วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วินัยมุขเล่ม ๒ นักธรรมโท หน้า ๑๒๘ ถึง ๑๔๑ กาลิก ๔


นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 128

                                      กัณฑ์ที่  ๑๙

                                         กาลิก ๔

           ของที่จะพึงกลืนให้ล่วงลำคอลงไป  ท่านเรียกว่ากาลิก  เพราะ

เป็นของที่กำหนดให้ใช้ชั่วคราว  จำแนกเป็น ๔  อย่าง.

           ของที่ให้บริโภคได้ชั่วคราว  ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน  เรียก

ยาวกาลิก ๑.

           ของที่ให้บริโภคได้ชั่วคราว  คือวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง  เรียก

ยามกาลิก ๑.

           ของที่ให้บริโภคได้ชั่วคราว  คือ ๗  วัน  เรียกสัตตาหกาลิก ๑.

           ของที่ให้บริโภคได้แสมอไป  ไม่มีจำกัดกาล  เรียกยาวชีวิก ๑.

           ชื่อว่ากาลิกนั้น  คงเพ่งเอาของ   อย่างข้างต้น  จะกล่าวให้

สิ้นเชิง  จึงยกเอาของที่ไม่ได้จัดเป็นกาลิกมากล่าวด้วย  เรียกว่า

ยาวชีวิก  แปลว่าของที่บริโภคได้ตลอดชีวิต   จึงรวมได้ชนิดเป็น ๔.

                                     ยาวกาลิก

           ของที่ใช้บริโภคเป็นอาหาร  จัดเป็นยาวกาลิก.  ตัวอย่างคือ

โภชนะทั้ง ๕  คือ  ข้าวสุกที่หุงจากธัญญชาติทั้งหลาย ๑  ขนมกุมมาส

เป็นของทำด้วยแป้งหรือด้วยถั่วงา  มีอันจะบูดเมื่อล่วงคืนแล้ว ๑

สัตตุ  คือขนมแห้ง  เป็นของไม่บูด ๑  ปลา ๑  เนื้อ ๑.  นมสด

นมส้ม  ก็จัดเข้าในโภชนะ  ในที่อื่นจากโภชนะ  ๕.  ขาทนียะ  ของ

ขบเคี้ยว  คือผลไม่และเง่ามีมันเป็นต้น  จัดเข้าในยาวกาลิกนี้.




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 129

           พืชที่ใช้เป็นมูลแห่งโภชนะนั้น  เป็น ๒  ชนิด  เรียกบุพพัณณะ ๑

อปรัณณะ ๑.  ธัญญชาติ  คือพืชมีกำเนิดเป็นข้าวทุกชนิด  ชื่อว่า

บุพพัณณะ  โดยอรรถว่าเป็นของจะพึงกินก่อน  แสดงไว้ในบาลี 

ชนิด   " สาลิ "   ข้าวสาล ๑   " วีหิ "   ข้าวเจ้า ๑   " ยโว "   ข้าว

เหนียว ๑    " โคธูโม "   ข้าวละมาน ๑   " กงฺคุ "   ข้าวฟ่าง ๑   " วรโก "

ลูกเดือย ๑   " กุทฺรูสโก "   หญ้ากับแก้ ๑.  ถั่วต่างชนิดและงา  ชื่อ

ว่า  อปรัณณะ  โดยอรรถว่าเป็นของจะพึงกินในภายหลัง  ในบาลี

หาได้แจกประเภทไว้ไม่.  พืช   อย่างนี้  เป็นมูลแห่งข้าวสุก  และ

ขนม   อย่าง.

           ปลานั้น  สงเคราะห์เอาสัตว์น้ำอย่างอื่น  เช่นกุ้งหอยและปูด้วย

ไม่มีชนิดที่กำหนดห้ามโดยกำเนิด.

           เนื้อนั้น  คือมังสะของสัตว์   เท้า   เท้า.  บางอย่างเป็นของ

ต้องห้ามโดยกำเนิด  เนื้อมนุษย์  ห้ามโดยกวดขัน  เป็นวัตถุแห่ง

ถุลลัจจัย  เลือดก็สงเคราะห์เข้าในเนื้อด้วยเหมือนกัน  เนื้อช้าง  เนื้อ

ม้า  เนื้อสุนัข  เนื้องู  เนื้อสีห์  เนื้อเสือโคร่ง  เนื้อเสือเหลือง  เนื้อหมี

เนื้อเสือดาว   ๙ นี้เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.  เนื้อที่เขาใช้กินเป็นพื้นบ้าน

