฏฐภคินีของพรเจ้าอัญชนะผู้ครองเทวทหนครมีพระราชบุตร
พระราชบุตรีประสูติแต่พระมเหสีนั้น ๗  พระองค์  พระราชบุตร ๕
พระองค์  คือ  สุทโธทนะ ๑  สุกโกทนะ ๑  อมิโตทนะ ๑  โธโตทนะ
ฆนิโตทนะ ๑พระราชบุตรี ๒  พระองค์  คือ  ปมิตา ๑  อมิตา ๑.
ส่วนนางยโสธราพระราชบุตรีของพระเจ้าชยเสนะนั้น  ได้เป็นพระ
มเหสีของพระเจ้าอัญชนะ  มีพระราชบุตรพระราชบุตรี ๔  พระองค์,
พระราชบุตร ๒  พระองค์ คือ  สุปปพุทธะ ๑  ทัณฑปาณิ ๑.  พระ
ราชบุตรี ๒  พระองค์  คือ  มายา ๑  ปชาบดี  ( อีกอย่างหนึ่ง  เรียก
โคตมี ) ๑.  สุทโธทนกุมารได้นางมายาเป็นพระชายา  เมื่อพระเจ้า
สีหหนุทิวงคตแล้วได้ทรงราชย์สืบพระวงศ์ต่อมา.
           พระผู้มีพระภาคเจ้า  ผู้พระศาสดาของเราทั้งหลาย  ได้เสด็จมา
อุบัติขึ้นในพวกอริยกชาติ  ในจังหวัดมัชฌิมชนบท  ชมพูทวีป  แคว้น

๑.  ชื่อเกี่ยวกับข้าวสุกทั้งนั้น น่าจะเห็นว่า  ในชนบทนี้ มีการทำนาเป็นเป็นสำคัญ.  ทั้งมี
เรื่องเล่าถึงพวกศากยะและพวกโกลิยะทำนา แย่งกันไขน้ำในแม่น้ำโรหิณีในปีฝนแล้ง
เกือบเกิดรบกันขึ้น.   ๒.  โธโตทนะ กับ ฆนิโตทนะ มีสักแต่ว่าชื่อ ไม่มีเชื้อสาย
ในปกรณ์ทั้งหลายมากจึงไม่มีชื่อ คงมีแต่ ๓ พระองค์.   ๓.  เป็นชื่อของนางอัปสร เจ้า
ของความสวยงาม อันล่อให้บุรุษหลง ตรงความว่าเจ้าแม่ประโลมโลก.  ว.ว.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 14
สักกะ  ในสกุลกษัตริย์พวกศากยะผู้โคตมโคตร  เป็นพระโอรสของ
พระเจ้าสุทโธทนศากยะ  เจ้ากรุงกบิลพัสดุ์กับพระนางมายา  เมื่อก่อน
พุทธศก ๘๐ ปี. 

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 15
                                         ปริเฉทที่ ๓
                                    พระศาสดาประสูติ
           พระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางเจ้ามายา  ได้ร่วมเสวยรมย์โดย
สุขสบายจำเนียรกาลล่วงมา  พระศาสดาของเราทั้งหลาย.  ได้ทรง
ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางเจ้ามายา.  เมื่อถึงเวลาจวนจะ
ประสูติ  พระนางเจ้าทรงปรารถนาจะเสด็จประพาสอุทยานลุมพินีวัน,
พระราชสามีก็ทรงอนุมัติมิได้ขัดพระอัธยาศัย  ถึงมงคลสมัยวันวิสาข-
ปุรณมีเพ็ญเดือน ๖  แห่งปีก่อนพุทธศก ๘๐เวลาเช้า  พระนางเจ้า
เสด็จโดยสถลมารค  พร้อมด้วยราชบริพารฝ่ายในฝ่ายหน้าถึงป่าลุมพินี
เสด็จประพาสเล่นอยู่.
           ในที่นี้  พระคันถรจนาจารย์  กล่าวถึงเหตุเสด็จลุมพินีวันว่า
พระนางเจ้าปรารถนาจะเสด็จเยี่ยมสกุลของพระองค์  ในเทวทหนคร
จึงเสด็จถึงสถานตำบลนี้  อันตั้งอยู่ในกึ่งกลางแห่งนครทั้ง ๒.  คำนี้
มีหลักฐานที่พอฟังได้สมด้วยธรรมเนียมพราหมณ์  ภรรยามีครรภ์หา
คลอดที่เรือนของสามีไม่  กลับไปคลอดที่เรือนของสกุลแห่งตน.
           ในเวลานั้น  เผอิญพระนางเจ้าประชวรพระครรภ์  จะประสูติ
อำมาตย์ผู้ตามเสด็จ  จัดที่ประสูติถวายใต้ร่มไม้สาละ  ตามสามารถ

๑.  ทรงถือปฏิสนธิเมื่อวันพฤหัสดี เพ็ญเดือนอาสาฬหะ ปีระกา ก่อนพุทธศก ๘๐ ปี
๒.  บัดนี้เรียกว่า ตำบลรุมมินเด แขวงเปชวาว์ แคว้นเนปาล.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 16
ที่จะจัดได้.  พระศาสดาได้ประสูติจากพระครรภ์พระมารดาในที่นั้น.
พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบข่าว  จึงตรัสสั่งให้เชิญเสด็จกลับพระราช-
นิเวศน์.
           เป็นธรรมดาของท่านผู้เป็นมหาบุรุษ  ได้เกิดมาทำอุปการะอัน
ยิ่งใหญ่แก่โลก  จะมีผู้กล่าวสรรเสริญอภินิหารของท่านด้วยประการ
ต่าง ๆ  ในปางหลังแต่ยุคของท่าน  เหตุนั้น  พระคันถรจนาจารย์ก็
ได้กล่าวอภินิหารของพระศาสดาไว้  โดยอเนกนัยเหมือนกันเล่า
เรื่องตั้งแต่เสด็จอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิตพวกเทวดาพากันมาอาราธนา
เพื่อเสด็จลงมาสู่มนุษยโลก  นำสัตว์ข้ามโอฆะคือสงสารสาคร.  พระ-
องค์ทรงจุติจากดุสิตพิภพ  ลงสู่พระครรโภทรแห่งพระมารดา.  ปรากฏ
แก่พระมารดาในสุบินเป็นพระยาช้างเผือก  เสด็จอยู่ในพระครรภ์
บริสุทธิ์  อันมลทินมิได้แปดเปื้อน  และประทับนั่งขัดสมาธิ  ไม่คุดคู้
เหมือนทารกอื่นพระมารดาและเห็นได้ถนัด.  เวลาประสูติ พระมารดา
เสด็จประทับยืนไม่นั่งเหมือนสตรีอื่น.  พระองค์ประสูติบริสุทธิ์ไม่
เปรอะเปื้อนด้วยครรภมลทินมีเทวดามาคอยรับก่อนมีธารน้ำร้อน
น้ำเย็นตกลงมาจากอากาศสนานพระองค์พอประสูติแล้ว  ทรงดำเนิน
ด้วยพระบาท ๗ ก้าวเปล่งวาจาเป็นบุรพนิมิตแห่งพระสัมมาสัม-
โพธิญาณ.  และพรรณนารูปกายสมบัติของพระองค์ว่า  มีพระลักษณะ

๑.  ประสูติเมื่อวันศุกร์ เพ็ญเดือนวิสาขะ ปีจอ ก่อนพุทธศก ๘๐ ปี เวลาสายใกล้เที่ยง
๒.  ที. มหา. ๑๐/๑๗.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 17
ต้องด้วยมหาบุรุษลักษณะ  ๓๒  ประการ  อันรจนาไว้ในตำหรับของ
พราหมณ์  และมีทำนายไว้ว่า  ท่านผู้ประกอบด้วยลักษณะเห็นปาน
นั้น  ย่อมมีคติเป็น ๒ถ้าได้ครองฆราวาส  จัดได้เป็นจักรพรรดิราช
ครองแผ่นดิน  มีสมุทรสาคร ๔  เป็นขอบเขตถ้าออกทรงผนวช 
จัดได้ตรัสเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระศาสดาเอกในโลก.
           พระศาสดาได้เสด็จอุบัติมา  ทรงทำอุปการะอันยิ่งใหญ่แก่โลก
จึงได้มีอภินิหารบ้างเหมือนกัน  อันพระคันถรจนาจารย์พรรณนาไว้
อย่างนี้.  เหตุมีอภินิหารเหล่านี้ก็น่าจะมีหลายทาง  และค่อยมีมาโดย
ลำดับ.  ทางหนึ่งคือเรื่องกาพย์จินตกวีผู้ประพันธ์แต่งขยายเรื่อง
จริงให้เขื่อง  เพื่อต้องการความไพเราะในเชิงกาพย์  มีตัวอย่างจักกล่าว
ถึงในข้างหน้า.
           ฝ่ายอสิตดาบส  ( อีกอย่างหนึ่ง  เรียกกาฬเทวิลดาบส )  ผู้อาศัย
อยู่ข้างเขาหิมพานต์  ผู้คุ้นเคยและเป็นที่นับถือของราชสกุลได้ทราบ
ข่าวว่า  พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะประสูติใหม่  จึงเข้าไป
เยี่ยม.  พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบ  ตรัสสั่งให้เชิญเข้าไปนั่ง ณ อาสนะ
อันสมควรแล้ว  ทรงอภิวาทและปราศรัยตามควรแล้วทรงอุ้ม
พระราชโอรสออกมาเพื่อจะให้นมัสการพระดาบส.  พระดาบสเห็นพระ
โอรสนั้นมีลักษณะต้องด้วยตำหรับมหาบุรุษลักษณะ  ซึ่งที่คำทำนาย

