วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

พุทธศาสนสุภาษิตเล่ม ๒ นักธรรมชั้นโท


                                          คำนำ

        หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต  เล่ม    และเล่ม ๓  นี้  พระมหา

ทองสืบ  จารุวณฺโณ  ป.ธ.    หัวหน้ากองตำรา  พร้อมด้วยคณะ 

กรรมการ  (ตามรายชื่อท้ายคำนำ)  ได้รวบรวมและเรียบเรียงขึ้น  ตาม

คำชี้แจงในคำนำพิมพ์ครั้งแรก  พ.ศ.  ๒๔๗๙  นั้นแล้ว  ภายหลัง

คณะกรรมการจึงแยกพิมพ์เป็นเล่ม    และเล่า ๓  ตามที่ปรากฏนี้

        ในการพิมพ์ครั้งนี้  แผนกตำราได้ตรวจแก้ไขคำแปลและถ้อยคำ

สำนวนให้สละสลวยและกระทัดรัดยิ่งขึ้นโดยตลอด  ถ้ายังมีที่ขาดตก

บกพร่อง  ก็ขอให้ท่านผู้รู้โปรดช่วยทักท้วนแก้ไขต่อไปด้วย.

                                                        แผนกตำรา

มหามกุฏราชวิทยาลัย

  มีนาคม  ๒๕๒๖





                                        คำนำ

                        (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๗๙) 

        บัดนี้  การศึกษานักธรรมและธรรมศึกษาได้เจริญแพร่หลาย

ทั่วพระราอาณาจักร  ส่วนหลักสูตรแผนกเรียงความแก้กระทู้ธรรม

นั้น  สำหรับชั้นตรี  ใช้หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต  เล่ม ๑  ของสมเด็จ

พระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาวชิรญาณวโรรส,  สำหรับชั้นโท  ยังไม่

มีหนังสือหลักสูตรโดยเฉพาะ  แต่ได้ใช้กระทู้ธรรมในหนังสือพุทธ-

ศาสนสุภาษิตเล่ม ๑  นั้นเป็นพลางก่อน  แม้สำหรับชั้นเอก  ก็ยังไม่มี

หนังสือหลักสูตรโดยเฉพาะเช่นเดียวกัน  และได้ใช้กระทู้ธรรมในหนัง-

สือนั้นบ้าง  ในหนังสืออื่นบ้าง  ไม่จำกัด

        ข้าพเจ้าเห็นว่า  ถึงเวลาสมควรที่จะเรียบเรียงหนังสือพุทธ-

ศาสนสุภาษิต  เล่ม ๒   เพื่อเป็นหลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษา

ชั้นโท  และพุทธศาสนสุภาษิต  เล่ม ๓   เพื่อเป็นหลักสูตรนักธรรม

และธรรมศึกษาชั้นเอกต่อไป   ได้นำความดำรินั้นกราบเรียนท่าน

เจ้าพระคุณสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์  วัดบวรนิเวศวิหาร  นายกกรรมการ

มหามกุฏราชวิทยาลัย และท่านเจ้าคุณพระศาสนโศภน  (แจ่ม

จตฺตสลฺโล  ป. ๗)  วัดมกุฏกษัตริยาราม  กรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย

และแม่กองแผนกธรรมสนามหลวง  เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว  จึง

ขอให้เพื่อนสหพรหมจารีหลายรูป  (ตามรายนามในหนังสือนี้)  ช่วย

คัดคาถาในพระไตรปิฎกโดยมาก  และแปลตรวจจัดระเบียบเข้าหมวด

ธรรมชั้นหนึ่งก่อน  ครั้นร่างสำเร็จแล้ว  ข้าพเจ้าจึงได้จัดแปลแก้ไขตัดเติม

อีกชั้นหนึ่ง  จนสำเร็จรูปตามที่ปรากฏนี้ 

        อนึ่ง  ข้าพเจ้ามีเจตนารวบรวมหนังสือนี้ขึ้น  เพื่อประโยชน์

แก่กุลบุตรหลายประเภท  มิใช่สำหรับเป็นหลักสูตรนักธรรมและ

ธรรมศึกษาอย่างเดียว  แม้ผู้มิได้เป็นนักเรียนชั้นนั้น  จักอ่อนดูเพื่อ

ธรรมปฏิบัติก็ได้   สำหรับนักเทศก์ยกขึ้นเป็นหัวข้อธรรมเทศนาก็ได้

เพราะฉะนั้น  หนังสือนี้จึงสมควรแก่นักเทศก์นักธรรมทั้งปวง.

        ในขณะที่กำลังรวบรวมหนังสือนี้อยู่   ท่านผู้อุปการะจะฉลอง

พระพุทธรูปและประโยค    มีความประสงค์จะพิมพ์หนังสือธรรมขึ้น

ฉลอง  แล้วแจกในงานนั้นด้วย  ข้าพเจ้าได้รับมอบให้จัดหาหนังสือ

สำหรับการนั้น  จึงได้เลือกหนังสือนี้ให้พิมพ์ขึ้นก่อน  ภายหลังจัด

ได้แยกเป็นเล่ม    และเล่า    สำหรับเป็นหลักสูตรต่อไป.

        หนังสือพุทธศาสนสุภาษิตได้สำเร็จรูปเห็นปานนี้  เพราะอาศัย

น้ำพักน้ำแรงของเพื่อนสพรหมจารีผู้ช่วยเหลือเป็นสำคัญ  เพราะฉะนั้น

จึงขอขอบใจท่านเหลานั้นไว้ในที่นี้ด้วย.

                                                พระมหาทองสืบ  จารุวณฺโณ

วัดมกุฏกษัตริยาราม

  ตุลาคม  ๒๔๗๙


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 1

                                 พุทธศาสนสุภาษิต 

                                          เล่ม 

                          ๑.  อัตตวรรค  คือ  หมวดตน

        ๑.  อตฺตทตฺถํ  ปรตฺเถน                  พหุนาปิ     หาปเย

              อตฺตทตฺถมภิญฺญาย                สทตฺถปสุโต  สิยา.

        บุคคไม่ควรพล่าประโยชน์ของตน    เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้

มาก  รู้จักประโยชน์ของตนแล้ว  พึงขวนขวายในประโยชน์ขอตน.

        (พุทฺธ)                                                ขุ. 

ธ.  ๒๕/๓๗.



        ๒.  อตฺตานญฺเจ   ตถา   กยิรา        ยถญฺญมนุสาสติ

              สุทนฺโต   วต   ทเมถ                อตฺตา  หิ  กิร  ทุทฺทโม.

        ถ้าสอนผู้อื่นฉันใด  พึงทำตนฉันนั้น  ผู้ฝึกตนดีแล้ว  ควรฝึก

ผู้อื่น  ได้ยินว่าตนแลฝึกยาก

        (พุทฺธ)                                                ขุ. 

ธ.  ๒๕/๓๖.



        ๓.  อตฺตานเมว  ปฐมํ                     ปฏิรูเป  นิเวสเย

              อถญฺญมนุสาเสยฺย                       กิลิสฺเสยฺย  ปณฺฑิโต.

        บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรก่อน  สอนผู้อื่นภายหลัง

จึงไม่มัวหมอง.

        (พุทฺธ)                                                ขุ. 

ธ.  ๒๕/๓๖.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 2

                ๒.  อัปปมาทวรรค  คือ  หมวดไม่ประมาท  

        ๔.  อปฺปมตฺโต  ปมตฺเตสุ                สุตฺเตสุ  พหุชาคโร

              อพลสฺสํว  สีฆสฺโส                    หิตฺวา  ยาติ  สุเมธโส.

        คนมีปัญญาดี  ไม่ประมาทในเมื่อผู้อื่นประมาท   มักตื่นในเมื่อ

ผู้อื่นหลับ  ย่อมละทิ้ง  (คนโง่)   เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว  ทิ้งม้าไม่มีกำลัง

ไปฉะนั้น.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๘,๑๙.



        ๕.  อุฏฺฐานวโต  สติมโต                สุจิกมฺมสฺส  นิสมฺมการิโน

              สญฺญตสฺส    ธมฺมชีวิโน        อปฺปมตฺตสฺส   ยโสภิวฑฺฒติ.

        ยศย่อมเจริญ  แก่ผู้มีความหมั่น   มีสติ  มีการงานสะอาด

ใคร่ครวญแล้วทำ  ระวังดีแล้ว  เป็นอยู่โดยธรรม  และไม่ประมาท.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๘.



        ๖.  มา  ปมาทมนุญฺเชก                มา   กามรติสนฺถวํ

              อปฺปมตฺโต  หิ  ฌายนฺโต        ปปฺโปติ   ปรมํ  สุขํ.

        อย่ามัวแต่ประมาท  อย่ามัวแต่สนิทชิดชอบในกาม  เพราะผู้ไม่

ประมาท  พิจารณาอยู่  ย่อมถึงบรมสุข.

        (พุทธ)                                                สํ.  ส.  ๑๕/๓๖.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 3

                        ๓.  กัมมวรรค  คือ  หมวดกรรม  

        ๗.  อติสีตํ  อติอุณฺหํ                         อติสายมิทํ  อหุ

              อิติ  วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต                 อตฺถา  อจฺเจนฺติ  มาณเว.

        ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยคนผู้ทอดทิ้งการงาน  ด้วยอ้างว่า

หนาวนัก  ร้อนนัก  เย็นเสียแล้ว.

        (พุทฺธ)                                                ที.  ปาฏิ.  ๑๑/๑๙๙.



        ๘.  อถ  ปาปานิ   กมฺมานิ                กรํ  พาโล    พุชฺฌติ

              เสหิ  กมฺเมหิ  ทุมฺเมโธ               อคฺคิทฑฺโฒว  ตปฺปติ.

        เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม  ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก  เขาเดือดร้อน

เพราะกรรมของตน  เหมือนถูกไฟไหม้.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๓.



        ๙.  ยาทิสํ  วปเต  พีชํ                      ตาทิสํ  ลภเต  ผลํ

              กลฺยาณการี  กลฺยาณํ                ปาปการี    ปาปกํ.

        บุคคลหว่านพืชเช่นใด  ย่อมได้ผลเช่นนั้น  ผู้ทำกรรมดี  ย่อม

ได้ผลดี  ผู้ทำกรรมชั่ว  ย่อมได้ผลชั่ว.

        (พุทฺธ)                                                สํ.  ส.  ๑๕/๓๓๓.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 4

        ๑๐.  โย  ปุพฺเพ  กตกลฺยาโณ         กตตฺโถ  นาวพุชฺฌติ

              อตฺถา  ตสฺส  ปลุชฺชนฺติ        เย  โหนฺติ  อภิปตฺถิตา. 

        ผู้ใด  อันผู้อื่นทำความดี  ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน   แต่ไม่

รู้สึก  (คุณของเขา),  ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมฉิบหาย. 

        (ทฬฺหธมฺมโพธิสตฺต)                        ขุ.  ชา.  สตฺตก.  ๒๗/๒๒๘.



        ๑๑.  โย   ปุพฺเพ  กตกลฺยาโณ        กตตฺโถ  มนุพุชฺฌติ

                 อตฺถา  ตสฺส  ปวฑฺฒนฺติ        เย   โหนฺติ  อภิปตฺถิตา.

        ผู้ใด  อันผู้อื่นทำความดี  ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน  ย่อม

สำนัก  (คุณของเขา)  ได้   ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมเจริญ.

        (ทฬฺหธมฺมโพธิสตฺต)                        ขุ.  ชา.  สตฺตก.  ๒๗/๒๒๘.



        ๑๒.  โย  ปุพฺเพ  กรณียานิ                    ปจฺฉา  โส  กาตุมิจฺฉติ

                 วรุณกฏฺฐํ  ภญฺโชว                        ปจฺฉา  อนุตปฺปติ.

        ผู้ใด  ปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อน   ในภายหลัง  ผู้นั้น  ย่อม

เดือดร้อนในภายหลัง  ดุจมาณพ  (ผู้ประมาทแล้วรับ)  หักไม้กุ่ม

ฉะนั้น.

        (โพธิสตฺต)                                        ขุ.  ชา.  เอก.  ๒๗/๒๓.




นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 5

        ๑๓.  สเจ  ปุพฺเพกตเหตุ                              สุขทุกขํ  นิคจฺฉติ  

                โปราณกํ  กตํ  ปาปํ                              ตเมโส  มุญฺจเต  อิณํ.

        ถ้าประสพสุขทุกข์  เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ  ชื่อว่า

เปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้  ดุจเปลื้องหนี้ฉะนั้น.

        (โพธิสตฺต)                                        ขุ.  ชา.  ปญฺญาส.  ๒๘/๒๕.

       

        ๑๔.  สุขกามานิ  ภูตานิ                โย  ทณฺเฑน  วิหึสติ

                อตฺตโน   สุขเมสาโน            เปจฺจ  โส    ลภเต  สุขํ.

        สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข  ผุ้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน  เบียด

เบียนเขาด้วยอาชญา  ผู้นั้นละไปแล้ว  ย่อมไม่ได้สุข.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๒.



        ๑๕.  สุขกามานิ  ภูตานิ                โย  ทณฺเฑน    หึสติ

                อตฺตโน  สุขเมสาโน                เปจฺจ  โส  ลภเต  สุขํ.

        สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข   ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน  ไม่

เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา  ผู้นั้นละไปแล้ว  ย่อมได้สุข.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๒.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 6

                         ๔.  กิเลสวรรค   คือ  หมวดกิเลส  

        ๑๖.  กามา  กฏุกา  อาสีวิสูปมา                เยสุ  มุจฺฉิตา  พาลา

                 เต  ทีฆรตฺตํ  นิรเย                        สมปฺปิตา  หญฺญนฺเต  ทุกฺขิตา.

        กามทั้งหลายเป็นของเผ็ดร้อน  เหมือนงูพิษ  เป็นที่คนโง่หมกมุ่น

เขาต้องแออัดทุกข์ยากอยู่ในนรกตลอดกาลนาน.

        (สุเมธาเถรี)                                                  ขุ.  เถรี.  ๒๖/๔๙๙.

       

        ๑๗.  กุหา  ถทฺธา  ลปา  สิงฺคี                อุนฺนฬา  จาสมาหิตา

                        เต  ธมฺเม  วิรูหนฺติ                สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิเต.

        คนหลอกลวง  เย่อหยิ่ง  เพ้อเจ้อ  ขี้โอ่   อวดดี  และไม่ตั้งมั่น

ย่อมไม่งอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.

        (พุทฺธ)                                                        องฺ.  จตุตฺก.  ๒๑/๓๔.

       

        ๑๘.  โกธสฺส  วิสมูลสฺส                        มธุรคฺคสฺส   พฺราหฺมณ

                วธํ  อริยา  ปสํสนฺติ                        ตญฺหิ  เฉตฺวา    โสจติ.

