วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วินัยมุข เล่ม ๒ นักธรรมโท หน้า ๑๑ถึงหน้า ๔๑ บริขาร บริโภค


นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 11

                                      กัณฑ์ที่  ๑๒

                                    บริขารบริโภค

                                           จีวร

           บริขารของภิกษุ  ที่เป็นของจำเป็นจะต้องมี  และจัดว่าเป็น

บริขารดั้งเดิม  อย่างหนึ่งคือจีวร  ผู้มุ่งอุปสมบทจำเป็นจะต้องมีจีวร

ให้ครบจำนวนก่อน.

           จำนวนจีวรนั้น  เข้าใจว่า  ในคราวแรก คงมีแต่   ผืน  ผ้า

นุ่งผืนหนึ่ง  ผ้าห่มผืนหนึ่ง.  ข้อนี้สมด้วยคำในพระสูตรที่กล่าวว่า

เวลาเช้า  พระผู้มีพระภาคเจ้า  ทรงนุ่งแล้ว  ทรงถือบาตรจีวร  เสด็จ

เข้าไปสู่กรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต.  ผู้ไม่คุ้นเคยด้วยธรรมเนียมนี้  จะพึง

เห็นว่ามิไปทั้งตัวไม่มีอะไรคลุมหรือ.  เป็นเช่นนั้นจริง  อย่าว่า

ถึงธรรมเนียมเมื่อครั้งสองพันสี่ร้อยปีขึ้นไปเลย  เมื่อราว  ๖๒  ปีขึ้นไป

[ แต่  พ.ศ.  ๒๔๕๖ ]  ในกรุงสยามของเรานี้เอง   คฤหัสถ์ทั้งชั้นสูง

ทั้งชั้นต่ำ  ไปข้างไหน  ที่สุดเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินในท้องพระโรง

ยังมีแต่ผ้านุ่งกับผ้าห่มที่คาดเอว  เปิดตัวไม่มีอะไรคลุม  ในครั้งนั้น

หามีใครเห็นว่าน่าเกลียดน่าอายไม่  ครั้งปฐมโพธิกาล  ภิกษุจะเข้า

บ้านเพื่อบิณฑบาต  คงนุ่งอันตรวาสกเรียบร้อยแล้ว  ถือบาตรกับ

จีวรเดินไป  เปิดตัวเปล่า  เมื่อจวนถึงบ้าน  จึงหยุดยืนห่มจีวร

ถือบาตรเข้าไป  ธรรมเนียมนี้กล่าวไว้ในบาลีและอรรถกถา  กลับ

ออกมาแล้ว  ทำอย่างไร  หาได้กล่าวไว้ไม่  กล่าวแต่เพียงว่า  ไป




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 12

ทำภัตกิจ   ที่แห่งใดแห่งหนึ่งแล้วจึงกลับ  น่าจะเปลื้องจีวรถือไป

เหมือนเมื่อมา.  ในสมัยที่คนใช้เสื้อผ้าแล้ว  ท่านเรียงความบาลี

ข้อนี้  กล่าวว่าทรงนุ่งห่มหรือครองผ้า  ตามสมณวัตรแล้ว.  ยัง

มีเรื่องในพระวินัยรับสมอ้างอีก  ในเวลาจะทำวินัยกรรมอย่างใด

อย่างหนึ่ง  ที่ควรจะแสดงเคารพ ให้ภิกษุทำผ้าอุตตราสงค์เฉวียง

บ่าข้างหนึ่ง  ไม่ได้พูดถึงสังฆาฏิเลย.  ในคราวเป็นลำดับมา  ทรง

อนุญาตผ้าสังฆาฏิเติมขึ้นอีกผืนหนึ่ง  เพื่อใช้ในฤดูหนาว.  มีเรื่องเล่า

ว่า   ทรงลองห่มจีวรดู  ในหน้าหนาวจัด  ในที่แจ้งชั้นหนึ่ง  พอ

ชั่วยามหนึ่ง  ตลอดราตรี ๓  ชั้นจึงพอ  จึงทรงอนุญาตสังฆาฏิ   ชั้น.

เพิ่มขึ้นอีกผืนหนึ่ง  เข้ากับอุตตราสงค์ชั้นเดียว  จะได้เป็น ๓  ชั้น.

จำนวนจีวร   ผืนนี้คงที่ตลอดมา  เรียก   " ติจีวร "   แปลทับศัพท์ว่า

ไตรจีวร  คือ  จีวร   ผืน  มีชื่อว่าสังฆาฏิ  เป็นผ้าสำหรับใช้ห่ม

หนาวหรือซ้อนนอก ๑  อุตตราสงค์  เป็นผ้าห่ม ๑  อันตรวาสก  เป็น

ผ้านุ่ง ๑.  สังฆาฏินั้น  แม้เป็นของทรงอนุญาตขึ้นแล้ว  แต่ใช้อย่างไร

ได้ความไม่ชัด  ในพระสูตรกล่าวว่า  พระสาวกปูถวายพระศาสดา

เสด็จนั่งบ้าง  ผทมบ้างในพระวินัยกล่าวว่า  ใช้ซ้อนห่มเข้าบ้าน

แต่ในเวลาเข้าประชุมสงฆ์ในอาราม  ใช้อย่างไรไม่กล่าวถึง  ไม่ได้

กล่าวว่าใช้พาดบ่า  และมีภิกษุในเมืองเราเท่านั้นใช้พาดบ่า  พระ

พม่า  พระลังกา  ใช้ห่มซ้อนไปด้วยกันในเวลาเข้าบ้าน  ในวัดไม่

ได้ใช้.

           ประมาณไตรจีวรนั้น  พึงรู้ดังนี้ :  ประมาณอุตตราสงค์กล่าว




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 13

ตามประมาณสุคตจีวร  ในปาติโมกข์ยาว   คืบ  กว้าง   คืบ  โดย

สุคตประมาณ.  โดยการชันสูตรก็ดี  โดยได้เห็นตัวอย่างพระพุทธรูป

โบราณในประเทศอินเดียก็ดี  ได้ความว่า  ใช้ผ้าแคบสั้นเท่านี้เอง

แต่หาได้ห่มม้วนลูกบวบเหมือนทุกวันนี้ไม่  ใช้ห่มโดยวิธีอื่นดังจะ

กล่าวข้างหน้า.  เมื่อเข้าใจว่า  พระศาสดาใหญ่กว่าพระสาวกเป็น

อันมาก  พวกภิกษุจึงขยายส่วนจีวรของตนกว่าประมาณนั้นออกไป

ได้  เพราะประมาณมีจำกัดด้วยขนาดสุคตจีวร  เมื่อเป็นเช่นนี้  จึง

ต้องห่มม้วนลูกบวบ.  ประมาณที่ใช้ในเมืองเรายาวไม่เกิน   ศอก

กว้างไม่เกิน    ศอก  แต่อย่างนั้นยังใหญ่  ต้องลดลงมาอีกตาม

เหมาะแก่ขนาดบุคคล  แต่ไม่กำหนดแน่  สำหรับพระขนาดกลาง

ลดด้านยาว   คืบ  ด้านกว้าง   นิ้ว  เป็นพอเหมาะ.  เหตุใช้จีวรกว้าง

ยาวกว่าเดิมไม่แจ้ง  อนุมารว่า  ผ้าห่มแคบสั้นหลุดง่ายกระมัง  ใน

ครั้งรจนามหาอรรถกถา  ได้ใช้มาแล้ว  จึงมีคำกล่าวถึงห่มจีวร

อันมีประมาณพอดีแล้วม้วนพาดชายไว้บนแขนประมาณสังฆาฏิคง

เช่นเดียวกับอุตตราสงค์.

           ประมาณอันตรวาสก  ไม่มีชัดเหมือนประมาณอุตตราสงค์

แต่รู้ได้โดยนัย  คือกว่างยาวพอนุ่งข้างบนปิดสะดือ  ข้างล่างปก

หัวเข่าได้  แต่ไม่เกินไปจนถึงทำให้รุ่มร่าม  ได้เห็นพระพุทธรูป

โบราณที่กล่าวถึงนั้น  ครองอันตรวาสก  หาได้ม้วนชายเหมือน

ครองกันในบัดนี้ไม่  ในที่ผ้าม้วนเข้ามาดูรุกรุยอยู่  ได้ชันสูตรดู  ได้

ความว่า  ใช้ผ้าสั้นนุ่งจับชายเสมอกันแล้ว  รวบเข้ามา  คล้ายจีบ  ไม่




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 14

ได้ม้วน.  ในคัมภีร์วิภังค์ก็กล่าวแต่เพียงว่า   " พึงนุ่งเป็นปริมณฑลปิด

มณฑลสะดือ  มณฑลเข่า. "   ถ้าอันตรวาสกแคบสั้นจริง  ประมาณ

ก็แลเห็นอีกทางหนึ่ง  เทียบด้วยผ้าอาบน้ำฝนยาว   คืบ  กว้าง   คืบ

ครึ่ง  โดยสุคตประมาณเมื่อขยายประมาณอุตตราสงค์ออกไป

แล้ว  ประมาณอันตรวาสก  ก็ควรจะขยายออกตามกัน  และสมที่

จะขยายก่อนอุตตราสงค์อีกประมาณที่ว่าเป็นขนาดใช้ในเมืองเรา

ยาว   ศอก  กว้าง   ศอก  สำหรับพระขนาดกลางเช่นข้าพเจ้า  อยู่

ข้างจะใหญ่เกินไป  ผ้าหนาครองออกจะปุกปุย ลดลงเพียงยาว 

ศอกขึ้นไปถึง ๘ นิ้ว  กว้าง ๑  ศอกคืบ  ๔ นิ้วพอดี  คนสูงต้อง

การขยายส่วนกว้าง  คนอ้นต้องการขยายส่วนยาว.