๑.  ดูพิสดาในหนังสือปฐมสมโพธิ ฉบับของสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส พิมพ์
พ.ศ. ๒๔๗๘  หน้า ๖๗.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 18
คติไว้โดยส่วนสองดังกล่าวแล้วนั้นครั้นเห็นอัศจรรย์อย่างนั้นแล้ว
มีความเคารพนับถือในพระราชโอรสนั้นมาก  ลุกขึ้นกราบลงที่พระ
บาททั้งสองของพระโอรสนั้นด้วยศีรษะของตนแล้วกล่าวคำทำนาย
ลักษณะของพระโอรสนั้น  ตามมหาบุรุษลักษณะพยากรณศาสตร์
นั้นแล้ว  ถวายพระพรลากลับไปอาศรมแห่งตน.
           ฝ่ายราชสกุล  เห็นดาบสผู้เป็นที่นับถือแห่งตน  ลงกราบที่พระ
บาทของพระราชโอรสแสดงความนับถือ  และได้ฟังคำพยากรณ์อย่าง
นั้น  ก็มีจิตนับถือในพระราชโอรสนั้นยิ่งนักยอมถวายโอรสของตน ๆ
เป็นบริวารสกุลละองค์ ๆ  ส่วนพระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาก็พระ
ราชทานบริหารจัดพี่เลี้ยงนางนมคอยระวังรักษาพระราชโอรส
เป็นนิตยกาล.
           เมื่อประสูติแล้วได้  ๕  วันพระองค์โปรดให้ชุมนุมพระญาติวงศ์
และเสนามาตย์พร้อมกันเชิญพราหมณ์ร้อยแปดคนมาฉันโภชนาหาร
แล้ว  ทำมงคลรับพระลักษณะและขนานพระนามว่า  ' สิทธัตถกุมาร '
แต่มหาชนมักเรียกตามพระโคตรว่า  ' โคตมะ. '
           ฝ่ายพระนางเจ้ามายาผู้เป็นมารดา  พอประสูติพระราชโอรส
แล้วได้  ๗  วันก็สิ้นพระชนม์พระเจ้าสุทโธทนะจึงทรงมอบพระราช-
โอรสนั้น  แก่พระนางปชาบดีโคตมีพระมาตุจฉาเลี้ยงต่อมา.  ภายหลัง
พระนางนั้นมีพระราชบุตรพระองค์หนึ่ง  ทรงนามว่า  ' นันทกุมาร '

๑.  แปลว่า มีความต้องการสำเร็จ.  น่าจะหมายความว่า ได้พระโอรสเป็นแรกสมหวัง
แต่พระอรรถกถาจารย์แก้ความว่าบริบูรณ์ จะต้องการอะไรได้หมด.  ว.ว.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 19
มีพระราชบุตรพระองค์หนึ่ง  ทรงนามว่า  ' รูปนันทา. แม้ถึงอย่าง
นั้น  ก็ไม่ทรงนำพาในที่จะทำนุบำรุงให้ยิ่งกว่าสิทธัตถกุมาร.
           เมื่อสิทธัตถกุมารทรงเจริญขึ้นโดยลำดับ  มีพระชนมายะได้ ๗ ปี
พระราชบิดาตรัสให้ขุดสระโบกขรณีในพระราชนิเวศน์ ๓ สระ  ปลูก
อุบลบัวขาบสระ ๑  ปลูกประทุมบัวหลวงสระ ๑  ปลูกบุณฑริกบัว
ขาวสระ ๑.  แล้วตกแต่งให้เป็นที่เล่นสำราญพระหฤทัยพระราชโอรส,
และจัดเครื่องทรง  คือจันทน์สำหรับทา  ผ้าโพกพระเศียร  ฉลองพระ-
องค์  ผ้าทรงสะพัก  พระภูษา  ล้วนเป็นของมาแต่แว่นแคว้นกาสี  ซึ่ง
นิยมว่าเป็นของประณีตของดีในเวลานั้นทั้งสิ้นมีคนคอยกั้นเศวตฉัตร
( คือพระกลดขาวซึ่งนับว่าเป็นของสูง )  ทั้งกลางวันกลางคืน  เพื่อจะ
มิให้เย็นร้อยธุลีละอองแดดน้ำค้างมาถูกต้องพระกายได้ครั้นพระราช
กุมารมีพระชนม์เจริญ  ควรจะศึกษาศิลปวิทยาได้  พระราชบิดาจึงทรง
พาไปมอบไว้ในสำนักครูวิศวามิตรพระราชกุมารทรงเรียนได้ว่องไว
จนสิ้นความรู้อาจารย์แล้ว  ได้แสดงให้ปรากฏในหมู่พระญาติ ไม่มี
ราชกุมารอื่นจะเทียมถึง.
           ในตอนนี้  พระคันถรจนาจารย์ก็ได้แสดงอภินิหารของพระมหา-
บุรุษไว้บ้างว่า  เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์นักคราวหนึ่งมีการวัปปมงคล
แรกนาขวัญ  อันเป็นนักขัตฤกษ์ของบ้านเมืองพระราชบิดาเสด็จ
แรกนาด้วยพระองค์เอง  โปรดเชิญเสด็จสิทธัตถกุมารไปด้วย  และให้
แต่งที่ประทับ ณ ภายใต้ชมพูพฤกษ์ครั้นถึงเวลาแรกนา  พวกพี่เลี้ยง
นางนมพากันออกมาดูข้างนอกฝ่ายพระกุมารอยู่พระองค์เดียว  เสด็จ

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 20
ขึ้นนั่งตั้งบัลลังก์ขัดสมาธิ  เจริญอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ในม่าน  ยัง
ปฐมฌานให้เกิดขึ้นได้ขณะนั้นเป็นเวลาบ่าย  เงาแห่งต้นไม้อื่นย่อม
ชายไปตามตะวัน  แต่เงาต้นชมพูตรงอยู่ดุจในเวลาเที่ยง  พวกนางพี่เลี้ยง
นางนมกลับเข้ามาเห็น  ต่างพิศวงและนำความกราบทูลพระราชบิดา,
พระองค์เสด็จและบังคมพระโอรสเป็นพระเกียรติปรากฏสืบมา.
           อีกเรื่องหนึ่ง  ในที่บางแห่งแสดงความสามารถของพระราช-
กุมารผู้มิได้ศึกษาแต่สำแดงศิลปธนูได้โดยช่ำชอง  ไม่มีใครเทียมถึง
ข้อนี้จะพึงเห็นอัศจรรย์ในยุคก่อนมาในบัดนี้  จะพึงเห็นตรงกัน
ข้าม.  ใคร่ครวญตามพระพุทธจรรยา   มีพระธรรมเทศนาเป็นอาทิ,
กลับมีปรากฏว่า  ได้ทรงรับศึกษามาเป็นอันดีในขัตติยธรรมแลคดีโลก
อย่างอื่นอีก.
           พระโบราณาจารย์พรรณนาไว้ดังนั้น  ด้วยเชื่อพระสัพพัญุตญาณ
เกินไป  จนยอมให้มีก่อนตรัสรู้  ข้อที่พระมหาบุรุษยังอยู่ในศึกษานั้น
มีชัดเมื่อครั้งเสด็จออกผนวช  แล้วเสด็จไปอยู่ศึกษาสมาบัติบางอย่าง
ในสำนักอาฬารดาบสและอุททกดาบส.  ข้อว่าด้วยการศึกษาของพระ-
ราชกุมารในหนังสือนี้  ได้จากคัมภีร์ของพวกอุตตรนิกาย.
           เมื่อพระกุมารทรงพระเจริญวัย  มีพระชนมายะได้ ๑๖ ปี  ควรมี
พระเทวีได้แล้วพระราชบิดาตรัสสั่งให้สร้างปราสาท ๓  หลัง  เพื่อ
เป็นที่เสด็จอยู่แห่งพระราชโอรสใน ๓  ฤดู  คือ  ฤดูหนาว  ฤดูร้อน
ฤดูฝนตกแต่งปราสาท ๓  กลังนั้นตามสมควร  เป็นที่สบายในฤดู

๑.  ลิลิตวิสฺตร ?

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 21
นั้น ๆ  แล้ว ตรัสของพระนางยโสธรา  ( บางแห่งเรียกนางพิมพา )  พระ
ราชบุตรีพระเจ้าสุปปพุทธะ  ในเทวทหนคร  อันประสูติแต่นางอมิตา
พระกนิฏฐภคินีของพระองค์มาอภิเษกเป็นพระชายา.  สิทธัตถกุมาร
นั้นเสด็จอยู่บนปราสาททั้ง ๓  นั้น  ตามฤดูทั้ง ๓บำเรอด้วยดนตรี
ล้วนแต่สตรีประโคม  ไม่มีบุรุษเจือปนเสวยสุขสมบัติทั้งกลางวัน
กลางคืน  จนมีพระชนมายุได้ ๒๙ ปีมีพระโอรสประสูติแต่พระนาง 
ยโสธราพระองค์หนึ่ง  ทรงพระนามว่า  ราหุลกุมาร.
           สิทธัตถกุมารบริบูรณ์ด้วยสุข  ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์  จนทรง
พระเจริญวัยเห็นปานนี้  ก็เพราะเป็นพระราชโอรสสุขุมาลชาติทั้ง
พระราชบิดาและพระญาติวงศ์  ได้ทรงฟังคำทำนายของอสิตดาบส
ว่า จักมีคติเป็นสองอย่างใดอย่างหนึ่ง  ถ้าอยู่ครองสมบัติ  จักเป็น
จักรพรรดิราชถ้าออกบรรพชา  จักได้เป็นพระศาสดาเอกในโลก;
จำเป็นอยู่เองที่จะปรารถนาให้เสด็จอยู่ครองสมบัติ  มากกว่าที่จะยอม
ให้บรรพชา  จึงต้องคิดรักษาผูกพันไว้ให้เพลิดเพลินในกามสุขอย่างนี้.
           ฝ่ายพระราชกนิฏฐภาดา  ของพระเจ้าสุทโธทนะนั้น  สุกโกทน-
ศากยะมีโอรสองค์หนึ่ง  ทรงนามว่า  ' อานันทะ, '  อมิโตทนศากยะ
มีโอรส  ๒  องค์  ทรงนามว่า  ' มหานามะ ' ๑  ' อนุรุทธ ' ๑  มีธิดา ๑
องค์  ทรงนามว่า  ' โรหิณี, '  นางอมิตาพระราชกนิฏฐภคินี  เป็น
พระมเหสีของพระเจ้าสุปปพุทธะ  ประสูตราชบุตรองค์ ๑  ทรงนามว่า

๑.  แปลว่า  " บ่วง "  ตามอรรถกถาแสดงว่า เพราะอาศัยอุทานของมหาบุรุษซึ่งเปล่ง
ขึ้นในเวลาพระโอรสประสูติว่า  " ราหุล ชาต พนฺธน ชาต "

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 22
' เทวทัตต์ ราชบุตรีองค์ ๑  ทรงนามว่า  ' ยโสธรา หรือ  ' พิมพา '
พระชายาของสิทธัตถกุมาร.  ' พระกุมารและพระกุมารีในศากยวงศ์
ทั้ง ๒  สายนั้น เจริญขึ้นโดยลำดับ.