พื้นเมือง  นอกจากที่ระบุชื่อไว้นี้  เป็นของไม่ห้ามโดยกำเนิด  แต่

ห้ามโดยความเป็นของดิบ  ยังไม่ได้ทำให้สุกด้วยไฟ.  แม้เนื้อที่เป็น

กัปปิยะโดยกำเนิด  และทำให้สุกแล้ว  แต่เป็นของที่เขาฆ่าสัตว์ลง

เพื่อเอาเนื้อทำโภชนะถวายภิกษุหรือสามเณร  เนื้อชนิดนี้  เรียกว่า

อุททิสสมังสะ  แปลว่า   เนื้อเจาะจง  เป็นของที่ห้ามเหมือนกัน  เป็น




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 130

วัตถุแห่งทุกกฏ.  ส่วนเนื้อแห่งสัตว์ที่เขาฆ่า  เพื่อเอามังสะขายเป็น

อาหารของคนพื้นเมือง  เรียกว่า  ปวัตตมังสะ แปลว่า  เนื้อมีอยู่แล้ว

หรือเขาฆ่าสัตว์เอามังสะทำโภชนะจำเพาะบางคนหรือบางพวกนอก

จากสหธรรมิก  หรือจำเพาะตัวเขาเอง  ไม่ชื่อว่าเป็นอุททิสสมังสะ

เขาเอาเนื้อเช่นนั้นแต่งโภชนะถวาย  ฉันได้ไม่เป็นอาบัติ.  เนื้อเป็น

อุททิสสมังสะ  ภิกษุไม่รู้  ฉันไม่เป็นอาบัติ  แม้ไม่ใช่อุททิสสมังสะ

แต่สำคัญว่าเป็นของเช่นนั้น  หรือสงสัยอยู่  ฉัน  ต้องทุกกฏ.  เนื้อ

อันบริสุทธิ์โดยส่วน ๓  คือ  ภิกษุไม่ได้เห็น  ไม่ได้ยิน  ไม่ได้สงสัย

ว่าเขาฆ่าเฉพาะ  ฉันไม่มีโทษ.  กล่าวในเนื้ออย่างใด  พึงรู้ในปลา

อย่างนั้นเถิด.

           การฉันปลาฉันเนื้อของภิกษุ  ได้เกิดเป็นปัญหาขึ้นเมื่อครั้ง

พุทธกาลแล้ว.  มีเรื่องเล่าว่า  พระเทวทัตต์ทูลขอพระศาสดา  เพื่อ

ทรงห้ามไม่ให้ภิกษุฉันปลาฉันเนื้อ  แต่มิได้อ้างเหตุว่าอย่างไร.  ทาง

ที่นำให้ปรารภนั้น  คือชะรอยจะรังเกียจว่า  เข้าลักษณะอำนวย

ปาณาติบาต  คือสมยอมให้เขาทำ.  ฝ่ายพระศาสดาไม่ทรงอำนวยตาม

ทรงอนุญาตปลาเนื้ออันบริสุทธิ์โดยส่วน   ดังกล่าวแล้วให้ภิกษุฉันได้.

ข้อที่ไม่ทรงอำนวยตามนั้น  เพราะไม่เป็นอำนวยปาณาติบาต  หรือ

เพราะถือจัดเกินไปกว่าภาวะของภิกษุไม่แจ้ง.  อันภิกษุเป็นผู้อาศัย

บิณฑบาตอันทายกเขาถวาย  จะเลือกโภชนะเกินไป  ก็ย่อมได้ความ

ฝืดเคือง  แม้หากเป็นการอำนวยปาณาติบาต  คือมีผู้กิน  ก็มีผู้ฆ่า

ถือก็เป็นการกว้างเกินไปดอกกระมัง  จึงทรงจำกัดพอเหมาะแก่ภาวะ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 131

ของภิกษุ.  พระเทวทัตต์ถือเอาการที่ไม่ทรงอำนวยตามในข้อนี้เป็น

สาเหตุประการหนึ่ง  แตกจากพระศาสดา.  ข้าพเจ้าเข้าใจว่า  มติ

ของพระเทวทัตต์นั้นมีผู้นับถือสืบมา  จึงมีธรรมเนียมฉันเจของพวก

อุตตรนิกาย.

           จำพวกของขบเคี้ยว  บางอย่างเป็นพืชคาม  เช่นผลไม่มีเม็ด

อาจเพาะเป็น  และเง่าก็ปลูกเป็นเหมือนกัน  การฉันผลไม่ของภิกษุ

ปอกเปลือกแล้ว  คงจะใช้กัดหรือขบเอาเป็นพื้น   จึงทรงอนุญาตให้

อนุปสัมบันทำให้เป็นกัปปิยะเสียก่อน ด้วยเอาไฟจี้ ด้วยเอามีดกรีด

หรือด้วยเอาเล็บจิก  ส่วนพืชที่ยังอ่อน  หรือเป็นของปล้อนเม็ดออกได้

ไม่ต้องทำกัปปิยะ.  จะให้เขาทำกัปปิยะ  ท่านแนะให้พูดว่า  จงทำให้

เป็นกัปปิยะ.

