วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

พุทธประวัติเล่่ม ๑ นักธรรมตรี หน้า ๕๗ ถึงหน้าสุดท้าย





นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 57
ในสัตวโลกนั้นเอง.  กล่าวถึงพรหมกราบทูลอาราธนา  ก็คือกล่าวถึง
พระกรุณา ทำให้กลับทรงพระปรารภถึงการแสดงธรรมอีกเล่า.  กล่าว
ถึงทรงรับอาราธนาของพรหม  ก็คือทรงเปิดช่องแก่พระกรุณาให้เป็น
ปุเรจาริก  คือไปข้างหน้า. 
           ครั้นพระองค์ทรงอธิษฐานพระหฤทัย  เพื่อจะทรงแสดงพระ
ธรรมเทศนาอย่างนั้นแล้ว  ทรงพระดำริหาคนผู้สมควรรับเทศนา  ครั้ง
แรก  ทรงพระปรารภถึงอาฬารดาบสและอุททกดาบส  ที่พระองค์ได้
เคยอยู่อาศัยศึกษาลัทธิของเธอในกาลก่อนว่า  เธอทั้งสองเป็นผู้ฉลาด
ทั้งมีกิเลสเบาบาง  สามารถจะรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลันแต่เธอทั้งสอง
สิ้นชีพเสียแล้ว  มีความฉิบหายเสียจากคุณอันใหญ่  ถ้าได้ฟังธรรม
นี้แล้วคงรู้ได้โดยพลันทีเดียวภายหลังทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ว่า
มีอุปการะแก่พระองค์มาก  ได้เป็นผู้อุปัฏฐากพระองค์เมื่อครั้งทรง
บำเพ็ญทุกรกิริยาทรงกำหนดลงว่าจะแสดงธรรมแก่ปัญจวัคคีย์ก่อน,
เบื้องหน้าแต่นี้  เสด็จออกจากต้นอชปาลนิโครธตามอรรถกถา
ในเช้าวันขึ้น ๑๔  ค่ำแห่งเดือนอาสาฬหะ  คือเดือน ๘ทรงพระดำเนิน
ไปโดยทางที่จะไปยังเมืองพาราณสี  อันเป็นนครหลวงแห่งกาสีชนบท,
ครั้นถึงตำบลเป็นระหว่างแห่งแม่น้ำคยากับแดนพระมหาโพธิต่อกัน  พบ
อาชีวกผู้หนึ่งชื่ออุปกะเดินสวนทางมาอุปกะเห็นสีพระฉวีของพระองค์
ผุดผ่อง  นึกประหลาดใจ  อย่างจะใคร่ทราบว่า  ใครเป็นศาสดา
ผู้สอนของพระองค์  จึงทูลถาม.  พระองค์ตรัสตอบแสดงความว่า

๑.  สมนฺต. ตติย. ๑๙.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 58
พระองค์เป็นสยัมภู  ผู้เป็นเองในทางตรัสรู้  ไม่มีใครเป็นครูสั่งสอน.
อุปกะไม่เชื่อ  สั่นศีรษะแล้วหลีกไป.  พระองค์ก็เสด็จไปโดยลำดับ
ถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  แขวงเมืองพาราณสี  อันเป็นที่อยู่แห่ง
ปัญจวัคคีย์นั้น  ในเย็นวันนั้น.
           ฝ่ายปัญจวัคคีย์  ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล  จึง
นัดหมายกันว่า  พระสมณโคดมนี้  มีความมักมาก  คลายเพียร  เวียน
มาเพื่อความมักมากเสียแล้ว  มาอยู่  ณ  บัดนี้ในพวกเราผู้ใดผู้หนึ่งไม่
พึงไหว้  ไม่พึงลุกขึ้นต้อนรับเธอ  ไม่พึงรับบาตรจีวรของเธอเลย
ก็แต่ว่า  พึงตั้งอาสนะที่นั่งไว้เถิด  ถ้าเธอปรารถนาก็จักนั่ง.  ครั้งพระ
องค์เสด็จเข้าไปถึงแล้ว  เธอพูดกับพระองค์ด้วยโวหารไม่เคารพ  คือ
พูดออกพระนาม  และใช้คำว่า  ' อาวุโส พระองค์ทรงห้ามเสียแล้ว
ตรัสบอกว่า  เราได้ตรัสรู้อมฤตธรรมโดยชอบเองแล้ว ท่านทั้งหลาย
คอยฟังเถิด  เราจักสั่งสอนท่านทั้งหลายปฏิบัติตามเราสั่งสอนอยู่
ไม่ช้าสักเท่าไร  ก็จะได้บรรลุอมฤตธรรมนั้น.  ปัญจวัคคีย์กล่าวค้าน
ลำเลิกเหตุในปางหลังว่า   " อาวุโส  โคดม  แม้แต่ด้วยความประพฤติ
อย่างนั้น  ท่านยังไม่บรรลุธรรมพิเศษได้บัดนี้  ท่านมาปฏิบัติเพื่อความ
เป็นคนมักมากเสียแล้ว  เหตุไฉนท่านจะบรรลุธรรมพิเศษได้เล่า ? "
พระองค์ทรงตักเตือนเธอพูดคัดค้านโต้ตอบกันอย่างนั้นถึง ๒-๓  ครั้ง
พระองค์จึงตรัสเตือนเธอให้ตามระลึกถึงความหลังว่า   " ท่านทั้งหลาย
จำได้อยู่หรือ  วาจาเช่นนี้  เราได้เคยพูดแล้วในปางก่อนแต่กาลนี้ ? "
ปัญจวัคคีย์นึกขึ้นได้ว่า  พระวาจาเช่นนี้ไม่เคยมีเลยจึงมีความสำคัญ


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 59
ในอันจะฟังพระองค์ทรงแสดงธรรม. 
           ก็คำว่าอมฤตธรรมนั้น  เป็นสำนวนเรียกตามโวหารพราหมณ์
มีเรื่องเล่าไว้ในมหาภารตะว่า  ในกาลก่อน  เทวดาเป็นอันมาก  อยาก
ได้ของเป็นเครื่องกันตายพากันไปทูลถามพระนารายณ์เป็นเจ้า ๆ
รับสั่งให้กวนพระมหาสมุทร  จะเกิดน้ำทิพย์ที่ดื่มเข้าไปแล้ว  ทำผู้ดื่ม
ไม่ให้ตายเทวดาทั้งหลายก็กวนพระมหาสมุทร  ตามคำพระเป็น
เจ้ารับสั่ง.  เมื่อกวนนั้น  ใช้ภูเขารองข้างล่างเขาหนึ่ง  วางข้างบน
เข้าหนึ่ง  ท่าทางคล้ายโม่สำหรับโม่แป้ง  และเอานาคพันเขาข้างบน
ช่วยกันชัก ๒  ข้าง.  อาศัยความร้อนที่เกิดเพราะความหมุนเวียนแห่ง
ภูเขา  ต้นไม้ทั้งปวงที่เป็นเภสัชบนภูเขา  คายรสไหลลงไปในมหา-
สมุทร  จนข้นเป็นปลักแล้ว  เกิดเป็นน้ำทิพย์ในท่ามกลางมหาสมุทร
เรียกว่า  ' น้ำอมฤต บ้าง  น้ำ  ' สุรามฤต บ้าง  แปลว่าน้ำทำผู้ดื่มไม่ให้
ตายของเทวดา.  เทวดาได้ดื่มน้ำอมฤตนั้นแล้ว  เป็นผู้ไม่ตาย  จึงได้
นามว่า  ' อมระ แปลว่าผู้ไม่ตายศัพท์นั้นเป็นเครื่องใช้เรียกเทวดา
แต่ครั้งนั้นมา.  ส่วนพระพุทธศาสนาแสดงว่า  สิ่งใดมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา  สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดาผู้เกิดแล้วจะไม่ตาย
ไม่มีเลย  ก็แต่ว่า  ความรู้สึกว่า  ตายหรือไม่ตาย   จะมีได้ด้วยอุบาย
อย่างหนึ่ง  คือคนที่ไม่เคยได้สดับ  ละอัสมิมานะไม่ได้  ถือมั่นสิ่งนั้น ๆ
ว่าเรา  ว่าของเราว่าเขา ว่าของเขาเมื่อสิ่งนั้น ๆ  แตกไปดับไป  ก็เข้า

๑.  เป็นชื่อหนังสือแสดงเรื่องสงครามใหญ่ระหว่างปาณฑพและโกรพกษัตริย์ เพื่อแย่ง
ความเป็นใหญ่ในหัสตินาปุระ นครหลวงของกษัตริย์จันทวงศ์โปรพโคตร: มี ๑๘ บรรพ.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 60
ใจว่า  เราตาย  ของเราตาย.  เขาตาย  ของเขาตาย.  ฝ่ายผู้ที่ได้สดับ
แล้ว  ทำในใจโดยชอบ  ละอัสมิมานะได้ขาด  ไม่ถือมั่นดังกล่าวแล้ว
เมื่อสิ่งนั้น ๆ  แตกดับไป  ก็ไม่สำคัญว่า  เราตาย  ของเราตายเขา
ตาย  ของเขาตายเห็นเป็นแต่สภาพอันหนึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปธรรม
ของผู้ที่เห็นอย่างนี้ ควรเรียกว่า  ' อมฤต ได้  จึงใช้โวหานี้สืบมา.
           ครั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ตรัสเตือนปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟังได้
แล้ว  ตามอรรถกถาว่า  รุ่งขึ้นวันอาสาฬหบุรณมี  พระองค์ตรัสปฐม-
เทศนา  ประกาศความตรัสรู้ของพระองค์ดั่งนี้ว่า   " ภิกษุทั้งหลาย  ที่
สุด ๒  อย่าง  อันบรรพชิตไม่ควรเสพคือประกอบตนให้พัวพันด้วยสุข
ในกาม  เป็นธรรมอันเลว  เป็นเหตุตั้งบ้านตั้งเรือน  เป็นของคนมีกิเลส
หนาไม่ใช่ของคนอริยะคือผู้บริสุทธิ์  ไม่ประกอบด้วยประโยชน์,
กามสุขัลลิกานุโยคนี้อย่าง ๑ประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตนเปล่า
ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบไม่ทำผู้ประกอบให้เป็นอริยะ  ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์อัตตกิลมถานโยคนี้อย่าง ๑อันบรรพชิตไม่ควร
เสพ.  ข้อปฏิบัติเป็นทางกลาง  ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้ง ๒  นี้  เราได้
ตรัสรู้แล้วทำดวงตาคือปรีชาญาณเป็นไปเพื่อความสงบระงับ
เพื่อความรู้ยิ่ง  เพื่อความรู้ดี  เพื่อนิพพานคือสิ้นตัณหาเครื่องรัดรึง.
มัชฌิมาปฏิปทานั้นอย่างไร มัชฌิมาปฏิปทานั้น  คือทางมีองค์ ๘
ทำผู้ดำเนินให้เป็นอริยะอันนี้เอง.  องค์  ๘  นั้นอะไรบ้าง องค์ ๘  นั้น
คือ  ปัญญาอันเห็นชอบ ๑  ความดำริชอบ ๑  วาจาชอบ ๑  การ

๑.  สมนฺต. ตติย. ๑๙.   ๒.  ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร. มหาวคฺค. ๔/๑๗. ส. มหาวาร ๑๙/๕๒๗.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 61
งานชอบ ๑  เลี้ยงชีวิตชอบ ๑  ความเพียรชอบ ๑  ระลึกชอบ ๑
ตั้งใจชอบ ๑.  มัชฌิมาปฏิปทานี้แล  เราได้ตรัสรู้แล้ว  ทำดวงตาคือ
ปรีชาญาณเป็นไปเพื่อความสงบระงับ  เพื่อความรู้ยิ่ง  เพื่อความ
รู้ดี  เพื่อนิพพาน.  ภิกษุทั้งหลาย  ข้อนี้  เป็นของจริงของอริยบุคคล
คือทุกข์  ความเกิดเป็นทุกข์  ความแก่เป็นทุกข์  ความตายเป็นทุกข์,
ความแห้งใจ  ความรำพัน  ความเจ็บไข้  ความเสียใจ  ความคับ
ใจ  เป็นทุกข์ละอย่าง ๆความประจวบด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก  เป็น
ทุกข์ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก  เป็นทุกข์ความปรารถนา
ไม่ได้สมหวัง  เป็นทุกข์  ข้อนี้  ก็เป็นของจริงของอริยบุคคล  คือเหตุ
ให้ทุกข์เกิดขึ้น  ตัณหาคือความทะยานอยากอันใด  ทำความเกิด
อีก  เป็นไปกับความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน  เพลินนักใน
อารมณ์นั้น ๆ.  ตัณหานี้เป็นอย่างไร กามตัณหา  คือความทะยาน
อย่าในอารมณ์ที่ใคร่ ๑  ภวตัณหา  คือความทะยานอยากในความมี
ความเป็น ๑  วิภวตัณหา  คือความทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็น ๑
ตัณหา ๓  ประการนี้แล  เป็นเหตุให้ทุกข์เกิด. ข้อนี้  ก็เป็นของจริงของ
อริยบุคคล  คือความดับทุกข์  ความดับด้วยไม่ติดย้อมอยู่ได้  โดย
ไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแล  ความสละ  ความวาง  ความปล่อย  ซึ่ง
ตัณหานั้นแล  ความที่ตัณหานั้นแล  ไม่พัวพันติดอยู่  เป็นความดับ
ทุกข์.  ข้อนี้  ก็เป็นของจริงของอริยบุคคล  คือทางถึงความดับทุกข์.
ทางมีองค์ ๘  เป็นอริยะนี้แล  คือปัญญาเห็นชอบ ๑  ความดำริชอบ ๑
วาจาชอบ ๑  การงานชอบ ๑  เลี้ยงชีวิตชอบ ๑  ความเพียรชอบ ๑


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 62
ระลึกชอบ ๑  ตั้งใจชอบ ๑  เป็นทางถึงความดับทุกข์ภิกษุทั้งหลาย
ดวงตา  ญาณ  ปัญญา  วิทยา  แสงสว่าง  ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา  ใน
ธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า  ข้อนี้  ทุกข์  และ
ทุกข์นี้ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญา  และเราก็ได้กำหนดรู้แล้วข้อนี้
เหตุให้ทุกข์เกิด ๆ  นี้ควรละเสีย  และเราก็ได้ละเสียแล้วข้อนี้  ความ
ดับทุกข์ ๆ  นี้ควรทำให้แจ้งชัด  และเราก็ได้ทำให้แจ้งชัดแล้วข้อนี้
ทางถึงความดับทุกข์ ๆ  นี้ควรทำให้เกิด  และเราก็ได้ทำให้เกิดแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย  ปัญญาอันรู้อันเห็นตามเป็นแล้วอย่างไร  ในอริย-
สัจ ๔  เหล่านี้ของเรา  อันมีรอบ ๓  มีอาการ ๑๒  อย่างนี้  ยังไม่
หมดจดเพียงใดแล้ว  เรายังไม่อาจยืนยันตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
ไม่มีใครสู้ในโลกเพียงนั้น.  เมื่อใด ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นแล้ว
อย่างหร  ในอริยสัจ ๔  เหล่านี้ของเราหมดจดดีแล้วเมื่อนั้น  เรา
อาจยืนยันตนว่าเป็นผู้ตรัสรูเองโดยชอบ  ไม่มีใครสู้ในโลก  ก็แล
ปัญญาอันรู้อันเห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า   " ความหลุดพ้นของเราไม่
กลับกำเริบ ความเกิดครั้งนี้เป็นหนที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก. "
           เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ตรัสพระธรรมเทศนาอยู่  ธรรมจักษุ
คือดวงตาอันเห็นธรรม  ปราศจากธุลีมลทิน  ได้เกิดขึ้นแล้วแก่ท่าน
โกณฑัญญะว่า   " สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  สิ่งนั้นทั้ง
หมดมีความดับเป็นธรรมดา. "   พระองค์ทรงทราบว่าท่านโกณฑัญญะ
ได้เห็นธรรมแล้ว  จึงทรงเปล่งอุทานว่า  ' โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ๆ '