๑.  โดยนัยนี้แสดงว่าเป็นเชฏฐภาดาของพระนางพิมพา. ตามอรรถกถาธรรมบทว่า พระ
เทวทัตต์ อ้างว่าพระพุทธเจ้าแก่แล้ว ขอปกครองคณะสงฆ์ ส่อว่าพระเทวทัตต์อ่อนกว่า
พระพุทธเจ้า แต่ตามพุทธประวัติฝ่ายเหนือเล่าเรื่องพระเทวทัตต์ที่เป็นศัตรูของพระ
พุทธเจ้านั้น แสดงว่าเป็นอีกคนหนึ่ง ไม่ใช่เป็นพระภาดาของพระนางพิมพา. บางทีจะมี
ชื่อนี้หลายคนกระมัง ? ส่วนในอรรถกถาธรรมบทว่าเป็นคนเดียวกัน.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 23
                                          ปริเฉทที่ ๔
                                     เสด็จออกบรรพชา
           สิทธัตถกุมาร  เสด็จอยู่ครองฆราวาสสมบัติตราบเท่าพระชนมายุ
๒๙  พรรษา.  แต่นั้น  เสด็จออกบรรพชาประพฤติพระองค์เป็นบรรพชิต
แสวงหาพระสัมมาสัมโพธิญาณนำความสันนิษฐานว่า  น่าจะ
สมจริงตามคำทำนายคติประการหลัง  ในตำหรับมหาบุรุษลักษณะ-
พยากรณศาสตร์นั้น.
           อะไรเป็นมูลเหตุนำพระองค์ให้เสด็จออกบรรพชา และอาการ
ที่เสด็จออกนั้นเป็นอย่างไร เป็นข้อน่าใคร่ครวญอยู่.  พระอาจารย์
ผู้รจนาอรรถกถา  แสดงความตามนัยมหาปทานสูตรว่า  ได้ทอด
พระเนตรเห็นเทวทูต ๔  คือ  คนแก่  คนเจ็บ  คนตาย  และสมณะ
อันเทวดาแสร้งนิรมิตไว้ในระหว่างทางเมื่อเสด็จประพาสพระราช-
อุทยาน ๔  วาระโดยลำดับกัน.  ทรงสังเวชเหตุได้เห็นเทวทูต ๓  ข้าง
ต้น  อันพระองค์ยังไม่เคยพบมาในกาลก่อนยังความพอพระหฤทัย
ในบรรพชาให้เกิดขึ้นเพราะได้เห็นสมณะและกล่าวถึงอาการที่เสด็จ
ออกนั้นว่า  เสด็จหนีออกในกลางคืน  ทรงม้ากัณฐกะ  มีนายฉันนะ
ตามเสด็จถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา  ตรัสสั่งนายฉันนะให้นำม้าพระที่นั่ง
กลับคืนพระนครแล้ว  ทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์  อธิษฐานเพศ

๑.  สุ. วิ. ทุติย. ๒/๑.   ๒.  ที. มหา. ๑๐/๑.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 24
บรรพชิต  ณ  ที่นั้น. 
           ฝ่ายพระอาจารย์ผู้รจนาบาลีมัชฌิมนิกายแสดงว่า  ทรงปรารภ
ความแก่  ความเจ็บ  ความตาย  อันครอบงำมหาชนทุกคนไม่ล่วง
ไปได้แม้เป็นอย่างนั้น  เพราะโทษที่ไม่ได้ฟังคำสอนของนักปราชญ์
เห็นผู้อื่นแก่เจ็บตาย  ย่อมเบื่อหน่ายเกลียดชังไม่คิดถึงตัวว่าจะ
ต้องเป็นเหมือนอย่างนั้นบ้าง  เมาอยู่ในวัยในความไม่มีโรคและใน
ชีวิต  เหมือนหนึ่งเป็นคนจะไม่ต้องแก่เจ็บตายมีแต่ขวนขวายหา
ของอันมีสภาวะเช่นนั้น  ไม่คิดหาอุบายเครื่องพ้นบ้างเลยถึงพระองค์
ก็มีอย่างนั้นเป็นธรรมดา  แต่จะเกลียดหน่ายเหมือนอย่างเขาไม่สมควร
แก่พระองค์เลยเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แล้ว  ควรจะแสวงหาอุบายเครื่อง
พ้นเมื่อทรงดำริอย่างนี้  ก็บรรเทาความเมา ๓  ประการ  และความ
เพลิดเพลินในกามสมบัติเสียได้, จึงทรงดำริต่อไปว่า  ธรรมดา
สภาวะทั้งปวง  ย่อมมีของที่มีข้าศึกแก้กันเช่นมีร้อนแล้วก็มีเย็น
แก้มีมือแล้วก็มีสว่างแก้บางทีจะมีอุบายแก้ทุกข์ ๓  อย่างนี้
ได้บ้างกระมัง ก็แต่ว่า  อันจะแสวงหาอุบายแก้ทุกข์ ๓  อย่างนั้น
เป็นยากอย่างยิ่งยังอยู่ในฆราวาสเห็นจะแสวงหาไม่ได้  เพราะ
ฆราวาสนี้เป็นที่คับแคบนัก  และเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์อันทำใจให้
เศร้าหมอง  เหตุความรัก  ความชัง  ความหลง  ดุจเป็นทางที่มา
แห่งธุลี,  บรรพชาเป็นช่องว่าง  พอเป็นที่แสวงหาอุบายนั้นได้ทรง
ดำริอย่างนี้แล้ว  ก็มีพระอัธยาศัยน้อมไปในบรรพชา  ไม่ยินดีใน

๑.  ปาสราสิสูตร ม. มู. ๑๒/๓๑๘.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 25
ฆราวาสสมบัติ. 
           ครั้นสมัยอื่น  พระองค์ยังกำลังเป็นหนุ่ม  มีพระเกศาดำสนิท
ตั้งอยู่ในปฐมวัยเมื่อพระมารดาพระบิดาไม่ใคร่ยอม  มีพระพักตร์
อาบด้วยน้ำพระเนตร  ทรงกันแสงอยู่พระองค์ปลงพระเกศาและ
พระมัสสุแล้ว  ทรงครองผ้ากาสายะ  ถึงความปฏิบัติเป็นบรรพชิต
พระคันถรจนาจารย์กล่าวความไว้ ๒  นัยอย่างนี้.
           พิจารณาถึงมูลเหตุนำให้เสด็จออกบรรพชาก่อน.  พระองค์มี
พระชนมายุถึง ๒๙ ปีแล้ว  จักไม่เคยพบ  คนแก่  คนเจ็บ  คนตายนั้น
เป็นอันมีไม่ได้, แม้ในเรื่องกล่าวว่า  พระราชบิดาตรัสสั่งให้คอยห้าม
ก้น  ก็ดูเหมือนจักเป็นอันพ้นสามารถจักห้ามกันพระญาติผู้ใหญ่ชั้น
เจ้าตาเจ้ายายก็อย่างไรอยู่ พระราชบิดาเองก็ทรงชราลงเหมือนกัน,
แม้ยังไม่หง่อม  ก็พอพระกุมารจะทรงเห็นความแปรของสังขารได้
เป็นแน่ต่างว่าเอาเป็นห้ามสำเร็จคนมีอายุถึงเท่านั้นแล้ว  ไม่เคย
พบคนแก่  คนเจ็บ  คนตายเลย  จักเป็นคนฉลาดอย่างไรได้ ดูแต่
เด็กที่ผู้ใหญ่ปราบให้หงิมมาแต่เล็กเถิดถ้าเด็กนั้นจักว่องไวไหวพริบ
เมื่อโต  ก็ปราบไม่อยู่ถ้าเป็นผู้ที่ปราบได้ก็ต้องเป็นผู้ขาดจาก
คุณสมบัติเช่นนั้นมาแต่เดิม  หรือเสียลักษณะเช่นนั้นในเวลาที่กำลัง
ถูกปราบส่วนพระศาสดา  ปรากฏโดยพระพุทธจรรยาว่า  ทรง
พระปรีชาลึกซึ้ง,  อันจะถูกห้าม  ก็คงเช่นไม่ให้ไปเยี่ยมไข้เยี่ยมตาย
ของใคร ๆ  แม้เป็นพระญาติและผู้ถือเพศเป็นบรรพชิตเล่า  มิใช่
ว่าเฉพาะมีในพระพุทธศาสนาเท่านั้น  ก่อนแต่พุทธุปบาทกาลก็มี

