วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วินัยมุขเล่ม ๒ นักธรรมโท หน้า ๑๑๔ ถึงหน้า ๑๒๗ อุปปถจริยา


นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 114

                                    กัณฑ์ที่  ๑๘

                                    อุปปถกิริยา

           ในกัณฑ์นี้จักแสดงการทำนอกรีตนอกรอยของสมณะ  ที่เรียก

ไว้ว่า  อุปปถกิริยา.  จำแนกออกโดยประเภทเป็น   คือ  อนาจาร ๑

ปาปสมาจาร ๑  อเนสนา ๑.  ความประพฤติไม่ดีไม่งาม  และเล่นมี

ประการต่าง ๆ  จัดเข้าในอนาจารความประพฤติเลวทราม  จัดเข้า

ในปาปสมาจารความเลี้ยงชีพไม่สมควร  จัดเข้าในอเนสนา.

                                      อนาจาร

           ๑.  เล่นอย่างเด็ก  แสดงไว้ในบาลี  เล่นของ  เช่น  เล่นเรือน

น้อย ๆ  รถน้อย ๆ  เรือน้อย ๆ  ธนูน้อย ๆ  เล่นการ  เช่น  เล่นตวง

ทราย  ผิวปาก  เลียนคนตาบอด  คนง่อย  เป็นต้น.

           ๒.  เล่นคะนอง  แสดงไว้ในบาลี  เช่น  หกคะเมน  ปล้ำกัน

ชกกัน  วิ่งผัดช้างผัดม้า  ขว้างปาอะไรเล่น.

           ๓.  เล่นพนัน  คือมีได้มีเสีย  มีชนะมีแพ้  มีถูกมีผิด  แสดง

ไว้ในบาลี  เช่นหมากรุก  หมากไหว  หมากแยก  [ คือที่ใช้แจงเบี้ย ]

สกา  ขลุบหรือคลี  เล่นทายกัน.

           ๔.  เล่นปู้ยี่ปู้ยำ  คือ  ทำความเสียหายให้แก่ผู้อื่น.  ในบาลีแสดง

ตัวอย่างไว้  เช่นจุดป่าเล่น.

           ๕.  เล่นอึงคะนึง  ในบาลีแสดงตัวอย่างไว้  เช่นแสดงธรรม

ด้วยเสียงขับอันยาว  การสวดพระธรรมและการเทศนาตลกคะนอง




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 115

นับเข้าในข้อนี้.

           การเล่นดังว่ามานี้  ที่ไม่มีปรับโทษสูงกว่า  ปรับเป็นอาบัติ

ทุกกฏเสมอกัน.

           การร้อยดอกไม่  ท่านก็ห้าม.  นี้มีการร้อยดอกไม้ให้กุลสตรี

เป็นมูล  ภายหลังกลายมาเป็นธรรมเนียม.  ในบาลีแสดงปุปผวิกัติ

[ ดอกไม้ที่ทำให้หลาก ]  ๖ ชนิดไว้  เพื่อกำหนดรู้  อาการร้อยดอกไม้

ดังนี้ :-

           ๑.  " คนฺถิมํ "   ร้อยตรึง  ได้แก่ดอกไม้ที่เรียกว่าระเบียบ  เขา

เอาดอกมะลิเป็นต้น  เสียบเข้าในระหว่างใบตองอันเจียนไว้  แล้วตรึง

ให้ติดกันโดยรอบ  แล้วร้อยประสมเข้ากับอย่างอื่นเป็นพวง  เช่น

พวกภู่ชั้นเป็นตัวอย่าง.  เอาดอกไม้สีต่าง ๆ  ตรึงบนพื้นใบตองเป็นลาย

ที่เรียกว่าแบบสีสำหรับทำพวง  กลิ่นสี  ก็นับเข้าในชนิดนี้.

           ๒.  " โคปฺผิมํ "   ร้อยควบหรือร้อยคุม  ได้แก่ดอกไม้ที่ร้อยเป็น

สาย ๆ  แล้วควบหรือคุมเข้าเป็นพวง  เช่นพวงอุบะ  สำหรับห้อย

ปลายภู่หรือสำหรับห้อยตามลำพัง  และพวงภู่สาย เป็นตัวอย่าง.