๑.  ธรรมจักษุชนิดนี้ พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระโสดาปัตติมรรค, ท่านผู้ได้เป็น
พระโสดาบันน์  ว. ว.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 63
เพราะอุทานว่า  ' อญฺญาาสิ ๆ ที่เป็นภาษามคธ  แปลว่า  ' ได้รู้แล้ว ๆ '
คำว่า  ' อัญญาโกณทัญญะ จึงได้เป็นชื่อของท่าน  ตั้งแต่กาลนั้นมา.
           ในพระธรรมเทศนาทีแรกนี้  พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทรงยกที่สุด
๒  อย่างขึ้นแสดงว่า  อันบรรพชิตไม่ควรเสพ  ก่อนเรื่องอื่น  เพราะ
เป็นโทษสำคัญกว่าโทษอย่างอื่น  ทำบรรพชิตไม่ให้บรรลุธรรมพิเศษ
ได้และบรรพชิตในครั้งนั้น  หมกมุ่นอยู่ในที่สุดทั้ง ๒  อย่างนั้น  ก็
คงมีเป็นพื้น.
           มีเรื่องเล่าในหนังสือมหาภารตะ  ของพวกพราหมณ์ว่า  ฤษี
ทั้งหลายล้วนเป็นคนมีเมียมีลูกทั้งนั้นเพราะเขาถือกันว่า  ชายใดไม่มี
ลูกชาย  ชายนั้นตายไปต้องตกขุมนรกอันหนึ่ง  เรียกว่า  ' ปุตตะ, '
ถ้ามีลูกชาย ๆ  นั้นช่วยป้องกันไม่ให้ตกขุมนรกนั้นได้ศัพท์ว่า  ' บุตร '
จึงได้เป็นเครื่องเรียกลูกผู้ชายสืบว่า  แปลว่าผู้ป้องกันพ่อจากขุมนรก
ซึ่งเรียกว่า  ' ปุตตะ. ใช่แต่เท่านั้น  ฤษีทั้งหลายนั้น  เป็นที่นับถือ
ว่าเป็นผู้ให้สวัสดิมงคลได้ด้วยถ้าลูกสาวของใคร  จะแต่งงานกับผู้ใด
ผู้หนึ่งมารดาบิดาต้องขอสวัสดิมงคลแก่ฤษี  ซึ่งเป็นที่นับถือของตน
ก่อนแล้วจึงแต่งงานต่อภายหลัง.  ถ้าได้เช่นนี้  เป็นมงคลอันใหญ่
หญิงนั้นเป็นคนมีหน้ามีตา  ไม่เป็นที่รังเกียจแม้แห่งผู้เป็นจะสามี.  ได้ยิน
ว่า  ประเพณีนี้  เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จพระราชดำเนินประพาสอินเดีย  เมื่อพุทธศก ๒๔๑๔  ก็ยังมีอยู่.
ถึงจะบูชายัญและบำเพ็ญเพียร  ประพฤติวัตรทรมานร่างกาย  ก็อยู่
ในหวังผลล้วนแต่กามคุณ ๆ  นี้  เป็นมลทินเครื่องเหนี่ยวใจไว้ให้ท้อ


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 64
ถอย  ไม่ให้เพียรเพื่อคุณเบื้องหน้า.  ส่วนการทรมานร่างกายนั้นเล่า 
ก็เป็นแต่ให้ลำบากเปล่า  ไม่สำเร็จประโยชน์อะไรได้ตามที่ว่า  เช่น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ได้ทรงประพฤติแล้วนั้น.
           พระองค์ทรงแสดงที่สุด ๒  อย่างว่า  อันบรรพชิตไม่ควรเสพ
อย่างนี้แล้วทรงแสดงมัชฌิมปฏิปทา  ข้อปฏิบัติเป็นกลางมีองค์ ๘
มีปัญญาอันเห็นชอบเป็นต้น  อันไม่หย่อนนักยิ่งนัก  ที่บรรพชิตควร
เสพ  ว่าเป็นทางที่จะให้บรรลุธรรมพิเศษได้สืบไป.  มีคำเปรียบว่า
เหมือนสายพิณ  ที่หย่อนนักก็ดีดไม่ดัง  ที่ตึงนักดีดเข้ามักขาด  พอดี
จึงจะดีดดังและไม่ขาด  ฉันใดข้อปฏิบัติของบรรพชิตก็ฉันนั้นถ้า
บรรพชิตปฏิบัติท้อถอยหรือแก่กล้าเกินนัก  ก็ไม่สามารถจะบรรลุธรรม
พิเศษได้  ต่อปฏิบัติเป็นกลาง ๆ  ไม่ยิ่งนัก  ไม่หย่อนนัก  จึงสมารถ
จะบรรลุธรรมพิเศษนั้นได้.  นี่แลควรเห็นว่า พระพุทธศาสนาคำสอน
ของพระพุทธเจ้าเป็นแต่กลาง ๆ  เท่านั้น.
           บรรพชิตมาปฏิบัติเป็นกลาง ๆ  อย่างนั้นแล้ว  ควรบรรลุธรรม
พิเศษอย่างไร จึงทรงแสดงของจริง ๔  อย่างแล้วตรัสว่า  พระองค์
ได้รู้เห็นของจริง ๔  อย่างนั้นแล้ว  เพื่อจะให้เป็นตัวอย่างที่ผู้อื่นจะ
ดำเนินตาม.  ก็การรู้ของจริงนั้นจะมีผลอย่างไร จึงทรงแสดงผลคือ
วิมุตติ  ความพ้นจากกิเลสอันเป็นเหตุก่อทุกข์  และสิ้นชาติไม่ต้อง
เกิดอีก  ในที่สุด.
           ในพระธรรมเทศนานี้  ใช้อาลปนะ  คือ  บทตรัสเรียกปัญจวัคคีย์
ว่า  ' ภิกษุ, '  มีทางสันนิษฐาน ๒  ประการ  คือพระคันถรจนาจารย์เรียง


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 65
ตามแบบโวหารแห่งเทศนาอื่นไม่เช่นนั้น  ให้สันนิษฐานว่าบรรพชิต
มีชื่อเรียกหลายชนิด  เช่น  ฤษี  ดาบส  ชฎิล  ปริพาชก  อาชีวก
ภิกขุ  และอื่น ๆ  อีก  ตามธรรมเนียมที่ประพฤติอยู่  พระผู้มีพระภาคเจ้า
และปัญจวัคคีย์  ถือบรรพชาตามแบบของพวกนักบวช  อันได้ชื่อว่า
ภิกขุ  และทรงรับเอาชื่อนี้มาตรัสเรียกผู้บวชในพระศาสนานี้.
           ในอธิการนี้  พระคันถรจนาจารย์แสดงว่า  เมื่อจบเทศนา  เทวดา
พากันสรรเสริญพระธรรมเทศนาเอิกเกริก ป่าวประกาศให้ได้ยินต่อ ๆ
กันขึ้นไป, จนตลอดสวรรค์ทั้งชั้นเทวโลก  ทั้งชั้นพรหมโลกและ
พรรณนาอัศจรรย์อันเป็นไปในสมัยนั้น  คือ  แผ่นดินไหว  และเกิด
แสงสว่างอย่างใหญ่  ล่วงอานุภาพแห่งเทวดา.  อัศจรรย์มีแผ่นดินไหว
เป็นอาทิ  ท่านพรรณนาไว้  ทั้งในคราวประสูติ  คราวตรัสรู้  และ
คราวแสดงพระธรรมจักรปฐมเทศนานี้เป็นแต่กล่าวมากออกไปกว่า
นี้อีกนี้มี  เช่นกลองทิพย์บันลือลั่น  คนตาบอกอาจแลเห็น  คนหูหนวก
อาจได้ยิน  คนต้องกรรมกรณ์มีเครื่องจำหลุด  ไฟนรกดัง  ให้สัตว์ที่
ทุกข์นั้นสร่างไปชั่วคราว. ท่านกล่าวดังนี้  เพื่อแสดงบุรพนิมิต
แห่งอุบัติตรัสรู้และเทศนาว่า จะยังข่าวให้ระบือกระฉ่อน ที่เปรียบ
ด้วยแผ่นดินไหวบ้าง  กองทิพย์บันลือลั่นบ้าง  เทวดาป่าวประกาศ
บ้างจะให้คนทั้งหลายได้ปัญญารู้เห็น  ที่เปรียบด้วยเกิดแสงสว่าง
คนตาบอดแลเห็น  คนหูหนวดได้ยินจะเปลื้องคนไม่ให้หลงติดอยู่
ในกามารมณ์  ที่เปรียบด้วยเครื่องจำหลุดจะให้สุขแก่สัตว์  ที่เปรียบ
ด้วยไฟนรกดับล้วนเป็นอุปมาบุคคลาธิฏฐานทั้งนั้น.  และปฐม-


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 66
เทศนานี้  เรียกว่า  ' พระธรรมจักร ก็เปรียบด้วยจักรรัตนะกล่าว 
คือ  ตัวอำนาจแห่งพระเจ้าจักรพรรดิราชนั้นเอง.
           ฝ่ายท่านโกณฑัญญะได้เห็นธรรมแล้ว  สิ้นความสงสัย  ถึงความ
เป็นคนแกล้วกล้า  ปราศจากครั่นคร้ามในอันประพฤติตามคำสั่งสอน
ของพระศาสดา  เป็นคนมีความเชื่อในพุทธศาสนาด้วยตนเองไม่ต้อง
เชื่อแต่ผู้อื่นจึงมูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัม-
พุทธเจ้าพระองค์ทรงอนุญาตให้ท่านโกณฑัญญะเป็นภิกษุ  ในพระ
ธรรมวินัยนี้ด้วยพระวาจาว่า   " ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด  ธรรมอันเรา
กล่าวดีแล้ว  ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์  เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ
เถิด, "   พระวาจานั้นก็ให้สำเร็จอุปสมบทของท่าน.
           ในครั้งนั้นยังไม่ได้ทรงอนุญาตวิธีอุปสมบทอย่างอื่น  แต่เป็น
ทรงอนุญาตแก่ผู้ใดด้วยพระวาจาเช่นนั้น  ผู้นั้นก็เป็นภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้.  อุปสมบทอย่างนี้เรียกว่า  ' เอหิภิขุอุปสัมปทา, '  ส่วนผู้ที่ได้
รับอนุญาตเป็นภิกษุด้วยพระวาจาเช่นนี้  เรียกว่า  ' เอหิภิกขุ, '  พระ
ศาสดาทรงพระอนุญาตให้พระโกณฑัญญะเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา
ด้วยพระวาจาเช่นนั้น  เป็นครั้งแรกในพระพุทธกาล.
           จำเดิมแต่กาลนั้นมา  พระองค์เสด็จจำพรรษาอยู่  ณ  ป่าอิสิปตน-
มฤคทายวันทรงสั่งสอนบรรพชิตทั้ง ๔  ที่เหลือนั้น  ด้วยพระธรรม-
เทศนาเบ็ดเตล็ด  ตามสมควรแก่อัธยาศัย.  ท่านวัปปะและท่านภัททิยะ
ได้เห็นธรรมอย่างพระอัญญาโกณฑัญญะแล้วทูลขออุปสมบทพระ
ศาสดาก็ประทานอุปสมบทแก่ท่านทั้ง ๒  นั้น  เหมือนอย่างประทานแก่


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 67
พระอัญญาโกณฑัญญะ.  ครั้งนั้นสาวกทั้ง ๓.  เที่ยวบิณฑบาต  นำ
อาหารมาเลี้ยงกันทั้ง ๖  องค์.  ภายหลังท่านมหานามและท่านอัสสชิ
ได้เห็นธรรมเหมือนสาวก  ๓  องค์แล้ว  ทูลขออุปสมบทพระศาสดา
ก็ทรงอนุญาตอุปสมบทแก่ท่านทั้ง ๒  นั้น  เหมือนอย่างทรงอนุญาตแก่
สาวกทั้ง ๓.
           เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์ตั้งอยู่ในที่แห่งสาวกแล้ว  มีอินทรีย์มีศรัทธา
เป็นต้นแก่กล้า  ควรเจริญวิปัสสนาเพื่อวิมุตติแล้ว. ตามอรรถกถา
ครั้นถึงวันแรม ๕  ค่ำแห่งเดือนสาวนะ  คือเดือน ๙  พระศาสดา
ตรัสพระธรรมเทศนาสั่งสอนว่า   " ภิกษุทั้งหลาย  รูป คือร่างกาย,
เวทนา  คือ  ความรู้สุขทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์สัญญาคือ  ความจำ,
สังขาร  คือ  สภาพที่เกิดกับใจปรุงใจให้ดีบ้าง  ชั่วบ้างและวิญญาณ
คือ  ใจ.  ๕  ขันธ์นี้เป็นอนัตตาไม่ใช่ตนถ้าขันธ์ทั้ง ๕  นี้จักได้เป็น
ตนแล้ว  ขันธ์ ๕  นี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่อความลำบากและผู้ที่ถือว่า
เป็นเจ้าของก็จะพึงปรารถนาได้ในขันธ์ ๕  นี้ตามใจหวังว่า  ' จงเป็น
อย่างนี้เถิด  อย่าเป็นอย่างนั้นเลย, '  เหตุใดขันธ์ ๕  นี้ไม่ใช่ตน  เหตุนั้น
ขันธ์ ๕  นี้  จึงเป็นไปเพื่อความลำบาก, และผู้ที่ถือว่าเป็นเจ้าของ
ย่อมปรารถนาได้ได้ในขันธ์ ๕  นี้ตามใจหวังว่า  ' จงเป็นอย่างนี้เถิด

๑.  ป. สู. ทุติย. ๒๕๙. สมนฺต. ตติย. ๑๙ ว่า สำเร็จวันละองค์ตามลำดับดังนี้ พระวัปปะ
แรม ๑ ค่ำ, พระภัททิยะ แรม ๒ ค่ำ, พระมหานามะ แรม ๓ ค่ำ. พระอัสสชิ แรม ๔ ค่ำ.
๒.  ป. สู. ทุติย. ๑๕๙. สมนฺต. ตติย. ๑๙.   ๓.  นับข้างแรมเป็นต้นเดือน.  ว. ว. เท่ากับ
แรม ๕ ค่ำเดือน ๘ ไทย.   ๔.  อนัตตลักขณสูตร. มหาวคฺค. ปม. ๔/๒๔. ส. ขนฺธ ๑๗/๘๒.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 68
อย่าเป็นอย่างนั้นเลย.
           พระองค์ทรงแสดงขันธ์ ๕  ว่าเป็นอนัตตาสอนภิกษุปัญจวัคคีย์
ให้พิจารณาแยกกายใจอันนี้ออกเป็นขันธ์ ๕  เป็นทางวิปัสสนาอย่างนี้
แล้ว  ตรัสถามความเห็นของท่านทั้ง ๕  ว่า   " ภิกษุทั้งหลาย  ท่าน
สำคัญความนั้นเป็นไฉน ขันธ์ ๕  นี้เที่ยงหรือไม่เที่ยง ? "
           " ไม่เที่ยง  พระเจาข้า "
           " ก็สิ่งใดไม่เที่ยง  สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ? "
           " เป็นทุกข์  พระเจ้าข้า. "
           " ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาควร
หรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า  ' นั่นของเรา  นั่นเป็นเรา  นั่นตนของเรา ? "
           " ไม่อย่างนั้น  พระเจ้าข้า. "
           ต่อไปนี้  พระองค์ตรัสสอนสาวกทั้ง ๕  ให้ละความถือมั่นใน
ขันธ์ ๕  นั้น  ต่อพระธรรมเทศนาข้างต้นว่า   " ภิกษุทั้งหลาย  เหตุนั้น
รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  อันใดอันหนึ่งล่วงไปแล้ว
ก็ดี  ยังไม่มีมาก็ดี  เกิดขึ้นจำเพาะบัดนี้ก็ดี  หยาบก็ดี  ละเอียดก็ดี
เลวก็ดี  งามก็ดี  ในที่ไกลก็ดีในที่ใกล้ก็ดีทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่า
รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วย
ปัญญาอันชอบตามเป็นแล้วอย่างไร  ดั่งนี้ว่า  ' นั่นไม่ใช่ของเรา
นั่นไม่เป็นเรา  นั่นไม่ใช่ตนของเรา ภิกษุทั้งหลาย  อริยสาวกผู้ได้
ฟังแล้ว  เมื่อเห็นอย่างนี้  ย่อมเบื่อหน่ายในรูป  เวทนา  สัญญา
สังขาร  วิญญาณครั้นเบื่อหน่ายก็ปราศจากความกำหนัดรักใคร่๑


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 69
เพราะปราศจากความกำหนัดรักใคร่  จิตก็พ้นจากความถือมั่นเมื่อจิต
พ้นแล้ว  ก็มีญาณรู้ว่าพ้นแล้ว.  อริยสาวกนั้นรู้ชัดว่าความเกิดสิ้นแล้ว,
พรหมจรรย์ได้ประพฤติจบแล้วกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้วกิจอื่น
อีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.  เมือพระศาสดาตรัสพระธรรมเทศนา
แสดงอนัตตลักขณะอยู่  จิตของภิกษุปัญจวัคคีย์ผู้พิจารณาภูมิธรรมตาม
กระแสเทศนานั้น  พ้นแล้วจากอาสวะ  ไม่ถือมั่นด้วยอุปทาน.
           ครั้งนั้น  มีพระอรหันต์ขึ้นในโลก ๖  องค์  คือ  พระศาสดา ๑
สาวก ๕  ด้วยประการฉะนี้.

