วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วินัยมุขเล่ม๒ นักธรรมโท หน้า ๘๑ ถึงหน้า ๘๙ จำพรรษา


นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 81

                                       กัณฑ์ที่  ๑๖

                                        จำพรรษา

           เป็นธรรมเนียมของบ้านเมือง  ในครั้งโบราณ  เมื่อถึงฤดูฝน

ต้องงดการไปมาหาสู่ต่างเมืองชั่วคราว  มีตัวอย่าง  เช่นพ่อค้าสัตว์พาหนะ

ถึงฤดูฝน    ที่ใด  ต้องหยุดพัก   ที่นั้น  เป็นอย่างนี้เพราะทางเดิน

เป็นหล่ม  ไปไม่สะดวก  นอกจากนี้ยังจะถูกน้ำป่าหลากมาท่วมด้วย

เมื่อครั้งปฐมโพธิกาล  ภิกษุยังมีน้อย  ถึงฤดูฝน  ท่านก็หยุดเที่ยวจาริก

ตามลำพังของท่านเอง  ไม่ต้องทรงตั้งเป็นธรรมเนียม  ครั้นมีภิกษุมาก

ขึ้น  จึงได้ทรงตั้งเป็นธรรมเนียม  เมื่อถึงฤดูฝน  ให้หยุดอยู่ที่เดียว

ไม่ไปแรมคืนข้างไหนตลอด   เดือน  เราเรียกกันว่า  จำพรรษา.

           ดิถีที่กำหนดให้เข้าพรรษา  เรียก  วัสสูปนายิกา  ในบาลีกล่าว

ไว้   คือ  ปุริมิกา  วัสสูปนายิกา  วันเข้าพรรษาต้น ๑  ปัจฉิมิกา

วัสสูปนายิกา  วันเข้าพรรษาหลัง ๑.  วันเข้าพรรษาแรก  มีที่กำหนด

ว่า  เมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไปแล้ววันหนึ่ง  คือวัน

แรมค่ำ ๑  เดือน   วันเข้าพรรษาหลัง  เมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวย

ฤกษ์อาสาฬหะนั้นล่วงไปแล้วเดือนหนึ่ง.

           เหตุไฉน  จึงกำหนดวันเข้าพรรษาไว้เป็น   เป็นปัญหาที่มัวอยู่

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์  เสด็จพระ

อุปัชฌายะของข้าพเจ้า  ทรงสันนิษฐานว่า  วันเข้าพรรษาในปีหนึ่ง

มีแต่วันเดียว  แต่ในบาลีกล่าวไว้เป็น   นั้น  ปุริมิกา วัสสูปนายิกา

ได้แก่วันเข้าพรรษาในปีมีปกติกมาสปัจฉิมิกา  วัสสูปนายิกา  ได้แก่

วันเข้าพรรษาในปีมีอธิกมาส  ที่ต้องเลื่อนวันจำพรรษาจากกำหนด




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 82

แรกออกไปอีกเดือนหนึ่ง.  พระมตินี้  เพ่งอาการเพียงเท่านั้น  ชอบ

แก่เหตุ แต่ตามโหราศาสตร์  การที่ต้องเลื่อนวันจำพรรษาออกไป

อีกเดือนหนึ่ง  คือเพิ่มอธิกมาสนั้น  ก็เพราะในวันเพ็ญแรก  พระจันทร์

ยังหย่อน  โคจรไม่ถึงฤกษ์อาสาฬหะ ถึงฤกษ์นั้น  ต่อวันเพ็ญหลัง

เมื่อเป็นเช่นนี้  วันเข้าพรรษาก็มีแต่วันเดียว  คือเมื่อพระจันทร์เพ็ญ

เสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไปแล้ววันหนึ่ง  เทียบกับสุริยคติกาล  หลังวัน