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 26
บรรพชิต  คือ  นักบวช  เช่นชฎิล  ปริพาชก  เหมือนกัน.
           สันนิษฐานว่า  เรื่องเช่นนั้น  น่าจะได้มาจากหนังสือกาพย์ของ
จินตกวี   ท่านผู้ประพันธ์เป็นเจ้าบทเจ้ากลอนแต่งขยายเรื่องจริงให้
เขื่อง  ด้วยหมายจะให้ไพเราะในเชิงกาพย์.  ถอดเอาใจความก็จะพึง
ได้ดังนี้:  พระมหาบุรุษ ได้เคยทรงพบ  คนแก่  คนเจ็บ  คนตาย  มาแล้ว
แต่ไม่ได้เก็บเอามาทำในพระหฤทัยต่อไป.  คราวที่ว่าเห็นเทวทูตนั้น
คือ  ทรงปรารภถึงคนแก่เจ็บตาย  น้อมเข้ามาเปรียบกับพระองค์เอง
แล้ว  ทรงสังเวชได้ทอดพระเนตรเห็นบรรพชิตในคราวนั้นแล้ว
ทรงดำริว่า   " สาธุ  โข  ปพฺพชฺชา "   บวชดีนักแล.  ขอขี้หนังสือ
เตลงพ่าย  และหนังสือยอพระเกียรติ  เป็นตัวอย่างแห่งเรื่องเช่นนี้.
           คราวนี้  พระคันถรจนาจารย์นำมากล่าวอีกต่อหนึ่งถ้าท่าน
ไม่ใช่ผู้เชื่องมงาย  ก็คงคิดเห็นว่าจะถอดใจความกล่าว.  เมื่อถือเอา
ความผิด  อาจทำความให้ฉลาดได้  สู้กล่าวไว้ทั้งอย่างนั้นไม่ได้หา
ได้เพ่งถึงความเสื่อมแห่งความเข้าใจในเชิงหนังสือของคนข้างหน้าไม่.
ความเห็นเช่นนั้น  ได้เกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าเอง  เมื่อครั้งรจนาพุทธา-
นุพุทธประวัติคราวแรก ๒๑  ปีล่วงมาแล้ว  และนำให้รจนาเรื่องนี้
เข้ารูปอย่างนี้.
           ฝ่ายคำของพระอาจารย์ผู้รจนาบาลีมัชฌิมนิกายนั้น  ถอดกล่าวไว้
เฉพาะใจความเป็นตำนานแท้  แต่หมดอรรถรสในเชิงกาพย์.  คงได้
ความตามมติแห่งพระอาจารย์ทั้ง ๑  พวกว่า  พระมหาบุรุษทรงปรารภ
ชราพยาธิมรณะที่ได้พบเห็นโดยปกตินี้เอง  แล้วเสด็จออกบรรพชา.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 27
เช่นนี้  ดูเหมือนเป็นทีว่า  เสด็จออกด้วยพระหฤทัยสลด  ต้องการเพียง
จะหาอุบายหลีกให้พ้น  ไม่เชิงแสวงหาพระสัมมาสัมโพธิญาณแท้ง
แต่ครั้นได้ตรัสรู้แล้ว   จึงทรงดำริจะโปรดสัตว์ด้วยพระอัธยาศัยประกอบ
ด้วยพระกรุณา.  ข้อนี้  อาจมีในวารจิตของมนุษย์  แต่ไม่สมกับคำ
พรรณนาพระปณิธานของพระโพธิสัตว์  ผู้บำเพ็ญพระบารมีมามากกว่า
มากเพื่อจะโปรดสัตว์ตลอดถึงคำทำนายและอัศจรรย์ต่าง ๆ  ใน
ปัจฉิมภพ.  ถ้าจะถือว่า  เรื่องเหล่านั้นเล่าตามหลังพระองค์เมื่อ
เป็นผู้วิเศษแล้ว  ก็ไม่น่าจะผิดแต่ยังมีทางสันนิษฐานได้สนิทยิ่งกว่า
นี้อีก  คือ  พระมหาบุรุษทรงพิจารณาเห็นมหาชนผู้เกิดมาแล้ว  แก่
เจ็บตายไปเปล่า  หาได้ทำชีวิตให้มีประโยชน์เท่าไรไม่ยิ่งในราชสำนัก
มัวเมาอยู่ในหมู่สตรีบำเรอ  ทั้งกลางวันและกลางคืน  ยิ่งทำชีวิตให้
เป็นหมันหนักเข้า.  พระองค์ทรงเบื่อหน่ายความเป็นอยู่ของพระองค์
ด้วยอาการเช่นนั้น  ที่เขาอื่นสำคัญเห็นเป็นสุขอย่างยิ่งในทางโลกีย์.
สมคำว่า  ห้องปราสาทอันเกลื่อนกลาดไปด้วยนางบำเรอผู้นอนหลับ
สว่างรุ่งเรืองด้วยประทีป  ปรากฏแก่พระองค์ดุจป่าช้า  ทรงเห็น
บรรพชาเป็นที่ห่างจากอารมณ์อันล่อให้หลงและมัวเมาเป็นช่องที่
จะได้บำเพ็ญปฏิบัติ  เป็นประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่น  ทำชีวิตให้มี
ผลไม่เป็นหมันทรงสันนิษฐานลงเช่นนี้แล้ว  จึงได้เสด็จออกบรรพชา.
เมื่อถือเอาความเช่นนั้น  ข้อว่าทรงปรารภชราพยาธิมรณะ  ได้ความ
สลดพระหฤทัยจนไม่เพลิน  กับข้อว่า  พระองค์มีพระอัธยาศัยประกอบ
ด้วยพระกรุณามาแต่ไหนแต่ไรย่อมไม่แย้งกัน.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 28
           คราวนี้  พิจารณาถึงอาการเสด็จออกบรรพชาต่อไปอีก.  คำ
ของพระอรรถกถาจารย์ว่า  เสด็จหนีออกในเวลากลางคืน  ทรงม้า
กัณฐกะ  มีนายฉันนะตามเสด็จนั้นน่าจะกล่าวโดยอุปมา.  มีเรื่อง
ในพราหมณสมัย  อันจะสาธกความนี้ได้อยู่.  เป็นธรรมเนียมของ
ท่านผู้ปรารถนาจักรพรรดิราชสมบัติ  จะต้องเที่ยวจาริกไปตามลำพัง
ผู้เดียวหรือน้อยคน  สู่ชลาลัยศักดิ์สิทธิ์อันมี  ณ  ที่นั้น ๆนำสักการะ
และสรงสนานทั่วตำบลแล้วจึงกลับมานคร.  ในลำดับนั้น  ปล่อย
เศวตอัสดรให้เที่ยวไปในชนบท  ยกทัพติดตามม้าไป  ชนบทใดไม่
ยอมอยู่ใต้อำนาจ  ชนบทนั้นก็ห้ามม้า  ไม่ปล่อยให้เหยียบแดน.
ทัพที่ยกตามไปก็เข้ารบ  เพื่อตีชนบทนั้นไว้ในอำนาจ.  ถ้าเจ้าของ
ม้าแพ้  ก็ต้องเลิกปล่อยม้าถ้าชนะ  ก็ปล่อยม้าต่อไปชนบทใด
ยอมไม่ต่อสู้  ก็ปล่อยม้าและกองทัพเข้าเหยียบแดน.  ครั้นได้ชนบท
ทั้งหลายอยู่ใต้อำนาจทั่วแล้ว  ยกทัพพาม้ากลับนครคราวนี้ตั้งพิธี
บูชายัญ  ฆ่าม้านั้นเซ่นเทวดา  เป็นเครื่องหมายความสำเร็จแห่งความ
เป็นจักรพรรดิราช  ยัญชนิดนี้เรียกว่าอัศวเมธะ  แปลว่า  เป็นเหตุ
ฆ่าม้าพระเจ้าชนเมชยะได้เคยทรงบูชา.  พระโบราณาจารย์ผู้ถือ
พระพุทธศาสนาเปลี่ยนชื่อยัญนี้เป็นสัสสเมธะ  แปลว่า  ความฉลาดใน
อันบำรุงข้าวกล้าตั้งเป็นสังคหวัตถุประการหนึ่ง  อันพระราชาจะพึง
ทรงบำเพ็ญการบูชายัญ ก็แสดงโดยเป็นทรงบำเพ็ญมหาบริจาคดั่ง

๑.  เรียกโดยโวหารข้างพระพุทธศาสนา  ว.ว.
นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 29
กล่าวถึงพระเจ้ามหาวิชิตราชทรงบูชายัญในกูฏทันตสูตรฉะนั้น.  เรื่องที่
เล่ามานี้  ตั้งแต่ไปเที่ยวอาบน้ำจนถึงบูชายัญ  มีในปกรณ์ของพวกถือ
พระพุทธศาสนาแทบทั้งนั้น  แต่กระจุยกระจายไม่เคยรู้เรื่องในทาง
อื่น  คุมกันเข้าไม่ติด. 
           พระอรรถกถาจารย์  กล่าวถึงเรื่องพระมหาบุรุษทรงม้ากัณฐกะ
สีขาวออกผนวช  เทียบกับท่านผู้ปรารถนาจักรพรรดิราชสมบัติยกทัพ
ไปกับม้า  เอาเทวดามาแห่แทนกองเสนาเพื่อจะแสดงปฏิปทาทั้ง
สองฝ่ายเป็นคู่กันดั่งกล่าวไว้ในคำทำนายมหาบุรุษลักษณะนั้น.  เมื่อเอา
เทวดามาแห่  ก็จำจะต้องเสด็จออกอย่างเงียบในกลางคืน  ไม่ให้ใครรู้
อยู่เอง.
           นายฉันนะนั้นมาปรากฏเป็นภิกษุในภายหลัง  ถือว่าตัวเป็นข้า
เก่าแก่  ใครว่าไม่ฟัง  เกิดความบ่อย ๆ  อยู่มาจนถึงนิพพานสมัย
พระศาสดาทรงหาวิธีทรมานอยู่เสมอในครั้งนั้น  ตรัสสั่งแนะสงฆ์
ไว้ให้ลงพรหมทัณฑ์  คือ  อย่างให้ใครว่ากล่าว  ปล่อยเสีย  จะทำ
อะไรก็ช่างด้วยอุบายนั้น  พระฉันนะหายพยศ.  เรื่องที่เล่า  บ่งว่า
มีมูลอยู่.  ส่วนคำของพระอาจารย์ผู้รจนาบาลีมัชฌิมนิกาย  ดูเป็นที
แสดงว่า  เสด็จออกบรรพชาซึ่งหน้า  แย้งคำก่อนอยู่.  ถ้าเสด็จหนี
ออกไปในกลางคืนและนครกบิลพัสดุ์ไม่ใหญ่โตหรือคับขัน  ก็น่า
จะสำเร็จแต่ในท้องเรื่องติดขัดที่ไหน  ท่านเอาเทวดาเข้าช่วย  ก็ละ
ไปได้เหมือนกันแต่มีปัญหาว่า  พระราชบิดาทรงทราบแล้ว  เหตุ