๑.  อธิบายว่า  สำเร็จพระอรหันต์.  ว. ว.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 70
                                    ปริเฉทที่ ๗ 
                      ส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา
           สมัยนั้น  มีกุลบุตรผู้หนึ่งชื่อยสะ  เป็นบุตรเศรษฐีในเมือง
พาราณสี  มีเรือน  ๓  หลัง  เป็นที่อยู่ใน ๓  ฤดูครั้งนั้นเป็นฤดูฝน
ยสกุลบุตรอยู่ในปราสาทสำหรับฤดูบำเรอด้วยดนตรีล้วนแต่สตรี
ประโคม  ไม่มีบุรุษเจือปน.  ค่ำวันหนึ่ง  ยสกุลบุตรนอนหลับก่อน  หมู่
ชนบริวารหลับต่อภายหลังแสงไฟตามสว่างอยู่.  ยสกุลบุตรตื่นขึ้น
เห็นหมู่ชนบริวารนอนหลับ  มีอาการพิกลต่าง ๆ  บางนางมีพิณตกอยู่
ที่รักแร้บางนางมีตะโพนวางอยู่ข้างคอบางนางมีเปิงมางตกอยู่
ณ อกบางนางสยายผมบางนางมีเขฬะไหลบางนางบ่นละเมอ
ต่าง ๆ, ไม่เป็นที่ตั้งแหงความยินดีเหมือนก่อน ๆหมู่ชนบริวารนั้น
ปรากฏแก่ยสกุลบุตรดุจซากศพที่ทิ้งอยู่ในป่าช้า.  ครั้นยสกุลบุตรได้
เห็นแล้ว  เกิดความสลดใจคิดเบื่อหน่าย  ออกอุทานว่า   " ที่นี่
วุ่นวายหนอ  ที่นี่ขัดข้องหนอ "   ยสกุลบุตรรำคาญใจ  จึงสวม
รองเท้าเดินออกจากประตูเมือง  ตรงไปทางที่จะไปป่าอิสิปตน-
มฤคทายวัน.
           ในเวลานั้นจวนใกล้รุ่ง  พระศาสดาเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง
ทรงได้ยินเสียงยสกุลบุตรออกอุทานนั้น  เดินมายังที่ใกล้  จึงตรัส
เรียกว่า   " ที่นี่ไม่วุ่นวาย  ที่นี่ไม่ขัดข้อง  ท่านมานี่เถิด  นั่งลงเถิด

๑.  มหาวคฺค. ปม. ๔/๒๘.


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 71
เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน. "   ยสกุลบุตรได้ยินอย่างนั้นแล้ว  คิดว่า
ได้ยินว่า  ' ที่นี่ไม่วุ่นวาย  ที่นี่ไม่ขัดข้อง จึงถอดรองเท้าเสีย  เข้าไป
ใกล้  ไหว้แล้ว  นั่ง  ณ  ที่สมควรข้างหนึ่ง.
           พระศาสดาตรัสเทศนาอนุปุพพีกถา  คือถ้อยคำที่กล่าวโดย
ลำดับพรรณนาทานการให้ก่อนแล้วพรรณนาศีล  ความรักษา
กายวาจาเรียบร้อยเป็นลำดับแห่งทานพรรณนาสวรรค์  คือกามคุณ
ที่บุคคลใคร่  ซึ่งจะพึงได้พึงถึงด้วยกรรมอันดี  คือทานและศีลเป็น
ลำดับแห่งศีล.  พรรณนาโทษ  คือความเป็นของไม่ยั่งยืน  และ
ประกอบด้วยความคับแค้นแห่งกามซึ่งได้ชื่อว่าสวรรค์นั้น  เป็นลำดับ
แห่งสวรรค์พรรณนาอานิสงส์แห่งความออกไปจากกาม  เป็นลำดับ
แห่งโทษของกามฟอกจิตยสกุลบุตรให้ห่างไกลจากความยินดีในกาม,
ควรรับธรรมเทศนาให้เกิดดวงตาเห็นธรรม  เหมือนผ้าที่ปราศจาก
มลทินควรรับน้ำย้อมได้ฉะนั้นแล้วจึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา
ที่พระองค์ยกขึ้นแสดงเอง  คืออริยสัจ ๔  ทุกข์  เหตุให้ทุกข์เกิด
ความดับทุกข์  และทางดำเนินถึงความดับทุกข์  ยสกุลบุตรได้เห็น
ธรรมพิเศษ  ณ ที่นั่งนั้นแล้วภายหลังพิจารณาภูมิธรรมที่พระศาสดา
ตรัสสอนเศรษฐีผู้บิดาอีกวาระหนึ่ง  จิตพ้นจากอาสวะไม่ถือมั่น
ด้วยอุปาทาน.
           ฝ่ายมารดาของยสกุลบุตร  เวลาเช้าขึ้นไปบนเรือนไม่เห็นลูก  จึง
บอกแก่เศรษฐีผู้สามีให้ทราบเศรษฐีใช้คนให้ไปตามหาใน  ๔  ทิศ
ส่วนตนออกเที่ยวหาด้วยเผอิญเดินไปในทางที่ไปป่าอิสิปตน-


นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 72
มฤคทายวัน   ได้เห็นรองเท้าของลูกตั้งอยู่  ณ  ที่นั้นแล้วตามเข้าไปใกล้,
ครั้นเศรษฐีเข้าไปถึงแล้ว  พระศาสดาตรัสเทศนาอนุปุพพีกถาและ
อริยสัจ ๔  ให้เศรษฐีได้เห็นธรรมแล้วเศรษฐีทูลสรรเสริญธรรม-
เทศนา  แล้วแสดงตนเป็นอุบาสกว่า   " ข้าพระเจ้าถึงพระองค์กับพระ
ธรรม  และภิกษุสงฆ์  เป็นสรณะที่ระลึกที่นับถือขอพระองค์จงทรง
จำข้าพเจ้าว่า  เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป, "   เศรษฐีนั้นได้เป็นอุบาสก  อ้างพระพุทธ  พระ
ธรรม  พระสงฆ์  ครบทั้ง ๓  เป็นสรณะ  ก่อนกว่าชนทั้งปวงในโลก.
เศรษฐีผู้บิดายังไม่ทราบว่า  ยสกุลบุตรมีอาสวะสิ้นแล้ว  จึงบอก
ความว่า   " พ่อยสะ  มารดาของเจ้าเศร้าโศกพิไรรำพันเจ้าจงให้
ชีวิตแก่มารดาของเจ้าเถิด. "   ยสกุลบุตรแลดูพระศาสดา  พระศาสดา
จึงตรัสแก่เศรษฐีให้ทราบว่า   " ยสกุลบุตรได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว
ไม่ใช่ผู้ควรจะกลับคืนไปครองฆราวาสอีก. "   เศรษฐีทูลสรรเสริญว่า
" เป็นลาภของยสกุลบุตรแล้ว "   ทูลเชิญเสด็จพระศาสดากับยสกุลบุตร
เป็นผู้ตามเสด็จเพื่อทรงรับภัตตาหารในเช้าวันนั้นครั้นทราบว่าทรง
รับด้วยพระอาการดุษณีภาพแล้ว  ลุกจากที่นั่งแล้วถวายอภิวาทแล้ว
ทำประทักษิณ  ( คือเดินเวียนข้างขวา )  แล้วหลีกไป.
           เมื่อเศรษฐีไปแล้วไม่ช้า  ยสกุลบุตรทูลขออุปสมบท.  พระ
ศาสดาก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุ  ด้วยพระวาจาว่า   " ท่านจงเป็น
ภิกษุมาเถิด  ธรรมเรากล่าวดีแล้ว  ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์
เถิด. "   ในที่นี้ไม่ตรัสว่า  ' เพื่อจะทำที่สุดทุกข์โดยรอบ เพราะพระ
นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 73
ยสะได้ถึงที่สุดทุกข์แล้ว.  สมัยนั้นมีพระอรหันต์ขึ้นในโลกเป็น ๗  ทั้ง 
พระยสะ.
           ในเวลาเช้าวันนั้น  พระศาสดากับพระยสะตามเสด็จ  เสด็จไป
ถึงเรือนเศรษฐีนั้นแล้ว  ทรงนั่ง  ณ  อาสนะที่แต่งไว้ถวาย.  มารดาและ
ภรรยาด่าของพระยสะเข้าไปเฝ้าพระองค์ทรงแสดงอนุปุพพีกถา
และอริยสัจ ๔  ให้สตรีทั้ง ๒  นั้นเห็นธรรมแล้วสตรีทั้ง ๒  นั้นทูล
สรรเสริญพระธรรมเทศนาแล้ว  แสดงตนเป็นอุบาสิกาถึงพระรัตนตรัย
เป็นสรณะโดยนัยหนหลัง  ต่างแต่เป็นผู้ชายเรียกว่า  ' อุบาสก เป็น
ผู้หญิงเรียกว่า  ' อุบาสิกา, '  เท่านั้นสตรีทั้ง ๒  นั้นได้เป็นอุบาสิกาขึ้น
ในโลกก่อนกว่าหญิงอื่น.  ครั้นถึงเวลา  มารดาบิดาและภรรยาเก่าแห่ง
พระยสะ  ก็อังคาสพระศาสดาและพระยสะ  ด้วยของเคี้ยวของฉันอัน
ประณีตโดยเคารพ  ด้วยมือของตน.  ครั้นฉันเสร็จแล้ว  พระศาสดา
ตรัสพระธรรมเทศนาสั่งสอนชนทั้ง ๓  ให้เห็น  ให้สมาทาน  ให้อาจ
หาญ  ให้รื่นเริงแล้ว  เสด็จกลับไปป่าอิสิปตนมฤคทายวัน.
           ฝ่ายสหายของพระยสะ ๔  คน  ชื่อวิมล ๑  สุพาหุ ๑  ปุณณชิ ๑
ควัมปติ ๑  เป็นบุตรแห่งเศรษฐีสืบ ๆ  กันมาในเมืองพาราณสีได้
ทราบข่าวว่า  ยสกุลบุตรออกบวชแล้วจึงคิดว่าธรรมวินัยที่ยส-
กุลบุตรออกบวชนั้น  จักไม่เลวทรามแน่แล้ว  คงเป็นธรรมวินัยอัน
ประเสริฐครั้นคิดอย่างนั้นแล้ว  พร้อมกันทั้ง ๔  คนไปหาพระยสะ
พระยสะก็พาสหายทั้ง ๔  คนนั้นไปเฝ้าพระศาสดาทูลขอให้ทรงสั่งสอน.
พระองค์ทรงสั่งสอนให้กุลบุตรทั้ง ๔  นั้นเห็นธรรมแล้ว  ประทาน

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 74
อุปสมบทอนุญาตให้เป็นภิกษุแล้ว  ทรงสั่งสอนให้บรรลุพระอรหัตตผล.
ครั้งนั้นมีพระอรหันต์ขึ้นในโลก ๑๑  องค์.
           ฝ่ายสหายของพระยสะอีก  ๕๐  คนเป็นชาวชนบท  ได้ทราบข่าว
นั้นแล้ว  คิดเหมือนหนหลัง  พากันบวชตามแล้ว  ได้สำเร็จพระ-
อรหัตตผลด้วยกันสิ้นโดยนัยก่อนบรรจบเป็นพระอรหันต์ ๖๑  องค์.
           เมื่อสาวกมีมาก  พอจะส่งไปเที่ยวประกาศพระศาสนา  เพื่อ
เป็นหิตานุหิตประโยชน์แก่หมู่ชนได้แล้ว  พระศาสดาจึงตรัสเรียกสาวก
๖๐  องค์นั้นพร้อมกันแล้ว  ตรัสว่า   " ภิกษุทั้งหลาย  เราได้พ้น
แล้วจากบ่วงทั้งปวง  ทั้งที่เป็นของทิพย์  ทั้งที่เป็นของมนุษย์แม้
ท่านทั้งหลายก็เหมือนกัน.  ท่านทั้งหลายจงเที่ยวไปในชนบท  เพื่อ
ประโยชน์และความสุขแก่ชนเป็นอันมากแต่อย่าไปรวมกัน ๒  รูป
โดยทางเดียวกันจงแสดงธรรมมีคุณในเบื้องต้น  ท่ามกลาง  ที่สุด,
จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะอันบริสุทธิ์
บริบูรณ์สิ้นเชิง  สัตว์ทั้งหลายที่มีกิเลสบังปัญญาดุจธุลีในจักษุน้อยเป็น
ปกติมีอยู่.  เพราะโทษที่ไม่ได้ฟังธรรม  ย่อมเสื่อมจากคุณที่จะพึงได้
พึงถึงผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมีอยู่แม้เราก็จะไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
เพื่อจะแสดงธรรม. "
           สาวก ๖๐  นั้นรับสั่งแล้ว  ก็เที่ยวไปในชนบทนั้น ๆ  แต่องค์
เดียว ๆ  แสดงธรรมประกาศพระศาสนา  ให้กุลบุตรที่มีอุปนิสัย
ในประเทศนั้น ๆ  ได้ความเชื่อในพระพุทธศาสนา  น้อมอัธยาศัยใน
อุปสมบทแล้ว  ไม่สามารถจะให้อุปสมบทด้วยตนเองได้จึงพา