        พราหมณ์ !    พระอริยเจ้าย่อมสรรเสริญผู้ฆ่าความโกรธ   ซึ่งมี

โคนเป็นพิษ   ปลายหวาน,  เพราะคนตัดความโกรธนั้นได้แล้ว  ย่อม

ไม่เศร้าโศก.

        (พุทฺธ)                                                        สํ.  ส.  ๑๕/๒๓๖.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 7

                                ๑๙.  นิทฺทํ   พหุลีกเรยฺย  

                                        ชาคริยํ  ภเชยฺย  อาตาปี

                                        ตนฺทึ  มายํ  หสฺสํ  ขิฑฺฑํ

                                        เมถุนํ  วิปฺปชเห  สวิภูสํ.       

        ผู้มีความเพียรไม่พึงนอนมาก  พึงเสพธรรมเครื่องตื่น   พึงละ

ความเกียจคร้าน  มายา  ความร่าเริง  การเล่น  และเมถุนพร้อมทั้ง

เครื่องประดับเสีย.

        (พุทฺธ)  ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๑๕.                ขุ.  มหา.  ๒๙/๔๕๗,๔๖๐.



        ๒๐.  ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส                        นิจฺจํ  อุชฺฌานสญฺญิโน

                อาสวา  ตสฺส  วฑฺฒนฺติ                 อารา  โส  อาสวกฺขยา.

        คนที่เห็นแต่โทษผู้อื่น  คอยแต่เพ่งโทษนั้น  อาสวะก็เพิ่มพูน

เขายังไกลจากความสิ้นอาสวะ.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๔๙.

       

        ๒๑.  ยทา  ทฺวเยสุ  ธมฺเมสุ                ปารคู  โหติ  พฺราหฺมโณ

                อถสฺส   สพฺเพ  สํโยคา                อตฺถํ   คจฺฉนฺติ  ชานโต.       

        เมื่อใด   พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่งในธรรม    อย่าง  เมื่อนั้นกิเลส

เครื่องตรึงทั้งปวงของพราหมณ์ผู้รู้นั้น  ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๖๗.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 8

        ๒๒.  ยา  กาจิมา  ทุคฺคติโย                อสฺมํ  โลเก  ปรมฺหิ   

                  อวิชฺชามูลกา  สพฺพา                อิจฺฉาโลภสมุสฺสยา.

        ทุคติในโลกนี้และโลกหน้า   ล้วนมีอวิชชาเป็นราก  มีอิจฉาและ

โลภเป็นลำต้น.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  อิติ.  ๒๕/๒๕๖.



        ๒๓.  เยน  สลฺเลน  โอติณฺโณ                ทิสา  สพฺพา  วิธาวติ

                 ตเมว  สลฺลํ  อพฺพุยฺห                  ธาวติ    สีทติ.

        บุคคลถูกลูกศรใดแทงแล้วย่อมแล่นไปทั่วทิศ  ถอนลูกศรนั้น

แล้ว  ย่อมไม่แล่นและไม่จม.

        (พุทธ)   ขุ.  ส.  ๒๕/๕๑๘.                ขุ.  มหา.  ๑๙/๕๐๑.

       

        ๒๔.  โลโภ  โทโส    โมโห          ปุริสํ  ปาปเจตสํ

                  หึสนฺติ   อตฺตสมฺภูตา                  ตจสารํว  สมฺผลํ.

        โลภะ  โทสะ  โมหะ  เกิดจากตัวเอง  ย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว

ดุจขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ฉะนั้น

        (พุทฺธ)  ขุ.  อิติ.  ๒๕/๒๖๔.                ขุ.  มหา.  ๒๙/๑๘.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 9

                         ๕.  ขันติวรรค  คือ  หมวดอดทน  

        ๒๕.  อตฺตโนปิ  ปเรสญฺจ                อตฺถาวโห      ขนฺติโก

                 สคฺคโมกฺขคมํ  มคฺคํ                อารุฬฺโห  โหติ  ขนฺติโก.

        ผู้มีขันติ   ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น,  ผู้มีขันติ

ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน.

                                                                        ส.  ม.  ๒๒๒.

       

        ๒๖.  เกวลานํปิ  ปาปานํ                ขนฺติ  มูลํ  นิกนฺตติ

                ครหกลหาทีนํ                        มูลํ  ขนติ  ขนฺติโก.

        ขันติ   ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น,   ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดราก

แห่งความติเตียนและการละเล่ากันเป็นต้นได้.

                                                                        ส.  ม.  ๒๒๒.

       

        ๒๗.  ขนฺติโก  เมตฺตวา  ลาภี         ยสสฺสี   สุขสีลวา

                  ปิโย  เทวมนุสฺสานํ              มนาโป  โหติ  ขนฺติโก.

        ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา  มีลาภ  มียศ  และมีสุขเสมอ,  ผู้มีขันติ

เป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

                                                                        ส.  ม.  ๒๒๒.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 10

        ๒๘.  สตฺถุโน  วจโนวาทํ                กโรติเยว  ขนฺติโก  

                 ปรมาย    ปูชาย                   ชินํ  ปูเชติ  ขนฺติโก.

        ผู้มีขันติ    ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา,  และผู้มีขันติ

ชื่อว่าบูชาพระชินเจ้าด้วยบูชาอันยิ่ง. 

                                                                ส.  ม.  ๒๒๒

       

        ๒๙.  สีลสมาธิคุณานํ                ขนฺติ  ปธานการณํ

                 สพฺเพปิ  กุสสา  ธมฺมา        ขนฺตฺยาเยว  วฑฺฒนฺติ เต.

        ขันติเป็นประธาน  เป็นเหตุ  แห่งคุณคือศีลและสมาธิ,  กุศล-

ธรรมทั้งปวงย่อมเจริญ  เพราะขันติเท่านั้น.

                                                                ส.  ม.  ๒๒๒.

                         ๖.  จิตตวรรค  คือ  หมวดจิต

        ๓๐.  อนวฏฺฐิตจิตฺตสฺส                สทฺธมฺมํ  อวิชานโต

                ปริปฺลวปสาทสฺส                ปญฺญา    ปริปูรติ.

        เมื่อมีจิตไม่มั่นคง  ไม่รู้พระสัทธรรม  มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย

ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๐.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 11

        ๓๑.  อปฺปมาณํ  หิตํ  จิตฺตํ                        ปริปุณฺณํ  สุภาวิตํ

                 ยํ   ปมาณํ  กตํ  กมฺมํ                          ตํ  ตตฺราวสิสฺสติ.   

        จิตเกื้อกูลที่อบรมบริบูรณ์ดีแล้ว  เป็นจิตหาประมาณมิได้,  กรรม

ใดที่ทำแล้วพอประมาณ  กรรมนั้นจักไม่เหลือในจิตนั้น.

        (อรกโพธิสตฺต)                                                ขุ.  ชา.  ทุก.  ๒๗/๕๙.

       

        ๓๒.  อานาปานสฺสติ  ยสฺส                อปริปุณฺณา  อภาวิตา

                 กาโยปิ  อิญฺชิโต  โหติ                จิตฺตมฺปิ  โหติ  อิญฺชิตํ.

        สติกำหนดลมหายใจเข้าออก   อันผู้ใดไม่อบรมให้บริบูรณ์,  ทั้ง

กายทั้งจิตของผู้นั้นก็หวั่นไหว.

        (สารีปุตฺต)                                                ขุ.  ปฏฺ.  ๓๑/๒๕๐.



        ๓๓.  อานาปานสฺสติ   ยสฺส                 ปริปุณฺณา  สุภาวิตา

                 กาโยปิ  อนิญฺชิโต  โหติ          จิตฺตมฺปิ  โหติ  อนิญฺชิตํ.

        สติกำหนดลมหายใจเข้าออก  อันผู้ใดอบรมบริบูรณ์ดีแล้ว,  ทั้ง

กายทั้งจิตของผู้นั้นก็ไม่หวั่นไหว.

        (สารีปุตฺต)                                                ขุ.  ปฏิ.  ๓๑/๒๕๐.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 12

        ๓๔.  ทิโส  ทิสํ  ยนฺตํ  กยิรา                             เวรี  วา  ปน  เวรินํ  

                 มิจฺฉาปณิหิตํ  จิตฺตํ                                 ปาปิโย  นํ  ตโต  กเร.

        โจรกับโจรหรือไพรีกับไพรี   พึงทำความพินาศให้แก่กัน,  ส่วน

จิตที่ตั้งไว้ผิด  พึงทำเขาให้เสียหายยิ่งกว่านั้น.

        (พุทฺธ)                                                        ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๐.



        ๓๕.  ทูรงฺคมํ  เอกจรํ                                    อสรีรํ  คุหาสยํ

                 เย  จิตฺตํ  สญฺญเมสฺสนฺติ                โมกฺขนฺติ  มารพนฺธนา.

        ผู้ใดจักสำรวมจิตที่ไปไกล  เที่ยวไปดวงเดียว  ไม่มีรูปร่าง  มีถ้ำ

(คือกาย)  เป็นที่อาศัย,  ผู้นั้นจักพ้นจากเครื่องผู้ของมารได้.

ให้ตรงได้  เหมือนช่างศรทำลูกศรให้ตรงได้ฉะนั้น.

        (พุทฺธ)                                                        ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๙,๒๐.



        ๓๖.    ตํ  มาตา  ปิตา  กยิรา                           อญฺเญ  วาปิจ  ญาตกา

                 สมฺมาปณิหิตํ  จิตฺตํ                                  เสยฺยโส  นํ  ตโต  กเร.

        มารดาบิดาหรือญาติเหล่าอื่น   ไม่พึงทำเหตุนั้นให้ได้,  ส่วนจิต

ที่ตั้งไว้ดีแล้ว  พึงทำเขาให้ดีกว่านั้น.

        (พุทฺธ)                                                        ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๐.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 13

        ๓๗.  ผนฺทนํ  จปลํ  จิตฺตํ                  ทุรกฺขํ  ทุนฺนิวารยํ  

                 อุชํ  กโรติ  เมธาวี                อุสุกาโรว  เตชนํ. 

        คนมีปัญญาทำจิตที่ดิ้นรน   กวัดแกว่ง  รักษายาก  ห้ามยาก

ให้ตรงได้   เหมือนช่างศรทำลูกศรให้ตรงได้ฉะนั้น.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๙.

       

        ๓๘.  ยถา  อคารํ  ทุจฺฉนฺนํ                           วุฏฺฐี  สมติวิชฺฌติ

                 เอวํ  อภาวิตํ  จิตฺตํ                                ราโค  สมติวิชฺฌติ.

        ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีฉันใด,   ราคะย่อมรั่วรดจิตที่ไม่ได้

อบรมฉันนั้น.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๖.

        

        ๓๙.  โย    สทฺทปฺปริตฺตาสี        วเน  วาตมิโต  ยถา

                 ลหุจิตฺโตติ  ตํ  อาหุ          นาสฺส  สมฺปชฺชเต  วตํ.

        ผู้ใด  มักหวาดสะดุ้งต่อเสียง   เหมือนเนื้อทรายในป่า,  ท่านเรียก

ผู้นั้นว่ามีจิตเบา,  พรตของเขาย่อมไม่สำเร็จ.

        (อญฺญตฺรภิกฺขุ)                                        สํ.  ส.  ๑๕/๒๙๖.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 14

        ๔๐.  วาริโชว  ถเล  ขิตฺโต                โอกโมกตอุพฺกโต    

                 ปริผนฺทติทํ  จิตฺตํ                   มารเธยฺยํ  ปหาตเว.

        จิตนี้ถูกยกขึ้นจากอาลัยคือกามคุณ  เพื่อละที่ตั้งแห่งมาร  ย่อม

ดิ้นรน  เหมือนปลาถูกจับขึ้นจากน้ำโยนไปบนบกฉะนั้น.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๙.

       

        ๔๑.  สญฺญาย  วิปรีเยสา                จิตฺตนฺเต  ปริฑยฺหติ

                 นิมิตฺตํ  ปริวชฺเชหิ                สุภํ  ราคูปสญฺหิตํ.

        จิตของท่านย่อมเดือดร้อน   เพราะเข้าใจผิด,  ท่านจงเว้นเครื่อง

หมายที่สวยงามประกอบด้วยความรัก.

        (อานนฺท)                                                สํ.  ส.  ๑๕/๒๗๗.

       

        ๔๒.  เสโล  ยถา  เอกฆโน        วาเตน    สมีรติ

                 เอวํ  นินฺทาปสํสาสุ                  สมิญฺชนฺติ   ปณฺฑิตา.

        ภูเขาหินแท่งทึบ  ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด,  บัณฑิตย่อมไม่

หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญฉันนั้น.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๕.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 15

                        ๗.  ทานวรรค  คือ  หมวดทาน   

        ๔๓.  อคฺคสฺมึ   ทานํ  ททตํ                          อคฺคํ  ปุญฺญํ  ปวฑฺฒติ

                 อคฺคํ  อายุ    วณฺโณ                    ยโส  กิตฺติ  สุขํ  พลํ.

        เมื่อให้ท่านในวัตถุอันเลิศ   บุญอันเลิศ  อายุ  วรรณะ  ยศ

เกียรติ  สุข  และกำลังอันเลิศ  ก็เจริญ. 

        (พุทฺธ)                                                        ขุ.  อิติ.  ๒๕/๒๙๙.

       

        ๔๔.  อคฺคทายี  วรทายี                          เสฏฺฐทายี    โย  นโร

                 ทีฆายุ  ยสวา  โหติ                        ยตฺถ  ยตฺถูปปชฺชติ.

        ผู้ให้สิ่งที่เลิศ  ให้สิ่งที่ดี  ให้สิ่งที่ประเสริฐ  ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน

มียศในภพที่ตนเกิด.

        (พุทธ)                                                        องฺ  ปญฺจก.  ๒๒/๕๖.



        ๔๕.  นีหเรเถว  ทาเนน                               ทินฺนํ  โหติ  สุนิพฺภตํ

                 ทินฺนํ  สุขผลํ  โหติ                             นาทินฺนํ  โหติ  ตํ  ตถา.

        พึงนำ  (สมบัติ)   ออกด้วยการให้,  วัตถุที่ให้แล้วย่อมเป็นอัน

นำออกดีแล้ว,  วัตถุทีให้แล้วย่อมมีสุขเป็นผล,  ส่วนวัตถุที่ยังไม่ได้ให้

ก็ไม่เป็นอย่างนั้น.

        (เทวดา)                                                        สํ.  ส.  ๑๕/๔๓.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 16

        ๔๖.  ปุพฺเพ   ทานาทิกํ  ทตฺวา                  อิทานิ  ลภตี  สุขํ

                 มูเลว  สิญฺจิตํ  โหติ                         อคฺเค    ผลทายกํ. 