๑.  ที. สี. ๙/๑๖๒.   ๒.  มหาปรินิพพานสูตร ที. มหา. ๑๑/๑๗๘.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 30
ไฉนไม่ตรัสสั่งให้ติดตาม และเมื่อนายฉันนะกลับมานครแล้วก็ไม่
ได้ยินว่าทรงพระพิโรธและลงราชทัณฑ์แก่นายฉันนะอย่างไร ถ้าเสด็จ
ออกโดยซึ่งหน้าก็มีปัญหาอีกว่า  พระราชบิดาไม่ทรงยอมอยู่แล้ว
ถึงทรงกันแสงแต่เหตุไฉนจึงขัดไว้ไม่ได้ น่าจะมีเหตุจำเป็น
อย่างไรอันไม่ปรากฏถ้าหนีออกไปไม่ให้กล้าติดตามถ้าออกซึ่ง
หน้า  ไม่ให้กล้าขัด. เทียบกับบรรพชาของสาวกก็มีทั้ง ๒  นัยพระ
ยสออกผู้เดียวในราตรีพระรัฐบาลที่บิดาหวงออกซึ่งหน้าแต่มีคำ
แก้ปัญหาทั้ง ๒  ข้อ.  เมื่อพระยสออกแล้ว  พอบิดาทราบก็ออกตาม
พบแล้วชวนให้กลับ  แต่ท่านได้ฟังพระธรรมเทศนาสำเร็จพระอรหันต์
แล้ว  ไม่ใช่ผู้จะอยู่ครองฆราวาสเสียแล้ว.  พระรัฐบาลลาบิดาบวช
แต่ไม่ได้รับอนุญาต  เสียใจและอดอาหารจะได้ตายเสียบิดาจึงต้อง
อนุญาตผ่อนตามใจ  ด้วยหมายว่าบวชไปไม่ได้  ก็คงกลับมาเอง  ดี
กว่าจะปล่อยให้ตายเสียในเวลานั้น.  ในบรรพชาของพระมหาบุรุษ
ยังสันนิษฐานลงไม่ถนัด.
           ในบางพระสูตรกล่าวถึงการบำเพ็ญพรตแห่งพระราชา  บางที
จะได้แก่การเที่ยวจาริกสู่ชลาลัยศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวแล้ว.  ถ้าพระมหา-
บุรุษเสด็จออกด้วยอาการอย่างนั้นก่อนแล้ว  จึงทรงบรรพชาต่อภายหลัง
จะออกได้โดยสะดวกกระมัง ทั้งจะไม่ถูกติดตามด้วย.  ข้อนี้ไม่พ้น
จากท่วงทีอันกล่าวไว้ในอรรถกถาทีเดียวนัก  เพราะเอาอย่างคติของ
ท่านผู้ปรารถนาจักรพรรดิราชสมบัติด้วยกันและถ้าถือความว่าเมื่อ

๑.  ยสวตฺถุ. มหาวคฺค. ปม. ๔/๒๘.   ๒.  รัฏฐปาลสูตร. ม. ม. ๑๓/๓๘๘.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 31
จะทรงบรรพชา  ตรัสสั่งนายฉันนะหรือคนอื่นมาทูลพระราชบิดา ๆ
ไม่ปรารถนาให้บวชและทรงกันแสงอยู่ข้างนี้  ทรงบรรพชาอยู่ข้าง
โน้น.  ข้อนี้ก็ไม่แย้งคำพระอาจารย์ผู้รจนาบาลีมัชฌิมนิกายไปทีเดียว
แต่ดูเป็นการเดาจัดเกินไป.  ขอยุติลงว่า  ยังไม่ได้เหตุอันพอแห่งอาการ
ที่เสด็จออกบรรพชา. 
           คราวนี้พิจารณาถึงวิธีบรรพชา.  เพื่อจะให้เข้าใจชัด จักกล่าว
ธรรมเนียมไว้ผมแห่งคฤหัสถ์ก่อน.  พวกคฤหัสถ์ไว้ผมยาว  เกล้ารวบ
ขึ้นขมวดเป็นเมาลีไว้บนกระหม่อมที่พวกพม่าทำตามอย่าง  แต่ได้
พบในหนังสือแสดงธรรมเนียมของพวกพราหมณ์ในยุคหลังว่า  พวก
พราหมณ์ไว้ผมยาว  เกล้าเป็นจุกเฉพาะบนกระหม่อม  โกนข้างล่าง
อย่างไว้จุกแห่งพวกเด็กในประเทศนี้.  พวกเราได้อย่างมา  แต่เดิมที
ผู้ใหญ่ก็คงไว้เหมือนกัน,  ครั้นเรียวลงตัดเสียไม่เกล้าเป็นจุก  แต่คง
โกนผมข้างล่างเหมือนกัน  กลายเป็นผมมหาดไทยเป็นแต่ปล่อย
ให้เด็กไว้ชั่วคราว.  ในเมืองพัทลุงยังมีพวกพราหมณ์เกล้าจุกอย่างนี้
ในปี ( ๒๔๕๕ )  ข้าพเจ้าได้พบ ๓  คน.  ธรรมเนียมนี้คงมีเก่าแก่เหมือน
กัน  แต่ตกมาในประเทศเราก็นานแล้วเข้าใจว่าน่าจะมีทั้ง ๒  อย่าง.
           เมื่อพระมหาบุรุษเสด็จออกบรรพชา  ทรงทำอย่างไรแก่พระ
เมาลี คำของพระอรรถกถาจารย์ว่าทรงตัดด้วยพระขรรค์คราวเดียว
เท่านั้นพระเกศาเหลือยาวประมาณ ๒ องคุลี  ม้วนกลมเป็น
ทักษิณาวัฏตั้งอยู่กำหนดเท่านั้นจนนิพพาน.  คำของพระมัชฌิมภาณ-
กาจารย์ว่า  ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ  แปลว่าโกนพระเศียร.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 32
พระเมาลีนั้น  อย่างไรก็คงต้องตัด  คำนั้นเป็นอันไม่ผิด.  ถอดใจความ
แห่งคำเหลือว่า  ตั้งแต่นั้นมา  ไม่ไว้พระเกศายาวกว่า ๒  นิ้วอีก
จนตลอดพระชนมายุความก็ลงกันกับของพระมัชฌิมภาณกาจารย์
เพราะในพระวินัย  มีพระพุทธานุญาตให้ไว้ผมได้ยาวเพียง ๒  นิ้วหรือ
นาน ๒  เดือน. 
           เหตุไฉนพระพุทธรูปโบราณจึงมีพระเกตุมาลา  ดูเป็นทีเกล้าพระ
เมาลี พระพุทธรูปโดยมากเป็นอย่างนั้น  แต่พระพุทธรูปศิลาใน
แคว้นเนปาล  อินเดียตอนเหนือ  ดูเป็นตัดพระเมาลีเหลือไว้ยาว ๆ
กว่า ๒  นิ้ว.  ถ้าพระพุทธรูปเหล่านี้ทำตามเรื่องในอรรถกถาว่าตัดพระ
เมาลีด้วยพระขรรค์ก็แล้วไป.  ถ้าไม่อย่างนั้น  ก็จะนำให้สันนิษฐาน
อีกทางหนึ่ง.  ธรรมเนียมของบรรพชิตในครั้งนั้น  เกล้าผมเซิงที่เรียก
ว่าชฎาก็มี  เช่นชฎิลกัสสปะพี่น้อง ๓  รูปกับพวกบริวารที่โกนผมก็มี
เช่นพวกอาชีวกและพวกนิครนถ์.  การบรรพชาของพระมหาบุรุษ
ตามเรื่องดูเหมือนเป็นตามลำพังพระองค์เดียวแต่การเสด็จอยู่ใน
สำนักอาฬารดาบสและอุททกดาบส  แสดงด้วยว่าเนื่องด้วยคณะเมื่อ
เป็นเช่นนี้  การถือเพศน่าจะต้องเป็นตามแบบของคณะ.  บางทีพระ
องค์จะถือเพศเกล้าชฎาหรือตัดพระเมาลีแต่ไว้ยาว ๆ  มาก่อน  ภายหลัง
จึงเปลี่ยนเป็นโกนทีเดียว  แต่ในปฐมโพธิกาล คือยุคตื้นแห่งตรัสรู้
นั้นเองเพราะเมื่อทรงอนุญาตสาวกเพื่อให้อุปสมบทแก่กุลบุตรได้
ด้วยให้กล่าวแสดงตนถึงพระรัตนะ ๓  เป็นสรณะตรัสให้ผู้จะรับ