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 75
กุลบุตรเหล่านั้นมา  ด้วยหวังจะทูลพระศาสดาประทานอุปสมบททั้ง
ภิกษุผู้อาจารย์และกุลบุตรเหล่านั้น  ได้ความลำบากในทางกันดารเป็น
ต้น.  พระศาสดาทรงดำริถึงความลำบากนั้นแล้ว  ยกขึ้นเป็นเหตุทรง
อนุญาตว่า   " เราอนุญาตบัดนี้ท่านทั้งหลายจงให้กุลบุตรอุปสมบท
ในทิศนั้น ๆ  ในชนบทนั้น ๆ  เองเถิดกุลบุตรนั้น  ท่านทั้งหลายพึง
ให้อุปสมบทอย่างนี้ :  พึงให้ปลงผมและหนวดเสียก่อนแล้ว  ให้นุ่งผ้า
ที่ย้อมด้วยน้ำฝาดแล้วให้นั่งกระโหย่งประณมมือแล้ว  ให้ไหว้เท้า
ภิกษุทั้งหลายแล้ว  สอนให้ว่าตามไปว่า  ' ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นสรณะข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็น
สรณะ  ฯ ล ฯ "   ดั่งนี้.  พระศาสดา  ทรงอนุญาตอุปสมบทด้วย
ไตรสรณคมน์  เป็นครั้งแรกในพระพุทธศาสนาอย่างนี้.  ตั้งแต่กาล
นั้นมีวิธีอุปสมบทเป็น ๒  คือ  เอหิภิกขุอุปสัมปทา  ที่พระศาสดาทรง
เอง ๑  และติสรณคมนอุปสัมปทา  ที่ทรงอนุญาตแก่สาวก ๑.
           ครั้นพระศาสดา  เสด็จอยู่ในเมืองพาราณสีพอควรแก่ความ
ต้องการแล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปโดยหนทางที่จะไปยังตำบล
อุรุเวลา  เสด็จแวะออกจากทางแล้วเข้าไปพักอยู่ที่ไร่ฝ้าย  ทรงนั่ง
ในร่มไม้ตำบลหนึ่ง.  สมัยนั้น  สหาย  ๓๐  คนซึ่งเรียก  ภัททวคคีย์ '
แปลว่า  ' พวกเจริญ พร้อมทั้งภรรยาเล่นอยู่  ณ  ที่นั้น.  ภรรยาของ
สหายผู้หนึ่งไม่มี  สหายทั้งหลายจึงนำหญิงแพศยามาเพื่อประโยชน์
แก่สหายนั้น.  ครั้นสหายเหล่านั้นเผลอไป  มิได้เอาใจใส่ระวังรักษา
หญิงแพศยาลักได้ห่อเครื่องประดับแล้วหนีไป.  สหายเหล่านั้นชวน

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 76
กันเที่ยวหาหญิงแพศยานั้น  ไปถึงที่พระศาสดาประทับอยู่  เข้าใกล้
แล้วถามว่า   " พระผู้มีพระภาคเห็นหญิงผู้หนึ่งบ้างหรือ ? "   " กุมาร
ทั้งหลาย  ท่านทั้งหลายจะต้องการอะไรด้วยสตรีเล่า "   สหายทั้งหลาย
นั้นเล่าความตั้งแต่ต้น  จนถึงหญิงแพศยานั้นลักห่อเครื่องประดับแล้ว
หนีไปถวายให้ทรงทราบ.  พระองค์ตรัสถามว่า   " กุมารทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจะเห็นอย่างไร  ท่านจะพึงแสวงหาหญิงนั้นดีกว่า  หรือ
จะพึงแสวงหาตนดีกว่า ? "   " ข้าพเจ้าจะพึงแสวงหาตนนั่นแลดีกว่า
พระเจ้าข้า "   " ถ้าอย่างนั้น  ท่านทั้งหลายนั่งลงเถิด  เราจักแสดง
ธรรมแก่ท่าน. "   สหายทั้งหลายนั้นทูลรับแล้ว  นั่ง ณ  ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง.  พระศาสดาตรัสอนุปุพพีกถาและอริยสัจ ๔  ให้สหาย ๓๐  คน
นั้นเกิดดวงตาเห็นธรรมแล้ว  ประทานอุปสมบทแล้วส่งไปในทิศ
นั้น   ๆ  เพื่อแสดงธรรมประกาศพระศาสนาเหมือนนัยหนหลัง.
           ส่วนพระองค์เสด็จไปโดยลำดับถึงตำบลอุรุเวลา  ซึ่งเป็นที่
อาศัยอยู่แห่งชฎิล ๓  คนพี่น้องกันทั้งหมู่ศิษย์บริวารอุรุเวลกัสสปะ
เป็นพี่ชายใหญ่  นทีกัสสปะเป็นน้องชายกลาง  คยากัสสปะเป็นน้อง
ชายน้อยทั้ง ๓  คนพี่น้องนี้สร้างอาศรมอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เป็น ๓  สถานตามลำดับกัน.  ครั้นพระศาสดาเสด็จถึงอุรุเวลาประเทศ
แล้วทรงทรมานอุรุเวลกัสสปะด้วยวิธีเครื่องทรมานต่าง ๆ  แสดง
ให้เห็นว่า  ลัทธิของอุรุเวลกัสสปะนั้นไม่มีแก่นสารอุรุเวลกัสสปะ
ถือตัวว่าตนเป็นผู้วิเศษฉันใด ๆ  ตนก็หาเป็นฉันนั้น ๆ  ไม่  จน
อุรุเวลกัสสปะมีความสลดใจพร้อมทั้งศิษย์บริวารลอยผมที่เกล้า

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 77
เป็นชฎาและบริขารเครื่องพรตเครื่องบูชาเพลิง  ของชฎิลเสียในแม่น้ำ
แล้ว  ทูลขออุปสมบท.  พระศาสดาก็ประทานอุปสมบท  อนุญาต
ให้เป็นภิกษุทั้งสิ้น.
           ฝ่ายนทีกัสสปะตั้งอาศรมอยู่ภายใต้  ได้เห็นชฎาและบริขารเครื่อง
พรตเครื่องบูชาเพลิงลอยไปตามกระแสน้ำสำคัญว่าเกิดอันตรายแก่
พี่ชายตน  พร้อมทั้งบริวารรีบมาถึงเห็นอุรุเวลกัสสปะผู้พี่ชาย
ถือเพศเป็นภิกษุแล้ว  ถามทราบความว่าพรหมจรรย์นี้ประเสริฐแล้ว,
ลอยชฎาและบริขารเครื่องพรตเครื่องบูชาเพลิงของตนเสียในแม่น้ำแล้ว
พร้อมด้วยบริวารเข้าไปเฝ้าพระศาสดา  ทูลขออุปสมบท.  พระองค์
ก็ประทานอุปสมบทแก่เธอทั้งหลาย.
           ฝ่ายคยากัสสปะน้องชายน้อย  ได้เห็นชฎาและบริขารเครื่องพรต
เครื่องบูชาเพลิงลอยมาตามกระแสน้ำ  สำคัญว่าเกิดอันตรายแก่พี่ชาย
ทั้ง ๒ พร้อมกับบริวารรีบมาถึง,  เห็นพี่ชายทั้ง ๒  ถือเพศภิกษุแล้ว
ถามทราบความว่าพรหมจรรย์นี้ประเสริฐลอยชฎาและบริขาร
เครื่องพรตเครื่องบูชาเพลิงของตนเสียในแม่น้ำแล้ว  พร้อมด้วยบริขาร
เข้าไปเฝ้าพระศาสดา  ทูลขออุปสมบท.  พระองค์ก็ประทานอุปสมบท
ให้เป็นภิกษุโดยนัยหนหลัง.
           ในอธิการนี้  พระคันถรจนาจารย์  กล่าวถึงปาฏิหาริย์ต่าง ๆ  ที่
ทรงแสดงเพื่อยังอุรุเวลกัสสปะ  ให้คลายความถือตัวว่าเป็นพระอรหันต์
เริ่มแต่เสด็จไปถึง  ตรัสขออาศัยในโรงเป็นที่บูชาเพลิง  อุรุเวลกัสสปะ

๑.  มหาวคฺค. ปม. ๔/๔๕.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 78
บอกว่ามีนาคร้ายกาจอยู่ในที่นั้น  อาศัยไม่ได้. พระองค์เฝ้าตรัสขอ 
ในที่สุดอุรุเวลกัสสปะก็อนุญาตเสด็จเข้าไปอยู่ในโรงเพลิง  ได้แสดง
ฤทธิ์บันดาลให้เกิดควันและเปลวเพลิงสู้นาคได้ชัยชนะ  เอานาคลง
ขดในบาตรนำมาให้อุรุเวลกัสสปะดู  แล้วทรงแสดงปาฏิหาริย์อย่าง
อื่น ๆ  อีก.  ในที่สุด  คราวหนึ่งฝนตกใหญ่น้ำท่วม  พระองค์แหวกน้ำ
จงกรมอยู่ในพื้นที่ฝุ่นฟุ้ง กว่าอุรุเวลกัสสปะจะเอาเรือมารับ.
           ถอดใจความแห่งปาฏิหาริย์ ๒  เรื่องนั้นน่าจะได้ดั่งนี้  ใน
ปาฏิหาริย์ต้น  สันนิษฐานว่า  พวกชฎิลคงนับถือและไหว้เทวรูปมีนาค
เป็นบัลลังก์ หรือนับถือแต่ลำพังรูปนาคล้วนในโรงที่เป็นกองเพลิง
บูชายัญนั้น  เป็นที่ไว้เทวรูปนาคชนิดนั้นด้วย  เช่นเดียวกับในวิหาร
หรือในโรงอุโบสถ  เป็นที่ไว้พระพุทธรูปเมื่อภายหลังและนับถือเป็น
ที่ศักดิ์สิทธิ์  ใครเข้าไปกล้ำกรายไม่ได้  บันดาลให้มีอันเป็นต่าง ๆ  จน
เป็นที่เกรงขามบางทีอุรุเวลกัสสปะจะผดุงความศักดิ์สิทธิ์นั้นไว้เป็น
เดชของตนเองก็ได้.  พระศาสดาเสด็จไปขออาศัยอุรุเวลากัสสปะ
จึงบอกว่าอาศัยไม่ได้  เทวรูปนาคนั้นศักดิ์สิทธิ์นักจะเกิดเหตุขึ้น,
พระองค์ตรัสว่าตามทีเถิดอุรุเวลกัสสปะนึกว่าอวดดี  ปล่อยให้ถูก
ฤทธิ์เดชของเทวรูปนาคเสียบ้าง  หรือสิ้นทางแก้ตัวจึงยอมให้อาศัย.
ครั้นรุ่งเช้าพระองค์ไม่มีอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งพวกชฎิลพากัน
เห็นเป็นอัศจรรย์.  ในปาฏิหาริย์สุด  ยังเห็นใจความไม่ถนัด  น่าจะเป็น
ดั่งนี้:  พอน้ำท่วมมา  พระองค์รู้จักทำหรือหาที่อาศัยพ้นน้ำในปัจจุบัน

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 79
ทันด่วนรอดพ้นอุทกภัย  เป็นเหตุประหลาดใจของพวกชฎิล.
           อนึ่ง  ท่านกล่าวจำนวนแห่งชฎิลไว้ว่า  อุรุเวลกัสสปะมีบริวาร
๕๐๐  คนนทีกัสสปะมีบริวาร ๓๐๐  คนคยากัสสปะมีบริวาร ๒๐๐
คน.  คำนี้ดูเหมือนเป็น ๑,๐๐๓  คนทั้งหัวหน้าแต่เมื่อกล่าวให้ที่อื่น
รวมทั้งหัวหน้าทั้งบริวารเพียง ๑,๐๐๐  เท่านั้น  ถึงอย่างนั้นก็ยังมาก
ไม่ใช่น้อย.
           พระศาสดาเสด็จอยู่ในตำบลอุรุเวลา  ตามควรแก่พระพุทธ-
อัธยาศัยแล้วพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ชฎิลเหล่านั้นเสด็จไปยังตำบล
คยาสีสะใกล้แม่น้ำคยา  ประทับอยู่  ณ  ที่นั้น.  ครั้งนั้น  พระองค์ตรัส
เรียกภิกษุเหล่านั้นมาพร้อมแล้ว  ทรงแสดงธรรมว่า   " ภิกษุทั้งหลาย
สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน.  อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวง จักษุ  คือนัยน์ตา
รูป  วิญญาณอาศัยจักษุ  สัมผัส  คือความถูกต้องอาศัยจักษุ  เวทนา
ที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย  คือสุขบ้าง  ทุกข์บ้าง  ไม่ใช่สุข
ไม่ใช่ทุกข์บ้าง  หมวด ๑โสตะ  คือหู  เสียง  วิญญาณอาศัยโสตะ
สัมผัสอาศัยโสตะ  เวทนาที่เกิดเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย  หมวด ๑,
ฆานะ  คือจมูก กลิ่น วิญญาณอาศัยฆานะ สัมผัสอาศัยฆานะ เวทนาที่เกิด
แต่ฆานสัมผัสเป็นปัจจัย  หมวด ๑ชิวหา  คือลิ้น  รส  วิญญาณอาศัย
ชิวหา  สัมผัสอาศัยชิวหา  เวทนาที่เกิดเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย

๑.  ผู้ปรารถนาจะทราบพึงดูความพิสดารในหนังสือปฐมสมโพธิ ฉบับของสมเด็จกรม
พระปรมานุชิตชิโนรส และความสันนิษฐานในหนังสือวิชชาแปดประการ ของหลวง
วิจิตรวาทการ.   ๒.  อาทิตตปริยายสูตร มหาวคฺค. ปญม. ๔/๖๒. สํ. สฬา. ๑๘/๒๓.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 80
หมวด ๑กาย  โผฏฐัพพะ  คืออารมณ์ที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย  วิญญาณ
อาศัยกาย  สัมผัสอาศัยกาย  เวทนาที่เกิดเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย
หมวด ๑มนะ  คือใจ  ธรรมคืออารมณ์ที่เกิดกับใจ  วิญญาณ
อาศัยมนะ  สัมผัสอาศัยมนะ  เวทนาที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
หมวด ๑ชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป้นของร้อน.  ร้อนเพราะอะไร อะไรมา
เผาให้ร้อน เรากล่าวว่า  ร้อนเพราะไฟ  คือความกำหนัด  ความโกรธ
ความหลง.  ร้อนเพราะความเกิด  ความแก่  ความตาย  ความโศก
ร่ำไรรำพัน  เจ็บไข้  เสียใจ  คับใจไฟกิเลสไฟทุกข์เหล่านี้มาเผาให้
ร้อน.  ภิกษุทั้งหลาย  อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว  เห็นอยู่อย่างนี้  ย่อม
เบื่อหน่ายในสิ่งทั้งปวงนั้น  ตั้งแต่ในจักษุ  จนถึงเวทนาที่เกิดเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัยเป็นที่สุด.  เมื่อเบื่อหน่าย  ย่อมปราศจากกำหนัด
รักใคร่  เพราะปราศจากกำหนัดรักใคร่  จิตก็พ้นจากความถือมั่น.
เมื่อจิตพ้นแล้ว  ก็เกิดญาณรู้ว่าพ้นแล้ว.  อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า
ความเกิดสิ้นแล้วพรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว, กิจที่จำจะต้องทำ
ได้ทำเสร็จแล้วกิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.  เมื่อพระ
ศาสดาตรัสพระธรรมเทศนานี้อยู่  จิตของภิกษุเหล่านั้น  พ้นจากอาสวะ
ทั้งหลาย  ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 81
                                      ปริเฉทที่ ๘
              เสด็จกรุงราชคฤห์แค้นมคธและได้อัครสาวก
           ครั้งนั้น  มคธชนบทอันตั้งอยู่ในชมพูทวีปหนใต้ติดบูรพ์เป็น
แคว้นใหญ่  มีอำนาจและบริบูรณ์ด้วยสมบัติ, คับคั่งด้วยประชาชน
ตำบลหนึ่ง  ทั้งประมวลเอาอังคชนบทเข้าไว้ด้วยมีอาณาเขตติด
ต่อกับแควันโกศลกาสีและวัชชีมีกรุงราชคฤห์เป็นพระนครหลวง,
พระเจ้าพิมพิสารทรงปกครองโดยสิทธิ์ขาดทรงยศเป็นมหาราชเจ้า,
แต่ในบาลีไม่ใช้คำว่า  ' มหาราชา, '  จึงเรียกว่า  ' ราชา  มาคโธ แปล
ว่า  ' พระเจ้าแผ่นดินมคธ, '  ทั้งเป็นที่อออยู่แห่งครูเจ้าลัทธิมากกว่า
มาก.  พระผู้มีพระภาคเจ้า  ทรงเลือกเป็นภูมิที่ประดิษฐานพระพุทธ-
ศาสนาเป็นปฐม.
           ครั้นพระองค์เสด็จอยู่  ณ  ตำบลคยาสีสะ  ตามควรแก่อภิรมแล้ว
พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสาวกนั้นเสด็จเที่ยวไปโดยลำดับ  ถึงกรุงราชคฤห์
ประทับอยู่  ณ  ลัฏฐิวันสวนตาลหนุ่ม.
           ครั้งนั้น  มีกิตติศัพท์ขจรไปว่า  พระสมณโคดม  โอรสแห่ง
ศากยราช  ละฆราวาสสมบัติเสีย  เสด็จออกบรรพชาจากศากยสกุล,
บัดนี้  เสด็จถึงกรุงราชคฤห์  ประทับอยู่  ณ  ลัฏฐิวันแล้ว, พระองค์เป็น
พระอรหันต์  ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ,   ทรงแสดงธรรมสั่งสอนมหาชน
มีคุณในเบื้องต้น  ท่ามกลาง  ที่สุด  ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ
และพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงการได้เห็นพระอรหันต์เช่นนั้น