           ในของจำพวกนี้   ของที่เป็นอาหารได้แท้ ๆ  เป็นยาวกาลิกแท้

ส่วนของที่ใช้เป็นอาหารไม่ได้ตามลำพัง  เป็นแต่ใช้ประกอบเข้ากับ

ของอื่น จึงสำเร็จอาหารกิจ  เช่นผักต่าง ๆ  ถ้าเป็นของที่ใช้ประกอบ

เป็นอาหารอย่างเดียว  ท่านจัดเข้าในพวกยาวกาลิก ถ้าใช้ในทางอื่น

ได้ด้วย  สุดแล้วแต่จะประกอบในทางใด  ก็จัดเข้าในทางนั้น  ข้าพเจ้า

เห็นว่า  จัดเสมอกันตามคำหลังทั้งหมดเป็นดี  เพราะยากที่จะแบ่งลงว่า

อะไรเป็นอาหาร  อะไรไม่ใช่.

           ยาวกาลิกนี้  พ้นกำหนดเวลาแล้ว  ภิกษุฉันให้ล่วงลำคอ  ต้อง

อาบัติปาจิตติยะ ด้วยวิกาลโภชนสิกขาบท  รับประเคนแรมคืน

แล้ว ฉันในกาลแห่งวันรุ่งขึ้นเป็นต้นไป  ต้องอาบัติปาจิตติยะ  ด้วย




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 132

สันนิธิการสิกขาบท.

           เดิมทีดูเหมือนมีพระพุทธประสงค์จะให้ภิกษุเที่ยวแสวงหาภิกษา

ฉันเฉพาะวัน ๆ  ในภายหลังได้ทรงพบความขัดข้อง  ที่ท่านแสดงไว้

ในบาลีว่า  ในคราวเดินทางกันดาร  จึงได้ประทานพระพุทธานุญาต

ให้ภิกษุผู้จะเดินทาง  แสวงหาเสบียงเดินทาง  คือข้าวสาร  ถั่ว  เกลือ

น้ำอ้อย  น้ำมัน  และเนย  ตามต้องการ นอกจากนี้  ยังทรงอนุญาต

อีกว่า  คนผู้มีศรัทธาเลื่อมใส  มอบเงินทองไว้ในมือกัปปิยการก  สั่ง

ให้จัดของเป็นกัปปิยะถวายภิกษุ เธอจะยินดีของอันเป็นกัปปิยะที่

กัปปิยการกจับจ่ายมาด้วยเงินทองนั้นก็ได้  ไม่ตรัสว่า  เป็นอันยินดีเงิน

ทองนั้นโดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง.  ข้อนี้ควรจะเรียกว่า  เมณฑ-

กานุญาต  แปลว่า  ทรงอนุญาตปรารภเศรษฐีเมณฑกะผู้ถวายเป็น

เดิม  แต่ในบุพพสิกขาวัณณนาเรียกเมณฑกบัญญัติ.  ในอันจะเรียก

ของเป็นกัปปิยะจากกัปปิยการกด้วยอาการเช่นนี้  ควรเรียกไม่เกินมูลค่า

ที่เขามอบไว้.

           เมื่อทรงอนุญาตเพื่อแสวงหาเสบียงเดินทางได้แล้ว  ก็เป็นทาง

ที่จะทรงอนุญาตเสบียงวัดด้วยเหมือนกัน  ข้อนี้พึงสันนิษฐานเห็นใน

การที่ทรงอนุญาตกัปปิยภูมิ ๔  เพื่อเป็นที่เก็บของเช่นนั้น.   กัปปิย-

ภูมิ   นั้น  โดยชื่อ  คือ  อุสสาวนันติกา ๑   โคนิสาทิกา ๑   คหปติกา ๑

สัมมติกา ๑.

           อุสสาวนันติกานั้น  แปลว่า  กัปปิยภูมิที่ประกาศให้ได้ยินกัน

ได้แก่กุฎีที่ภิกษุทั้งหลายตั้งใจจะให้เป็นกัปปิยกุฎี  เรือนที่เก็บของ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 133

เป็นกัปปิยะ  คือเรือนครัวมาแต่แรก  เมื่อขณะทำ ช่วยกันยกเสา

หรือช่วยกันตั้งฝาทีแรก  ร้องประกาศว่า   " กปฺปิยกุฏึ  กโรม "   แปลว่า

" เราทั้งหลายทำกัปปิยกุฎี "    หน.