           ๓.  " เวธิมํ "   ร้อยแทงหรือร้อยเสียบ  ได้แก่ดอกไม้ที่ร้อย

สวมดอก  เช่นสายแห่งอุบะ  หรือพวงมาลัยบางอย่าง  เช่นพวง

มาลัยดอกปีบและดอกกรรณิกา  และได้แก่ดอกไม้ที่ใช่เสียบไม้  เช่น

พุ่มดอกพุทธชาติ  พุ่มดอกบานเย็น  เป็นตัวอย่าง.

           ๔.  " เวถิมํ "   ร้อยพันหรือร้อยผูก  ได้แก่ช่อดอกไม้และกลุ่ม

ดอกไม้ที่เขาเอาไม้เสียบก้านดอกไม้แล้วเอาด้ายพันหรือผูกทำขึ้น.




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 116

           ๕.  " ปุริมํ "   ร้อยวง  ได้แก่ดอกไม้ที่ร้อยสวมดอก หรือร้อย

แทงก้านเป็นสาย  แล้วผูกเข้าเป็นวง  นี้คือพวงมาลัย.

           ๖.  " วายิมํ "   ร้อยกรอง  ได้แก่ดอกไม้ที่ร้อยถักเป็นตาเป็นผืน

นี้เรียกว่าตาข่าย.

           ปุปผวิกัติ ๖  เหล่านี้  แสดงอาการร้อยดอกไม้ละอย่าง ๆ  แต่

ปุปผวิกัติบางอย่าง  สำเร็จด้วยอาการอย่างเดียว  เช่นพุ่มดอกไม้บานเย็น

ใช้เสียบเท่านั้น บางอย่างสำเร็จด้วยอาการกว่าอย่างเดียว  เช่นพวง

มาลัย  ใช้ร้อยแทงแล้ววงเข้าเป็นพวง.

           พวกภิกษุไม่รู้จักการร้อยดอกไม้  จึงแก้เรื่องนี้ฟังไม่ได้  ตั้งแต่

ในอรรถกถาตลอดจนในบุพพสิกขาวัณณนา  ปรับอาบัติยิบยับไป

หมด  จนมัดก้านดอกบัวเข้าเป็นกำ  และแขวนตาข่ายรอบธรรมาสน์

ข้าเจ้าปรารถนาจะนำความเข้าใจให้ถูก  จึงอธิบายปุปผวิกัติ   ใน

บาลีไว้ในที่นี้.

           ข้อ ๑.  ท่านห้ามมิให้เรียน  ไม่ให้บอกดิรัจฉานวิชา.  อะไร

เป็นดิรัจฉานวิชา  ควรอธิบาย.  เป็นธรรมเนียมของเจ้าลัทธิทั้งหลาย

ยกย่องเชิดชูแต่ลัทธิของตน  หมิ่นลัทธิของคนอื่นว่าเลวทราม  ติเตียน

เสียอย่างสบเสีย  เรียกว่าความรู้ของสัตว์ดิรัจฉาน  และห้ามไม่ให้

เรียน  ไม่ให้บอกกัน.  ข้อนี้ทำให้ผู้ถือลัทธินั้น  รู้เฉพาะในทางเดียว.

ไม่ได้ใช้ญาณให้กว้างขวาง  มีความรู้สั้น.  ในพระพุทธศาสนาก็มี

ห้ามเช่นนี้เหมือนกัน จะมีมาแต่ครั้งพุทธกาลหรือเกิดขึ้นเมื่อภายหลัง

ข้าพเจ้าของดจากออกมติไว้ที.  พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นแก้ศาสนา




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 117

พราหมณ์  พวกภิกษุในภายหลังถูกห้ามไม่ให้เรียนลัทธิพราหมณ์

จึงมีความรู้แคบ  แม้ในพระพุทธศาสนานี้เอง  เพราะไม่มีญาณจะ

เปรียบเทียบกันได้.  ดิรัจฉานวิชานั้น  ดูเหมือนท่านแก้ครอบทั่วไป

ทุกอย่าง  อันไม่เกี่ยวกับธรรมของภิกษุ  จักแสดงพอเห็นเป็นทาง

ปฏิบัติพอดีพองามในบัดนี้.

           ๑.  ความรู้ในการทำเสน่ห์  เพื่อให้ชายนั้นหญิงนี้รักกัน.

           ๒.  ความรู้ในการทำให้ผู้นั้นผู้นี้ถึงความวิบัติ.

           ๓.  ความรู้ในทางใช้ภูตผีอวดฤทธิ์เดชต่าง ๆ.