๑.  บัดนี้เรียก  ราชเคย  [ Rajgir ]

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 82
เป็นความดีสามารถให้ประโยชน์สำเร็จ.  พระเจ้าพิมพิสาร  พระเจ้า
แผ่นดินมคธได้ทรงสดับกิตติศัพท์นั้นแล้วเสด็จพระราชดำเนินพร้อม
ด้วยราชบริวารออกไปเฝ้าพระศาสดาถึงลัฏฐิวัน  ทรงนมัสการแล้ว
ประทับ ณ  ที่ควรข้างหนึ่ง.  ส่วนราชบริวารนั้นมีอาการกายวาจาต่าง ๆ
กันบางพวกถวายบังคม  บางพวกเป็นแต่กล่าววาจาปราศรัย  บาง
พวกเป็นแค่ประณมมือ  บางพวกร้องประกาศชื่อและโคตรของตน
บางพวกนิ่งอยู่ทั้ง ๕  เหล่านั้น  นั่ง  ณ  ที่ควรตามลำดับที่นั่งอันถึงแล้ว
แก่ตน ๆ.
           พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นอาการของชนราชบริวารเหล่านั้น
ต่าง ๆ กัน.  ยังไม่อ่อนน้อมโดยเรียบร้อย  ซึ่งควรจะรับพระธรรม-
เทศนาได้. มีพระประสงค์จะให้พระอุรุเวลกัสสปะ  ซึ่งเป็นที่นับถือของ
ชนเหล่านั้น  ประกาศความไม่มีแก่นสารแห่งลัทธิเก่าให้เขาทราบ  จะ
ได้สิ้นความเคลือบแคลงแล้วตั้งใจคอยฟังพระธรรมเทศนาจึงตรัส
ถามพระอุรุเวลกัสสปะว่า   " กัสสปะผู้อยู่ในอุรุเวลามานาน  ท่านเคย
เป็นอาจารย์สั่งสอนหมู่ชฎิลผู้ผอมเพราะกำลังพรต  ท่านเห็นเหตุอะไร
แล้ว  จึงละไฟที่ตนได้เคยบูชาแล้วตามลัทธิเดิม เราถามเนื้อความ
นั้นแก่ท่าน  เหตุไฉนท่านจึงละการบูชาเพลิงของท่านเสีย ? "
           พระอุรุเวลกัสสปะกราบทูลว่า   " ยัญทั้งหลายกล่าวสรรเสริญ
ผล  คือรูปเสียงและรสเป็นอารมณ์ที่สัตว์ปรารถนา  และสตรีทั้งหลาย
แสดงว่า  บูชายัญแล้ว  ก็จะได้ผลคืออารมณ์ที่ปรารถนามีรูปเป็นต้น
เหล่านี้ข้าพเจ้าได้รู้ว่า  ผลคือกามนั้นเป็นมลทินเครื่องเศร้าหมอง

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 83
ตกอยู่ในกิเลสยัญทั้งหลายย่อมกล่าวสรรเสริญผลล้วนแต่มลทิน
อย่างเดียวเหตุนั้น  ข้าพเจ้าจงมิได้ยินดีในการเซ่นและการบูชา
เพลิงที่ได้เคยทำมาแล้วในปางก่อน. "
           พระศาสดาตรัสก่อนต่อไปอีกว่า   " กัสสปะ  ก็ใจของท่านไม่
ยินดีในอารมณ์เหล่านั้น  คือรูปเสียงและรสซึ่งเป็นวัตถุกามแล้วก็
ที่นั้นใจของท่านยินดีแล้วในสิ่งไรเล่า  ในเทวโลกหรือในมนุษยโลก ?
ท่านจงบอกข้อนั้นแก่เรา. "
           พระอุรุเวลกัสสปะกราบทูลว่า   " ข้าพเจ้าได้เห็นทางอันสงบ
ไม่มีกิเลสอันเป็นเหตุก่อให้เกิดทุกข์  ไม่มีกังวลเข้าพัวพัน  ไม่ติดอยู่
ในกามภพ  มีอันไม่แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไม่ใช่ธรรมที่บุคคลผู้อื่น
แนะให้เชื่อ  คือเป็นคุณปรากฏอยู่แก่ใจตนเองเหตุนั้นข้าพเจ้ามิได้
ยินดีแล้วในการเซ่นและการบูชาเพลิง  ซึ่งได้เคยประพฤติมาแล้ว. "
พระอุรุเวลกัสสปะกราบทูลอย่างนี้แล้วลุกจากี่นั่ง  ทำผ้าห่มเฉวียง
บ่าข้างหนึ่ง  ซบศีรษะลงที่พระบาทพระศาสดา  ทูลประกาศว่า   " พระ
องค์เป็นพระศาสดาของข้าพเจ้า  ข้าพเจ้าเป็นสาวกผู้ฟังคำสอน
ของพระองค์. "
           ครั้นพระศาสดาตรัสถาม  และพรอุรุเวลกัสสปะกราบทูล
ประกาศความไม่มีแก่นสารแห่งลัทธิเดิมดั่งนั้นแล้วราชบริวารทราบ
แล้วน้อมจิตเชื่อถือตั้งโสตคอยฟังพระธรรมเทศนา  พระศาสดาทรง
แสดงอนุปุพพีกถาและอริยสัจ ๔พระเจ้าพิมพิสารและราชบริวาร
แบ่งเป็น ๑๒  ส่วน๑๑  ส่วนได้จักษุเห็นธรรมส่วน ๑  ตั้งอยู่ใน

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 84
ไตรสรณคมน์.  ครั้งนั้น  พระราชประสงค์ของพระเจ้าพิมพิสารสำเร็จ
บริบูรณ์พร้อมทั้ง ๕  อย่าง  พระองค์จึงกราบทูลความนั้นแด่พระ
ศาสดาว่า   " ครั้งก่อนเมื่อข้าพเจ้ายังเป็นราชกุมาร  ยังไม่ได้รับ
อภิเษก  ได้มีความปรารถนา ๕  อย่างข้อต้นว่า  ขอให้ข้าพเจ้า
ได้รับอภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินมคธนี้เถิดข้อที่ ๒  ว่า  ขอท่านผู้เป็น
พระอรหันต์ผู้รู้เองเห็นเองโดยชอบ  พึงมายังแว่นแคว้นของข้าพเจ้า
ผู้ได้รับอภิเษกแล้วข้อที่ ๓  ว่า  ขอข้าพเจ้าพึงได้เข้าไปนั่งใกล้
พระอรหันต์นั้นข้อที่ ๔  ว่า  ขอพระอรหันต์นั้น  พึงแสดงธรรม
แก่ข้าพเจ้าข้อที่ครบ ๕  ว่า  ขอข้าพเจ้าพึงรู้ทั่วถึงธรรมของ
พระอรหันต์นั้น.  บัดนี้ความปรารถนาของข้าพเจ้านั้นสำเร็จแล้ว
ทั้ง  ๕  ประการ.
           ข้อที่พระเจ้าพิมพิสารกราบทูลความปรารถนา  ขอให้ท่านผู้เป็น
พระอรหันต์ผู้รู้เองเห็นเองโดยชอบ  มายังแว่นแคว้นของพระองค์แล้ว
แสดงธรรมสั่งสอนให้พระองค์ได้รู้เห็นนั้นพึงเข้าใจศัพท์ว่า  ' อรหันต์ '
นั้นเป็นของเก่าสำหรับใช้เรียกผู้วิเศษซึ่งควรรับสักการบูชาของ
ประชุมชน  เช่นศัพท์ว่า  ' ภควา ซึ่งเป็นของเก่าสำหรับใช้เรียกฤษี
ผู้เป็นที่นับถือและศัพท์ว่า  ' ภิกษุ สำหรับใช้เรียกคนเที่ยวขอฉะนั้น.
           ในครั้งนั้นคงมีคนที่ตั้งตัวว่าเป็นพระอรหันต์หลายพวก  เช่นพระ
อุรุเวลกัสสปะ เมื่อครั้งยังเป็นชฎิลก็ตั้งตัวเป็นอรหันต์จนพระ
ศาสดาตรัสให้เกิดความสลดใจรู้สึกตัวว่าไม่ใช่พระอรหันต์  ชะรอย
พระเจ้าพิมพิสารไม่ทรงสันนิษฐานได้ว่า  ท่านองค์ไหนเป็นพระอรหันต์

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 85
แท้  จึงทรงตั้งความปรารถนาไว้อย่างนั้น.  ก็ชนเหล่านั้น  เขานับถือ
กันว่าเป็นพระอรหันต์ผู้วิเศษควรรับบูชา  ด้วยข้อปฏิบัติใด  ข้อปฏิบัติ
นั้นไม่เป็นสาระทำผู้ดำเนินตามให้เป็นพระอรหันต์ได้จริงพระศาสดา
จึงได้ทรงเสาะหาปฏิปทาอันทำให้เป็นพระอรหันต์ใหม่  ทรงทำให้แจ้ง
แล้วสั่งสอนสาวกให้ดำเนินตาม.  พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสดับพระ-
ธรรมเทศนา  ได้พระปรีชาญาณเห็นธรรมพิเศษด้วยพระองค์ทรง
สันนิษฐานแน่พระทัยว่าเป็นพระอรหันต์แท้  จึงกราบทูลเช่นนั้น.
           ครั้นพระเจ้าพิมพิสารกราบทูลความสำเร็จพระราชประสงค์อย่าง
นี้แล้ว  ทรงสรรเสริญพระธรรมเทศนาแสดงพระองค์เป็นอุบาสกแล้ว
กราบทูลเชิญเสด็จพระศาสดากับทั้งหมู่สาวก  เพื่อเสวยที่พระราช-
นิเวศน์ในวันพรุ่งนี้แล้วเสด็จลุกจากที่ประทับ  ถวายอภิวาทพระ
ศาสดา  ทำประทักษิณเสร็จแล้ว  เสด็จกลับพระราชวังแล้ว  ตรัสสั่ง
เจ้าพนักงาน  ให้ตกแต่งอาหารของเคี้ยวของฉัน  ล้วนแต่อย่างประณีต
เสร็จแล้ว.  ครั้นล่วงราตรีนั้นแล้ว  ตรัสสั่งให้ราชบุรุษไปกราบทูล
ภัตตกาล  ( เวลาฉันเอาหาร ).
           พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร  เสด็จไปยังพระราช-
นิเวศน์  ประทับ ณ  อาสนะที่แต่งไว้ถวายแล้ว  พระเจ้าพิมพิสารทรง
อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน  ด้วยอาหารอันประณีต
ด้วยพระหัตถ์แห่งพระองค์เสร็จแล้วเสด็จเข้าไปใกล้  ประทับ ณ  ที่ควร
ข้างหนึ่งทรงพระราชดำริถึงสถานควรเป็นที่เสด็จอยู่แห่งพระศาสดา
ทรงเห็นว่า พระราชอุทยานเวฬุวันสวนไม้ไผ่  เป็นที่ไม่ไกลไม่ใกล้นัก

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 86
แต่บ้านบริบูรณ์ด้วยทางเป็นที่ไปและทางเป็นที่มา  ควรที่ผู้มีธุระจะ
พึงไปถึง,กลางวันไม่เกลื่อนกล่นด้วยหมู่มนุษย์  กลางคืนเงียบเสียง
ที่จะอื้ออึงกึกก้อง  ปราศจากลมแต่ชนที่เดินเข้าออกสมควรเป็นที่
ประกอบกิจของผู้ต้องการที่สงัด  และควรเป็นที่หลีกออกเร้นอยู่ตาม
วิสัยสมณะ  ควรเป็นที่เสด็จอยู่ของพระศาสดาครั้นทรงพระราชดำริ
อย่างนี้แล้ว  ทรงจับพระเต้าทองเต็มด้วยน้ำหลั่งลงถวายพระราช-
อุทยานเวฬุวันนั้น  แก่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน.  พระ
ศาสดาทรงรับแล้วทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้พระเจ้าพิมพิสาร
ทรงเห็น  และทรงสมาทานอาจหาญรื่นเริงในสัมมาปฏิบัติ  ตามสมควร
แล้ว  เสด็จไปประทับอยู่  ณ  เวฬุวันนั้น.  พระองค์ทรงปรารภเหตุนั้น
ประทานพระพุทธานุญาต  ให้ภิกษุรับอารามที่ทายกถวายตามปรารถนา.
การถวายอารามเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในกาลนั้น.
           ครั้งนั้น  มาณพสกุลพราหมณ์ ๒  สหาย  ชื่ออุปติสสะ  บุตร
แห่งนางสารี  เรียกตามนัยนี้ว่า  ' สารุบุตร ' ชื่อโกลิตะ  บุตรแห่ง
นางโมคคัลลี  เรียกตามนัยนี้ว่า  ' โมคคัลลานะ ' พร้อมกับบริวาร
( ที่กล่าวจำนวนว่า ๑๕๐ )  บวชอยู่ในสำนักสัญชัยปริพาชก  ณ  กรุง
ราชคฤห์นั้น.  สองสหายไม่ได้บรรลุธรรมพิเศษอันเป็นที่พอใจในสำนัก
อาจารย์  จึงได้สัญญากันไว้ว่า  ผู้ใดได้บรรลุธรรมพิเศษก่อน  ผู้นั้น
จงบอกแก่อีกคนหนึ่ง.
           วันหนึ่ง  พระอัสสชิซึ่งนับเข้าในปัญจวัคคีย์  เข้าไปบิณฑบาต
ในเมืองราชคฤห์.  สารีบุตรปริพาชกเดินมาแต่อาราม  ได้เห็นท่านมี

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 87
อาการน่าเลื่อมใสจะก้าวไปถอยกลับแลเหลียวคู้แขนเหยียดแขน
เรียบทุกอิริยาบถ  ทอดจักษุแต่พอประมาณ  มีอาการแปลกจาก
บรรพชิตในครั้งนั้นอยากจะทราบความว่า  ใครเป็นศาสดาของ
ท่าน  แต่ยังไม่อาจถาม  ด้วยเห็นว่าเป็นกาลไม่ควรท่านยังเที่ยว
ไปบิณฑบาตอยู่.  จึงติดตามไปข้างหลังครั้นเห็นท่านกลับจาก
บิณฑบาตแล้ว  จึงเข้าไปใกล้พูดปราศรัยแล้วถามว่า   " ผู้มีอายุ
อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก  สีผิวของท่านหมดจดผ่องใสท่าน
บวชจำเพาะใคร ใครเป็นศาสดาผู้สอนของท่าน ท่านขอบใจ
ธรรมของใคร ? "
           " ผู้มีอายุ  เราบวชจำเพาะพระมหาสมณะ  ผู้เป็นโอรสแห่ง
ศากยะ  ออกผนวชจากศากยสกุลท่านเป็นพระศาสดาของเราเรา
ชอบใจธรรมของท่าน. "
           " พระศาสดาของท่านสั่งสอนอย่างไร ? "
           " ผู้มีอายุ  เราเป็นคนใหม่บวชยังไม่นาน  พึ่งมายังพระธรรม-
วินัยนี้  ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่านโดยกล้างขวาง  เราจะกล่าวความ
แก่ท่านโดยย่อพอรู้ความ. "
           " ผู้มีอายุ  ช่างเถิด  ท่านจะกล่าวน้อยก็ตาม มากก็ตาม
กล่าวแต่ความเถิด, เราต้องการด้วยความ  ท่านจะกล่าวให้มาก
ประโยชน์อะไร. "
           พระอัสสชิก็แสดงธรรมแก่สารีบุตร  พอเป็นเลาความว่า   " ธรรม
ใดเกิดแต่เหตุ  พระศาสดาทรงแสดงเหตุแห่งธรรมนั้น  และความ
           