           โคนิสาทิกานั้น  แปลตามพยัญชนะว่า  กัปปิยภูมิดุจเป็นที่

โคจ่อม  ท่านอธิบายว่า  ได้แก่สถานที่อันไม่ได้ล้อม  แจกออกเป็น 

กำหนดเอาวัดที่ไม่ได้ล้อม  เรียกอารามโคนิสาทิกา ๑  กำหนดเอา

กุฏีที่ไม่ได้ล้อม  เรียกวิหารโคนิสาทิกา ๑  ท่านอธิบายดังนี้  คงหมาย

ความว่าเป็นสถานที่โคเข้าได้.  ฝ่ายข้าพเจ้ารับว่าไม่เข้าใจ  ทั้งยังไม่

สันนิษฐานแน่ลงไปว่า  ได้แก่กัปปิยภูมิเช่นไร.  เห็นอยู่อย่างหนึ่งว่า

ได้แก่เรือนครัวน้อย ๆ  ที่ไม่ได้ปักเสาตั้งอยู่กับที่ตั้งฝาบนคาน  ยก

เลื่อนจากที่ได้  เป็นโคนิสาทิกาได้กระมัง.

           คหปติกานั้น  แปลว่า  เรือนของคฤหบดี  ได้แกเรือนของ

คฤหัสถ์  ไม่ใช่ที่อยู่ที่ใช้ของภิกษุ.  ท่านอธิบายว่า  กุฎีที่คฤหัสถ์เขา

ทำถวาย  เพื่อให้เป็นกัปปิยกุฎี  จัดเข้าในกัปปิยภูมิชื่อนี้ด้วย.

           สัมมติกานั้น  แปลว่า  กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ  ได้แก่กุฎีที่

สงฆ์เลือกจะใช้เป็นกัปปิยกุฎี  แล้วสวดประกาศด้วยญัตติทุติยกรรม.

ในบาลี  แนะให้เลือกกุฎีอันอยู่ในที่สุดเขต  ก็คือจะให้เป็นที่ลี้ลับ.

ข้าพเจ้าเข้าใจว่า จะใช้กุฎีอันเคยเป็นที่อยู่ของภิกษุมาแล้วก็ได้  แต่

เมื่อใช้เป็นกัปปิยกุฎีแล้ว  ไม่ควรใช้เป็นที่อยู่อีก  ถ้าจะกลับใช้เป็น

่ที่อยู่ใหม่  ก็ต้องเลิกใช้เป็นกัปปิยกุฎีเสีย  กัปปิยกุฎีชนิดอื่นก็

เหมือนกัน.




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 134

           ยาวกาลิกที่เก็บไว้ในที่อยู่ที่ใช้ของภิกษุ แม้เป็นของสงฆ์  เป็น

อันโตวุฏฐะ  แปลว่า  อยู่ในภายใน  หุงต้มในนั้น  เป็นอันโตปักกะ

แปลว่า  สุกในภายใน  หุงต้มเอง  เป็นสามปักกะ  แปลว่า  ให้สุกเอง

ทั้ง ๓  อย่างนี้  เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ  ห้ามไม่ให้ฉัน.  ยาวกาลิกที่เก็บ

ไว้ในกัปปิยกุฎี  ไม่เป็นอันโตวุฏฐะ  หุงต้มในนั้น  ไม่เป็นอันโตปักกะ

แต่ทำเองในนั้น  คงเป็นสามปักกะ  ท่านห้ามแต่จะอุ่นของที่คนอื่น

ทำสุกแล้วท่านอนุญาต.

           กัปปิยภูมิเหล่านี้ ทรงอนุญาตไว้  เพื่อจะได้เก็บอาหารและ

หุงต้มเป็นที่ อย่างชาวบ้านเขามีครัวไฟฉะนั้น  แต่มีภิกษุบางเหล่าไม่

เข้าใจพระพุทธประสงค์ข้อนี้  เมื่อจะทำกุฎี  ก็อธิษฐานเป็นกัปปิยภูมิ

ด้วยแทบทุกหลังไป  ภิกษุเข้าอยู่ในกุฎีเหล่านั้น  ย่อมเก็บอาหาร

และหุงต้มในนั้น  ทำกุฎีให้มีกลิ่นและมีควันไฟจับไปทั้งนั้น  เป็น

ที่น่ารังเกียจของผู้ไปถึงที่นั้น.