           ผ้าสำหรับทำจีวรนุ่งห่มนั้น  ทรงอนุญาตไว้   ชนิด  คือ  โขมะ

ผ้าทำด้วยเปลือกไม้ ๑  กัปปาสิกะ  ผ้าทำด้วยฝ้าย ๑  โกเสยยะ  ผ้า

ทำด้วยใยไหม   กัมพละ  ผ้าทำด้วยขนสัตว์  ยกผมและขนมนุษย์

เสีย ๑  กาณะ  ผ้าทำด้วยเปลือกป่าน ๑  ภังคะ  ผ้าที่ทำด้วยของ ๕

อย่างนั้น  แต่อย่างใดอย่างหนึ่งปนกัน ๑.

           ผ้าโขมะนั้น  พึงเห็นตัวอย่างเช่นผ้าลินิน.  ผ้ากัปปาสิกะนั้น

เห็นกันดื่นแล้ว.  ผ้าโกเสยยะนั้น  คือแพร.  ผ้ากัมพละนั้น  พึงเห็น

เช่นสักหลาดและกำมะหริดผ้าสาณะนั้น  เมื่อก่อนเคยเห็นเป็นผ้า

เนื้อสาก  แต่ในบัดนี้หาเห็นอีกไม่.  ผ้าภังคะนั้น ตัวอย่างเช่นผ้าด้าย

แกมไหม.

           เครื่องนุ่งห่มที่ทำด้วยของอื่นนอกจากผ้า   ชนิดนี้  ห้ามไม่




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 15

ให้ใช้  ที่ระบุไว้ในบาลีเป็นของที่พวกเดียรถีย์ใช้กันอยู่  คือคากรอง

เปลือกต้นไม้กรอง  ผลไม้กรอง  ผ้ากำพลทำด้วยผมคน  ผ้ากำพล

ทำด้วยขนหางสัตว์  ปีกนกเค้า  หนังเสือ  ผ้าทำด้วยปอนุ่งห่ม

ผ้าเหล่านี้ต้องถุลลัจจัย  ส่วนผ้าทำด้วยปอนั้น  ในที่อื่นห้ามไม่ให้ใช้

ด้วยเป็นวันถุแห่งทุกกฏ  นี้นำให้ลงสันนิษฐานว่า  นุ่งห่มของเหล่านี้

ด้วยอำนาจสมาทานเป็นวัตร  ต้องถุลลัจจัยเป็นแต่สักว่านุ่งห่ม

ต้องอาบัติทุกกฏ  ดุจเดียวกับความเปลือยกาย  เป็นวัตถุแห่ง

ถุลลัจจัยก็มี  แห่งทุกกฏก็มี ดังกล่าวแล้วในกัณฑ์ที่ ๑๑  อันกล่าว

ถึงกายบริหาร.

           ผ้าไตรจีวรนั้น  ตรัสสั่งไว้ให้เป็นของตัด  ถ้าอาจอยู่  ให้ตัด

ครบทั้ง ๓  ถ้าผ้าไม่พอ ให้ผ่อนตัดแต่ ๒  ผืน  หรือผืนเดียวตามแต่

จะทำได้  แม้อย่างนั้นไม่พอ  ให้ใช้ผ้าเพลาะ.

           จีวรนั้น  โปรดให้ตัดเอาอย่างคันนาของชาวมคธ  คือเป็น

กระทงมีเส้นคั่น  กระทงใหญ่  เรียกว่ามณฑลกระทงน้อย  เรียกว่า

อัฑฒมณฑล.  มีเส้นคั่นในระหว่างดุจคันนาขวาง  เรียกว่าอัฑฒกุสิ,

รวมมณฑล  อัฑฒมณฑลและอัฑฒกุสิ  เรียกว่าขัณฑ์  ในระหว่าง

ขัณฑ์และขัณฑ์  มีเส้นคั่นดุจคันนายืน  เรียกว่ากุสิ.  จีวรผืนหนึ่งให้มี

ขัณฑ์ไม่น้อยกว่า   เกินกว่านั้นใช้ได้  แต่ให้เป็นขัณฑ์ขอน  คือ ,

, ๑๑  ขัณฑ์มาก ควรใช้ในยามหาผ้าชิ้นใหญ่ไม่ได้, ผ้าขอบจีวร

เรียกว่าอนุวาต.  ขัณฑ์เหล่านั้น ยังได้ชื่อต่างออกไปอีก  ขัณฑ์

กลาง  ชื่อวิวัฏฏะ  ขัณฑ์ริมทั้ง   ข้าง  ชื่ออนุวิวัฏฏะ  อีกอย่างหนึ่ง




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 16

เฉพาะ   ขัณฑ์ ๆ  กลาง  ชื่อคีเวยยกะ  เพราะเมื่อห่มจีวร

อัฑฒมณฑลของขัณฑ์นั้นอยู่ที่คอ.  ขัณฑ์ถัดออกมาทั้ง ๒  ข้าง  ชื่อ

ชังกฆยยกะ เพราะอัฑฒมณฑลของ ๒ ขัณฑ์นั้น  อยู่ที่แข้งในเวลา

ห่มขัณฑ์ถัดออกมาอีกทั้ง ๒ ข้าง  ชื่อพาหันตะ  เพราะอัฑฒมณฑล

ของ ๒  ขัณฑ์นั้น  อยู่ที่แขนในเวลาห่ม.  ฝ่ายพระอรรถกถาจารย์กล่าว

ว่า  คีเวยยกะเป็นแผ่นผ้าเย็บทาบลงในที่ตรงหุ้มคอ  ชังเฆยยกะเป็น

อรรถกถานัยนั้น  น่าจะเห็นได้ว่า  ได้แก่อนุวาตด้านบนและด้านล่าง

โดยลำดับกัน  มากกว่าแผ่นผ้าอันเย็บทาบลงต่างหาก  ถ้าสันนิษฐาน

ตามทางนี้  หาหันตะก็พึงได้แก่อนุวาตด้านสกัดทั้ง ๒.  อย่างไรชอบ

แก่เหตุ  ข้าพเจ้าขอฝากนักวินัยไว้พิจารณาต่อไป.  ในที่นี้  มีแบบ

จีวรที่ใช้อยู่บัดนี้ไว้ให้ดูด้วย.




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 17




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 18

           ๑.  อัฑฒมณฑล  คีเวยยกะ

           ๒.  มณฑล  วิวัฏฏะ

           ๓.  อัฑฒมณฑล  ชังเฆยยกะ

           ๔.  มณฑล  อนุวิวัฏฏะ

           ๕.  อัฑฒมณฑล  พาหันตะ

           ๖.  มณฑล  อนุวิวัฏฏะ

           ๗.  อัฑฒกุสิ

           ๘.  กุสิ

           ๙.  อนุวาต

         ๑๐.  รังดุม

         ๑๑.  ลูกดุม

           ในครั้งแรก  ดูเหมือนเป็นแต่เพียงตรัสให้ตัด  พออย่าให้เป็น

ผ้าทั้งผืน  เห่ตุนั้น  จึงมีพระบัญญัติห้ามไม่ให้ทรงจีวรมีชายไม่ได้ตัด

มีชายยาว  มีชายเป็นลาดดอกไม้  มีชายเป็นแผ่น.  ต่อมาตรัสสั่งให้

ตัดจีวรเอาอย่างอันนาของชาวมคธ สันนิษฐานตามชื่อว่า  คีเวยยกะ

และพาหันตะดูเหมือนเฉพาะอุตตราสงค์  แต่อันตราวาสก  ก็คงทำ

ตามอย่าง  สังฆาฏิคงเป็นผ้าท่อนเย็บเพลาะอย่างที่ใช้อยู่ในทุกวันนี้.

           ส่วนผ้านุ่งผ้าห่มอย่างอื่น  คือ  ผ้าอาบน้ำฝน  ผ้าปาวาร  ผ้า

โกเชาว์  ที่ขนไม่รุงรัง  หาทีคำระบุให้ตัดดุจไตรจีวรไม่.

           จีวรนั้น  ตรัสให้ย้อมด้วยของ   อย่าง ๆ  ใดอย่างหนึ่ง  คือ

รากหรือเง่า ๑  ต้นไม้ ๑  เปลือกไม้ ๑  ใบไม้ ๑  ดอกไม้ ๑




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 19

ผลไม้ ๑  ให้เอาของนี้แช่น้ำเคี่ยวไฟ.  ในบาลี  หาได้ระบุชื่อแห่ง

เครื่องย้อม   อย่างเหล่านี้ไม่  จีวรที่ย้อมแล้ว  มีสีเป็นอย่างไร  ก็

ไม่ได้กล่าว  เป็นแต่เรียกว่ากาสายะบ้างบ  กาสาวะบ้าง  ที่แปลว่าย้อม

ด้วยน้ำฝาด  และห้ามสีบางอย่างไว้  คือสีคราม  สีเหลือง  สีแดง

สีบานเย็น  [ แดงฝาง ]  สีแสด  สีชมพู  สีดำ  โดยนัยนี้  ต้องเป็น

ของพ้นจากสีเหล่านี้  แต่สีที่รับรองกันเป็นสีเหลืองเจือแดงเข้มหรือ

สีเหลืองหม่น  พึงเห็นเช่นสีที่ย้อมแก่นขนุน  อันเรียกว่ากรัก.

           จีวรนั้น  ไม่โปรดให้เป็นของกาววาว  จึงทรงห้ามไม่ให้ใช้จีวร

ดอกเป็นลายรูปสัตว์  เป็นลายดอกไม้  เว้นไว้แต่เป็นดอกเล็ก ๆ

ที่ไม่กาววาว  เช่นดอกเม็ดพริกไทย  หรือเป็นริ้ว  เช่นแพรโล่.