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 88
ดับแห่งธรรมนั้นพระศาสดาทรงสั่งสอนอย่างนี้. "
           สารีบุตรได้ฟังก็ทราบว่าในศาสนานี้แสดงว่า   " ธรรมทั้งปวง
เกิดแต่เหตุ  และจะสงบระงับไปเพราะดับเหตุก่อนพระศาสดาทรง
สั่งสอนให้ปฏิบัติ  เพื่อสงบระงับเหตุแห่งธรรมเป็นเครื่องก่อให้เกิด
ทุกข์. "   ได้ดวงตาเห็นธรรมว่า   " สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น
ธรรมดา  สิ่งนั้นทั้งหมด  ต้องมีความดับเป็นธรรมดา "   แล้วถามว่า
" พระศาสดาของเราเสด็จอยู่ที่ไหน ? "
           " ผู้มีอายุ  เสด็จอยู่ที่เวฬุวัน. "
           " ถ้าอย่างนั้น  พระผู้เป็นเจ้าไปก่อนเถิดข้าพเจ้าจะกลับไป
บอกสหายแล้ว  จะพากันไปเฝ้าพระศาสดา. "
           ครั้นพระเถระไปแล้ว  สารีบุตรก็กลับมาที่อยู่  บอกข่าวที่ได้ไป
พบพระอัสสชิแก่โมคคัลลานปริพาชกแล้ว  แสดงธรรมนั้นให้ฟัง,
โมคคัลลานะก็ได้ดวงตาเห็นธรรมเหมือนสารีบุตร.  สองสหายชวน
กันจะไปเฝ้าพระศาสดา  จึงไปลาสัญชัยผู้อาจารย์เดิมสัญชัยห้ามไว้
อ้อนวอนให้อยู่เป็นหลายครั้ง  ก็ไม่ฟัง.  พาบริวารไปเวฬุวันเฝ้าพระ
ศาสดา  ทูลขออุปสมบทพระองค์ก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยกัน
ทั้งสิ้น. ได้ยินว่า  ภิกษุที่เป็นบริวาร  ได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้ว
บำเพ็ญเพียรได้สำเร็จพระอรหันต์ก่อน.
           ฝ่ายพระโมคคัลลานะ  นับแต่อุปสมบทแล้วได้ ๗  วัน  ไปทำ
ความเพียรอยู่ที่บ้านกัลลวาลมุตตคาม  แขวงมคธ  อ่อนใจนั่งโงกง่วงอยู่.
พระศาสดาเสด็จไปที่นั้น  ทรงแสดงอุบายสำหรับระงับความโงกง่วง

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 89
สั่งสอนท่านว่า   
           " โมคคัลลานะ  เมื่อท่านมีสัญญาอย่างใด  ความง่วงนั้นย่อม
ครอบงำได้ ท่านควรทำในใจถึงสัญญาอย่างนั้นให้มากข้อนี้จะเป็น
เหตุให้ท่านละความง่วงนั้นได้.  ถ้ายังละไม่ได้  แต่นั้นท่านควรตรึก-
ตรองพิจารณาถึงธรรมที่ตนได้ฟังแล้วและได้เรียนแล้วอย่างไร  ด้วยใจ
ของตนข้อนี้จะเป็นเหตุให้ท่านละความง่วงนั้นได้.  ถ้ายังละไม่ได้
ท่านควรสาธยายธรรมที่ตนได้ฟังแล้วและได้เรียนแล้วอย่างไร  โดย
พิสดารข้อนี้จะเป็นเหตุให้ท่านละความง่วงนั้นได้.  ถ้ายังละไม่ได้
แต่นั้นท่านควรยอนช่องหูทั้ง ๒ ข้าง  และลูบตัวด้วยฝ่ามือข้อนี้จะ
เป็นเหตุให้ท่านละความง่วงนั้นได้.  ถ้ายังละไม่ได้  แต่นั้นท่านควร
ลุกขึ้นยืน  แล้วลูบนัยน์ตาด้วยน้ำ  เหลียวดูทิศทั้งหลาย  แหงนดูดาว
นักขัตฤกษ์ข้อนี้จะเป็นเหตุให้ท่านละความง่วงนั้นได้.  ถ้ายังละ
ไม่ได้  แต่นั้นท่านควรทำในใจถึงอาโลกสัญญา  คือความสำคัญ
ในแสงสว่างตั้งความสำคัญว่ากลางวันไว้ในจิตให้เหมือนกันทั้ง
กลางวันกลางคืน  มีใจเปิดเผยฉะนี้  ไม่มีอะไรหุ้มห่อ  ทำจิตอันมี
แสงสว่างให้เกิดข้อนี้จะเป็นเหตุให้ท่านละความง่วงนั้นได้.  ถ้ายัง
ละไม่ได้  แต่นั้นท่านควรอธิษฐานจงกรม  กำหนดหมายเดินกลับไป
กลับมา  สำรวมอินทรีย์  มีจิตไม่คิดไปภายนอกข้อนี้จะเป็นเหตุ
ให้ท่านละความง่วงนั้นได.  ถ้ายังละไม่ได้  แต่นั้นท่านควรสำเร็จ
สีหไสยา  คือนอนตะแคงข้างเบื้องหวา  ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้ามีสติ
สัมปชัญญะ  ทำความหมายในอันจะลุกขึ้นไว้ในใจพอท่านตื่นแล้ว

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 90
ควรรีบลุกขึ้นด้วยความตั้งใจว่า  เราจะไม่ประกอบสุขในการนอน
เราจักไม่ประกอบสุขในการเอนข้าง  ( เอนหลัง )  เราจักไม่ประกอบ
สุขในการเคลิ้มหลับ.  โมคคัลลานะ  ท่านควรสำเหนียกใจอย่างนี้แล.
           อนึ่ง โมคคัลลานะ  ท่านควรสำเหนียกใจอย่างนี้ว่า  เราจัก
ไม่ชูงวง  ( คือถือตัว )  เข้าไปสู่สกุลเพราะว่า  ถ้าภิกษุชูงวงเข้าไปสู่
สกุล  และกิจการในสกุลนั้นมีอยู่  ซึ่งเป็นเหตุที่มนุษย์เขาจะไม่นึกถึง
ภิกษุผู้มาแล้วภิกษุจะคิดเห็นว่า  เดี๋ยวนี้ใครหนอยุยงให้เราแตก
จากสกุลนี้  เดี๋ยวนี้มนุษย์พวกนี้มีอาการอิดหนาระอาใจในเรา  เพราะ
ไม่ได้อะไร  เธอก็จะมีความเก้อครั้นเก้อก็จะเกิดความคิดฟุ้งซ่าน
ครั้นคิดฟุ้งซ่านแล้ว  ก็จะเกิดความไม่สำรวมครั้นไม่สำรวมแล้ว
จิตก็จะห่างจากสมาธิ.
           อนึ่ง  ท่านควรสำเหนียกใจอย่างนี้ว่า  เราจักไม่พูดคำซึ่งเป็นเหตุ
เถียงกัน  ถือผิดต่อกันเพราะว่า  เมื่อคำซึ่งเป็นเหตุเถียงกัน ถือผิด
ต่อกันมีขึ้น  ก็จำจะต้องหวังความพูดมากเมื่อความพูดมากมีขึ้น
ก็จะเกิดความคิดฟุ้งซ่านครั้นคิดฟุ้งซ่านแล้ว  ก็จะเกิดความไม่
สำรวมครั้นไม่สำรวมแล้ว  จิตก็จะห่างจากสมาธิ.
           หนึ่ง  โมคคัลลานะ  เราหาสรรเสริญความคลุกคลีด้วยประการ
ทั้งปวงไม่แต่มิใช่จะติความคลุกคลีด้วยประการทั้งปวงเมื่อไร ? คือ
เราไม่สรรเสริญความคลุกคลีด้วยหมู่ชน ทั้งคฤหัสถ์ทั้งบรรพชิตก็แต่
ว่า  เสนาสนะที่นอนที่นั่งอันใด  เงียบเสียงอื้ออึงปราศจากลม
แต่คนเดินเข้าออก  ควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ต้องการที่สงัด  ควร

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 91
เป็นที่หลีกออกเร้นอยู่ตามสมณวิสัย  เราสรรเสริญความคลุกคลีด้วย
เสนาสนะเห็นปานนั้น. "
           เมื่อพระศาสดาตรัสสอนอย่างนี้แล้ว พระโมคคัลลานะกราบ
ทูลถามว่า   " กล่าวโดยย่อ  ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร  ภิกษุชื่อว่าน้อม
ไปแล้วในธรรมที่สิ้นตัณหา  มีความสำเร็จล่วงส่วน  เกษมจาก
โยคธรรมล่วงส่วน  เป็นพรหมจารีบุคคลล่วงส่วน  มีที่สุดล่วงส่วน
ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ? "
           พระศาสดาตรัสตอบว่า   " โมคคัลลานะ  ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ได้สดับว่า  บรรดาธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นครั้นได้สดับดั่งนั้นแล้ว
เธอทราบธรรมทั้งปวงชัดด้วยปัญญาอันยิ่งครั้นทราบธรรมทั้งปวง
ชัดด้วยปัญญาอันยิ่งดังนั้นแล้ว  ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงครั้น
กำหนดรู้ธรรมทั้งปวงดังนั้นแล้ว  เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่าง
หนึ่งสุขก็ดี  ทุกข์ก็ดี  มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดีเธอพิจารณาเห็นว่า
ไม่เที่ยว พิจารณาเห็นด้วยปัญญาเป็นเครื่องหน่าย  พิจารณาเห็น
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องดับ  พิจารณาเห็นด้วยปัญญาเป็นเครื่องสละคืน
ในเวทนาทั้งหลายนั้นเมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น  ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่ง
อะไร ๆ  ในโลกเมื่อไม่ยึดมั่น  ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่นเมื่อไม่
สะดุ้งหวาดหวั่น  ย่อมดับกิเลสให้สงบได้จำเพาะตัว  และทราบชัด
ว่าชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้วกิจที่จำจะต้องทำได้ทำ
เสร็จแล้ว, กิจอื่นที่จะต้องทำอย่างนี้อีกมิได้มี.  กล่าวโดยย่อด้วยข้อ
ปฏิบัติเพียงเท่านี้แล  ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมที่สิ้นตัณหา  มี

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 92
ความสำเร็จล่วงส่วน  เกษมจากโยคธรรมล่วงส่วน  เป็นพรหมจารี-
บุคคลล่วงส่วน  มีที่สุดล่วงส่วน  ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย. "   พระโมคคัลลานะปฏิบัติตามโอวาทที่พระศาสดาทรงสั่ง
สอน  ก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ในวันนั้น.
           เมื่อพระสารีบุตรบวชแล้วได้กึ่งเดือน  พระศาสดาเสด็จอยู่ที่ถ้ำ
สุกรขาตาเขาคิชฌกูฏ  แขวงเมืองราชคฤห์.  ปริพาชกผู้หนึ่ง  ชื่อ
ทีฆนขะ  อัคคิเวสสนโคตร  เข้าไปเฝ้าพระศาสดา  กล่าวปราศรัย
แล้ว  ยืน  ณ  ที่ควรข้างหนึ่งทูลแสดงทิฏฐิของตนว่า   " พระโคดม
ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า  สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่ข้าพเจ้า  ข้าพเจ้าไม่
ชอบใจหมด. "
           พระศาสดาตรัสตอบว่า   " อัคคิเวสสนะ  ถ้าอย่างนั้น  ความ
เห็นอย่างนั้น  ก็ต้องไม่ควรแก่ท่านท่านก็ต้องไม่ชอบความเห็นอย่าง
นั้น "   ตรัสตอบอย่างนี้แล้ว  ทรงแสดงสมณพราหมณ์เจ้าทิฏฐิ ๓
จำพวกว่า   " อัคคิเวสสนะ  สมณพราหมณ์พวก ๑  มีทิฏฐิว่า  สิ่ง
ทั้งปวงควรแก่เรา  เราชอบใจหมดพวก ๑  ทีทิฏฐิว่า  สิ่งทั้งปวง
ไม่ควรแก่เรา  เราไม่ชอบใจหมดพวก ๑  มีทิฏฐิว่า  บางสิ่งควร
แก่เรา  เราชอบใจ  บางสิ่งไม่ควรแก่เรา  เราไม่ชอบใจ.  ทิฏฐิของ
สมณพราหมณ์พวกต้น  ใกล้ข้างความกำหนัดรักใคร่ยินดีในสิ่งนั้น ๆ,
ทิฏฐิของสมณพราหมณ์พวกที่ ๒  ใกล้ข้างความเกลียดชังสิ่งนั้น ๆ,
ทิฏฐิของสมณพราหมณ์พวกที่ ๓  ใกล้ข้างความกำหนัดรักใคร่ใน

๑.  มหาโมคคัลลานสูตร. องฺ. สตฺตก. ๒๓/๘๗.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 93
ของบางสิ่ง  ใกล้ข้างความเกลียดชังของบางสิ่ง, ผู้รู้พิจารณาเห็นว่า 
ถ้าเราจักถือมั่นทิฏฐินั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง  กล่าวว่าสิ่งนี้แลจริง  สิ่ง
อื่นเปล่าหาจริงไม่  ก็จะต้องถือผิดจากคน ๒ พวกที่มีทิฏฐิไม่เหมือน
กับตน.  ครั้นความถือผิดกันมีขึ้น  ความวิวาทเถียงกันก็มีขึ้นครั้น
ความวิวาทมีขึ้น  ความพิฆาตหมายมั่นก็มีขึ้นครั้นความพิฆาตมีขึ้น
ความเบียดเบียนกันก็มีขึ้นผู้รู้มาเห็นอย่างนี้แล้ว  ย่อมละทิฏฐินั้น
เสียด้วย  ไม่ทำทิฏฐิอื่นให้เกิดขึ้นด้วยความละทิฏฐิ ๓  อย่างนั้น
ย่อมมีด้วยอุบายอย่างนี้.
           ครั้นทรงแสดงโทษแห่งความถือมั่นด้วยทิฏฐิ  ๓  อย่างนั้นแล้ว
ทรงแสดงอุบายเครื่องไม่ถือมั่นต่อไปว่า   " อัคคิเวสสนะ  กาย  คือ
รูปประชุมหมาภูตรูป ๔  ( ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม )  มีบิดามารดาเป็นแดนเกิด
เจริญขึ้นเพราะข้าวสุกและขนมสดนี้ต้องอมรมกันกลิ่นเหม็น  และ
ขัดสีมลทินเป็นนิตย์มีความแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา
ควรพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  อดทนได้ยาก,
เป็นโรคเป็นดั่งหัวฝี  เป็นดั่งลูกศร  โดยความยากลำบาก  ชำรุด
ทรุดโทรม  เป็นของว่างเปล่าไม่ใช่ตนเมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้  ย่อม
ละความพอใจรักใคร่กระวนกระวายในกามเสียได้.
           อนึ่ง  เวทนาเป็น ๓ อย่าง  คือ  สุข  ทุกข์  และอทุกขมสุขใน
สมัยใดเสวยสุข  ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกข์และอทุกขมสุข.  ในสมัย
ใดเสวยทุกข์  ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขและอทุกขมสุข  ในสมัยใด
เสวยทุกขมสุข  ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขและทุกข์สุข  ทุกข์