เพ็ญในเดือนกรกฎาคม  ถ้าในเดือนนั้น  มีวันเพ็ญเป็น ๒  หลัง

วันเพ็ญหลัง. ข้าพเจ้าเชื่อว่า  ครั้งรจนาบาลีพวกภิกษุคงไม่เข้าใจ

ในโหราศาสตร์  ถึงกับจะหมายความว่า  วันเข้าพรรษาหลัง  กำหนด

เมื่อพระจันทร์เสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไปแล้วเดือนหนึ่งนั้น  อันเทียบ

ได้กันกับวันเพ็ญในเดือนสิงหาคม  คงเอากำหนดเดือนหนึ่ง  ที่ต้อง

เลื่อนออกไปนั้น  บวกเข้ากล่าวอย่างนั้นเอง  ไม่รู้ว่าเพิ่มอธิกมาส

เพื่อจะใช้วันทางจันทรคติ  อันเร็วกว่าทางสุริยคติให้ลงกัน  เช่นให้

ฤกษ์ที่จำพรรษา  อันค่อยเหลื่อมจากกำหนดออกไป จนถึงเดือน

หนึ่งนั้น  ตรงตามเดิม  เพราะเหตุนั้น  พระมติของเสด็จพระอุปัชฌายะ

ของข้าพเจ้าน่าจะถูก  ข้าพเจ้าดำริหาทางสันนิษฐานที่เหมาะกว่านี้ยัง

ไม่แลเห็น.

           เหตุไฉน  จึงไม่ให้จำพรรษาตลอด   เดือนฤดูฝน  เป็นปัญหา

ที่กระจ่าง ต้องการเดือนท้ายฤดูฝนไว้เป็นจีวรกาล  คราวแสวงหา

จีวร  คราวทำจีวรผลัดผ้าไตรจีวรเดิม  ทั้งในเวลานั้น  ตอนเหนือ

น้ำคงลดแล้ว  เช่นในประเทศของเรา.




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 83

           ภิกษุจำพรรษา  ต้องมีเสนาสนนะที่มุงบัง  มีบานประตูเปิดปิดได้

ห้ามไม่ให้อยู่จำพรรษาในกระท่อมผี  ในร่ม  [ เช่นกลดพระธุดงค์หรือ

กุฏีผ้า  เช่นเต็นต์ ]  ในตุ่ม  [ คือกุฎีดินเผากระมัง ]  ในโพรงต้นไม้

บนค่าคบต้นไม้.

           ในสังฆาราม  เป็นหน้าที่ของภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะ  จะแจก

เสนาสนะแก่ภิกษุทั้งหลายในพอกัน.  ภิกษุผู้ได้รับแจกเสนาสนะแล้ว

พึงปัดกวาดจัดเสนาสนะให้เรียบร้อย  จนถึงตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ให้เสร็จ

นี้เป็นบุรพกิจอันจะพึงทำก่อนเข้าพรรษา  เสนาสนะควรแจกก่อน  ให้

ผู้ได้รับมีเวลาจัดให้สะอาดทันวันเข้าพรรษา.

           เข้าพรรษาทำกันอย่างไร ในบาลีกล่าวเพียงให้ทำอาลัย  คือ

ผูกใจว่า  จักอยู่ในที่นี้ ๓  เดือน. ความลงสันนิษฐานนั้นเอง  ชื่อว่า

ทำอาลัยในที่นี้  แม้หากจะไม่ทำอาลัย  แต่เมื่อถึงกำหนดเข้าพรรษา

แล้ว  ไม่ไปแรมข้างไหน  ก็ได้ชื่อว่า  เข้าพรรษาเหมือนกัน.  แต่

ในบัดนี้ มีธรรมเนียมที่ประชุมกัน  กล่าวคำอธิษฐานพร้อมกันว่า

" อิมสฺมึ  อาวาเส อิมํ  เตมาสํ  วสฺสํ  อุเปม "   แปลความว่า   " เรา

เข้าถึงฤดูฝน  ในอาวาสนี้  ตลอดหมวด  ๓ เดือน. "