อุตตราสงค์และสังฆาฎิ  มีห่วงและดุมสำหรับกลัดได้  มีที่ตรงไหน

ไม่ได้กล่าวไว้ชัด  แต่ทรงอนุญาตเพื่อกันลมพัดจีวรปลิว  จึงได้ความ

ว่ามีชายล่าง  ครั้งยังห่มผ้าแคบสั้นจำเป็นแท้.  แต่ในบัดนี้  มีชาย

ล่างแห่งหนึ่ง  ที่ขอบอนุวาตด้านบนตรงขัณฑ์กลางแห่งหนึ่ง  ห่วง

ติดไว้ขวา  ลูกติดไว้ซ้าย  จงดูในแบบ.  ลูกดุม  ห้ามไม่ให้ใช้ของ

งดงาม  ในบาลีระบุให้ใช้ของที่ทำด้วยกระดูก  งา  เขา  ไม้ไผ่  ไม้รวก

ไม่แก่น  ครั่ง  กะลา  โลหะ  สังข์  หรือด้ายถัก  อย่างใดอย่างหนึ่ง.

สำหรับกับอันตรวาสก  ทรงอนุญาติประคดเอวไว้   ชนิด  คือ

ประคดแผ่น  [ เช่นที่เรียกว่าประคดลังกา ] ๑  ประคดไส้สุกร  ผ้า

เย็บเป็นปลอด ๑  ห้ามประคดถักวิจิตรมีชนิดต่าง ๆ  ในเมืองเรา

ใช้ผ้าหรือแพรแถบแคบเป็นประคดไส้สุกร.  ลูกถวิลที่ผูกสายประคด




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 20

ก็มีห้ามไม่ให้ใช่ของงดงาม  ควรทำด้วยของอย่างเดียวกับลูกดุมจีวร.

           อาการครองจีวรอย่างไร  ในบาลีไม่ได้กล่าวไว้ชัด  มีใน

เสขิยวัตรเพียงว่า  ให้ทำความสำเหนียกว่า  จักนุ่งจักห่มให้เป็น

ปริมณฑล  คือเรียบร้อยในวิภังค์แห่งสิกขาบทนี้  แก้เพียงว่า  พึง

นุ่งปิดสะดือและปกหัวเข่าให้เรียบร้อย  พึงทำชายทั้งสองให้เสมอกัน

ห่มให้เรียบร้อย.  ในการแสดงเคารพหรือทำวินัยกรรม  ให้ห่มดอง,

ในการเข้าบ้าน  กล่าวแต่เพียงว่า  ห่มสังฆาฏิทั้งหลายทำให้มีชั้นแล้ว

กลัดดุม  แต่กำชับไว้ให้ปิดกายด้วยดี  ห้ามไม่ให้เปิดไม่ให้เวิกผ้าขั้น

อาการเหล่านี้ให้สำเร็จสันนิษฐานว่า  ห่มคลุมทั้งสองบ่า.  โดยอาการ

ได้เห็นตัวอย่างและชันสูตรได้  ได้ความว่า  ครั้งยังใช้จีวรเล็กนุ่งจับ

ชายผ้าพอเท่ากันแล้ว  ก็จีบหรือทบเข้ามาเหน็บที่สะดือแล้วรัดประคด

เอว  ประคดเอวเป็นของมีประโยชน์แท้  จึงมีห้ามว่า  อย่าไม่รัด

ประคดเข้าบ้านต่อมาใช้ผ้ายาว  จึงต้องม้วนชายเข้ามา.  ห่มคลุม

เอาชายจีวรข้างหนึ่งพาดบ่าซ้ายทาบลงมาถึงอก  เอาชายอีกข้างหนึ่ง

โอบหลังคลุมบ่าขวาตวัดมาปกบ่าซ้าย  ห้อยลงมาทางแขนซ้ายจนมือ

ซ้ายยึดไว้ได้ มือขวาลอดออกทางริมจีวรด้านล่าง  กลัดดุมที่ชาย

ล่างจดถึงกันทางข้างซ้าย  ห่มเช่นนี้ถูกแก่อาการรับบิณฑบาต ซึ่ง

กล่าวไว้ในบิณฑจาริกวัตรว่า  เมื่อทายกถวายภิกขา  พึงยกสังฆาฏิ

ขึ้นด้วยมือซ้าย  ยื่นบาตรออกด้วยมือขวา  ประคองไว้ด้วยมือทั้ง ๒

รับภิกขากลัดดุมล่างก็มีประโยชน์จริง  ต่อมาต้องการความสะดวก

มากเข้า  จึงเอามือขวาแหวกออกจากริมจีวรด้านข้าง  หาลอดทาง




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 21

ล่างเหมือนอย่างก่อนไม่  พระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร  มีชายจีวร

ออก ๒  ข้างด้านหลัง  แสดงอาการห่มอย่างนี้เอง  ครั้นใช้จีวรกว้าง

ยาว  จึงต้องม้วนลูกบวบชักขึ้นเอาริมผ้าพาดบ่า  หนีบลูกบวบไว้ด้วย

แขนซ้าย  อย่างพระมหานิกายครองอยู่  ต่อมาจึงเอาลูกบวบพากบ่า

เสียทีเดียว  ไม่ต้องหนีบแล้วกคลายลูกบวบแหวกเอามือขวาออกอย่าง

พระรามัญครอง  และพระธรรมยุตครองตามอย่าง.  การครองผ้า

ธรรมดานำให้หันลงหาความสะดวกเช่นนี้  ข้าพเจ้าเข้าใจว่า  ความ

ต้องการสะดวกนี้เอง  พาให้เห็นว่า  ห่มอย่างเดิม  เอามือเอาแขนขวา

ลอดทางล่าง  เมื่อยกขึ้นเป็นเวิกผ้า  ผิดแบบเวขิยวัตร แต่อันที่จริง

หาเป็นเช่นนั้นไม่  เพราะมีข้ออื่น ๆ  บ่งให้เห็นสมว่า  เดิมเป็นเช่นนั้น

ยกขึ้นเกิดประมาณจนเปิดข้าง  จึงจัดว่าเป็นอันเวิก.  ห่มดองครั้งยัง

ใช้จีวรเล็ก  เอาชายจีวรข้างหนึ่งลอดรักแร้ขวาโอบหน้าอกขึ้นไปปก

บ่าซ้าย  เอาชายอีกข้างหนึ่งโอบหลังขึ้นไปปกบ่าซ้ายทับชายก่อน

ห้อยลงมาทางราวนมซ้าย  พระพุทธรูปเชียงแสนแสดงอาการห่ม

อย่างนี้เอง  ครั้งใช้ผ้ากว้างยาว  จึงต้องจีบชายข้างหนึ่งไว้  และพับ

ทบลงมาก่อนจึงห่ม  อย่างพระมหานิกายห่ม  ต่อมา  ต้องการความ

สะดวกมากเข้า  จึงห่มม้วนลูกบวบเอาขึ้นพาดบนบ่าซ้ายอย่างพระ

รามัญห่ม  และพระธรรมยุตห่มตามอย่าง.  สังฆาฏิสำหรับซ้อนห่ม

เมื่อเข้าบ้าน  เมื่อซ้อนเข้ากับอุตตราสงค์แล้ว  ในบาลีเรียวว่าสังฆาฏิ

ทั้งหลาย  โดยเอกเสสนัย  คือกล่าวแต่ศัพท์เดียว  แต่ใช้พหุวจนะ

และมีห้ามไม่ให้มีแต่ลำพับผ้านุ่งกับผ้าห่มเข้าบ้าน  เว้นไว้แต่มีสมัย




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 22

คือ  เจ็บไข้ ๑  สังเกตเห็นว่าฝนจะตก ๑  ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ๑  วิหารคือ

กุฎีคุ้มได้ด้วยดาล ๑  ได้กรานกฐิน ๑  เมื่อได้สมัยเช่นนั้นอย่างใด

อย่างหนึ่ง  จะไม่ห่มผ้าสังฆาฏิไปด้วยได้อยู่  หรือจะห่มสังฆาฏิไป  เอา

อุตตราสงค์ไว้เสียก็ได้เหมือนกัน  ในที่นี้มีแบบห่มผ้าไว้ให้ดูด้วย

ตั้งแต่ห่มผ้าเล็กจนถึงใหญ่  จะเห็นได้ว่า   การห่มผ้าของภิกษุกลายมา

อย่างไร.

           การห่มผ้า  ครั้งแรกดูเหมือนไม่มีจำกัดถ้วนถี่  เข้าบ้านห่ม

คลุมกายมิดชิดก็แล้วกัน  ห่มดองปิดบ่าซ้ายเปิดบ่าขวาก็แล้วกัน

เหมือนอย่างห่มผ้าห่มนอน  ไม่ต้องมีแบบจำกัด  ภายหลังมาถ้วนถี่

หนักเข้า  จนถึงเป็นเครื่องหมายนิกาย  ข้าพเจ้าเองไม่เห็นเป็นสำคัญ

เลย  ห่มอย่างใดอย่างหนึ่ง  แต่ให้เรียกว่าเป็นปริมณฑลได้แล้ว  ก็

เป็นแล้วกัน.