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 33
อุปสมบทปลงผมและหนวดก่อน.  บางท่านเข้าใจว่า  พระศาสดาเอง
ไม่ได้ทรงโกนพระศก  เป็นแต่ตรัสให้สาวกเท่านั้นโกนผม.  ข้อนี้ไม่
สมกับเรื่องในบาลี ทั้งข้างพระวินัย  ทั้งข้างพระสูตร. 
           ในพระวินัยมีเรื่องเล่าไว้ว่า  พระนันทพุทธอนุขา  มีรูปพรรณ-
สัณฐานคล้ายพระศาสดา  ต่ำกว่าพระองค์ ๔ นิ้ว.  ท่านดำเนินมา
ภิกษุทั้งหลายแลเห็นแต่ไกล  สำคัญว่าพระศาสดา  พากันลุกยืนรับ
เสด็จ  ครั้นเข้ามาใกล้กลายเป็นพระนันทะไป.
           ในสามัญญผลสูตร  เล่าเรื่องพระเจ้าอชาตศัตรู  พระเจ้าแผ่นดิน
มคธ  เสด็จไปเฝ้าพระศาสดา  ที่อัมพวันของหมอชีวก  แขวงกรุงราช-
คฤห์ในคืนหนึ่ง  ตรัสถามหมอชีวกว่า   " ไหน  พระผู้มีพระภาคเจ้า ? "
หมอชีวกทูลว่า   " พระองค์ประทับนั่งอิงเสากลาง  ผันพระพักตร์มา
ทางด้านบูรพา  ภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมนั่น. "
           สองเรื่องนี้แสดงว่าพระเศียรของพระศาสดาเหมือนกับของสาวก
บางทีการตัดพระเมาลีนั้นเอง  เป็นเหตุให้พระราชบิดาและพระญาติ-
วงศ์สิ้นหวังในพระองค์.  เพราะได้ยินว่า  คนในครั้งนั้น  ถือการตัด
การโกนผมว่าเป็นจัญไร  คนผู้ตัดหรือโกนผมแล้ว  เป็นที่ดูหมิ่นของ
คนทั้งหลายแม้ในภายหลัง  พราหมณ์บางคนก็ได้กล่าววาจาปรามาส
พระองค์ว่า  คนหัวโล้น.  เพื่อตัดหวังในทางฆราวาสกระมัง  บรรพชิต
บางพวกจึงถือเพศโกนผม ?
           ผ้ากาสายะหรือผ้ากาสาวะนั้น  คือผ้าที่ย้อมด้วยรสฝาดแห่งต้นไม้

๑.  มหาวคฺค. ปม. ๔/๔๑.   ๒.  มหาวิภงฺค. ทุติย. ๒/๕๑๑.   ๓.  ที. สี. ๙/๖๕.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 34
สี่เหลืองหม่น  เป็นของที่บรรพชิตพวกอื่นใช้เหมือนกันมีจำนวน
เท่าไร  คำพระมัชฌิมภาณกาจารย์กล่าวเป็นพหูพจน์  แปลว่ามากกว่า
ผืนเดียว.  คำพระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า  ครบไตรจีวร  คือ  สังฆาฏิ
ผ้าซ้อนนอก  อย่างเสื้อหนาวของคฤหัสถ์ในบัดนี้ ๑อุตตราสงค์ 
ผ้าห่ม ๑อันตรวาสก  ผ้านุ่ง ๑.  แต่สอบได้แน่ว่า  เดิมมีเพียงผ้านุ่ง
กับผ้าห่มเท่านั้น  แคบสั้นไม่ใหญ่เหมือนจีวรพระในทุกวันนี้.  สังฆาฏิ
เป็นบริขารเพิ่มขึ้นทีหลังเรื่องนี้จะงดไว้กล่าวแผนกหนึ่ง  เพราะไม่
เกี่ยวกับอนุสนธิ.
           ผ้านี้ทรงได้มาจากไหน พระอรรถกถาจารย์แสดงว่า  ฆฏิการ-
พรหมนำมาถวายพร้อมกับบาตร.  พระมัชฌิมภาณกาจารย์หาได้กล่าว
ถึงไม่.  ถอดใจความแห่งคำอรรถกถา  น่าจะทรงได้ในสำนักบรรพชิต
ผู้ได้สมาบัติ  เพราะสมาบัติเป็นเหตุแห่งความเกิดเป็นพรหม.  ถ้าจะ
ต้องแสวงหาผ้ากาสายะ  บรรพชาของพระองค์ คงเนื่องด้วยความ
ตระเตรียม.
           มูลเหตุแห่งบรรพชา  อาการเสด็จออก  และวิธีบรรพชา  เป็น
ปัญหาที่จะพึงพิจารณาอยู่  สุดแท้แต่ปราชญ์ผู้ค้นคว้าในตำนานจะพึง
สันนิษฐานเห็นกล่าวไว้ในที่นี้พอเป็นเครื่องนำทาง.
           จะอย่างไรก็ตาม  คงได้ความลงรอยเดียวกันว่า  พระมหาบุรุษ
ได้เสด็จออกบรรพชาแล้วจากศากยสกุลเมื่อพระชนมายุได้ ๒๙ ปีแล.

๑.  ดู วินัยมุขเล่ม ๒ กัณฑ์ที่ ๑๒ บริขารบริโภค.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 35
                                      ปริเฉทที่ ๕
                                         ตรัสรู้
           พระมหาบุรุษทรงบรรพชาแล้ว  เสด็จแรมอยู่ที่อนุปิยอัมพวัน
แขวงมัลลชนบท  ชั่วเวลาราว ๗  วันแล้วเสด็จจาริกไปในต่างด้าว
เข้าเขตมคธชนบท.  มีคำกล่าวในบรรพชาสูตรและในอรรถกถาเจือกัน
ว่า  ได้เสด็จผ่านกรุงราชคฤห์พระเจ้าพิมพิสารพระเจ้ามคธ  ได้เสด็จ
มาพบเข้า  ตรัสถามถึงชาติสกุลแล้ว  ตรัสชวนให้อยู่  จะพระราชทาน
อิสริยยศยกย่องพระองค์ไม่ทรงรับ  แสดงพระประสงค์ว่า  มุ่งจะแสวง
หาพระสัมมาสัมโพธิญาณ.  พระเจ้าพิมพิสารทรงอนุโมทนาแล้วตรัส
ขอปฏิญญาว่า  ตรัสรู้แล้วขอให้เสด็จมาเทศนาโปรด.
           เป็นธรรมดาอยู่เองที่พระองค์ยังไม่เคยเสพลัทธินั้น ๆ  ซึ่งเป็นที่
นิยมนับถือว่าเป็นบุญอย่างยิ่ง  และเป็นเหตุสำเร็จแห่งสิ่งที่ประสงค์
นั้น ๆ  อันคณาจารย์สั่งสอนกันอยู่ในครั้งนั้นก็จำเป็นที่จะต้องทรง
ทดลองดูว่า  ลัทธิเหล่านี้จะเป็นอุบายเครื่องสำเร็จความประสงค์ได้
บ้างกระมัง จึงได้เสด็จไปอยู่ในสำนักอาฬารดาบส  กาลามโคตร
และอุทกดาบส  รามบุตร  ซึ่งมหาชนนับถือว่าเป็นคณาจารย์ใหญ่
โดยลำดับขอศึกษาลัทธิสมัยของท่าน ๆ ก็สั่งสอนตามลัทธิของตน
จนสิ้นแล้ว  สรรเสริญพระมหาบุรุษว่ามีความรู้เสมอด้วยตน  และชวน
ให้อยู่ช่วยกันสั่งสอนหมู่ศิษย์ต่อไป.  พระองค์ได้ทรงทำทดลองใน

๑.  ดูตามระยะทางน่าจะผ่านโกศลชนบทก่อน.  ว. ว.   ๒.  ขุ. สุ. ๒๕/๔๐๕.   ๓.  ป. โช.
ทุติย. ๒๓๓.   ๔.  พบกันที่ภูเขาบัณฑวะ.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 36
ลัทธินั้นทุกอย่างแล้ว  เห็นว่าไม่ใช่ทางพระสัมมาสัมโพธิญาณ  จึงเสด็จ
ออกจากสำนักดาบสทั้ง ๒ นั้น  จาริกไปในมคธชนบท  บรรลุถึง
ตำบลอุรุเทลาเสนานิคมได้ทอดพระเนตรเห็นพื้นที่ราบรื่น  แนวป่า
เขียวสด  เป็นที่เบิกบานใจ  แม่น้ำไหล  มีน้ำใสสะอาด  มีท่าอันดี 
น่ารื่นรมย์  โคจรคาม  คือหมู่บ้านที่อาศัยเที่ยวภิกขาจารก็ตั้งอยู่ใกล้
โดยรอบ.  ทรงพระดำริเห็นว่าประเทศนั้น  ควรเป็นที่ตั้งความเพียร
ของกุลบุตรผู้มีความต้องการด้วยความเพียรได้  จึงเสด็จประทับอยู่
ณ  ที่นั้น.
           พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา  ทรมานพระกายให้ลำบาก
เป็นกิจยากที่จะกระทำได้.
           วาระแรก  ทรงกดพระทนต์ด้วยพระทนต์  กดพระตาลุด้วยพระ
ชิวหาไว้ให้แน่น  จนพระเสโทไหลออกจากพระกัจฉะในเวลานั้น
ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า  เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง  จับบุรุษมี
กำลังน้อยไว้ที่ศีรษะหรือที่คอบีบให้แน่นฉะนั้นแม้พระกายกระวน
กระวายไม่สงบระงับอย่างนี้  ทุกขเวทนานั้น  ก็ไม่อาจครอบงำพระ
หฤทัยให้กระสับกระส่วนพระองค์มีพระสติตั้งมั่น  ไม่ฟั่นเฟือน  ปรารภ
ความเพียร  ไม่ท้อถอย.  ครั้นทรงเห็นว่าการทำอย่างนั้นไม่ใช่ทาง
ตรัสรู้  จึงทรงเปลี่ยนอย่างอื่น.
           วาระที่ ๒  ทรงผ่อนกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ, เมื่อลมไม่ได้เดิน
สะดวกโดยช่องพระนาสิกและช่องพระโอษฐ์  ก็เกิดเสียงดังอู้ทางช่อง