        ให้ทานเป็นต้นก่อน    จึงได้สุขบัดนี้  เหมือนรดน้ำที่โคนให้ผล

ที่ปลาย.

                                                                        สทฺทสารตฺถชาลินี.



        ๔๗.  ยถา  วาริวหา  ปูรา                        ปริปูเรนฺติ  สาครํ

                 เอวเมว  อิโต  ทินฺนํ                        เปตานํ  อุปกปฺปติ.

        ห้วงน้ำที่เต็ม  ย่อมยังสาครให้เต็มได้ฉันใด,  ทานที่ให้แต่โลกนี้

ย่อมสำเร็จแก่ผู้ละไปแล้วฉันนั้น.

        (พุทฺธ)                                                        ขุ.  ขุ.  ๒๕/๑๐.

       

        ๔๘.  โส    สพฺพทโท  โหติ                โย  ททาติ  อุปสฺสยํ

                 อมตนฺทโท    โส  โหติ          โย  ธมฺมมนุสาสติ. 

        ผู้ใดให้ที่พักอาศัย  ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งทั้งปวง,  ผู้ใดสอนธรรม

ผู้นั้นชื่อว่าให้อมตะ.

        (พุทฺธ)                                                        สํ.  ส.  ๑๕/๔๔.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 17

                        ๘.  ธัมมวรรค  คือ  หมวดธรรม       

        ๔๙.  อธมฺมํ  ปฏิปนฺนสฺส                        โย  ธมฺมมนุสาสติ

                 ตสฺส  เจ  วจนํ  กยิรา                  โส  คจฺเฉยฺย  ทุคฺคตึ.

        ผู้ใดสอนธรรมแก่คนปฏิบัติไม่ถูก  ถ้าเขาทำตามคำของผู้นั้น

จะไม่ไปสู่ทุคติ.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ชา  สฏฺฐํ.  ๒๘/๓๙.



        ๕๐.  อุปารมฺภจิตฺโต  ทุมฺเมโธ                สุณาติ  ชินสาสนํ

                อารกา  โหติ  สทฺธมฺมา                นภโส  ปฐวี  ยถา.

        ผู้มีปัญญาทราม  มีจิตใจกระด้าง  ถึงฟังคำสอนของพระชินเจ้า

ก็ยังห่างไกลจากพระสัทธรรม    เหมือนดินกับฟ้า.

        (ยสทตฺตเถร)                                        ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๒๓.



        ๕๑.  ขติติยา  พฺราหฺมณา  เวสฺสา        สุทฺทา  จณฺฑาลปุกฺกุสา

                 อิธ  ธมฺมํ จริตฺวาน                        ภวนฺติ  ติทิเว  สมา.

        กษัตริย์  พราหมณ์  แพทย์  ศูทร  จัณฑาล  และคนงานชั้นต่ำ

ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว  ย่อมเป็นผู้เสมอกันในสวรรค์ชั้นไตรทิพย์.

                                                         ขุ. ชา  ปญฺจก. ๒๗/๑๗๕


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 18

        ๕๒.  ตณฺหาทุติโย  ปุริโส                ทีฆมทฺธาน  สํสรํ

                 อิตฺถมฺภาวญฺญถาภาวํ             สํสารํ  นาติวตฺตติ.   

        คนมีตัณหาเป็นเพื่อน  ท่องเที่ยวอยู่ช้านาน  ไม่ล่วงพ้นสงสาร

ที่กลับกลอกไปได้.

        (ปจฺเจกพุทฺธ)                                        ขุ.  จู.  ๓๐/๓๒๐.



                ๕๓.  นภญฺจ  ทูเร  เปฐวี    ทูเร

                         ปารํ  สมุทฺทสฺส  ตทาหุ  ทูเร

                         ตโต  หเว  ทูรตรํ  วทนฺติ

                         สตญฺจ   ธมฺโม  อสตญฺจ  ราช.

        เขากล่าวว่า  ฟ้ากับดินไกลกัน  และฝั่งทะเลก็ไกลกัน  แต่ธรรม

ของสัตบุรุษกับของอสัตบุรุษไกลกันยิ่งกว่านั้น.

        (พฺราหฺมณ)                                        ขุ.  ชา.  อสีติ.  ๒๘/๑๔๓.



        ๕๔.  นิกฺกุหา  นิลฺลปา  ธีรา        อถทฺธา  สุสมาหิตา

                 เต  เว ธมฺเม  วิรูหนฺติ        สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิเต.

        ผู้ไม่คดโกง  ไม่พูดเพ้อ  มีปรีชา  ไม่หยิ่ง   มีใจมั่นคงนั้นแล

ย่อมงดงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.

        (พุทฺธ)  องฺ.  จตุกฺก.  ๒๑/๓๔.                ขุ.  มหา.  ๒๙/๑๕๑.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 19

        ๕๕.  ปฏิโสตคามึ  นิปุณํ                        คมฺภีรํ  ทุทฺทสํ  อณํ

                  ราครตฺตา    ทกฺขนฺติ                  ตโมกฺขนฺเธน  อาวุตา.

        ผู้ถูกราคะย้อม  ถูกกองมืด  (อวิชชา)  ห่อหุ้มแล้ว  ย่อมไม่เห็น   

ธรรมสำหรับฝืนใจอันละเอียดลออ  ลึกซึ้ง  ซึ่งเห็นได้ยาก.

        (พุทฺธ)                                                ที.  มหา.  ๑๐/๔๑.



        ๕๖.  ยทา    พุทฺธา  โลกสฺมํ                 อุปฺปชฺชนฺติ  ปภงฺกรา

                 เต   อิมํ  ธมฺมํ  ปกาเสนฺติ                ทุกฺขูปสมคามินํ.



        เมื่อพระพุทธเจ้า  ผู้ทำความสว่างเกิดขึ้นในโลก,  พระองค์ย่อม

ประกาศธรรมสำหรับดับทุกข์นี้.

        (สารีปุตฺต)                                        ขุ.  ปฏิ.  ๓๑/๔๑๘.



        ๕๗.  ยสฺส  สพฺรหมฺจารีสุ                 คารโว  นุปลพฺภติ

                 อารกา  โหติ  สทฺธมฺมา                นภํ  ปฐวิยา  ยถา.

        ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารี,   ผู้นั้นย่อมห่างจาก

พระสัทธรรม  เหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น.

        (ภคุเถร)                                                ขุ.  เถร  ๒๖/๓๑๑.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 20

        ๕๘.  เย    โข  สมฺมทกฺขาเต        ธมฺเม  ธมฺมานุวตฺติโน  

                 เต  ชนา  ปารเมสฺสนฺติ        มจฺจุเธยฺยํ  สุทุตฺตรํ.

        ชนเหล่าใดประพฤติธรรม   ในธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว,

ชนเหล่านั้น  จักข้ามแดนมฤตยูที่ข้ามได้ยาก.

        (พุทธ)                                                ขุ.    ๒๕/๒๖.



        ๕๙.  โย  อิจฺเฉ   ทิพฺพโภคญฺจ        ทิพฺพมายํ  ยสํ  สุขํ

                 ปาปานิ  ปริวชฺเชตฺวา        ติวิธํ  ธมฺมมาจเร.

        ผู้ใด  ปรารถนาโภคทรัพย์  อายุ  ยศ  สุข  อันเป็นทิพย์,  ผู้นั้น

พึงงดเว้นบาปทั้งหลาย  แล้วประพฤติสุจริตธรรม    อย่าง.

        (ราชธีดา)                                                ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๓๐๖.

        

        ๖๐.  โย    อปฺปมฺปิ  สุตฺวาน        ธมฺมํ  กาเยน  ปสฺสติ

                  เว  ธมฺมธโร  โหติ        โย  ธมฺมํ  นปฺปมชฺชติ.

        ผู้ใดฟังธรรมแม้น้อย  ย่อมเห็นธรรมด้วยกาย   ผู้ใดไม่ประมาท

ธรรม  ผู้นั้นแล   ชื่อว่าผู้ทรงธรรม.

        (พุทธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๔๙.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 21

        ๖๑.  โยนิโส  วิจิเน  ธมฺมํ                    ปญฺญายตฺถํ  วิปสฺสติ

                 ปชฺโชตสฺเสว   นิพฺพานํ        วิโมกฺโข  โหติ  เจตโส.   

        ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย,  จะเห็นอรรถแจ่มแจ้งได้ด้วย

ปัญญา,  ความหลุดพ้นแห่งใจย่อมมี  เหมือนไฟดับ.

        (พุทฺธ)                                        องฺ.  สตฺตก.  ๒๓/๔.



                  ๙.  ปกิณณกวรรค  คือ  หมวดเบ็ดเตล็ด

        ๖๒.  อกฺโกจฺฉิ  มํ  อวธิ  มํ        อชินิ  มํ  อหาสิ  เม

                 เย    ตํ  อุปนยฺหนฺติ        เวรํ  เตสํ    สมฺมติ.

        ผู้ใด  ผูกอาฆาตว่า  เขาได้ด่าเรา  ได้ฆ่าเรา  ได้ชนะเรา  ได้ลัก

ของของเรา  ดังนี้  เวรของผู้นั้นย่อมไม่ระงับ.

        (พุทฺธ)                                        ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๕.



        ๖๓.  อกฺโกจฺฉิ  มํ  อวธิ  มํ        อชินิ  มํ  อหาสิ  เม

                 เย    ตํ  นูปนยฺหนฺติ        เวรํ  เตสูปสมฺมติ.

        ผู้ใดผูกอาฆาตว่า  เขาได้ด่าเรา  เขาได้ฆ่าเรา  ได้ชนะเรา  ได้ลัก

ได้ลักของของเรา  ดังนี้  เวรของผู้นั้นย่อมระงับ.

        (พุทฺธ)                                        ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๕.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 22

                ๖๔.  อจฺจิ  ยถา  วาตเวเคน  ขิตฺตํ 

                        อตฺถํ  ปเลติ    อุเปติ  สงฺขํ 

                        เอวํ  มุนี  นามกายา  วิมุตฺโต

                        อตฺถํ  ปเลติ    อุเปติ  สงฺขํ.

        เปลวไฟที่ถูกกำลังลมพัดดับวูบไป  ย่อมกำหนดนับไม่ได้ฉันใด,

ผู้รู้พ้นไปแล้วจากนามกาย  ดับวูบไป  ย่อมกำหนดนับไม่ได้ฉันนั้น.

        (พุทฺธ)  ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๓๙.                 ขุ.  จู.  ๓๐/๑๓๖.



        ๖๕.  อินฺทฺริยานิ  มนุสฺสานํ                หิตาย  อหิตาย 

                 อรกฺขิตานิ   อหิตาย                        รกฺขิตานิ  หิตาย  จ.

        อินทรีย์ของมนุษย์มีอยู่เพื่อประโยชน์  และมิใช่ประโยชน์  คือ

ที่ไม่รักษา  ไม่เป็นประโยชน์,  ที่รักษา  จึงเป็นประโยชน์.

        (ปาราสริยเถร)                                        ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๗๒.



        ๖๖.  ตสฺมา  หิ  ปณฺฑิโต  โปโส        สมฺปสฺสํ  อตฺถมตฺตโน

                โลภสฺส    วสํ  คจฺเฉ                หเนยฺย  ทิสกํ  มนํ.

        ผู้เป็นบัณฑิต  เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน  ไม่พึงลุอำนาจของ

โลภะ  พึงกำจัดน้ำใจที่ละโมภเสีย.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ชา.  ปกิณฺณก.  ๒๗/๓๙๖.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 23

        ๖๗.  นกฺขตฺตํ  ปฏิมาเนนฺตํ                         อตฺดถ  พาลํ  อุปจฺจคา  

                 อตฺโถ  อตฺถสฺส  นกฺขตฺตํ                    กึ  กริสฺสนฺติ  ตารกา.

        ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนเขลาผู้มัวถือฤกษ์อยู่,   ประโยชน์เป็นฤกษ์

ของประโยชน์  ดวงดาวจักทำอะไรได้.

        (โพธิสตฺต)                                        ขุ.  ชา.  เอก.  ๒๗/๑๖.



        ๖๘.    สาธุ  พลวา  พาโล                         สาหสํ  วินฺทเต  ธนํ

                 กนฺทนฺตเมตํ  ทุมฺเมธํ                         กฑฺฒนฺติ  นิรยํ  ภุสํ.

        คนเขลา  มีกำลัง  หาทรัพย์อย่างผลุนผลัน  ไม่ดี,  นายนิรยบาล

ย่อมฉุดคนโง่มีปัญญาทรามผู้คร่ำครวญอยู่นั้น  ไปสู่นรกอันร้ายกาจ.

        (มโหสถโพธิสตฺต)                                ขุ.  ชา.  วีส.  ๒๗/๔๒๕.



        ๖๙.  ปญฺจ  กามคุณา  โลเก                มโนฉฏฺฐา  ปเวทิตา

                เอตฺถ  ฉนฺทํ  วิราชิตฺวา                เอวํ  ทุกฺขา  ปมุจฺจติ.

        กามคุณ    ในโลก  มีใจเป็นที่    อันท่านชี้แจงไว้แล้ว,  บุคคล

คลายความพอใจในกามคุณนี้แล้ว   ย่อมพ้นจากทุกข์ได้อย่างนี้.

        (พุทฺธ)                                                สํ.  ส.  ๑๕/๒๓.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 24

        ๗๐.  ปรทุกฺขูปธาเนน                โย  อตฺตโน  สุขมิจฺฉติ

                เวรสํสคฺคสํสฏฺโฐ                เวรา  โส    ปริมุจฺจติ.   

        ผู้ใด  ต้องการสุขเพื่อตน   ด้วยการก่อทุกข์แก่ผู้อื่น,  ผู้นั้น

ชื่อว่า  พัวพันไปด้วยเวร  ย่อมไม่พ้นจากเวร.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๕๓.



        ๗๑.  ปริตฺตํ  ทารุมารุยฺห                ยถา  สีเท  มหณฺณเว

                 เอวํ  กุสีตมาคมฺม                สาธุชีวีปิ  สีหติ.

        คนเกาะไม้ฟืนเล็ก ๆ  พึงจมลงในทะเลฉันใด  คนมั่งมีอาศัยความ

เกียจคร้านก็ล่มจมฉันนั้น.

        (วิมลเถร)                                                ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๐๙.



        ๗๒.  พลํ  จนฺโท  พลํ  สุริโย        พลํ  สมณพฺราหฺมณา

                 พลํ  เวลา  สมุทฺทสฺส        พลาติพลมิตฺถิโย.

        พระจันทร์  พระอาทิตย์  สมณพราหมณ์  และฝั่งทะเล  ต่างก็

มีกำลัง,  แต่สตรีมีกำลังยิ่งกว่ากำลัง  (เหล่านั้น).