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 135

                                      ยามกาลิก

           ปานะ  คือน้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นออกจากน้ำลูกไม้  เรียกว่ายาม-

กาลิก  แสดงไว้ในบาลี   ชนิด  คือ   " อมฺพปานํ "   น้ำมะม่วง ๑

" ชมฺพุปานํ "   น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า ๑   " โจจปานํ "   น้ำกล้วยมีเม็ด ๑

" โมจปานํ "   น้ำกล้วยไม่มีเม็ด ๑   " มธุกปานํ "   น้ำมะซาง ๑

" มุทฺทิกปานํ "   น้ำลูกจันทน์หรือองุ่น ๑   " สาลุกปานํ "   น้ำเง่าอุบล ๑

" ผารุสกปานํ "   น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่ ๑.

           วิธีทำปานะ  ปอกหรือคว้านผลไม้เหล่านี้ที่สุก  เอาผ้าห่อ  บิดผ้า

ให้ตึง  อัดเนื้อผลไม้ให้คายน้ำออกจากผ้า  เติมน้ำลงให้พอดี  ประกอบ

ของอื่นเป็นต้นว่าน้ำตาลและเกลือพอเข้ารส.  ผลไม้อื่นไม่เติมน้ำก็ได้

แต่ผลมธุกะที่แปลว่า   มะซาง  ท่านว่าเป็นของล้วน  ไม่ควร.

เจือน้ำจึงควร.  ถ้าเป็นมะซางแท้  จะเป็นเลือกหรือคั้นไม่ออก

กระมัง.  ปานะนี้  ให้ใช้ของสด  ห้ามมิให้ต้มด้วยไฟ  เป็นของที่

อนุปสัมบันทำ  จึงควรในวิกาลเป็นของอันภิกษุทำ  ท่านว่ามีคติ

อย่างยาวกาลิก  เพราะรับประเคนทั้งผล.  ของที่ใช้ประกอบ  เป็นต้น

ว่าน้ำตาลและเกลือ  ห้ามไม่ให้เอาของที่รับประเคนไว้ค้างคืนมาใช้

กล่าวโดยใจความว่า  ปานะนี้  เพ่งเอาของที่อนุปสัมบันทำถวาย

ด้วยของเขาเอง.  เหตุไฉนท่านจึงห้ามปานะสุกด้วยไฟ  ได้ให้ต้มพิสูจน์

ดู  ปานะสุกด้วยไฟนั้น  สิ้นโอชารสของปานะ  เป็นอย่างน้ำตาลสด

อุ่นไฟ  ส่วนน้ำมะม่วง  สุกแล้วข้นมาก  มีคติเป็นแป้งเปียกเหลว ๆ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 136

ถ้าท่านห้ามปรารภเหตุว่าเป็นอย่างน้ำตาลสดอุ่น  คงถือว่าเป็นผาณิต

ที่ไม่ได้อนุญาตไว้ในบาลี  ถ้าปรารภน้ำมะม่วงหรือน้ำอื่นเช่นเดียวกัน

อันสุกแล้วข้นมาก  คงรังเกียจข้างเป็นอาหารเหลว.  ปรารภข้อต้น

มีมหาปเทสเป็นเครื่องแก้  เพราะอนุโลมของเป็นกัปปิยะ  ทั้งยังไม่

เป็นผาณิตโดยนัยอันจะกล่าวในสัตตาหกาลิก.  ปรารภข้อหลังในบาลี

ไม่ได้ห้ามน้ำสุก  ฉันน้ำสดหรือน้ำสุก โอชารสคงแผ่นไปเลี้ยงกาย

ได้เท่ากัน  เห็นว่าปานะนี้ เป็นของทรงอนุญาตพิเศษเฉพาะวัตถุ  แม้

สุกก็ไม่น่ารังเกียจ.

           ยามกาลิกนี้  ล่วงกำหนดคืนหนึ่ง  ท่านห้ามไม่ให้ฉัน  ปรับเป็น

อาบัติทุกกฏ.  ข้าพเจ้าเข้าใจว่า  น้ำผลไม้นั้น  มีรสหวานเจืออยู่

ด้วย  ทั้งแทรกน้ำตาลด้วย  ล่วงคืนไปแล้ว  มีคติแปรเป็นรสเมากลาย

เป็นเมรัย.