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 94
อทุกขมสุข  ทั้ง  ๓  อย่างนี้  ไม่เที่ยง  ปัจจัยแต่งขึ้นอาศัยปัจจัย
เกิดขึ้นแล้ว  มีความสิ้นไป  เสื่อมไป  จางไป  ดับไป  เป็นธรรมดา,
อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว  เมือเห็นอย่างนี้  ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสุข  ทุกข์
อทุกขมสุขเมื่อเบื่อหน่ายก็ปราศจากกำหนัดเพราะปราศจาก
กำหนัด  จิตก็พ้นจากความถือมั่นเมื่อจิตพ้นแล้ว  ก็เกิดญาณ
รู้ว่าพ้นแล้วอริยสาวกนั้น  รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์ได้อยู่
จบแล้วกิจที่จำจะต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว  กิจอื่นอีกเพื่อความเป็น
อย่างนี้มิได้มีภิกษุผู้พ้นแล้วอย่างนี้  ไม่วิวาทโต้เถียงกับผู้ใดด้วย
ทิฏฐิของตน  โวหารอย่างใดเขาพูดันอยู่ในโลก  ก็พูดตามโวหาร
อย่างนั้นแต่ไม่ถือมั่นด้วยทิฏฐิ. "
           สมัยนั้น  พระสารีบุตรนั่งถวายอยู่งานพัดอยู่  ณ  เบื้องพระ
ปฤษฎางค์แห่งพระศาสดาได้ฟังพระธรรมเทศนาที่ตรัสแก่ทีฆนข-
ปริพาชก  พลางดำริว่า   " พระศาสดาตรัสสอนให้ละการถือมั่น
ธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง. "   เมื่อท่านพิจารณาอยู่อย่างนั้น
จิตก็พ้นจากอาสวะ  ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.
           ส่วนทีฆนขปริพาชกนั้น  เป็นแต่ได้ดวงตาเห็นธรรม  สิ้นความ
เคลือบแคลงสงสัยในพระพุทธศาสนาทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา
และแสดงตนเป็นอุบาสกว่า   " พระเจ้าข้า  ภาษิตที่ตรัสนี้ไพเราะนัก ๆ,
พระองค์ทรงประกาศธรรมให้ข้าพเจ้าทราบชัดโดยวิธีเป็นอันมาก  ไม่
ใช่แต่อย่างเดียวดุจบุคคลหงายของที่คว่ำ  เปิดของที่ปิด  บอกทาง
แก่คนหลงในทาง  ส่องตะเกียงในที่มือ  ด้วยประสงค์ว่าคนมีดวงตา

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 95
จักเห็นรูปฉะนั้นข้าพเจ้าถึงพระองค์  กับทั้งพระธรรม  พระสงฆ์
เป็นสรณะขอพระองค์จงทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก  ถึงพระ
รัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต  จำเดิมแต่นี้เป็นต้นไป. "
           เมื่อพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะสำหรับพระอรหันต์อย่างนี้
แล้ว  ท่านได้ตั้งอยู่ในที่เป็นสาวกเลิศในพระศาสนาโดยคุณธรรมที่
มีในตน  และอนุเคราะห์พรหมจารีเพื่อนบรรพชิตด้วยกัน  ในอันให้
โอวาทสั่งสอน.
           พระศาสดาทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาในมคธชนบทอย่างนี้
แล้ว  เสด็จจาริกไปมาในชนบทนั้น ๆ  ทรงแสดงพระธรรมเทศนา
สั่งสอนประชุมชนให้ได้ความเชื่อ  ความเลื่อมใส  แล้วปฏิบัติตาม,
ออกบวชในพระธรรมวินัย  เป็นภิกษุบ้าง  เป็นภิกษุณีบ้างคงอยู่
ในฆราวาส  เป็นอุบาสกบ้าง  อุบาสิกาบ้างสงเคราะห์เข้าเป็นพุทธ-
บริษัท ๔  เหล่าประกาศพระสานาให้แพร่หลาย  เพื่อสมพระพุทธ-
ปณิธานที่ได้ทรงตั้งไว้เดิมนั้น.
           ประพฤติเหตุเบื้องหน้าแต่นี้ปันเป็น ๒  วิภาค  คือ  มัชฌิมโพธิ-
กาล  คราวตรัสรู้ตอนกลางและปัจฉิมโพธิกาล  คราวตรัสรู้ตอน
หลังดังจะแสดงต่อไปข้างหน้าแล.

๑.  ทีฆนขสูตร. ม. ม. ๑๓/๒๖๓.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 96
                                   เรื่องผนวกที่ ๑
                        ชื่อชนบท  และ  ชื่อนครหลวง
           ในที่นี้  เห็นสมควรจะกล่าวถึงชนบททั้งหลาย  อันได้ออกชื่อ
ไว้ในปริเฉทที่ ๑  ให้พิสดารออกไปอีกโดยบรรยายเพื่อเกื้อกูลแก่
ความเข้าใจในการเสด็จเที่ยวจาริกประกาศพระศาสนา.
           ชนบทเหล่านั้น  ย่อมมีนครหลวงทั้งนั้น.  ในนิทานต้นพระสูตร
เมื่อกล่าวถึงชื่อนครหลวงแล้ว  ไม่กล่าวถึงชนบทเลยต่อเสด็จใน
ตำบลอื่นจึงกล่าว  เช่นเดียวกับเราเรียกนครหลวงแห่งประเทศนั้น ๆ
ในบัดนี้ว่าลอนดอน ( London )  ปารีส ( Paris )  เบอรลิน ( Berlin )
ไม่ต้องออกชื่อประเทศ  เพราะเหตุรู้จักกันดังแล้ว  แต่ในภายหลังชื่อ
ชนบทเลยศูนย์ไป  เช่นนครโกสัมพี  เป็นราชธานีของชนบทชื่ออะไร
ยากที่จะรู้, เว้นไว้แต่นครอันมีข่าวมากในพระคัมภีร์  คือ  สาวัตถี
ราชคฤห์  ยังรู้กันอยู่.  ข้าพเจ้าค้นหาชื่อแห่งนครหลวงแห่งชนบทเหล่า
นี้  ได้พบดั่งนี้ :-
                                         นครหลวง
                             แห่งอังคะ     ชื่อ     จัมปา

๑.  อังคะ  ตั้งอยู่ปลายแม่น้ำคงคา ( Ganges ) เทียบราวมณฑลเบงคอล ( Bengal )
นครหลวงชื่อจำปา บัดนี้เรียกว่า ภคัลปุร ( Bhagalpur ) อยู่เหนือฝั่งแม่น้ำคงคา
ข้างขวา.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 97
                             แห่งมคธะ             ชื่อราชคฤห์
                             แห่งกาสี                ชื่อพาราณสี
                             แห่งโกสละ             ชื่อสาวัตถี
                             แห่งวัชชี                 ชื่อเวสาลี
                             แห่งมัลละ               ชื่อเดิมกุสาวดี
แต่ภายหลังแยกเป็น  กุสินารา  กับ  ปาวา.

๑.  มคธะ ตั้งอยู่ใต้แม่น้ำคงคาตองกลาง เทียบราวมณฑลพิหาร ( Bihar ) มีแม่น้ำ
คงคาอยู่ทิศเหนือและมีภูเขาวินธยะ ( Vindhya ) อยู่ทิศใต้และทิศตะวันตก นครเก่า
ชื่อ คิริพพชะ ตั้งอยู่บนเนินเขา ห่างจากปัตนะทางทิศใต้เฉียงอาคเนย์ ๖๕ กิโลเมตร
ภายหลังพระเจ้าพิมพิสารทรงสร้างนครใหม่ชื่อราชคฤห์ ตั้งอยู่ที่เชิงเขา ต่อมาพระเจ้า
อุทายีราชนัดดาของพระเจ้าอชาตศัตรูได้ย้ายไปตั้งที่นครปาฏลิบุตร บัดนี้เรียกว่า ปัตนะ
( Patna ) เหนือแม่น้ำโสน ระหว่างแม่น้ำนี้กับอังคะ.   ๒.  กาสี ตั้งอยู่ตรงที่บรรจบ
แม่น้ำคงคาและยมุนา นครหลวงชอ พาราณสี บัดนี้เรียกว่า เพนาเรส ( Benares ).
๓.  โกสละ  ตั้งอยู่ระหว่างภูเขาหิมาลัยกับแม่น้ำคงคาตอนกลาง เทียบราวมณฑลอยุธยา
คือโอธ ( Oudh ) บัดนี้ทิศเหนือจดภูเขาเนปาล ( Nepal ) ทิศตะวันตกและทิศใต้จด
แม่น้ำคงคา ทิศตะวันออกจดแคว้นกาสีต่อกับมคธะ นครหลวงชื่อสาวัตถี บัดนี้เรียกว่า
สะเหต-มะเหต ( Sahet-mahet ) ตั้งอยู่ ณ ฝั่งลำนำน้ำรับติ ( Rubdi ) ริมเชิงเขาห่าง
จากเขตโอธราว ๘๐ กิโลเมตร. และทางทิศใต้ห่างจากแดนเนปาลราว ๕๐ กิโลเมตร.
๔.  วัชชี  ตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันออกแห่งลำน้ำคันธกะติดต่อกับมัลละ นครหลวงชื่อ
เวสาลี บัดนี้เรียกว่า แขวงเพสารห์ ( Besarh ) ห่างจากปัตนะราว ๔๔ กิโลเมตร.
๕.  มัลละ  ตั้งอยู่ถัดโกสละมาทางทิศตะวันออก อยู่ทิศเหนือแคว้นวัชชี และทิศตะวัน
ออกแห่งสักกะ นครหลวงชื่อ กุสินคร หรือกุสินารา ตั้งอยู่ที่ประชุมลำน้ำรับดิกับลำน้ำ
คันธกะ อยู่เหนือเนปาล บัดนี้เรียกแขวงกาเซีย ( Kasia ) ส่วนนครปาวาอยู่ระหว่าง
นครกุสินารากับนครเวสาลี บัดนี้เรียกแขวงปัทระโอนะ ( Padraona ).

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 98
                             แห่งเจตี             ชื่อโสตถิวดี
                             แห่งวังสะ           ชื่อโกสัมพี
                             แห่งกุรุ               ชื่ออินทปัตถุ
                             แห่งปัญจาละ     ชื่อกัมปิลละ
                             แห่งมัจฉะ           ชื่อสาคละ
                             แห่งสุรเสนะ        ชื่อยังหาทราบไม่

๑.  เจตี  ตั้งอยู่ต่อแคว้นอวันตี ( มาลวะ ) ออกมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ นครหลวง
ชื่อโสตถิวดี.   ๒.  วังสะ  ตั้งอยู่ใต้ลำน้ำยมุนา ทางทิศใต้แคว้นโกสละและทางทิศ
ตะวันตกแคว้นกาสี นครหลวงชื่อ โกสัมพี ตั้งอยู่เหนือฝั่งใต้ลำน้ำยมุนา ที่เรียก
ว่าลำน้ำโกสัม อยู่ทางทิศหรดีในตำบลอัลลาฮาบัด ( Allahabad ).   ๓.  ในรัฏฐ-
ปาลสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ กล่าวว่า ถุลลโกฏฐิตนิคมเป็นราชสำนัก
ของพระเจ้ากุรุ. ว. ว.  กุรุ  ตั้งอยู่ตรงลุ่มน้ำยมุนาตอนบน เทียบราวมณฑลปัญจาป
( Panjap ) และเมืองเดลฮี ( Delhi ) นครหลวงอินเดียบัดนี้.   ๔.  ในอรรถกถาชาดก
กัมปิลละ เป็นชื่อรัฏฐะ ปัญจาละ เป็นชื่อนคร กลับกันไป. ว. ว.  ปัญจาละ ตั้งอยู่
ตรงลุ่มน้ำคงคาตอนบน มีแคว้นโกศลอยู่ทิศตะวันออก แคว้นกุรุอยู่ทิศตะวันตก ภูเขา
หิมาลัยอยู่ทิศเหนือและแม่น้ำคงคาอยู่ทิศใต้ เทียบราวมณฑลอกราบัดนี้ นครหลวงเดิม
ชื่อหัสตินาปุระหรือหัสดิน ต่อมาจึงแยกไปตั้งนครหลวงใหม่ ๒ แห่ง คือกัมปิลละ ตั้ง
อยู่ฝั่งเหนือแม่น้ำคงคา ถัดลงมาถึงสังกัสสนครแล้วจึงถึงกันยากุพช์ ซึ่งบัดนี้เรียกว่า
กระเนาช์ ( Kanounge )   ๕.  สาคละ เป็นนครหลวงของมัททชนบท ตามอรรถกถา
ชาดก มัจฉะกับมัททชนบท รวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน น่าจะเห็นว่าชนบทเดียวกัน
ด้วย ว. ว.  ๕. มัจฉะ ตั้งอยู่ระหว่างลำน้ำสินธูกับยมุนาตอนบน มีแคว้นโกศลอยู่ทิศ
ตะวันออก มีแคว้นสุรเสนะอยู่ทิศเหนือ มีแคว้นกุรุอยู่ทิศใต้ มีมณฑลปัญจาปอยู่ทิศ
พายัพ นครหลวงชื่อสาลคะ ตั้งอยู่เหนือแม่น้ำอสิคนีหรือจันทรภาค.   ๖. สุรเสนะ ตั้ง
อยู่ระหว่างลำน้ำสินธูกบยมุนาตอนล่าง ราวมณฑลราชปุตต์ฐาน ( Rajputthan ) บัดนี้
นครหลวงเก่าซึ่งเป็นราชธานีของพระกฤษณะ ชื่อมถุรา ราวเมืองมัตตรา ( Mattra )
ปัจจุบัน.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 99
                             แห่งอัสสกะ            ชื่อโปตลิ
                             แห่งอวันตี              ชื่ออุชเชนี
                             แห่งคันธาระ           ชื่อตักกสิลา
                             แห่งกัมโพชะ           ชื่อยังหาทราบไม่
                                 นอกจากมหาชนบท ๑๖ ตำบล
                             แห่งสักกะ                ชื่อกบิลพัสดุ์  และชื่ออื่น
                             แห่งโกลิยะ               ชื่อเทวทหะหรือรามคาม
                             แห่งภัคคะ                ชื่อสุงสุมารคีระ
                             แห่งวิเทหะ                ชื่อมิถิลา
                แห่งอังคุตตราปะ       เป็นแต่นิคมชื่ออาปณะ.
           ชนบทเหล่านี้ที่รวมอยู่ในอาณาจักรเดียวกันปรากฏเมื่อครั้ง
พุทธกาล  อังคะรวมเข้ากับมคธะท่านผู้ครองดำรงยศเป็นมหาราช
ตั้งราชสำนักอยู่  ณ  กรุงราชคฤห์ กาสีรวมเข้ากับโกสละท่านผู้