        (มหาชนก)                                        ขุ.  ชา.  นวก.  ๒๗/๒๖๑.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 25

        ๗๓.  พหูนํ  วต  อตฺถาย                อุปฺปชฺชนฺติ  ตถาคตา   

                 อิตฺถีนํ  ปุริสานญฺจ                เย  เต   สาสนการกา.

        พระตถาคตเจ้าย่อมเกิดขึ้น   เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก  คือ

สตรีและบุรุษผู้ทำตามคำสอน.

        (วงฺคีสเถร)                                        ขุ.  เถร.  ๒๖/๔๓๗.

       

        ๗๔.  ยตฺถ  โปสํ    ชานนฺติ          ชาติยา  วินเยน  วา

                    ตตฺถ  มานํ  กยิราถ          วสํ  อญฺญาตเก  ชเน.

        ในที่ใด  ยังไม่รู้จักคนโดยกำเนิดหรือโดยขนบประเพณี  เมื่ออยู่

ในที่นั้น  หมู่คนที่ยังไม่รู้จักกัน  ไม่ควรทำความถือตัว.

        (มหาททฺทรโพธิสตฺต)                        ขุ.  ชา.  จตุกฺก.  ๒๗/๑๓๑.



        ๗๕.  เย    กาหนฺติ  โอวาทํ        นรา  พุทฺเธน  เทสิตํ

                 โสตฺถึ  ปรํ  คมิสฺสนฺติ          วลาเหเนว  วาณิชา.

        คนใด  จัดทำตามโอวาทที่ผู้รู้แสดงแล้ว  คนนั้นจักถึงฝั่งที่สวัสดี

เหมือนพ่อค้าถึงฝั่งที่สวัสดีเพราะม้าวลาหก.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ชา.  ทุก.  ๒๗/๗๑.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 26

        ๗๖.  เย  วุฑฺฒมปจายนฺติ                นรา  ธมฺมสฺส  โกวิทา   

                ทิฏฺเฐ   ธมฺเม    ปาสํสา          สมฺปราโย    สุคฺคติ.

        คนรู้จักขนบธรรมเนียม  ย่อมยำเกรงผู้เฒ่าผู้แก่  ในชาตินี้ก็มีผู้

สรรเสริญ  ชาติหน้าก็ไปดี. 

        (พุทฺธ)                                                ขุ. ชา  เอก.  ๒๗/๑๒.



        ๗๗.  รูปา  สทฺทา  คนฺธา  รสา        ผสฺสา  ธมฺมา    เกวลา

                 เอตํ  โลกามิสํ โฆรํ                เอตฺถ  โลโก  วิมุจฺฉิโต.

        รูป  เสียง  กลิ่น  รส  ผัสสะ   และธรรมารมณ์นั้น  ล้วนเป็น

โลกามิสอันร้ายกาจ,  สัตวโลกหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์เหล่านี้.

        (พุทฺธ)                                                สํ  ส.  ๑๕/๑๖๖.



        ๗๘.  วิเทสวาสํ  วสโต                           ชาตเวทสเมนปิ

                 ขมิตพฺพํ  สปญฺเญน                อปิ   ทาสสฺส  ตชฺชิตํ.

        แม้มีปัญญารุ่งโรจน์อย่างไฟ   เมื่อยู่ในต่างประเทศก็ควรอดทน

คำขู่เข็ญแม้ของทาส.

        (มหาททฺทรโพธิสตฺต)                        ขุ.  ชา.  จตุกฺก.  ๒๗/๑๓๑.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 27

                  ๑๐.  ปัญญาวรรค  คือ  หมวดปัญญา   

        ๗๙.  อปฺปสฺสุตายํ  ปุริโส                พลิวทฺโทว  ชีรติ

                 มํสานิ  ตสฺส  วฑฺฒนฺติ        ปญฺญา  ตสฺส    วฑฺฒติ.

        คนผู้สดับน้อยนี้  ย่อมแก่ไป  เหมือนวัวแก่  อ้วนแต่เนื้อ  แต่

ปัญญาไม่เจริญ.

        (พุทฺธ)                                        ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๕.



        ๘๐.  ชีวเตวาปิ  สปฺปญฺโญ        อปิ  วิตฺตปริกฺขยา

                 ปญฺญาย    อลาเกน        วิตฺตวาปิ     ชีวติ.

        ถึงสิ้นทรัพย์  ผู้มีปัญญาก็เป็นอยู่ได้,  แต่อับปัญญาแม้มีทรัพย์

ก็เป็นอยู่ไม่ได้.

        (มหากปฺปินเถร)                        ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๕๐.



        ๘๑.  ปญฺญวา  พุทฺธิสมฺปนฺโน         วิธานวิธิโกวิโท

                 กาลญฺญู  สมยญฺญู                 ราชวสตึ  วเส.

        ผู้มีปัญญา   ถึงพร้อมด้วยความรู้   ฉลาดในวิธีจัดการงาน

รู้กาลและรู้สมัย  เขาพึงอยู่ในราชการได้.

        (พุทฺธ)                                        ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๓๓๙.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 28

                ๘๒.  ปญฺญา  หิ  เสฏฺฐา  กุสลา  วทนฺติ

                         นกฺขตฺตราชาริว   ตารกานํ 

                         สีลํ  สิรี  จาปิ  สตญฺจ  ธมฺโม 

                        อนฺวายิกา  ปญฺญวโต  ภวนฺติ.

        คนฉลาดกล่าวว่า  ปัญญาประเสริฐ  เหมือนพระจันทร์ประเสริฐ

กว่าดาวทั้งหลาย   แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษย่อมไปตามผู้มี

ปัญญา.

        (สภงฺคโพธิสตฺต)                                ขุ.  ชา.  จตฺตาฬีส.  ๒๗/๕๔๑.



        ๘๓.  มตฺตาสุขปริจฺจาคา                ปสฺเส  เจ  วิปุลํ  สุขํ

                 จเช  มตฺตาสุขํ  ธีโร                สมฺปสฺสํ  วิปุลํ  สุขํ.

        ถ้าพึงเห็นสุขอันไพบูลย์   เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย  ผู้มี

ปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์  ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๕๓.



        ๘๔.  ยสํ  ลทฺธาน  ทุมฺเมโธ        อนตฺถํ  จรติ  อตฺตโน

                 อตฺตโน    ปเรสญฺจ        หึสาย  ปฏิปชฺชติ.

        คนมีปัญญาทราม  ได้ยศแล้วย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์

แก่ตน  ย่อมปฏิบัติเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น.

        (หตฺถาจริย)                                        ขุ.  ชา.  เอก.  ๒๗/๔๐.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 29

        ๘๕.  ยาวเทว  อนตฺถาย                      ญตฺตํ  พาลสฺส  ชายติ

                 หนฺติ  พาลสฺส  สุกฺกํสํ                มุทฺธํ  อสฺส  วิปาตยํ.   

        ความรู้เกิดแก่คนพาล  ก็เพียงเพื่อความฉิบหาย,  มันทำสมอง

ของเขาให้เขว,  ย่อมฆ่าส่วนที่ขาวของคนพาลเสีย.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๔.



        ๘๖.  โย    วสฺสสตํ  ชีเว                          ทุปฺปญฺโญ  อสมาหิโต

                 เอกาหํ  ชีวิตํ  เสยฺโย                         ปญฺญวนฺตสฺส  ฌายิโน.

        ผู้ใดมีปัญญาทราม  มีใจไม่มั่นคง  พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี,  ส่วนผู้มี

ปัญญาเพ่งพินิจ  มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว  ดีกว่า.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๙.



                   ๑๑.  ปมาทวรรค   คือ  หมวดประมาท

                ๘๗.  พหุมฺปิ  เจ  สํหิต  ภาสมาโน

                           ตกฺกโร  โหติ  นโร  ปมตฺโต

                         โคโปว  คาโว  คณยํ  ปเรสํ

                            ภาควา  สามญฺญสฺส  โหติ.

        หากกล่าวพุทธพจน์ได้มาก   แต่เป็นคนประมาท  ไม่ทำตาม

พุทธพจน์นั้น  ก็ไม่มีส่วนแห่งสามัญญผล   เหมือนคนเลี้ยงโค  คอยนับ

โคให้ผู้อื่นฉะนั้น.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๗.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 30

        ๘๘.  ยญฺหิ  กิจฺจํ  ตทปวิทฺธํ                       อกิจฺจํ  ปน  กยีรติ 

                 อุนฺนฬานํ  ปมตฺตานํ                         เตสํ  วฑฺฒนฺติ  อาสวา. 

        คนทอดทิ้งกิจที่ควรทำ  ไปทำกิจที่ไม่ควรทำ   เมื่อเขาถือตัว

มัวประมาท   อาสวะย่อมเจริญ.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๕๔.



        ๘๙.  โย    ปุพฺเพ  ปมชฺชิตฺวา                         ปจฺฉา  โส  นปฺปมชฺชติ

                 โสมํ  โลกํ  ปภาเสติ                        อพฺภา  มุตฺโต    จนฺทิมา.

        เมื่อก่อนประมาท   ภายหลังไม่ประมาท  เขาชื่อว่ายังโลกนี้ให้

สว่าง  เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น.

        (องฺคุลิมาลเถร)                                        ม.  ม.  ๑๓/๔๘๖.



                          ๑๒.  ปาปวรรค  คือ  หมวดบาป

        ๙๐.  อิธ  โสจติ  เปจฺจ  โสจติ                ปาปการี  อุภยตฺถ  โสจติ

                โส  โสจติ  โส วิหญฺญติ                ทิสฺวา  กมฺมกิลิฏฺฐมตฺตโน.

        ผู้ทำบาป   ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้   ละไปแล้วก็เศร้าโศก   ชื่อว่า

เศร้าโศกในโลกทั้งสอง,   เขาเห็นกรรมอันเศร้าหมองของตน  จึง

เศร้าโศกและเดือดร้อน.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๗.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 31

        ๙๑.  อุทพินฺทุนิปาเตน                อุทกุมฺโภปิ  ปูรติ 

                อาปูรติ  พาโล  ปาปสฺส        โถกํ  โถกํปิ  อาจินํ. 

        แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำฉันใด,  คนเขลาสั่งสมบาปแม้ทีละ

น้อย ๆ ก็เต็มด้วยบาปฉันนั้น.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๑.



        ๙๒.  เอกํ  ธมฺมํ  อตีตสฺส                มุสาวาทิสฺส  ชนฺตุโน

                 วิติณฺณปรโลกสฺส                 นตฺถิ  ปาปํ  อการิยํ.

        คนพูดเท็จ  ล่วงสัตยธรรมเสียอย่างหนึ่ง  ไม่คำนึงถึงโลกหน้า

จะไม่พึงทำบาปเป็นอันไม่มี.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๘.



        ๙๓.    หิ  ปาปํ  กตํ  กมฺมํ             สชฺชุขีรํว  มุจฺจติ

                ฑหนฺตํ  พาลมนฺเวติ               ภสฺมาจฺฉนฺโนว  ปาวโก.

        บาปกรรมที่ทำแล้วย่อมไม่เปลี่ยนแปลง  เหมือนนมสดที่รีดใน

วันนั้น,  บาปย่อมตามเผาคนเขลา  เหมือนไฟที่เถ้ากลบไว้.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๔.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 32

        ๙๔.  ปาณิมฺหิ  เจ  วโณ  นาสฺส          หเรยฺย  ปาณินา  วิสํ    

                 นาพฺพณํ  วิสมนฺเวติ                นตฺถิ  ปาปํ  อกุพฺพโต.

        ถ้าฝ่ามือไม่มีแผล   ก็พึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้  ยาพิษซึมเข้า

ฝ่ามือไม่มีแผลไม่ได้ฉันใด,  บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำฉันนั้น.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๑.



        ๙๕.  โย    สเมติ  ปาปานิ                     อณํถูลานิ  สพฺพโส

                 สมิตตฺตา  หิ  ปาปานํ                    สมโณติ  ปวุจฺจติ.

        ผู้ใดระงับบาปน้อยใหญ่ได้โดยประการทั้งปวง  ท่านเรียกผู้นั้น

ว่าสมณะ  เพราะเป็นผู้ระงับบาปทั้งหลายได้.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๕๐.



        ๙๖.  วาณิโชว  ภยํ  มคฺคํ                        อปฺปสตฺโถ  มหาทฺธโน

                วิสํ  ชีวิตุกาโมว                        ปาปานิ  ปริวชฺชเย.

        ควรงดเว้นบาปเสีย   เหมือนพ่อค้ามีพวกน้อย  มีทรัพย์มาก

เว้นหนทางที่มีภัย  และเหมือนผู้รักชีวิต  เว้นยาพิษเสีย  ฉะนั้น.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๑.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 33

                    ๑๓.  ปุคคลวรรค  คือ  หมวดบุคคล      

        ๙๗.  อจฺจยํ  เทสยนฺตีนํ                  โย  เจ    ปฏิคณฺหติ

                 โกปนฺตโร  โทสครุ                  เวรํ  ปฏิมุจฺจติ.

        เมื่อเขาขอโทษ  ถ้าผู้ใดมีความขุ่นเคือง  โกรธจัด  ไม่ยอมรับ

ผู้นั้นชื่อว่าหมกเวรไว้.

        (เทวดา)                                                สํ.  ส.  ๑๕/๓๔.



        ๙๘.  อปฺปกา  เต  มนุสฺเสสุ        เย  ชนา  ปารคามิโน

                 อถายํ  อิตรา  ปชา                ตีรเมวานุธาวติ.

        ในหมู่มนุษย์  คนที่ถึงฝั่ง  (นิพพาน)  มีน้อย,  ส่วนประชา

นอกนี้  วิ่งอยู่ตามชายฝั่ง.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๖.



        ๙๙.  อสุภาย  จิตฺตํ  ภาเวหิ               เอกคฺคํ  สุสมาหิตํ

                สติ  กายคตา  ตฺยตฺถุ                 นิพฺพิทาพหุโล  ภว.

        จงอบรมจิตให้แน่วแน่มั่นคง  ด้วยอสุภสัญญา  จงมีสติไปในกาย

จงมีความเบื่อหน่ายมาก  (ในสังขารทั้งปวง).

        (วงฺคีสเถร)                                        สํ.  ส.  ๑๕/๒๗๗.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 34

        ๑๐๐.  อหึสกา  เย  มุนโย                        นิจฺจํ  กาเยน  สํวุตา  

                  เต  ยนฺติ  อจฺจุตํ  ฐานํ                   ยตฺถ  คนฺตฺวา    โสจเร.

        มุนีเหล่าใด   เป็นผู้ไม่เบียดเบียน  สำรวมทางกายเป็นนิตย์  มุนี

เหล่านั้น  ย่อมไปสู่สถานไม่จุติ  ที่ไปแล้วไม่ต้องเศร้าโศก.