                                    สัตตาหกาลิก

           เภสัช ๕  อย่าง  คือ  เนยใส  เนยข้น  น้ำมัน  น้ำผึ้ง  น้ำอ้อย

จัดเป็นสัตตาหกาลิก.  ของเหล่านี้  ท่านเรียกว่าเภสัช  โดยอรรถ-

ว่า  เป็นยาแก้โรคผอมเหลืองหรือกระษัย  อันเกิดชุมในสารทฤดู,

อธิบายในเภสัช ๕  นี้  พึงรู้โดยนัยอันกล่าวแล้วในสิกขาบทที่ ๓  แห่ง

ปัตตวรรค  ในนิสสัคคิยกัณฑ์เนยใส  เนยข้น  ย่อมเป็นของที่ภิกษุ

ทำเองไม่ได้  ส่วนน้ำมันนั้น  ทรงอนุญาตเป็นพิเศษ  เพื่อรับประเคน

มันเปลวแห่งสัตว์เจียวให้เป็นน้ำมันได้  แต่ให้รับให้เจียว  และให้

กรองเสร็จในกาลคือเช้าชั่วเที่ยง  จึงใช้ได้  ถ้าทำนอกกาลหรือคาบ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 137

กาล ห้ามไม่ให้ฉัน  จัดเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ  ทุกกิจการที่ทำในวิกาล

ถ้าทำในวิกาลทั้ง ๓ อย่าง  เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ   สถาน  ทำ   อย่าง

เช่นรับในเช้า  เจียวและกรองในบ่าย  เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ ๒  สถาน

ถ้าเป็นแต่กรองในวิกาล เป็นวัตถุแห่งทุกกฏสถานเดียว.  เปลวสัตว์

ที่ออกชื่อไว้ในบาลีมี   คือ  เปลวหมี  เปลวปลา  เปลวปลาฉลาม

เปลวหมู  เปลวลา  ชื่อว่าเป็นอันทรงอนุญาตทั้งเปลวสัตว์มีมังสะเป็น

กัปปิยะ  และเปลวสัตว์มีมังสะเป็นอกัปปิยะ  ยกของมนุษย์เสีย  น้ำมัน

ที่สกัดออกจาพืชอันมีกำเนิดเป็นยาวกาลิก  มีเม็ดงาเป็นตัวอย่าง

ภิกษุทำเอง  มีคติอย่างยาวกาลิก   ตั้งแต่วิกาลแห่งวันที่ทำไป  ท่าน

ห้ามไม่ให้ฉัน.  น้ำมันที่สกัดจากพืชอันมีกำเนิดเป็นยาวชีวิก  มีเม็ด

พรรณผักกาดเป็นตัวอย่าง  ท่านอนุญาตให้ภิกษุทำได้เอง.  ถือเอา

เรื่องเจียวมันเปลวเป็นตัวอย่าง  ข้าพเจ้าปรารถนาจะเข้าใจว่า  ปานะ

ก็ดี  น้ำมันก็ดี  อันภิกษุรับประเคนทั้งวัตถุ  ทำเสร็จในกาลให้เป็นของ

ปราศจากวัตถุ  น่าจะใช้ให้ตลอดคราวของกาลิกนั้น    แต่ท่านเข้าใจ

แคบไปว่า  ทรงอนุญาตเฉพาะมันเปลวเท่านั้น.  ข้อนี้พึงเทียบใน

มหาปเทสอันกล่าวไว้ในข้างหน้า.  น้ำผึ้ง  เป็นของที่ไม่ได้ทำเอง  ไม่

ต้องกล่าวถึง.  น้ำอ้อย  เป็นของที่อนุปสัมบัตทำกรองหมดกากแล้ว

จึงใช้ได้ในวิกาล   ที่ภิกษุทำ  รับทั้งวัตถุคือลำอ้อย  มีคติอย่าง

ยาวกาลิก  ท่านห้ามมิให้ฉันในวิกาล  รับประเคนน้ำอ้อยสดมาเคี่ยว

ท่านอนุญาต  ได้มีปัญหาในระหว่างพระอาจารย์ทั้งหลายว่า  น้ำ

อ้อยสด  เป็นยามกาลิกหรือสัตตาหกาลิก  โดยมาก  ลงสันนิษฐาน




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 138

ว่า  เป็นสัตตาหกาลิก.  ข้าพเจ้าเข้าใจว่า  น้ำอ้อยที่เรียกว่าผาณิต

จัดเข้าในสัตตาหกาลิกนั้น  เป็นของที่ทำแข้นแล้ว  หรือเหลวแต่เคี่ยว

จนงวด  ไม่กลายเป็นเมรัยแล้ว  ส่วนน้ำอ้อยสดที่อาจกลายเป็นเมรัย

ได้  ควรจัดเข้าในยามกาลิก  ถ้าไม่เข้าใจหลักนี้  คงได้ดื่มเมรัยเข้า

บ้างเป็นแน่.  ผาณิตที่แข้น  ภิกษุผู้ไม่อาพาธ  พึงละลายน้ำฉัน  ภิกษุ

ผู้อาพาธฉันได้ทั้งแข้น.