           ๔.  ความรู้ในทางทำนายทายทัก  เช่นรู้หวยว่าจะออกอะไร.

           ๕.  ความรู้อันจะนำให้หลงงมงาย  เช่นหุงปรอทให้มีอิทธิฤทธิ์

หุงเงินหรือทองแดงให้เป็นทอง.

           เหล่านี้จัดเป็นดิรัจฉานวิชาได้  เพราะเป็นความรู้ที่เขาสงสัย

ว่าลวงหรือหลง  ไม่ใช่ความรู้จริงจัง  ผู้บอกเป็นผู้ลวง  ผู้เรียนก็เป็น

ผู้หัดเพื่อจะลวง หรือเป็นผู้หลงงมงาย.

                                      ปาปสมาจาร

           นี้เนื่องด้วยสมคบกับคฤหัสถ์  ด้วยการสมาคมอันมิชอบ  ที่ท่าน

เรียกบุคคลผู้ทำว่า  ผู้ประทุษร้ายสกุล   โดยอธิบายอันกล่าวแล้วใน

สังฆาทิเสส  สิกขาบทที่  ๑๓  มีประเภท  ดังนี้ :-

           ๑.  ให้ของกำนัลแก่สกุลอย่างคฤหัสถ์เขาทำ.  แสดงไว้ในบาลีว่า

ให้ดอกไม้และผลไม้เป็นต้น.

           ๒.  ทำสวนดอกไม้ไว้  ตลอดถึงร้อยดอกไม้เพื่อบำเรอเขา.




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 118

           ๓.  แสดงอาการประจบเขา  เมื่อเข้าไปในสกุล  เช่นพูอประจ๋อ

ประแจ๋และอุ้มลูกเขา.

           ๔.  ยอมตัวลงให้เขาใช้สอยไปนั่นไปโน่น  ทำอย่างนั้นอย่างนี้

นอกจากกิจพระศาสนา.  แต่จะรับธุระเขาในทางกิจพระศาสนา  เช่น

เขาจะบริจาคทาน  ช่วยนิมนต์พระให้  เขาจะฟังธรรม  นิมนต์พระ

เทศน์ให้  ไม่มีโทษ.  การติดต้อยห้อยตามเขาไปข้างไหน จัดเข้าใน

ข้อนี้.  ธุระของมารดาบิดา  คนเตรียมบวช  เรียกปัณฑุปลาส  และ

ไวยาวัจกรของตน  แม้นอกจากการพระศาสนา  ท่านอนุญาต  แม้อย่าง

นั้น  ควรเลือกแต่กิจอันควร.

           ๕.  รับเป็นหมอรักษาไข้เจ็บของคนในสกุล  คือเป็นหมอสำหรับ

บ้าน.  ข้อนี้จักกล่าวถึงในข้างหน้า  พึงรู้ในที่นี้ว่า  หมายเอาการยอม

ตัวให้เขาใช้ในทางหนึ่ง.

           ๖.  รับของฝากของเขาอันไม่สมควร  เช่นรับของโจรและรับของ

ต้องห้าม.  การรับของฝากนี้  ท่านห้ามด้วยประการทั้งปวง  เพื่อจะ

ไม่ต้องผูกตนด้วยความเป็นผู้ต้องสำนองเพราะของนั้น  เมื่อเพ่งเฉพาะ

เป็นปาปสมาจาร  ควรจะเป็นของที่กล่าวแล้ว.

           ปาปสมาจาร  ดังว่ามานี้  ที่ไม่มีปรับโทษสูงกว่า  ปรับเป็น

อาบัติทุกกฏเสมอกัน  นอกจากนั้น  เป็นฐานที่สงฆ์จะทำกรรมลงโทษ

อีก   สถาน  คือ  ตำหนิโทษ  ที่เรียกว่าตัชชนียกรรมถอดยศ   คือ

ถอดจากความเป็นผู้ใหญ่  เรียกนิยสกรรมขับเสียจากวัด  เรียก

ปัพพาชนียกรรม  สถานใดสถานหนึ่ง.




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 119

           อีกอย่างหนึ่ง  เนื่องด้วยการรุกรานหรือตัดรอนคฤหัสถ์  มี

ประเภทดังนี้ :-

           ๑.  ขวนขวายเพื่อตัดลาภของเขา.

           ๒.  ขวนขวายเพื่อความเสื่อมเสียแห่งเขา.

           ๓.  ขวนขวายเพื่อเขาอยู่ไม่ได้  ต้องออกจากถิ่นฐาน.