           เดิมที  มีพระพุทธประสงค์จะให้มีเฉพาะไตรจีวรสำรับเดียว

จึงตั้งสิกขาบทห้ามไม่ให้ใช้อติเรกจีวร  ภายหลังทรงผ่อนให้ใช้ได้

เพียง  ๑๐   วัน  และทรงพระอนุญาตผ้าอาบน้ำฝนและผ้าปิดฝีให้ใช้ได้

ชั่วคราว  ผ้าอาบน้ำฝนนั้น  มีจำกัดประมาณยาว   คืบ  กว้าง   คืบ

ครึ่งแห่งคืบสุคต  ให้มีได้ผืนเดียวชั่วฤดูฝน  พ้นจากนั้นต้องเลิก  ผ้าปิด

ฝีนั้น จำกัดประมาณยาว ๔  คืบ  กว้าง ๒  คืบแห่งคืบสุคต  ให้มีได้

ผืนเดียว  ในคราวอาพาธตัวเป็นฝีเป็นแผล  เช่นออกฝีดาษ  ออก

สุกใส  หรือเป็นพุพอง  หายแล้วต้องเลิก.  ยังผ้าที่ไม่ได้ใช้นุ่งห่มทรง

อนุญาตให้มีไว้ใช้สำหรับตัวได้  คือผ้าปูนั่ง  เรียกนิสีทนะ  มีจำกัด




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 23

ประมาณดังจะกล่าวข้างหน้าผืนเดียว  ผ้าปูนอน  เรียกปัจจัตถรณะ

ไม่จำกัด  แต่น่าจะเป็นผืนเดียว,   ผ้าเช็ดหน้าเช็ดปาก  เรียกมุข-

ปุญฉนะ  ไม่มีจำกัดผ้าใช้เป็นบริขาร  เช่นถุงบาตรหรือย่าม  ไม่

มีจำกัด, ผ้าที่ไม่ได้ใช้นุ่งเหล่านี้  ไม่จำกัดสี, แต่ผ้านิสีทนะ  ใช้

เหลืองเป็นพื้น  ชะรอยจะเป็นของเข้าสำรับกับไตรจีวร.  ผ้านุ่งห่มก็ดี

ผ้าใช้สอยก็ดี  ที่ทรงอนุญาตให้มีไว้สำหรับตัวได้  โปรดให้อธิษฐาน

คือตั้งเอาไว้สำหรับเป็นของนั้น ๆ  ผ้าอธิษฐานนี้  ที่มีจำกัดจะเปลี่ยน

ใหม่  ต้องเลิกของเดิมเสียก่อน เรียกว่าปัจจุทธรณ์  หรือถอน

อธิษฐาน  เช่นไตรจีวรเก่าจะเปลี่ยนใหม่  ต้องถอนของเดิมก่อนแล้ว

จึงอธิษฐานของใหม่.  ส่วนผ้านอกจากนี้  มีกำหนดตั้งแต่ยาว ๘ นิ้ว

กว้าง   นิ้วขึ้นไป  จัดเข้าในพวกอติเรกจีวร  โปรดให้วิกัป  คือทำ

ให้เป็นของ ๒  เจ้าของ  อาศัยใช้ได้ด้วยตั้งไว้เป็นของกลาง

           เพราะโปรดให้อธิษฐานผ้าสำหรับตัวอันมิได้ใช้นุ่งห่ม  และผ้า

เหล่านั้นไม่มีจำกัดสี  และอติเรกจีวรมีจำกัดตั้งแต่เป็นของนุ่งห่มไม่ได้

กระมัง  ในบัดนี้  สักว่าผ้าแล้วเป็นใช้อธิษฐานหรือวิกัปทั้งนั้น.  ใคร่

ครวญตามมูลเหตุ  น่าจะเห็นว่า  อติเรกจีวรนั้น  ประสงค์เอาผ้านุ่งห่ม

ได้  แต่เมื่อกล่าวประมาณไว้เช่นนั้น  ก็น่าจะหมายเอาตลอดถึงผ้า

ท่อนที่จะเย็บเพลาะทำจีวรนุ่งห่มได้  ส่วนผ้าสีต่าง ๆ  อันจะใช้ทำผ้า

นุ่งห่มไม่ได้  ดูไม่น่าจะถือว่าเป็นอติเรกจีวรเลย   ข้อที่ทรงอนุญาตให้

อธิษฐานผ้าเหล่านั้น  ตัวอย่างคือผ้าปูนอน  แลเห็นว่าเป็นของรุมา

จากผ้านุ่งห่ม  ซึ่งอาจใช้นุ่งห่มโดยฐานเป็นอติเรกจีวรได้อีก  ขอ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 24

นักวินัยใคร่ครวญดูเถิด.

           ในที่นี้  ควรกล่าวถึงผ้านิสีทนะให้พิสดารสักหน่อย  เป็นบริขาร

ไม่สำคัญก็จริง  แต่ความเข้าใจของพระเถระทั้งหลายแย้งกัน.  ผ้า

นิสีทนะนั้น  มีจำกัดประมาณยาว ๒  คืบ  กว้างคืบครึ่ง  ชายคืบ ๑

ชายนั้นต่อทางด้านไหน  เป็นปัญหาที่เถียงกันอยู่.  ในอรรถกถาสอน

ให้ตัดในที่สุดข้างหนึ่ง ๒  รอยเป็น ๓  แฉก  เรียกว่ามีชาย  ตามคำนี้

ชายนั้นดูเหมือนประกอบไว้ด้านเดียวกัน  ในด้านใดด้านหนึ่งก็ได้. ใน

ครั้งหนึ่งพระเถระทั้งหลายลงสันนิษฐานว่า  ให้ต่อด้านสกัดคือด้าน

คืบครึ่ง  ฝ่ายสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์

เสด็จพระอุปัชฌายะของข้าพเจ้า  ทางพระดำริเห็นว่า  พระพุทธา-

นุญาตให้เพิ่มชายคืบ ๑  นั้น ก็เพื่อจะให้ภิกษุผู้มีกายใหญ่นั่งพอ  เอา

ชายต่อทางด้านสกัดไม่สำเร็จประโยชน์อย่างนั้น  ทรงเห็นอย่างผ้า

ห้อยหน้าตักพระพุทธรูป  ซึ่งเรียกว่าผ้าทิพย์  หรือสันถัต  มีชิ้นเล็ก

ประกอบ ๒  ข้างแห่งด้านยาว  ชิ้นใหญ่ประกอบข้างหนึ่งแห่งด้าน

สกัด  และทรงทำให้ตามแบบนั้น  สำเร็จประโยชน์อย่างนั้น.  อย่าง

ที่ ๑  ชายยาวคืบครึ่ง  กว้าง ๑  ตัดเป็น ๓  ขนาดเท่ากัน  ทางด้าน

กว้าง ๆ  ชายละ ๖ นิ้ว  ต่อชายเข้าแล้ว  เป็นผ้านิสีทนะยาว ๓  คืบ

กว้างคงคืบครึ่ง, อย่างที่ ๒  ขายยาว ๒ คืบ  กว้าง ๑  คืบ  ตัด

เป็น ๓  ชายใหญ่กว้าง ๖ นิ้ว  ชายเล็กกว้าง ๓  นิ้ว  ยาวเท่ากัน.

ต่อชายเข้าแล้ว  เป็นผ้านิสีทนะยาว ๒  คืบ   นิ้ว  กว้าง ๒  คืบถ้วน.

ยังมีทางทำใช้ชายเพียงคืบหนึ่งจตุรัส  แต่ให้สำเร็จประโยชน์คือนั่ง




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 25

พอก็ได้  เอาชายคืบหนึ่งจตุรัสนั้น  ตัดกลางให้เป็น ๒  ชายเท่ากัน

ชายหนึ่ง ๆ  ยาวคืบ ๑  กว้าง ๖ นิ้ว  เอาชายหนึ่งตัดกลางให้เป็น ๒

ชายเท่ากันอีกชายหนึ่ง ๆ  เป็น ๖ นิ้วจตุรัส  เอาเพลาะเข้ากับ

ด้านสกัดของชายใหญ่ด้านละชาย  เป็นชายเดียว  ยาว ๒  คืบถ้วน

กว้าง ๖  นิ้ว  เอาเพลาะเข้ากับตัวนิสีทนะ  ทางด้านยาว  เมื่อต่อ

ชายเข้าแล้ว  ผ้านิสีทนะนั้นเป็น ๒ คืบจตุรัส  ใช้ปูนั่งสำเร็จประโยชน์

สมกับทรงพระอนุญาต  จำเป็นต้องตัดตามอรรถกถานัย  เนื้อผ้าที่

เป็นชายน้อยกว่า ๒  แบบข้างต้น  และผ้าที่เพิ่มขึ้นเรียกว่าชายนั้น  เห็น

จะหมายความว่า  เมื่อนั่งหันหน้าตักออกทางนั้น.  ในที่นี้   ข้าพเจ้าทำ

แผนไว้ให้ดูทั้ง ๓  อย่าง  ขอฝากพระวินัยธรไว้พิจารณาและสันนิษฐาน

ต่อไป.




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 26

                                        ตัวอย่างผ้านิสีทนะ 

                 แบบที่ ๑                                              แบบที่ ๒

           ๑.  ตัวนิสีทนะ                                      ๑.  ตัวนิสีทนะ

           ๒.  ชายผ้าเป็นแฉก                               ๒.  ชายใหญ่

                ไม่ได้เย็บติดกันบ้าง                         ๓.  ชายเล็ก.

                ไม่ได้ผ่าทีเดียวบ้าง.




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 27

                                       แบบใหม่ที่ 

                                     ๑.  ตัวนิสีทนะ

                                     ๒.  ชายใหญ่

                                     ๓.  ชายเล็ก

           ผ้านิสีทนะนี้  ดูเหมือนเป็นบริขารที่ทรงอนุญาตเพิ่มเป็นพิเศษ

สาวกผู้ได้รับพระอนุญาตเป็นผู้ได้ประโยชน์  ถ้าจะไม่ถือเอาประโยชน์

นี้  คือจะไม่มีไว้ใช้  ก็น่าจะได้  แต่มีห้ามไว้ไม่ให้อยู่ปราศจากนิสีทนะ

ถึง ๔  เดือน  เช่นนี้น่าจะเห็นไปได้อีกทางหนึ่งว่า  เป็นบริขาร

จำเป็น  จะต้องมีสำหรับตัว  ขาดได้เป็นครั้งคราว  แต่ไม่ถึง ๔

เดือน  มตินี้สมด้วยอปนิธานสิกขาบทที่ ๑๐  แห่งสุราปานวรรค




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 28

แห่งปาจิตติยกัณฑ์ ที่ยกผ้านิสีทนะเป็นวัตถุแห่งปาจิตติยะ  เสมอ

ด้วยบริขารจำเป็นอย่างอื่นมีบาตรจีวรเป็นต้นแม้ข้อนี้  ก็ควรดำริ

ของนักวินัยด้วย.