           สัตตาหกาลิกที่ภิกษุไม่ได้ทำเอง  รับประเคนในเช้า  ฉันแม้กับ

อาหารในวันนั้นก็ได้  ตั้งแต่วิกาลแห่งวันนั้นไป  ฉันกับอาหารไม่ได้

ฉันได้โดยฐานเป็นเภสัชตลอดกาล  ล่วงคราวคือ   วันแล้วไป  เป็น

นิสสัคคิยะ  ภิกษุต้องปาจิตติยะ  ด้วยสิกขาบทที่ ๓  แห่งปัตตวรรค

ในสิสสัคคิยกัณฑ์  ฉันเภสัชที่เป็นนิสสัคคิยะ  ต้องทุกกก.

                                           ยาวชีวิก

           ของที่ให้ประกอบเป็นยา  นอกจากกาลิก   อย่างนั้น  จัดเป็น

ยาวชีวิก  มีประเภทแสดงไว้ในบาลี  ดังต่อไปนี้ :-

           ๑.  รากไม้เรียกว่ามูลเภสัช  เช่น   " หลิทฺทํ "   ขมิ้น   " สิงฺคเวรํ "

ขิง   " วจํ "   ว่านน้ำ   " วจตฺถํ "   ว่านเปราะ   " อติวิสํ "   อุตพิด   " กฏุก-

โรหิณี "   ข่า   " อุสิรํ "   แฝก   " ภทฺทมุตฺตกั "   แห้วหมู.

           ๒.  น้ำฝาด  เรียก  กสาวเภสัช  เช่น   " นิมฺพกสาโว "   น้ำฝาด

สะเดา   " กุฏชกสาโว "   น้ำฝาดมูกมัน   " ปโฏลกสาโว "   น้ำฝาด

กระดอม  หรือมูลกา   " ปคฺควกสาโว "   น้ำฝาดบอระเพ็ด  หรือพญา

มือเหล็ก   " นคฺคมาลกสาโว "   น้ำฝาดกระถินพิมาน.




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 139

           ๓.  ใบไม้  เรียก   ปัณณเภสัช   " นิมฺพปณฺณํ "   ใบสะเดา

" กุฏชปณฺณํ "   ใบมูกมัน   " ปโฏลปณฺณํ "   ใบกระดอม  หรือมูลกา

" คุลสิปณฺณํ "   ใบกะเพรา  หรือแมงลัก   " กปฺปาสิกปณฺณํ "   ใบฝ้าย.

           ๔.  ผลไม้  เรียก  ผลเภสัช  เช่น   " วิลงฺคํ "   ลูกพิลังกาสา

" ปิปฺผลิ "   ดีปลี   " มริจํ "   พริก   " หรีตกี "   สมอไทย   " วิเภตกํ "

สมอพิเภก   " อามลกํ "   มะขามป้อม   " โกฏฺฐผลํ "   ผลแห่งโกฐ.

           ๕.  ยางไม้  เรียก  ชตุเภสัช  เช่น   " หิงฺคํ "   เป็นยางชนิดหนึ่ง

ท่านกล่าวว่าไหลออกจากต้นหิงคุ์   " หิงฺคุชตุ "   ยางชื่อเดียวกัน  ท่าน

กล่าวว่าเคี่ยวออกจากก้านและใบแห่งต้นหิงคุ์   " หิงฺคุสิปาฏิกา "   เป็น

ยางชื่อเดียวกัน  ท่านกล่าวว่าเคี่ยวจากใบหิงคุ์  หรือเจือของอื่นด้วย

  นี้เป็นชนิดมหาหิงคุ์   " ตกฺกํ "   เป็นยางไหลออกจากยอดไม้ชนิด

หนึ่ง   " ตกฺกปตฺติ "   ยางชนิดเดียวกัน  ว่าไหลออกจากใบแห่งไม้

ชนิดนั้น   " ตกฺกปณฺณิ "   ยางชนิดเดียวกัน  ว่าเอาใบมาคั่วออก

บ้าง  ไหลออกจากก้านบ้าง   อย่างนี้ไม่รู้ว่าอะไร   " สชฺชุลสํ "

กำยาน.

           ๖.  เกลือ  เรียก  โลณเภสัช  เช่น   " สามุทฺทิกํ "   เกลือแห่ง

น้ำทะเล   " กาฬโลณํ "   เกลือดำ  [ ดีเกลือกระมัง ]   " สินฺธวํ "   เกลือ

สินเธาว์  เป็นเกลือเกิดบนดินในที่ดอน เขาเก็บมาหุง  ว่าสีขาว

" อุพภิทํ "   เกลือที่เขาเอาดินโป่งมาเคี่ยวทำขึ้น   " วิลํ "   เป็นเกลือ

ชนิดหนึ่งเขาปรุงสัมภาระต่าง ๆ  หุงขึ้น  ว่าสีแดง.