           ๔.  ด่าว่าเปรียบเปรยเขา.

           ๕.  ยุยงให้เขาแตกกัน.

           ๖.  พูดกดเขาให้เป็นคนเลว   [ คือพูดวาจาหยาบต่อเขา  เช่น

เรียกอ้าย  เรียกอี  ขึ้นมึง  ขึ้นกู  ที่ถือเป็นคำเลวในกาลนี้ ].

           ๗.  ให้ปฏิญญาอันเป็นธรรมแก่เขาแล้ว  ไม่ทำให้สมจริง.

           ความประพฤติเลวทรามเห็นปานนี้  นอกจากปรับอาบัติตาม

วัตถุ  เป็นฐานที่สงฆ์จะลงโทษด้วยปฏิสารณียกรรม  คือ  ให้หวน

ระลึกถึงความผิด  และขมาคฤหัสถ์ผู้ที่ตนรุกรานหรือตักรอน.

           ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยอาจาระ  ย่อมไม่ทอดตนเป็นคนสนิทของ

สกุล  โดยฐานเป็นคนเลว  อีกฝ่ายหนึ่งไม่รุกรานตัดรอนเขา  แสดง

เมตตาจิต  ประพฤติพอดีพองาม  ยังความเลื่อมใสนับถือของเขา

ให้เกิดในตน  เรียกว่า   " กุลปสามโก "   เป็นศรีของพระศาสนา  พระ

ศาสดาทรงยกย่องพระกาฬุทายิ  ว่าเป็นเอตทัคคะในทางนี้  ที่ควร

ภิกษุในภายหลังจะถือเอาเป็นเยี่ยงอย่าง.

           ภิกษุผู้ไม่เคร่ง  ย่อมวางตนลงเป็นคนเลวเสียทีเดียว  ฝ่ายภิกษุ

ผู้เคร่ง  ก็ไม่แลเหลียวแสดงเมตตาเอื้อเฟื้อแก่เขาบ้าง  ดังคำค่อนของ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 120

พวกคฤหัสถ์  ในต้นนิทานแห่งสังฆาทิเสส  สิกขาบทที่  ๑๓  ว่า   " มี

หน้าสยิ้ว "   ฉะนั้น  ภิกษุผู้ศึกษาและปฏิบัติพระวินัย  พึงผ่อนผัน

ประพฤติพอดีพองามดั่งกล่าวแล้วเถิด.

                                       อเนสนา

           นี้ได้แก่กิริยาแสวงหาเลี้ยงชีพในทางไม่สมควร  แสดงโดยเค้า

เป็น   คือ :-

           การแสวงหาเป็นโลกวัชชะ  มีโทษทางโลก ๑.

           การแสวงหาเป็นปัณณัตติวัชชะ  มีโทษทางพระบัญญัติ ๑.