           การจำพรรษาอยู่ในที่เดียวนั้น ควรมีเขตเป็นเครื่องกำหนด

ว่าอยู่ในที่เดียวเพียงไหน ในข้อนี้แล  ท่านลังเลกัน  จะกำหนดด้วย

วิหารคือกุฎีที่อยู่  หรือกำหนดด้วยอาวาสทั้งสิ้น.  เพราะเหตุนี้  จึง

ตั้งธรรมเนียมอธิษฐานพรรษาเฉพาะรูป ๆ  ที่กุฎีซ้ำอีกว่า   " อิมสฺมึ

วิหาเร  อิมํ  เตมาสํ  วสฺสํ  อุเปมิ "   แปลความอย่างเดียวกัน  เปลี่ยน




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 84

แต่เพียงในวิหารแทนในอาวาส.  ข้าพเจ้าเข้าใจว่า  สุดแต่จะกำหนด

เขต  ดุจเดียวกันกับสมมติสีมาแดนทำสังฆกรรม ถ้าภิกษุทำกุฎี

อยู่จำพรรษาในป่าเฉพาะรูป  เช่นนี้  คงกำหนดเขตเฉพาะกุฎีกับ

บริเวณ  เข้าในคำบาลีว่า   " ปาฏิปเท  วิหารํ  อุเปติ  เสนาสนํ

ปญฺญาเปติ "   " ในวันปาฏิบท  [ คือค่ำ ๑ ]  เข้าสู่วิหาร  จัดเสนาสนะ. "

ถ้าอยู่จำพรรษาเป็นหมู่กัน  เช่นนี้  คงกำหนดเขตตลอดที่อยู่ของหมู่

ที่เรียกว่าอาวาส  เข้าในคำบาลีว่า   " ทฺวีสุ  อาวาเสสุ  วสิสํ  วสติ "

แปลว่า   " อยู่จำพรรษาในอาวาส ๒ แห่ง "  [ ที่ท่านห้าม ]  ในภายหลัง

ความสันนิษฐานของท่านลงในอันกำหนดเอาอาวาสเป็นเขต  จึงมร

ธรรมเนียมบอกเขตอาวาส  ให้ภิกษุทั้งหลายรู้ในวันอธิษฐานพรรษา

จะได้ยังอรุณให้ตั้งขึ้นในเขตนั้น.

           ถึงวันเข้าพรรษา ไม่เข้าพรรษา เที่ยวเร่ร่อนไปเสีย  ไม่สมควร

ภิกษุครั้งก่อนถือเป็นกวดขัน  เช่นภิกษุชาวปาฐา  เดินทางมาเพื่อจะ

เฝ้าพระศาสดา  ถึงเมืองสาเกต  ยังอีก  ๖ โยชน์หรือ ๗  โยชน์ก็จะถึง

กรุงสาวัตถีที่เสด็จประทับ  ก็พอถึงวันเข้าพรรษา  ต้องจำใจอยู่

จำพรรษาที่นั่น  มีใจรำจวนถึงพระศาสดาว่า  มีอยู่ในที่ใกล้  แต่หาได้

เฝ้าไม่ กำลังเดินทางอยู่กับพวกโคต่างก็ดี  กับพวกเกวียนก็ดี  หรือ

เดินสานไปในเรือของเขาก็ดี  เมื่อวันเข้าพรรษามาถึงเข้า  พึงเข้า

พรรษาที่นั่น  ที่ท่านแนะให้ผูกใจว่า   " อิธ  วสฺสํ  อุเปมิ "   แปลว่า

" เราเข้าพรรษาในที่นี้. "   ถ้าพวกโคต่างก็ดี  พวกเกวียนก็ดี  เขายก

ไปอื่น  ท่านให้ไปกับเขา.  ถ้าเขาถึงตำบลที่ภิกษุหมายจะไปในพรรษา




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 85

ท่านยอมให้อยู่จำพรรษากับพวกภิกษุในที่นั้นได้ อีกอย่างหนึ่ง ถ้า

เขาถึงถิ่นของเขาเข้าก่อน  ต่างคนต่างแยกย้ายกันไป  ไม่ตั้งเป็นหมู่

ดุจเดิม  ท่านแนะให้อยู่กับพวกภิกษุในตำบลนั้นต่อไป.  เดินสานไป

ในเรือก็เหมือนกัน.  ใน ๓  สถานนี้  ท่านว่าพรรษาไม่ขาด ได้เพื่อ

ปวารณา.