๑.  เพดาน. ปาก.   ๒.  เหงื่อ.   ๓  รักแร้.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 37
พระกรรณทั้งสอง  ให้ปวดพระเศียร  เสียดพระอุทร  ร้อนในพระกาย
เป็นกำลังแม้ได้เสวยทุกขเวทนากล้าถึงเพียงนี้  ทุกขเวทนานั้นไม่
อาจครอบงำพระหฤทัยให้กระสับกระส่าย  มีพระสติตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน
ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน.   ครั้นทรงเห็นว่าการทำอย่างนี้ไม่ใช่ทาง
ตรัสรู้  จึงเปลี่ยนอย่างอื่นอีก. 
           วาระที่ ๓  ทรงอดพระอาหาร  ผ่อนเสวยแต่วันละน้อย ๆ  บ้าง
เสวยพระอาหารละเอียดบ้างจนพระกายเกี่ยวแห้ง  พระฉวีเศร้า
หมอง  พระอัฐิปรากฏทั่วพระกายเมื่อทรงลูบพระกาย  เส้นพระ
โลมามีรากอันเน่าหลุดร่วงจากขุมพระโลมาพระกำลังน้อยถอยลง
จะเสด็จไปข้างไหนก็ซวนล้มจนชนทั้งหลายได้เห็นแล้วกล่าวทักว่า
พระสมณโคดม  ดำไป, บางพวกกล่าวว่า  ไม่ดำ  เป็นแต่คล้ำไปบาง
พวกกล่าวว่า  ไม่เป็นอย่างนั้น  เป็นแต่พร้อยไป.
           ภายหลังทรงสันนิษฐานว่า  การทำทุกรกิริยาไม่ใช่ทรงตรัสรู้
แน่แล้ว  ได้ทรงเลิกเสียด้วยประการทั้งปวง  กลับเสวยพระอาหาร
โดยปกติ  ไม่ทรงอดต่อไปอีก.
           พระอาจารย์ผู้รจนาบาลีมัชฌิมนิกาย  แสดงเหตุทรงปรารภ
บำเพ็ญทุกรกิริยาแล้วเลิกเสียดังนี้ว่า  ครั้งนั้น  อุปมา ๓ ข้อ  ที่พระ
มหาบุรุษไม่เคยทรงสดับ  มาปรากฏแจ่มแจ้งแก่พระองค์ว่า :-
           สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ซึ่งมีกายไม่ได้หลีกออกจากกาม

๑.  มหาสัจจกสูตร  ม. มู. ๑/๔๔๗.
๒.  พราหมณ์ ๒ พวก  คือ  พราหมณ์ผู้สมณะ ๑  พราหมณ์ผู้คฤหบดี ๑  นี้พวกแรก คือ
ผู้ถือบวช.  ว. ว.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 38
และมีความพอใจรักใคร่ในกาม  ยังละให้สงบระงับไม่ได้ดีสมณพราหมณ์
เหล่านั้น  แม้ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าแสบเผ็ด  ที่เกิดเพราะความ
เพียรก็ดี  ไม่ได้เสวยก็ดี  ก็ไม่ควรจะตรัสรู้เหมือนไม้สดที่ชุ่มด้วยยาง
บุคคลแช่ไว้ในน้ำบุรุษมีความต้องการด้วยไฟ  มาถือเอาไม้สำหรับ
สีไฟมาสีเข้า  ด้วยหวังจะให้เกิดไฟบุรุษนั้นไม่อาจให้ไฟเกิดขึ้นได้
ต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า  เพราะไม้นั้นยังสดมียางอยู่  ทั้งยังแช่ไว้
ในน้ำ.
           อีกข้อหนึ่ง  สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง  แม้มีกายหลีก
ออกจากกามแล้ว  แต่ยังมีความพอใจรักใคร่ในกาม  ยังละให้สงบระงับ
ไม่ได้ดีสมณพราหณ์เหล่านั้น  แม้ได้เสวยทุกขเวทนาเช่นนั้น
อันเกิดเพราะความเพียรก็ดี  ไม่ได้เสวยก็ดี  ก็ไม่ควรจะตรัสรู้เหมือน
ไม้สดที่ชุ่มด้วยยาง  แม้ห่างไกลจากน้ำ  บุคคลตั้งไว้บนบกบุรุษก็ไม่
อาจสีให้เกิดไฟได้  ถ้าสีเข้า  ต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า  เพราะไม้นั้น
แม้ตั้งอยู่บนบกแล้ว  ก็ยังเป็นของสดชุ่มด้วยยาง.
           อีกข้อหนึ่ง  สมณพราหณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง  มีกายหลีกออก
จากกามแล้ว  และละความพอใจรักใคร่ในกาม  ให้สงบระงับดีแล้ว
สมณพราหมณ์เหล่านั้น  ได้เสวยทุกขเวทนาเช่นนั้น  อันเกิดเพราะ
ความเพียรก็ดี  แม้ไม่ได้เสวยเลยก็ดี  ก็ควรจะตรัสรู้ได้เหมือนไม้
แห้งที่ไกลจากน้ำ  บุคคลวางไว้บนบกบุรุษอาจสีให้เกิดไฟขึ้นได้
เพราะเป็นของแห้ง  ทั้งตั้งอยู่บนบก.
           พระองค์จะป้องกันจิตไม่ให้น้อมไปในกามารมณ์  จึงได้ทรง

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 39
บำเพ็ญทุกรกิริยาครั้นทำไปข้านาน  ก็หาได้ผลที่มุ่งหมายไม่กลับทรง
ดำริใหม่ว่า  สมณพราหณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ได้เสวยทุกขเวทนาอัน
กล้าแสบเผ็ด  ที่เกิดเพราะความเพียรในกาลล่วงแล้วก็ดี  จักได้เสวยใน
กาลข้างหน้าก็ดี  เสวยอยู่ในกาลบัดนี้ก็ดีทุกขเวทนานั้น  ก็อย่างยิ่ง
เพียงเท่านี้  ไม่เกินกว่านี้ขึ้นไปถึงอย่างนั้น  เราก็ไม่สามารถจะตรัสรู้
ด้วยทุกรกิริยาอันเผ็ดร้อนอย่างนี้ ชะรอยทางตรัสรู้จะมีเป็นอย่างอื่น
กระมัง คราวนี้  เกิดพระสติหวนระลึกถึงความเพียรทางใจว่า
จักเป็นทางตรัสรู้ได้กระมัง ใคร่จะทรงตั้งปธานทางจิต  ทรงคิด
เห็นว่า  ความเพียรเช่นนั้น  คนซูบผอมเช่นนี้  ไม่สามารถให้เป็น
ไปได้  จำเราจะกินอาหารแข้นคือข้าวสุก  ขนมกุมมาส  ให้มีกำลังก่อน;
ทรงสันนิษฐานเช่นนี้แล้ว  จึงกลับเสวยพระอาหารโดยปกติ.
           ฝ่ายปัญจวัคคีย์ คือพวกบรรพชิต ๕  รูป  ชื่อโกณฑัญญะ ๑
วัปปะ ๑  ภัททิยะ ๑  มหานามะ ๑  อัสสชิ ๑แต่เดิมเป็นพราหมณ์
ได้เห็นบ้าง  ได้ยินบ้าง  ว่าพระมหาบุรุษมีลักษณะต้องตามมหาบุรุษ-
ลักษณพยากรณศาสตร์  จึงมีความเคารพนับถือและเชื่อในพระองค์
เป็นอันมาก, เมื่อพระองค์เสด็จออกทรงผนวช  พราหมณ์ ๔  คนนั้น
ดำริเห็นว่า  บรรพชาของพระมหาบุรุษ  จักไม่เลวทรามเสื่อมเสียจาก

๑.  มหาสัจจกสูตร  ม. มู. ๑๒/๔๕๘.
๒.  ดังได้สดับมา โกณฑัญญะได้อยู่ในพวกพราหมณ์ ๑๐๘ คน  ผู้ได้ถูกนิมนต์ฉันในวัน
รับพระลักษณะและขนานพระนาม เป็นเด็กกว่าพราหมณ์อื่น ๆ ฝ่ายพวกพราหมณ์
อีก ๔ คน เป็นบุตรของพราหมณ์พวกนั้น ได้ยินบิดาเล่าให้ฟัง.  ว. ว.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 40
ประโยชน์  คงจะมีผลแก่ผู้อื่นด้วยครั้นคิดอย่างนั้นแล้ว  จึงพากัน
ออกบวชตามพระมหาบุรุษ คอยเฝ้าอยู่ปฏิบัติทุกเช้าค่ำ  ด้วยหวังว่า
พระองค์ได้บรรลุธรรมใด  จักทรงสั่งสอนให้ตนบรรลุธรรมนั้นบ้าง.
ครั้นเห็นพระองค์ทรงละทุกรกิริยาที่ประพฤติมาแล้วเห็นร่วมกันว่า
พระองค์กลายเป็นผู้มักมาก  คลายความเพียร  เวียนมาเพื่อความเป็นผู้
มักมากเสียแล้ว.  จึงเบื่อหน่ายในการที่จะปฏิบัติต่อไป  ด้วยเห็นว่า
พระองค์คงไม่อาจบรรลุธรรมพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งพากันหลีกไป
เสียจากที่นั้น  ไปอยู่  ณ  ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  แขวงเมืองพาราณสี.
           ข้อที่ปัญจวัคคีย์ได้มาอยู่อุปัฏฐากพระมหาบุรุษ  ในเวลาทรง
บำเพ็ญทุกรกิริยาดูเหมือนจะมาเป็นพยานของพระองค์ในเวลาที่ได้
ตรัสรู้แล้วไป  ถ้าพระองค์จะทรงแสดงธรรมสั่งสอนใคร ๆ  ให้ละอัตต-
กิลมถานุโยค  คือการประกอบความลำบากแก่ตนเปล่า  ก็จะได้แนะนำ
ให้สิ้นสงสัยว่า  ' อัตตกิลมถานโจรนั้น  เราได้เคยประพฤติมาแล้ว
ไม่มีใครจะประพฤติได้ยิ่งไปกว่าเราแม้เช่นนี้  ก็ไม่เป็นทางที่จะให้รู้
ธรรมพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง. ผู้นั้นก็จะได้ละความนิยมนับถือใน
อัตตกิลมถานโยคนั้น  แล้วปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์  เพื่อ
บรรลุประโยชน์ตามสมควร.  ครั้นถึงเวลาที่จะทำความเพียรเป็นไป
ในจิตที่ต้องการความสงัด  ก็เผอิญให้ปัญจวัคคีย์นั้นคิดเบื่อหน่ายแล้ว
หลีกไปเสียดูเหมือนเธอทั้งหลายไม่ให้เป็นอันตรายแก่ความสงัดของ
พระองค์.