           ยังรากไม้  น้ำฝาด  ใบไม้  ผลไม้  ยางไม้  เกลืออย่างอื่นอีก




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 140

อันไม่สำเร็จอาหารกิจ  คือเขาไม่ได้ใช้เป็นอาหาร  ใช้เป็นยา  จัด

เป็นยาวชีวิกทั้งนั้น.

           ในบาลีทรงอนุญาตเภสัชเหล่านี้  ลงท้ายว่าต่อมีเหตุจึงให้บริโภค

ได้  เมื่อเหตุไม่มี  บริโภคเป็นทุกกฏ.  ส่วนในบาลีทรงอนุญาต

ยามกาลิกและสัตตาหกาลิกหามีเช่นนี้ไม่  นิทานต้นอนุญาตปานะ

เล่าเรื่องเกณิยชฎิล  คิดเห็นว่า  ฤษีผู้มีชื่อเสียงทั้งหลาย  ผู้เว้นจาก

วิกาลโภชน์ยังดื่มน้ำปานะ  พระผู้มีพระภาคเจ้าก็น่าจะเสวยบ้าง  จึง

ทำน้ำปานะไปถวาย  พระองค์ก็เสวย  และตรัสให้ภิกษุสงฆ์ฉัน  แล้ว

ทรงอนุญาตน้ำปานะ.  ในภิกษุสงฆ์นั้น  คงไม่มีเหตุจะฉันทุกรูปไป

นี้แปลว่าไม่จำกัดเหตุจริง ๆ.  แต่ในวิภังค์แห่งสันนิธิการสิกขาบทที่ ๘

แห่งโภชนวรรคในปาจิตติยกัณฑ์  กลืนกินเพื่อเป็นอาหาร  ท่าน

ปรับเป็นทุกกฏทั้ง ๓  อย่าง  แต่ของชวนบริโภคกว่า  ยังไม่กวดขัน

เหตุไฉนจึงกวดขันในยาวชีวิกอันเป็นของพึงเบื่อหน่าย  ไม่มีเหตุ  ใคร

เลยจักปรารถนาเพื่อบริโภค  ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ยาวชีวิกที่เป็นของ

ล่วงคราว  เป็นเหตุปรับอาบัติแก่ภิกษุผู้ฉันหามีไม่ ท่านจะหาทาง

ปรับอาบัติไว้บ้างกระมัง  จึงจำกัดไว้ให้ฉันได้ต่อมีเหตุ  แต่เป็นการ

กวดขันเกินอย่างนี้.  นี้เป็นฐานะอันนักวินัยจะพึงพิจารณา.  เป็นบาลีออก

จากพระโอษฐ์พระศาสดาละหรือ ?

                                       กาลิกระคนกัน

           กาลิกบางอย่าง  ระคนกับกาลิกอีกบางอย่าง  มีกำหนดให้ใช้ได้

ชั่วคราวของกาลิกมีคราวสั้น  อุทาหรณ์เช่นยาผง  เป็นยาวชีวิกไม่




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 141

กำจัดคราว เอาคลุกกับน้ำผึ้งเป็นกระสาย  น้ำผึ้งมีคราวชั่ว   วัน

ยานั้นก็พลอยมีคราวชั่ว ๗  วันไปด้วย.  เครื่องเทศ  เช่นกระวาน

กานพลู  ลูกผักชี  อบเชย  เป็นยาวชีวิก  เขาปรุงกับข้าวสุกที่หุง

ด้วยกะทิ  มีคติกลายเป็นยาวกาลิกตาม.

           สัตตาหกาลิกและยาวชีวิกที่รับประเคนแรมคืนไว้แล้ว  ท่าน

ห้ามมิให้เอาไปปนกับยาวกาลิก  เช่นจะเอาน้ำตาลที่รับประเคนแรม

คืนไว้แล้วฉันกับขนมครก  ท่านห้าม ในสัตตสติกขันธกะ ว่าด้วยทำ

ทุติยสังคายนา  คัมภีร์จุลวรรค  ท่านปรับเป็นปาจิตติยะเพราะฉันของ

เป็นสันนิธิ  เจือในน้ำปานะดื่ม  ใช้ได้หรือไม่  เข้าใจไม่ถนัด  พบแต่

ท่านกล่าวคติของยาวกาลิกว่าล่วงคืนเป็นสันนิธิ  ท่านปรับผู้ฉันเพียง

ทุกกฏ  ไม่ถึงปาจิตติยะ  แต่เอาเกณฑ์อะไรมาปรับ  ข้าพเจ้าไม่เข้าใจ

ถ้าอนุโลมตามนี้  ก็คงปรับเป็นทุกกฏ.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น