           การแสวงหาในทางบาป  เช่นทำโจรกรรมและหลอกลวงให้เขา

เชื่อถือ  และในทางที่โลกเขาดูหมิ่น  จัดเป็นโลกวัชชะ  ท่านแสดง

ความข้อนี้ไว้ในบาลี  ยกตัวอย่าง  ภิกษุอวดอุตริมนุสสธรรมโดย

ตรงหรือโดยอ้อม  และชักสื่อในระหว่างชายกับหญิง  เพราะเหตุแห่ง

การเลี้ยงชีพ.  การแสวงหาในทางผิดธรรมเนียมของภิกษุ  แม้ไม่มี

โทษแก่คนพวกอื่น  จัดเป็นปัณณัตติวัชชะ  ท่านแสดงความข้อนี้ไว้

ในบาลี  ด้วยทำวิญญัติ  คือ ออกปากขอของต่อคนที่ไม่ควรขอ  หรือ

ในเวลาที่ไม่ควรขอ.  ยังมีการแสวงหาที่ท่านห้ามอีกบางประการ

จัดเข้าในประเภทหลัง  รวบรวมแสดงดังต่อไปนี้ :-

           ๑.  ทำวิญญัติ  คือ  ออกปากขอของต่อคนที่ไม่ควรขอ    หรือ

ในเวลาที่ไม่ควรขอ.  คฤหัสถ์ผู้มิใช่ญาติ  มิใช่ปวารณา  ในเวลาปกติ

เป็นคนไม่ควรขอในเวลามีจีวรหายหรือถูกชิง  ขอเขาได้เฉพาะ

พอนุ่งห่ม ในเวลาอาพาธ  ขอโภชนะและเภสัชเขาได้เสนาสน-




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 121

ปัจจัย  ในสังฆาทิเสส  สิกขาบทที่   ดูเหมือนท่านให้ขอได้  แต่ให้ 

ตั้งอยู่ในความเป็นผู้รู้ประมาณ.  ขอในเวลาที่ไม่ควรนั้น  คือขอต่อ

คฤหัสถ์เช่นนั้น  ในเวลาปกติที่ไม่ได้ทรงอนุญาต.  สหธรรมิก  คือ

ภิกษุสามเณร  และคฤหัสถ์ผู้เป็นมารดาบิดา  ญาติ  และผู้ปวารณา

ขอได้  ไม่เป็นวิญญัติ.

           ๒.  แสวงหาลาภด้วยลาภ  คือ  หาในเชิงให้ของน้อย  หมาย

เอาตอบแทนมาก.

           ๓.  ใช้จ่ายรูปิยะ  ได้แก่การลงทุนหาผลประโยชน์  เช่นทำการ

ค้าขายเป็นตัวอย่าง.

           ๔.  หากินในทางทำเวชกรรม  คือการหมอ.  ข้อนี้น่าจะเพ่ง

เอาเป็นตัวอย่างแห่งการหากิน  ด้วยความรู้หรือด้วยการงาน  ที่ไม่

ต้องลงทุนทรัพย์  แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่  เข้าใจเฉพาะเวชกรรม

และติเตียนกันอย่างสบเสียทีเดียว. แต่เวชกรรมนี้ควรได้รับความ

พิจารณาของผู้สนใจในการปฏิบัติพอดีอยู่  เหตุนั้น  จะอธิบายไว้ในที่นี้.

           การห้ามเวชกรรมนั้น  มาในวินีตวัตถุแห่งตติยปาราชิกเป็นเดิม

ดังนี้ :-

           เรื่องหนึ่ง  หญิงหมันบอกแก่ภิกษุผู้เข้าสกุล  คือผู้อันสกุล

อุปัฏฐาก  ขอให้ช่วยปรุงยาทำให้มีบุตรเพื่อตน  อีกเรื่องหนึ่ง  หญิง

มีบุตรถี่นัก  บอกแก่ภิกษุขอให้ช่วยปรุงยากันคลอดบุตร  ทั้งสอง

เรื่องนั้น  ภิกษุรับคำและทำให้ตามปรารถนา  หญิงกินยาแล้วตาย

ทรงตัดสินว่าไม่เป็นปาราชิก  เป็นเพียงอาบัติทุกกฏ.  ตามเรื่องก็น่า




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 122

จะเห็นว่า  ภิกษุเอาเป็นธุระในทางที่เขามีลูกหรือขาดลูก  เป็นการ

เกินดีเกินงาม  อีกอย่างหนึ่ง  เพ่งการรักษาไข้เจ็บ  ภิกษุรู้ไม่สันทัด

ในทางแพทย์  แต่กล้าเกินความรู้  ประกอบยาให้เขากินผิด ๆ  ถูก ๆ

ก็น่ากลัวเป็นอันตรายแก่ตนไข้  เพื่อป้องกันข้อหลัง  บ้านเมืองที่เขา

บำรุงการแพทย์เจริญแล้ว  เขาจึงห้ามคนผู้ไม่ได้ถือหนังสือคู่มือเป็น

แพทย์  มิให้รักษาคนไข้  เพราะฉะนั้น  การปรับอาบัติทุกกฏในวินีต-

วัตถุนั้น  โดยฐานใดฐานหนึ่ง  ก็ชอบทั้งนั้น.

           ต่อมาในวิภังค์แห่งสังฆาทิเสส  สิกขาบทที่  ๑๓  แก้บทปาป-

สมาจาร  จัดเอาการหมอเข้าในพวกปาปสมาจารด้วยอย่างหนึ่ง.