                                           บาตร 

           บาตรเป็นบริขารดั้งเดิมสำหรับตัวของภิกษุด้วยอย่างหนึ่ง  เป็น

คู่กับไตรจีวร  ผู้มุ่งจะอุปสมบทจำจะต้องมีไว้ก่อน.  บาตรนั้น  ทรง

พระอนุญาตไว้ ๒  ชนิด  คือ  บาตรดินเผา  [ สุมดำสนิท ] ๑  บาตร

เหล็ก ๑.  ห้ามไม่ให้ใช้ของอื่นแทนบาตร  เช่นกะทะดิน  กะโหลก

น้ำเต้า  กะโหลกหัวผี.  บาตรชนิดอื่นก็ห้ามไม่ให้ใช้  ระบุชื่อไว้ใน

บาลี ๑๑  อย่าง  คือ  บาตรทอง  บาตรเงิน  บาตรแก้วมณี  บาตร

แก้วไพฑูรย์  บาตรแก้วผลึก  บาตรแก้วหุง  บาตรทองแดง  บาตร

ทองเหลือง  บาตรดีบุก  บาตรสังกะสี  บาตรไม้.  ในเรื่องพุทธประวัติ

กล่าวว่า  บาตรของพระศาสดาเป็นศิลา  แต่หาได้ออกชื่อไว้ในจำพวก

บาตรที่ห้ามหรือที่อนุญาตไม่.

           ในที่นี้  สมควรจะแสดงมติของข้าพเจ้าไว้สักหน่อยว่า  เหตุไฉน

จึงห้ามบาตร  ๑๑  อย่างนั้น  บาตรทอง  บาตรเงิน  เป็นอกัปปิยะบาตร

แก้มณี  บาตรแก้วไพฑูรย์  ข้าพเจ้าไม่เข้าใจ  เป็นของมีได้อย่างไร

นอกจากเป็นของประดับด้วยพลอยเท่านั้นแก้วผลึก  ก็ไม่เชื่อว่าจะหา

ได้ใหญ่จนถึงทำบาตรได้บาตรแก้วหุง  เป็นของแตกง่ายและสะเก็ด

ที่แตกปนกับอาหารกลืนเข้าไปเป็นอันตรายแก่ชีวิตบาตรทองแดง

บาตรทองเหลือง  บาตรดีบุก  บาตรสังกะสี  ถูกของเปรี้ยวของเค็มเข้า       




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 29

ขึ้นสนิม  ที่มีพิษติดอาหารบริโภคเข้าไป  ทำให้ลงท้อง  รู้ไม่ทัน  อาจ

ทำให้ถึงตายในอรรถกถากุรุนที  กล่าวว่า  ถ้วยจานเป็นทองแดง

ควรอยู่  ข้าพเจ้าขอแนะนำว่าอย่าใช้  ยังของที่น่ากลัวในบัดนี้  คือ

ฝาบาตรทองเหล่อง  ท่านโบราณจะรู้บ้างกระมัง  จึงไม่ใช้ฝาบาตร

ทองแดง ทองเหลืองเลย  และใช้ฝาบาตรลงรักบาตรไม้  ของกิน

อาจซึมเข้าได้ไม่สะอาด.

           ขนาดแห่งบาตรนั้น  คงไล่เลี่ยกับกะโหลกน้ำเต้าบ้าง  กับ

กะโหลกหัวผีบ้าง  กะทะดินบ้าง  จึงทรงยกของเหล่านี้ขึ้นห้ามไม่ให้

เอาใช้แทนบาตร.  นอกจากนี้ยังมีคำสาธกอีก ในมหาสกุลุทายิสูตร

มัชฌิมนิกาย  มัชฌิมปัณณาสกะ  [ หน้า ๓๑๘ ]  มีบาลีเป็นพระพุทธ-

ภาษิต  ตรัสแก่สกุลุทายิปริพพาชกว่า   " อุทายิ  บางคราว  เรา

ฉันเต็มขอบบาตรนี้ก็มี ยิ่งกว่าก็มี  หากว่าพวกสาวกของเราจะ

สักการะ  เคารพ  นับถือ  บูชาเรา  แล้วอยู่พึงเรา  ด้วยเข้าใจว่า  เรามี

อาหารน้อยและสรรเสริญความเป็นผู้มีอาหารน้อย  สาวกของเราผู้มี

อาหารน้อยเพียงเท่าโกสะ  [ จุในผลกะเบา ? ]   หนึ่งก็มี  เพียงเท่า

เวฬุวะ  [ จุในผลมะตูม ? ]  หนึ่งก็มี  เพียงกึ่งนั้นก็มี  ที่ไหนเธอจะ

สักการะ  เคารพ  นับถือ  บูชาเรา  แล้วอยู่พึ่งเราเล่า ? "   แม้ในที่อื่นก็

กล่าวว่า  พระศาสดาเสวยพระอาหารน้อย พระอาหารเต็มขอบบาตรที่

ว่าเสวยหมดนั้น คงไม่เท่าไรนัก.  และในภัตตัคควัตรกล่าวว่า  ภิกษุ

ทั้งหลายฉันยังไม่แล้ว  พระเถระอย่าพึ่งรับน้ำล้างบาตรก่อน แปลว่า

ฉันกันหมดบาตร  เทียบตามส่วนบาตรและส่วนพระพุทธรูปผู้ถือ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 30

ที่ถ่ายจากรูปศิลา  ของพวกพุทธศาสนิกในชมพูทวีปตอนเหนือ  ไม่ใหญ่

ดุจบาตรที่ภิกษุใช้อยู่ในประเทศเราบัดนี้  ขนาดเท่าเราถือขันน้ำได้

อยู่   สัณฐานก็ออกจะคล้ายกะโหลกน้ำเต้าด้วย.  ในคัมภีร์วิภังค์

กล่าวขนาดบาตรไว้   ชนิด อย่างใหญ่  อย่างกลาง  อย่างเล็ก

กำหนดด้วยจุอาหาร.  บาตรขนาดใหญ่  จุข้าวสุกแห่งข้าวสารกึ่ง

อาฬหก  บาตรขนาดกลาง  จุข้าวสุกแห่งข้าวสารนาฬีหนึ่ง  บาตร

ขนาดเล็ก จุข้าวสุกแห่งข้าวสารปัตถะหนึ่ง  เดิมของเคี้ยวเท่า ๑

เสี้ยว ๔  แห่งข้าวสุก และกับข้าวพอสมกัน.  บาตร  ๓ ขนาดนี้

อาหารทวีคูณกว่ากันโดยลำดับ.  ตามคำในเรื่องเมณฑกเศรษฐีใน

อรรถกถาธรรมบท ตอนมลวรรค  ข้าวสารนาฬีหนึ่ง  หุงเป็นข้าวสุก

แจกกัน ๕  คน  ส่วนที่คนหนึ่งได้  พอกินอิ่ม  แต่ไม่พอแก่ ๒  คน  โดย

นัยนี้  บาตรขนาดเล็ก  จุข้าวสุก   คนกินเหลือ  กิน ๓  คนไม่พอ

บาตรขนาดกลาง  จุข้าวสุกกินได้   คน   บาตรขนาดใหญ่  จุข้าว-

สุกกินได้  ๑๐  คน.  ลองให้หุงข้าวและทำบาตรตัวอย่างตามมาตรา

ตวงในมาตรากัณฑ์ก็ลงรอยกัน.  บาตรขนาดเล็กเขื่องกว่ากะโหลก

หัวผีหน่อยหนึ่ง  ถ้ากำหนดเอาแต่จุข้าวสุก  ไม่เพิ่มของเคี้ยวและกับ

ข้าวก็จะพอได้กัน  ปั่นเป็นโอกาสสำหรับของเคี้ยวของกินไว้บ้าง

ข้าวก็คงพอกินคนเดียวเหลือ  หรือพอ   คน  สมเป็นบาตร  บาตร

ขนาดกลางสัณฐานเท่ากับบาตรที่ใช้กันเป็นพื้นในบัดนี้  วัดรอบตัว

๒๗  นิ้วฟุตครึ่ง  แต่จุข้าวสุกมากเกินต้องการ  บาตรขนาดใหญ่

อนุมานว่า  ทั้งสัณฐานใหญ่ทั้งจุข้าวสุกมากเกินไป  ไม่ได้ลองทำ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 31

ตัวอย่าง.  ขนาดบาตรในคัมภีร์วิภังค์นั้น  น่าจะกล่าวเมื่อครั้งพระใช้

บาตรใหญ่กัน.  พระวินัยธรพึงพิจารณาสอบสวนดูเถิด.

           บาตรนั้น  ในเวลาเที่ยวรับภิกษา  ใช้ถือ  ดูเหมือนจับที่ปาก

ด้วยมือขวา  ในภายในจีวร ไม่ใช้ฝา ขณะจะรับอาหารจึงเอามือ

ซ้ายยกชายจีวรขึ้น  ยื่นบาตรออกด้วยมือขวา  แต่ภิกษุผู้อยู่ป่าต้อง

เดินทางไกล เอาบาตรเข้าถุงมีสายโยคคล้องจะงอยบ่าเดินมาก่อน

เมื่อจะเข้าบ้าน  จึงเอาบาตรออกจากถุง  ถอดรองเท้าเอาไว้ในถุง

แทน  เอาจีวรที่ถือมาห่มคลุม   บ่าแล้ว  ถือบาตรในจีวรเข้าไป

กลับออกมาแล้ว จึงเปลื้องจีวร  เอารองเท้าออกจากถุง  เอาบาตร

เข้าถุงใหม่  กลับไป.  เมื่อการห่มผ้าค่อยกลายมา  จนเป็นแหวก

ทางหน้าอก  บาตรก็ต้องเอาออกทางนั้น  ท่าก็ไม่สมกันกับคำกล่าว

ในบิณฑปาติกวัตร  ที่สำแดงแล้วในหนหลัง.  ยังภิกษุบางพวกใช้

บาตรเข้าถุงคล้องจะงอยบ่ารับภิกษา  ก็เอาอาการของภิกษุอยู่ป่ามาปน

ไม่สมธรรมเนียมเดิมเหมือนกัน.