           คราวจำพรรษา  เป็นอภิลักขิตสมัยที่ภิกษุบำเพ็ญสมณธรรม

จะตั้งข้อกติกานัดหมายกัน  ห้ามไม่ให้ตั้งข้ออันไม่เป็นธรรม  ท่าน

แสดงตัวอย่างไว้  เช่นห้ามไม่ให้บอกไม่ให้เรียนธรรมวินัย  ไม่ให้

สวาธยายธรรม  ไม่ให้มีเทศนา  ห้ามไม่ให้ ๆ บรรพชาอุปสมบท

และให้นิสัย  ห้ามไม่ให้พูดกัน เกณฑ์ให้ถือธุดงค์  เกณฑ์ให้บำเพ็ญ

สมณธรรม  ให้นัดหมายกันแต่ในข้ออันเป็นธรรม พูดชัดนำเพื่อให้

เกิดอุตสาหะในการบอกการเรียนธรรมวินัยเป็นต้น  เพื่อขวนขวาย

ในกิจพระศาสนา เพื่อรู้ประมาณในการพูด  เพื่อมีแก่ใจสมาทาน

ธุดงค์และบำเพ็ญสมณธรรมตามสัตติกำลัง  เพื่อเอื้อเฟื้อแนะนำกัน

ในวัตรนั้น ๆ  เพื่อรักษาความสามัคคีไม่วิวาทแก่งแย่งกัน  เพื่อรู้จัก

นับถือเกรงใจภิกษุอื่น  เช่นจะสวาธยาย  ไม่ทำความรำคาญแก่ภิกษุ

ผู้บำเพ็ญภาวนา  หลีกไปทำในโอกาสส่วนหนึ่ง.  ข้อห้ามไม่ให้ตั้ง

กติกาอันไม่เป็นธรรมนี้  ควรใช้ได้ในที่อื่นทั่วไป.

           ภิกษุผู้เข้าพรรษา  ต้องอยู่ในที่เดียวอันกำหนดด้วยเขต ดัง

กล่าวแล้วตลอด   เดือน  จนพ้นวันปวารณาแล้ว  จึงจะออกเที่ยว

จาริกได้อีก  ถ้าหลีกไปเสียในระหว่างนั้น  เกิน   วัน  ไม่ได้รับ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 86