           พระอรรถกถาจารย์  พรรณนาอรรถแห่งเรื่องทำยาในวินีต-

วัตถุแห่งตติยปาราชิกสิกขาบท  ห้ามมิให้ทำยาแก่ตนทั่วไป  ยกเว้น

สหธรรมมิก  มารดาบิดา  คนอุปัฏฐากมารดาบิดา  ไวยาวัจกรของ

ตน  คนปัณฑุปลาส  ญาติทั้งฝ่ายมารดาทั้งฝ่ายบิดา  ไม่นับถึงเขยและ

สะใภ้ ท่านอนุญาตให้ทำยาแก่คนเหล่านี้ได้ เมื่อโยมของอุปัชฌายะ

อาจารย์  หรือผู้เป็นเขยเป็นสะใภ้เจ็บลง  ทำเพื่ออุปัชฌายะอาจารย์

และญาติของตน  ท่านอนุญาต.  ส่วนคนจรเข้ามาในวัด  เจ็บไข้มาก่อน

ก็ตาม  เจ็บลงในวัดก็ตาม  ทำยาให้เขาได้  แต่อย่าหวังอุปการะตอบ.

           ปัจจัยได้เพราะทำเวชกรรมแก่ตนต้องห้าม  เป็นของที่เกลียดชัง

ของภิกษุผู้เคร่งครัด  แสดงไว้ในอรรถกถาทั้งหลาย.

           เวชกรรม  แม้เป็นการที่ดูถูกดูหมิ่นและถูกรังเกียจถึงปานนี้

แต่ก็ยังมีภิกษุทำอยู่  จะว่าเพราะอดอยากไม่มีทางหาอย่างอื่นก็หาไม่




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 123

มิใช่แต่เท่านั้น ยังได้เอาปัจจัยที่เขาถวายด้วยเลื่อมใสในอุปการะมา

บำรุงพระศาสนา  ทั้งยังได้ชักจูงคนที่ตนรักษาให้นับถือพระศาสนา

ด้วย  ชื่อว่าได้ทำหน้าที่บำรุงพระศาสนาด้วยส่วนหนึ่ง  ถูกทางแห่ง

การสอนศาสนาที่ใช้อยู่ในทุกวันนี้.  ข้าพเจ้าเข้าใจว่า  ในบ้านเมือง

อันยังมีคนรู้เวชกรรมไม่แพร่หลาย  ในคนหมู่หนึ่ง ๆ  จำต้องการ

มีหมอในหมู่ภิกษุก็เป็นเช่นนั้น  ครั้นมีภิกษุรู้การหมอ  ชาวบ้าน

ก็ขอให้ช่วยอนุเคราะห์  เธอหักเมตตาจิตไม่ได้  ก็รับอนุเคราะห์

เมตตาจิตนั้น  ทำให้เขาเลื่อมในในอุปการะแล้ว  ถวายปัจจัยลาภ

เป็นการฉลองคุณ.

           ข้าพเจ้าขอตั้งปัญหาให้นักวินัยติดสินข้อหนึ่งว่า   ภิกษุรู้ยาแก้

โรคกาฬขนานหนึ่ง  เป็นอย่างฉมัง  ควรนี้มีชาวบ้านผู้หนึ่งป่วยเป็น

โรคกาฬ  พวกพ้องมาขอติดต่อภิกษุเพื่อทำยาให้  คนเจ็บก็ดี  คนขอก็ดี

ไม่ใช่บุคคลที่ท่านอนุญาต  ภิกษุนั้นทำในทางไรจะดี  หนักอยู่ในวินัย

หักเมตตาจิตเสีย  เขาจะตายหรือจะหายก็ช่าง  หรือจะทำให้ด้วย

เมตตาจิต  รักษาชีวิตของคนไว้ดีกว่า.  ข้าพเจ้าไม่เข้าใจว่า  ใน

พระวินัยจะสรรเสริญความเป็นคนมีใจจืดเช่นนั้น.

           อนึ่ง  ภิกษุผู้ได้รับเกื้อกูลของชาวบ้าน  ด้วยอาหารบิณฑบาต

เป็นต้น  เมื่อถึงคราวควรทำอุปการะตอบเขาบ้าง  และจะทำใจจืด

เสียเช่นนั้นควรละหรือ ข้าพเจ้าเข้าใจว่าในพระวินัยจะไม่แนะนำให้

ทำเช่นนั้น.

           และภิกษุผู้ทำยาให้เขาด้วยเมตตาจิตเช่นนั้น  ไม่ได้รับขวัญข้าว




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 124

ค่ายาค่ารักษาหรือบำเหน็จรางวัล  ของที่ได้รับนั้นสักว่าเป็นประสาท-

การ  เครื่องกระทำความเลื่อมใส  ถ้าจะปรับว่าเป็นของได้ในทาง

หากินเป็นมิจฉาชีพ  ข้าพเจ้าขอยกปัญหาขึ้นตั้งถามอีกข้อหนึ่งว่า

พระธรรมกถึกผู้รับนิมนต์เทศนา ในเบื้องต้นย่อมรู้ว่าจักได้ลาภ

เทศนาแล้วก็ได้จริง ๆ  เช่นนี้จะเป็นการหากินและเป็นมิจฉาชีพหรือไม่ ?