           บาตรมีชนิดและขนาดดังกล่าวแล้วนี้  ภิกษุมีสำหรับตัวได้

เพียงใบเดียว  โปรดให้อธิษฐาน  คือตั้งเอาไว้สำหรับ บาตรตั้งแต่

ใบที่   เป็นอติเรกบาตร  มีไว้เป็นสิทธิ์ของตนได้เพียง  ๑๐  วัน  ต้อง

วิกัปไว้แต่ในกำหนดนั้น.  ถ้าจะเปลี่ยนบาตรสำหรับตัว  ต้อง

ปัจจุทธรณ์บาตรเดิมก่อน  แล้วจึงอธิษฐานบาตรใหม่.  บาตรที่ใช้

ไม่ได้  จำจะต้องเปลี่ยนใหม่นั้น มีรอยร้าวแห่งเดียวหรือหลายแห่ง

รวมเข้าได้ ๑๐ นิ้ว  เรียกว่ามีแผล ๕  แห่ง  หรือแตกทะลุ  อาหารรั่ว




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 32

ออกได้.  

           เข้าใจว่า  ครั้งพุทธกาล  คงใช้บาตรดินเป็นพื้น บาตรเหล็ก

คงเป็นของมีน้อย จึงมีธรรมเนียมระวังบาตรอย่างกวดขัน  ห้าม

ไม่ให้วางบาตร  เก็บบาตร  ในที่จะตกแตก  และในที่จะประทุษร้าย

บาตร  ห้ามไว้ในบาลี  ไม่ให้วางบาตรบนเตียง  บนตั่ง  [ คือม้าหรือ

โต๊ะ ]  บนร่ม  บนพนัก  บนพรึง  [ คือชานนอกพนัก ]  บนตักก็

ไม่ให้วาง  [ ฉวยว่าลุกขึ้นด้วยไม่มีสติ บาตรจะตกแตก ]  ไม่ให้

แขวนบาตร  ] เช่นที่ราวจีวร ]  แต่จะเอาเข้าถุงมีสายโยคคล้อง

จะงอยบ่า  ท่านอนุญาตไว้ในอรัญยิกวัตรดังกล่าวแล้ว  ห้ามไม่ให้

คร่ำบาตรที่พื้นคมแข็งอันจะประทุษร้ายบาตร  ทรงอนุญาตให้มีเครื่อง

รอง  จะเป็นหญ้าเป็นผ้าเป็นเสื่ออย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้  เว้นไว้แต่พื้นที่

ไม่ประทุษร้ายบาตร  เช่นพื้นกระดาน.  มีบาตรอยู่ในมือ  ห้ามไม่ให้

ผลักบานประตู  คือเปิดหรือปิดประตู.

           อนึ่ง  ให้รู้จักใช้รู้รักรักษาบาตร  ห้ามไม่ให้ใช้บาตรต่างกระโถน

คือทิ้งก้างปลา  กระดูก  เนื้อ  หรืออื่น ๆ  อันเป็นเดนลงในบาตร  ห้าม

ไม่ให้ล้างมือหรือบ้วนปากลงในบาตร  จะเอามือเปื้อนจับบาตรก็

ไม่ควร ฉันแล้วให้ล้างบาตร  ห้ามไม่ให้เก็บไว้ทั้งยังเปียก  ให้ผึ่ง

แดดก่อน  ห้ามไม่ให้ผึ่งทั้งยังเปียก  ให้เช็ดจนหมดน้ำก่อนจึงผึ่ง

ห้ามไม่ให้ผึ่งไว้นาน ให้ผึ่งสักครู่หนึ่ง.

           บาตรนั้น  ทรงพระอนุญาตเชิงไว้สำหรับรอง   แต่ห้ามไม่ให้ใช้

ของเป็นอกัปปิยะ  และของวิจิตรกาววาวด้วยรูปต่าง ๆ  ให้ใช้ของ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 33

ปกติเรียบ ๆ ทำด้วยดีบุกสังกะสีหรือไม้ก็ได้.  ฝาบาตร  มีขึ้นเมื่อ

ภายหลัง  บางทีจะสันนิษฐานจากศัพท์ว่า   " ปตฺตมณฺฑล ํ"   แปลตาม

พยัญชนะว่า  วงสำหรับบาตร  ทรงพระอนุญาตเพื่อกันก้นบาตรสึก

เพราะถูกครูดสี. แต่มีอีกสิ่งหนึ่ง  เรียกว่า   " ปตฺตาธารโก "   แปลตาม

พยัญชนะว่า  ของรับบาตร น่าจะเข้าใจว้า  เชิงบาตรเหมือนกัน

ทรงพระอนุญาตเพื่อกันบาตรกลิ้งเมื่อต้องพายุพัด  ในเมื่อวางไว้กลาง

แจ้ง  พระอรรถกถาจารย์แก้ว่า  ทำด้วยไม้ที่แข็งแรง  ซ้อนบาตร

ได้ ๒ ใบบ้าง ๓  ใบบ้าง  ข้าพเจ้ายังไม่เข้าใจว่าอะไร  รวมกล่าวไว้

ในเชิงบาตรนั้นเอง.

           อีกอย่างหนึ่ง  ทรงพระอนุญาตถุงมีสายโยคไว้สำหรับ  เพื่อจะ

ได้สอดบาตรเข้าไว้  และคล้องจะงอยบ่าในเวลาเดินทาง  ดังกล่าว

แล้วในหนหลัง.

                                   เครื่องอุปโภค

           เดิมที  ดูเหมือนมีพระพุทธประสงค์จะให้ภิกษุมีบริขารแต่เล็ก

น้อยพอติดตัวไปไหนได้สะดวก  บริขารเหล่านี้  สันนิษฐานตาม

อปนิธานสิกขาบทที่  ๑๐  แห่งสุราปานวรรค  ปาจิตติยกัณฑ์  บาตร

ไตรจีวร  ผ้านิสีทนะ  กล่องเข็ม  ประคดเอว  จำเนียรกาลล่วงมา

เมื่อความต้องการเกิดขึ้น ก็ทรงพระอนุญาตเพิ่มเป็นสิ่ง ๆ  บริขาร

ของภิกษุจึงมีมากออกไป  พ้นวิสัยที่จะกล่าวให้ทั่วถึง  ในที่นี้จะกล่าว

เป็นสิ่ง ๆ  เฉพาะมีธรรมเนียมเนื่องอยู่ด้วย.

           กล่องเข็ม  ห้ามไม่ให้ใช้ของทำด้วยกระดูก  ด้วยงา  ด้วยเขา




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 34

ทำใช้เองต้องอาบัติปาจิตติยะที่ให้ต่อยเสีย  ได้ของที่คนอื่นทำและใช้

ต้องทุกกฏ. ห้ามเฉพาะกล่องเข็มที่ภิกษุเกิดเล่นกันขึ้นตามสมัย  ไม่ได้

ห้ามทั่วไปถึงของอื่น  หรือที่ทรงพระอนุญาตให้ทำด้วยของเช่นนั้นก็มี

เช่นลูกดุมจีวร  ลูกถวินประคด  เป็นตัวอย่าง.  กล่องเข้มที่ทำด้วยของ

อื่นพ้นจากของ ๓  อย่างนั้นและเป็นกัปปิยะ  เช่นไม้หรือโลหะควรอยู่

ของเก่าใช้ไม้เป็นพื้น.

           เครื่องกรองน้ำ  เป็นผ้าผืนก็มี  เป็นกระบอกก้นผูกผ้าที่เรียกว่า

ธมกรกก็มี  หรือเป็นอย่างอื่นได้ได้เหมือนกัน  สุดแท้แต่ให้น้ำได้

กรอง. เป็นธรรมเนียมของภิกษุ  จะดื่มน้ำต้องกรองก่อน.  ไม่มีเครื่อง

กรองน้ำ  ห้ามไม่ให้เดินทางไกลที่กำหนดว่าตั้งแต่กึ่งโยชน์  หาอย่าง

อื่นไม่ได้  แม้ชายสังฆาฏิก็ให้อธิษฐาน  คือตั้งเอาไว้เป็นเครื่องกรอง

ใช้ได้เหมือนกัน  และภิกษุผู้เดินทางไกลมีผ้ากรองน้ำไปด้วย  หาก

ภิกษุอื่นผู้ไม่มีผ้ากรองขอยืม  ห้ามไม่ให้หวง  จำเป็นจะให้.

           เพราะมีสิกขาบทห้ามไม่ให้บริโภคน้ำมีตัวสัตว์ จึงเข้าใจกันว่า

ธรรมเนียมกรองน้ำฉันของภิกษุ  เพื่อจะกันตัวสัตว์  นี้เป็นความมุ่ง

หมายอย่างหนึ่ง  ไม่ผิดแต่ดูเหมือนมุ่งถึงให้ได้น้ำฉันสะอาดด้วย

เพราะเครื่องกรองที่ทรงพระอนุญาตไว้บางอยาง  เช่นขดไม้เป็นรูป

ช้อน  เอาผ้าผูก  มีคันถือ  ตักน้ำเข้าในผ้า  ยกขึ้นกรองให้น้ำไหลลง

ไปทางผ้า  หามมีตัวสัตว์ติดน้ำลงไปในผ้า  ก็คงติดอยู่ในผ้านั้น ไม่ใช่

เครื่องป้องกันชีวิตสัตว์  เครื่องกรองน้ำอย่างนี้  เพื่อทำให้น้ำสะอาด

ต่างหาก  ที่เป็นของใหญ่สำหรับคนมากเช่นคนทำงาน  ทำโดยทำนอง




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 35

เดียวกัน  มีคันหรือสายหย่อน จุ่มลงในน้ำยกขึ้น  รองน้ำที่ไหล

ลงจากผ้านั้นก็ยังมี.