๑.  อัสสกะ  ตั้งอยู่ตรงลุ่มน้ำโคธาวารี ทิศเหนือแห่งอวันตี นครหลวงชื่อโปตนะหรือ
โปตลิ.   ๒.  อวันตี หรือ มาลวะ  ตั้งอยู่เหนือภูเขาวินธยะ ทิศอีสานแห่งอัสสกะ นคร
หลวงชื่ออุชเชนิ ณ เมืองอุชเชน ( Ujjen ) ปัจจุบัน.   ๓.  คันธาระ  ตั้งอยู่ตรงลุ่มน้ำ
สินธูตอนบน เทียบมณฑลพรมแดนพายัพของอินเดียปัจจุบัน นครหลวงชื่อตักกสิลา
๔.  กัมโพชะ  ตั้งอยู่ใต้แคว้นคันธาระ นครหลวงชื่อทวารกะ เป็นราชธานีซึ่งพระกฤษณะ
หรือท้าวบรมจักระกฤษณะ สร้างขึ้นริมมหาสมุทรในแคว้นวลภีหรือคุรชะ ซึ่งบัดนี้เรียก
ว่าคุชรัฐ ( Gujarat ) ตั้งอยู่เหนือมณฑลบอมเบย์ ( Bombay ) ทุกวันนี้.   ๕.  สักกะ
ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของแคว้นโกศล นครหลวงแห่ง ๑ ชื่อกบิลพัสดุ์ บัดนี้อยู่ในแขวง
ภอิละ ( Bhuila ) ในเนปาล.   ๖.  เดี๋ยวนี้อยู่ในเขตเนปาล.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 100
ครองตำแหน่งเป็นมหาราช  ตั้งราชสำนักอยู่ ณ กรุงสาวัตถี.  การ
ปกครองอาณาจักรที่รวมกันเช่นนี้  มีคำอรรถกถาธรรมบทปรารภ
การปกครองกาสีและโกสละครั้งโบราณกล่าวว่า   " ทฺวีสุ  รฏฺเสุ
รชฺช  การยึสุ "   พระเจ้าทีฆาวุกับพระเหสีได้ทรงราชย์ในแคว้นทั้ง ๒
ดั่งนี้น่าจะเห็นว่า  ไม่ได้ถือเอาฝ่ายที่เข้ารวมเป็นพระเทศราชหรือ
เป็นหัวเมืองขึ้นเป็นแต่ปกครองรวมกัน  เป็นพระราชาแห่งชนบท
ทั้ง ๒  เช่นเดียวกับการปกครองอาณาจักรออสเตรีย ( Austria ) กับ
ฮังการี ( Hungary )  ในแผ่นดินยุโรปในเวลานี้,  และการปกครอง
อาณาจักรนอรฺเว ( Norway )  กับสวีเดน ( Sweden )  หลังแต่นี้เข้า
ไปไม่ช้านัก.  แต่ในโสณทัณฑสูตร  ทีฆนิกาย  สีลขันธวรรค  กล่าวว่า
นครจัมปานั้น  พระเจ้าพิมพิสารมคธราช  พระราชทานให้โสณ-
ทัณฑพราหมณ์ปกครองและในจีวรักขันธก  มหาวรรค  พระวินัย
กล่าวถึงพระเจ้ากาสี  ทรงส่งผ้ากัมพลไปพระราชทานแก่หมอชีวก
โกมารภัจจ์และในอรรถกถาแก้ว่า  พระเจ้ากาสีนั้น  เป็นพระราช-
ภาดาร่วมพระบิดาของพระเจ้าปเสนทิโกศล  แต่ในที่อื่นไม่ได้กล่าวถึง
พระเจ้ากาสีในครั้งพุทธกาลเลย.  ถ้าฟังได้ตามนี้  การปกครองจะ
พึงเป็นอย่างเมืองประเทศราชบ้าง อย่างเมืองอุปราชหรือเมืองลูก
หลวงบ้าง  แต่ไม่สมกับที่เรียกชื่อชนบทควบกัน.  นอกจากนี้ได้พบ

๑.  ธมฺมปทฏฺกถา ปม. ๖๑.   ๒.  คือ  พระราชวงศ์ฮัปสเบอรฺค ( Hapsburg ) ใน
เวลานั้น แต่ภายหลังมหาสงคราม  พ.ศ. ๒๔๖๑  ได้แยกกันปกครองโดยลัทธิประชา-
ธิปไตย ไม่มีพระมหากษัตริย์.   ๓.  ที. สี. ๙/๑๔๒.   ๔.  มหาวคฺค. ทุติย. ๕/๑๙๒.
๕.  ตติย. ๒๒๗.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 101
ในชนวสภสูตร  ทีฆนิกาย  มหาวรรค  เรียกวัชชีกับมัลละ  เจดีกับ
วังสะ  กุรุกับปัญจาละ  มัจฉะกับสุรเสนะควบกัน.  นี้นำให้สันนิษฐาน
ว่า  ชนบท ๒ ๆ  เหล่านี้  รวมอยู่ในอาณาจักรเดียวกันแต่เมื่อสมัย
แจกพระธาตุ  ปรากฏชัดว่า  วัชชีกับมัลละต่างอาณาจักรกัน.  วัชชี
กับมัลละอันหมู่ปกครอง  ไม่มีพระราช  ดังกล่าวแล้วในปริเฉท
ที่ ๒.  วังสะ  กุรุ  อวันตี  ต่างมีพระราชาปกครองตั้งราชสำนัก
ณ  นครโกสัมพี  อันทปัตถะ  อุชเชนี  โดยลำดับกันนอกจากนั้นยัง
ไม่ได้ข่าว.
           สักกชนบทนั้น  ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในปริเฉทที่ ๒  ว่า  ตั้งเป็น
หลายนคร  และปกครองโดยสามัคคีธรรมต่อมาได้ค้นชื่อนครและ
ตำบล  ในนิทานต้นพระสูตร  พบดั่งนี้ :-
           นคร ๓  คือกบิลพัสดุ์ ๑  วิธัญญา ๑  ศิลาวดี ๑นิคม ๔  คือ
เทวทหนิคม ๑  เมทฬุปนิคม ๑  โขมทุสสนิคม ๑  สักกรนิคม ๑,
คาม ๑  คือ  สาลคาม.  ในโกลิยชนบท  นิคม ๒  คือ  หลิททวสนนิคม ๑
อุตตรนิคม ๑คาม ๑  คือ  รามคามพบคำเรียกว่า   " กาปิลวตฺถวา
สกฺยา "   พวกศากยะชาวกบิลพัสดุ์  เข้าใจว่าน่าจะมีศากยะพวกอื่น,
แต่พึ่งพบในนิทานต้นแห่งปาสาทิกสูตร  ทีฆนิกาย  ปาฏิกวรรค  ว่า
" เวธฺา  สกฺยา "   พวกศากยะชาวเวธัญญา.  นี้นำให้สันนิษฐาน
ว่า  ศากยะนั้นเป็นหลายพวก  มีชื่อเรียกหลายเหล่าว่า  ชาวเมือง
นั้น  ชาวเมืองนี้.  ส่วนนิคมและคามนั้น  จะเป็นแต่จังหวัดของนคร

๑.  ที. มหา. ๑๐/๒๒๙.   ๒.  ที. ปา. ๑๑/๑๒๘.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 102
หรือเป็นตัวนครเองไม่แน่มีชัดแต่รามคามเป็นตัวนครเอง  มีคำ
เรียกในมหาปรินิพพานสูตรว่า   " รามคามกา  โกลิยา "   พวกโกลิยะ
ชาวรามคาม.
           และข้อว่า  สักกชนบทอยู่ใต้อำนาจแห่งโกศลชนบทนั้น  นอก
จากคำของพระมหาบุรุษ  ในบรรพชาสูตร  ที่ชักมากล่าวแล้วใน
ปริเฉทที่ ๒  ได้พบอีกแห่งหนึ่ง  ในธรรมเจติยสูตร  มัชฌิมนิกาย
มัชฌิมปัณณาสก์  เป็นคำของพระเจ้าปเสนทิโกศล  ทูลพระศาสดา
ว่า   " พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เป็นกษัตริย์  ข้าพเจ้าก็เป็นกษัตริย์พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าก็เป็นชาวโกศล  ข้าพเจ้าก็เป็นชาวโกศล พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าก็มีชนมายุได้ ๘๐  ปี  ข้าพเจ้าก็มีอายุได้ ๘๐  ปี  ด้วย
เหตุนี้  ข้าพเจ้าจึงได้ทำความอ่อนน้อมเป็นอย่างยิ่งในพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า  และแสดงอาการเป็นฉันมิตร "   ดั่งนี้.
           ชนบทอื่น  ภัคคะ  ได้พบว่า  โพธิราชกุมารโอรสพระเจ้าอุเทน
พระเจ้าแผ่นดินวังสะ  เป็นผู้ครอง  ลงความว่าขึ้นในวังสะ.  อังคุต-
ตราปะได้พบว่า  เป็นส่วนหนึ่งแห่งอังคะนั้นเอง  อยู่เหนือแต่แม่น้ำมหี
ขึ้นไป.
           วิเทหะ  เดิมมีพระราชครอง  ทรงพระนามว่าพระเจ้ามฆเทวะ

๑.  ที. มหา. ๑๐/๑๙๔.   ๒.  ขุ. สุ. ๑๕/๔๐๕.   ๓.  ม. ม. ๑๓/๕๐๖.   ๔.  นี้แสดงว่า
พระเจ้าปเสนทิ พบพระพุทธเจ้าในปีพุทธปรินิพพาน แต่พระเจ้าปเสนทิทิวงคตก่อน
เพราะปรากฏตามอรรถกถาว่าเรื่องพระเจ้าวิฑูฑภะพระโอรสได้ราชสมบัติแล้วยกกองทัพ
ไปปราบพวกศากยราช พระพุทธเจายังได้เสด็จไปห้ามทัพ และปรินิพพานในปีที่
พระชนมายุได้ ๘๐ นั้นเอง.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 103
แต่ในครั้งพุทธกาล  ไม่ปรากฏว่ามีพระราชา  เป็นแต่พบว่าพราหมณ์
ชื่อพรหมายุอยู่ที่นั่นแต่ไม่ได้กล่าวว่าอยู่ครองเหมือนโสณทัณฑ-
พราหมณ์ครองนครจัมปา.  คงตกอยู่ในอำนาจแห่งชนบทอื่นเสียแล้ว.
           มาถึงพุทธกาล  พระศาสดาและพระสาวก  ได้ประกาศพระศาสนา
ไปถึงชนบทไหนบ้าง  จักกล่าวข้างหน้า.

๑.  พรหมายุสูตร. ม. ม. ๑๓/๕๗๘.   ๒.  โสณทัณฑสูตร. ที. สี. ๙/๑๔๒.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 104
                                 เรื่องผนวกที่ ๒
               ถอดใจความแห่งอภินิหารในเวลาประสูติ 
           ในเวลารจนาถึงประสูติ  ข้าพเจ้าได้ชักอภินิหารของพระมหา-
บุรุษ  ที่พระคันถรจนาจารย์พรรณนาไว้มากล่าวด้วย  แต่ยังไม่ได้
ปรารภจะถอดเอาใจความครั้นมาถึงอธิการอื่น  ตั้งแต่เสด็จออก
บรรพชาเป็นต้นไป  มีความบางข้อจะหลีกเสียว่าช่างเถิดไม่ได้  ก็จำ
ต้องหานัยอธิบายให้แจ่มตามสามารถตั้งแต่นั้นมา  ได้สอดส่อง
เพื่อจะถอดใจความแห่งข้อที่ท่านแสดงไว้โดยบุคคลาธิษฐานข้อใด
สันนิษฐานได้  ก็ได้ถอดใจความไว้จนลุวิภาคปฐมโพธิกาลแล้ว
หวนปรารภถึงอภินิหาเมื่อคราวประสูติ  ข้าพเจ้าเชื่ออยู่ว่า คงมี
มูลมาแต่ทางใดทางหนึ่ง  ซึ่งเรายังไม่หยั่งทราบเป็นต้นว่าได้จาก
หนังสือกาพย์ประพันธ์.  ข้อที่ขบขันเป็นอย่างมาก  ที่ชวนให้นึกไม่
วายว่า  ได้แก่อะไรหนอ ก็คือพอประสูติแล้ว  ทรงพระดำเนินได้
ตรัสได้แต่เมื่อพิจารณาไป  เกิดปฏิภาณขึ้นเองว่า  เทียบกับได้
เวลาบำเพ็ญพุทธกิจนั่นเอง.
           พระองค์ตรัสรู้  ณ  จังหวัดคยาอันเป็นตนใต้  เสด็จเที่ยวประกาศ
พระศาสนาขึ้นไปหนเหนือแม้นเสด็จดำเนินด้วยพระบาท  บ่ายพระ
พักตร์สู่อุดรทิศ.  เมื่อเป็นเช่นนี้  ย่างพระบาท ๗ ก้าวแล้วหยุดยืนนั้น
น่าจะได้แก่ทรงแผ่พระศาสนาได้แพร่หลายใน ๗ ชนบทหรือเพียง

๑.  เดี๋ยวนี้เรียกว่า  Buddha-Gaya.

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 105
ได้เสด็จด้วยพระองค์เอง.  ลองนับดูประมาณก็ได้กันนับชนบทที่
อยู่ในอาณาจักรเดียวกันเป็นแต่ ๑  คือ  กาสีกับโกสละ ๑  มคธะ
กับอังคะ ๑  สักกะ ๑  วัชชี ๑  มัลละ ๑  วังสะ ๑  กุรุ ๑  เป็น ๗,
นอกจากนี้  มีแต่ชนบทน้อย  ที่ขึ้นในชนบทในใหญ่.  ทรงหยุดเพียงเท่า
นั้น  ไม่ก้าวต่อไป  ก็ได้แก่สิ้นเวลาของพระองค์เพียงเท่านั้น.
           อาสภิวาจา  คือคำตรัสประกาศพระองค์ว่าเป็นเอกในโลกนั้น
ก็ได้แก่ตรัสพระธรรมเทศนาที่ตนได้ฟังอาจหยั่งเห็นพระคุณว่า  พระ
องค์เป็นยอดปราชญ์เพียงไร.  เทียบลงกันได้อย่างนี้  จึงลงสันนิษฐาน
ว่า  เป็นความที่แสดงเทียบปฏิปทาเมื่อได้ตรัสแล้ว  ทำให้เป็นเชิง
บุรพนิมิต.
           ถอยหลังเข้าไปอีก  ก็คือพอประสูติแล้ว  มีเทวบุตรมารับ  ท่อ
น้ำร้อนน้ำเย็นตกจากอากาศสนานพระกายได้แก่อาฬารดาบสและ
อุททกดาบส  หรือนักบวชอื่นรับไว้ในสำนักทุกรกิริยาที่เปรียบ
ด้วยท่อน้ำร้อนวิริยะทางจิตที่เปรียบด้วยท่อน้ำเย็น  ชำระพระ
สันดานให้สิ้นสนเท่ห์ว่า  อย่างไรเป็นทาง  อย่างไรไม่ใช่ทาง.
           ถอยหลังเข้าไปอีก  คือเสด็จอยู่ในพระครรภ์พระองค์บริสุทธิ์
ไม่เปื้อนมลทิน  ทรงนั่งขัดสมาธิ  ไม่คุดคู้เหมือนคัพภเสยยกสัตว์อื่น
ปรากฏแก่พระมารดา  เหมือนด้ายเบญจพรรณอันบุคคลร้อยในแก้ว
มณีเสด็จออกขณะพระมารดาเสด็จยืน  ได้แก่ทรงดำรงฆราวาส
ไม่หลงเพลิดเพลินในกามคุณ  ได้ทรงทำกิจที่ควรทำมีพระเกียรติ
ปรากฏ  เสด็จออกบรรพชาด้วยปรารถนาอันดี  ไม่ใช่เพราะขัดข้อง

นักธรรมตรี - พุทธประวัติเล่ม ๑ - หน้าที่ 106
ในฆราวาสทั้งได้วนะและร่มไม้เข้ามาประกอบด้วยกัน  ช่วยทำให้
ความชัดขึ้น.
           ถอยหลังเข้าไปอีก เสด็จจุติจากชั้นดุสิต  เข้าสู่พระครรภ์
ปรากฏแก่พระมารดาในสุบินดุจพระยาช้างเผือกแสดงอุปบัติขึ้น
เป็นคนสำคัญของพระมหาบุรุษ  ให้เกิดมีความยินดีพอใจทั่วหน้า.
           ฟังอธิบายมาเพียงเท่านี้  คงเข้าใจว่า  ความเหล่านี้ไม่ได้เกิด
ขึ้นโดยเว้นจากมูลท่านผู้รจนาได้ใช้ความดำริเทียบเคียงมากสัก
เพียงไร  จนพวกเราตามไม่ค่อยทัน  เป็นเพราะความนิยมของหนังสือ
ชนิดที่ต้องการความไพเราะด้วยประการทั้งปวงนั้นเอง.
           บางทีเพราะเป็นเรื่องเช่นนี้เอง  จึงเหลืออยู่ไม่สาบศูนย์เสีย  มี
อุทาหรณ์พอเทียบให้เห็น  เช่นเรื่องขุนช้างขุนแผนได้ยินว่าเนื้อเรื่อง
ก็เป็นตำนาน  ถ้าไม่ได้แต่งเป็นเรื่องเสภาหรือเรื่องละคร  ก็น่าจะสาบ
ศูนย์เสียแล้วระยะทางเสด็จพระราชดำเนินยุโรปในรัชกาลที่ ๕  น่า
จะมีคนอื่นซ้ำน้อย  นอกจากต้องการจริง ๆการแสดงตำนานฝาก
ไว้ในเรื่องกาพย์  จะเป็นอุบายรักษาตำนาน  สมควรแก่สมัยของคน
บ้างกระมัง ?




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น