        (พุทฺธ)                                        ขุ.  ธ.  ๒๕/๔๕.



        ๑๐๑.  เอวํ  กิจฺฉาภโต  โปโส         ปิตุ  อปริจารโก

                  ปิตริ  มิจฺฉา  จริตฺวาน          นิรยํ  โส  อุปปชฺชติ.

        ผู้ที่  (มารดา)  บิดาเลี้ยงมาโดยยากอย่างนี้  ไม่บำรุง  (มารดา)

บิดา  ประพฤติผิดใน  (มารดา)  บิดา  ย่อมเข้าถึงนรก.

        (โสณโพธิสตฺต)                        ขุ.  ชา.  สคฺตติ.  ๒๘/๖๖.



        ๑๐๒.  เอวํ  พุทฺธํ  สรนฺตานํ                    ธมฺมํ  สงฺฆญฺจ  ภิกฺขโว

                   ภยํ  วา  ฉมฺภิตตฺตํ  วา                  โลมหํโส    เหสฺสติ.

        ภิกษุทั้งหลาย  !  เมื่อบุคคลระลึกถึงพระพุทธ  พระธรรม  และ

พระสงฆ์  อยู่อย่างนี้  ความกล้า  ความครั่นคร้าม   ขนพองสยองเกล้า

จักไม่มี.

        (พุทฺธ)                                        สํ.  ส.  ๑๕/๓๒๓.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 35

        ๑๐๓.  เอวํ  มนฺทสฺส  โปสสฺส                พาลสฺส  อวิชานโต  

                   สารมฺภา  ชายเต  โกโธ                โสปิ  เตเนว  ฑยฺหติ.

        ความโกรธเกิดขึ้นแก่คนโง่เขลาไม่รู้แจ้ง  เพราะความแข่งดี  เขา

ย่อมถูกความโกรธนั้นแลเผา.

        (โพธิสตฺต)                                                ขุ.  ชา.  ทสก.  ๒๗/๒๘๐.



                ๑๐๔.  โอโนทโร  โย  สหเต  ชิฆจฺนํ

                            ทานฺโต  ตปสฺสี  มิตปานโภชโน

                            อาหารเหตุ    กโรติ  ปาปํ

                            ตํ  เว  นรํ  สมณมาหุ  โลเก.

        คนใดมีท้องพร่อง  ย่อมทนความหิวได้   ผู้ฝึกตนมีความเพียร

กินดื่มพอประมาณ  ไม่ทำบาปเพราะอาหาร  ท่านเรียกคนนั้นแล  ว่า

สมณะในโลก.

                                                                        ขุ.  ชา.  ทสก.  ๒๗/๒๗๔.



        ๑๐๕.  กาเม  คิทฺธา  กามรตา                กาเมสุ  อธิมุจฺฉิตา

                   นรา  ปาปานิ  กตฺวาน                อุปปชฺชนฺติ  ทุคฺคตึ.

        นรชนผู้กำหนัดในกาม  ยินดีในกาม  หมกมุ่นในกาม  ทำบาป

ทั้งหลาย  ย่อมเข้าถึงทุคติ.

        (ปจฺเจกพุทฺธ)                                                ขุ.  ชา  สฏฺิ.  ๒๘/๓๓.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 36

        ๑๐๖.  คาเม  วา  ยทิวารญฺเญ                  นินฺเน  วา  ยทิวา  ถเล

                  ยตฺถ   อรหนฺโต  วิหรนฺติ              ตํ  ภูมิรามเณยฺยกํ.  

        พระอรหันต์ทั้งหลาย   อยู่ในที่ใด   คือบ้านก็ตาม  ป่าก็ตาม 

ที่ลุ่มก็ตาม  ที่ดอนก็ตาม  ที่นั้นย่อมเป็นภูมิน่ารื่นรมย์.

        (พุทฺธ)                                                        ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๘.

       

        ๑๐๗.  โจทิตา  เทวทูเตหิ                        เย  ปมชฺชนฺติ  มาณวา

                   เต   ทีฆรตฺตํ  โสจนฺติ                หีนกายูปคา  นรา.

        คนเหล่าใด  อันเทวทูตตักเตือนแล้ว  ยังประมาทอยู่,  คนเหล่านั้น

เข้าถึงกายอันเลว  ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน.

        (พุทฺธ)                                                        ม.  อุป.  ๑๔/๓๔๖.



                ๑๐๘.  โจโร  ยถา  สนฺธฺมุเข  คหีโต

                           สกมฺมุนา  หญฺญติ  ปาปธมฺโม

                          เอวํ  ปชา  เปจฺจ  ปรมฺหิ  โลเก

                          สกมฺมุนา  หญฺญติ  ปาปธมฺโม.

        โจรผู้มีความชั่ว  ถูกเขาจับได้ซึ่งหน้า  ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรม

ของตนฉันใด  ประชาผู้มีความชั่ว  ละไปแล้ว  ย่อมเดือดร้อน

เพราะกรรมของตนในโลกหน้าฉันนั้น.

        (รฏฺฐปาลเถร)                                                ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๗๙.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 37

        ๑๐๙.  ชาติถทฺโธ  ธนถทฺโธ                โคตฺตถทฺโธ    โย  นโร     

                  สญฺญาตึ  อติมญฺเญติ                ตํ  ปราภวโต  มุขํ.

        คนใด  หยิ่งเพราะชาติ  หยิ่งเพราะทรัพย์   หยิ่งเพราะสกุล  ย่อม

ดูหมิ่นญาติของตน  ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งความเสื่อมของคนนั้น.

        (พุทฺธ)                                                        ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๔๗.



        ๑๑๐.  ตํ  พฺรูมิ  อุปสนฺโตติ                กาเมสุ  อนเปกฺขินํ

                  คนฺถา  ตสฺส    วิชฺชนฺติ        อตาริ  โส  วิสตฺติกํ.

        เราเรียกผู้ไม่เยื่อใยในกามทั้งหลายนั้นว่าผู้สงบ,  เครื่องร้อยรัด

ของเขาไม่มี   เขาจึงข้ามตัณหาว้าวุ่นไปได้.

        (พุทฺธ)   ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๐๑.                ขุ.  มหา.  ๒๙/๒๙๕,๒๙๗.



                ๑๑๑.  เตชวาปิ  หิ  นโร  วิจกฺขโณ

                          สกฺกโต  พหุชนสฺส  ปูชิโต

                          นารีนํ  วสงฺคโต    ภาสติ

                          ราหุนา  อุปหโตว  จนฺทิมา.

        ถึงเป็นคนมีเดช  มีปัญญาเฉียบแหลม   อันคนเป็นอันมากสักการบูชา

อยู่ในอำนาจของสตรีเสียแล้ว  ย่อมไม่รุ่งเรือง  เหมือนพระจันทร์ถูก

พระราหูบังฉะนั้น.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ชา  อสีติ.  ๒๘/๑๒๗.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 38

        ๑๑๒.  ทูเร  สนฺโต  ปกาเสนฺติ                หิมวนฺโตว  ปพฺพโต    

                    อสนฺเตตฺถ    ทิสฺสนฺติ                รตฺติขิตฺตา  ยถา  สรา.

        สัตบุรุษย่อมปรากฏได้ในที่ไกล  เหมือนภูเขาหิมพานต์  อสัตบุรุษ

ถึงนั่งอยู่ในที่นี้ก็ไม่ปรากฏ  เหมือนลูกศรที่ยิงไปกลางคืน.

        (พุทฺธ)                                                ขุ. ธ.  ๒๕/๕๕.

       

        ๑๑๓.  ธีโร  โภเค  อธิคมฺเม                สงฺคณฺหาติ    ญาตเก

                   เตน  โส  กิตฺตึ  ปปฺโปติ                เปจฺจ  สคฺเค  ปโมทติ.

        ผู้มีปรีชาได้โภคะแล้ว   ย่อมสงเคราะห์หมู่ญาติ,  เพราะการ

สงเคราะห์นั้น  เขาย่อมได้เกียรติ  ละไปแล้ว  ย่อมบันเทิงในสวรรค์.

        (โพธิสตฺต)                                        ขุ.  ชา.  ฉกฺก.  ๒๗/๒๐๕.

       

                ๑๑๔.    ปณฺฑิตา  อตฺตสุขสฺส  เหตุ

                           ปาปานิ  กมฺมานิ  สมาจรนฺติ

                           ทุกฺเขน  ผุฏฐา  ขลิตาปิ  สนฺตา

                           ฉนฺทา    โทสา    ชหนฺติ  ธมฺมํ.

        บัณฑิต   ย่อมไม่ประพฤติกรรมชั่ว  เพราะเหตุแห่งสุขเพื่อตน,

สัตบุรุษอันทุกข์ถูกต้อง  แม้พลาดพลั้งไป  ก็ไม่ยอมละธรรม  เพราะ

ฉันทาคติและโทสาคติ.

        (สรภงฺคโพธิสตฺต)                                ชาตกฏฺฐกถา.  ๗/๓๘๘.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 39

         ๑๑๕.    เว  อนตฺถกุสเลน           อตฺถจริยา  สุขาวหา 

                   หาเปติ  อตฺถํ  ทุมฺเมโธ        กปิ  อารามิโก  ยถา.

        การบำเพ็ญประโยชน์โดยไม่ฉลาดในประโยชน์   ก็นำความสุข

มาให้ไม่ได้เลย,   ผู้มีปัญญาทรามย่อมพร่าประโยชน์   ดุจลิงเฝ้าสวน

ฉะนั้น.

๑๕.

       

        ๑๑๖.    หิ   สพฺเพสุ  ฐาเนสุ         ปุริโส  โหติ  ปณฺฑิโต

                   อิตฺถีปิ  ปณฺฑิตา  โหติ         ตตฺถ  ตตฺถ  วิจกฺขณา.

        บุรุษจะเป็นบัณฑิตในที่ทั้งปวงก็หาไม่,  แม้สตรีก็เป็นบัณฑิตมี

ปัญญาเฉียบแหลมในที่นั้น    ได้เหมือนกัน.

        (เทวดา)                                        ขุ.  ชา.  อฏฺฐก.  ๒๗/๒๔๑.

       

                ๑๑๗.  นินฺทาย  นปฺปเวเธยฺย

                             อุณฺณเมยฺย  ปสํสิโต  ภิกฺขุ

                           โลกํ  สห  มจฺฉริเยน

                           โกธํ  เปสุณิยญฺจ  ปนุเทยฺย.

        ภิกษุไม่ควรหวั่นไหวเพราะนินทา   ได้รับสรรเสริญ  ก็ไม่ควร

เหิมใจ   พึงบรรเทาความโลภกับความตระหนี่  ความโกรธ   และความ

ส่อเสียดเสีย.

        (พุทฺธ)  ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๑๖.        ขุ.  มหา.  ๒๙/๔๖๔,๔๖๖.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 40

        ๑๑๘.  ปณฺฑิโต    วิยตฺโต            วิภาวี    วิจกฺขโณ  

                  ขิปฺปํ   โมเจติ  อตฺตานํ        มา  ภายิตฺถาคมิสฺสติ.

        ผู้ฉลาดเฉียบแหลม  แสดงเหตุและไม่ใช่เหตุได้แจ่มแจ้ง  และ

คาดเห็นผลประจักษ์   ย่อมเปลื้องตน  (จากทุกข์)   ได้ฉับพลัน  อย่า

กลัวเลย  เขาจักกลับมาได้.

        (ราช)                                         ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๓๔๔.



        ๑๑๙.  ปณฺฑิโตติ  สมญฺญาโต        เอกจริยํ  อธิฏฺฐิโต

                  อถาปิ  เมถุเน  ยุตฺโต        มนฺโทว  ปริกิสฺสติ.

        ผู้ตั้งใจประพฤติตนเป็นคนโสด   เขารู้กันว่าเป็นบัณฑิต,  ส่วน

คนโง่ฝักใฝ่ในเมถุน  ย่อมเศร้าหมอง.

        (พุทฺธ)   ขุ.  สุ.  ๒๕/๔๙๔.        ขุ.  มหา.  ๒๙/๑๘๖.



                ๑๒๐.  ปหาย  ปญฺจาวรณานิ  เจตโส

                           อุปกฺกิเลเส   พฺยปนุชฺช  สพฺเพ

                           อนิสฺสิโต  เฉตฺวา  สิเนหโทสํ

                           เอโก  จเร  ขคฺควิสาณกปฺโป.

        ผู้ฉลาดและเครื่องกั้นจิต    ประการ  กำจัดอุปกิเลสทั้งหมด  ตัดรัก

และชังแล้ว  อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้  พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน

นอแรดฉะนั้น.

        (พุทฺธ)        ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๓๘.        ขุ.  จู.  ๓๐/๔๑๐.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 41

        ๑๒๑.  ปุตฺตา  มตฺถิ  ธนมตฺถิ                 อิติ  พาโล  วิหญฺญติ

                    อตฺตา  หิ  อตฺตโน  นตฺถิ                กุโต  ปุตฺตา  กุโต  ธนํ.

        คนเขลาคิดว่า  เรามีบุตร   เรามีทรัพย์  จึงเดือดร้อน,  ที่แท้ตน

ของตนก็ไม่มี  จะมีบุตร  มีทรัพย์  มาแต่ที่ไหนเล่า.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๓.



        ๑๒๒.  พฺรหฺมาติ  มาตาปิตโร                ปุพฺพาจริยาติ  วุจฺจเร

                    อาหุเนยฺยา    ปุตฺตานํ                ปชาย  อนุกมฺปกา.

                มารดาบิดา  ท่านว่าเป็นพรหม   เป็นบุรพาจารย์  เป็นที่นับถือ

ของบุตร  และเป็นผู้อนุเคราะห์บุตร.

        (โสณโพธิสตฺต)                                ขุ.  ชา.  สตฺตติ.  ๒๗/๖๖.



        ๑๒๓.  มธุวา  มญฺญตี  พาโล                ยาว  ปาปํ    ปจฺจติ,

                   ยทา    ปจฺจตี  ปาปํ                  อถ  ทุกขํ  นิคจฺฉติ.

        ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล  คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน,  แต่

บาปให้ผลเมื่อใด  คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๔.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 42

        ๑๒๔.  ยํ  อุสฺสุกฺกา  สงฺฆรนฺติ                อลกฺขิกา  พหํ  ธนํ

                   สิปฺปวนฺโต  อสิปฺปา  วา        ลกฺขิกา  ตานิ  ภุญฺชเร.

        คนไม่มีโชค  มีศิลป์หรือไม่มีศิลป์ก็ตาม   ขวนขวายรวบรวม

ทรัพย์ใดไว้ได้เป็นอันมาก   ส่วนคนมีโชคย่อมบริโภคทรัพย์เหล่านั้น.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ชา.  ติก.  ๒๗/๑๑๗.