           มีดโกนพร้อมทั้งฝัก หินสำหรับลับ  กับเครื่องสะบัด  เป็นของ

ทรงพระอนุญาตไว้สำหรับปลงผม  ปลงหนวด  ไม่นับว่าศัสตรา  แต่

ยกภิกษุผู้เคยเป็นช่างกัลบก  คือเป็นไส้หู้มาก่อนบวช ห้ามไม่ให้ภิกษุ

เช่นนั้นมีมีดโกนไว้สำหรับตัว.  ข้อนี้เข้าใจว่า  ชะรอยจะตัดเครื่องมือ

สำหรับหากินเดิมเสีย  จะได้สิ้นกังวล  ไม่หวนนึกถึงกาลหนหลัง  และ

จะได้ตั้งหน้าบำเพ็ญสมณธรรม.

           ร่มในบาลีไม่ได้ระบุไว้ว่าเป็นของชนิดไรบ้าง  แต่ในอรรถกถา

ห้ามไม่ให้ใช้ของกาววาว  เช่นร่มปักด้วยไหมสีต่าง ๆ  และร่มมี

ระบายเป็นเฟื่อง  ควรใช้แต่ของที่ทำเรียบ ๆ  ทรงอนุญาตให้ใช้ได้

ในอารามและอุปจารแห่งอาราม  ห้ามไม่ให้กั้นร่มเข้าบ้าน  หรือกั้น

เดินตามถนนหนทางในละแวกบ้าน  เว้นไว้แต่เจ็บไข้ไม่สบาย  ถูก

แดดฝนอาพาธจะกำเริบ  เช่นปวดศีรษะ  เช่นนี้  กั้นร่มเข้าบ้านได้

ในชั้นอรรถกถาผ่อนให้ว่า  กั้นเพื่อกันจีวรเปียกในเวลาฝนตก  กั้น

เพื่อป้องกันภัย กั้นเพื่อรักษาตัว  [ เช่นในคราวแดดจัด ]  ได้อยู่.

           รองเท้า มีชื่อ  ๒ ชนิด  เรียกว่าปาทุกา ๑   อุปาหนา ๑.

ปาทุกานั้น  น่าจะได้แก่รองเท้ามีส้น  มีรองเท้าไม้เป็นตัวอย่าง  ท่าน

จึงแปลเป็นคำไทยว่า  เขียงเท้า.  แต่ในบาลีเรียกรองเท้าชนิดอื่นด้วย

หรือรองเท้าเช่นนั้นเป็นนของทีส้นด้วย  ก็หารู้ไม่ ปาทุกาที่ระบุชื่อไว้

ในบาลี คือเขียงเท้าที่ทำด้วยไม้  ทำด้วยทอง  ทำด้วยเงิน  ประดับ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 36

ด้วยแก้วมณี  ด้วยแก้วไพฑูรย์ ด้วยแก้วผลึก ทำด้วยทองแดง

ทำด้วยดีบุก  ทำด้วยสังกะสี  สานด้วยใบตาล ด้วยตอก ด้วยหญ้า

ต่างชนิด  ด้วยใบเป้ง  ด้วยแฝก ถักหรือปักด้วยขนเจียม.  ปาทุกา

เหล่านี้  ห้ามมิให้ใช้ทุกอย่าง  แต่ปาทุกาที่ทำด้วยไม้นั้น ห้ามเฉพาะ

ของที่สำหรับสวมเดิน  ของที่ตรึงอยู่กับที่  สำหรับถ่ายอุจจาระ

ปัสสาวะและเป็นที่ชำระ  ทรงพระอนุญาตให้ขึ้นเหยียบได้.  อุปาหนานั้น

น่าจะได้แก่รองเท้าไม่มีส้น  ชนิดที่ทรงพระอนุญาตนั้น ทำด้วยหนัง

สามัญ   ชั้นเดียวใช้ได้ทั่วไป  มากชั้นตั้งแต่ ๔  เป็นของเกาใช้ได้ทั่วไป

มากขึ้นเป็นของใหม่  ใช้ได้เฉพาะปัจจันตชนบท  นอกมัธยมชนบท.

มีสายรัดหรือใช้คีบด้วยนิ้ว  ไม่ปกหลังเท้า ปกสั้น.  ห้ามไม่ให้ใช้

อุปาหนา ๒  ชั้น   ชั้น  แม้มากชั้นแต่เป็นของใหม่  ใช้ในมัธยม

ชนบทไม่ได้  นี้เป็นเหตุอะไร ข้าพเจ้ายังไม่เข้าใจ.  แม้

อุปาหนามีลักษณะใช้ได้ แต่เป็นของมีสีต่าง ๆ  คือ  สีขาบ สีเหลือง

สีแดง  สีบานเย็น  สีแสด  สีชมพู  สีดำ  ก็ห้ามไม่ให้ใช้  แต่สำรอก

สีนั้นออกแล้ว  แม้แต่เพียงทำให้หมองก็ใช้ได้. ห้ามไม่ให้ใช้

อุปาหนามีหูหรือสายรัดมีสีต่าง ๆ  เช่นนั้น  เปลี่ยนหูหรือสายรัดเสีย

ใหม่ก็ใช้ได้.  ห้ามไม่ให้ใช้อุปาหนาอันขลิบด้วยหนังสีหะ เสือโคร่ง

เสือเหลือง  ชะมด  นาก  แมว  ค่าง  นกเค้า  เอาหนังที่ขลิบออกเสีย

แล้วใช้ได้.  ห้ามไม่ให้ใช้อุปาหนาปกส้น  ปกหลังเท้า  ปกแข็ง  พื้น

ยัดนุ่น   ตรึงหรือประดับนกกระทา  ขนนกยูง  มีหูเป็นช่องดังเขาแกะ

ดังเขาแพะ  ดังง่ามแมลงป่อง  แก้ให้เป็นกัปปิยะแล้วใช้ได้.  อุปาหนา




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 37

อันเป็นของทรงอนุญาตแล้วนั้น ใช้ในที่ทั่วไปไม่ได้  ไม่เจ็บเท้า  ห้าม

ไม่ให้สวมเข้าบ้าน  เป็นอาคันตุกะเข้าไปในวัดอื่นก็ให้ถอด  ในอาราม

อันไม่ใช่ที่ต้องห้าม  ในป่าสวมได้.  ฝ่าเท้าบางเหยียบพื้นแข็งไม่ได้

เหยียบเข้าเจ็บ  หรือในฤดูร้อน  พื้นร้อน  เหยียบเท้าพอง  สวม

เข้าบ้านได้  เข้าวัดได้ในฤดูฝน  ไปในที่ฉำแฉะ  ภิกษุผู้อาพาธเป็น

โรคกระษัย  สวมเพื่อกันเท้าเย็นก็ได้.

           ส่วนบริขารอื่น  พระอรรถกถาจารย์ชี้ชนิดไว้ว่า  อย่างนั้นควร

อย่างนั้นไม่ควร  ดังมีแจ้งในบริขารกถาแห่งบุพพสิกขาวัณณนา

ฟังฟั่นเฝือเสียจริง ๆ  ยากที่จะกำหนดให้เข้าใจ.  ผู้ศึกษาพระวินัย

พึงเข้าใจต้นเค้าดังนี้ :  ภิกษุย่อมนิยมใช้สอยบริขารที่เป็นของปอน

หรือของเรียบ ๆ  ไม่ใช้ของดีที่เขากำลังตื่นกันในสมัย  อันพึงจะเรียก

ว่าของโอ่โถง  ความประพฤติปอนของภิกษุนี้  ย่อมนำให้เกิดความ

เลื่อมใสแก่คนบางเหล่า  ที่เรียกว่าพวกลูขประมาณ  แปลว่า  มีของ

ปอนเป็นประมาณ  มีของปอนเป็นเหตุนับถือ.  ศิลปะ  คือความคิด

และฝีมือทำพัสดุสำหรับใช้สอยของมนุษย์  ย่อมเจริญขึ้นโดยลำดับ

กาล. ของที่ประณีตในสมัยหนึ่ง  ย่อมกลับเลวในสมัยอื่น.

ของที่พระอรรถกถาจารย์พรรณนาไว้ว่าเป็นของดีในครั้งนั้น มาใน

บัดนี้  กลับเป็นของสามัญหรือของเลวก็มี  จะหาของที่ท่านว่าเป็น

สมณสารูปเกือบไม่ค่อยได้  เหตุนั้น  พึงเข้าใจว่า  ท่านก็พรรณนา

ตามสมัยของท่าน.  ภิกษุผู้เคร่งไม่นึกถึงกาลเทศะ  ปรารถนาเพียง




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 38

ทำให้ถูกแบบ  ย่อมได้ความลำบาก  ด้วยหาของใช้ยาก  แสวงหา

ใหม่  ก็ออกจะเสียสันโดษ  เพราะไม่บริโภคตามมีตามได้ ถ้าใช้ของ

นั้น ก็เป็นอันฝืนความรู้สึกว่าไม่ควร  ที่แปลว่าต้องอาบัติทุกกฏ

บริขารที่ปอนที่ประณีต  ควรกำหนดตามสมัย.  ส่วนบริขารที่จะ

ทำใช้เอง  ไม่ควรมุ่งความงามเป็นที่ตั้ง   ควรมุ่งให้เป็นของสำเร็จ

ประโยชน์  หรือเป็นของทนได้นาน.  เข้าใจต้นเค้าเช่นนี้แล้ว  อาจ

ปฏิบัติให้พอดี  สมแก่ภาวะและกาลเทศะ.