ประโยชน์แห่งการจำพรรษา ดั่งจะกล่าวข้างหน้า.  ถ้ามีธุระจริง ๆ

ทรงอนุญาตให้ไปได้  แต่ให้กลับมาใน   วัน  เรียกว่าไปด้วยสัตตาห-

กรณียะ  หรือเรียกสั้นว่า  สัตตาหะ.  ไปแรมคืนในที่อื่นไม่เกินกำหนด

นั้น  พรรษาไม่ขาด  ได้อานิสงส์แห่งการจำพรรษา  ถ้าเกินกำหนด

พรรษาขาด.  เมื่อจะไปด้วยสัตตาหกรณียะ  ให้ผูกใจว่า  จะกลับมา

ใน   วัน.  แม้ไม่ได้ทำในใจไว้แต่เดิม  เช่นไปคิดจะกลับในวันนั้น

แต่เผอิญมีอันตรายเกิดขึ้น  กลับไม่ได้  เห็นว่าพรรษาไม่ขาด  เพราะ

ยังอยู่ในพระพุทธานุญาตนั้นเอง  ทั้งจิตคิดจะกลับก็มีอยู่.  การไป

ด้วยสัตตาหกรณียะ  ไม่จำจะทำพิธีก็ได้  เพราะเหตุนั้น  ในบาลีจึงมี

พระพุทธานุญาตไว้ว่า  ยังอีก ๗  วันจะถึงวันปวารณา  ภิกษุออกจาก

อาวาสไปเลยก็ได้  พรรษาไม่ขาด. บาลีนี้แสดงว่า  ไปด้วยไม่ผูกใจ

จะกลับก็ได้  ในที่นี้ว่าไปเลยได้นั้น  เพราะวันสุดแห่งการจำพรรษา

ตกในวันที่   นั้น  ในที่อื่นบ่งให้กลับใน   วันนั้น  เพราะยังไม่สิ้น

กำหนดจำพรรษา.  ในชั่ว   เดือนนั้น  ทรงอนุญาตให้สัตตาหะได้

คราวเดียว  หรือหลายคราวก็ได้  ไม่ปรากฏชัดในบาลี  เข้าใจกัน

ในบัดนี้ว่า  หลายคราวก็ได้  แต่ทำเป็นกิจลักษณะ  ต้องมีธุระจึงไป

พอเสร็จก็รีบกลับ  หากจะรวมวันที่ไปในต่างคราวเข้าด้วยกัน  บางที

จะไม่เกิน   วันหรือราวนั้น  เช่นนี้พอสมควร.  แต่ข้อที่พระอรรถ-

กถาจารย์กล่าวว่า  เข้าพรรษาแล้วยังไม่ทันค้างคืน  สัตตาหะก็ได้

ดูลอกแลกจัดนัก  จะชื่อว่าอยู่จำพรรษาได้ละหรือ ไม่ต้องกล่าวถึง

อยู่คืนหนึ่งแล้ว  ไปเสียตั้ง ๗ คืน ท่านคงอนุญาตเป็นแท้  ใน ๓




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 87

เดือนอยู่ที่ว่าจำพรรษาเพียง  ๑๑  หรือ ๑๒ วัน  นอกจากนั้น  ไป

เที่ยวเตร่เสียข้างไหน ๆ  ก็เห็นจะได้ละสิ.

           ธุระเป็นเหตุไปด้วยสัตตาหกรณียะ  อันกล่าวในบาลีนั้น  คือ :-

           ก.  สหธรรมิกหรือมารดาบิดาเจ็บไข้  รู้เข้า  ไปเพื่อรักษาพยาบาล

ก็ได้.

           ข. สหธรรมิกกระสันจะสึก  รู้เข้า  ไปเพื่อระงับก็ได้.

           ค.  มีกิจสงฆ์เกิดขึ้น  เป็นต้นว่า  วิหารชำรุดลงในเวลานั้น  ไป

เพื่อหาเครื่องทัพพสัมภาระมาปฏิสังขรณ์  ได้อยู่.

           ฆ.  ทายกต้องการจะบำเพ็ญกุศล  ส่งมานิมนต์  ไปเพื่อบำรุง

ศรัทธาของเขา  ได้อยู่.

           แม้ธุระอื่นนอกจากนี้  ที่เป็นกิจลักษณะ  อนุโลมตามนี้  เกิด

ขึ้น  ไปก็ได้เหมือนกัน.

           ในเวลาจำพรรษาอยู่  มีอันตรายเกิดขึ้น  จะอยู่ต่อไปไม่ได้

และไปเสียจากที่นั้น  พรรษาขาด แต่ท่านไม่ปรับอาบัติ.  ในบาลี

แสดงอันตรายไว้  ดังนี้ :-

           ก.  ถูกสัตว์ร้ายก็ดี  โจรก็ดี  ปีศาจก็ดี  เบียดเบียน.

           ข.  เสนาสนะถูกไฟไหม้  หรือน้ำท่วม.

           ค.  ภัยเช่นนั้นเกิดขึ้นแก่โคจรคาม  ลำบากด้วยบิณฑบาต.

           ในข้อนี้  ชาวบ้านเขาอพยพไป  จะไปตามเขาก็ควร.

           ฆ. ขัดสนด้วยอาการ  โดยปกติ  ไม่ได้อาหารหรือเภสัชอันสบาย

หรือไม่ได้อุปัฏฐากที่สมควร.