       

        ๑๒๕.  ยํ  ยํ  ชนปทํ  ยาติ                        นิคเม  ราชธานิโย

                    สพฺพตฺถ  ปูชิโต  โหติ                  โย  มิตฺตานํ    ทุพฺภติ.

        ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร  ไปสู่แว่นแคว้น  ตำบลหรือเมืองหลวง

ใด ๆ  ก็ตาม  ย่อมมีผู้บูชาในที่ทั้งปวง.

        (เตมิยโพธิสตฺต)                                ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๑๕๔.



        ๑๒๖.  ยโต    โหติ  ปาปิจฺโฉ                อหิริโก  อนาทโร

                   ตโต  ปาปํ  ปสวติ                        อปายํ  เตน  คจฺฉติ.

        คนปรารถนาลามก  ไม่ละอาย  ไม่เอื้อเฟื้อ  เพราะเหตุใด,  เขา

ย่อมสร้างบาปเพราะเหตุนั้น  เขาไปสู่อบาย  เพราะเหตุนั้น.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  อิติ.  ๒๕/๒๕๖.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 43

        ๑๒๗.  ยมฺหา  ธมฺมํ  วิชาเนยิย                สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ  

                   สกฺกจฺจํ  นํ  นมสฺเสยฺย                อคฺคิหุตฺตํว   พฺราหฺมโณ.

        บุคคลรู้แจ้งธรรม   ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว  จาก

ผู้ใด  พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ  เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ

ฉะนั้น.

        (พุทฺธ)                                                        ขุ.  ธ.  ๒๕/๖๘.



        ๑๒๘.  ยสฺส  ปาปํ  กตํ  กมฺมํ                กุสเลน  ปิถียติ

                    โสมํ  โลกํ  ปภาเสติ                 อพฺภา  มุตฺโตว  จนฺทิมา.

        ผู้ใดทำกรรมชั่วแล้ว  ละเสียได้ด้วยกรรมดี,   ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้

ให้สว่าง  เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น.

        (องฺคุลิมาล)                                        ม.  ม.  ๑๒/๔๘๗.



        ๑๒๙.  ยสฺส  รุกฺขสฺส  ฉายาย                นิสีเทยฺย  สเยยฺย  วา

                     ตสฺส  สาขํ  ภญฺเชยฺย         มิตฺตทุพฺโภ   หิ  ปาปโก.

        บุคคลนั้นหรือนอนที่ร่มเงาต้นไม้ใด    ไม่ควรหักกิ่งต้นไม้นั้น,

เพราะผู้ประทุษร้ายมิตร  เป็นคนเลวทราม.

        (โพธิสตฺต)                                        ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๒๖.   


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 44

        ๑๓๐.  เย    ธมฺมสฺส  กุสลา                โปราณสฺส  ทิสํปติ   

                   จาริตฺเตน    สมฺปนฺนา                  เต  คจฺฉนฺติ  ทุคฺคตึ.

        ชนเหล่าใด   ฉลาดในขนบธรรมเนียมโบราณ  และประกอบด้วย

จารีตประเพณีดี,  ชนเหล่านั้น  ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.

        (โสณโพธิสตฺต)                                ขุ.  ชา.  สตฺตติ.  ๒๘/๖๓.

       

        ๑๓๑.  เย    กาหนฺติ  โอวาทํ                นรา  พุทฺเธน  เทสิตํ

                   พฺยสนํ  เต  คมิสฺสนฺติ                รกฺขสีหิว  วาณิชา.

        ผู้ใดจักไม่ทำตามโอวาทที่ผู้รู้แสดงแล้ว,  ผู้นั้นจักถึงความย่อยยับ

เหมือนพ่อค้าถึงความย่อยยับเพราะพวกโจรสลัดฉะนั้น.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ชา.  ทุก.  ๒๗/๗๑.



        ๑๓๒.  โย  จตฺตานํ  สมุกฺกํเส                ปเร    อวชานติ

                   นิหีโน  เสน  มาเนน                   ตํ  ชญฺญา  วสโล  อิติ.

        ผู้ใดยกย่องตนและดูหมิ่นผู้อื่น,   เป็นคนเลวเพราะการถือตัวเอง

พึงรู้ผู้นั้นว่าเป็นคนเลว.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๕๑.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 45

        ๑๓๓.  โย    สีลญฺจ  ปญฺญญฺจ             สุตญฺจตฺตนิ  ปสฺสติ   

                   อุภินฺนมตฺถํ  จรติ                        อตฺตโน    ปรสฺส  จ.

        ผู้ใดเห็นศีล   ปัญญา  และสุตะ  ในตน.  ผู้นั้นย่อมประพฤติ

ประโยชน์ตนและผู้อื่นทั้ง    ฝ่าย.

        (โพธิสตฺต)                                ขุ.  ชา.  สตฺตก.  ๒๗/๒๒๑.



        ๑๓๔.  โย    เมตฺตํ  ภาวยติ                   อปฺปมาณํ   ปฏิสฺสโต

                   ตนู  สํโยชนา  โหนฺติ                ปสฺสโต  อุปธิกฺขยํ.

        ผู้ใดมีสติเฉพาะหน้า  เจริญเมตตาไม่มีประมาณ,  สังโยชน์

ของผู้เห็นความสิ้นแห่งอุปธินั้น  ย่อมเบาบาง.

        (พุทฺธ)                                        องฺ.  อฏฺฐก.  ๒๓/๑๕๒.



        ๑๓๕.  โย  ทนฺธกาเล  ตรติ                  ตรณีเย    ทนฺธเย

                   อโยนิโส  สํวิธาเนน                  พาโล  ทุกฺขํ  นิคจฺฉติ.

        ผู้ใดย่อมรีบในกาลที่ควรช้า   และช้าในกาลที่ควรรีบ,  ผู้นั้น

เป็นคนเขลา  ย่อมถึงทุกข์  เพราะการจัดทำโดยไม่แยบคาย.

        (สมฺภูตเถร)                                ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๑๓.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 46

        ๑๓๖.  โย  ทนฺธกาเล  ทนฺเธติ                  ตรณีเย    ตารเย

                   โยนิโส  สํวิธาเนน                        สุขํ  ปปฺโปติ  ปณฺฑิโต.

        ผู้ใดช้าในกาลที่ควรช้า และรีบในกาลที่ควรรีบ,  ผู้นั้นเป็นผู้

ฉลาด  ย่อมถึงสุข  เพราะการจัดทำโดยแยบคาย.

        (สมฺภูตเถร)                                        ขุ.  เถร.   ๒๖/๓๑๓.



        ๑๓๗.  โย    หนฺติ    ฆาเตติ            ชินาติ    ชาปเย

                      เมตฺตโส  สพฺพภูตานํ          เวรนฺตสฺส    เกนจิ.

        ผู้ใดไม่ฆ่าเอง   ไม่ให้ผู้อื่นฆ่า   ไม่ชนะเอง  ไม่ให้ผู้อื่นชนะ,

ผู้นั้น  ชื่อว่ามีเมตตาต่อสัตว์ทั้งปวง  และไม่มีเวรกับใคร ๆ.

        (พุทฺธ)                                                องฺ.  อฏฺฐก.  ๒๓/๑๕๒.



        ๑๓๘.  โย  มาตรํ  ปิตรํ  วา                มจฺโจ  ธมฺเมน  โปสติ

                    อิเธว  นํ  ปสํสนฺติ                        เปจฺจ  สคฺเค  ปโมทติ.

        ผู้ใดเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม    บัณฑิตย่อมสรรเสริญผู้นั้นใน

โลกนี้,  เขาละไปแล้ว  ย่อมบันเทิงในสวรรค์.

        (สุวรฺณสามโพธิสตฺต)                        ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๑๙๖.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 47

                ๑๓๙.       โย  เว  กตญฺญู   กตเวทิ  ธีโร   

                                กลฺยาณมิตฺโต  ทฬฺหภตฺติ    โหติ

                                ทุกฺขิตสฺส   สกฺกจฺจ   กโรติ  กิจฺจํ

                                  ตถาวิธํ  สปฺปุริสํ  วทนฺติ.

        ผู้มีปรีชาใด   เป็นคนกตัญญูกตเวที  มีกัลยาณมิตรสนิทสนมกัน

และช่วยทำกิจของมิตรผู้ตกยากโดยเต็มใจ    ท่านเรียกคนอย่างนั้นว่า

สัตบุรุษ.

        (สรภงฺคโพธิสตฺต)                        ขุ.  ชา.  จตฺตาฬีส.  ๒๗/๕๔๑.



        ๑๔๐.        โย  หเว  อิณมาทาย           ภุญฺชมาโน  ปลายติ

                          หิ  เต  อิณมตฺถีติ         ตํ  ชญฺญา  วสโล  อิติ.

        ผู้ใด   กู้หนี้เขามากินมาใช้แล้วหลบหนีไป  ด้วยปฏิเสธว่าหนี้ของ

ท่านไม่มี   พึงรู้ผู้นั้นว่าเป็นคนเลว.

        (พุทฺธ)                                          ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๔๐.



                ๑๔๑.      โย  โหติ  พฺยตฺโต     วิสารโท 

                              พหุสฺสุโต  ธมฺมธโร    โหติ

                              ธมฺมสฺส  โหติ  อนุธมฺมจารี

                                ตาทิโส  วุจฺจติ  สงฺฆโสภโณ.

        ผู้ใดเป็นคนฉลาด   แกล้วกล้า  เป็นผู้ฟังมาก  ทรงธรรม  และ

ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม,  คนเช่นนั้นท่านเรียกว่า  ยังหมู่ให้งดงาม.

        (พุทฺธ)                                        องฺ.  จตุกฺก.  ๒๑/๑๐.




นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 48

                ๑๔๒.  ราคญฺจ  โทสญฺจ  ปหา  โมหํ 

                                   สนฺทาลยิตฺวาน   สํโยชนานิ

                                     อสนฺตสํ  ชีวิตสงฺขยมฺหิ

                                   เอโก  จเร   ขคฺควิสาณกปฺโป.

        บัณฑิตละราคะ  โทสะ   และโมหะ   ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว

ย่อมไม่หวาดเสียวในสิ้นชีวิต.   พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด

ฉะนั้น.

          (พุทฺธ)   ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๓๙.                ขุ.  จู.  ๓๐/๔๒๖, ๔๒๗.



        ๑๔๓.  สเจ  อินฺทฺริยสมฺปนฺโน           สนฺโต  สนฺติปเท  รโต

                    ธาเรติ  อนฺติมํ  เทหํ                 เชตฺวา  มารํ  สวาหนํ.

          ถ้าเป็นผู้มีอินทรีย์สมบูรณ์  สงบและยินดีในทางสงบแล้ว  จึงชื่อ

ว่าชนะมารพร้อมทั้งพาหนะ  ทรงไว้ซึ่งกายอันมีในที่สุด.

          (พุทฺธ)                                                ขุ.  อิติ.  ๒๕/๒๗๑.



         ๑๔๔.  สเจ  ภายถ  ทุกฺขสฺส                   สเจ  โว  ทุกฺขมปฺปิยํ

                     มา  กตฺถ  ปาปกํ  กมฺมํ                อาวี     วา  ยทิ  วา  รโห.

          ถ้าท่านกลัวทุกข์  ถ้าท่านไม่รักทุกข์,   ก็อย่าทำบาปกรรมทั้งใน

ที่แจ้งทั้งในที่ลับ.

          (พทฺธ)                                                ขุ.  อุ.  ๒๕/๑๕๐.





           














นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 49

                ๑๔๕.  สพฺพา  ทิสา  อนุปริคมฺม   เจตสา  

                            เนวชฺฌคา  ปิยตรมตฺตนา  กฺวจิ

                            เอวํ  ปิโย  ปุถุ  อตฺตา  ปเรสํ

                            ตสฺมา    หึเส  ปรํ  อตฺตกาโม.

        เราคิดค้นหาทุกทิศแล้ว  ก็ไม่พบผู้อื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตน

ในที่ไหน ๆ,  ถึงผู้อื่นก็มีตนเป็นที่รักมากอย่างนี้  เพราะฉะนั้น  ผู้รักตน

จึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น.

        (พุทฺธ)                                        สํ.  ส.  ๑๕/๑๐๙.

       

        ๑๔๖.  สลาภํ  นาติมญฺเญยฺย        นาญฺเญสํ  ปิหยญฺจเร

                   อญฺเญสํ  ปิหยํ  ภิกฺขุ        สมาธึ   นาธิคจฺฉติ.

        ไม่พึงดูหมิ่นลาภของตน   ไม่ควรเที่ยวปรารถนาลาภของผู้อื่น

ภิกษุปรารถนาลาภของผู้อื่น   ย่อมไม่บรรลุสมาธิ.

        (พุทฺธ)                                        ขุ.  ธ.  ๒๕/๖๕.



        ๑๔๗.  สาติเยสุ  อนสฺสาวี            อติมาเน    โน  ยุโต

                    สณฺโห    ปฏิภาณวา              สทฺโธ    วิรชฺชติ.

        ผู้ไม่ระเริงไปในอารมณ์ที่ชอบใจ  ไม่ประกอบในความดูหมิ่น

เป็นผู้ละเอียดเฉียบแหลม  ย่อมไม่เชื่อง่าย  ไม่หน่ายแหนง.

        (พุทฺธ)  ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๐๑.        ขุ.  มหา.  ๒๙/๒๗๙,๒๘๔.




นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 50

        ๑๔๘.     สารตฺตา  กามโภเคสุ        คิทฺธา  กาเมสุ  มุจฺฉิตา 

                      อติสารํ   พุชฺฌนฺติ         มจฺฉา  ขิปฺปํว  โอฑฺฑิตํ.

        ผู้ติดใจในการบริโภคกาม  ยินดีหมกมุ่นในกามทั้งหลาย  ย่อม

ไม่รู้สึกซึ่งความถลำตัว  เหมือนปลาถลันเข้าลอบที่เขาดักไว้ไม่รู้สึกตัว

ฉะนั้น.

        (พุทฺธ)                                                สํ.  ส.  ๑๕/๑๐๘.

       

         ๑๔๙.        สุปิเนน  ยถาปิ  สงฺคตํ

                          ปฏิพุทฺโธ  ปุริโส    ปสฺสติ

                          เอวมฺปิ  ปิยายิตํ  ชนํ

                          เปตํ  กาลกตํ    ปสฺสติ.

        คนผู้ตื่นขึ้นแล้ว   ย่อมไม่เห็นอารมณ์อันประจวบด้วยความฝัน

ฉันใด,  คนผู้อยู่ย่อมไม่เห็นชนอันตนรักทำกาละล่วงไปฉันนั้น.

        (พุทฺธ)   ขุ.  สุ.  ๒๕/๔๙๒.                ขุ.    มหา.  ๒๙/๑๕๑,๑๕๒.