๑.  บัดนี้เรียกว่า  ' สารนาถ แขวงเมืองพาราณสี.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 41
           ฝ่ายพระมหาบุรุษเสวยอาหารแข้น  ทำพระกายให้กลับมีพระ
กำลังขึ้นได้อย่างเดิม  ทรงเริ่มความเพียรเป็นไปในจิตต่อไป, นับแต่
บรรพชามา  ๖  ปีล่วงแล้ว  จึงได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ  คือได้
พระปัญญารู้ธรรมพิเศษ  เป็นเหตุพอพระหฤทัยว่า  ' รู้ละ ในราตรี
แห่งวิศาขปุรณมี  ดิถีเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงวิศาขนักขัตฤกษ์  ที่ใต้
ร่มไม้อัสสัตถพฤกษ์โพธิใบ  ในปีก่อนพุทธศก ๔๕. 
           พระองค์ทรงรู้เห็นธรรมอะไร  จึงพอพระหฤทัยว่ารู้  และหยุด
การแสวงต่อไป  และเริ่มสั่งสอนผู้อื่น ทางดีในอันสันนิษฐานข้อนี้
คือกระแสพระธรรมเทศนาของพระองค์  ที่ได้ประทานไว้ในที่นั้น ๆ
ในกาลนั้น ๆ  มีปฐมเทศนาเป็นอาทิ. ฝ่ายพระมัชฌิมภาณกาจารย์
แสดงความตรัสรู้ของพระองค์ไว้ดังนี้ :-
           ทรงเจริญสมถภาวนา  ทำจิตให้เป็นสมาธิ  คือแน่แน่วบริสุทธิ์
ปราศจากอุปกิเลส  คืออารมณ์เครื่องเศร้าหมอง  สุขุมเข้าโดยลำดับ
นับว่าได้บรรลุฌานที่ ๑  ที่ ๒  ที่ ๓  ที่ ๔,  แล้วยังญาณอันเป็นตัว
ปัญญา  ๓  ประการให้เกิดขึ้นในยามทั้ง ๓  แห่งราตรีตามลำดับกัน.
           ญาณ ๓  นั้น  ที่ ๑  บุพเพนิวาสานุสสติญาณ  แปลว่าความ
รู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนท่านแจกอรรถโดย
อาหารระลึกชาติหนหลังของตนได้.  ที่ ๒  จุตูปปาตญาณ  แปลว่า
ความรู้ในจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลายท่านแจกอรรถโดยอาการรู้สัตว์
ทั้งหลายอันดีเลวต่างกันว่าเป็นด้วยอำนาจกรรมอีกนัยหนึ่งเรียกว่า

๑.  ดูพิสดารในธรรมวิภาค  ปริเฉทที่ ๒  หมวด ๔  หน้า ๔๖.  พิมพ์ครั้งที่ ๑๑/๒๔๗๙

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 42
ทิพพจักขุญาณ  แปลว่าความรู้ดุจดวงตาทิพย์.  ที่ ๓  อาสวักขยญาณ
แปลว่าความรู้เป็นเหตุสิ้นอาสวะ  คือเครื่องเศร้าหมองอันหมักหมม
อยู่ในจิตสันดารท่านแจกอรรถโดยอาการกำหนดรู้ขันธ์พร้อมทั้ง
อาการ  โดยความเป็นเหตุและเป็นผลเนื่องต่อกันไปจบลงด้วย
รู้อริยสัจ  คือความจริงอย่างสูง ๔ ประการ  คือรู้ทุกข์ ๑  รู้ทุกขสมุทัย
เหตุเกิดแห่งทุกข์ ๑  รู้ทุกขนิโรธ  ความดับแห่งทุกข์ ๑  รู้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา  ทางดำเนินถึงความดับทุกข์ ๑.  หรือกล่าวสั้นว่า
รู้ทุกข์  สมุทัย  นิโรธ  มรรคและรู้อาสวะ  เหตุเกิดอาสวะ  ความ
ดับอาสวะ  ทางดำเนินถึงความดับอาสวะ  เมื่อพระองค์รู้เห็นอย่างนี้
จิตก็พ้นจากอาสวะทั้งปวง  ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.
           ญาณทั้ง ๓  นั้น  พึงเห็นโดยนัยดังนี้ :-
           ญาณที่ต้น  ให้หยั่งรู้อัตภาพโดยเป็นแต่สภาวะอย่างหนึ่ง ๆ  คุม
กันเข้า  ได้ชื่อว่าขันธ์  เช่นธาตุ ๔  ปฐวี  อาโป  เตโช  วาโย
คุมกันเป็นเป็นขันธ์อันหนึ่ง  เรียกรูปความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ  เป็น
ขันธ์อีกอันหนึ่ง  เรียกเวทนาความจำนั่นจำนี่ได้  เป็นขันธ์อีกอัน
หนึ่ง  เรียกสัญญาความนึกความคิด  เป็นขันธ์อีกอันหนึ่ง  เรียกสังขาร,
ความรู้ทางทวาร ๕ ภายนอกและจิตอันเป็นพนักงานผู้นึกผู้คิด  เป็น
ขันธ์อีกอันหนึ่ง  เรียกวิญญาณโดยบรรยายนี้เป็นปัญจขันธ์.  แม้
ขันธ์หนึ่ง ๆ  ก็เป็นมาแต่สภาวะย่อย ๆ  คุมกันเข้าอีกเหมือนรถ
หรือเรือน  เป็นนของที่สัมภาระย่อยคุมกันเข้าเป็นอย่างนี้ทั้งส่วนอัน

๑.  ดูอธิบายในธรรมวิภาค ปริเฉทที่ ๒  หมวด ๓  หน้า ๓๐  พิมพ์ครั้งที่ ๑๑/๒๔๗๙.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 43
ล่วงไปแล้ว  ทั้งส่วนยังเป็นไปอยู่  คนผู้ไม่ได้เคยสดับย่อมเห็นเป็นสิ่ง
เป็นอัน  เป็นผู้เป็นคน  และหลงรักลงชังในขันธ์นั้นเหมือนคน
ผู้ไม่ได้เป็นช่าง  เห็นเป็นแต่รถแต่เรือน  ถึงจะรู้บ้างก็ยังหยาบ.
ต่อนายช่างจึงจะเล็งเห็นละเอียดลงไปถึงสัมภาระ.  ญาณนี้ย่อมนำ
[ กำจัด ]  ความหลงในขันธ์อันเป็นเหตุรักหรือชังเสีย. 
           ญาณที่ ๒  ให้หยั่งรู้ว่าขันธ์นั้นแล  ย่อมเป็นไปตามอำนาจแห่ง
ธรรมดามีอันคุมกันเข้าเป็นสัตว์เป็นบุคคล  แล้วภายหลังสลาย
จากกัน  เป็นอย่างนี้เหมือนกันทั้งหมดแต่ถึงอย่างนั้น  ยังดีเลว
งามไม่งาม  ได้สุขได้ทุกข์ต่างกันอยู่เป็นอย่างนี้เพราะกรรมที่ทำ.
ญาณนี้ย่อมนำ  [ กำจัด ]  ความหลงในคติแห่งขันธ์อันเป็นเหตุสำคัญ
ผิดด้วยประการต่าง ๆ  เสีย.
           ญาณที่ ๓  ให้หยั่งรู้ขันธ์พร้อมทั้งอาการโดยความเป็นเหตุและ
ผลเนื่องประพันธ์กันไปสภาวะอย่างหนึ่งเป็นผลเกิดแต่เหตุอย่างหนึ่ง
แล้ว  ซ้ำเป็นเหตุยังผลอย่างอื่นให้เกิดต่อไปอีกเล่า  เหมือนลูกโซ่เกี่ยว
คล้องกันเป็นสายบรรยายนี้เรียกปฏิจจสมุปบาท.  ญาณนี้ย่อมนำ
[ กำจัด ]  ความหลงในธรรมดาเป็นเหตุเพลินในขันธ์อันประณีตเสีย
ที่ท่านแสดงว่าเห็นอริยสัจ ๔  มีทุกข์เป็นต้น  และเป็นเหตุถึงความ
บริสุทธิ์สิ้นเชิง  ที่ท่านแสดงว่าสิ้นอาสวะทั้งปวง.
           ฝ่ายพระอาจารย์ผู้รจนาอรรถกถา  แสดงธรรมพิเศษที่พระองค์

๑.  ดูพิสดารในธรรมวิภาคปริเฉทที่ ๒  หมวดอติเรกทสกะ  หน้า ๑๒๑  พิมพ์ครั้ง
ที่ ๑๑/๒๔๗๙.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น