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 88

           ในข้อนี้  ยังทนอยู่ได้  ควรทนอยู่ไป  พระศาสดาได้ทรงทำเป็น

ตัวอย่างไว้แล้ว  เมื่อครั้งทรงจำพรรษาอยู่เมืองเวรัญชา  ข้าวแพง  ภิกษุ

สงฆ์ได้ความอดอยาก  แม้อย่างนั้น  ยังเสด็จอยู่จนตลอดพรรษา.

ต่ออยู่ไปอีกไม่ได้จริง ๆ จึงค่อยไป.

           ง.  มีหญิงมาเกลี้ยกล่อม  หรือมีญาติมารบกวน  ล่อด้วย

ทรัพย์  จิตเป็นธรรมชาติกลับกลอกเร็ว  สักหน่อยจะเป็นอันตราย

แก่พรหมจรรย์  ไปเสียก็ได้.   เห็นทรัพย์อันหาเจ้าของมิได้  ก็ดุจ

เดียวกัน.

           จ.  สงฆ์ในอาวาสอื่น  รวนจะแตกหรือแตกกันแล้ว    ไปเพื่อ

จะห้ามหรือเพื่อจะสมาน.

           ในข้อนี้  ถ้ากลับมาทัน  ควรไปด้วยสัตตาหกรณียะ.

           ภิกษุรับนิมนต์ของชาวบ้านก็ดี  หรือนัดกันเองก็ดี เพื่ออยู่

จำพรรษาในที่ใด  ไม่อยู่ในที่นั้น  ทำให้คลาดเสีย  ต้องปฏิสสวทุกกฏ

แปลว่า  ทุกกฏเพราะรับคำ  แม้ในการรับคำอย่างอื่นแม้ทำให้คลาด

ก็เหมือนกัน.  ท่านปรับเพียงทุกกฏนั้น  มีอธิบายว่า  เพราะเจตนา

เดิมบริสุทธิ์  ถ้าจงใจจะทำให้คลาดมาแต่ต้น  ท่านว่าเป็นปาจิตติยะ

เพราะรับ เป็นทุกกฏเพราะทำให้คลาด.  ข้าพเจ้าเห็นว่า  วัตถุยังไม่

ีจัดว่าเท็จลงไปโดยส่วนเดียว  เหมือนเห็น  จงใจพูดว่า  ไม่เห็น  ความ

สำเร็จผลอยู่ที่ทำหรือไม่ทำ  ถ้าจะเทียบกับองค์ของมุสา  ก็เท่ากับ

วัตถุไม่ปรากฏ  มีแต่เจตนา  และยังไม่ได้ทำวิการกายหรือวาจาให้

เขาเข้าใจด้วย  ยังไม่สำเร็จเป็นมุสา  ควรปรับเป็นปฏิสสวทุกกฏ




นักธรรมโท - วินัยมุข เล่ม ๒ - หน้าที่ 89

ตามบาลีเท่านั้น.  แต่ทุกกฏเพราะทำผิดสัญญาชนิดนี้  อย่าพึงเข้าใจ

ว่าเบา  ล่วงได้ง่าย ๆ อาจให้ร้ายกว่ามุสาบางอย่างก็ได้.

           ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาตลอดกาลจนได้ปวารณาแล้ว  ย่อมได้

อานิสงส์แห่งการจำพรรษา นับแต่วันปาฏิบทไปเดือนหนึ่ง  คือเที่ยว

ไปไม่ต้องบอกลา  ตามสิกขาบทที่  ๖ แห่งอเจลกวรรค  ในปาจิตติย-

กัณฑ์ ๑  เที่ยวจาริกไปไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสำรับ ๑  ฉัน

คณโภชน์และปรมปรโภชน์ได้   เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา ๑

จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้น  เป็นของได้แก่พวกเธอ ๑  ทั้งได้โอกาสเพื่อ

จะกรานกฐินและได้รับอานิสงส์ ๕  ข้างต้นนั้นเพิ่มออกไปอีก   เดือน

ฤดูเหมันต์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น