        ๑๕๐.  เสหิ  ทาเรหิ  อสนฺตุฏฺโฐ              เวสิยาสุ  ปทุสฺสติ

                   ทุสฺสติ  ปรทาเรสุ                        ตํ  ปราภวโต  มุขั.

        ผู้ไม่สันโดษด้วยภริยาของตน  ย่อมซุกซนในหญิงแพศยา  และ

ประทุษร้ายในภริยาของคนอื่น,  นั่นเป็นเหตุแห่งความเสื่อม.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๔๘.




นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 51

                            ๑๔. ปุญญวรรค  คือ  หมวดบุญ  

      ๑๕๑.  อิธ  นนฺทติ  เปจฺจ  นฺนทติ         กตปุญฺโญ  อุภยตฺถ  นนฺทติ

            ปุญฺญํ  เม  กตนฺติ  นนฺทติ              ภิยฺโย  นนฺทติ  สุคตึ  คโต.

        ผู้ทำบุญแล้ว  ย่อมยินดีในโลกนี้  ตายแล้ว  ย่อมยินดี  ชื่อว่า

ย่อมยินดีในโลกทั้งสอง.   เขาย่อมยินดีว่าเราทำบุญไว้แล้ว  ไปสู่สุคติ

ย่อมยินดียิ่งขึ้น

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒/๑๗.

       

        ๑๕๒.  อิธ  โมทติ  เปจฺจ  โมทติ         กตปุญฺโญ  อุภยตฺถ  โมทติ

                    โส  โมทติ  โส  ปโมทติ         ทิสฺวา  กมฺมวิสุทฺธิมตฺตโน.

        ผู้ทำบุญแล้ว  ย่อมบันเทิงในโลกนี้  ละไปแล้ว  ย่อมบันเทิง

ชื่อว่าย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง,   เขาเห็นความบริสุทธ์แห่งกรรมของ

ตนแล้ว  ย่อมบันเทิงปราโมทย์.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๗.

       

        ๑๕๓.  ปุญฺญญฺเจ  ปุริโส  กยิรา             กยิราเถนํ  ปุนปฺปุนํ

                    ตมฺหิ  ฉนฺทํ  กยิราถ                  สุโข  ปุญฺญสฺส  อุจฺจโย.

        ถ้าบุรุษจะพึงทำบุญ  ควรทำบุญนั้นบ่อย ๆ  ควรทำความพอใจ

ในบุญนั้น  การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๐.




นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 52

        ๑๕๔.  มาวมญฺเญถ  ปุญฺญสฺส            มตฺตํ  อาคมิสฺสติ 

                    อุทพินฺทุนิปาเตน                   อุทกุมฺโภปิ  ปูรติ

                    อาปูรติ  ธีโร  ปุญญสฺส            โถกํ  โถกํปิ  อาจินํ.

        ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่า  มีประมาณน้อย  จัดไม่มาถึง,  แม้

หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตก  ฉันใด,    ผู้มีปัญญาสั่งสมบุญ

แม้ทีละน้อย ๆ  ย่อมเต็มได้ด้วยบุญ  ฉันนั้น.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๑.



        ๑๕๕.  สหาโย  อตฺถชาตสฺส          โหติ  มิตฺตํ  ปุนปิปุนํ

                    สยํ  กตานิ  ปุญญานิ          ตํ มิตฺตํ  สมฺปรายิกํ.

        สหายเป็นมิตรของคนผู้มีความต้องการเกิดขึ้นบ่อย ๆ,  บุญ

ทั้งหลายที่ตนทำเอง  บุญนั้นจะเป็นมิตรในสัมปรายภพ.

        (พุทฺธ)                                                สํ.  ส.  ๑๕/๕๑.



                  ๑๕.  มัจจุวรรค  คือ  หมวดความตาย

        ๑๕๖.  อจฺจยนฺติ  อโหรตฺตา             ชีวิตํ  อุปรุชฺฌติ

                   อายุ  ขีวติ  มจฺจานํ                กุนฺนทีนํว   โอทกํ.

        วันคืนย่อมล่วงไป  ชีวิตย่อมหมดเข้าไป  อายุของสัตว์ย่อม

สิ้นไป  เหมือนน้ำแห่งแม่น้ำน้อย ๆ ฉะนั้น.

        (พุทฺธ)  สํ.  ส.  ๑๕/๑๕๙.                        ขุ.  มหา.  ๒๙/๑๔๔.




นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 53

        ๑๕๗.  อปฺปมายุ  มนุสฺสานํ                 หิเฬยฺย  นํ  สุโปริโส   

                    จเรยฺยาทิตฺตสีโสว                     นตฺถิ  มจฺจุสฺส  นาคโม.

        อายุของมนุษย์มีน้อย  คนดีพึงดูถูกอายุนั้นเสีย  พึงประพฤติดุจ

คนที่ศีรษะถูกไฟไหม้  มฤตยูจะไม่มาถึงย่อมไม่มี.

        (พุทธ)  สํ.  ส.   ๑๕/๑๕๘.                ขุ.  มหา.  ๑๙/๑๔๓.



        ๑๕๘.  ทหรา    มหนฺตา               เย  พาลา  เย    ปณฺฑิตา

                    สพฺเพ  มจฺจุวสํ  ยนฺติ             สพฺเพ  มจฺจุปรายนา.

        ทั้งเด็ก  ทั้งผู้ใหญ่   ทั้งเขลา  ทั้งฉลาด  ล้วนไปสู่อำนาจแห่ง

ความตาย   ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า.

        (พุทฺธ)  นัย-  ที.  มหา.  ๑๐/๑๔๑.        ขุ.  สุ.  ๒๕/๔๔๘.



                ๑๕๙. น  อนฺตลิกฺเข    สมุทฺทมชฺเฌ

                            ปพฺพตานํ  วิวรํ  ปวีสํ

                            วิชฺชตี  โส  ชคติปฺปเทโส

                          ยตฺรฏฺฐิตํ  นปฺปสเหยฺย  มจฺจุ.

            จะอยู่ในอากาศ  อยู่กลางสมุทร   เข้าไปสู่หลืบเขา  ก็ไม่พ้นจาก

มฤตยูได้  ประเทศคือดินแดนที่มฤตยูจะไม่รุกรานผู้อยู่  ไม่มี.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๒.




นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 54

        ๑๖๐.  ปุปฺผานิ  เหว  ปจินนฺตํ                     พฺยาสตฺตมนสํ  นรํ 

                   อติตฺตํ  เยว  กาเมสุ                          อนฺตโก  กุรุเต  วสํ.

        ความตายย่อมทำคนเก็บดอกไม้  (กามคุณ)   มีใจข้องในอารมณ์

ต่าง ๆ  ไม่อิ่มในกาม  ไว้ในอำนาจ.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๑.



        ๑๖๑.  ยถา  ทณฺเฑน  โคปาโล        คาโว  ปาเชติ  โคจรํ

                  เอวํ  ชรา    มจฺจุ              อายํ  ปาเชนฺติ  ปาณินํ.

        ผู้เลี้ยงโค  ย่อมต้องฝูงโคไปสู่ที่หากินด้วยพลองฉันใด,  ความแก่

และความตาย  ย่อมต้อนอายุของสัตว์มีชีวิตไปฉันนั้น.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๓.



        ๑๖๒.  ยถาปิ  กุมฺภการสฺส             กตา  มตฺติกภาชนา

                    สพฺเพ  เภทปริยนฺตา          เอวํ  มจฺจาน  ชีวิตํ.

        ภาชนะดินที่ช่างหม้อทำแล้ว  ล้วนมีความแตกเป็นที่สุด  ฉันใด,

ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย  ก็ฉันนั้น.

        (พุทฺธ)                        นัย-ที.  มหา.  ๑๐/๑๔๑.  ขุ.  สุ.  ๒๕/๔๔๘.






นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 55

        ๑๖๓.      ยถา  วาริวโห  ปูโร             วเห  รุกฺเข  ปกูลเช

                      เอวํ  ชราย  มรเณน            วุยฺหนฺเต  สพฺพปาณิโน.

                ห้วงน้ำที่เต็มฝั่ง  พึงพัดต้นไม้ซึ่งเกิดที่ตลิ่งไปฉันใด,  สัตว์มี

ชีวิตทั้งปวง  ย่อมถูกความแก่และความตายพัดไปฉันนั้น.

        (เตมิยโพธิสตฺต)                        ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๑๖๔.



                            ๑๖. วาจาวรรค  คือ  หมวดวาจา



       ๑๖๔.  กลฺยาณิเมว  มุญฺเจยฺย                หิ  มุญฺเจยฺย  ปาปิกํ

                   โมกฺโข  กลฺยาณิยา  สาธุ      มุตฺวา  ตปฺปติ  ปาปิกํ.

        พึงเปล่งวาจางามเท่านั้น  ไม่พึงเปล่งวาจาชั่วเลย  การเปล่งวาจา

งามยังประโยชน์ให้สำเร็จ  คนเปล่าวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน.

        (พุทฺธ)                                        ขุ.  ชา.  เอก.  ๒๗/๒๘.



        ๑๖๕.  ตเมว  วาจํ  ภาเสยฺย        ยายตฺตานํ    ตาปเย

                   ปเร      วิหึเสยฺย        สา  เว  วาจา  สุภาสิตา.

        บุคคลพึงกล่าววาจาที่ไม่เป็นเหตุยังตนให้เดือดร้อน  และไม่เป็น

เหตุเบียดเบียนผู้อื่น,  วาจานั้นแล  เป็นสุภาษิต.

        (วงฺคีสเถร)                                 ขุ.  สุ.  ๒๕/๔๑๑.






นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 56

         ๑๖๖.      นาติเวลํ  ปภาเสยฺย             ตุณฺหี  สพฺพทา  สิยา

                       อวิกิณฺณํ  มิตํ  วาจํ                ปตฺเต  กาเล  อุทีริเย.

        ไม่ควรพูดจนเกินกาล  ไม่ควรนิ่งเสมอไป  เมื่อถึงเวลา  ก็ควรพูด 

พอประมาณ  ไม่ฟั่นเฝือ.

        (พุทฺธ)                                        ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๓๓๘.



        ๑๖๗.  ปิยวาจเมว  ภาเสยฺย          ยา  วาจา  ปฏินนฺทิตา

                    ยํ  อนาทาย  ปาปานิ        ปเรสํ  ภาสเต  ปิยํ.

        ควรกล่าววาจาที่น่ารักอันผู้ฟังยินดีเท่านั้น  เพราะคนดีไม่นำพา

คำชั่วของผู้อื่นแล้ว  กล่าวแต่คำไพเรา.

        (วงฺคีสเถร)                                ขุ.  สุ.  ๒๕/๔๑๒.



        ๑๖๘.  ปุริสสฺส  หิ  ชาตสฺส          กุธารี  ชายเต  มุเข

                   ยาย  ฉินฺทติ  อตฺตานํ        พาโล  ทุพฺภาสิตํ  ภณํ.

        คนที่เกิดมา  มีผึ่งเกิดอยู่ในปาก   คนโง่กล่าวคำไม่ดี  ก็ชื่อว่า

เอาผึ่งถากตัวเอง.

        (พุทฺธ)                                        องฺ.  ทสก.  ๒๔/๑๘๕.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 57

        ๑๖๙.  ยญฺหิ  กยิรา  ตญฺหิ  วเท                             ยํ    กยิรา    ตํ  วเท 

                  อกโรนฺตํ  ภาสมานํ                               ปริชานนฺติ  ปณิฑิตา.

        บุคคลทำสิ่งใด  ควรพูดสิ่งนั้น  ไม่ทำสิ่งใด  ไม่ควรพูดสิ่งนั้น,

บัณฑิตย่อมกำหนดรู้คนที่ไม่ทำ  ได้แต่พูด.

        (หาริตเถร)                                        ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๐๙.

       

        ๑๗๐.  โย  อตฺตเหตุ  ปรเหตุ               ธนเหตุ    โย  นโร

                    สกฺขิปุฏฺโฐ  มุสา  พฺรูติ           ตํ  ชญฺญา  วสโล  อิติ. 



        คนใด  ถูกอ้างเป็นพยาน  เบิกความเท็จ  เพราะตนก็ดี  เพราะ

ผู้อื่นก็ดี   เพราะทรัพย์ก็ดี  พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นคนเลว.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๕๐.



        ๑๗๑.  โย  นินฺทิยํ  ปสํสติ                     ตํ  วา  นินฺทติ  โย  ปสํสิโย

                   วิจินาติ  มุเขน  โส  กลึ             กลินา  เตน  สุขํ    วินฺทติ.

        ผู้ใดสรรเสริญคนควรติ  หรือติคนที่ควรสรรเสริญ,  ผู้นั้นย่อม

เก็บโทษด้วยปาก   เขาไม่ได้สุขเพราะโทษนั้น.

        (พุทธฺ)                                                องฺ.  จตุกฺก.  ๒๑/๔.




นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 58

        ๑๗๒.  สหสฺสมปิ  เจ  วาจา         อนตฺถปทสญฺหิตา 

                    เอกํ  อตฺถปทํ  เสยฺโย        ยํ  สุตฺวา  อุปสมฺมติ.

        ถ้ามีวาจาที่ประกอบด้วยข้อความซึ่งเป็นประโยชน์แม้ตั้งพัน,

ข้อความที่เป็นประโยชน์  บทเดียว  ที่ฟังแล้วสงบระงับได้  ประเสริฐ

กว่า.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๘.



                      ๑๗. วิริยวรรค  คือ  หมวดความเพียร

         ๑๗๓.  อปฺปเกนปิ  เมธาวี                ปาภเฏน  วิจกฺขโณ

                    สมุฏฐาเปติ  อตฺตานํ             อณํ  อคฺคึว  สนฺธมํ.

        ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด   ย่อมตั้งตนได้ด้วยต้นทุนแม้น้อย

เหมือนคนก่อไฟน้อยขึ้นฉะนั้น.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ชา.  เอก.  ๒๗/๒.



        ๑๗๔.  อโมฆํ  ทิวสํ  กริรา               อปฺเปน  พหุเกน  วา

                    ยํ  ยํ  วิวหเต  รตฺติ                ตทูนนฺตสฺส  ชีวิตํ.

        ควรทำวันคืนไม่ให้เปล่าจากประโยชน์น้อยหรือมาก  เพราะ

วันคืนผ่านบุคคลใดไป  ชีวิตของบุคคลนั้น  ย่อมพร่องจากประโยชน์

นั้น.

        (สิริมณฺฑเถร)                                        ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๓๕.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 59

        ๑๗๕.  อุฏฐาตา  กมฺมเธยฺเยสุ                     อปฺปมตฺโต  วิธานวา  

                    สมํ  กปฺเปติ  ชีวิตํ                           สมฺภตํ  อนุรกฺขติ.