                                เครื่องเสนาสนะ

           กุฎีที่อยู่ของภิกษุครั้งพุทธกาล  คงเป็นแต่สักว่ากระท่อม  พื้น

โบกปูนหรือเป็นแต่ดิน  จึงทรงอนุญาตเตียงไว้สำหรับนอน  ตั่งไว้

สำหรับนั่ง  เพื่อกันชื้นกระมัง.  เตียงและตั่งนั้น  ให้มีเท้าสูงเพียง 

นิ้วสุคต  ยกแม่แคร่ที่เท้าสอดเข้าไปเสีย  ห้ามไม่ให้ใช้เตียงตั่งมีเท้า

สูงกว่านั้นเพราะเหตุอะไร ?   ข้าพเจ้ายังแปลไม่ออก  นอกจากเป็น

ของโอ่โถง  ภิกษุทำใช้เอง  ล่อยให้เท้าสูงกว่ากำหนด ต้องอาบัติ

ปาจิตติยะ  ที่ให้ตัดของนั้นเสีย ถ้าใช้ของที่คนอื่นทำ  ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.  ภายหลังอนุญาตให้หนุนเตียงขึ้นด้วยเขียง  สูงเพียง   นิ้ว

ก็ได้.  เตียงนั้น แม้มีเท้าได้ประมาณ  แต่มีรูปสัตว์ร้ายที่เท้า  เช่น

เตียงจมูกสิงห์เรียกบัลลังก์  ห้ามไม่ให้ใช้.  อาสันทิ  เป็นม้าสำหรับ

นั่งเหมือนกับตั่ง  แต่ตั่งเป็นม้า ๔  เหลี่ยมรี  นั่งได้   คนก็มี  อาสันทิ

เป็นม้า ๔  เหลี่ยมจตุรัส  นั่งได้คนเดียว  เดิมทรงห้ามของที่มีเท้าสูง

ว่า   นิ้ว  แต่ภายหลังทรงอนุญาตม้ามีพนัก ๓ ด้าน ตรงกับ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 39

เก้าอี้มีแขน  เรียกว่า  สัตตังคะ  แปลว่า  อาสนะมีองค์ ๗  คือเท้า ๔

พนัก ๓ สูงก็ใช้ได้  เป็นของทรงอนุญาตม้ามีพนักหลังอย่างเดียว

เรียกว่า  ปัญจังคะ  ได้แก่เก้าอี้ไม่มีแขน  ไม่ได้กล่าวถึง แต่เป็น

ของอนุโลมสัตตังคะ  สูงก็เห็นว่าใช้ได้เหมือนกัน.  ฟูกเตียง  คือที่

นอน  ฟูกตั่ง  คือเบาะ  เป็นของทรงอนุญาต  แต่ห้ามไม่ให้ใช้ของ

ยัดนุ่น  [ สำลีก็นับเข้าในนุ่น ]  ฟูกที่ควรใช้ได้   อย่าง  คือฟูกยัด

ด้วยขนแกะ ๑  ฟูกยัดด้วยท่อนผ้าหรือเศษผ้า ๑  ฟูกยัดด้วยเปลือก

ไม้ ๑  ฟูกยัดด้วยหญ้า ๑  ฟูกยัดด้วยใบไม้ ๑,   เปลือกฟูกนั้น ผ้ามี

กำหนด ๖  อย่าง  เช่นจีวร  ใช้ได้.  ขนปีกแห่งนก  และขนสัตว์   เท้า

อย่างอื่น  ยกผมขนมนุษย์เสีย  อนุโลมขนแกะ  ฟูกยัดด้วยขนเหล่านี้

ก็ใช้ได้.  ใบไม้นั้น  ใช้ได้ทุกอย่าง  เว้นแต่ในพิมเสนล้วน  ที่ห้ามไว้

ในอรรถกถา  แต่ปนของอื่นท่านอนุญาต.  ผมขนมนุษย์ท่านห้ามนั้น

เพื่อจะป้องกันผมขนคนเป็นโรค  อันจะติดกันได้กระมัง.  ส่วนใบ

พิมเสน  ท่านห้ามเพราะมีกลิ่นร้อนกระมัง.  เสียงก็ดี ตั่งก็ดี  เป็น

ของหุ้มคือเก้าอี้เบาะก็ใช้ได้  แต่ใช้ไส้ที่เป็นกัปปิยะ.  เตียงก็ดี  ที่นอน

ก็ดี  ที่เป็นของใหญ่  ห้ามไม่ให้ใช้แต่จะใหญ่เท่าไรท่านไม่ได้

กำหนดไว้.  ข้าพเจ้าสันนิษฐานเอาเองว่า  ใหญ่นอนได้   คน  ภิกษุ

เป็นพรหมจารี  ใช้ของสำหรับคนคู่นอนไม่สมควร  เพราะเหตุนี้

กระมัง  ท่านจึงห้าม.  หมอนหนุนศีรษะ ทรงอนุญาตให้ยัดนุ่นได้  แต่

ให้มีประมาณพอศีรษะ  คือเป็นหมอนหนุนได้ศีรษะเดียวไม่ถึง ๒

ห้ามไม่ให้ใช้หมอนใหญ่กึ่งกาย, หมอนข้างห้ามไม่ให้ใช้  ชะรอย




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 40

ในครั้งนั้น  เขาจะใช้ผ้าแดงเป็นเปลือกเหมือน  ในบาลีจึงออกชื่อว่า

" อุภโต  โลหิตกุปธานํ "   แปลว่า  ของสำหรับจุน   ข้างมีสีแดง

แต่ในอรรถกถาแก้หลงไปว่า  หมอนหนุนศีรษะและหมอนหนุนเท้า

ที่ไม่ใช่ของแดง  อนุญาตให้ใช้ด้วย.  อย่างไรหมอนข้างเป็นของไม่

สมควรจะใช้แห่งภิกษุผู้เป็นพรหมจรี นึกดูสกหน่อยก็คงจะรู้ได้.

เครื่องลาด  อันจัดว่าเป็นของวิจิตรห้ามไม่ให้ใช้  รุบุชื่อไว้ในยาลี

คือผ้าขน  เรียกโคณกะ  มีขนยาวกว่า ๔ นิ้วเครื่องลาดทำด้วย

ขนแกะ เรียกชื่อต่างกัน  ที่ปักหรือทอเป็นลาย เรียกว่าจิตตกา.  ที่เป็น

สัณฐานพวงดอกไม้  เรียกปฏลิกาที่เป็นรูปสัตว์ร้าย  มีสีหะเสือ

เป็นต้น  เรียกวิกติกา  ที่สีมีขาวล้วน  เรียกปฏิกาที่มีขนตั้ง  เรียก

อุทธโลมิที่มีขนตกไปข้างเดียวกัน  เรียกเอกันตโลมิที่เป็นของ

ใหญ่นางฟ้อน ๑๖  คนยืนรำได้  [ เช่นพรหมห้อง ]  เรียกกุฏกะ  เครื่อง

ลาดที่ทอด้วยด้ายทองแกมไหม  เช่นเยียระบับ  เข้มขาบเป็นต้น  และ

เครื่องลาดที่เป็นไหมล้วน  เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะ  อัน

มีขนอ่อนนุ่ม  [ เช่นแมวน้ำที่เรียกในภาษาอังกฤษว่าสีล ]  และเครื่อง

ลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด  และที่นอนมีเพดานข้างบน  ที่เข้าใจว่า

ที่นอนมีมุ้งกาง  หรือเตียงมีเพดาน  กับเครื่องลาดหลังช้าง  เครื่อง

ลาดหลังม้า  เครื่องลาดบนรถ อันไม่ปรากฏว่าชนิดไร.  ในเครื่อง

ลาดเหล่านี้ ที่นอนมีเพดานข้างบน  ตั้งแต่ทรงอนุญาตมุ้งกันยุงแล้ว

ชื่อว่าเป็นของเลิกจากการห้าม  ของนอกจากนี้  บางอย่างก็ตก

มาเป็นสามัญ  เช่นเครื่องลาดทำด้วยขนแกะและผ้าไหม  พระ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 41

อรรถกถาจารย์จึงแก้เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะ  ชี้เอาของที่วิจิตร

ในยุคของท่าน  ผ้าไหมนั้น  ก็แก้ว่าเป็นของขลิบด้วยทอง  ที่เราเรียก

กันว่าขลิบลูกไม้.  มาบัดนี้  เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะ  ก็เป็นของ

มีดื่น  เป็นสามัญไปเสียแล้ว  ไม่น่าจะถือให้มากไป. เครื่องเสนาสนะ

เป็นอกัปปิยะ  ที่เป็นของคฤหัสถ์  ทรงอนุญาตให้นั่งทับได้  แต่ไม่ให้

นอนทับ  เดิมเว้นของ ๓  อย่าง  คือ  อาสันทิ ๑ บัลลังก์ ๑  ของที่

ยัดนุ่น ๑  ภายหลังทรงอนุญาตอาสันทิ  และทรงอนุญาตให้นั่งทับ

เตียงตั่งอันหุ้มนุ่ม  เช่นเก้าอี้เบายัดนุ่นอันเป็นของคฤหัสถ์ได้  นั่ง

เบาะยัดนุ่นก็ได้เหมือนกัน  คงเว้นแต่บัลลังก์อย่างเดียว.  ภิกษุ ๒ รูป

จะนอนบนเตียงเดียวกัน  บนเครื่องลาดอันเดียวกัน  หรือมีผ้าห่มผืน

เดียวกันไม่ควร  ทรงห้ามไว้แต่จะนั่งบนเตียงหรือบนตั่งด้วยกัน ๒  รูป

ได้อยู่  แต่ในบาลีให้นั่งได้เฉพาะกับภิกษุผู้มีพรรษาไล่เลี่ยกัน  แก่

หรืออ่อนกว่ากันไม่ถึง ๓  พรรษา  เรียกสมานาสนิกห้ามไม่ให้นั่ง

กับผู้มีพรรษาห่างกันเกินกำหนดนั้น  เรียกอสมานาสนิกตามมติของ

ท่าน  อุปัชฌายะกับสัทธิวหาริกจะนั่งบนเตียงเดียวกันไม่งาม  แต่

ข้าพเจ้ามีความเห็นแผกจากนี้  ดังจะกล่าวในวัตตกัณฑ์  ในหมวด

จริยาวัตร.  ภิกษุจะนอนบนที่นอนอันโรยด้วยดอกไม้ไม่ควร  ทรง

ห้ามไว้  ได้ดอกไม้มา  ทรงอนุญาตให้วางไว้ข้างหนึ่งในที่อยู่.  ใน

เวลานี้  ใช้วางไว้บนที่บูชาพระ สมควรแท้.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น