ถ้ามีคำตอบว่า  ไม่เป็นการหากิน  เพราะไม่ได้กำหนดว่าเป็นราคา

สุดแล้วแต่ทายกเขาจะถวาย  ฝ่ายเขาก็ไม่ได้คิดเป็นค่าจ้างเหมือนกัน

เขาถวายมากก็มี  ถวายน้อยก็มี  และไม่เป็นมิจฉาชีพ  เพราะธรรม

ที่แสดงนั้น  เป็นคำสั่งสอนแนะนำให้เขาปฏิบัติดีและได้ศุภผล  คำแก้

ในฝ่ายพระหมอก็เป็นดุจกัน  ไม่เป็นการหากิน  เพราะไม่ได้รับขวัญ

ข้าวค่ายาค่ารักษาหรือแม้บำเหน็จรางวัล  รับแต่ประสาทการเหมือน

เครื่องกัณฑ์เทศน์ ๆ  เสียอีก เขาถวายในทันที  ที่ให้เห็นว่าเป็นเครื่อง

ตอบแทนแท้ ๆ  ส่วนประสาทการของพระหมอ  เขาถวายเมื่อถึง

คราว  กรรักษาโรคเป็นอันช่วยทุกข์ภัยช่วยชีวิต  ให้ความสุขกาย

แก่เขา  ดุจธรรมให้ความสุขใจแก่ผู้ปฏิบัติ  จึงไม่เป็นมิจฉาชีพ.

           การห้ามเวชกรรม  เป็นเหตุขัดขวางแก่การสอนพระศาสนา

อยู่มาก  ในหมู่ภิกษุผู้ถือตึงเครียด  เพียงจะมีผู้รู้กาลหมอไว้รักษา

กันเองก็ยาก.

           อธิบายเพียงเท่านี้พอจะให้ลงสันนิษฐานว่า  ความเข้าใจของ

พระอาจารย์ทั้งหลายในการทำเวชกรรม  ตึงเครียดเกินไป  ควร

จะผ่อนความเข้าใจลงมา  ดังต่อไปนี้ :-




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 125

           ก.  เวชกรรมที่ห้ามไว้ในวินีตวัตถุ  แห่งตติยปาราชิกสิกขาบท

โดยปรับเป็นอาบัติทุกกฏนั้น  คือทำในทางนอกรีตนอกรอย   เช่น

กล่าวไว้ในท้องเรื่อง  อีกอย่างหนึ่ง  ผู้ทำไม่สันทัด  รู้เล็ก ๆ  น้อย ๆ

ก็รับรักษาเขา  วางยาผิด ๆ  ถูก ๆ.

           ข.  เวชกรรมที่ห้ามโดยความเป็นปาปสมาจาร  ในวิภังค์แห่ง

สังฆาทิเสส  สิกขาบทที่  ๑๓  นั้น  คือการทอกตนลงให้สกุลเขาใช้

ในการรักษาไข้เจ็บของคนในสกุล  ดุจเดียวกับยอมให้เขาใช้ไปข้าง

ไหน.  นี้ผิดจากการที่เขาเชิญให้รักษา.

           ค.  เวชกรรมที่ห้ามโดยความเป็นอเนสนา  ในอรรถกถาทั้งหลาย

นั้น  คือการรักษาโรคเรียกเอาขวัญข้าวค่ายาค่ารักษา  เป็นการหาผล

หาประโยชน์.

           ๕.  การทำปริตร  ได้แก่การทำน้ำมนต์สายสิญจน์เสกเป่าต่าง ๆ

ท่านห้ามไว้เหมือนกัน  ท่านอนุญาตแก่สวดปริตร  นี้เป็นการในภายหลัง

ยังไม่พบในบาลี  ควรทำได้ควรทำเพียงไร  พึงรู้โดยนัยอันกล่าวแล้ว

ในเวชกรรมนั้น.