        ผู้ขยันในหน้าที่การงาน  ไม่ประมาท  เข้าใจจัดการ  เลี้ยงชีวิตพอ

สมควร  จึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้.

        (พุทฺธ)                                        องฺ.  อฏฺฐก.  ๒๓/๒๙๘.



        ๑๗๖.  จกฺขุมา  วิสมานีว                วิชฺชมาเน  ปรกฺกเม

                   ปณฺฑิโต  ชีวโลกสฺมึ           ปาปานิ  ปริวชฺชเย.

        เมื่อความบากบั่นมีอยู่   บัณฑิตพึงเว้นบาปในโลกนี้เสีย  เหมือน

คนมีจักษุเว้นทางอันไม่เรียบร้อยฉะนั้น.

        (พุทฺธ)                                        ขุ.  อุ.  ๒๕/๑๔๙.



        ๑๗๗.  โย    วสฺสสตํ  ชีเว           กุสีโต   หีนวีริโย

                     เอกาหํ  ชีวิตํ  เสยฺโย         วิริยํ  อารภโต  ทฬฺหํ.

        ผู้เกียจคร้าน  มีความเพียรเลว  พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี  ส่วนผู้

ปรารภความเพียรมั่นคง  มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว  ก็ประเสริฐกว่า.



        (พุทฺธ)                                        ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๐.




นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 60

        ๑๗๘.  โย    สีตญฺจ  อุณฺหญฺจ                 ติณา  ภิยฺโย    มญฺญติ

                    กรํ  ปุริสกิจฺจานิ                            โส,  สุขา น  วิหายติ.

        ผู้ไม่สำคัญความหนาวและความร้อนให้ยิ่งไปกว่าหญ้า  ทำกิจ 

ของบุรุษ  ย่อมไม่เสื่อมจากความสุข.

        (พุทฺธ)                                                  ที.  ปาฏิ.  ๑๑/๑๙๙.



                        ๑๘.  สัทธาวรรค  คือ  หมวดศรัทธา

        ๑๗๙.  เอโกปิ  สทฺโธ  เมธาวี               อสฺสทฺธานํ    ญาตินํ

                    ธมฺมฏฺโฐ  สีลสมฺปนฺโน           โหติ    อตฺถาย  พนฺธุนํ.

        ผู้มีศรัทธา  มีปัญญา   ตั้งในธรรม  ถึงพร้อมด้วยศีล  แม้คน

เดียว   ย่อมเป็นประโยชน์แก่ญาติและพวกพ้องผู้ไม่มีศรัทธา.

        (ปสฺสิกเถร)                                        ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๐๖.



        ๑๘๐.  ทสฺสนกาโม  สีลวตํ                  สทฺธมฺมํ  โสตุมิจฺฉติ

                   วิเนยฺย  มจฺเฉรมลํ                      เว  สทฺโธติ  วุจฺจติ.

        ผู้ใด  ใคร่เห็นผู้ศีล  ปรารถนาฟังพระสัทธธรรม  กำจัดมลทิน

คือความตระหนี่ได้,  ผู้นั้นแล  ท่านเรียกว่าผู้มีศรัทธา.

        (พุทฺธ)                                                องฺ.  ติก.  ๒๐/๑๙๑.

                                                        

  


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 61

        ๑๘๑.  สทฺโธ  สีเลน  สมฺปนฺโน              ยโสโภคสมปฺปิโต 

                   ยํ  ยํ  ปเทสํ  ภชติ                        ตตฺถ  ตตฺเถว  ปูชิโต.

        ผู้มีศรัทธา  ประกอบด้วยศีล  เพียบพร้อมด้วยยศและโภคะ  จะ

ไปสู่ถิ่นใด ๆ  ก็มีคนบูชาในถิ่นนั้น ๆ.

        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  ๒๕/๕๕.

       

        ๑๘๒.  เย  นํ  ททนฺติ  สทฺธาย       วิปฺปสนฺเนน  เจตสา

                    ตเมว  อนฺนํ  ภชติ               อสฺมึ  โลเก  ปรมฺหิ  จ.

        คนใดมีใจผ่องใส  ให้ข้าวด้วยศรัทธา,  คนนั้นย่อมได้ข้าว  ทั้ง

ในโลกนี้  ทั้งในโลกหน้าเหมือนกัน.

        (พุทฺธ)                                                สํ.  ส.  ๑๕/๘๒.



                             ๑๙. สีลวรรค  คือ  หมวดศีล



        ๑๘๓.  อาทิ  สีลํ  ปติฏฺฐา          กลฺยาณานญฺจ  มาตุกํ

                    ปมุขํ  สพฺพธมฺมานํ        ตสฺมา  สีลํ  วิโสธเย.

        ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น   เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย

เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง  เพราะฉะนั้น  ควรชำระศีลให้บริสุทธิ์.

        (สีลวเถร)                                                ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๕๘. 


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 62

        ๑๘๔.  อวณฺณํจ  อกิตฺติญฺจ            ทุสฺสีโล  ลภเต   นโร

                   วณฺณํ  กิตฺตึ  ปสํสญฺจ            สทา  ลภติ  สีลวา. 

        คนผู้ทุศีลย่อมได้รับความติเตียนและความเสียชื่อเสียง  ส่วนผู้มี

ศีล  ย่อมได้รับชื่อเสียงและความยกย่องสรรเสริญทุกเมื่อ.

        (สีลวเถร)                                                ขุ.  เถร. ๒๖/๓๕๗.



        ๑๘๕.  อิเธว  กิตฺตึ  ลภติ                    เปจฺจ  สคฺเค    สุมโน

                   สพฺพตฺถ  สุมโน  ธีโร    สีเลสุ  สุสมาหิโต.

        ผู้มีปรีชา  มั่งคงดีแล้วในศีล  ย่อมได้รับชื่อเสียงในโลกนี้  ละไป

แล้  ย่อมดีใจในสวรรค์  ชื่อว่าย่อมดีใจในที่ทั้งปวง.

        (สีลวเถร)                                                ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๕๘.



        ๑๘๖.  อิเธว  นินฺทํ  ลภติ                              เปจฺจาปาเย    ทุมฺมโน

                   สพฺพตฺถ  ทุมฺมโน  พาโล      สีเลสุ  อสมาหิโต.

        คนเขลา  ไม่มั่นคงในศีล  ถูกติเตียนในโลกนี้  และละไปแล้ว

ย่อมเสียใจในอบาย  ชื่อว่าย่อมเสียใจในที่ทั้งปวง.

        (สีลวเถร)                                                ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๕๘.




นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 63

                ๑๘๗. กาเยน  วาจาย    โยธ  สญฺญโต

                           มนสา    กิญฺจิ    กโรติ  ปาปํ 

                             อตฺตเหตุ  อลิกํ  ภณาติ

                           ตถาวิธํ   สีลวนฺตํ  วทนฺติ. 

             ผู้ใดในโลกนี้  สำรวมทางกายวาจาและใจ  ไม่ทำบาปอะไร ๆ

และไม่พูดพล่อย  เพราะเหตุแห่งตน,  ท่านเรียกคนอย่างนั้นว่า

ผู้มีศีล.

        (สรภงฺคโพธิสตฺต)                ขุ.  ชา. จตฺตาฬีส.  ๒๗/๕๔๐.



                ๑๘๘. ตสฺมา  หิ  นารี    นโร  สีลวา

                           อฏฺฐงฺคุเปตํ  อุปวสฺสุโปสถํ

                              ปุญฺญานิ  กตาน  สุขุทฺริยานิ

                              อนินฺทิตา  สคฺคมุเปนฺติ  ฐานํ.

        เพราะฉะนั้น  หญิงและชายผู้มีศีล  รักษาอุโบสถประกอบด้วย

องค์    ทำบุญอันมีสุขเป็นกำหร  จึงไม่ถูกติเตียน  ย่อมเข้าถึงสถาน

สวรรค์.

        (พุทฺธ)                                        องฺ.  ติก.  ๒๐/๒๗๖.




นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 64

        ๑๘๙.    เวทา  สมฺปรายาย          ชาติ  นปิ  พนฺธวา 

                   สกญฺจ  สีลสํสุทธํ            สมฺปรายสุขาวหํ.

        เวทมนตร์  ชาติกำเนิด   พวกพ้อง  นำสุขมาให้ในสัมปรายภพ

ไม่ได้,  ส่วนศีลของตนที่บริสุทธิ์ดีแล้ว  จึงนำสุขมาในสัมปรายภพได้

        โพธิสตฺต)                                        ขุ.  ชา.  ปญฺจก.  ๒๗/๑๗๕.

       

        ๑๙๐.  พหุสฺสุโตปิ  เจ  โหติ        สีเลสุ  สุสมาหิโต

                  อุภเยน  นํ  ปสํสนฺติ        สีลโต    สุเตน  จ.

        ถ้าเป็นพหุสูต  มั่นคงดีในศีล  บัณฑิตย่อมสรรเสริญเขาด้วยคุณ

  ประการ  คือด้วยศีลและด้วยสุตะ.

        (พุทฺธ)                                        องฺ.  จตุกฺก. ๒๑/๙.



        ๑๙๑.  โย    วสฺสสตํ  ชีเว          ทุสฺสีโล  อสมาหิโต

                   เอกาหํ  ชีวิตํ  เสยฺโย        สีลวนฺตสฺส  ฌายิโน.

        ผู้ไม่มีศีล  ไม่มั่นคง  พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี,  ส่วนผู้มีศีล เพ่ง

พินิจ  มีชีวิตอยู่วันเดียว  ประเสริฐกว่า.

        (พุทฺธ)                                        ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๙.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 65

        ๑๙๒.  สีลเมวิธ  สิกฺเขถ                อสฺมึ  โลเก  สุสิกฺขิตํ

                   สีลํ  หิ  สพฺพสมฺปตฺตึ         อุปนาเมติ  เสวิตํ. 

        พึงศึกษาศีลในโลกนี้  เพราะศีลที่ศึกษาดีแล้วเสพแล้วในโลกนี้.

ย่อมน้อมนำมาซึ่งสมบัติทั้งปวง.

        (สีลวเถร)                                        ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๕๗.



        ๑๙๓.  สีลํ  รกฺเขยฺย  เมธาวี                ปตฺถยาโน  ตโย  สุเข

                   ปสํสํ  วิตฺติลาภญฺจ                   เปจฺจ   สคฺเค  ปโมทนํ.

        ผู้มีปัญญาเมื่อปรารถนาสุข    อย่าง  คือ  ความสรรเสริญ

ความได้ทรัพย์  และความละไปบันเทิงในสวรรค์  ก็พึงรักษาศีล.

        (สีลวเถร)                                        ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๕๗.



        ๑๙๔.  สีลวา  หิ  พหู  มิตฺเต         สญฺญเมนาธิคจฺฉติ

                   ทุสฺสีโล  ปน  มิตฺเตหิ         ธํสเต  ปาปมาจรํ.

        ผู้มีศีลย่อมได้มิตรมากด้วยความสำรวม  ส่วนผู้ไม่มีศีล  ประพฤติ

ชั่ว  ย่อมแตกจากมิตร.

        (สีลวเถร)                                        ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๕๗.


นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 66

                       ๒๐. เสวนาวรรค  คือ  หมวดคบหา 

        ๑๙๕.  อสนฺเต  นูปเสเวยฺย        สนฺเต  เสเวยฺย  ปณฺฑิโต

                      อสนฺโต  นิรยํ  เนนฺติ,        สนฺโต  ปาเปนฺติ  สุคตึ.

        บัณฑิตไม่พึงคบอสัตบุรุษ  พึงคบสัตบุรุษ  เพราะอสัตบุรุษย่อม

นำไปสู่นรก  สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ.

        (โพธิสตฺต)                                ขุ.  ชา.  วีส.  ๒๗/๔๓๗.



        ๑๙๖.  ตครํ  ว ปลาเสน                โย  นโร  อุปนยฺหติ

                  ปตฺตาปิ  สุรภี  วายนฺติ        เอวํ  ธีรูปเสวนา.

        คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้  แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด, การ

คบกับนักปราชญ์ก็ฉันนั้น.

        (โพธิสตฺต)                                ขุ.  ชา. วีส.  ๒๗/๔๓๗.



        ๑๙๗.    ปาปชนสํเสวี                อจฺจนฺตสุขเมธติ

                   โคธากุลํ  กกณฺฏาว            กลึ  ปาเปติ  อตฺตนํ.

        ผู้คบคนชั่ว  ย่อมถึงความสุขโดยส่วนเดียวไม่ได้,  เขาย่อมยังตน

ให้ประสบโทษ  เหมือนกิ้งก่าเข้าฝูงเหี้ยฉะนั้น.

        (โพธิสตฺต)                                ขุ.  ชา.  เอก.  ๒๗/๔๖.




นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 67

        ๑๙๘.    ปาปมิตฺเต  วิวชฺเชตฺวา            ภเชยฺยุตตมปุคฺคเล 

                     โอวาเท  จสฺส  ติฏฺเฐยฺย          ปตฺเถนฺโต  อจลํ  สุขํ.

         ผู้ปรารถนาความสุขที่มั่นคง  พึงเว้นมิตรชั่วเสีย  คบแต่บุคคล

สูงสุด  และพึงตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน.

        (วิมลเถร)                                                ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๐๙.



        ๑๙๙.  ปูติมจฺฉํ  กุสคฺเคน                โย  นโร  อุปนยฺหติ

                  กุสาปิ ปูติ  วายนฺติ                เอวํ  พาลูปเสวนา.

        คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา  แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วย

ฉันใด,  การคบกับคนพาลก็ฉันนั้น.

        (ราชธีตา)                                                ขุ.  ชา  มหา.  ๒๘/๓๐๓.



        ๒๐๐.  ยาทิสํ  กุรุเต  มิตฺตํ                  ยาทิสญฺจูปเสวติ,

                      โสปิ   ตาทิสโก  โหติ            สหวาโส  หิ  ตาทิโส.

คบคนเช่นใดเป็นมิตร  และสมคบคนเช่นใด,  เขาก็เป็นคนเช่น

นั้น  เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้น.

        (โพธิสตฺต)                                        ขุ.  ชา.  วีส.  ๒๓/๔๓๗.








นักธรรมโท - พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๒ - หน้าที่ 68

                ๒๐๑. สทฺเธน    เปสเลน 

                          ปญฺญวตา  พหุสฺสุเตน 

                          สขิตํ  หิ  กรยฺย  ปณฺฑิโต.

                          ภทฺโท  สปฺปุริเสหิ  สงฺคโม.

        บัณฑิต   พึงทำความเป็นเพื่อนกับคนที่ศรัทธา    มีศีลเป็นที่รัก

มีปัญญาและเป็นพหุสูต,  เพราะการสมาคมกับคนดี  เป็นความเจริญ.

        (อานนฺทเถร)                                        ขุ.  เถร.  ๒๖/๔๐๕.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น