           ปัจจัยที่แสวงหาได้โดยทางอเนสนานั้น  กับปัจจัยที่ได้โดยทาง

ปาปสมาจาร  ท่านติว่าเป็นของน่าเกลียดน่าชัง  เป็นของไม่บริสุทธิ์

เลี้ยงชีพด้วยปัจจัยเช่นนี้  ปรับเป็นมิจฉาชีพ  เลี้ยงชีวิตผิดทาง.  ภิกษุผู้

เลี้ยงชีพในทางนี้   จัดเป็นอลัชชี  ผู้ไม่มีละอาย  เป็นที่รังเกียจของภิกษุ

ลัชชีมีละอาย  ไม่คบหาร่วมอามิสและร่วมธรรมด้วย  คือไม่รับไม่

บริโภคของที่เธอได้มา  และไม่ร่วมสังวาสด้วย.  ความรังเกียจกัน




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 126

เพียงเท่านี้  พอดีสมแก่เหตุ  แต่การถือเนื่องมาแต่เค้านี้ว่า  นิสสัคคิยะ

ติดกันได้  เช่นภิกษุผู้เป็นลัชชี  เอาจีวรพาดลงบนราวจีวรอันมิใช่ของ

ภิกษุอลัชชี  แต่เธอได้พาดจีวรลงไว้ก่อน หรือนั่งลงบนอาสนะที่ภิกษุ

อลัชชีนั่งก่อน  ถือว่ามลทินของอลัชชีอาจติดจีวรของภิกษุลัชชีนั้นได้

ถ้าราวจีวรนั้นก็ดี  อาสนะนั้นก็ดี  เป็นของภิกษุอลัชชี  จะจัดว่าร่วม

บริโภคก็ตามที  ที่ไม่ใช่ของเธอก็ยังถือ  ดูแก่เกินการณ์  ผู้ถือย่อม

ได้ความเดือดร้อนเอง.  อันการคบอลัชชีนั้น  ท่านห้ามโดยฐานคบ

เป็นเพื่อนกินเพื่อนอนสนิทสนมกลมเกลียว  เพื่อจะกันไม่ให้อลัชชี

จูงไปในทางเสีย  ถ้าคบด้วยเมตตา  ด้วยหมายว่าจะชักจูงอลัชชีนั้น

เข้าในทางประพฤติชอบ  ดังนี้ท่านก็อนุญาต.

           ฝ่ายภิกษุผู้เลี้ยงชีพไม่ละเมิดธรรมเนียมของภิกษุ  ได้ปัจจัยมา

โดยธรรม  พึงรู้จักบริโภคปัจจัยอันควร  อย่าทำศรัทธาไทย  คือ

ของที่เขาถวายด้วยศรัทธาให้ตกเสียเปล่า.  รับของที่เขาถวายเพื่อ

เกื้อกูลแก่พระศาสนามาแล้ว  ไม่บริโภค  ให้เสียแก่คฤหัสถ์เพื่อ

สงเคราะห์เขา  ทำให้ทายกผู้บริจาคเสียศรัทธา  เรียกว่าทำศรัทธา-

ไทยให้ตกเสียเปล่า.  ท่านแสดงอนามัฏฐบิณฑบาตเป็นตัวอย่าง.

โภชนะที่ได้มายังไม่ได้หยิบไว้ฉัน  เรียกอนามัฏฐบิณฑบาต  ท่านห้าม

ไม่ให้ ๆ  แก่คฤหัสถ์อื่น  นอกจากมารดาบิดา  ส่วนมารดาบิดานั้น

เป็นภาระของภิกษุจะต้องเลี้ยง  ท่านอนุญาตเพื่อให้ได้  สมณจีวร

ก็เหมือนกัน  ให้แก่มารดาบิดาก็ได้.  อย่าพึงเข้าใจข้อนี้ว่า  ท่านสอน

ให้ตระหนี่  ได้อะไรมาให้เก็บไว้ดังนี้  เข้าใจอย่างนี้ไม่ถูก  การให้




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 127

เจือจานแก่สหธรรมิกด้วยกัน  เป็นการสมควร  ให้แก่คฤหัสถ์ผู้ทำ

การวัดหรือการของตน  โดยเป็นค่าเลี้ยงหรือค่าแรง  หรือน้อมของ

ที่ได้มาเพื่อประโยชน์อย่างหนึ่ง  ที่ไม่เสียไปเปล่าควรอยู่.  นี้เป็นข้อ

ที่ควรเข้าใจดี  และปฏิบัติในของศรัทธาไทยให้พอดี. 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น